Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[ ภาษาไทยวันนี้ ] ว่าด้วยเรื่องคำว่า... "สาสน์", "สาส์น" และ "สาร"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"

          คำ สาสน์ (อ่านว่า สาด) สาส์น (อ่านว่า สาน) และ สาร (อ่านว่า สาน) ยังมีการนำไปใช้สับสนกัน ดังข้อความที่เห็นกันอยู่เสมอ ๆ เช่น สาสน์จาก (นายกรัฐมนตรี, ผู้ว่าการ ฯลฯ) สาส์นจาก... หรือ สารจาก... ทำให้เกิดความสงสัยว่า ควรจะใช้คำใดจึงจะถูกต้อง

           ถ้าเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ พิมพ์ครั้งที่ ๔ จะไม่พบคำ "สาส์น" แต่จะพบคำว่า สาสน์ (หน้า ๘๑๘) และคำว่า สาร (หน้า ๘๑๕) ซึ่งนิยามไว้ดังนี้

           สาสน์ (สาด) น.คำสั่ง, คำสั่งสอน; โดยปริยายหมายถึงพระราชหัตถเลขาทางราชการ จดหมายทางราชการของประธานาธิบดี และลิขิตของพระสังฆราช เช่น พระราชสาสน์ อักษรสาสน์ สมณสาสน์.

           สาร ๑, สาร-๑, สาระ (สาน, สาระ-) น.แก่น, เนื้อแท้ที่แข็ง, เช่น แก่นสาร ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น ไม่เป็นสาระ; ถ้อยคำ เช่น กล่าวสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร.

           การที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไม่เก็บคำ สาส์น เพราะเป็นคำที่อ่านและเขียนผิดอักขรวิธีไทยของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต คำบาลีสันสกฤตนั้น พยัญชนะตัวที่ไม่มีรูปสระกำกับอยู่และไม่ใช่ตัวควบกล้ำหรือตัวสะกด จะอ่านเหมือนมีสระอะประสมอยู่เสมอโดยเฉพาะพยัญชนะตัวท้ายคำ เช่น สาสน (อ่านว่า สา-สะ-นะ) เมื่อไทยรับคำบาลีสันสกฤตมาใช้มักนิยมแปลงพยัญชนะตัวท้ายคำเป็นตัวสะกดบ้าง เช่น กาล (กา-ละ) อ่านเป็น กาน, ขย (ขะ-ยะ) แผลงเป็น ขัย แปลงเป็นตัวสะกดและตัวการันต์บ้าง เช่น สนฺต เป็น สันต์, วิโรจน เป็น วิโรจน์ คำ สาส์น ซึ่งเป็นคำมาจากบาลีว่า สาสน จึงต้องเขียนว่า สาสน์ (อ่านว่า สาด) จึงจะถูกต้องตามหลักอักขรวิธีไทยดังกล่าวข้างต้น และคำนี้มีแบบแผนการใช้มาแต่โบราณกับลิขิตของพระสังฆราช เช่น สมณสาสน์, พระราชหัตถเลขาทางราชการ เช่น พระราชสาสน์ เท่านั้น

           ส่วนที่มีการใช้คำว่า สาส์น และอ่านว่า สาน คงเนื่องมาจากชื่อหนังสือ สาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมจดหมายโต้ตอบเกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ ฯลฯ ระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก คำ สาส์น นี้จึงติดหูติดตาและนำไปใช้ในความหมายของ "จดหมาย" กันแพร่หลาย ที่ถูกแล้ว คำว่า สาส์น จะต้องถือว่าเป็นคำวิสามานยนาม เป็นคำยกเว้นที่ใช้เป็นชื่อหนังสือเล่มนี้เท่านั้น

           ฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่ต้องการจะหมายถึง "ถ้อยคำ, หนังสือหรือจดหมายจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้ใช้คำว่า สาร เช่น สารจาก (นายกรัฐมนตรี, ประธานกรรมการ, ...) สารฉบับนี้มีข้อความว่า... ไม่ใช้ สาสน์ หรือ สาส์น เป็นอันขาดเพราะไม่ถูกต้อง.

ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔

แต่ในปัจจุบัน คำว่า "สาส์น" ได้รับการละเว้น แล้วอีกคำหนึ่ง (จากข้อมูลเพิ่มเติมของ คุณ เทราสเฟียร์ เอล เซราฟิเดอร์)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลเพิ่มเติม จาก คุณ เทราสเฟียร์ เอล เซราฟิเดอร์

เรื่องคำว่า สาส์น นั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย แย้งราชบัณฑิตสภาว่า

"คำว่า สาส์น นี้ ได้มีการใช้ต่อเนื่องเป็นนิจมานับแต่ครั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง หากท่านทั้งหลายเห็นว่าผิด ข้าพเจ้าก็จะใช้อย่างที่ข้าพเจ้าได้ร่ำเรียนมา และใช้อย่างที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงใช้ ขอให้ถือว่า การใช้คำสะกดการันต์ว่า สาส์น นี้ เป็นพระราชนิยมในรัชกาลปัจจุบัน"

ปัจจุบัน ในกรณีกระทรวงการต่างประเทศ ออกพระราชสาส์นตราตั้ง หรือแม้แต่การรับพระราชสาส์นตราตั้ง(เอกอัครราชทูต อุปทูต หรือกงสุลใหญ่ผู้มีอำนาจเต็ม)จากประเทศอื่นที่มีพระราชวงศ์เป็นพระประมุขประเทศ ก็ต้องใช้ "สาส์น"

และในกรณีที่ประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีอักษรสาส์นตราตั้ง ก็ใช้ "สาส์น" เช่นกัน

เนื่องมาจากพระบรมราชวินิจฉัยข้างต้นนั่นเอง

แต่ไฉนราชบัณฑิตยสถานไม่แก้ไขในพจนานุกรมปี ๒๕๒๕ ก็มิทราบ แต่พจนานุกรมฉบับมติชนก็ได้เก็บคำว่า "สาส์น" พร้อมอรรถาธิบายดังกล่าวไว้แล้ว ไม่แน่ใจว่าพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จะเก็บไว้หรือไม่ รบกวนช่วยตรวจสอบด้วย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลเพิ่มเติม โดย ผมเอง -*-

จากในการตรวจสอบครั้งล่าสุด ในพจนานุกรมของ ราชยบัณฑิตยสถาน ฉับ พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังคง ไม่พบ คำว่า "สาส์น" ในพจนานุกรม

แต่ในทางกลับกัน กลับพบ คำที่มี คำว่า สาส์น รวมอยู่ด้วยแล้ว ให้ความหมายในทางว่า "จดหมาย" เช่น

ราชสาส์น  [ราดชะสาน] น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการ

 เจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เรียกว่า พระราชสาส์น.

อักษรสาส์น [อักสอนระสาด, อักสอนสาด] น. จดหมายของ

 ประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้

 ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน 

 (อ่านว่าอักสอนสาน) ก็ได้.

อันนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไม ราชบัณฑิตยสถาน จึงไม่บรรจุ คำว่า "สาส์น" ในพจนานุกรมไว้สักที




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 18:08
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 18:13
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 19:34
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 23:45
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 00:07
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 00:07
แก้ไขครั้งที่ 7 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 09:59
แก้ไขครั้งที่ 8 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 10:00

PS.  เวลาอันน้อยนิด... ไม่เพียงพอแม้แต่จะกอดเธอ...

แสดงความคิดเห็น

>

23 ความคิดเห็น

Sukonravat 17 มิ.ย. 50 เวลา 18:28 น. 1

โอ้

งงเล็ๆ

แต่ยังพอขนมหาวิทยากลับเข้าสมองได้ส่วนหนึ่ง

ขอขอบพระคุณน่อท่าน...เซ็นรึเปล่าหนอ??


PS.  ความไว้วางใจอะไรกัน?? ไม่ใช่แค่ถ้อยคำหลอกลวงรึไง??
0
Kross_Andonis 17 มิ.ย. 50 เวลา 18:29 น. 2

โอ้.... ไม่เข้าใจ...(แป่ว)


PS.  วันคืนและวันวานย่อมผ่านพ้น... หลายชีวิตย่อมตายจาก... แต่ยังคงไว้ซึ่งความทรงจำ...(รู้ไหมในรูปนั่นนะข้าน้อยเองล่ะ เหอๆ)
0
SainIChi 17 มิ.ย. 50 เวลา 18:32 น. 3
Sukonravat ... เซน ครับ = ="




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 23:46

PS.  เวลาอันน้อยนิด... ไม่เพียงพอแม้แต่จะกอดเธอ...
0
Ion_Fuser 17 มิ.ย. 50 เวลา 21:44 น. 5

ขอยอมแพ้อย่างราบคาบ

เราก็เป็นคนที่เข้าใจเรื่องนี้ผิดมาตลอด(เรื่องสาสน์ กับ สาส์น น่ะ)

เดิม เรานึกว่า สาสน์ คือ สาส์น (ส่วนสาร ใช้ต่างยังไงเราเข้าใจอยู่แล้ว)


แต่ที่ไหนได้.....


ได้แก้นิยายกันอุตลุดแล้ว!!!


PS.  I have no love in my veins, how could it run into my heart?
0
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ 17 มิ.ย. 50 เวลา 23:41 น. 6

เรื่องคำว่า สาส์น นั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย แย้งราชบัณฑิตสภาว่า

"คำว่า สาส์น นี้ ได้มีการใช้ต่อเนื่องเป็นนิจมานับแต่ครั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง หากท่านทั้งหลายเห็นว่าผิด ข้าพเจ้าก็จะใช้อย่างที่ข้าพเจ้าได้ร่ำเรียนมา และใช้อย่างที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงใช้ ขอให้ถือว่า การใช้คำสะกดการันต์ว่า สาส์น นี้ เป็นพระราชนิยมในรัชกาลปัจจุบัน"

ดังนั้น หากใช้ "สาส์น" ในฐานะ "สาร" ของพระราชา คงจะไม่ผิดอันใด

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 23:43

0
SainIChi 17 มิ.ย. 50 เวลา 23:49 น. 7

ขอบคุณความรู้เพิ่มเติมจาก ท่าน เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเดอร์ ครับ =A=



ลืมอัพเดทข้อมูล แหะๆ = ="


PS.  เวลาอันน้อยนิด... ไม่เพียงพอแม้แต่จะกอดเธอ...
0
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ 17 มิ.ย. 50 เวลา 23:55 น. 8

ขอเพิ่มเติมโดยไม่ใช่ฟังก์ชันแก้ไข และขอบคุณคุณ Sain ที่ช่วยเผยแพร่ข้อมูล รบกวนยกข้อมูลขึ้นไปรวมที่ต้นกระทู้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ปัจจุบัน ในกรณีกระทรวงการต่างประเทศ ออกพระราชสาส์นตราตั้ง หรือแม้แต่การรับพระราชสาส์นตราตั้ง(เอกอัครราชทูต อุปทูต หรือกงสุลใหญ่ผู้มีอำนาจเต็ม)จากประเทศอื่นที่มีพระราชวงศ์เป็นพระประมุขประเทศ ก็ต้องใช้ "สาส์น"

และในกรณีที่ประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีอักษรสาส์นตราตั้ง ก็ใช้ "สาส์น" เช่นกัน
เนื่องมาจากพระบรมราชวินิจฉัยข้างต้นนั่นเอง

แต่ไฉนราชบัณฑิตยสถานไม่แก้ไขในพจนานุกรมปี ๒๕๒๕ ก็มิทราบ แต่พจนานุกรมฉบับมติชนก็ได้เก็บคำว่า "สาส์น" พร้อมอรรถาธิบายดังกล่าวไว้แล้ว ไม่แน่ใจว่าพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จะเก็บไว้หรือไม่ รบกวนช่วยตรวจสอบด้วย

แต่เรื่องนี้มาจากจดหมายข่าวเก่าเก็บนานนมทีเดียว = ="

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 มิถุนายน 2550 / 23:57

0
SainIChi 18 มิ.ย. 50 เวลา 00:16 น. 11

ถึงท่านเทราสเฟียร์


จากที่ผมได้ไปค้นดู รู้สึกว่า ราชบัณฑิตยสถาน


จะยังคงไม่ได้บรรจุ คำนี้ไว้ใน พจนานุกรม ฉบับล่าสุด ครับ (ทำไมหว่า - -")


PS.  เวลาอันน้อยนิด... ไม่เพียงพอแม้แต่จะกอดเธอ...
0
SainIChi 18 มิ.ย. 50 เวลา 00:22 น. 12

ขอเพิ่มเติมแบบไม่แก้ไข = ="


ราชบัณฑิตยสถาน ได้บรรจุ คำที่หมายถึง "จดหมายของพระมหากษัตริย์" ไว้ภายใต้คำว่า "ราชสาส์น"

แต่ใน คำที่หมายถึง "จดหมายของสมเด็จพระสังฆราช หรือประมุขของประเทศซึ่งเป็นนักบวช" ทางราชบัณฑิตยสถาน ยังคงใช้คำว่า "สมณสาสน์" อยู่



อ้างอิง ::

ราชสาส์น [ราดชะสาน] น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการ
เจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เรียกว่า พระราชสาส์น.

สมณสาสน์ [-สาด] น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุข
ของประเทศ ซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรี
ระหว่างประเทศ.




(แก้ไขที่พิมพ์ตกหล่น)

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 00:53

PS.  เวลาอันน้อยนิด... ไม่เพียงพอแม้แต่จะกอดเธอ...
0
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ 18 มิ.ย. 50 เวลา 00:42 น. 13
เออ คือว่า วลีข้างต้น ต้องเปลี่ยนเป็น สมณสาสน์ = "จดหมายของสมเด็จพระสังฆราช หรือประมุขของประเทศซึ่งเป็นนักบวช" นะครับ อนุมานได้ว่า สาสน์ นี้ จะมาจากคำว่า สาสฺน(ป.) อันแปลว่าคำสอน หรือข้อความเกี่ยวกับศาสนา เมื่อใช้กับ สมณ ซึ่งหมายความถึงนักบวชได้ครับ

รบกวนตรวจสอบ "อักษรสาส์น" ด้วยก็ดีครับ ขอบพระคุณล่วงหน้า

อนึ่ง การใช้คำว่า "สาส์นจาก" "สารจาก" ท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน ได้มีวินิจฉัยในที่ประชุมราชบัณฑิตว่า ให้ใช้ "สาส์นจาก" เมื่อผู้ส่งสารมีบรรดาศักดิ์ขั้นเจ้าพระยา หรือ ปัจจุบันเทียบกับนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา เท่านั้น นอกนั้นให้ใช้ "สารจาก" เช่นเดียวกันกับการใช้คำนำหน้า ฯพณฯ ครับ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 00:46
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 00:46
0
SainIChi 18 มิ.ย. 50 เวลา 00:53 น. 14
อักษรสาส์น [อักสอนระสาด, อักสอนสาด] น. จดหมายของ
ประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้
ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน
(อ่านว่าอักสอนสาน) ก็ได้.


คำว่า "สาส์น" ที่ใช้รวมกับคำอื่นแล้ว แปลว่าจดหมาย ราชบัณฑิตยสถาน กลับบรรจุไว้


แต่ทำไม ตัวคำว่า "สาส์น" จริงๆ กลับไม่มีในพจนานุกรมหว่า... ช่างน่าสงสัยยิ่งนัก




ข้าพเจ้าต้องเรียบเรียงกระทู้นี้ ใหม่เสียแล้วสินะ = ="


สำหรับวันนี้ข้าน้อยขอตัวลา ไม่ไหวแล้ว _ _^

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 00:55
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 01:11

PS.  เวลาอันน้อยนิด... ไม่เพียงพอแม้แต่จะกอดเธอ...
0
2_gether 19 มิ.ย. 50 เวลา 18:43 น. 15

โอ้...ขอบคุณค่ะ
จะเอาไปใส่ในรายงานไทยด้วย
พอดีเลย


PS.  รักมิก กิ๊กเซีย [เมียแจ] แคร์มิน กินยุน (นิช)คุณที่รัก ฮักซีวอน
0
yoyo_sk 25 มิ.ย. 50 เวลา 14:07 น. 18

เอ่อ....ข้าพเจ้างงมากๆเลยท่าน

ข้าน้อยขอคารวะท่านทั้ง2มากมาย

ไว้สรุปแล้วข้าน้อยค่อยมาอ่านใหม่ละกัน งงเต๊ก-*-

0