Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติของสุนทร ภู่ กวีเอกของไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 


 

 

 

 

สุนทรภู่เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี เเละทำหน้าที่เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง เมื่อสุนทรภู่โตพอสมควร มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีเเล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง เเต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น

"ขุนสุนทรโวหาร" ( ภู่ ) เรียกกันสั้นๆ ว่า "สุนทรภู่ " ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น " พระสุนทรโวหาร " เเละถึงเเก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี

 

 

พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อยเกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย
จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัว
เป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนสันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง
ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน

เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา

เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ
สุนทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี ดังความตอนหนึ่งใน นิราศเมืองแกลงว่า "จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา" แต่เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฎ อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยองเพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙

 

 

 

 

หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง
ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยาสุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี
สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาทจ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท
สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คนชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนักในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป
พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี
พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้งแต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไปเพชรบุรี ทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาคในพระราชวังหลัง ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองเพชร ที่ท่านย้อนรำลึกความหลังสมัยหนุ่ม ว่า

 

 

"ถึงต้นตาลบ้านคุณหม่อมบุญนาค
มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล เมื่อยามยากจนมาได้อาศัย
มาทำไร่ทำนาท่านการุญ"

 

นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ ด้วยเลือดนักกลอนทำให้ท่านกลับมากรุงเทพฯ หากินทางรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอกบทละครนอก บางทีนิทานเรื่องแรกของ ท่านคงจะแต่งขึ้นในช่วงนี้ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก

เพราะสมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่านคนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของท่านทำให้นายบุญยัง เจ้าของคณะละครนอกชื่อดังในสมัยนั้นมาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละคร เป็นทั้งคนแต่งบทและบอกบทเดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว ดังตอนหนึ่งใน นิราศสุพรรณคำโคลงท่านรำลึกถึงครั้งเดินทางกับคณะละครว่า

 

 

 

 

 

 

" ๏ บางระมาดมิ่งมิตรครั้ง
บอกบทบุญยังพยาน
ประทุนประดิษฐาน
แหวนประดับกับผ้า คราวงาน
พยักหน้า
แทนฮ่อง หอเอย
พี่อ้างรางวัล "

 

นิทานเรื่องสำคัญที่สุด คือ เรื่องพระอภัยมณี ก็น่าจะเริ่มแต่งในช่วงนี้ด้วย (เป็นแต่เริ่มแต่ง มิได้แต่งตลอดทั้งเรื่อง) นิทานเรื่องนี้แปลกแหวกแนวยิ่งกว่า
นิทานจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องใดที่เคยมีมา ทำให้คณะ ละครนายบุญยังโด่งดังเป็นพล เป็นที่ต้องการของใครต่อใคร และแน่นอนชื่อเสียงของท่านสุนทรภู่ก็โด่งดังไปไม่แพ้กัน ทั่วทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง

 

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็น อย่างยิ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้กวดขันการฝึกหัดวิธีรำจนได้ที่ เป็นแบบอย่างของละครรำมาตราบ ทุกวันนี้พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง มีเรื่องอิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น
มูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ น่าจะเนื่องมาจากเรื่องละครนี้เอง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณี ทอดบัตรสนเท่ห์ เพราะจากกรณีบัตรสนเท่ห์นั้น คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกประหารชีวิตถึง ๑๐ คนแม้แต่ นายแหโขลน คนซื้อกระดาษดินสอ ก็ยังถูกประหารชีวิตด้วย มีหรือสุนทรภู่จะรอดชีวิตมาได้ นอกจากนี้ สุนทรภู่เป็นแต่เพียงไพร่ มีชีวิตอยู่นอกวังหลวง ช่วงอายุก่อนหน้านี้ก็วนเวียนและเวียนใจอยู่กับเรื่อง ความรัก ที่ไหนจะมีเวลามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง (กรณีวิเคราะห์นี้ มิได้รับรองโดยนักประวัติศาสตร์เป็นความเห็นของคุณปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เขียนไว้ในหนังสือ "เที่ยวไปกับสุนทรภู่"
ซึ่งเห็นว่ามูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้า รับราชการ น่าจะมาจากเรื่องละครมากกว่าเรื่องอื่น ซึ่งข้าพเจ้าพิเคราะห์ดูก็เห็นน่าจะจริง ผิดถูกเช่นไรโปรดใช้วิจารณญาณ) อย่างไรก็ดีสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในกรมพระอาลักษณ์ เรื่องราวของกวี ที่ปรึกษาท่านนี้ ที่ได้แสดงฝีมือเป็นที่พอพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเล่าว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ถึงตอนนางสีดาผูกคอตาย บท พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเล่นละครกันมากล่าวบทนางสีดาตอนเมื่อจะผูกคอตายว่า

 

 

 

"เอาภูษาผูกศอให้มั่น
หลับเนตรจำนงปลงใจ แล้วพันกับกิ่งโศกใหญ่
อรไทก็โจนลงมา"

ต่อนี้ถึงบทหนุมานว่า
"
บัดนั้น
ครั้นเห็นองค์อัครกัลยา
ตัวสั่นเพียงสิ้นชีวิต
โลดโผนโจนลงตรงไป
ครั้นถึงจึงแก้ภูษาทรง
หย่อนลงยังพื้นปัถพี วายุบุตรวุฒิไกรใจกล้า
ผูกศอโจนมาก็ตกใจ
ร้อนจิตดังหนึ่งเพลิงไหม้
ด้วยกำลังว่องไวทันที (เชิด)
ที่ผูกศอองค์พระลักษมี
ขุนกระบี่ก็โจนลงมา"

 

 

 

 

 

 

ทรงติว่าบทเก่าตรงนี้ กว่าหนุมานจะเข้าไปแก้ไขนางสีดา นางสีดาก็คงตายไปแล้ว จึงทรง พระราชนิพนธ์ตอนนี้ใหม่ หวังจะให้หนุมานเข้าไปช่วยนางสีดาได้โดยเร็ว ทรงแต่งบทนางสีดาว่า
"
จึงเอาผ้าผูกพันกระสันรัด เกี่ยวกระหวัดกับกิ่งโศกใหญ่"

แล้วก็เกิดขัดข้องว่า จะแต่งบทหนุมานอย่างไรให้แก้นางสีดาโดยเร็วเหล่ากวีที่ปรึกษาไม่มีใคร สามารถแต่งบทให้พอพระราชหฤทัยได้จึงโปรดให้สุนทรภู่ที่หมอบเฝ้าอยู่ด้วยลองแต่งดู สุนทรภู่แต่งต่อว่า
"
ชายหนึ่งผูกศออรไท
๏ บัดนั้น แล้วทอดองค์ลงไปจะให้ตาย
วายุบุตรแก้ได้ดังใจหมาย"

ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงยกย่องสุนทรภู่ว่าเก่ง อีกคราวหนึ่งเมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกสิบขุนสิบรถ
ทรงพระราชนิพนธ์บท ชมรถทศกัณฐ์ว่า
"
๏ รถที่นั่ง
กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาล
ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง
สารถีขี่ขับเข้าดงแดน บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน
ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน
เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน
พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ"


ทรงพระราชนิพนธ์มาได้เพียงนี้ ทรงนึกความที่จะต่อไปอย่างไรให้สมกับที่รถใหญ่โตปานนั้นก็ นึกไม่ออก จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ สุนทรภู่แต่งต่อว่า
"
นทีตีฟองนองระลอก
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน
ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท
บดบังสุริยันตะวันเดือน กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น
อนนต์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน
สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน
คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา"

กลอนบทนี้เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนัก นับแต่นั้นก็นับ สุนทรภู่เป็นกวีที่ปรึกษาด้วยอีกคนหนึ่ง ทรงตั้งเป็นที่ขุนสุนทรโวหาร พระราชทานที่ให้ปลูกเรือนที่ท่าช้างและให้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เป็นนิจ แม้เวลาเสด็จประพาสก็โปรดฯ ให้สุนทรภู่ลงเรือพระที่นั่งไปด้วย เป็น พนักงานอ่านเขียนในเวลาทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน

 

 

 

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตนอกจาก แผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิตได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึงเหตุที่สุนทรภู่ไม่กล้ารับราชการต่อในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ดังนี้ "เล่ากันว่า เมื่อทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ทรงแต่งตอนนางบุษบาเล่นธารเมื่อท้าว ดาหาไปใช้บน พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงแต่ง "เมื่อทรงแต่งแล้ว ถึงวันจะอ่านถวายตัว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งวานสุนทรภู่ ตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่อ่านแล้วกราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวีที่ทรง ปรึกษาพร้อมกัน ถึงบทแห่งหนึ่งว่า" 'น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว' "สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี ขอแก้เป็น " 'น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว' "โปรดตามที่สุนทรภู่แก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กริ้ว ดำรัสว่า เมื่อ ขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไขแกล้งนิ่งเอาไปไว้ติหักหน้ากลางคัน เป็นเรื่องที่ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ครั้งหนึ่ง "อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง ตอน ท้าวสามลจะให้ลูกสาวเลือกคู่ ทรงแต่งคำปรารภของท้าวสามลว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วสมมาดปรารถนา' " ครั้นถึงเวลาอ่านถวาย สุนทรภู่ถามขึ้นว่า 'ลูกปรารถนาอะไร' พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องแก้ว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา' "ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่งแต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... " จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจเพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอ พระราชหฤทัยประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการและตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสุนทรภู่ได้เผยความในใจนี้ ในตอนหนึ่ง ของนิราศภูเขาทอง ว่า

 

"จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย
เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา
ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"

เมื่อบวชแล้ว ท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆ เล่ากันว่า ท่านได้เดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆ หลายแห่ง เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองประจวบคีรีขันธ์ จนถึงเมืองถลางหรือภูเก็ต และเชื่อกันว่า ท่านคงจะ เขียนนิราศเมืองต่างๆนี้ไว้อย่างแน่นอน เพียงแต่ยังค้นหาต้นฉบับไม่พบ ราวปี พ.ศ.๒๓๗๐ ท่านก็กลับมาจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ หรือวัดเลียบแต่หลังจากกลับมาอยู่ได้ไม่นาน สุนทรภู่เกิดอธิกรณ์กับพระในวัดอาจด้วยเหตุทะเลาะวิวาทอย่างใดอย่างหนึ่ง(บางแห่งสันนิษฐานว่าท่านเมา สุรา) จึงถูกขับออกจากวัดเมื่อรับกฐินในปลายปี พ.ศ.๒๓๗๑ ท่านก็ออกเดินทางไปกรุงเก่าและได้แต่งนิราศ ภูเขาทอง อันเป็นนิราศเรื่องเยี่ยมที่สุดของท่าน และเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของวงการกวีไทยเหตุที่คาดว่าท่าน เกิดการวิวาทกับพระในวัด ด้วยความตอนหนึ่งในนิราศภูเขาทองกล่าวว่า

"
โอ้อาวาสราชบูรณะพระวิหาร
เหลือรำลึกนึกน่าน้ำตากระเด็น
จะหยิบยกอธิบดีเป็นที่ตั้ง
จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง แต่นี้นานนับทิวาจะมาเห็น
เพราะขุกเข็ญคนพาลมารานทาง
ก็ใช้ถังแทนเห็นขัดขวาง
มาอ้างว้างวิญญาในสาคร"


เมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง ปี พ.ศ.๒๓๗๒เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภ
ูสุขสบายขึ้นพระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมา ก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกันโดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมากจากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย

 

 

 

เมื่อสึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตาอุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัยในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังแต่งเรื่องสิงหไตรภพถวายกรมหมื่นอัปสรฯอีกเรื่องหนึ่งแม้สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทางและรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชรสุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมีอายได้ ๖๕ ปีแล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี

ผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ ใช้นามสกุล "ภู่เรือหงษ์"

 

 

 

 

 

 

 

หนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่เเต่งมีมากมาย ที่ได้ยินเเต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปเเล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี เเต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่อง คือ
-
นิราศ ๙ เรื่อง ได้เเก่ นิราศเมืองเเกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระเเท่นดงรัง นิราศพระปฐม เเละนิราศเมืองเพชรบุรี
-
นิทาน ๕ เรื่อง ได้เเก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ เเละ สิงหไตรภพ
-
สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้เเก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท เเละสุภาษิตสอนหญิง
-
บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช

 

 

- บทเสภา ๒ เรื่อง ได้เเก่ ขุนช้างขุนเเผน ตอนกำเนิดพลายงาม เเละเรื่องพระราชพงศาวดาร
-
บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้เเก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี เเละเห่เรื่องโคบุตร

 

 

ที่มา: www.rayongzone.com

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

>

83 ความคิดเห็น

ฟองพราย 22 พ.ค. 51 เวลา 17:36 น. 3

เป็นเว็บที่ให้ความรู้มากๆเกี่ยวกับสุนทรภู่กวีเอกของไทยทำให้รู้ว่าสุนทรภู่มีผลงานชิ้นใดบ้างและผลงานแต่ละชิ้นมีความสำคัญอย่างไรบ้างและเชื่อว่าถ้าทุกๆคนได้เข้ามาอ่านเว็บนี้จะทำให้ได้ความรู้อย่างมากๆ

0
-*- 8 มิ.ย. 51 เวลา 15:07 น. 13

ขอบคุงคะได้ข้อมูลประวัติแย้วดีจัยจังเลยจะได้มีส่งจารย์สักที

0
ผมชื่อไรครับ ใครโทรมาบอกด้วยนะครับ แล้วเบอร์ผมเบอร 9 มิ.ย. 51 เวลา 20:07 น. 15

เย้! ไชโย! เจอเว็บเนี้นเข้าไป ได้เขียนเรียงความเสร็จเสียที เว็บนี้ยอดเยี่ยมจริงๆ ครับพี่น้อง มีเวลาว่างแล้ว เล่นเกม On-line ดีกว่า คุคุคุ...
เคโระเคโระเคโระ... ทามะทามะทามะ... เฮ้ย! ไม่ใช้ การ์ตูนเรื่อง "เคโรโระ ขบวนการอ้บอ้บปวนโลก มีจำหน่ายแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่
ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ" เอาเข้าไปใหญ่ มั่วเข้าไปใหญ่ อันเป็นว่าจบแค่นี้สวัสดีคร้าบ




ปล. เว็บนี้เทพจริงๆ ครับพี่น้อง...

0