Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

-------------------------------------- ประเทศเกาหลี ------------------------------------------------------------

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่




ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선) เป็นประเทศในอดีตตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือ และ ประเทศเกาหลีใต้



ประวัติศาสตร์


บทความหลัก: ประวัติศาสตร์เกาหลี

ประวัติศาสตร์เริ่มจาก อาณาจักรโคโชซอน สถาปนาขึ้นโดย "ทันกุน" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี(โคกูรยอ, แพ็กเจ, และชิลลา)ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนา[[อาณาจักรโคเรียว] หรือ โค-รยอ ซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (KOREA) และเมื่อราชวงศ์โชซอน(ราชวงศ์ลี)ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซอนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (กรุงโซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น [1]

ในปี พ.ศ. 2453ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนกระทั่งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร

ประเทศเกาหลีแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ โดย ประเทศเกาหลีใต้สถาปนาเป็น สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือ สถาปนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี




ภูมิศาสตร์



คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขา ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีโดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่ 99,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 47.9 ล้านคน (ค.ศ. 2003) ประกอบด้วย 9 จังหวัด (โด) กรุงโซลเป็นเมืองหลวงของประเทศ และประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๆ 6 เมือง คือพูนซา น แทกู อินชน ควางจู แทจอน และ อุลซาน รวมมีเมืองทั้งหมด 77 เมือง (ซี) 88 มณฑล (กุน) ใน 9 จังหวัด



การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

การเมือง 
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ศาสนา 
ชาวเกาหลีเหนือนับถือศาสนาพุทธ 23.33% ศาสนาคริสต์ 0.05% และ ไม่นับถือศาสนา
เศรษฐกิจ 
เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม 



ก่อตั้งราชวงศ์


ราชวงศ์โชซอนก่อตั้งขึ้นโดย นายพลลี ซองเก (태조 Yi Songgye) ขุนพลคนสำคัญแห่งราชวงศ์โกเรียว (Goryeo Denasty)ก่อการยึดอำนาจในปี พ.ศ. 1935(ค.ศ. 1392)

ก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1931 แผ่นดินซึ่งปกครองโดยราชวงศ์โกเรียวใกล้ถึงจุดอวสาน ช่วงเวลานั้นเกาหลีตกอยู่ในยุคเสื่อมกษัตริย์ที่มีผู้ปกครองคือพระเจ้าชาง (King Chang) พระองค์ทรงอ่อนแอ พวกขุนนางกลุ่มต่างๆ ต่างก็คอยปลุกปั่นจนเกิดความแตกแยกกันทั่วไปในราชสำนัก ประเทศจีนซึ่งในขณะนั้นปกครองโดยราชวงศ์หมิง จึงได้ถือโอกาสส่งกองทัพเจ้าโจมตี เพื่อหมายยึดครองเกาหลี โดยนำทัพเข้ามาตรึงชายแดนตรงบริเวณแม่น้ำยาลู

ลี ซองเก ซึ่งเป็นขุนพลใหญ่ของราชวงศ์โกเรียวในขณะนั้น จึงได้ถูกมอบหมายให้นำทัพไปต้านกองทัพจีนเอาไว้ที่อีกฝั่งของแม่น้ำยาลู แต่ก็ได้ใช้วิธีเจรจาจนสงบศึกลง หลังจากนั้น ลี ซองเก ได้นำทัพทั้งหมดกลับเมืองหลวง เมืองแกซอง ลี ซองเก เห็นว่าหากปล่อยประเทศให้ดำเนินภายใต้กษัตริย์ที่อ่อนแอต่อไป ก็จะต้องมีการถูกโจมตีกันขึ้นอีกแน่ ซึ่งเกาหลีอาจไม่โชคดีขอสงบศึกได้อีก ลี ซองเก จึงได้ติดต่อกับกลุ่มขุนนางที่สนับสนุน เพื่อยึดอำนาจจากกษัตริย์ จากนั้นได้ยึดอำนาจโดยการคุมกำลังทั้งหมดเอาไว้ แล้วจึงกดดันให้พระเจ้าชาง กษัตริย์แห่งราชวงศ์โกเรียวสละราชบัลลังก์เสีย และให้พระเจ้ากงยาง ครองราชย์

แต่หลังจากนั้นไม่นาน ลีซองเกก็ทำการยึดอำนาจอีกครั้ง และสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซอน






แสดงความคิดเห็น

>

14 ความคิดเห็น

--มินวู-ซีวอน-ยูโน-ไจ่ไจ๋-- 24 ก.ย. 50 เวลา 11:47 น. 1

[แก้] สิ้นสุดราชวงศ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

พระเจ้าโกจงกษัตริย์องค์สุดท้าย
พระเจ้าโกจงกษัตริย์องค์สุดท้าย

ในปีพ.ศ. 2437(ค.ศ. 1894) ตรงกับสมัยของพระเจ้าโกจง ญี่ปุ่นได้ยึดดินแดนส่วนคาบสมุทรเหลียวตงจากสงครามกับจีน เท่ากับได้ปิดล้อมเกาหลีอย่างสมบูรณ์ ต่อมาญี่ปุ่นจึงต้องการยึดครองเกาหลีเพื่อหวังรวมดินแดนเป็นผืนเดียวกัน และเพื่อแผนในการรุกคืบเข้ายึดครองแมนจูเรีย จนในที่สุดเกาหลีก็ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของญี่ปุ่นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในปี พ.ศ. 2448

เมื่อปีพ.ศ. 2450 ญี่ปุ่นได้ประกาศรวมเกาหลีขึ้นเป็นเขตแดนของญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์ พร้อมกับทำการล้มล้างราชวงศ์โชซอนลงในปีเดียวกัน ยุคสมัยโชซอนจึงถือเป็นการปิดฉากอย่างถาวรในปีนั้นเอง เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีได้อิสรภาพอย่างถาวร แต่ประเทศเกาหลีก็ไม่สามารถกลับมาใช้ระบบราชวงศ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อีกต่อไป และนักประวัติศาสตร์เกาหลีและต่างชาติบางท่านก็ไม่ถือว่าพระเจ้าซุนจงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ลี เนื่องจากพระองค์ครองราชย์ในช่วงที่ญี่ปุ่นครอบงำเกาหลี และถือว่าพระเจ้าโกจงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายแทน

 ฟื้นฟูระบอบราชวงศ์

ราชวงศ์ลี ได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549โดยจักรพรรดินีเฮวอน ซึ่งการฟื้นฟูครั้งนี้เป็นการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ในเกาหลีใต้อีกครั้ง และทำให้เกาหลีมีจักรพรรดินีเป็นประมุขอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ปิดฉากไปเป็นเวลานานกว่า 97 ปี แต่เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้ยังมิได้รับรอง หรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงยังไม่ถือได้ว่าเป็นการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการ

 รายนามกษัตริย์ในราชวงศ์ลี และระยะเวลาการครองราชย์

  1. พระเจ้าแทโจ (พ.ศ. 1935 - 1941)
  2. พระเจ้าจองจง (พ.ศ. 1941 - 1943)
  3. พระเจ้าแทจง (พ.ศ. 1943 - 1961)
  4. พระเจ้าเซจง (พ.ศ. 1961 - 1995)
  5. พระเจ้ามุนจง (พ.ศ. 1993 - 1995)
  6. พระเจ้าดันจง (พ.ศ. 1995 - 1998)
  7. พระเจ้าเซโจ (พ.ศ. 1998 - 2011)
  8. พระเจ้าเยจง (พ.ศ. 2011 - 2012)
  9. พระเจ้าซอนจง (พ.ศ. 2012 - 2037)
  10. องค์ชายยอนซันกุน (พ.ศ. 2037 - 2049)
  11. พระเจ้าจุงจง (พ.ศ. 2049 - 2087)
  12. พระเจ้าอินจง (พ.ศ. 2087 - 2088)
  13. พระเจ้าเมียงจง (พ.ศ. 2088 - 2110)
  14. พระเจ้าซอนโจ (พ.ศ. 2110-2151)
  15. องค์ชาย กวางแฮกุน (พ.ศ. 2151 - 2166)
  16. พระเจ้าอินโจ (พ.ศ. 2166 - 2192)
  17. พระเจ้าโยจง (พ.ศ. 2192 - 2202)
  18. พระเจ้ายอนจง (พ.ศ. 2202 - 2217)
  19. พระเจ้าซุกจง (พ.ศ. 2217 - 2263)
  20. พระเจ้าเกียงจง (พ.ศ. 2263 - 2267)
  21. พระเจ้ายองโจ (พ.ศ. 2267 - 2319)
  22. พระเจ้าจองโจ (พ.ศ. 2319 - 2343)
  23. พระเจ้าซุนโจ (พ.ศ. 2343 - 2377)
  24. พระเจ้าฮอนโจ (พ.ศ. 2377 - 2392)
  25. พระเจ้าโชลจง (พ.ศ. 2392 - 2406)
  26. พระเจ้าโกจง (พ.ศ. 2406 - 2450)
  27. พระเจ้าซุนจง (พ.ศ. 2450 - 2453)
  28. จักรพรรดินีเฮวอน (พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน)


0
--มินวู-ซีวอน-ยูโน-ไจ่ไจ๋-- 24 ก.ย. 50 เวลา 11:59 น. 2
อาหารของประเทศเกาหลี...

 บับ (Bap) ข้าวนึ่ง และจุค (Juk) ข้าวต้ม

112.jpg

ข้าวต้มเป็นอาหารหลัก ของครัวเกาหลี ส่วนใหญ่ใช้ข้าวเหนียว บางครั้ง เป็นพวกถั่ว เกาหลัด ข้าวฟ่าง ถั่วแดง ข้าวบาเลย์ หรือ ธัญญพืชชนิด ต่างๆประกอบ เพื่อเพิ่มรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวต้มถือว่า เป็นอาหารบำรุง และเป็นอาหารเบา มีข้าวต้ม หลากหลายชนิด อาทิเช่น ชนิดที่ทำด้วยข้าว และมีส่วนผสม ด้วยถั่วแดง ฟักทอง หอยเป๋าฮื้อ โสม ลูกสน ผัก เนื้อไก่ เห็ด และถั่วงอก

กุก (Guk) ซุป

113.jpg

ซุปเป็นอาหารจานสำคัญเมื่อมีข้าวมาเสิร์ฟ เครื่องปรุงของซุปชนิดต่างๆมีผัก เนื้อสัตว์ ปลา หอยเชลล์ สาหร่ายทะเล และกระดูกวัว

จิเก (Jjigae) สตูว์

114.jpg

ชิแจคล้ายกับกุกแต่ข้นกว่าและแห้งกว่า ชิแจที่เป็นที่นิยมมากที่สุดทำจากเต้าเจี้ยว ชิแจมักจะ เผ็ดร้อนเสิร์ฟขณะร้อนจัดในชามหินร้อน

จิม และ ชอริม (Jjim and Jorim) เนื้อหรือปลาตุ๋น

115.jpg

จิมและชอริมเป็นอาหาร คล้ายกันทำด้วยผัก ชุปซอสถั่วเหลือง แล้วนำมาเป็น ส่วนผสมต้มในไฟอ่อน

นามุล (Namul) พืชและผักใบเขียว

116.jpg

นามุลทำด้วยพืชหรือผักใบเขียวนำมา ต้มเพียงเล็กน้อย หรือทอดผสมกับเกลือ ซอสถั่วเหลือง งาเค็ม น้ำมันงา กระเทียม หัวหอม และเครื่องเทศ

จอทกอล (jeotgal) อาหารทะเลหมักเกลือ

117.jpg

จอทกอล เป็นอาหารรสเค็มจัด ทำจากปลาหมัก โดยวิธีธรรมชาติ หอยเชลล์ กุ้ง หอยนางรม ไข่ปลา พุงปลา และเครื่องปรุงอื่นๆ 
 


0
--มินวู-ซีวอน-ยูโน-ไจ่ไจ๋-- 24 ก.ย. 50 เวลา 12:08 น. 4
นาฏศิลป์ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

     นาฏศิลป์เกาหลีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในราวศตวรรษที่ 3 นาฏศิลป์เกาหลีในสมัยโบราณใช้แสดงในพิธีทางศาสนา เพื่อบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ จัดแสดงปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นฤดูหว่าน และในเดือนตุลาคมฤดูเก็บเกี่ยว
     วิวัฒนาการของนาฏศิลป์เกาหลีก็ทำนองเดียวกับของชาติอื่น มักจะเริ่มและดัดแปลงให้เป็นระบำปลุกใจในสงคราม เพื่อให้กำลังใจแก่นักรบ หรือไม่ก็เป็นพิธีทางพุทธศาสนา
หรือเป็นการร้องรำทำเพลงในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพ หรือแสดงเป็นหมู่  นาฏศิลป์ในราชสำนักก็มีมาแต่โบราณกาลเช่นเดียวกัน
     นาฏศิลป์เกาหลีสมบูรณ์ตามแบบฉบับทางการละครที่สุดและเป็นพิธีรีตอง ได้แก่ ละครสวมหน้ากาก  นาฏศิลป์เกาหลีสมัยใหม่ พัฒนามาจากนาฏศิลป์ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงต้อนรับอาคันตุกะชั้นผู้ดีและมั่งคั่ง

     นาฏศิลป์เกาหลี มีลีลาอันงดงามอ่อนช้อยอยู่ที่การเคลื่อนไหวไหล่และเอวเป็นส่วนสำคัญ ตามหลักทฤษฎีนาฎศิลป์เกาหลี มี 2 แบบ คือ
1.  แบบแสดงออกซึ่งความรื่นเริง ความโอบอ้อมอารี และความอ่อนไหวของอารมณ์
2.  แบบพิธีการ ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมและประเพณีทางพุทธศาสนา
     จุดเด่นของนาฏศิลป์เกาหลี มีลักษณะคล้ายนาฏศิลป์สเปน คือผู้แสดงเคลื่อนไหวทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย
เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ตะวันตกและนาฏศิลป์ตะวันออกเข้าด้วยกัน  ซึ่งนาฏศิลป์ตะวันตกเน้นหนักในการใช้ขาและร่างกายส่วนล่าง แต่นาฏศิลป์ตะวันออกจะใช้ส่วนไหล่ แขน และมือ

     โรงเรียนนาฏศิลป์เกาหลีสมัยปัจจุบัน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.  โรงเรียนนาฏศิลป์แผนโบราณ ซึ่งไม่ยอมรับอิทธิพลอื่นใดนอกจากจะรักษาแบบฉบับเดิมไว้
2.  โรงเรียนนาฏศิลป์สมัยใหม่ จะรับเอาแบบอย่างของนาฏศิลป์ตะวันตกเข้ามารวมด้วย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าแบบโบราณ
     เป็นที่ยอมรับว่า ยอดนิยมของนาฏศิลป์เกาหลีนั้น ได้แก่ นาฏศิลป์ของพระแสดงการต่อต้านศาสนา ผู้แสดงจะสวมเสื้อคลุมของพระ ลีลาการร่ายรำนั้นงามน่าดูมาก แสดงออกซึ่งความต้องการของมนุษย์

     นาฏศิลป์เกาหลีที่ควรรู้จัก ได้แก่
1.  ละครสวมหน้ากาก เนื้อเรื่องมักคล้ายคลึงกัน ลีลาการแสดงนั้นนำเอานาฏศิลป์แบบต่างๆ มาปะติดปะต่อกัน
2.  ระบำแม่มดก็เป็นนาฏศิลป์อีกแบบหนึ่ง และการร้องรำทำเพลงประเภทลูกทุ่งนั้นก็มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง
3.  ระบำบวงสรวงในพิธีและระบำประกอบดนตรีที่ใช้ในพิธีเลี้ยงต้อนรับในราชสำนัก ซึ่งประกอบด้วยบรรยากาศอันงดงามตระการตาน่าชมมาก

0
--มินวู-ซีวอน-ยูโน-ไจ่ไจ๋-- 24 ก.ย. 50 เวลา 12:14 น. 5



ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกมูกุงฮวา หรือ โรส ออฟ ชารอน เป็นดอกไม้ประจำชาติเกาหลี ซึ่งจะบานสะพรั่งทั่วประเทศระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม สิ่งที่ทำให้ดอกไม้ชนิดนี้ไม่เหมือนดอกไม้ชนิดอื่นคือสามารถทนสภาพอากาศที่เลวร้ายและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ความหมายของคำว่า มูกุงฮวา มาจากรากศัพท์ มูกุง ซึ่งหมายถึงความเป็นอมตะ คำ ๆ นี้สะท้อนความเป็นอมตะของประวัติศาสตร์เกาหลี ความมุ่งมั่นและความอดทนของชาวเกาหลี





เครื่องปั้นดินเผา
ประเทศเกาหลีได้รับเอาศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากประเทศจีนเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ศิลปะแขนงนี้ได้เจริญรุ่งเรืองและกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวเกาหลีมีความภาคภูมิใจ

เครื่องปั้นดินเผาแบบศิลาดลสีเขียวอมฟ้า ที่มีความสวยงามแบบลึกซึ้งจากราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกและเป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยมวัตถุโบราณ เช่นเดียวกับเครื่องกระเบื้องสีขาวจากราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910)

ศิลปะแขนงนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นในยุคสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ญี่ปุ่นที่รุกรานประเทศเกาหลีในช่วงปี ทศวรรษ 1950 และทำให้ศิลปะแขนงนี้เจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้


ขนบธรรมเนียมและประเพณี


การเคารพผู้มีอาวุโส
โครงสร้างทางสังคมแบบขงจื้อที่มีมานานยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น ถึงแม้ว่าเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านนี้บ้าง วัยวุฒิและอาวุโสยังมีความหมายมากและผู้เยาว์จะต้องเคารพคำสั่งของผู้อาวุโสโดยปราศจากข้อโต้แย้ง ดังนั้นบ่อยครั้งเราจะถูกถามว่าอายุเท่าใด และถามถึงสถานภาพทางการสมรส (เป็นที่น่าแปลกอยู่ทีเดียวที่ไม่ว่าเราจะอายุมากเพียงใด เราจะไม่ถือเป็นผู้ใหญ่หากเรายังไม่สมรส อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันในแต่ละครอบครัว) เพื่อจะคะเนถูกถึงความอาวุโสของเราต่อผู้อื่น อย่างไรก็ตามการที่ถูกถามก็มิได้หมายความว่าผู้ถามต้องการล่วงล้ำเข้ามาในโลกส่วนตัวของเรา แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามนั้นหากเราไม่ต้องการ


ชื่อ
ชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีชื่อสกุลจำกัดอยู่ในไม่กี่กลุ่มชื่อ เช่น 21% จะมีชื่อสกุลว่า คิม 14% จะมีชื่อสกุลว่า ยี, ลี หรือ รี 8% มีชื่อสกุลว่า ปาร์ค นอกจากนั้นก็มีชื่อสกุลแตกออกไปอีกเช่น ชอย (หรือ แช) เจิง (หรือ ชุง) จาง (หรือ ชาง) ฮัน , ลิม เป็นต้น ชื่อเต็มของชาวเกาหลีก็จะประกอบด้วย ชื่อสกุล 1 พยางค์และชื่อหน้า 2 พยางค์ ชื่อสกุลจะเขียนก่อน สตรีชาวเกาหลีจะไม่เปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรส แต่บุตรและธิดาจะใช้ชื่อสกุลของบิดา


การสมรส
ชาวเกาหลีถือว่าการสมรสนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการหย่าร้างถือว่าเป็นความตกต่ำเสียชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับคู่สมรสเท่านั้น แต่รวมไปถึงครอบครัวเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อัตราหย่าร้างในปัจจุบันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วพอควร

การประกอบพิธีสมรสในปัจจุบันแตกต่างไปจากในสมัยโบราณ นั่นคือในปัจจุบันนี้พิธีจะเริ่มด้วยแบบทางตะวันตก นั่นคือมีการสวมชุดวิวาห์สีขาวสำหรับเจ้าสาวและทัคซีโดสำหรับเจ้าบ่าว โดยประกอบพิธีในห้องจัดพิธีวิวาห์ หรือในโบสถ์ ต่อมาช่วงบ่ายจะมีพิธีแบบดั้งเดิมในสถานที่ใหม่ด้วยชุดวิวาห์ที่มีสีสันงดงาม

เจเย (พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ)
ตามหลักความเชื่อดั้งเดิมของเกาหลีนั้น เมื่อบุคคลหนึ่งสิ้นชีวิตลง วิญญาณของเขายังไม่ไปไหน แต่ยังวนเวียนอยู่ใกล้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วคนทีเดียว ในช่วงเวลาอันยาวนานนี้ผู้ตายยังถูกถือว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวความสัมพันธ์อันนี้ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยพิธีเจเย ซึ่งจัดขึ้นในวันพิเศษต่างๆ
เช่น ซอลัล และชูซก รวมทั้งวันครบรอบวันเสียชีวิตของบรรพบุรุษเหล่านั้น ชาวเกาหลีเชื่อว่าการที่เขามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นก็ด้วยพรอันประเสริฐซึ่งบรรพบุรุษให้ไว้นั่นเอง


ภาษากาย
เมื่อต้องการกวักมือเรียกผู้อื่นนั้น ควรคว่ำมือลงและกวักนิ้วเรียกโดยใช้นิ้วชิดกัน การกวักมือเรียกโดยหงายฝ่ามือขึ้นนั้นไม่สุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้นิ้วกวักเรียก เพราะถือเป็นกิริยาเรียกสุนัข สำหรับชาวเกาหลี

ฮันบก
ฮันบกเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลีจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้

ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง) ในปัจจุบันชุดประจำชาติฮันบก จะใช้สวมเฉพาะในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า)


อนดอล
ตามประเพณีของเกาหลีนั้นห้องต่าง ๆ จะใช้เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่าง และไม่มีการใช้หรือเรียกห้องตามการใช้งานของมัน เช่น ห้องนอน หรือห้องอาหาร เป็นต้น แต่จะมีการนำโต๊ะและเสื่อเข้าไปไว้ตามห้องต่าง ๆ ตามจุดประสงค์การใช้งาน ประชาชนส่วนใหญ่จะนอนบนเสื่อหนาปูบนพื้น ใต้พื้นห้องจะมีท่อระบายอากาศที่ทำด้วยหินหรือคอนกรีต ในสมัยโบราณลมร้อนจะถูกระบายผ่านช่องเพื่อให้เกิดความร้อน ดินเหนียวและปูนจะถูกนำมาวางบนหิน เพื่อป้องกันผู้อยู่อาศัยมิให้ถูกกระทบด้วยก๊าซพิษ ระบบทำความร้อนใต้พื้นนี้เรียกว่า “อนดอล” ในยุคปัจจุบันใช้ท่อน้ำร้อนให้ไหลผ่านพื้นซีเมนต์ซึ่งคลุมด้วยพรมน้ำมัน

คิมจาง
คิมจางเป็นวิธีการเตรียมผักดองกิมจิในฤดูหนาวของชาวเกาหลีแต่ดั้งเดิม และสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นมาหลายชั่วคนแล้ว ในเกาหลีนั้นจะมีผักน้อยประเภทมากและก็ปลูกได้ระหว่าง 3-4 เดือนสุดท้ายของปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคิมจางช่วงต้นฤดูหนาว เพื่อทำอาหารซึ่งกลายมาเป็นอาหารประจำของชาวเกาหลี โต๊ะอาหารในเกาหลีจะขาดกิมจิไม่ได้เลย

การแพทย์แบบตะวันออก
การแพทย์ตะวันออกถือหลักว่าสาเหตุแห่งโรคคือ พละกำลังที่ถดถอยและภูมิต้านทานที่อ่อนลง ไม่ได้เกี่ยวกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ แต่เป็นการเสียสมดุลของพลังแห่งชีวิตในร่างกายโดยรวม ดังนั้นการแพทย์ตะวันออกจึงใช้วิธีรักษาโดยใช้หลักฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานและเสริมสร้างความประสานกลมกลืนของร่างกายโดยรวม มิใช่โดยวิธีกำจัดเชื้อโรค

วิธีรักษาแบบตะวันออกมีทั้ง การบริโภคยาสมุนไพร การฝังเข็ม การใช้ลูกประคบ และการบำบัดโดย การคว่ำถ้วยสูญญากาศ



วัฒนธรรมเกาหลี
ประเทศเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ทอดตัวลงใต้จากศูนย์กลางชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยพื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางกิโลเมตรกับเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,400 เกาะเรียงรายตลอดชายฝั่ง

ณ เวลานี้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงถูกแบ่งแยกตามภูมิศาสตร์และลัทธิการปกครอง มีประชากรทั้งหมดประมาณเจ็ดสิบล้านคนทั้งในประเทศเกาหลีเหนือและใต้ และไม่นานมานี้เองที่มีความก้าวหน้าที่เด่นชัดหลายประการในการร่วมมือและรวมประเทศเข้าด้วยกัน

คำว่า "เกาหลี" นี้ใช้อ้างอิงทั้งประเทศเกาหลีเหนือและใต้ ประเทศเกาหลีใต้ ณ ที่นี้ หมายถึงสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีประชากร 48 ล้านคนในจำนวนนี้ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวง กรุงโซลนั้นประการศักดาว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 600 ปี และในปี 1988 ก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ประเทศเกาหลีเป็นเป้าแห่งความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งเมื่อได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศญี่ปุ่นในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002

ประเทศเกาหลีมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวเกาหลีเองได้เรียกผืนแผ่นดินแห่งนี้ว่า คึมซูกังซาน (geumsugangsan) หรือ "ผืนพรมทองแห่งแม่น้ำและภูเขา" ความน่าพิศวงของผืนแผ่นดินนี้ถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงฤดูกาลด้วยทัศนียภาพที่แตกต่างกันไป ภูมิอากาศของเกาหลีซึ่งแบ่งออกเป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวนั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว คือช่วงฤดูหนาวโดยปกติจะกินเวลายาวนาน ฤดูร้อนสั้นกว่า และฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สั้นที่สุด ช่วงเวลาฝนตกจะเป็นระหว่างฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายน

ชุดแต่งกายตามประเพณีของชาวเกาหลีคือ ฮันบก (Hanbok) ชุดที่ใช้แต่งกายในฤดูหนาวนั้นใช้ผ้าที่ทอจากฝ้ายและกางเกงยาวที่มีสายรัดที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับและการแผ่ซ่านของความร้อนในร่างกายให้มากที่สุด

อาหารเกาหลีก็ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบรับกับภูมิอากาศ ในภูมิภาคที่ฤดูหนาวกินเวลานาน เทคนิคการถนอมอาหารพิเศษได้ถูกวิวัฒน์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาวิตามินในสูตรอาหารประเภทผัก กิมจิเป็นตัวอย่างอันเป็นสัญลักษณ์ของอาหารหมักดอง ความจริงที่ว่ากิมจิจะมีรสเค็มขึ้นถ้าใครนำมันจากทางเหนือที่หนาวเย็นมาสู่ทางใต้ที่อบอุ่นกว่านั้นเป็นเกี่ยวข้องกันมากกับลักษณะของอากาศ

อิทธิพลของภูมิอากาศยังบ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันของเกาหลี บ้านแบบเกาหลีจะมี ออนดอล (Ondol) ซึ่งทำปฏิกิริยาภายใต้พื้นเพื่อช่วยเพิ่มความร้อนฤดูหนาว และโดยทั่วไปบ้านจะมีหลังคาต่ำ มีห้องเล็กและผนังหนา มีหน้าต่างและประตูเปิดสู่ภายน้อยซึ่งมักจะทำเป็นสองชั้น บ้านเกาหลีโบราณจะมีห้องโถงเปิดพื้นเป็นไม้ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นี่ในช่วงฤดูร้อน ห้องสำหรับอยู่อาศัยนั้นโดยปกติจะอยู่กลางบ้านใหญ่ ห้องรับแขกจะอยู่อีกหลังต่างหาก ห้องครัวก็สร้างเป็นหลังต่างหากและถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายอย่างนอกจากการปรุงอาหารเพียงอย่างเดียว

เป็นเวลาไม่นานมานี้เองที่เศรษฐกิจของเกาหลีได้ถูกปฏิรูปไปเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 1960 เกาหลีได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเป็นแบบอุตสาหกรรมที่รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปฏิวัติแปรเปลี่ยนไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การต่อเรือ การคมนาคม และยานยนต์ซึ่งเป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไปทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการคมนาคมและสารสนเทศนั้นเกาหลีในวันนี้ยืนอยู่แถวหน้าของโลก

ชาวเกาหลีได้สร้างวัฒนธรรมที่โดดเด่นผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานและมรดกทางวัฒนธรรมอันเด่นเฉพาะตัวก็สามารถพบได้ตลอดคาบสมุทร ชาวเกาหลีให้คุณค่ากับการเรียนรู้และมีชื่อเสียงมากในการอุทิศตนและความมุมานะอุตสาหะ บางทีอาจเป็นเพราะลักษณะเหล่านี้ก็ได้ที่ทำให้พวกเขาสามารถใช้แรงกระตุ้นทางวัฒนธรรมซึ่งนำมาประยุกต์อย่างถี่ถ้วนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

กีฬาประเพณี
ชาวเกาหลีรักการกีฬาเป็นอย่างมาก 20 ปีมาแล้ว ที่เกาหลีเป็นเจ้าภาพการแข่งขันนานาชาติต่าง ๆ รวมทั้งกีฬาโอลิมปิค ในปี ค.ศ.1988 และฟุตบอลโลก ค.ศ.2002 นอจากนี้นักกีฬาของเกาหลีก็ได้คะแนนยอดเยี่ยมในการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ

นอกจากกีฬาสมัยใหม่เช่นการชิงแชมป์นานาชาติเรือกีฬาฤดูหนาวแล้ว เกาหลียังมีการละเล่นตามประเพณีแบบชาวบ้านและกีฬาแบบต่าง ๆ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การละเล่นหรือกีฬาประเภทนี้จะเล่นกันในโอกาสพิเศษเช่น วัดขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ วันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี) หรือวันทาโน๊ะวันที่ 5 เดือน 5 จันทรคติ

การต่อสู้ซีรึม
ซีรึม เป็นหนึ่งในกีฬาประเพณีของเกาหลีที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ การเล่นประกอบด้วยนักกีฬา 2 คน ที่ต้องจับเชือกคาดเอวของคู่ต่อสู้ให้มั่น และใช้พลังของตัวเองโยนคู่ต่อสู้ของตัวให้ลงพื้นให้ได้จึงจะเป็นผู้ชนะ

ในปัจจุบัน ซีรึมเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากในหมู่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาวเกาหลีทั้งหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ และทุก ๆ ปีก็จะมีการแข่งขันกีฬานี้บ่อย ๆ

เบอร์โทร: สมาคมการต่อสู้ซีรึมแห่งเกาหลี (Tel.02-420-4256)

เทควันโดเกาหลี
เทควันโดถือกำเนิดในเกาหลีและปัจจุบันเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก มันคือกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะแขน ขา มันไม่ได้เป็นเฉพาะศิลปินการป้องกันตัวเท่านั้น แต่มันคือการเสริมสร้างบุคลิกภาพโดยการฝึกกายและจิต

เทควันโดได้เป็นกีฬาทางการในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ซิดนีย์ในปี 2000

เบอร์โทร: สมาคมเทควันโดเกาหลี (Tel.02-420-4271/3)
Url: http://www.koreataekwondo.org/

การยิงธนู
การยิงธนู คือประเพณีแห่งศิลปะการต่อสู้และขณะเดียวกันก็เป็นการละเล่น ตั้งแต่ยุคสมัยเกาหลีโบราณ การยิงธนูเป็นการแสดงความสามารถที่สำคัญทีเดียว และได้รับการขนานนามว่าเป็นกีฬาชั้นสูง

ชื่อสถานที่: สมาคมยิงธนูแห่งเกาหลี
เบอร์โทร: (02)420-4261

การละเล่นตามประเพณี

การเล่นว่าว
การเล่นว่าวเป็นการละเล่นแบบชาวบ้าน ว่าวรูปสี่เหลี่ยม (ย็อน) ทำขึ้นด้วยการขึงไม่ไผ่บนแผ่นกระดาษ ชังโฮจิ ตามขวางและเย็บเข้าติดกันเพียงเท่านี้ ว่าวก็พร้อมจะถูกปล่อย ให้ลอยขึ้นไปในท้องฟ้า

การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในวันประเพณีต่าง ๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติหรือวันฉลองอื่นของชาวบ้าน มีการชิงชนะเลิศการเล่นว่าวไปหลาย ๆ เมืองในเกาหลี

นอลตุยกี (กระดานหก)
กระดานหกเป็นประเพณีการละเล่นแบบชาวบ้านสำหรับสุภาพสตรี วิธีการก็คล้ายกับม้ากระดกแบบตะวันตกนั่นคือ มีแผ่นไม้ยาว ซึ่งส่วนกลางจะตั้งอยู่บนกองฟางที่แห้งแข็ง ผู้เล่นจะมี 2 คน โดยแต่ละคนจะผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้าง การละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณีต่าง ๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซก หรือวันทาโน๊ะ

คีเนตุยกี (ชิงช้า)
ชิงช้านี้ก็เป็นการละเล่นแบบชาวบ้านอีกอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในหมู่สุภาพสตรี เช่นเดียวกับนอลตุยกี และนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะคึเนซึ่งเป็นชิงช้าของเกาหลีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้นผูกติดกับแผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูง หรือผูกติดกับไม้ซุง ซึ่งต่อเป็นคาน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าคึเนนี้ไปได้สูงทีเดียว คึเนตุยกีจึงเป็นการละเล่นที่ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยเล่นกันในระดับประเทศ

พาดุก
พาดุกเป็นการละเล่นแบบกระดานโดยมีผู้เล่น 2 คน ในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า "โก" หรือหมากล้อม และได้รับความนิยมเล่นอย่างแพร่หลาย ในภาคตะวันออกไกล และทั่วโลกซึ่งผลัดกันวางหมากสีขาวและสีดำลงบนกระดาน พาดุกบัดนี้กลายเป็นการละเล่นสากลไปแล้ว และเล่นยากกว่าหมากรุก

ชางกี (หมากรุกเกาหลี)
ชางกีเป็นการละเล่นแบบกระดานคล้ายหมากรุก ซึ่งต้องมีผู้เล่น 2 คน เช่นเดียวกับหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ย อื่น ๆ แต่คงไม่เคยเห็นช้างและปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในหมากรุก
การละเล่นนี้และพาดุก ถือว่าเป็นการละเล่นแบบต้องใช้ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่าง ๆ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้

ยุทนอริ (การละเล่นแบบไม้ 4 แท่ง)
ยุทนอริเป็นหนึ่งในการละเล่นที่นิยมเล่นกันในเดือนมกราคมในจันทรคติ และเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ ๆ ยุท เป็นคำ ๆ หนึ่งในเกมส์นี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า "สี่" เกมส์มีความคล้ายคลึงกับ เกมส์พาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม ซึ่งจะเดินหมากไปรอบ ๆ หลังจากการโยนไม้

0
Katheryn18Cardenas 13 ก.ค. 53 เวลา 10:59 น. 12

This is understandable that cash makes people disembarrass. But how to act when somebody does not have cash? The one way only is to try to get the <a href="http://bestfinance-blog.com/topics/business-loans">business loans</a> and term loan.

0