Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตำรวจยึดใบขับขี่ประชาชนผิดหรือไม่?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พอดีผมได้เข้าไปอ่านคำถามยอดฮิตจากจราจรกลางมามีคำถามที่น่าสนใจอยู่ข้อนึงซึ่งตัวผมเองก็เคยได้รับE-mailมาจากเพื่อนๆจึงอยากให้ได้ทราบถึงการตอบคำถามนี้จะได้เข้าใจอย่างถูกต้องมากขึ้นครับ (ท้ายสุด ยังไงประชาชนที่ไม่รู้เรื่องกฎหมายจราจร ก็ยังคงต้องเป็นเหยื่อแห่งความโลภอันโสมมของตำรวจจราจรอยู่ดี)

คำถาม
วันอาทิตย์ โดนข้อหาฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื่นทาง แต่ตำรวจยึดใบขับขี่ไปด้วย แต่เพือน ๆ พี่ น้อง ทุกคนมีความรู้มาจาก Mail ที่ส่งต่อ ๆ กันมาว่า ตำรวจไม่มีสิทธิที่จะยึดใบขับขี่ของเรา เพราะเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล ซึ่งเราก็เห็นด้วย เพราะว่าทำให้เสียเวลามาก มีเพื่อนเคยไปรอจ่ายค่าปรับที่ สน. เป็นชั่วโมง แต่จราจรยังไม่มา เพราะรอจับให้ได้หลาย ๆ คนก่อน จึงกลับมาสน. สักครั้ง จึงอยากให้ตอบคำถามว่า จราจรมีสิทธิในการยึดใบขับขี่หรือไม่ แล้วเราจะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ เพีอลดความเข้าใจผิดของประชาชน และความขัดแย้งระหว่างประชาชนและจราจร ขอบคุณค่ะ
คำตอบ  
เรียน คุณหน่อย ที่นับถือ เรื่องนี้เป็นประเด็นจากนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานจราจร ให้สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย สรุปได้ว่า ในอนาคตประเทศไทยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรไม่จำเป็นจะต้องยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ทำผิดกฏจราจร เพราะใบอนุญาตเป็นทรัพย์สินของแต่ละบุคคล แต่สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการเรียกให้ผู้กระทำผิดไปชำระค่าปรับได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ แต่มีสื่อมวลชนและมีการนำไปสนทนาทาง Internet ทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน จนเข้าใจกันว่าตำรวจจราจรไม่สามารถยึดใบขับขี่ได้ และปรากฎตามหน้า เวปไซด์ต่างๆ ทำให้เกิดความขัดแย้งถกเถียงระหว่างตำรวจจราจรกับผู้ที่ถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก แต่ขณะนี้ส่วนใหญ่จะเข้าใจกันดีแล้ว เนื่องจากมีการเผยแพร่ข้อเท็จจริงโดยตลอด อย่างไรก็ตามขอยืนยันอีกครั้งว่า ตำรวจจราจรสามารถเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ของผู้กระทำผิดกฏหมายจราจรได้อย่างแน่นอน แต่เป็นการเรียกเก็บชั่วคราว เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่แล้ว ต้องออกใบแทนใบอนุญาตขับขี่ให้ (ใบสั่ง) โดยตำรวจจราจรจะต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง และใบสั่งสามารถใช้แทนได้ 7 วัน ทั้งนี้ตามพ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 140 ดีที่สุดคือพยายามหลีกเลี่ยงการทำผิดกฏจราจร ก็จะไม่ต้องพบกับปัญหาการเรียกเก็บใบอนุญาต ขอให้โชคดีครับ พ.ต.อ.ยอดชาย ผู้สันติ ผกก.ฝอ. 3 บก.อก.บช.น. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บก.02  

เพื่อนๆทุกคนสามารถสอบถามข้อกฎหมายจราจรได้จากศูนย์จราจรกลาง 1197 ได้ครับ ถามไปเลยไม่ต้องเกร็งยังไงตำรวจก็ต้องบริการประชาชน(เพราะมันกินเงินเดือนจากภาษีของเราครับ)

แสดงความคิดเห็น

>

20 ความคิดเห็น

กระต่ายโลหิต 13 มิ.ย. 50 เวลา 01:28 น. 1

ตำรวจกินเงินเราก็จริง

แต่ถึงขยันหรือทำดีกว่าคนอ่นก็ไม่ได้เงินเดือนหรือโบนัสเพิ่มเหมือนบริษัทเองชนงับ
ดังนั้น..... เหอๆ



แต่ เรื่องนี้มีประโยชน์มากงับ


PS.  ซะงั้นน่ะ!?
0
ทุกอาชีพมันก็มีคนดีเเละไม่ดี 13 มิ.ย. 50 เวลา 03:31 น. 2

ตอนนี้ก็ยังยึดได้ค่ะ
ในบทสัมภาษณ์เค้าหมายถึงอนาคต

เเต่ถ้าเราไม่ทำผิดกฎจราจรหรือกฎหมายอื่น
คนที่ไม่ดีก็ทำอะไรเราไม่ได้หรอกค่ะ

"""มันอยู่ที่ตัวเราเองมากกว่านะ""""

0
เซ็ง 13 มิ.ย. 50 เวลา 21:48 น. 3

ไม่จริงครับพี่น้อง
ตำรวจสามารถยัดข้อหาให้เราได้อย่างงงงง
แล้วเราก็เถียงไม่ได้เพราะเขาเป็นตำรวจ
เราเป็นแค่ประชาชนธรรมดา

ตอนนั้นตำรวจยัดข้อหาว่า
ขับมอไซค์ออกเลนขวา
แต่ก็นะ
เลนซ้ายมันมีรถขวางอยู่นี่หว่า
ก็ต้องจ่ายเงินซะอย่างนั้น
ตำรวจฏ้เหมือนใครหลายๆคน
ที่มีอำนาจในมือ
ก็ใช้มันอย่างไร้คุณธรรม

0
aspire 13 มิ.ย. 50 เวลา 23:28 น. 4

ตำรวจสามารถยึดใบขับขี่ได้คับ ถึงแม้เราจะเสียค่าปรับไปแล้วก้ตาม จาโดนยึด15วัน แล้วเราก็จาโดนตัดคะแนนด้วยคับ เค้าจามีเอกสารแนบมากะใบเสร็จที่เสียค่าปรับ ซึ่งใบที่แนบมาจะใช้แทนใบขับขี่ไม่ได้ แล้วก็ถ้าทำผิดกฎจราจรข้อหาเดิมต้องไปอบรมอีกครั้งนะครับ&nbsp เพิ่งโดนจับมารอไปเอาขับบี่อยู่

0
บัณฑิตหัวหมอ 21 พ.ย. 50 เวลา 16:12 น. 5

กรณีใบสั่งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ตำรวจจราจร) ออกให้กับผู้ที่กระทำผิดกฏหมายจราจร นั้น มีข้อกม.ที่ต้องพิจารณาคือ
1. ตามมาตรา 140 พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 บัญญัติว่า
เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพ.ร.บ.นี้ หรือกม.อันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าวตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ฃำระค่าปรับตามที่เปรียงเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผู้ใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย ฯลฯ
ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบปรับตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เปนการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง
ใบแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน ฯลฯ
สรุป ตำรวจจราจรเมื่อพบผู้ทำผิดกฏจราจรเช่น จอดรถในที่ห้ามจอด หากพบผู้ขับขี่จะแจ้งความผิดให้ทราบ และขอใบอนุญาตขับขี่ เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นจริง ( ดูจากภาพถ่ายในใบขับขี่ และอื่นๆ ) ก็จะออกใบสั่ง (ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่) ให้กับผู้ขับขี่คนนั้นๆ หลังจากนั้นต้องนำส่งพนักงานสอบสวน (ที่สน.) ภายใน 8 ชั่วโมง ส่วนผู้ได้รับใบสั่งสามารถใช้แทนใบขับขี่ได้ 7 วัน
จะเห็นว่าตามพ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 ไม่ได้กากรบัญญัติคำใดว่า เป็นการยึดใบอนุญาต ไว้ ยกเว้น เป็นกรณีการถูกบันทึกคะแนน( ตัดคะแนน) จึงจะมีการยึดใบอนุญาตขับขี่ เพื่อเป็นการลงโทษไม่ให้มีการขับขี่ในช่วงระยะเวลาที่ถูกยึดไว้
ควาหมายที่เข้าใจนั้น น่าจะเป็นกรณีที่ตำรวจเรียกตรวจรถ และขอใบอนุญาตขับขี่ แล้วเก็บใบอนุญาตไว้โดยไม่ออกใบสั่งให้ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแน่นอน เพราะเป็นการยึดไว้โดยไม่ออกใบสั่ง แต่หากเป็นกรณีปกติ จะต้องให้ใบอนุญาตกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พบการกระทำผิด แล้วรับใบสั่งเพื่อนำไปชำระค่าปรับต่อไป หากไม่ให้ตรวจหรือไม่แสดงใบขับขี่ ก็อาจเป็นความผิด ฐาน ไม่มีใบอนุญาตหรือไม่นำใบอนุญาตขับขี่ติดตัวขณะขับขี่รถ
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
1. พยายามอย่าทำผิดกฏจราจร ซึ่งเป็นกฏแห่งความปลอดภัยสำหรับตนเองและส่วนรวม
2. หากพบว่าตนเองทำผิดกฏจราจร เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ ต้องแสดงใบขับขี่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู และหากมีการแจ้งความผิด ให้รับใบสั่งไปชำระค่าปรับภายใน 7 วัน หากเชื่อว่าตนเองไม่ผิดตามข้อกล่าวหาในใบสั่ง ให้พบพนักงานสอบสวนเพื่อให้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไป หากยังไม่พอใจสามารถขอพบผู้กำกับการ สน.เพื่อขอให้ตรวจสอบสวนได้อีก
ใบขับขี่เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ โดยเสียค่าธรรมเนียมเป็นเอกสารราชการครับ

ผมถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรขอดูใบขับขี่ก็ต้องให้ดู&nbsp ไม่งั้นเจอข้อหาไม่มีใบขับขี่ แล้วเขาจะออกใบสั่งแทนให้จ่ายค่าปรับภายใน 7 วัน&nbsp  หากเราไม่มีความผิดเราก็เอาใบสั่งไปพบพนักงานสอบสวนและให้การปฏิเสธไปสู้กันที่ศาล เด๊ยวนี้ง่ายครับเพราะมีกล้องวงจรปิดเกือบทุกแยกเอามาเป็นพยานได้

0
เต้ย 15 ธ.ค. 51 เวลา 14:36 น. 6

ขับรถไม่ผิดตำรวจก็เรียกครับเรียกมาดูๆๆๆๆๆๆๆรอบคันเลยหาที่ให้ผิดให้ได้เคยเจอปะละ 555+

0
ผู้กอง 7 มิ.ย. 53 เวลา 01:48 น. 7

ผมฝ่าไฟแดงสี่แยกโดยไม่เจตนา ก็เพราะเห็นว่าตัวเลขมัน 4 3 2 1 0 แล้ว พอ 0 แล้วผมก็ขับออกไปเลยครับโดยไม่รอไฟเขียวขึ้นก่อน&nbsp แต่ที่ไหนได้พอผ่านกลางแยกไปมันกลับขึ้นตัวเลขใหม่เป็น 25 24 23 ... 3 2 1 0 ใหม่อีกเพื่อให้รถอีกฝั่งวิ่งไป ผมล่ะงงมากเลยที่ 4 แยกป่าไม้กาฬสินธุ์ หากใครไม่ตั้งใจรอให้เขียวก่อน แต่นึกเองว่าคงจะเหมือนกับ 4 แยกอื่น ๆ ก็คงจะเสียเงินกันพอสมควรอยู่ เพราะแยกนี้ ตร.เขาตั้งระบบไฟเขียวไว้ตลกมาก ผมจึงโดนเรียกดูใบขับขี่ครับ ผมขอร้องให้ตักเตือนได้ไหมครับ ตร.ก็ไม่ยอม บอกผิดก็ว่าไปตามผิดจะมาเบ่งไม่ได้หรอก (ทั้ง ๆ ที่มันเห็นยศเราในใบขับขี่ว่าที่ร้อยเอก มันก็ไม่ยอม ทั้ง ๆ ที่มันแค่ จสต. เราก็เลยบอกว่าหากเราขอไม่ได้แล้วอย่ามาขอเรานะ .. มันตอบว่า ครับ ..แสดงว่ามันแน่มากหมอนี้) ผมบอกว่าผมไม่ได้เอาใบขับขี่มาเขาก็ไม่ยอม ยังมาถามอีกว่ามีใบอนุญาตหรือบัตรอื่น ๆ ไหม ผมก็เลยแสดงใบขับขี่จักรยนต์ให้ดู เพราะใบขับขี่รถยนต์ลืมไว้บ้าน ขนาดนั้น ตร.ก็ยังยึดเอาไปออกใบสั่ง ผมก็เลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินการกับเจ้า ตร.หมอนี้ตามมาตรา 157 และมาตรา 188 นะซิครับ แม่เจ้าคุณเอ๋ยเรื่องชักจะไปกันใหญ่เมื่อพนักงานสอบสวนเชิญ สว.จราจรผู้รู้กฏหมายน้อยมาข่มขู่กระผมว่า หากผมแจ้งความจับ ตร.ที่เอาใบขับขี่จยย.ผมไป ตร.ก็จะแจ้งความจับผมเหมือนกันฐานให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวนในคดีอาญา ฯ ผมก็เลยยิ่งโมโหใหญ่ (นี้ยศ พตต. ทำไมมันโง่เขลาเช่นนี้หนอ) ผมก็เลยบอกว่า เชิญตามสบายครับ เชิญแจ้งความจับเลยครับ (เราก็แน่นะเพราะเราก็จบ นบ.