จำให้แม่น ต้องมีเทคนิค!



       น้องๆ ชาว Dek-D.com อาจรู้สึกว่าตัวเองขี้หลงขี้ลืม อาจคิดว่าสมองตัวเองใกล้เสื่อมทั้งๆ ที่อายุไม่มาก เพราะวันๆ ลืมโน้นนี่ตลอด ลืมว่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ไหน ลืมว่าการบ้านที่ต้องส่งพรุ่งนี้มีอะไรบ้าง ลืมว่าตอนเย้นต้องแวะซื้ออะไรที่แม่สั่งเมื่อเช้าบ้าง น้องๆ อย่าเพิ่งกังวลไปนะ เพราะมันอาจไม่ใช่เรื่องความจำของน้องๆ ไม่ดีหรอก แต่เป็นเรื่องความสนใจและสมาธิต่างหาก น้องๆ น่า
 
  
จะเคยเป็นอยู่บ้าง ที่เราอ่านการ์ตูนรอบเดียวแล้วจำได้ทั้งเล่ม แต่อ่านหนังสือเรียนไปหกรอบ ยังจำไม่ได้สักประโยค เหตุผลง่ายๆ ของการจำไม่ได้นี้ อธิบายได้ว่า เพราะตัวเรา และสมองของเราไม่สนใจในเรื่องดังกล่าวนั่นเอง 


         ที่สำคัญการทำงานของสมองจะเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน ข้อมูลใหม่ที่ได้รับมักจะหาทางไปข้องเกี่ยวกับความรู้เดิมๆ ที่เรามีอยู่แล้ว เช่น เวลาที่น้องๆ อ่านหรือดูการ์ตูนก็มักไปนึกถึงการ์ตูนที่ชอบ หรือนึกไปถึงหน้าตาเพื่อนที่มีบุคลิกคล้ายคลึงกับตัวการ์ตูนนั้น นั่นก็ทำให้เราสนใจในตัวการ์ตูนนั้นๆ จนเราจำได้โดยไม่ต้องพยายามท่อง แล้วยิ่งพอเจอหน้าเพื่อนก็นึกถึงตอนฮาๆ ของตัวการ์ตูนแล้วขำออกมาทุกที 
       ต่างกับพวกวิชาเรียนที่เราเรียนเพื่อสอบ พอสอบเสร็จก็ลืม เป็นอันจบวงจรความรู้นั้น แต่อย่าลืมว่าเราสอบครั้งเดียวแล้วจบไปเสียเมื่อไหร่ มันอาจจะออกอีกตอนเราสอบเรียนต่อ ม.1 ม.4 ปี1 หรือสอบชิงทุนตอนไหนก็ได้ หมายความว่าถ้าจะสอบทีก็ต้องอ่านใหม่ทั้งหมดอีกทีหรือเนี่ย? ซึ่งพี่เกียรติเชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นแบบนั้นนะ ฮา

    ดังนั้น พี่เกียรติจึงขอเสนอวิธีการจดจำวิชาเรียนต่างๆ ให้มันมาอยู่ในความสนใจของน้องๆ และเชื่อมโยงความรู้มากขึ้น วิธีนี้คุณครูหลายคนก็ใช้อยู่นะ เช่น ท่องศัพท์เป็นเพลง เอาเรื่องเพศที่เด็กๆ สนใจตามวัยมาเขย่ารวมกับวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขอเสนอเทคนิคดังนี้ค่ะ
              
          1) ท่องความรู้ หรือแปลงความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่เราสนใจ  ใครรักเพลงชอบเพลงก็เอาความรู้มาใส่ทำนองเพลงที่เราชอบ ใครชอบการ์ตูนก็เอามาใส่เป็นตัวการ์ตูนพูด ทำเป็นโดราเอมอนสอนโนบิตะก็ได้ วิธีนี้ออกจะเสียเวลาแต่งเพลงบ้าง วาดการ์ตูนบ้าง แต่ระหว่างที่บรรจงแต่งวิชาการให้เข้ากับเพลงหรือการ์ตูน เราต้องอ่านข้อความนั้นๆ ไปกี่รอบแล้วล่ะ กว่าจะลงจังหวะเพลง หรือเป็นเรื่องขึ้นมาได้ เราก็จำวิชานั้นๆ ได้เองไม่รู้ตัว



            2) คิดเชื่อมโยงวิชาใหม่กับเรื่องเก่าๆ ที่เรารู้หรือจำได้ดี อะไรก็ได้ ข้อนี้เน้นคิดเชื่อมโยงให้ได้ อาจจะทำยากสักหน่อย เพราะ สิ่งที่เราไม่สนใจ เราก็ไม่เชื่อมโยงอะไรมันให้เสียเวลาหรอก แต่ถ้าเราลองใส่ใจแล้วคิดๆ หาช่องทางเชื่อมโยงไป มันจะทำให้เราจำได้โดยไม่รู้ตัว หรืออย่างน้อยก็รู้สึกว่าเคยรู้ล่ะ เช่นกรณี  เกม angry bird กับโปรเจคไตล์


 
        น้องๆ ส่วนใหญ่รู้จักเกมนี้อยู่แล้ว แต่โปรเจคไตล์นี่เป็นเรื่องของ ม.ปลายเสียหน่อย แต่น้องๆ ที่เคยอ่านบทความเรื่อง "6 ปริศนาลองเล่นๆ ให้รู้กันไป...ใคร คิดเป็นบ้าง"  ก็จะได้รู้จักกับโปรเจคไตล์มากขึ้น  สมมติว่าน้องยังเรียน ม.2 รู้แค่ว่าโปรเจคไตล์ คือ การเคลื่อนที่ในวิถีโค้ง แต่พอขึ้นม. 5 ก็จะได้เรียนฟิสิกส์ เรื่องโปรเจคไตล์แบบจริงจัง ตอนนั้นเกม angry bird อาจไม่ดังแล้ว แต่เชื่อเถอะ น้องๆ จะเข้าใจเรื่องโปรเจคไตล์นี้มากขึ้นแน่นอน กล่าวคือ เราจะเข้าใจเรื่องโปรเจคไตล์มากขึ้น เพราะ นึกถึงลักษณะเกม angry bird นี่แหละ 

       
 
หรืออย่างตอนที่ภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัยออกฉายใหม่ๆ มีศรัญญูแสดงเป็นพระเฑียรราชา เป็นตัวละครที่พี่ชอบมากๆ เลยทำให้จำได้ว่าพระเฑียรเป็นใคร เป็นลูกหลานใคร ฝ่ายราชวงศ์ไหน แต่งงานกับใคร กลายเป็นพ่อใคร  และบังเอิญพอดีกับที่กำลังเรียนวิชาสังคมศึกษา สมัยอยุธยา อาจารย์ก็เล่าไปสิ ว่าพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ขึ้นครองราชย์มาได้อย่างไร พี่ก็หลับไปบ้าง ใจลอยไปไหนมาไหนบ้าง แต่พอมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ตาพี่ลุกวาว สมองโชติช่วงชัชวาลขึ้นมา เพราะตอนที่อาจารย์บรรยายไป พี่ก็นึกถึงหน้าพระเฑียรในหนัง (เป็นหน้าคุณศรัญญูนั่นแหละ) แล้วก็นึกเนื้อเรื่องออกไปพร้อมๆ ที่อาจารย์บรรยาย 
ถึงแม้หนังกับที่อาจารย์เล่าจะไม่ตรงกันทั้งหมด แต่เพราะพี่เอาเรื่องที่เรียนไปเชื่อมกับหนังเรื่องสุริโยไทนี่แหละค่ะ  ตอนนั้นพี่ได้คะแนนเต็มเรื่องสมัยอยุธยาเลยนะ ฮา

     

       
  
    วิธีการจดจำแบบนี้ อาจจะยุ่งยากกว่าการท่องธรรมดาเสียหน่อย แต่มันได้ผลจริงนะ
เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้เคยอธิบายถึงการทำงานของสมองไว้ว่ามีการทำงานเชื่อมโยงกันจริงๆ ดังนี้ สิ่งที่เรารับรู้ใหม่หรือเห็นใหม่จะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่ทำหน้าที่ส้รางความจำใหม่ (สมมติว่าสิ่งใหม่ที่เราเจอ คือ ก) จากนั้นเซลล์สมองในฮิปโปแคมปัสนี้ก็จะไปกระตุ้นเซลล์สมองส่วนหน้า(คอร์เท็กซ์) ที่มีหน้าที่เก็บความจำระยะยาว เพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความจำใหม่นั้น (เจ้า ก เกี่ยวอะไรกับของเดิมไหมนะ หา หา หาซิ) ถ้าหาไม่เจอก็จะไปกระตุ้นส่วนอื่นต่อ ถ้ายังไม่เจอก็ต้องไปถามคนอื่น เปิดหนังสือหา หรือสมุดบันทึกก็ได้ แต่ถ้าเราช่างมัน เลิกสนใจ เจ้า ก ที่กำลังจะเป็นความรู้ใหม่ก็จะถูกลืมเลือนไปนั่นเอง 


         แต่เชื่อเถอะค่ะว่า หากเราใช้สมองเชื่อมโยงเจ้า ก เอ้ย ความรู้ใหม่เรื่องใดก็ตามได้ นอกจากความจำที่แม่นขึ้น ได้ความรู้ใหม่ๆ แล้ว เราจะภูมิใจที่ตัวเองคิดออก โยงเรื่องนู้นนี้มาเกี่ยวพันกันได้จริงๆ นะ นี่แหละคือสิ่งที่การศึกษาไทยและผู้ใหญ่อยากให้พวกเราเด็กไทยทำได้ "การรู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้" พื้นฐานของสิ่งนี้ ก็คือ เจ้าการเชื่อมโยงความรู้ได้นี่แหละค่ะ มาฝึกจดจำบทเรียนด้วยการแปลงให้น่าสนใจและเชื่อมโยงความรู้เก่ากับใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกันเถอะ!







แหล่งข้อมูล,ภาพประกอบ:
     สรรสาระ, พฤศจิกายน 2549
     http://desktop.kratookfilm.com/albums/userpics/10001/normal_06.jpg
     https://quantumprogress.wordpress.com/2011/02/17/why-you-should-wait-to-teach-projectile-motion-part-2-introducing-projectile-motion-using-angry-birds/
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

40 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
best zaa Member 2 ธ.ค. 54 13:31 น. 6

ที่พระเทียรราชา อันนี้เคยทำจริงๆเคยอ่านการ์ตูนของอีคิวพลัสเรื่องประวัติศาสตร์ ตอนเรียกนึกเป็นรูปตัวการ์ตูนขึ้นมา จำได้เป็นฉากๆเลย วาเขาพูดอะไรกันบ้าง555+  เลยทำได้ อันนี้เวิร์คจริงๆค่ะ  จะลองใช้วิธีอื่นมั้งนะคะ ขอบคุณค่า 

0
กำลังโหลด
เครื่อง(เส้น) Member 2 ธ.ค. 54 13:55 น. 7
หนังแนวพีเรียดนี่ใช้ได้จริงๆนะกับวิชาประวัติศาสตร์ มีหนังสือการ์ตูนอีก อย่างเรื่องรามเกียรติ์ ที่เคยเขียนเป็นการ์ตูนฉบับรามาวตารอ่ะ ทำให้ได้ทอปวิชาภาษาไทยได้จริงๆ
สื่อที่เป็นความรู้มีเยอะนะ การ์ตูนอ่ะไม่ได้ไร้สาระเลยเค้าใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นอีกต่างหาก เวลาอาจารย์สอนเราก็มีเรื่องพูดโต้ตอบกันกับอาจารย์ ช่วยเพิ่มความจำให้เราได้อีกดีกว่านั่งฟังๆไปเดี๋ยวก็ลืม
0
กำลังโหลด
TEARz Member 2 ธ.ค. 54 14:42 น. 8
 เราอยากให้ทำหนังออกมาเยอะๆนะแบบที่มีเรียนสอนกันอ่ะม่เบื่อเด็กเข้าใจกันมากขึ้นด้วยแต่ที่ปวดใจสุดเรียนสามก๊กพึ่งจบไป(เรียนแบบจำได้ว่าเตียวหุยเป็นคนอารมณืร้อน จำมันได้แค่นั้นแหล่ะ) พอเลื่อนชั้น หนังสามก๊กออกมาฉายค่าาาาาา น้องๆปีนั้นหวานหมูกันเลยทีเดียว!
0
กำลังโหลด
[B]iTter_Swe[E]t Member 2 ธ.ค. 54 19:13 น. 9

มันช่วยได้เยอะจริงๆนะ
จำได้ว่าเพื่อนเคยถามเรื่องพืชแคมที่เรียนมานานจนลืมกันหมดแล้วว่ามีอะไรบ้างอะไรงี้
คือกระบองเพชรแน่ๆอันนึง ส่วนกล้วยไม้กับสับปะรดก็นึกถึงเรื่องรีบอร์น 5555
บางทีอะไรที่ว่าไร้สาระมันก็ช่วยได้นา 55555

0
กำลังโหลด
ปลาทองจำแลง Member 2 ธ.ค. 54 20:21 น. 10
 เจ๋งส์อ่ะ วิธีนี้เคยลองเป็นการ์ตูน แต่ก็วาดไม่เสร็จซะที แง TTOTT 
ไม่เป็นไร สู้ต่อปายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
+*:_IN mY dReAM_:*+ Member 2 ธ.ค. 54 21:34 น. 12
เราชอบอ่านออกเสียง แล้วมันจะจำได้ ถึงอ่านรอบเดียวก็เถอะ
กับอีกวิธีคือฟังเพลง แล้วอ่านให้ตรงจังหวะเพลง กลายเป็นเพลงไปเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Ms. Kwon Member 4 ธ.ค. 54 08:48 น. 18
ถ้าเป็นพวกคำศัพท์เราใช้วิธีแบบนี้จำเอาอ่ะอย่างเช่น
คำว่า พูด ภาษาญี่ปุ่นคือ hanashimasu
hana แปลว่าดอกไม้ shimasu แปลว่า ทำ
สรุป พูด คือ ทำดอกไม้
มันจำได้แม่นจริงๆนะ ใช้กับศัพท์ชีวะยากๆได้ด้วย
ชื่อตัวย่อเคมีในตารางธาตุก็ใส่ชื่อเพื่อนแทน
อย่าง na โซเดียม ก็เป็น นะ คือ โซเดียม
พอไปเล่าให้เพื่อนฟังมันก็บอกว่า วุ่นวายว่ะ
แต่เราว่าสนุกดีออกอ่ะ

ปกติสมองซีกซ้ายจะจำเรื่องพวกนี้แต่เราเอาซีกขวามาช่วยทำให้จำได้นานขึ้น
(ไปอ่านเจอมาอ่ะนะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด