ทางออกปัญหาแน่นอก!! แบ่งเวลาเรียน+กวดวิชาไม่ให้ตีกัน

          เกิดมาในยุคกวดวิชาครองเมือง ทำให้เวลาว่างของน้องๆ ขลุกอยู่กับโรงเรียนกวดวิชาแทนที่จะได้พักผ่อนอยู่บ้านเหมือนแต่ก่อน  จำได้ว่าปิดเทอมสมัยก่อนยังตื่นสิบโมง ช่วงบ่ายก็ดูทีวีกันอยู่เลย แต่เดี๋ยวนี้ 8 โมงต้องว๊าบตัวอยู่ห้องเรียนพิเศษแล้ว พี่มิ้นท์เห็นแล้วเหนื่อยแทนเลยค่ะไหนจะต้องใช้สมองที่โรงเรียนแล้ว ยังต้องแบ่งที่ว่างมาสูบความรู้ในวันเสาร์-อาทิตย์อีกด้วย

         นี่ยังน้อยไปนะคะ น้องบางคนเรียนพิเศษหลังเลิกเรียนอีก (น้องๆ เป็นไอรอนแมนกันรึเปล่าถึงได้อึดขนาดนี้!!) แต่พี่มิ้นท์รู้นะคะว่าที่น้องๆ เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่ได้เต็มใจนักหรอก เพราะหลายคนมาบ่นให้ฟังว่าทั้งเรียนในห้องเรียนและมาเรียนพิเศษอีก เหนื่อยสายตัวแทบขาด เวลาว่างดูแลตัวเองก็ไม่มี ไม่ได้ออกกำลังกายอีก โทรมแล้วยังอ้วนอีก!! ใครที่รู้ตัวว่าเข้าข่ายอาการแบบนี้ ชีวิตเริ่มจะน็อคแล้ว ลองทบทวนตัวเองดูใหม่แล้วเอาสิ่งที่จะแนะนำไปใช้ดูนะ


 ขั้นที่ 1 : จำเป็นต้องเรียนแน่นะ??
         เกิน 50% แน่ๆ สำหรับคนที่เรียนพิเศษตามเพื่อน เห็นเพื่อนเรียนวิชานั้นมาแล้วเม้าท์ให้ฟังมาดีก็อยากเรียนตาม บางครั้งชีวิตเราไม่ต้องตามเพื่อนไปซะหมดก็ได้นะถ้ามันไม่เกิดประโยชน์กับตัวเอง ลองสำรวจตัวเองว่าวิชาที่เราจะไปเรียนเป็นวิชาที่อาการหนักจริงๆ มั้ย ถ้าเรียนในห้องเรียนเรายังไหวอยู่ พูดง่ายๆ คือ เรียนแล้วเข้าใจ ก็ไม่ต้องไปเรียนตามเพื่อนหรอกค่ะ เสียดายทั้งเงิน ทั้งเวลา กรณีนี้อ่านเพิ่มเติมนิดเดียวก็เข้าใจแล้ว
         แต่ถ้าวิชานั้นยังไม่ปึ้ก ก็ควรถามตัวเองต่อมา เราไม่รู้เรื่องทั้งบท/ทั้งวิชาเลยมั้ย หรือไม่เข้าใจแค่หัวข้อเดียว ถ้างงๆ แค่นิดเดียวหาหนังสือดีๆ จากห้องสมุดหรือถามอาจารย์เอาก็ได้ค่ะ แก้ไขเป็นจุดๆ ไป


 ขั้นที่ 2 : อย่าเรียนตู้มเดียวทุกวิชา
          ตรงนี้อาศัยการวางแผนของน้องๆ ด้วย ลองดูว่ามีวิชาที่เราต้องตามเก็บกี่วิชา แล้วค่อยๆ วางแผนว่าเรียนอะไรก่อน-หลัง หลายคนไม่วางแผนแล้วมาเรียนรวดเดียว 4 วิชาในเทอมสุดท้าย เช้าบ่ายทั้งเสาร์-อาทิตย์ บอกตรงๆ เรียนแบบนี้ไม่เหนื่อยให้เตะเลย นอกจากจะเหนื่อยโดยไม่จำเป็นแล้ว พี่มิ้นท์ว่าจะไม่ได้ประโยชน์ด้วยนะ เพราะสมองรับไม่ไหวค่ะ เรียนวิชานึงยังไม่ทันได้ทบทวนต้องเข้าเรียนอีกห้องนึงแล้ว ซึ่งการเรียนพิเศษมักจะสอนเร็วกว่าเรียนในห้องเรียนอยู่แล้วด้วย
         ดังนั้นเรียนไปสักพักลองดูว่าวิชาไหนที่เราอ่อนจริงๆ แล้ววางแผนว่าจะเรียนเดือนไหน เมื่อเรียนใกล้จบหรือจบแล้วก็ค่อยหาวิชาต่อไป เรียนทีละ 1-2 วิชาจะได้ไม่เหนื่อยมาก และยังมีเวลาทำการบ้าน อยู่ครอบครัวด้วยนะคะ

 
ขั้นที่ 3 : เรียนใกล้บ้าน
          หลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพฯ มีโรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นมากมาย แต่มีน้องๆ ที่ยังยึดติดว่าต้องเรียนใจกลางเมือง เรียนที่คนเยอะๆ แล้วจะดูเก๋ เท่ จองไม่ทันจะต้องอายเพื่อน ทั้งๆ ที่ต้องใช้เวลาเดินทางไปกวดวิชาเป็นชั่วโมง ใครมีความคิดแบบนี้อยู่คิดผิดแล้วนะคะ ลองดูตัวเองว่าที่ผ่านมาเราเหนื่อยกับการเดินทางแค่ไหน ถึงเราจะไม่ได้ขับรถเอง แต่การนั่งรถนานๆ ก็ดูดพลังไปเหมือนกันนะ ถ้าเรียนใกล้บ้านตั้งแต่แรกใช้เวลาเดินทางไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ไปกลับประมาณชั่วโมงนึง ดีกว่าต้องมาเสียเวลาไปกลับกว่า 2 ชั่วโมงโดยเปล่าประโยชน์หรือไม่ เอาเวลาที่สูญเสียไปมาใช้อ่านหนังสือ เคลียร์การบ้าน หรือพักผ่อนจะดีกว่ามั้ย ประหยัดรายจ่ายค่ารถของเราได้อีกด้วย


 ขั้นที่ 4 : เรียนแล้วต้องได้ประโยชน์จริง
            เรามาเรียนพิเศษก็เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น ถ้าเรียนแล้วไม่ได้อะไรกลับไปไม่ควรมาเสียเวลาเรียนอย่างยิ่งค่ะ ฉะนั้นถ้าคิดจะมาเรียนต้องเรียนให้เต็มที่ สิ่งที่เราไม่เข้าใจเลยต้องเรียนให้เข้าใจให้ได้ หมั่นทบทวนบ่อยๆ ไม่ให้ลืมเพื่อเป็นพื้นฐานในอนาคตค่ะ เพราะเรายิ่งเรียนสูงพื้นฐานต้องแน่น สุดท้ายถ้าน้องๆ เอาเทคนิคเด็ดๆ จากห้องเรียนพิเศษไปใช้ในห้องเรียนจริงได้ จะยิ่งลดภาระในอนาคตนะ พูดง่ายๆ คือ เหนื่อยรอบเดียว ปลายเทอมหรือปีสูงๆ จะได้ไม่ต้องกลับมาทบทวนใหม่ เอาเวลาไปเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีกว่า

 
ขั้นที่ 5 : จัดระเบียบชีวิตอย่างจริงจัง
           ส่วนหนึ่งที่น้องๆ น็อคกันเป็นเพราะไม่ได้วางแผนว่าจะต้องทำอะไรวันไหน ได้การบ้านมาก็ไม่ได้จดว่าต้องส่งวันไหน แล้วมาเร่งวันท้ายๆ ซึ่งอาจจะตรงกับวันเรียนพิเศษ  ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นแบบที่เห็น คือ เรียนไม่รู้เรื่องมัวแต่พะวงเรื่องการบ้าน ส่วนการบ้านก็ไม่เสร็จเพราะเอาเวลาไปเรียนพิเศษ - -!! นึกไว้เสมอว่าเราไม่ได้เป็นทศกัณฑ์ จะมาทำทีเดียวหลายๆ อย่างไม่ได้หรอก
           เมื่อรู้ตัวว่าเรายังบริหารเวลาไม่ดี น้องๆ ควรหาสมุดซักเล่มมาจดวันเวลาคอร์สเรียนพิเศษ ระหว่างสัปดาห์จดการบ้านที่มี แล้ววางแผนไปเรื่อยๆ วางเป้าหมายว่าจะต้องให้เสร็จวันไหน และถ้าหากเราหักเวลาที่ต้องเรียนพิเศษออกไปจะมีเวลาทำหรือไม่ ถ้าไม่มี...น้องๆ ต้องยิ่งเจาะจงลงไปอีกว่าต้องเสร็จให้ทันวันไหน ลองทำให้เป็นนิสัยนะคะ ไปเรียนพิเศษจะได้ไม่ลำบากใจค่ะ ส่วนพฤติกรรมที่เอาการบ้านไปทำตอนติวเตอร์สอนยิ่งห้ามทำเด็ดขาดเลยนะคะ!!
    
          ไม่ว่าชาว
Dek-D.com จะเห็นบทความนี้ก่อนเรียนพิเศษ หรือลงเรียนพิเศษไปแล้ว ก็ยังไม่สายเกินไปนะคะ ลองไปปรับๆ ดู ชีวิตจะได้ไม่เหนื่อยมากค่ะ ไม่ว่าจะทำอะไรร่างกายของเราต้องมาก่อนเสมอ ร่างกายแข็งแรงแล้ว สติปัญญา ความคิดแจ่มๆ ก็จะตามมาเองค่ะ

          สำหรับน้องๆ ที่ไม่ได้เรียนพิเศษ แต่ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือเอง พี่มิ้นท์ขอชื่นชมมากๆ ในความรับผิดชอบที่สูงปรี๊ดดดด และก็ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ สู้ๆ

เด็กดีดอทคอม :: ว้าว!! เครื่องตรวจจับรอยยิ้ม...แบบนี้ก็มีด้วย

  บทความอื่นๆ ในหมวดเคล็ดลับการเรียน


มาดู!! หลากสาขาน่าสนใจในอาชีพ "หมอฟัน"


8 วิธีตีสนิทเพื่อนใหม่ เปิดเทอมไปไม่เหงาแน่



เผยเคล็ดลับเรียนเก่ง ว่าที่ "นศ.ทันตะฯ" ดีกรี 4.00 สิบเทอม!!

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

12 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
ARMMOMII |♡ Member 1 มิ.ย. 56 09:24 น. 2
ขอบคุณมากๆคะ เรื่องนี้กำลังเป็นปัญหาอยู่เลย T______T
โดยเฉพาะ ขั้นที่ 5 : จัดระเบียบชีวิตอย่างจริงจัง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
อะยิโน๊ะโมโต๊ะ Member 25 มิ.ย. 56 17:24 น. 7
เรื่องเรียนไม่ค่อยมีปัญหา
แต่จะจัดการยังไงกับหนังสือนับสิบๆเล่มที่ซื้อมาว่าจะอ่านเนี้ยสิ
(คือกะว่าอ่านหมดนี้ติดที่อยากได้ชัวร์)

ยังไม่ได้เริ่มอ่านเลยเนี้ยสิ....ฮือๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด