Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

++บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษ++

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษ

บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษนั้น แบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้น ได้แก่

1.      ดยุค (Duke พหุพจน์ว่า Dukes) สตรีหรือภรรยาของดยุค เรียก ดัชเชส(Duchess พหุพจน์ว่า Duchesses)

2.      มาควิส (Marquess พหุพจน์ว่า Marquesses) สตรีหรือภรรยาของมาควิส เรียก มาร์เควียเนส(Marchioness พหุพจน์ว่า Marchionesses)

3.      เอิร์ล หรือ เค้านต์ (Earl หรือ Count พหุพจน์ว่า Earls และ Counts) สตรีหรือภรรยาของเอิร์ล เรียก เค้าเตส(Countess พหุพจน์ว่า Countesses)

4.      ไวส์เคานต์ (Viscount พหุพจน์ว่า Viscounts)

  1. บารอน (Baron พหุพจน์ว่า Barons) สตรีหรือภรรยาของบารอน เรียก บารอเนส(Baroness พหุพจน์ว่า Baronesses)

ในนิยายโรแมนซ์แนวรีเจนซี่ จะเรียกพวกคนสูงศักดิ์ว่า My Lord (ชาย) หรือว่า ลอร์ดตามด้วยชื่อตำแหน่ง (ไม่ใช่ชื่อตัว)
ส่วนผู้หญิงก็ใช้ My Lady และเลดี้ กับสตรีสูงศักดิ์ (แหม...ชอบคำนี้จัง ฟังแล้วไพเราะจับหู อิอิ)

ตำแหน่งพวกนี้สืบทอดตามสายเลือดค่ะ จากพ่อไปยังลูกชาย ลูกสาว หรือว่าญาติก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีผู้สืบทอดสายตรง ผู้สืบทอดจะดำรงตำแหน่งเดียวกันค่ะ

ขยายความ :
ตำแหน่งขุนนางตามศักดินาของอังกฤษ บรรดาศักดิ์นี้ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ เป็นรางวัลเมื่อสร้าง ความดีความชอบครั้งใหญ่ๆ มีการสืบต่อทางสายเลือด จากพ่อ ถึง ลูกชาย หลานชาย ลงมาตามลำดับเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีผู้สืบสกุล ฐานะคล้ายกับเชื้อพระวงศ์ของไทยเรา (หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์) ตรงที่จะมีการใช้ คำลงท้ายตามลำดับความสำคัญ แต่ผู้สืบสกุลที่จะได้รับโอนบรรดาศักดิ์ต่อมีเพียงลูกชายคนโตหรือญาติสนิท

เท่านั้น และจะได้รับก็ต่อเมื่อเจ้าของบรรดาศักดิ์คนเก่าเสียชีวิตลง

ขุนนางคนหนึ่งๆอาจมีบรรดาศักดิ์ได้หลายตำแหน่ง ภรรยาของขุนนางจะได้รับตำแหน่งในราชสำนักด้วย เช่นกัน เช่น ถ้าสามีเป็นดยุค ภรรยาจะได้รับตำแหน่ง ดัชเชส กรณีที่ขุนนางเสียชีวิต และไม่มีลูกชาย ลูกสาวคนโต จะรักษาตำแหน่งแทน จนกว่าจะมีผู้สืบทอดที่เหมาะสม


บรรดาศักดิ์ของอังกฤษเรียงตามลำดับความสูงต่ำได้ดังนี้


- Duke
ดยุค (เทียบได้กับหม่อมเจ้า หรือเจ้าพระยาของไทย) เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในสภาขุนนาง ตำแหน่งทางฝ่ายหญิง คือ Duchess ดัชเชส


- Marquis
มาร์ควิส ตำแหน่งฝ่ายหญิงคือ Marchioness มาร์ชั่นเนส


- Earl
เอิร์ล (หรือ Count เคานท์ สำหรับประเทศทางยุโรป เทียบได้กับตำแหน่ง พระยา) ฝ่ายหญิง คือ Countess เคาน์เตส


- Viscount
ไวส์เคานท์ (อลิสแตร์ สก็อตต์ พระเอกของเรา ถือบรรดาศักดิ์ ไวส์เคานท์ ลีนดอน) ฝ่ายหญิง คือ Viscountess ไวส์เคาน์เตส


- Baron
บารอน (พี่ชายของแคโรลีน นางเอกของเรา ถือบรรดาศักดิ์ บารอน บรินด์ลีย์) ฝ่ายหญิง คือ Baroness บารอนเนส เป็นตำแหน่งต่ำสุดในสภาขุนนาง


นอกจากนี้ยังมี ตำแหน่ง เซอร์ สไควร์ ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าร่วมในสภาขุนนาง แต่มีศักดินาถือครองที่ดิน เช่นเดียวกับ ขุนนางอื่นๆ (จำนวนที่นาที่ถือครองเป็นส่วนตามความสูงต่ำของตำแหน่ง)


บรรดาศักดิ์แต่ละอันมีชื่อประจำตำแหน่งแตกต่างกัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับนามสกุลของขุนนางผู้ถือบรรดา ศักดิ์ เช่น พระเอกของเรา อลิสแตร์ สก็อตต์ บรรดาศักดิ์ ไวส์เคานท์ ลีนดอน ไม่ใช่ ไวส์เคานท์สก็อตต์ ไวส์เคานท์อลิสแตร์ ก็ไม่เรียก


นอกจากนี้ยังสามารถเรียกบรรดาศักดิ์ขุนนางตั้งแต่บารอนขึ้นไปอย่างย่อๆ โดยใช้คำว่า ลอร์ด เช่น ลอร์ดลีนดอน ลอร์ดบรินด์ลีย์ สำหรับผู้หญิงใช้ เลดี้ และใช้เฉพาะชื่อบรรดาศักดิ์เท่านั้น ไม่มีการใช้ชื่อตัว หรือนามสกุล


เมื่อบุคคลที่ต่ำกว่าพูดกับดยุคหรือดัชเชส จะต้องลงท้ายประโยคว่า Your grace (เทียบได้กับ เพคะ ของไทยเรา) สำหรับขุนนางระดับมาร์ควิสถึงไวส์เคานท์ บุคคลที่ต่ำกว่าจะต้องลงท้ายประโยคว่า My lord ในขณะที่สนทนาด้วย ส่วนบารอนและตำแหน่งที่ต่ำกว่าไม่มีคำลงท้าย

ภรรยาของขุนนางชั้น peer ก็จะได้ตำแหน่งตามสามี แต่ตำแหน่งที่ได้มาเพราะการแต่งงานไม่มีสิทธิ์เข้าไปนั่งใน House of Lords ค่ะ ต้องเป็นดัชเชสที่สืบทอดทางสายเลือดถึงจะมีสิทธิ์
ส่วน ลอร์ด กับ เลดี้ ไม่ใช่ตำแหน่งทางการ แต่เป็นคำเรียกค่ะ สมมุติว่าตำแหน่งจริงเป็นเอิร์ลแห่งแลงฟอร์ด แต่เวลาคุยกันก็เรียกว่า ลอร์ดแลงฟอร์ด อย่างนี้ได้ค่ะ ลูกๆ ของขุนนางก็เรียกว่าลอร์ดหรือเลดี้ได้เหมือนกัน

ลอร์ด

คำว่า ลอร์ด (Lord) เป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ชายที่มีกำลังและอำนาจ ใช้แตกต่างกันไปตามบริบทต่างๆ ซึ่งถ้าหากจะพูดในแง่ของตำแหน่งหรือบรรดาศักดิ์ในระบบขุนนางแล้ว ลอร์ด เป็นบรรดาศักดิ์ของชนชั้นสูงที่มีศักดินาถือครองที่ดินรวมถึงผลผลิตและแรงงานของทาสที่อาศัยอยู่ และ ยังจะใช้เป็นคำสุภาพของบุตรของขุนนางเหล่านั้นได้อีกด้วย เช่น บุตรชายคนเล็กของดยุค และมาควิสก็สามารถเรียกว่า ลอร์ด (ตามด้วย ชื่อ หรือ นามสกุล)ได้

ในบรรดาศักดิ์ของประเทศอังกฤษนั้น ไวส์เคานต์ และ บารอน นิยมใช้คำนำหน้าชื่อว่า ลอร์ด (Lord) และกับ ฝ่ายหญิง หรือภรรยาของ ไวส์เคานต์ และ บารอน ใช้คำนำหน้าชื่อว่า เลดี้ (Lady)

ส่วนขุนนางเพศชายทั้งหมดยกเว้น ดยุค มักจะใช้บรรดาศักดิ์แบบย่อๆว่า ลอร์ด แล้วตามด้วยชื่อสถานที่หรือนามสกุล เช่น อัลเฟรด เทนนีซัน บารอนที่ 1 แห่ง เทนนีซัน ก็จะเรียกกันทั่วๆไปว่า ลอร์ด เทนนีซัน เป็นต้น

ทั้งนี้ คำว่า 'ลอร์ด' สามารถใช้เรียกผู้ครอบครองหรือมีอำนาจเหนือสิ่งต่างๆเช่น แลนด์ลอร์ด หรือเศรษฐีที่ดิน

ในวัฒนธรรมยุโรป ลอร์ด อาจหมายถึงคำนำหน้าชื่อเทียบเท่ากับคำว่า มิสเตอร์ (Mr.) ในภาษาอังกฤษ (ซินญอร์ ในภาษาอิตาลี หรือ แฮร์ ในภาษาเยอรมัน) หรืออาจจะเป็นคำสุภาพในภาษาอังกฤษที่หมายถึง คุณ เป็นต้น

ขณะที่สภาขุนนาง (House of Lords) ของอังกฤษหรือเรียกสั้นๆว่า the Lords เป็นสภาสูงของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบไปด้วย อาร์กบิชอป 2 องค์, บิชอป 24 องค์ และ สมาชิกขุนนาง 692 ท่าน สมาชิกของสภาขุนนางเรียกว่า Lords of Parliament ในอดีต ทายาทของบรรดาขุนนางอังกฤษจะได้เป็นสมาชิกของสภาขุนนางโดยอัตโนมัติ เรียกว่า เพิ่งจะเปลี่ยนในปี 1999

นอกจากนี้ ลอร์ด ยังใช้เรียกเชิงยกย่องว่าเป็นนาย บางครั้ง ลูกศิษย์ก็อาจเรียกอาจารย์ที่ตนนับถือว่า ลอร์ด เช่น ในพระคริสตธรรมใหม่ ( ไบเบิ้ล ) ผู้คนและลูกศิษย์บางคน เรียกพระเยซูว่า 'Lord' หรือในนิทานจะพบว่า คนรับใช้หรือทาสจะเรียกผู้เป็นนาย หรือคนที่ตนยกย่องเป็นเจ้านายว่า ลอร์ด เช่น "Please save me , My Lord" ( ช่วยข้าด้วยเถิด เจ้านาย )

ตำแหน่งขุนนางชั้น peer นี้สืบทอดให้ลูกได้ ถ้าพ่อเป็นดยุค เมื่อ ลูกก็จะได้สืบทอดเป็นดยุคค่ะ โดยจะสืบทอดให้ลูกชายคนโตก่อน ถ้าลูกชายคนโตตาย ก็จะเป็นลูกชายคนถัดไป แต่ถ้าลูกชายคนโตมีลูกชาย ก็ต้องให้หลานชายที่เป็นลูกของลูกชายคนโตก่อน งงมั้ยคะ เอางี้ อธิบายด้วยราชวงศ์อังกฤษแล้วกันค่ะ
เจ้าฟ้าชายชารลส์ เป็น ผู้สืบราชสมบัติอันดับที่
1
เจ้าชายวิลเลี่ยม เป็น ผู้สืบราชสมบัติอันดับที่
2
เจ้าชายแฮร์รี่ เป็น ผู้สืบราชสมบัติอันดับที่
3
เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ เป็น ผู้สืบราชสมบัติอันดับที่
4
เจ้าชายวิลเลี่ยมกับแฮร์รี่เป็นโอรสของชารลส์เป็นหลานควีน แต่มีลำดับสูงกว่า เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ที่เป็นโอรสองค์รองของควีนเอลิซาเบธที่สองเสียอีก หวังว่าคงเข้าใจมากขึ้นนะคะ


-
ตำแหน่งจะสืบทอดกันไปเรื่อยๆ จากพ่อสู่ลูกสู่หลานในตำแหน่งเดียวกัน ไม่ใช่แบบหม่อมเจ้าของเราที่จะลดชั้นลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นคนสามัญ

-
ส่วนใหญ่ตำแหน่งจะสืบทอดกันได้แต่ทายาทชาย ถ้าดยุคมีแต่ลูกสาว ตำแหน่งก็จะสืบทอดไปยังน้องชายหรือญาติผู้ชายลำดับถัดไป ยกเว้นตอนที่กษัตริย์มอบบรรดาศักดิ์ให้ขุนนางเขียนเงื่อนไขไว้ว่า สืบทอดให้ผู้หญิงได้ แต่กรณีนี้มีน้อยมากค่ะ

-
ตำแหน่งจะสิ้นสุดลงเมื่อ ไม่มีลูกชาย หรือไม่มีผู้ที่มีสิทธิ์เป็นทายาทเหลือแล้ว ตำแหน่งก็จะสิ้นสุดต้องคืนให้กษัตริย์ แล้วกษัตริย์ก็จะนำไปมอบให้คนอื่นต่อไปได้ หรือไม่มอบให้ใครเลยก็ได้

-
ขุนนางคนหนึ่งอาจจะมีได้หลายตำแหน่ง ตัวอย่างนะคะ รอยซ์ เวสต์มอร์แลนด์ จาก A Kingdom of Dreams เป็น เอิร์ลแห่งเคลย์มอร์ ทำความดีความชอบได้รับตำแหน่ง ดยุคแห่งเคลย์มอร์มาอีก แต่ตำแหน่งเก่าๆ ที่เคยมีอยู่ก็ยังอยู่ รอยซ์เป็นดยุคเคลย์มอร์คนแรก แต่อาจจะเป็นเอิร์ลแห่งเคลย์มอร์คนที่เท่าไหร่ไม่รู้ ถ้าบรรพบุรุษทำความชอบไปเรื่อยๆ ก็ได้ตำแหน่งมาเพิ่มอีก จนมาถึงเคลย์ตันก็เลยมีตำแหน่งยาวเป็นหางว่าวจนตัวเองจำไม่ได้ ถึง 14 ตำแหน่ง แต่ตามปกติก็จะเรียกกันด้วยตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งเดียว

-
ขุนนางที่มีตำแหน่งหลายๆ ตำแหน่งนี่ อาจยกตำแหน่งรองลงไปจากตำแหน่งตัวเองให้ลูกชายคนโตที่เป็นทายาทได้ แต่ลูกชายคนรองไม่ได้นะคะ อย่างพ่อถือตำแหน่งดยุคกับมาร์ควิสอยู่ พอมีลูกชายก็ให้เป็นมาร์ควิส พอคน ลูกชายที่เป็นมาร์ควิสก็จะได้ตำแหน่งดยุค แล้วก็จะยกตำแหน่งมาร์ควิสให้ลูกตัวเองต่อ ยกตัวอย่าง กรณีของเอียนใน Almost Heaven นะคะ ปู่เป็นดยุคแห่งสแตนโฮป พ่อเป็นมาร์ควิส ไปแล้ว เมื่อ เอียนไปคืนดีกับปู่ ก็ได้ตำแหน่งมาร์ควิสแห่งเคนซิงตันมา เพราะฉะนั้น อนาคตเอียนจะได้เป็นดยุค ไม่น้อยหน้าเคลย์ตัน เหมือนกันค่ะ ^_^ แหะๆ ขออภัยนะคะ ยกตัวอย่างได้แต่นิยายของ
Judith McNaught
-
ที่อธิบายมาคร่าวๆ คือ basic ค่ะ ยังมีรายละเอียดอีกเยอะที่มักจะสร้างความสับสนให้เราเสมอ บางครั้งในนิยายโรแมนซ์ก็ยังผิดเลยค่ะ แล้วก็ยังมีตำแหน่งที่สืบทอดไม่ได้อีก อย่างเช่น พวกชั้น Knight อ่ะค่ะ เป็นความดีความชอบเฉพาะตัว อย่างเช่น เซอร์ ไอแซค นิวตัน


ขอเสริมอีกนิดเดียวค่ะ
      เกี่ยวกับชื่อที่ใช้เรียกเพื่อเป็นเกียรติ (Courtesy Title) ที่มีเป็นพิเศษสำหรับลูกของ Duke & Marquess ที่ลูกชายคนรอง ๆ จะถูกเรียกนำหน้าชื่อว่า Lord แล้วตามด้วยชื่อตัว ทั้งที่ตัวเองไม่มีบรรดาศักดิ์ เช่นชื่อตัวว่า Stephen ก็จะกลายเป็น Lord Stephen ส่วนลูกชายของ Earl จะถูกเรียกว่า Honorable เท่านั้น ไม่ใช่ Lord
ในขณะที่ลูกสาว ตั้งแต่ลูกสาวของ Earl เป็นต้นไปจะสามารถใช้คำนำหน้าว่า Lady แล้วตามด้วยชื่อตัวได้

    ยศที่ต่ำกว่านี้จะต้องใช้ Mr. หรือ Miss เท่านั้น

        กรณีที่ลูกสาวของขุนนางที่ใช้คำนำหน้าชื่อตัวเองว่า Lady Mary แต่งงานกับสามัญชน Mr. West เธอก็ยังคงเก็บคำนำหน้าชื่อตัวเองไว้ได้

        ความแตกต่างระหว่าง Baron กับ Baronet ก็คือ Baron ถูกนับว่าเป็นชนชั้นขุนนาง และมีที่นั่งใน House of Lords ภรรยาของ Baron จะถูกเรียกว่า Lady แต่ Baronet ไม่มีที่นั่งในสภา ส่วนภรรยาถ้าไม่ใช่ลูกสาวของ Earl & Marquess & Duke ก็ไม่สามารถใช้คำนำหน้าชื่อตัวเองว่า Lady ได้ ความเหมือนกันของ 2 ตำแหน่งนี้ก็คือ สืบทอดไปยังทายาทได้ ซึ่งแตกต่างไปจาก Knight ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะ ผู้ครองตำแหน่งใช้คำนำหน้าตัวเองว่า Sir ในขณะที่ภรรยาได้ใช้คำว่า Lady แต่เป็นการนำหน้านามสกุลของตัวเองยชน์ของนิยายโรแมนซ์อีกอย่างนึงทำให้เราได้ความรู้เพิ่ม

 

 

อ้างอิงจาก :

http://www.buildboard.com/viewtopic.php/1279/4638/96573/0/

http://th.wikipedia.org/wiki/

 

 

- ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่นะคะ http://laura.chinet.com/html/titles02.html

แสดงความคิดเห็น

>

58 ความคิดเห็น

Dream_Of_Earth 5 ต.ค. 50 เวลา 17:22 น. 1

อ่านไปอ่านมาชักงง. แต่ชื่อตำแหน่งเพราะดีจริงๆ ยังไงก็ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะคะ เป็นกำลังใจให้ต่อไปค่า สู้ๆ ^^V


PS.  อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้า..ไม่เต็มใจ อย่าไปคิดว่ามันเป็นวัน..สุดท้าย น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย หากไม่รู้จักเจ็บปวด ก็คงไม่ซึ้ง..ถึง..ความสุขใจ~~
0
sakuraai *0* 6 ต.ค. 50 เวลา 22:23 น. 3

เราก็เคย ศึกษาเกี่ยวกับนิยายของ เชคสเปียอะ มีคำศัพท์พวกนี้เยอะเลย โดยเฉพาะนิทานแนวราชนิกูลอะ คิงเลีย อะไรทำนองนี้อะ อ่านไปแปลไปก็งง เหมือนกัน แต่ก็ขอบใจนะ ที่เอามาฝาก มีควารู้เยอะเลยอะ รู้งี้ก่อนแปลนิยายของเชคสเปีย น่าจะหาความรู้แนวนี้ก่อนดีกว่า จะได้ไม่ งง 555+

0
^@June@^ 7 ต.ค. 50 เวลา 21:49 น. 7

ขอบคุณค่ะ^^
มีประโยชน์ในการเอาไปใช้แต่งนิยายพอดีเลย อิอิ


PS.  กล่าวคำขอบคุณ คือการแสดงความจริงใจที่ดี แต่ทำไมไม่ค่อยมีใครเห็นค่าของคำคำนี้
0
Hadriel 8 ต.ค. 50 เวลา 06:15 น. 8

ขออธิบายเพิ่มเติมจากคนที่โพสต์กระทู้อีกซักหน่อยนะครับ


อันดับแรก สุด

ตำแหน่งขุนนางใน สหราชอาณาจักรนั้น มีอีก 1ตำแหน่งคือ Lord คือตำแหน่งที่ต่ำที่สุดในสภาขุนนาง แต่ก็สูงกว่า Sir ซึ่งเป็นแค่ยศอัศวิน Lord  นั้นนอกจากจะเป็นตำแหน่งขุนนางที่ต่ำที่สุดของ ขุนนางแล้ว ยังเป้น คำเรียก ขุนนางตั้งแต่ Duke ลงมาถึงชั้น Lord ได้อีกด้วย เช่น My Lord ถ้าใช้กับขนนางแล้ว หมายถึง "ขอรับ นายท่าน" อะไรทำนองนี้ ซึ่งในบางครั้ง กับพระราชวงศ์ชั้นสูง ระดับเจ้าชายก็สามารถใช้ได้เช่น กัน หรือแม้กับ กษัตริย์ ก้อยังสามารถใช้ได้ นะครับ พูดง่ายๆ My Lord เป็นคำครอบจักรวาล แปลได้ทั้ง พะยะค่ะ ขอรับ หรือคำอะไรทำนองนี้ได้ หมดและใช้ได้กับ ขุนนางชั้น Lord  ขึ้นไป  ส่วน กับ อัศวินยศSir ล่ะ เราอใช้กำว่า Yer Sir แปลตรงก้อ เหมือนกับ My Lord นั้นแหละครับแค่ใช่กับ ยศ Sir และผุ้มีเกียรติ ที่เป้นสามัญชน หรือ คหบดี ได้ด้วย

อันดับต่อมา

การที่ยุโรปมีการตั้งฐานันดร หรอื ยศขุนนางแบบนี้ นั้นทำให้เกิดการแย่งชิงดินแดนในครอบครอง เกิดขึ้น เพราะตำแหน่งแบบนี้นั้นสือต่อได้แค่ 1 คนในตระกูลนั้นๆ แล้วคนที่เหลือเล่า? ไม่มีตำแหน่ง? สำหรับ ขุนนางธรรมดาไม่มีก้อแล้วไปแต่ กับเชื่อพระวงศ์ล่ะ มันมีปัญหาแน่นอน สมมติ กษัตริย์ มีลูก 10 คน ล่ะ คนแรกๆมีตำแหน่งให้แน่นอน แต่พวกหลังๆ ล่ะ จะเอายศอะไรหนอ? ประเด็นนี้แหละคือชนวน การแย่งดินแดนทั่วๆไปในยุโรป เพราะ แต่ละคนก็ต้องการเกียรติยศ ยิ่งคนพ่อเป็น กษัตริย์ด้วยแล้ว ก็ย่อมปารถณาให้ลูกได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ ให้สมกับเป้นลุกกษัตริย์ ก็จึงเกิดสงครามแย่งดินแดนกันมากมายในยุโรป แต่ อยุ่มาวันหนึ่ง ทวีปยุโรปก็ถึงจุดอิ่มตัวไม่สามารถเสาะหา ดินแดน จะแบ่งให้ ลูกหลานเหลนโหลนหล่อน ได้ จึงต้องมีการ อพยพ ไปตั้งรกรากบุกเบิกดินแดนใหม่ในทวีปใหม่ๆ แล้วจะหาจากไหนล่ะ ? ด้วยวิธีไหนน๊า? แน่นอน สงครามล่าอาณานิคมคือทางออกเหล่านั้น ดังนั้นโลกจึงพัฒนามาสู่ยุคที่เรียกว่า Colonization  และก้อต่อมา เริ่มหนักข้อขึ้นเป้น ยุค Imperialism  แล้วโลกก้อแคบในบัดดลเกิดการหาดินแดนในครอบครองไม่ได้ และเกิดGreat War หรือสงครามโลกครั้งที่1 ขึ้นเพราะนอกจากปัญหา กรณีพิพาท เรื่องชาติพันธุ์แล้ว การแสวงหาดินแดนครอบครองก็ยังอยู่ 

อย่างสุดท้าย

Duke ไม่ใช่เจ้าพระยา อย่างที่เข้าในนะครับแต่ Duke  คือตำแหน่ง เจ้านายทรงกรม แล้วเจ้านายทรงกรมนี่เป้นอย่างไรหนอ? 
เจ้านายทรงกรม ตัวอย่างเช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น พระพี่นางของพระเจ้าอยุ่หัวพระองค์ปัจจุบันก็คือ Duchess of นราธิวาส นั่นเอง ตำแหน่ง ดยุค นั้นจะมอบให้เชื้อพระวงศ์ระดับสูง เท่านั้น เน้นนะครับ ต้องเป็นเจ้า เท่านั้น ถึงจะได้ยศ ดยุค   เนื่องจากการตั้งตำแหน่ง การทรงกรม แบบนี้ นั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ทรงนำมาจากธรรมเนียมของตะวันตก แต่ปรับเล็กน้อย ยกเว้นการ ดำรงตำแหน่ง ดยุค นี่แหละ ที่ เอามาเป๊ะๆ สรุปแล้ว Duke นั้นเทียบกับฝ่ายไทยแล้วก้อ คือ เจ้าฟ้าที่ทรงกรมแล้ว นั่นเอง หรือแม้แต่ในยุโรป คนที่สูงสุดใน อาณาจักร ย่อมเป็น กษัตริย์ รองลงมาคือ รัชทายาท ( จะตั้งรัชทายาทอันดับ 12345610 ไว้กี่ตำแหน่งก็ได้ แต่ถามีตำแหน่งเจ้าชาย/เจ้าหญิงรัชทายาท ย่อมสูงกว่า เจ้าชาย/เจ้าหญิงธรรมดา...) ถัดมาคือ ตำแหน่ง Duke เรียงตามความสำคัญของเมือง ของประเทศนั้นๆ เช่นกรณีเยอรมันนีในสมัยเป็นจักนวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธ์ มีดยุค ชั้นสูง อยุ่ 7 พระองค์เชียวนะ แล้ว 7 พระองค์นี้ มีอันดับเท่ากัน เพราะครองแคว้นสำคัญทั้ง 7แคว้นของเยอรมันนีแถม แต่ละ ดยุคยังมีสิทธ์จะ อ้างเอาราชบัลลังก์ ได้อีกด้วยถ้ากษัตริย์เกิดมีอันเป้นไปก่อนเวลาอันควร และขุนนาง ที่เหลือก้อรองๆๆ มา   
คำถาม แล้ว เจ้าชายเจ้าหญิงล่ะ?  จริงๆแล้ว ก้อคือเหมือนแสดงว่าเป้นลูกเจ้า นะ แต่ยังไม่มีงานให้ทำ คือยังไม่ทรงกรมนั่นเอง ดังนั้น ถ้าเทียบจริงๆแล้ว Duke สูงกว่า เจ้าชาย เจ้าหญิง ธรรมดา เสียอีก แล้วเจ้าชายแฮรรี่ ล่ะ... กรณีนี้เจ้าชายแฮรี่ถูกตั้งโดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธแล้วให้เป้นเจ้าชายรัชทายาท ลำดับ ที่3 ต่อจาก พระบิดา และพระเชษฐา ดังนั้น ถ้าเป้นเจ้าชายรัชทายาทแล้ว ไม่ทรงกรมก็ ตำแหน่งสูงกว่า Duke  โดยปริยาย


ปล.  ตำแน่งรัชทายาทของบางประเทศ (เท่าทีจำได้ ลืมๆไปแล้วเหมือนกัน)

สหราชอาณาจักรอังกฤษ Prince of Wales
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี  Archduke of Austro-Hungarian
จักรวรรดิรัซเซีย Grand Prince of Moscovy and Nevgorod
จักรวรรดิฝรั่งเศส Donfant and the Duke of Ile de France 
จักรวรรดิสเปน Infante of Castile and Aragon and the Duke of Mexico City
อิตาลี(สมัยเป็น Kingdom of Italy)  ดยุคแห่งซิลิลี และนาโปลี
จักรวรรดิเยอรมัน Archduke of Holhenzollern(สมัย สงครามโลกครั้งที่1 เพราะก่อนหน้านี้เยอรมันนีไม่มี รัชทายาท พอ กษตัริย์สวรรคตลง ก็จะมีการเชิญ เจ้าแห่ง 7 แคว้น หรือ ดยุค ทั้ง 7แคว้น มา นั่งประชุม หาตัวกษัตริย์พระองค์ต่อไปโดยหาจาก 7 พระองค์นั้นแหละ... Holhenzollern  คือชื่อราชวงศ์เยอรมัน สมัยสงครามโลกครัง้ที่1)
จักรวรรดิไบเซนไทน์ หรือโรมันตะวันออก Archduke of Constantinople


ประมาณนนี้แหละครับ
งง ไหม หะหะหะหะ

1
LaLuna Howsand 11 พ.ค. 60 เวลา 15:35 น. 8-1

สงสัยตรงที่เจ้าชาย/หญิงรัชทายาท กับ ดยุกเนี่ย ใครสูงกว่ากัน

0
karin<f>e Community Master 8 ต.ค. 50 เวลา 09:43 น. 9

โอ้ น่าสนใจมากเลย
รู้ละเอียดกันจัง
ศึกษาแฮะ
แต่เดี๋ยวศึกษาของไทยเราก่อนดีกว่า
ค่อยๆเป็นไปเนอะ
ไปสอบดีกว่า


PS.  เยาวชนก้าวไกล อนาคตสดใส ประเทศไทยรุ่งเรือง
0
arion 8 ต.ค. 50 เวลา 17:36 น. 19

อยากอ่าน แต่ปวดหัว

อ่านไม่หมด เพราะ.............




งง


PS.  Don't frown because you never know who is falling in love with your smile M i s s F r i e n d s 6 / 5
0
~<[[SMLUL_6M6M]]>~ 8 ต.ค. 50 เวลา 18:19 น. 20

อื้มความรู้ๆ


..ว่างๆไปอ่านไดได้น้า ^ ^ http://my.dek-d.com/smlul_6m6m/diary/?day=2007-10-07 (เรื่อง จงcopyเมลนี้ไปตอบ)


PS.   วักทะเลเทใส่จาน รับประทานกับข้าวขาว เอื้อมเก็บบางดวงดาว ไว้คลุกเคล้าซาวเกลือกิน ดูปูหอยเริงระบำ เต้นรำทำเพลงวังเวงสิ้น กิ้งก่ากิ้งกือบินไปกินตะวันและจันทร์
0