แปลกใจ!! ทำไมจำอะไรไม่ได้สักที



 
       ใครก็ว่าถ้าอยากความจำดี เราก็ต้องมีสมองดี  แต่จริงแท้แล้ว  แค่มีสมองดีไม่ได้ช่วยให้เรามีความจำดีเท่านั้นหรอกนะ เพราะว่าการที่เราจะจำอะไรได้สักอย่างขึ้นอยู่กับสภาพปัจจัยต่างๆ ขณะนั้นด้วย แล้วเจ้าสภาพปัจจัยที่ว่านี้แหละ ที่ทำให้เราจำบทเรียนได้นิดหน่อย จำเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนได้แค่สี่ตัวเอง ลืมงานที่แม่บอกให้ทำเมื่อเช้าไปสนิทเลย ไม่เคยจำสูตรคณิตศาสตร์ได้สักสูตรเดียว ฯลฯ 
      วันนี้พี่เกียรติจะเลยพาน้องๆ ชาว Dek-D.com ไปรู้จักกับเจ้าปัจจัยที่ทำให้เราจำอะไรไม่ค่อยได้เสียที ทั้งๆ ที่สมองเราก็แข็งแรงปกติดีนะเนี่ย

     น้องๆ คงจะพอทราบกันอยู่แล้วว่าสมองของเรามีพื้นที่ในความเก็บความจำต่างๆ อย่างมหาศาล มีทั้งความจำระยะสั้น ความจำระยะยาว คนเราจดจำอะไรไว้มากมาย แต่บางทีก็นึกไม่ออก คิดว่าลืมไปหมดแล้ว หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเคยพบข้อมูลเหล่านี้มาในอดีตแล้ว แต่กว่าจะรู้ตัวก็เมื่อไปเจอข้อมูลนั้นๆ อีกครั้ง ที่ทุกคนชอบเรียกว่า เดจาวู ไง

การที่เราลืมความรู้...ที่เคยรู้ หรือนึกไม่ออกต่างๆ นี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการนำข้อมูลในสมองออกมาใช้เป็นส่วนหนึ่งค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องรู้จักคิดและใช้ความรู้ที่มีของเรามาคิดทำโน่นทำนี่อยู่สม่ำเสมอ   แต่!!! การที่เราควรจะจำอะไรได้แต่กลับไม่ค่อยจำนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่พี่เกียรติเกริ่นไว้ข้างต้น และก็จะพาน้องๆ ไปรู้จักกัน ณ บัดนี้ค่ะ



  
    1. ทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
เช่น บางทีเราก็เป็นใช่ไหม...ดูหนังไปพร้อมๆ กับเขียนเรียงความส่งอาจารย์ (แน่นอนว่าตอนนั้นก็ต้องเปิดหนังสือเรียน เพื่อจะเขียนเรียงความไปด้วย) ทำแบบนี้แม้เรียงความจะเสร็จเรียบร้อย แต่ถ้าลองอ่านอีกทีจะพบว่า โอ้ ทำไมคำผิดเยอะแบบนี้ล่ะ? หรือไม่ก็รู้สึกว่า ยังไม่ได้ดูหนังเลยอะ ทั้งๆ ที่ก็เปิดดูไปพร้อมๆ กับเขียนเรียงความแล้วนี่? การทำอะไรหลายๆ อย่างจะทำให้เราเกิดภาวะหยุดชะงักของความทรงจำหรือความรู้ใหม่ ที่เราจะรับรู้ รวมถึงงานที่ควรทำได้ดีที่สุด ก็จะออกมาไม่ได้ด้วย


     2. ร่างกายอ่อนแอ สภาพร่างกายสำคัญต่อความจำและการทำงานของสมองมากๆ  เป็นหวัดเป็นไข้ ปวดหัวรับรู้อะไรไม่ได้ ภาวะสมองเสื่อม คุณยายที่เป็นอัลไซเมอร์ก็จำอะไรไม่ได้ ผลข้างเคียงของยาบางอย่างที่ต้องกินเพื่อรักษาโรค ล้วนเป็นเครื่องขัดความจำดีๆ เราทั้งนั้น อย่างนี้ต้องรู้รักษาร่างกายให้ห่างจากโรคภัย ให้สมพุทธภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมา ลาภา ความไม่เป็นโรคเป็นลาภอันประเสริฐ และต้องพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะ นอนน้อย ง่วงตลอด ก็ฟังครูไม่รู้เรื่องเหมือนกัน


 
    3. จิตใจเราเอง
 เครียด เหงา เศร้า วิตกกังวล ทะเลาะกับเพื่อน พ่อว่าเมื่อเช้า ลืมเอาการบ้านมาส่ง ฯลฯ ภาวะอารมณ์แง่ลบต่างๆ เหล่านี้ต่างบั่นทอนจิตใจ และเป็นเครื่องรบกวนความจำดีๆ ของเราทั้งสิ้น ดังนั้น หากอยากจดจำอะไรได้ดี หรืออ่านหนังสือสอบอย่างรู้เรื่อง ก็พยายามทำใจให้สงบก่อนคิด อ่าน ท่องจำอะไร ภาวะอารมณืไม่ดีเหล่านี้รบกวนเราในเวลาที่เราจะต้องจดจำความรู้ใหม่ๆ จากการทำงานจริงจัง เช่น ตอนเรียน หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาที่อยากผ่อนคลาย ดูหนังฟังเพลง หากเรากังวลเพลงสนุกๆ ยังไม่สนุกแต่อย่างใด


 
      4. สภาพแวดล้อม
เช่น มีเสียงรบกวนขณะฟังครูบรรยาย เสียงก่อสร้างข้างบ้านดังมากๆ ขณะเราอ่านหนังสือสอบ กลิ่นเหม็นจากท่ออะไรไม่รู้ตอนเรากำลังท่องศัพท์ใหม่ สภาพสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะมาในลักษณะ รูป รส กลิ่น หรือเสียง ล้วนสามารถรบกวนเราได้ ทำให้เราจำอะไรไม่ได้ในขณะที่เราต้องจำเหมือนกัน


 




 
     5. ปัญหาตัวข้อมูลเอง เราอาจจดจำข้อมูลความรู้ใหม่ๆ ไม่ได้เลย หรือจำได้น้อยมาก หากตัวข้อมูลนั้น มันช่างไม่น่าสนใจเอาเสียเลย! อาจยากเกินไปที่จะคิดตาม อย่างเด็ก ป.3 ไปฟังทฤษฎีทางจิตวิทยาของเด็กปี 3  เนื้อหามากเกินไป หรือน้อยเกินไปที่จะทำความเข้าใจ ใช้ภาษาที่เราไม่เข้าใจ หรือใช้ศัพท์ยากเกินความเข้าใจ เป็นต้น หากข้อมูลที่เราจะจดจำใหม่ มีลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เราก็คงจำไม่ได้จริงๆ โดยไม่เกี่ยวว่าสมองเราดีหรือไม่ดีพอ



          จากสภาพปัจจัยที่กล่าวไปทั้ง 5 ข้อ ข้างต้น ก็พอจะสรุปได้ว่า หากน้องๆ ต้องการจดจำอะไรให้ได้ดี ท่องจำอะไรให้ขึ้นใจ หรืออ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ก็ควรจัดสภาพร่างกาย จิตใจ ตนเอง และสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานของสมองเรา 


 
กายดี ใจสุข สิ่งแวดล้อมสงบ 
เป็นวิตามินอย่างดีที่ช่วยให้สมองของเราจดจำสิ่งต่างๆ ได้ขึ้นใจค่ะ
 




 
แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ
  flickr.com/photos/stuartpilbrow
  flickr.com/photos/philandpam
  flickr.com/photos/khouri
  ลุงไอน์สไตน์. เพิ่มพลังความจำ แบบอัจฉริยะ!. กรุงเทพฯ : บิสคิต, 2553.
 

พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

36 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
||-HeDw!g & P!gw!Dgeon-|| Member 16 ก.ย. 54 13:57 น. 3
เวลาทำงานเราก็ไม่ชอบคนที่ multitasking นะ... มันทำให้งานช้าอะ
เวลาออนเอ็มออนเฟสทำงานกลุ่มพร้อมกัน คนที่จดจ่อกับงาน ไม่ฟังเพลง ไม่เล่นเฟสแบบคุยกับคนอื่นไปด้วย ไม่ดูทีวีไปด้วย งานจะเสร็จเร็วและมีคุณภาพมากกว่าอะ

เวลาอ่านหนังสือเรียน เราก็ปลีกวิเวกไปอ่านห้องที่ไม่มีคอมเลยอะ เพลงก็ไม่เปิดนะ 5555
เราว่าคนที่เปิดเพลงตอนอ่านหนังสือ มันเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ตัวเอง พอถึงเวลาที่ไม่เปิดเพลง ก็จะอ่านไม่ได้เลย เพราะไม่ชินกับการทำอะไรในความเงียบ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Mokira Midoriko Member 16 ก.ย. 54 18:28 น. 8
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะพี่เกียรติ
(ที่โรงเรียน เพื่อนเปิดเพลงต่างๆ ที่พวกเดอะสตาร์เขาร้องอะค่ะ หนูก็ดูไป ทำประวิติศาสตร์ไป แต่เสร็จนะ เหอๆ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
BoWPilly-Crystals Member 16 ก.ย. 54 21:57 น. 13
ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยนอนหัวค่ำ(นอนดึกมากๆ) เวลาเรียนเราก็จะหาวตลอดเวลา- -*ก็ยังโมโหตัวเองอยู่ พอตอนกลางวันเรานอนได้แทบทุกเวลาพอตกดึกเรานอนไม่หลับT.T
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด