Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คุณค่าของหนังสืออยู่ที่ไหน?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เคยถามตัวเองไหมครับว่า คุณค่าหนังสืออยู่ที่ไหน จริงๆ แล้วตัวผมไม่เคยคิดถึงตรงนี้มาก่อนเลยครับ เมื่อก่อนการเลือกหนังสือสักเล่มขึ้นมากอ่านก็เพราะ "เขาว่ามันสนุก" ก็เลยอ่านบ้าง บางเรื่องซื้อมาก็สนุกจริงๆ ครับ แต่บางเรื่องอ่านแล้วก็ไม่ประทับใจนัก เคยคิดไปว่าหนังสือเล่มหนึ่งจะเกิดคุณค่าและความประทับใจกับคนอ่านนั่น อาจเป็นที่ตัวคนอ่านเองก็ได้

ผมเป็นคนไม่ค่อยชอบซื้อหนังสือเท่าไหร่ครับ เพราะทรัพค่อนข้างน้อย หนังสือเล่มไหนก็ตามที่ผมซื้อมือหนึ่งไว้ก็คือมันเป็นสุดยอดหนังสือที่ผมอยากอ่านแล้วจริงๆ

ดังนั้นผมจึงหันไปซื้อหนังสือมือสองมาอ่านแทน

แต่ว่าครับใครบอกว่าหนังสือมือสองเป็นของเก่า เศษจากคนอื่น ผมขอเถียงว่าหนังสือมือสองเดี๋ยวนี้สภาพดีเท่าหนังสือมือใหม่เลยครับ คือบางทีผมเข้าไปร้านหนังสือมือสองนี่ เจอหนังสือออกใหม่ที่เพิ่งออกไปไม่นานมาวางแป้นแล้นลดราคา50% กับเขาแล้ว จนความคิดที่อยากจะซื้อหนังสือมือหนึ่งลดลงเรื่อยๆ (ไม่รู้ว่าเขาจะเรียกว่าอุดหนุนหนังสือผี นิยายเถื่อนหรือเปล่านะ แต่หนังสือมือสองมันก็ของถูกลิขสิทธิ์นี่หว่าไม่ใช่ก๊อบบี้สักหน่อย หย่วนๆ น่า)

ผมชอบอ่านนิยายไทยเก่าๆ มากๆ เลยครับ บางเล่มเลิกพิมพ์ไปแล้วหายากมาก พอได้มาแล้วจะเกิดความรู้สึกภูมิใจมากๆ เลย บางเล่มแม้จะพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ผมก็ยังไปหาเล่มที่พิมพ์ครั้งแรกมาเก็บไว้อยู่ดี เพราะว่าครั้งแรกที่เขาพิมพ์มันจะมีอะไรหลายๆ อย่างที่เล่มล่าสุดไม่มีครับ

จนมีคนถามว่าซื้อไว้ทำไมเก่าก็ก็เก่า ขาดก็ขาด ผมเองก็ตอบไม่ได้เหมือนกันนอกจากบอกว่า นี่แหละคือคุณค่าของมัน ผมไม่เคยมีอคติกับหนังสือเสียเท่าไหร่ แต่ที่จะมีอคติบ้างก็คือผู้ผลิต

ส่วนที่ทำให้เกิดตัวอคติขึ้นมาก็อาจเพราะว่าเมื่อก่อนนั้นหนังสือที่ทำออกมาเต็มเปียมไปด้วยคุณค่าจริงๆ แต่เดี๋ยวนี้ผมกลับรู้สึกว่าคุณค่าของมันลดลง อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนเขียน (ผมไม่นับรวมเรื่องส่วนตัวของเขานะครับ นับเฉพาะความคิดต่อเขาที่สื่อออกมาทางผลงานเท่านั้น) เดี๋ยวนี้พอไปเดินตามแผงหนังสือแล้วอดทำหน้านิ่ว คิ้วเหลือแค่นิ้วเดียวไม่ได้ เพราะรู้สึกว่าผู้ผลิต ล่วงๆ ออกมาขายกันจริงๆ ผมข้อนข้างจะยึดถือเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญามากพอสมควรครับเห็นอะไรถูกลอกจะทนไม่ค่อยได้ แต่หน้าปกหนังสือบางเล่มไปก๊อบผลงานต่างชาติมาแยะนะผมว่า (ไม่กล่าวถึงนะจ๊ะไปดูตามแผงกันเอง)

นักเขียนใหม่ที่เกิดขึ้นมามักถูกผู้ใหญ่สอนให้รู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ตลอด พูดเลยว่าชีวิตนี้มีลิขสิทธิ์กันแล้ว แต่พอไปดูผลงานที่ผู้ผลิตทำออกไป เอ๊ะ ทำไมไปก๊อบเขามาละนั่น เห็นแล้วอายแทนครับ เกมบางเกมที่ผมเล่นมาตั้งแต่จำความได้ถูกเอาไปขึ้นหน้าปกเปลี่ยนชื่อเกมเป็นชื่อนิยายซะแล้ว เห็นแล้วถามว่าผมอยากอ่านไหม? ผมอาจจะเดินไปเปิดดูครับ แต่คงไม่ซื้อหรอก เพราะผมรู้สึกว่าคุณค่าของมันหายไปตั้งแต่ที่สายตามองเห็นแล้ว แม้จะยอมรับว่าในจำนวนนั้นมีหนังสือที่น่าอ่านที่มีคุณค่ารวมอยู่ก็ตาม ผมก็อธิบายไม่ถูกแฮะ แต่มันทำให้สงสัยว่าผู้ผลิตเขาใสใจตรงนี้หรือเปล่า เขามีความเป็นมืออาชีพจริงไหม? ทำไมแค่ทำให้เป็นตัวของตัวเองทำไม่ได้ต้องไปเอาของเขามา หรือคิดเพียงว่าประชากรในประเทศมีหกสิบล้านฉันพิมพ์ออกมาสามพันเล่มขายไม่ได้ก็ให้มันรู้ไป

ผมเชื่อว่านักเขียนทุกคนอยากให้หนังสือของตัวเอง อยู่นานๆ  นั่นคือมีคนอ่านตลอด มีจนจดจำได้ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพียงสามปีห้าปีแล้วหายไปกับสายลม กว่าจะเขียนหนังสือได้เล่มหนึ่งไม่ใช่แค่เดือนสองเดือนแต่อาจเป็นปี สิ่งที่ถูกกลั่นกรองออกมาจากความคิดนั่นมีคุณค่า แต่การผลิตที่ดูเหมือนจะไม่ใส่ใจแบบนี้ผมเลยสงสัยว่า ผู้ผลิตมีความรู้สึกเช่นนั่นหรือไม? มีความรู้สึกอยากที่จะ "คง" หนังสือที่ท่านเชื่อมั่นว่าสนุก มีสาระ(ในวันนี้) ให้คงอยู่ได้นานที่สุด ด้วยการทำให้มันมีคุณค่าที่สุด และคงคุณค่าเช่นนั้นเรื่อยไปไหม ด้วยการใส่ใจกับขั้นตลอดการผลิตอีกนิด อย่างน้อยก็อย่าให้พี่หยุ่น พี่เกา หรือพี่กา เขามาหัวเราะส่ายหน้าเวลาหยิบหนังสือขึ้นมา "โอ ไอจำได้นี่เป็นผลงานของไอนี่ โอ้โนวทำไมไทยแลนด์ทามจั๊งซี่"

บางคนอาจแย้งว่าแกไปยุงอะไรกับเขาละนั่น อันนี้ผมว่าหันมายุ่งหน่อยก็ดีนะครับ เพราะผู้ใหญ่สอนให้เราไม่เลียนแบบไม่ลอก ไม่ขโมย แต่ทำไมทำเองเสียละ แล้วแบบนี้จะมาหวังอะไรกับเด็กที่กำลังนั่งมองอยู่จริงไหม? หนังสือหนึ่งเล่มเนื้อในของหนังสือคือการแสดงปัญญาของคนเขียนซึ่งบางครั้งก็ถูกต่อว่าบ้าง ถูกเปลี่ยนแปลงบ้างกว่าจะออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ส่วนภายนอกทั้งหมดคือปัญญาของผู้ผลิต ตั้งแต่การทำ การขายและความซื่อสัตย์ ถ้าแสดงปัญญาด้วยการไปลอกเขามา บางทีอาจมีสักวันที่เจอคนถามว่า "มีปัญญาแค่นี่เองหรือ?" การสร้างหนังสือเล่มหนึ่งให้งดงามและมีคุณค่าได้คงต้องอาศัยทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแน่นอนครับ

คุณค่าของหนังสือสำหรับผมคือ การที่หยิบหนังสือเล่มนั่นขึ้นมาอ่านได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าวันนี้ ปีหน้า หรืออีกสิบปีข้างหน้า มันก็ยังให้อะไรเราได้เสมอ ผมไม่ใช่คนที่จะเลือกอ่านหนังสือเพราะหน้าปกนะครับ แน่นอนอยู่แล้วว่าอันดับหนึ่งก็คืออ่านเพราะสนุก แต่การผลิตที่ เอาใจใส ก็เพิ่มโอกาสในการหยิบหนังสือนั่นๆ ขึ้นมาอ่านได้ง่ายขึ้นด้วยครับ

มีน้องคนหนึ่งบอกว่าผมว่าเธอเลือกอ่านหนังสือเพราะสำนักพิมพ์ ถ้าเป็นสนพ นี้จะไม่อ่านจะอ่านแต่สนพ.นี้ สำหรับผมผมคิดว่า เสียดายครับ ผมมักจะกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ขอแค่กอบแล้วมันเป็นประโยชน์กับชีวิตผมก็จะกอบมาให้หมด แต่ถ้ามันไม่ได้อะไรผมก็ค่อยโกยหนี ผมเชื่อเสมอว่าหนังสือทุกเล่มมีคุณค่า แต่ปริมาณของคุณค่าอาจต่างกันและขึ้นอยู่กับว่าคนอ่านมองเห็นและเข้าใจมันไหม

ผมคิดว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ต่างกับการร้องเพลงชาติไทย

ถามตัวเองไหมครับเวลาร้องเพลงชาติไทยรู้สึกอย่างไร ถ้าร้องโดยไม่รู้สึกอะไรเลยก็เหมือนการอ่านหนังสือที่ไม่ได้ซึมซับเอาประโยชน์จากมันนั่นแหละครับ แต่ถ้าร้องแล้วคิดตาม

ประเทศไทย...รวมเลือด เนื้อ...ชาติเชื้อไทย...เป็นประชา...รัฐ

ลองคิดตามสิครับว่าในข้อความนั้นมีอะไรอยู่บ้าง มันไม่ใช่แค่คำที่จับมารวมๆ กันให้มีความหมาย  แต่มีทั้งประเทศ มีทั้งความเป็นไทย มีทั้งเลือดเนื้อและประชาชนอยู่ในนั้น

อ่านหนังสือแล้วก็ลองกอบและโกยคุณค่าของมันดูนะครับแล้วจะรู้ว่าบางทีแล้ว คีย์ ของชีวิตอาจอยู่ใกล้แค่สายตาเราเองก็ได้



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 28 มิถุนายน 2550 / 11:16
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 28 มิถุนายน 2550 / 11:18

PS.   It might be the destiny But I hope this dream for eternity.

แสดงความคิดเห็น

>

73 ความคิดเห็น

K tripple_Karn 27 มิ.ย. 50 เวลา 17:23 น. 3

บางทีเราก็ซื้อนะหนังสือมือสอง สภาพดีมากๆแถมลดตั้งครึ่งจะเสียเต็มราคาไปทำไม

ส่วนคุณค่าหนังสือ เราคิดว่ามันอยู่ที่ใจ เราอ่านแล้วพอใจสุขใจก็โอเค แล้วหนังสือที่จะทำให้คนอ่านประทับใจ
หนึ่ง มันต้องมาจากความตั้งใจของคนเขียนด้วยนะ สังเกตมั้ย เวลาอ่านหนังสือจะรู้ได้เลยว่าใครใส่ใจลงไปแค่ไหน ไม่ใช่สักแต่ว่าจะเขียนให้จบๆกันไป บางเรื่องซื้อมาอ่านแล้วผิดหวังนะ เหมือนจะสนุก แต่ก็แค่ชั่วครู่ อ่านรอบเดียวจบแล้วจบเลย


PS.  ถ้อยคำ-สายตา เพียงเท่านี้เธอก็ฆ่าฉันได้ ที่ยังคงเหลืออยู่คือลมหายใจ แต่เธอรู้จักคำนี้ไหม..ตายทั้งเป็น
0
KennyHass 27 มิ.ย. 50 เวลา 18:17 น. 4

คุณค่าของหนังสือ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตัวผู้อ่าน

ว่าได้อะไรหลังจากอ่าน


PS.  ปากกับใจไปตามสถานการณ์
0
ตีลังกาปาระเบิด 27 มิ.ย. 50 เวลา 18:33 น. 5

เราก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบซื้อหนังสือมือหนึ่ง เพราะกลัวว่า บทแรกที่เรายืนอ่านที่ร้านกับบทต่อๆไป อาจจะไม่สนุกเท่า

ส่วนใหญ่ชอบยืมจากมหาวิทยาลัยหรือไม่ก็ที่โรงเรียนมากกว่า
เล่มไหนที่เราซื้อ เล่มนั้นคือสนุกจริงๆ (คล้ายๆ คุณนั่นแหละ)

หนังสือมือสองที่เราซื้อคือ เรื่องสั้นรวมของคุณศุภักษร (นานมาก)
เล่มละ 8 บาทเอง อ่านเสร็จแล้วก็เก็บรวมกับหนังสือมือหนึ่ง

คิดถึงเมื่อไหร่ก็เอามาอ่านอีกรอบ *-*


PS.  ฉันเป็นคนขี้เหนียว รักเดียวใจเดียวไม่แบ่งใคร เธอเป็นชายใจกว้าง ใครขอรักบ้างเธอก็แบ่งให้ ให้หมดไม่เหลือสักอัน แล้วของฉันจะเอาที่ไหน ไม่รู้แหละเอามาอันนึง ไม่ให้นะมึง..จำไว้...
0
องค์หญิงยากูซ่า 27 มิ.ย. 50 เวลา 19:50 น. 6

เห็นด้วยเลยค่ะ
พูดได้ตรงมากๆ


PS.  >> เมื่อใดที่เรารู้ว่าเรารักเค้าเพราะอะไร เมื่อนั้น..." เราใช้สมองรัก " ...แต่เมื่อใดที่เราไม่รู้ว่าเรารักเค้าเพราะอะไร เมื่อนั้น.." .เราใช้หัวใจ... รัก "
0
Hestia 27 มิ.ย. 50 เวลา 20:17 น. 7

หัวข้อยากจัง จะลองไปคิดๆดูค่ะ


PS.  Angels we have heard on high Sweetly singing o’er the plains,And the mountains in reply Echoing their joyous strains.
0
B 13 s.t 27 มิ.ย. 50 เวลา 22:27 น. 9

เห็นด้วย แต่เจอหลายคนจริงๆนะ(ในเด็กดีก็เยอะ)ที่อ่านหนังสือจาก สมพ. มันน่าเสียดายจริงๆที่ทำให้รู้สึกว่า ถ้าอ่านอยู่แค่นั้นคงไม่เจออะไรที่สนุกกว่านั้นหรอก


PS.  คุณคงจะกล่าวคำว่าเสียใจด้วย กับใครสักคนที่เสียคนที่รักไป คุณคงปลอบใจใครสักคนนั้นราวกับรับรู้ ความเจ็บปวดเสียเอง แต่คุณไม่รู้จริงๆหรอกว่าความรู้สึกนั้นเป็นอย่างไร นอกเสียจากคุณจะต้องสัมผัสกับมันเอง
0
La HaChe 27 มิ.ย. 50 เวลา 22:53 น. 11

เป็นคนนึงนะ ที่อ่านโดยยึด สนพ. เป็นหลัก ชื่อนักเขียนเป็นรอง (นัยว่า ถ้าเขามีนามปากกาอื่น แล้วไม่รู้ก็ไม่ซื้อ) เพราะเคยซื้อ สนพ. อื่น นักเขียนที่ชื่อไม่คุ้นแล้วเสียดายตังค์อย่างแรง เป็นคนไม่มีเวลาไปห้องสมุด หรือร้านเช่า อาศัยว่านานๆ จะไปร้านหนังสือ แต่พอซื้อแล้วไม่ถูกใจ มันก็เสียอารมณ์ เลยคิดว่า... ถ้าเป็นนักเขียนที่เราคุ้น สนพ.ที่เคยซื้อ มันจะเชื่อถือได้ว่า 'คุ้ม' กว่า

ป.ล. เห็นด้วยกับความคิดนะ แต่มันก็สำหรับบางคน (ที่ขี้เกียจหาอะไรใหม่ๆ) อย่างเรามันก็ไม่ค่อยเหมาะ<!--PS-->
<hr width=80% size=1 align=left color=#9E9E9E>
<font color=#6F6F6F>PS. &nbsp;=[]=\ ผมขอสัญญา.. จะรักเจ๊วิ่วตลอดไป.. AvriL เมษาที่รัก...</font>

0
Menvan 28 มิ.ย. 50 เวลา 08:25 น. 12

Great! I agree krub!


PS.  รณรงค์...เด็กไทยรุ่นใหม่ เลิกใช้ภาษาวิบัติ ภาษาไทยแท้แสนงดงาม ใช้ให้ถูก เขียนให้เป็น เดินตามรอยพระบาทเจ้าฟ้านักอักษรศาสตร์ของเรา "รักสมเด็จพระเทพฯ เลิกใช้ภาษาวิบัติ"
0
ทอใยรัก 28 มิ.ย. 50 เวลา 10:09 น. 13

หนังสือแต่ละเล่มนักเขียนทุกคนตั้งใจที่จะรังสรรค์ออกมาให้ผู้คนนั้นได้อ่านกัน อยากให้ทุกคนช่วยเป็นหูเป็นตาแก่นักเขียนเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธฺด้วยนะคะ เพราะแต่ละเล่มนั้นกว่าจะได้มาใช้เวลานานเป็นปี ๆ ค่ะ


PS.   ทอใยรัก สองแผ่นดิน อยากบอกรักเธอทุก ๆ วันที่คิดถึง รักทุกคนนะคะ
0
spock 28 มิ.ย. 50 เวลา 10:13 น. 14

    อืมแต่จริงๆนะ ยุคนี้ คนจะซื้อจากสนพ. เยอะ ดูเป็นหลักไว้ก่อน

    ก็คิดดูสิ ง่ายๆ คงมีหลายคนที่ แบบ แจ่มใสออกมากี่เล่มซื้อแทบหมด หรือ ว่าคนชอบนิยายญี่ปุ่น เจ บุคส์ของ บลิส ออกอะไรมา บางทีอาจจะห่วยก็ได้ แต่หน้าปกมันก็เหมือนๆกัน ก็ซื้อหมด เพราะนักเขียนมันดีไม่ดี เราก็ไม่รู้จัก สำนักพิมพ์ก็ว่าดีหมดอยู่แล้ว

   บางทีต้องอาศัยการทดลองอ่านค้นคุณค่าดู

0
XXX 28 มิ.ย. 50 เวลา 10:27 น. 15

เราก็ยึดสำนักพิมพ์เป็นหลักเหมือนกันนะ คือตอนแรกอ่านหนังสือของสำนักพิมพ์นึง มันจะทยอยออกมาจนครบชุด
ทีนี้เล่มแรกมานก็พออ่านได้น่ะนะ (สนุกแต่ภาษาไม่ค่อยดี) พออ่านไปถึงเล่ม 4
มันก็รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ทนอ่านไม่ได้แล้ว ภาษาไม่พัฒนาเลย แย่ลงอีกแน่ะ
จากนั้นมาเราเข็ดมากๆ เสียดายตังค์ด้วย พอเจอหนังสือสำนักพิมพ์นี้ก็เมินเลย
อีกสำนักพิมพ์นึงจะอ่านทุกเล่มที่เขาออก แต่หลังๆเซ็งชะมัด ผิดหวังๆ ออกมาได้ไงพล็อตคล้ายๆกันตั้ง 3-4 เรื่อง
คุณภาพก็น้อยลงๆ เฮ้อออออ

0
SchMUCK ♦ 28 มิ.ย. 50 เวลา 12:03 น. 17

ผมซื้อหนังสือเกือบทุกเล่มที่ลองอ่านดูแล้วคิดว่ามันสนุก..ถึงแม้ว่าพล็อตมันจะซ้ำๆกันก็เถอะ แต่เมื่อเราได้อ่านหนังสือหลายๆเล่มและซึมซับจินตนาการของคนเขียนเข้าไป ผมว่ามันก็คุ้มค่านะ...


PS.  Ich wusche euch,[Alle gute im Zukuft!!!]
0
ศิลาริน 28 มิ.ย. 50 เวลา 15:24 น. 18
"คีย์ ของชีวิตอาจอยู่ใกล้แค่สายตาเราเองก็ได้"

เห็นด้วย และโดนกับคำพูดนี้อย่างแรง
PS.  love is war. Easy to sTart ,but HarD To StOp
0
~๐สุดสายป่าน_มะขามเปียก๐~ 28 มิ.ย. 50 เวลา 17:05 น. 20

อ่า~ คุณคิดเหมือนหนูไม่มากก็น้อยเจ้าค่ะ

หนูก็ชอบเหมือนกันหนังสือเก่าๆ ทั้งคนไทยเขียนแล้วก็แปลด้วย

สนุกๆเจ้าค่ะ...

แล้วก็หนูโรคจิตมังเจ้าคะ...

หนูชอบจับหนังสือที่มันเก่าๆขาดๆ เน่าๆ น่ะ....หนูว่ามันอ่านสนุกมากกก...ที่สุด

เอ้อ ไปเห็นแวววันตีพิมพ์ใหม่มา สวยๆดีเจ้าค่ะๆ (นอกเรื่องและ) แต่ยังไงก็ชอบปกเดิมมากกว่า

ถึงมีหลายเล่มที่ไม่ขาดน่ะก็ไม่อ่านนะเจ้าคะ คือยิ่งเละแค่ไหน มันให้ความรู้สึกว่า ยิ่งสนุกมากเท่านั้น

ห้องสมุดนี้ใคร จอง อ่า~ ก็ต้องสุดสายป่านนี่แหละเจ้าค่ะ หมายถึงแผงหนังสือเก่าๆข้างล่างอ่ะนะเจ้าคะ

คือเหมือนหนังสือเก่าๆเนี่ย มันแทรกข้อคิด มันให้"อะไรๆ" ที่หนูก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน

อาจเป็นเพราะ...ได้รู้ชีวิตของคนสมัยก่อน ...ไม่อ่ะ..ไม่ใช่เจ้าค่ะ

แต่เวลาอ่านนี่เพื่อนว่านะเจ้าคะ เชย แก่ คุณป้า คุณยาย

แต่หนูก็บอกแล้ว...ว่า มันให้อะไรๆ ที่บอกไม่ถูก...

คือบางทีก็มีคำที่พูดออกไปแล้วคนอื่นทึ่งเหมือนกันนะเจ้าคะ

ประมาณว่า "นี่มันคิดได้ยังไง" ก็ต้องรีบตอบเจ้าค่ะ "เอามาจากหนังสือเว้ย"

หนูว่าหนูอ่านหนังสือแล้วได้อะไรเยอะนะเจ้าคะ (แอบภูมิใจ)

อย่างตอนนี้หนูอ่านเรื่อง ทุติยะวิเศษ อยู่ ...

ยิ่งอ่านก็ยิ่งคุ้นๆเจ้าค่ะ....คล้ายๆกับบ้านเมืองเราที่กำลังเป็นอยู่ตอนนี้

มีหลบ มีไล่...โอ๊ย พัลวัน

ก็...ศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเอาไปใช้ในอนาคต....ไงเจ้าคะ

เพราะว่า...เผื่อวันนึง ประวัติศาสตร์จำซ้ำรอย ย้อนรอยอะไรประมาณนี้...

(อันนี้ก็อีกน่ะแหละ อ่านมาจากเรื่องความลับบนแหลมไซไน)

อ่า...ส่วนมากมาบ่นเรื่องหนังสือเก่ามากกว่าเนาะ ... ไม่ค่อยเกี่ยว กับกระทู้สักเท่าไหร่

(เฮ้!..ก็เกี่ยวนิดนึงน่า) .... ๕๕๕๕๕๕๕


PS.  แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์ อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี!
0