มาเหมือนกัน) แล้วเราก็รู้กฏหมายจราจรเหมือนกัน (เห็นเราเป็นชาวนาที่เคยข่มขู่ได้มั้ง) สุดท้ายเรื่องก็จบลงที่ ท่านรอง ผกก.จราจรผู้ที่มีจริยธรรมและความรู้กฏหมายมากกว่าพวก พตต.สว.จราจรได้มาขอร้องผมไว้นะซิครับ ผมเป็นคนมีเมตตา ผมก็เลยถอนแจ้งความให้ในขณะที่เสมียนคดีกำลังจะลงบันทึกคดีประจำวันเพื่อส่ง ปปท.หลังจากที่ผมให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนอยู่เกือบ 3 ชม. ไม่งั้นซวยแน่นอนครับสำหรับ ตร.ที่ไร้น้ำใจ โชคดีนะครับที่ผมเป็นคนใจดี เห็นแก่พรรคพวกสีเดียวกันหรอกนะ (ทีมันนะไม่เห็นเราเป็นสีเดียวกันเล๊ย) ไม่อยากหลายสีเหมือนแดงกับเหลือง อภัยกันได้ก็ให้อภัยกันครับ ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงคอคาดบาดตาย สังคมไทยวุ่นวายทุกวันนี้ก็เพราะความไม่รู้จักให้อภัยกันนี้แหละครับ
&nbsp &nbsp  สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

0
ประชาชนคนไทย 9 ส.ค. 53 เวลา 18:20 น. 8

จราจรติดขัดไม่เหงจามา วันๆเอาแต่ตั้งด่านหารายพิเศษ เพื่อนเคยเจอแต่เปงมอไซด์ หาเรื่องไม่ได้เพราะไม่ได้ทำไรผิดกฎหมาย สุดท้ายก้อโดนข้อหาโซ่หย่อน เลยหัยไป50
แต่คนดีๆก้อมี
แต่ที่เจอ เบ่งอำนาจ พูดจาไม่ดีกับประชาชน
พูดเมิงๆกุๆ เลยไม่ชอบตั้งแต่นั้นมา&nbsp 

อยากหัยสังคมไทยน่าอยู่มากกว่านี้
&nbsp คห ที่7 ผมเคยผ่านแถวพระราม2 เค้าตั้งด่านเป่า
เหงมิสซูสีดำลงมากลิ่นเหล้าหึงเลย สุดท้ายรอด
เพราะถอดสร้อยหัย ตำรวจไหว้ก่อนใส่คอด้วย
ไม่เข้าใจจิงๆ ตั้งด่านเพราะรักประชาชนหรือว่า....
วันนั้นผมก้อโดน แต่ไม่ได้กิน ในใจก้ออยากเป่าเหมือนกาน(อยากรู้อ่า)ก้อกุไม่ได้กินนี่หว่า
แต่เค้าเอาไฟฉายส่องหน้าส่องตาล่ะไม่เมา
เลยไม่ได้เป่า แต่ผมต้องไปนั่งรอ กะพวกที่เป่า
ไม่รุ้หัยรอทามมาย เสียเวลาไป ชมกว่า ถึงบ้านตี3
นั่งริมฟุตบาท คนผ่านไปผ่านมาคงคิดว่าผมเมาแล้วขับ (เสียป่ะ)เสียพาบพด เสียเวลา เสียความรู้สึก
แต่ผมก้อได้เหงอารายหลายๆยาง อีกหน่อยผมว่านะ ถ้าไปกินมา หัยพก ตังเยอะๆ ไม่ก้อทอง
ตร ดีๆก้อมีอยู่ สู้ต่อไป พวกเลวๆแย่ๆ เด๊ยวกรรมก้อตามทันมานเอง สาทุ
^^

0
dow 6 ม.ค. 54 เวลา 00:35 น. 9

คุณ คห ๘

ในฐานะที่ผมก็นักกฎหมายคนหนึ่ง ผมไม่ชอบคำที่คุณพูดว่าทำไมตำรวจไม่เห็นแก่สีเดียวกันบ้างเลย ทำไม??? ก็เพาะว่านี่มันบ่งบอกถึงความมีจริยธรรรมของคุณไงล่ะ ถึงแม้ว่า พตต.สว อะไรพวกนั้น รู้กฎหมายน้อยกว่าคุณก็เถอะน่ะ แต่จริยะธรรมคุณตำว่าเขาเยอะ

มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเป็นนายพล คงไม่ผิดกฎหมายละสิ

ผมว่าประเทศจะเจริญถ้าตำรวจไม่เห็นแก่สีเดียวกัน

ปล.ผมไม่ได้พูดถึงว่าใครผิดใครถูก

0
police 19 พ.ค. 54 เวลา 22:02 น. 10

แม่งหน้าจะหาเวลาไปทำประโยชน์ให้ประชาชนมากกว่าน่ะผมว่า เช่น จับพวกขโมยรถรถตูหายมา5ปีแล้วยังหาไม่เจอหาไม่เจอเลยแจ้งpoliceแม้งก็มาแค่ถ่ายรูปสถานที่ถ่ายทำห่าไรรถตูหาน่ะโว้ยโทรแจ้งก็แม้งกว่าจะมาตูแจ้งเที่ยงคืนพวกมาเช้า โจรแม่งคงอยู่ให้แม่งจับหรอก ตูมันรถมอไซต์ไม่ใช้เบนต์หรือรถแพงๆแม่งถึงไม่ดิ้นรนให้ตูเลย แล้วก็พวกยาบ้าด้วยเต็มซอยบ้านตูเลยก็ไม่เห็นมันจับ จับได้ไงก็เด็กพวกมันทั้งนั้นรู้กันอยู่สังคมความจริงเป็นไง คำพูดพวกpoliceก็แม่งแค่ผักชี ลองทำประโยชน์ให้ประชาชนมังเถอะตูจะศรัญธาpoliceอีกเยอะ ปล.สงสารpoliceที่อยู่ใต้ว่ะลองให้พวกที่แม่งชอบตั้งด่านจับไปตั้งด่านแถวใต้บางคงจะกลัวขี้เยี่ยวลาดชัวส์ตูว่า&nbsp ว่างมาเยี่ยมพวกตูบ้างน่ะเด็กปัตตานี บ้านบานา

0
porz 17 ก.ค. 54 เวลา 17:53 น. 11

ขอถามหน่อยครับว่า ผมทำใบสั่งหาย แล้วจำวันที่โดนใบสั่งไม่ได้ พอไปแจ้งที่ สน. .... เค้ากลับบอกว่า&nbsp ผมต้องนึกให้ออก แต่ผมนึกไม่ออกจริงๆ เพราะเพิ่งเกิดอุบัตติเหตุรถควํามา สมองผมกระทบกระเทือน พอผมบอกไปอย่างนั้นแล้ว ตำรวจก็บอกว่าช่วยไม่ได้ ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ เพราะใบขับขี่ ตำรวจก็ยึดไปด้วย

0
อยากรู้ 28 ม.ค. 56 เวลา 10:11 น. 12
ประเด็นปัญหาด้านอำนาจของตำรวจจราจรที่น่าสนใจในเรื่องใกล้เคียงกับเรื่องการยึดใบขับขี่ คือ กรณีตำรวจยึดกุญแจรถของผู้ขับรถผิดกฎจราจร โดยประเด็นปัญหามีว่า ตำรวจมีอำนาจยึดกุญแจรถหรือไม่ เพราะเท่าที่สำรวจตรวจตรากฎหมายดู ยังไม่เห็นว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจตำรวจในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้น หากตำรวจยึดกุญแจรถเราไป เราต้องถามตำรวจโดยถ้อยคำว่า “ตำรวจครับ/คะ ไม่ทราบว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรื่องใด มาตราใด ในการยึดกุญแจครับ/คะ” หากตำรวจตอบไม่ได้ ก็มีแน้วโน้มว่าเราจะแจ้งความว่าตำรวจลักทรัพย์ และอาจเพิ่มข้อหาให้ตำรวจได้อีกว่า เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้

แต่อยากรู้ครับสรุปแล้วตำรวจจะมาถอดกุญแจรถของเราได้มั้ย เคยเห็นอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะน้องนักเรียนนักศึกษา ตำรวจมักถอดเอากูยแจรถไปเอาดื้อๆ
0
ช่วยกัน 28 ม.ค. 56 เวลา 10:29 น. 13

ตอบกระทู้ 12 ครับ ถ้าตำรวจยึดไปแล้ว เราก็บอกชื่อ นามสกุล หรือหมายเลขบัตรประชาชนบนใบขับขี่ ถ้าตำรวจดี ใบขับขี่ที่เขายึดจะต้องส่งให้พนักงานสอบสวนภายใน 8 ชม. ก็ต้องสามารถหาได้อยู่แล้ว และถึงแม้ใบสั่งหาย ก็มีต้นขั้วอยู่กับตำรวจ ถ้าตำรวจบริการประชาชนจริง คุณก็หาไม่ยาก เว้นเสียแต่เจอตำรวจ........

0
kannika 12 มี.ค. 56 เวลา 09:56 น. 14

วันนี้ขับรถโดยไม่รู้ว่าตัวเองย้อนศรหรือเป็นทางoneway เพราะไม่มีเส้นแบ่ง ตำรวจก็ไม่ได้ให้สัญญาณอะไรเลยเราก็ชะลอให้เค้าเคลียร์รถอีกฝั่งหมดแล้ว แล้วตำรวจก็โบกรถให้เราออก พอออกมาก็เรียกให้จอดแล้วยืดใบขับขี่และแจกใบสั่งเลย เราไม่ได้ตั้งใจทำผิดกฎแต่เป็นเพราะเราไม่รู้จริงๆ เพราะอย่างที่บอกว่ามันไม่มีอะไรแสดงให้เราเห็นเลยว่าไม่ให้รถสวนทางกัน ใบสั่งก็เขียนว่าเราขับย้อนศร แบบนี้ควรทำไงดีค่ะ

0
sky 19 เม.ย. 56 เวลา 15:54 น. 15

เราขับรถฝ่าไฟแดงที่ จ. สระบุรี ช่วงจังหวะไฟเปลี่ยนเบรคไม่ทัน รู้ว่าผิด เราก็ยอมให้ตำรวจ จราจรเขียนใบสั่งและยึดใบขับขี่&nbsp แต่เราอยากจะถามว่า จราจรมายืนรูดซิปหน้ารถเราอ่ะ แจ้งข้อหาอนาจารได้มั้ย น่าเกลียดจริงๆ

0
lekja 16 ต.ค. 56 เวลา 20:35 น. 16

แล้วกรณีตำรวจยึดใบขับขี่ของเรา แล้วทำหายล่ะค่ะ แจ้งความกลับได้ป่าวเศร้าจัง

0
Palm 18 มิ.ย. 57 เวลา 10:25 น. 17

ตำรวจเฮงซวย ทุกที่มันก็เรียกรับเงินเท่านั้นแหละ 100 คนจะมีซัก 1คนที่ไม่รับ ผมขับรถมาเป็น 10 ปี ยืนนั่งนอนยันเลย 10ปีที่ผ่านเคยเจอแค่คนเดียวที่ไม่รับ

0
เสฎฐพงษ์ 9 มี.ค. 59 เวลา 13:21 น. 18

กรณีเสียค่าปรับตามใบสั่งแล้วแต่ต้องรอตำรวจจราจรที่ยึดใบสั่งไว้นานมากเจ้าหน้าที่โรงพักแจ้งว่าต้องรอคนยึดไว้เอามาให้ อย่างนี้เอาผิดตำรวจได้ไหมเกือบ ๗ วันแล้วที่โดนจับ คนจับไม่นำใบขับขี่ที่ยึดไว้ไปมอบให้พนักงานสอบสวน ทำให้ประชาชนเสียเวลามากไหนกฎหมายให้คนจับต้องส่งพนักงานภายใน 8 ช.ม.ไงครับเอาผิดมันบ้างได้ไหม ใครรู้ช่วยตอบหน่อยครับ

0
เจได 23 ธ.ค. 59 เวลา 13:02 น. 19

“บัตรประชาชน ใบขับขี่ กุญแจรถ”
มีคนสอบถามกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถยึดอะไรได้บ้างกรณีกระทำความผิดตามพรบ.จราจรทางบก แยกพิจารณาดังนี้
๑. กรณี “ใบขับขี่รถยนต์” นั้น พรบ.จราจรทางบก ฯ นั้นให้อำนาจ “ เจ้าพนักงานจราจร”ซึ่งก็คือ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร(ซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป) ซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการณ์ตามพรบ.จราจรทาบบก แต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานจราจร และ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ “ ซึ่งก็คือตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ซึ่งบุคคลทั้งสองประเภทพบว่าผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พรบ.จราจรทางบกฯ หรือกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถ เช่น พรบ.รถยนต์ฯ หรือ พรบ. ขนส่งทางบกฯ สามารถ ว่ากล่าวตักเตือน ออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบได้ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบปรับ “ เจ้าพนักงานจราจร” หรือ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ “ จะเรียกเก็บใบขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ และ “ เจ้าพนักงานจราจร” และ “ เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ “ ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ส่งมอบให้พนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่วันที่ออกใบสั่ง ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๗ วัน เมื่อ” เจ้าพนักงานจราจร” หรือ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ “ หรือ “ พนักงานสอบสวน” ได้ว่ากล่าวตักเตือน หรือเปรียบเทียบปรับ และผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถที่ได้รับใบสั่งตามข้อ ๑. สามารถปฏิบัติได้ดังนี้คือ
- ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่ง หรือตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่ง หรือสถานที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่ง
- ชำระค่าปรับตามจำนวนที่กำหนดโดยการส่งธนานัติ หรือการส่งตั๋วแลกเงินของธนาคารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สั่งจ่ายแก่อธิบดีกรมตำรวจพร้อมด้วยสำเนาใบสั่งไปยังสถานที่ และภายในเวลาที่ระบุไว้ในใบสั่ง เมื่อผู้ได้รับใบสั่งได้ชำระค่าปรับครบถ้วน ให้คดีเป็นอันเลิกกัน และในกรณีที่ “ เจ้าพนักงานจราจร” หรือ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ “ ได้เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ ให้ “ เจ้าพนักงานจราจร” หรือ “ พนักงานสอบสวน” รีบจัดส่งใบอณุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บคืนแก่ผู้ได้รับใบสั่งโดยเร็ว และให้ถือว่า ใบรับการส่งธนาณัติ หรือใบรับการส่งตั๋วแลกเงินประกอบใบสั่งเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลา ๑๐ วัน นับแต่วันที่ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงิน
๒.กรณี เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบผู้กระทำความผิดตามพรบ.จราจรทางบก หรือพรบ.รถยนต์ฯ หรือพรบ.ขนส่งทางบกฯ แล้วยึด “ บัตรประชาชน”ของผู้ขับขี่หรือผู้ควบคุมรถ เนื่องจากบัตรประชาชนเป็นกระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข และมีการถ่ายภาพบุคคลลงในบัตรประชาชนเพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงตัวว่าบุคคลที่ถือบัตรดังกล่าวเป็นคนเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยในบัตรประชาชนจะบอกให้รู้ว่าผู้ถือบัตร มีชื่อและที่อยู่ ณ. ที่ใด มีวันเดือนปีเกิดบอกให้ทราบว่าบุคคลผู้ถือบัตรมีสถานะภาพอย่างไร เช่น เป็นผู้หญิงหากมีคำนำหน้าว่า “นาง” แสดงว่าผ่านการสมรสมาแล้ว และบอกให้ทราบว่าผู้ถือบัตรประชาชนดังกล่าวมีอายุเท่าใด บรรลุนิติภาวะหรือยัง ซึ่งจะบอกให้รู้ว่าสามารถทำนิติกรรมได้เพียงไหนอย่างไร และบัตรประชาชน ยังบ่งบอกว่าเป็นคนไทยซึ่งสามารถถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ และมีสิทธิ์ต่างๆตามที่กฎหมายรับรอง และเลข ๑๓ หลักในบัตรประชาชนก็แสดงข้อมูลหลายๆอย่างในตัวเลขทั้ง๑๓ หลัก ดังนั้น บัตรประชาชนจึงเป็น “เอกสาร” ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถยึดบัตรประชาชนได้ การยึดบัตรประชาชนไปเป็น การเอาไปซึ่งบัตรประชาชนจึงเป็นความผิดฐาน เอาไปเสีย ซึ่งเอกสาร โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชนตาม ป.อ. มาตรา ๑๘๘และฐานเอาไปเสียซึ่งบัตรประชาชนของผู้อื่นเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองโดยมิชอบตามพรบ.บัตรประชาชนฯ มาตรา ๑๕ทวิ เพราะการยึดบัตรประชาชนเพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้ผู้ขับขี่หลบหนีซึ่งไม่มีกฎหมายให้อำนาจทำได้ จึงเป็นการเอาไปซึ่งบัตรประชาชนเพื่อประโยชน์ของผู้จับกุมในการจับกุม เพราะการจับกุมตาม พรบ.จราจรฯมาตรา ๑๔๖ เงินค่าปรับหากเป็นการจับในกรุงเทพจะมีการแบ่งเงินค่าปรับให้กรุงเทพมหานคร หรือหากเป็นต่างจังหวัดก็ให้แบ่งแก่เทศบาลในจังหวัดนั้นๆในอัตราร้อยละ ๕๐ของเงินค่าปรับหรือตกเป็นของท้องถิ่นตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด อีกทั้งการที่ไม่มีบัตรประชาชนติดตัวอาจถูกเจ้าหน้าที่ทำการจับกุมในข้อหาไม่สามารถแสดงบัตรประชาชนเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจค้นซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ.บัตรประชาชนฯ มาตรา ๑๗ได้ ดังนั้นเมื่อยึดบัตรประชาชนผู้ขับขี่ไป ผู้ขับขี่อาจถูกจับกุมได้เพราะไม่สามารถแสดงบัตรประชาชนเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจค้น เมื่อการยึดบัตรประชาชนไม่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ การยึดบัตรประชาชนไปจึงเป็นความผิดตามกฏหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
๓.กรณียึดกุญแจรถ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะสามารถทำการยึดกุญแจรถนั้นได้ ทั้งการที่กระทำความผิดตามพรบ.จราจรทางบกฯ พรบ.รถยนต์ฯ พรบ.การขนส่งฯ ก็ไม่ก่อให้เกิดหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครอง อันจะก่อให้เกิดสิทธิ์ยึดหน่วงในตัวรถหรือกุญแจรถตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๔๑ ได้ การเอากุญแจรถไปจึงเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ แล้ว เพราะการทำผิดตามพรบ.จราจรทางบกฯ หรือพรบ.รถยนต์ หรือพรบ.ขนส่งฯ ไม่ให้อำนาจในการยึดรถหรือรถจักรยานยนต์ได้ทั้งไม่สามารถยึดกุญแจรถได้ด้วย เมื่อถูกยึดกุญแจรถไป รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์อาจสูญหาย หรืออาจถูกใครทุบรถเพื่อเอาทรัพยิ์สินภายในรถหรือที่ติดกับตัวรถไปเช่น วิทยุติดรถยนต์ ล้ออะไหล่ เป็นต้น ทรัพย์สินเหล่านี้อาจสูญหายได้เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจคงไม่มาเฝ้ารถให้ และเมื่อไม่มีอำนาจในการยึดรถ เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีอำนาจในการนำรถไปเก็บรักษาที่สถานีตำรวจได้ เมื่อไม่มีกุญแจรถ รถไม่สามารถขับได้ การจอดรถทิ้งไว้รถอาจหาย หรือถูกลักทรัพย์ภายในรถได้ การเอากุญแจรถไปโดยไม่มีสิทธิ์ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฏหมายโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชนชนตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ แล้ว
การเอากุญแจรถไปไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จะมีการเอาไปแต่ก็ไม่ได้มีเจตนาทุจริตที่จะแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายในตัวกุญแจรถสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อไม่ผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่อาจมีความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ แม้การยึดกุญแจอาจมีการยื้อยุดฉุดกระชากอาจมีการใช้กำลังในการได้มาซึ่งกุญแจรถก็ตาม
ดังนั้นหากจะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องดูให้ถูกฐานความผิดด้วยไม่งั้นศาลยกฟ้องเพราะการกระทำไม่เป็นความผิด

0