ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #360 : 10 สุดยอดภาพจากอวกาศ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.82K
      10
      19 ก.พ. 53

    10 สุดยอดภาพจากอวกาศ

    อวกาศกว้างใหญ่และดวงดาวบนฟ้าไกลเป็นดินแดนแห่งความมหัศจรรย์ที่มนุษย์เฝ้าฝัน
    จะฝ่าฟันเดินทางไปหยั่งรู้พื้นที่ที่ไม่รู้ว่าจบลงตรงไหน นานมาหลายศตวรรษเท่าที่มนุษย์
    รู้จักแหงนมองท้องฟ้า ภาพแสงระยิบระยับล้วนจับตาจับใจไม่น้อย และเมื่อมนุษย์สามารถ
    ประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลจนขยายใหญ่ถึงกล้องโทรทัศน์ ภาพดวงดาวที่ไกลโพ้นก็
    ชัดเจนขึ้นทุกขณะ

    ทว่า เมื่อกล้องโทรทรรศน์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถสูงขึ้น ถึงขนาดส่องไกลได้
    ถึงหลายร้อยหลายพันปีแสงและยังออกไปโคจรนอกโลกบันทึกภาพต่างๆแทนดวงตาของ
    มวลมนุษยชาติ ภาพจากอวกาศในช่วงหลังๆ จึงได้สวยงามและอัศจรรย์ยิ่งนัก

    แม้จะล่วงเลยปี 2550 มาหลายเวลาแล้ว แต่ “ภาพอวกาศ” ที่ไร้กาลเวลาก็ยังน่าดูอยู่เสมอ
    ท่ามกลางภาพอวกาศมากมาย เราจึงขอหยิบยก 10 สุดยอด “ภาพอวกาศ” ที่ความสามารถ
    ของมนุษย์จะบันทึกได้มานำเสนอ โดยเป็นลำดับความนิยมจากเว็บไซต์เนชันแนล กราฟิก นิวส์
    ที่ได้ประมวลไว้เมื่อครั้งที่ภาพเหล่านี้เผยแพร่สู่สาธารณชน



    10. ดาวหาง “แมกนอต” สุกสว่างเหนือท้องฟ้าซีกโลกใต้

    การเดินทางมาเยือนโลกของดาวหางแมกนอต เมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมา นับเป็นช่วงที่ดาวหางดวงนี้สว่างสุกใสที่สุดในรอบ 40 ปี ซึ่งสว่างมาก
    จนสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า แม้ในยามที่ดาวหางปรากฏใกล้กับช่วงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าก็ยังมองได้อย่างชัดเจน

    โรเบิร์ต แมกนอต นักดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลียเป็นผู้ค้นพบดาวหางที่สุกสว่างนี้ เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน ส.ค.ปี 2549 ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์
    ออสเตรเลีย แต่น่าเสียดายที่ดาวหางดวงนี้สังเกตได้เฉพาะจากท้องฟ้าทางซีกโลกใต้ ซึ่งภาพที่บันทึกได้นี้ เป็นดาวหางแมกนอตที่มีความกว้าง
    10 กิโลเมตร กำลังพุ่งดิ่งเหมือนกำลังตกลงมาจากท้องฟ้าด้วยความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตรต่อวินาที เหนือพื้นที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศ
    นิวซีแลนด์ ห่างจากโลกออกไป 120 ล้านกิโลเมตร

    (ภาพ Simon Baker/Reuters)



    9.ลำแสงแห่งดาวพฤหัส

    แสงสีม่วงที่ปรากฏตรงขั้วเหนือและใต้ของดาวพฤหัสที่เห็นในภาพนี้บันทึกในย่านรังสีเอ็กซ์ โดยกล้องโทรทัศน์จันทรา ขององค์การบริหาร
    การบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) และผนวกเข้ากับภาพในคลื่นแสงที่ตามองเห็นจากกล้องฮับเบิล นับเป็นภาพที่ได้รับความสนใจไม่น้อย

    ลำแสงดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยว่ามีแสงที่ขั้วออกมาได้อย่างไร ทั้งที่ดาวเคราะห์ดวงใหญ่สุดแห่งระบบสุริยะ
    มีการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กอย่างรวดเร็วและรุนแรงทุกๆ 10 ชั่วโมง สร้างแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 10 ล้านโวลต์ที่รอบๆ ขั้วทั้ง 2

    ทั้งนี้การโยกไปมาของดาวพฤหัส เกิดจากการกระตุ้นของอนุภาคภูเขาไฟจากดวงจันทร์ไอโอ ซึ่งดูเหมือนการแสดงที่ี่ไม่มีวันจบสิ้น ความเชื่อม
    โยงระหว่างอุภาคภูเขาไฟที่ได้รับจากจันทร์บริวารดวงเล็กๆ ถึงกับมีผลต่อขั้วของดาวเคราะห์อย่างพฤหัสเลยหรือ...นี่คือปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์
    ยังงุนงงอยู่

    (ภาพ NASA)


    8. ระบบสุริยะเป็นรูป “กระสุน”

    ภาพกราฟิกแสดงให้เห็นถึงระบบสุริยจักรวาล ที่เต็มไปด้วยอนุภาคที่อัดเกาะกันไว้ (สีเหลือง) ขณะกำลังผ่านเข้าสู่สนามแม่เหล็กระหว่างดวงดาว
    ของกาแลกซีทางช้างเผือก (แนวเส้นสีน้ำตาล) ซึ่งภาพจำลองนี้เป็นผลมาจากการค้นพบครั้งใหม่โดยข้อมูลจากยานวอยเอเจอร์ที่เดินทางท่อง
    อวกาศมาเกือบ 30 ปีว่า ภาพของระบบสุริยะนั้นมีลักษณะเป็นวงรีหรือกระสุน

    (ภาพ Opher et al., 2007/Science)


    7. ซูเปอร์โนวาทำลาย “หอคอยฝุ่น”

    “พิลลาร์ส ออฟ ครีเอชัน” (Pillars of Creation) หรือ “แท่งฝุ่นแห่งการสร้าง” ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซรูปแท่งขนาดใหญ่ที่เป็นหน่ออ่อนสำหรับการ
    อนุบาลดาวฤกษ์รุ่นใหม่ ในเนบิวลานกอินทรี ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์มานับพันๆ ปีแล้วว่าพิลลาร์ ออฟ ครีเอชันจะถูกทำลายด้วยแรง
    ระเบิดของซูเปอร์โนวาจากมรณกรรมของดาวฤกษ์ยักษ์ในบริเวณใกล้เคียง ในช่วงเดือน ม.ค.2550

    แท่งที่อัดแน่นไปด้วยฝุ่นก๊าซแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการก่อกำเนิดดาวใหม่ กลายเป็นภาพสำคัญเมื่อฮับเบิลบันทึกได้ในปี 2538 โดยส่วนที่
    หนาแน่นที่สุดนั้นถูกคลื่นกระแทกจากซูเปอร์โนวาตั้งแต่ 6 พันปีก่อน ซึ่งกว่าที่เราจะได้เห็นภาพเนบิวลาที่ถูกทำลายแล้วนั้นก็ต้องย้อนไปถึง
    7 พันปีแสงอันเป็นระยะทางที่เนบิวลาดังกล่าวห่างจากโลก

    ภาพในย่านแสงอินฟราเรดจากกล้องสปิตเซอร์แสดงให้เห็นในส่วนสีแดงว่าเนบิวลานกอินทรีนั้นร้อน และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งพื้นที่ที่
    เปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ถูกกระตุ้นจากพลังของซูเปอร์โนวา ทำให้หอคอยดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่ถูกอิทธิไม่สามารถทนทานต่อ
    สภาพดังกล่าวได้จึงเกิดการสลายไปในที่สุด

    อย่างไรก็ดี การระเบิดของหอคอยแหล่งกำเนิดแห่งดวงดาวก็หาใช่ข่าวร้ายซะทีเดียว ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าคลื่นกระแทกของซูเปอร์โนวา
    จะเป็นเชื้อไฟทำให้เกิดดาวใหม่ท่ามกลางกลุ่มควันที่คลื่นย่างกรายไปถึง

    (ภาพ NASA/JPL-Caltech/Institut d’Astrophysique Spatiale)


    6. มนุษย์ต่างดาวอาจจะแปลกประหลาดกว่าที่คิด

    นี่เป็นภาพจำลองการลงจอดของยานแหย่ (โพรบ) ฮอยเกนของนาซาและอีซา ที่ตกลงท่ามกลางทะเลสาบมีเทนของ “ไททัน” บริวารแห่ง
    ดาวเสาร์ และจากการจมจ่อมอยู่ในของเหลวแบบนั้นทำให้ทางภาคพื้นดินได้รับข้อมูลว่าสิ่งมีีชีวิตนอกโลกอาจจะแปลกประหลาดไปจากที่
    เคยคาดการณ์กันไว้

    นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลส่วนหนึ่งที่จะพิจาณาถึงคำจำกัดความของ “ชีวิต” ในอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างสิ้นเชิง
    ที่โลกเราพึ่งพา “คาร์บอน” เป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ชีวิตที่ต่างดาวที่ได้รับข้อมูลจากไททันนั้น น่าจะมีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง และ
    ที่สำคัญสามารถดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุดขั้ว อย่างทะเลกรดได้

    (ภาพ : Gregor Kervina, courtesy NASA/JPL)


    5. ดาวแม่เหล็กระเบิด

    ภาพจำลองเทห์วัตถุอวกาศที่พบได้ยากยิ่ง “ดาวแม่เหล็ก” ขณะกำลังระเบิดและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปรังสีเอ็กซ์ ดาวดวงนี้ห่างจาก
    กลุ่มดาวคนยิงธนูประมาณ 15,000 ปีแสง เป็นดาวนิวตรอนหมุนเร็วขนาดเล็ก และก่อนหน้าการระเบิดปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมาเป็นจำนวนมาก

    ดาวแม่เหล็กดวงนี้มีความกว้างเพียงแค่ 15 กิโลเมตร แต่มีมวลมากพอๆ กับดวงอาทิตย์ ซึ่งองค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ผู้นำในการศึกษาครั้งนี้
    พบว่าดาวดังกล่าวมีสนามแม่เหล็กรุนแรงมากเป็นอันดับต้นๆ ในจักรวาล สูงมากกว่า 600 ล้านล้านล้าน
    เท่าของสนามแม่เหล็กโลก

    (ภาพ NASA/Swift/Sonoma State University/A. Simonnet)


    4. เนบิวลาบิดเกลียว

    ฝุ่นผงจากดาวหางรายล้อมดาวฤกษ์ให้ดูเหมือนดวงตาในใจกลางเนบิวลารูปหอย (Helix nebula) อันห่างไกล ภาพนี้บันทึกจากกล้องโทรทัศน์
    อวกาศสปิตเซอร์ของนาซา และเปิดเผยสู่สาธารณชนเมื่อวันที่ 12 ก.พ.50 เนบิวลานี้ห่างจากโลก 700 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์ที่มี
    ลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์แต่ตายไปแล้ว กลายเป็นดาวแคระขาวสีสันหลากหลาย

    ยังมีเนบิวลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเช่นนี้มากมายในกาแลกซีทางช้างเผือกที่พวกเราอาศัยอยู่แต่เนบิวลารูปหอยเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็น
    หลักฐานถึงการรอดชีวิตในจักรวาล ก่อนที่ดาวจะหมดอายุขัย ดาวหางก็โคจรผ่านเข้ามาสู่ระบบพอดี ขณะที่ดาวตายลงก็ขยายตัวออก เกิดมวล
    ปะทะกัน ฝุ่นผงจากทั้งคู่ดันเข้าหากันและหมุนวนรอบดาวแคระขาว อันเป็นสิ่งสุดท้ายที่ทิ้งไว้หลังดาวฤกษ์สูญสลาย

    (ภาพ NASA/JPL-Caltech/University of Arizona)


    3. ร่องรอยแห่งน้ำจากดาวอังคาร

    ภาพจากดาวเทียมที่โคจรรอบดาวอังคารเผยให้เห็นว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำไหลผ่านอยูู่่บนชั้นหิน ซึ่งปรากฎรายงานผลการศึกษาในวารสาร
    วิทยาศาสตร์เมื่อเดือน ก.พ.50 โดยรอยแยกที่ชั้นหินเหนือหลุมเบคเกอเรลทำให้เห็นชั้นหินสีสว่างและเข้มและเมื่อใช้กล้องความละเอียดสูง
    จากยานสำรวจดาวอังคารบันทึกสู่โลก นักวิทยาศาสตร์ก็ตื่นตะลึงเมื่อผลวิเคราะห์ออกมาว่า ที่รอยแยกดังกล่าวมีน้ำซึมอยู่ก่อนหน้า และน่าจะมี
    ความหวังว่า หากขุดเข้าไปในพื้นผิวของดาวแดง น่าจะพบแหล่งน้ำอย่างแน่นอน

    (ภาพ Science)


    2. วัตถุประหลาดวนรอบดาว

    ภาพวัตถุประหลาดมวลเท่าดาวเคราะห์โคจรรอบดาวนิวตรอน ในเดือน ก.ย.50 นับเป็นเทห์วัตถุที่แปลกสุดๆ เท่าที่นักดาราศาสตร์เคยพบเห็น
    แทนที่วัตถุชิ้นนี้จะโคจรรอบดาวฤกษ์ธรรมดาทั่วไป แต่กลับโคจรรอบดาวพัลซาร์หรือนิวตรอนอย่างรวดเร็ว

    ดาวนิวตรอนหมุนรอบตัวเองร้อยกว่ารอบใน 1 วินาที เร็วกว่าเครื่องปั่นในครัวเสียอีก ปกติแล้วดาวชนิดนี้ก็จะหมุนช้าลงตามอายุ แต่ดูเหมือนว่า
    วัตถุประหลาดจะช่วยส่งพลังให้ดาวดวงนี้เพิ่มความเร็วขึ้นไปอีก จากภาพจะเห็นมวลหมู่แก๊สผุดออกมาในลักษณะที่ไม่เสถียร
    วัตถุมวลประหลาดนี้ห่างจากดาวที่มันโคจรรอบๆ ประมาณ 370,149 กิโลเมตร ใกล้กว่าโลกกับดวงจันทร์ และสามารถสังเกตเหตุการณ์ได้จากโลก

    นักดาราศาสตร์คาดว่าระบบวัตถุประหลาดโคจรรอบดาวนิวตรอนนี้เกิดขึ้นจากดาวฤกษ์ 2 ดวงเมื่อหลายพันล้านปีก่อน และแม้ว่าดาวฤกษ์ดวง
    ใหญ่จะกลายเป็นซูเปอร์โนวาไป แต่ก็ยังซ่อนอยู่เบื้องหลังดาวนิวตรอน ส่วนดาวดวงเล็กกว่าก็ขยายตัวกลายเป็นดาวยักษ์แดง แต่ยังไม่มีใครระบุ
    ได้แน่ชัดว่าดาวดวงเล็กจะมีอายุยืนยาวไปถึงเมื่อใด

    (ภาพ Aurore Simmonet/Sonoma State University)


    1. วาระสุดท้ายของฝาแฝดดวงอาทิตย์

    เมื่อกลางเดือน ก.พ.2550 องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้เผยภาพดาวฤกษ์ที่ตายแล้ว อยู่ในสภาพ “ดาวแคระขาว” มีแสง
    สว่างเป็นจุดอยู่ใกล้ใจกลางเนบิวลา NGC 2440 และที่น่าสนใจคือ ดาวดังกล่าวมีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์

    ดาวฤกษ์ขนาดเล็กและกลางอย่าง “ดวงอาทิตย์” ส่วนใหญ่มีจุดจบเป็น “ดาวแคระขาว” เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นสารประกอบส่วนใหญ่ของดาว
    เปลี่ยนเป็นฮีเลียม ดาวดวงนั้นเริ่มกลายเป็นดาวสีแดงยักษ์ และพ่นสิ่งต่างๆ ออกสู่เนบิวลา จากนั้นก็จะเหลือใจกลางที่ร้อน และเปลี่ยนเป็น
    ดาวแคระขาวไปในที่สุด

    ภาพดาวแคระขาวที่บันทึกได้นี้ห่างจากโลกออกไป 4,000 ปีแสง นับว่าเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนที่สุดเท่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยบันทึกมา คือ
    มีอุณหภูมิสูงถึง 200,000 องศาเซลเซียส แสงอัลตราไวโอเล็ต (สีม่วง-ฟ้า) ที่เห็นตรงใจกลางภาพนั้นคือกลุ่มก๊าซที่พวยพุ่งออกมาจากใจกลาง
    ของดวงดาว

    ดวงอาทิตย์ของเราก็จะมีชะตากรรมเหมือนดาวดวงนี้ แต่ยังไม่เกิดขึ้นภายใน 5 พันล้านปีนี้แน่นอน

    (เครดิตภาพ NASA/ESA)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×