Doodle A Day  
เบื่อฟัง ให้วาดรูปเล่น 



     เวลาน้องๆ ชาว Dek-D.com นั่งเรียนวิชาท่องอย่างประวัติศาสตร์ เวลานั่งฟังวิทยากรบรรยายอะไรน่าเบื่อๆ หากคุณครูไม่มีกิจกรรมอะไรมาให้เล่นบ้าง ถึงน้องๆ จะตั้งใจฟังขนาดไหนก็พาลจะง่วงเอาง่ายๆ ใช่ไหม หลายๆ คน อาจใจลอยเหม่อคิดไปไกล แม้ตาจะยังจ้องอยู่บนใบหน้าครูก็เถอะ แต่ใจและความคิดลอยไปไหนต่อไหนแล้วก็ไม่รู้...ใช่ไหมคะ?




         พี่เกียรติมีเคล็ดไม่ลับเล็กๆ ที่จะทำให้น้องๆ มีสติฉุดรั้งอาการฝันกลางวัน แบบที่พี่เชื่อว่าหลายๆ คนก็ทำอยู่แล้วเป็นปกติ นั่นคือ การขีดเส้นอะไรต่างๆ ยุกยิกๆ บนกระดาษ เจ้าเคล็ดลับนี้ก็เหมือนกับที่หลายๆ คนหมุนปากกาเวลาที่ฟังบรรยายหรือกำลังประชุมน่าเบื่ออะไรอยู่ แต่นักจิตวิทยาฝรั่งเขาได้ศึกษาอย่างจริงจังว่า การขีดเขียนเส้นอะไร ยุกๆ ยิกๆ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า doodle) เหมือนมืออยู่ไม่สุขเนี่ย จริงๆ มันก่อแค่ความรำคาญ เป็นลักษณะคนไม่ตั้งใจฟังหรือเปล่า หรืออันที่จริงแล้ว มันมีผลอะไรต่อภาวะตื่นตัวของสมอง และการทำงานด้านการรับรู้และความจำของสมอง


 
    วารสาร ชื่อ Applied Cognitive Psychology ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษา จากกกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มฟังเสียงจากเทป กลุ่มหนึ่งให้กระดาษปากกา นั่งวาดรูปได้ แต่อีกกลุ่มให้นั่งฟังให้เรียบร้อย เมื่อฟังจบก็ให้ตอบคำถามจากที่ได้ฟัง ผลควรจะบอกว่ากลุ่มที่นั่งเรียบร้อยตั้งใจฟังน่าจะตอบคำถามได้มากกว่าใช่ไหม แต่ผลการศึกษากลับพบว่า กลุ่มที่ได้ขีดเขียนสามารถตอบคำถามได้มากกว่าถึง 29 เปอร์เซ็นต์

      ข้อนี้พี่่เกียรติว่าจริงนะ เพราะอย่างตัวพี่เอง ถ้าให้นั่งฟังเฉยๆ นั่งนิ่งเรียบร้อย ไม่จรดปากกาเขียนอะไรบ้าง อย่าว่าแต่จะฝันกลางวันเลย พี่จะหลับไปเลยเสียมากกว่า ดังนั้น เวลาที่เราได้เขียนอะไร นอกจากไม่เบื่อแล้ว มือเราก็ขยับไป หูเราก็กำลังฟัง บางทีก็ไม่ได้จ้องหน้าผู้พูดด้วยซ้ำ แต่เราก็ฟังเข้าใจ ที่สำคัญหากได้ยินประเด็นสำคัญต่างๆ เราก็สามารถจดได้ทันทีนั่นเอง แต่ก็อย่าได้มุ่งมั่นวาดรูปเล่นเกินไปนะ แบบนั้นก็ไม่ใช้การวาดๆ ขีดๆ แก้เบื่อแล้ว แบบนั้นตั้งใจวาดจริงๆ ฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน ฮ่าๆๆ



 
       ส่วนสาเหตุที่การได้ขีดๆ เขียนๆ อะไรบ้าง ระหว่างฟังบรรยายหรือในการประชุม สามารถช่วยในเรื่องความจำนั้น ผู้ศึกษาบอกว่า เพราะ การเขียนเป็นตัวที่ชักจูงใจไม่ให้ไปเผลอคิดอะไรเรื่อยเปื่อย มือที่ได้ขยับยุกยิกบ้าง ทำให้เรายังมีสติรับฟังนั่นเอง น้องๆ อย่าได้คิดว่าการเผลอคิดอะไรเรื่อยเปื่อยเล็กๆ น้อยๆ ไม่สำคัญ...เดี่ยวก็กลับมาฟังรู้เรื่องได้อีกนะ จริงๆ การหยุดคิดเรื่อยเปื่อยนี่ยากทีเดียว มันเป็นเรื่องการกำกับจิตใจเลยทีเดียว ทางธรรมมะใช้คำว่า ขาดสติ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ว่า เจ้าการเผลอเหม่อลอยหรือฝันกลางวันเนี้ย มีผลต่อการรับรู้ของสมอง สมองจะประมวลผลข้อมูลที่เหมาะสมไม่ได้ พูดให้ง่ายๆ ก็คือ จะกลายเป็นคนที่จับประเด็นสำคัญจากการฟังไม่ได้เลย 

        ที่สำคัญหากได้เริ่มต้นเหม่อลอย คิดอะไรไปเรื่อยเปื่อยเพียงนิดเดียว ก็จะหยุดการคิดเรื่อยเปื่อยนั้นต่อไปไม่ค่อยได้ เช่น เริ่มจากเรื่องจากกินข้าวตอนไหน กินอะไรดี ชวนใครไปบ้าง กินเสร็จจะไปไหน พุ่งไปนึกถึงการบ้านที่ยังทำไม่เสร็จ ต้องรีบขึ้นมาทำ แล้วเดี่ยวตอนเย็นไปไหน ฯลฯ เรียกว่า ใจหลุดไปไกลเสียแล้ว ที่ควรฟังให้ได้ความก็เลยไม่ได้ความเสียอย่างนั้น คิดฟุ้งได้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องรู้จักกำกับตนเอง รู้คิด รู้ฟังในเวลาที่เหมาะสม อย่าลืมว่า จินตนาการกับฝันกลางวันใกล้กันนิดเดียว เดี่ยวใครจะหาว่าเราเพ้อเจ้อได้นะ!!


        เพราะฉะนั้น หากเราต้องฟังครูสอนยาวๆ ฟังวิทยากรบรรยายนานๆ หรือต้องประชุมอะไรที่ใช้เวลา ลองใช้เคล็ดไม่ลับนี้ พกกระดาษ ปากกามา ขีดๆ เขียนๆ เล่น หรือจะควงปากกาก็ได้ไม่ว่ากัน พี่เกียรติเคยเห็นคนหมุนรูบิกมือเดียว ขณะฟังบรรยายด้วยนะ พี่เกียรติว่าแบบนั้นก็เทพ เอ้ย เก่งมากๆ เลย แต่ก็อาจดูไม่เหมาะสม หากนั่งหมุนรูบิกในการฟังครูชั้นเรียนเล็กๆ พี่แนะนำให้หาอะไรมาทำในมือ ให้พอจูงสติของเราได้ แต่น้องๆ ชาว Dek-D.com ที่รัก ก็ต้องระวัง อย่าเลือกหาอะไรมาทำ...ประเภท คุยบีบี ส่งข้อความทางโทรศัพท์ คุยFacebook เดี๋ยวจะกลายเป็นเสียมารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดี แล้วจะมาโทษว่า "ก็พี่เกียรติให้หาอะไรมาทำในมือตอนฟังอะไรยาวๆ ไม่ได้นะ" เตือนแล้วนะ ฮา




แหล่งอ้างอิง:
http://www.foxnews.com/health/2011/05/23/10-ways-boost-brain-power
http://www.time.com/time/health/article/0,8599,1882127,00.html
 
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

51 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
เรือนนรา Member 22 ส.ค. 54 14:06 น. 2

ขีดๆเขียนๆนี่ผมทำบ่อยเลย  แต่เอิ่ม!!!  ไอที่ฟังอาจารย์บรรยายก็ไม่นำพาเลย  สงสัยเหม่อไปไกลเกิน ฮ่ะๆๆๆๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
P.Jin Member 22 ส.ค. 54 17:10 น. 7
โอว..
วิธีนี้ทำเป็นประจำเลย
พอเบื่อ ๆ หรือว่าง ๆ ก็วาดรูป
เพราะบางทีอาจารย์พูดไม่น่าสนใจ
บางคนก็พูดกับกระดาน ไม่รู้เรื่อง 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Karine!! et ~KiaT_T~ Community 25 ส.ค. 54 02:05 น. 17
 ๕๕๕
น้อง คห ๑๕ อะ 
ก็อย่าวาดลูกเดียวสิคะ วาดหลายๆ ลูกเลย จะได้ฟังรู้เรื่อง (แป้ก -_-")
ที่บอกไปในบทความแล้วจ้า ให้วาดเพื่อหาอะไรทำในมือ แต่ไม่ใช่มุ่งมั่นตั้งใจจะวาดน้า

หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์นะ แต่ถ้าน้องได้กลายเป็นจิตรกรไปแล้ว พี่เกียรติก็ดีใจด้วย อิอิ
0
กำลังโหลด
seasons prince Member 25 ส.ค. 54 15:26 น. 18
เรื่องนี้คอนเฟิร์มว่าใช้ได้จริงคับ แต่ไม่ใช่ว่าวาดไปเรื่อยนะคับ อย่างตอนที่ผมเรียรนประวัติศาสตร์อียิปต์ ก็นั่งวดรูปศิตนากาลปกรรมแบบอียิปต์ แล้วก็นั่งจินตนาการไปเรื่อยตามที่อาจารย์สอน แล้วสุดท้าย คำพูดของอาจารย์ก็จะเข้ามาในหัวเราเองคับ
0
กำลังโหลด
Ms. Kwon Member 25 ส.ค. 54 18:21 น. 19

ใช้ได้จริงนะคะ แต่เราวาดในชีท (เยอะกว่ารูปที่พี่เว็บเอามาให้ดูอีก)
พอมาอ่านทบทวนกลับมานั่งชมรูปที่ตัวเองวาด ประมาณว่า แหม เรานี่วาดเก่งจริงๆ ลืมอ่านหนังสือเฉยเลย -3-

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด