วัสดีค่ะน้องๆ^^ ตอนเช้าก่อนไปโรงเรียนมีใครพกข้าวกล่อง หรือ ซื้อของกินที่ใส่กล่องพลาสติกหรือกล่องโฟมบ้างมั้ยคะ ที่ถามยังงี้พี่มิ้นท์ไม่ได้จะมาขอกินหรอกนะคะ แต่อยากจะมาเตือนน้องๆ ให้รู้กันไว้ซักนิดนึงว่าบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารหรือวัสดุที่สัมผัสอาหารพวกนี้อาจมีสารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราด้วย เพราะฉะนั้นน้องๆ อย่าหิวจัดจนเผลอกินพลาสติก เอ้ย! ต้องใช้กันอย่างระมัดระวังด้วยค่ะ

 

          ภาชนะบรรจุอาหารเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากๆ เพราะใช้กันอยู่ทุกวัน ยิ่งสมัยนี้ยิ่งใช้กันเยอะมาก จะกินนม กินน้ำ กินข้าว หรือแม้แต่ปลากระป๋องก็ใส่บรรจุภัณฑ์ทั้งนั้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่เห็นบ่อยๆ ทุกวันนี้ก็มี กระดาษ พลาสติก เซรามิค แก้ว รวมทั้งโลหะ แต่ละอย่างก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป บางอย่างใช้เพราะสามารถรีไซเคิลได้ บางอย่างมีความแน่นหนาเป็นพิเศษ เป็นต้น และที่สำคัญแต่ละอย่างก็มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไปด้วย คงไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายเกินไป ถ้า พี่มิ้นท์ จะพูดว่าตามธรรมชาติของการทำธุรกิจ ก็มักจะเลือกต้นทุนที่ต่ำที่สุด เมื่อราคาต่ำ คุณภาพก็อาจจะต่ำลงไปด้วย ดังนั้นก็จะเห็นได้ว่ามีข่าวออกมาหลายครั้งเกี่ยวกับ สิ่งปนเปื้อนที่มากับบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร เพราะบรรจุภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพ สุดท้าย คนที่ได้รับผลกระทบก็คือ ผู้บริโภคอย่างเราๆ นี่เอง

 


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ศูนย์นำมาทดสอบ

          ถ้าพูดถึงอันตรายที่มากับบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารนั้น หลักๆ ก็จะมาจากพลาสติกและโลหะค่ะ ส่วนสารที่สามารถปนเปื้อนลงสู่อาหาร ก็จะมีจำพวก สารตะกั่ว แคดเมียม หรือในพลาสติก เช่น ไวนิลคลอไรด์ อะคลีโลไนทริล สไตรีน ฯลฯ สารในพลาสติกเหล่านี้จะออกมาปนเปื้อนอาหาร ก็ต่อเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายของโมเลกุลหรืออนุภาคจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งจะเป็นพิษกับร่างกาย ถ้าได้รับปริมาณมากก็จะปวดหัว มึน ชัก ประสาทหลอน จนถึงขั้นเสียชีวิต หรืออาจเป็นมะเร็งได้ โอ้ว! ร้ายกาจมาก

          ปัญหาเรื่องสารปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ไม่ได้ส่งผลต่อผู้บริโภคในประเทศเพียงอย่างเดียวนะ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่าประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปยุโรปจำนวนมาก และทางยุโรปก็ค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องสารปนเปื้อนของวัสดุสัมผัสอาหารอยู่พอสมควร ทำให้สินค้าไทยโดนกักกันและถูกตีกลับอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจระดับประเทศมากทีเดียว เช่น ในปี 2550 พบปัญหาการตกค้างของสารกลุ่มพทาเลท 3 ชนิด คือ DINP, DIDP และ DEHP ในสินค้ากลุ่มเครื่องปรุงรสที่มีไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ พริกแกงสำเร็จรูป ซอส และเต้าเจี้ยวที่บรรจุในภาชนะขวดแก้วมีฝาปิด เป็นต้น เรื่องสารปนเปื้อนอาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ ที่นักธุรกิจคนไทยไม่ค่อยคำนึงถึง แต่กลับเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติให้ความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะสารที่หลุดลอกออกมา ส่วนใหญ่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และส่งผลกระทบต่อคุณภาพอาหาร เช่น ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต เกิดการสูญเสียสารกันบูด รสชาติและสีอาหารเปลี่ยน เป็นต้น เมื่อต่างชาติไม่ยอมรับสินค้าไทย ผลที่ตามมาก็คือ เสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของไทยนั่นเอง

 


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบแล้วพบสารตะกั่วและแคดเมียมละลายออกมา


         แต่เมื่อปีที่แล้วกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทย์ฯ ได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์เชี่ยวชาญด้านวัสดุสัมผัสอาหารแห่งเดียวของอาเซียน” ขึ้น ซึ่งถือเป็นหน่วยงานภาครัฐแห่งแรกของประเทศที่ให้บริการทดสอบทั้งคุณภาพและความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารได้ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC : 17025 การจัดตั้งศูนย์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้ภาชนะบรรจุอาหารหรือวัสดุสัมผัสอาหารมากขึ้น และมาตรฐานสินค้าที่ลูกค้าต่างประเทศต้องการก็สูงขึ้นด้วย โดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมกฎระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวกับวัสดุสัมผัสอาหารของประเทศสมาชิก เพื่อปรับให้เป็นแนวทางเดียวกัน มีการบริการทดสอบตามมาตรฐานควบคุมของแต่ละประเทศ มีศูนย์ฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการทดสอบอย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาวิธีทดสอบ การประกันคุณภาพผลการทดสอบ การเป็นแหล่งข้อมูลวัสดุอ้างอิง เป็นต้น

         พี่มิ้นท์ เชื่อว่าการตั้งศูนย์นี้ขึ้นมานั้นช่วยเพิ่มความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าได้มากทีเดียว รวมทั้งทำให้ผู้ผลิตได้ตระหนักและใส่ใจถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากขึ้นด้วย เพราะถ้าสินค้าไม่มีคุณภาพ สินค้าก็จะไม่ผ่าน ถ้าทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับชีวิตมากกว่ามุ่งแสวงหาผลกำไรแบบนี้ ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็สบายใจได้แล้วล่ะ

 


ภาพการทำงานในห้องปฏิบัติการของศูนย์เชี่ยวชาญด้านวัสดุสัมผัสอาหารแห่งเดียวของอาเซียน


ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมเปิดศูนย์ฯ

         มาถึงตรงนี้ พี่มิ้นท์ขอบอกเล่าเกี่ยวกับกรมวิทยาศาสตร์บริการไว้ซักเล็กน้อย เชื่อว่ามีน้องๆ หลายคนที่ยังไม่รู้จัก ว่าหน่วยงานนี้ คือ อะไร? ทำอะไรบ้าง?

          กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีค่ะ มีหน้าที่รับบริการทดสอบทางด้านวิทยาศาสตร์(ตามชื่อเลย) ซึ่งมีผลงานเด่นๆ มากมาย และปีที่แล้วก็ได้เปิดศูนย์เชี่ยวชาญด้านวัสดุสัมผัสอาหารแห่งเดียวของอาเซียน โดยมีดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นประธานเปิดศูนย์ดังกล่าว ตามที่ได้เล่าไว้ก่อนหน้านี้ ก็เรียกได้ว่าสร้างประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงตอนนี้ก็ 120 ปีทีเดียว และกรมวิทยากรมวิทยาศาสตร์บริการ ก็กำลังจะจัดงาน “120 ปีกรมวิทยาศาสตร์บริการ แหล่งรวมความเชี่ยวชาญ ร่วมสร้างเศรษฐกิจอาเซียน” ขึ้น ในวันที่ 23-24 มิ.ย.54 ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทย์ฯ เพื่อฉลองครบรอบ 120 ปี  โดยจะมีการเผยแพร่ผลงานของกรมฯ รวมทั้งมีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการอีกด้วย งานนี้เด็กๆ วัยรุ่นก็สามารถเข้าร่วมได้ ถ้าน้องๆ คนไหนสนใจ ห้ามพลาดนะคะ รับรองว่าได้ความรู้ใหม่ๆ คุ้มเกินคุ้มแน่นอน

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

http://www.tint.or.th/nkc/nkc51/nkc5101/nkc5101f.html

http://scitalk.stkc.go.th/?q=node/8

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

16 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Magusse Member 20 มิ.ย. 54 19:20 น. 10
เราคนไทยจะแคร์อะไร = = เราอยู้กันแบบนี้มานานภูมิคุ้มกันเยอะ ไม่ตายง่ายๆหรอก กินๆเข้าไปเหอะ คนมันจะตายอะไรก็ห้ามไม่ได้ ไม่รู้อนามัยไปไหน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด