![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
ในขณะที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคณะที่น้องๆ ชาว Dek-D ผู้ใกล้จบม.6 สายวิทยาศาสตร์หลายคนมุ่งมั่นอยากเข้าไปเรียนต่อให้ได้ ในสายอาชีพ/อาชีวะก็มีสาขานี้เหมือนกัน และน่าเรียนไม่แพ้กันเลยทีเดียว มีวิชาเรียนน่าสนใจทั้งในระดับ ปวช. / ปวส. แล้วแต่ชื่อที่แต่ละสถาบันจะเรียกต่างกันไป เช่น ช่างสถาปัตยกรรม เทคนิคสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นสายอาชีวศึกษาในประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรมค่ะ ดังนั้นจบ ม.3 ก็เรียนต่อสาขานี้ได้ทันที!
การเรียนในสาขานี้ ก็เพื่อให้มีความรู้ความสามารถด้านงานอาชีพทางสถาปัตยกรรม และที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบต่างๆ โดยสิ่งที่จะได้เรียนคือ พื้นฐานการเขียนแบบ/ออกแบบทางสถาปัตย์ เขียนแบบอาคารเพื่อการก่อสร้าง การเขียนทัศนียภาพและการตกแต่ง การทำหุ่นจำลองอาคารพักอาศัย การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ การประมาณราคาก่อสร้าง แล้วก็เรียนวิชาสามัญ ภาษาไทย สังคม พลเมือง อังกฤษ วิทยาศาสตร์ และวิชาพละ/กิจกรรม เป็นวิชาพื้นฐานตามปกติจ้า
เมื่อจบหลักสูตร ปวช./ปวส. สามารถหางานทำได้เลย เป็นช่างเขียนแบบ ช่างควบคุมงานก่อสร้าง ช่างเทคนิคทางสถาปัตยกรรมก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วยังรับงานออกแบบก่อสร้างอาคารจริงเองไม่ได้ เพราะยังไม่ใช่สถาปนิก ดังนั้นจึงยังต้องทำงานภายใต้การควบคุมจากสถาปนิกหรือวิศวกรก่อน แต่ก็เรียกว่าพูดกับสถานิกรู้เรื่อง อ่านแบบเป็นแน่นอน ช่วยสถาปนิกควบคุมงานกับทีมช่างได้ และสามารถต่อคณะสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยที่รับ ปวช. เข้าศึกษา เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้ หรือบางคนอาจไปเรียนต่อด้านการออกแบบต่างๆ อย่างออกแบบภายใน ออกแบบบรรจุภัณฑ๋ได้อีกด้วย
แต่เนื่องจากสาขานี้เป็นสาขาเฉพาะทางที่ต้องใช้ผู้สอนที่มีคุณภาพในงานด้านสถาปัตย์จริงๆ จึงมีวิทยาลัยสายอาชีพเปิดสาขานี้ในระดับ ปวช.ไม่มากนัก ส่วนมากจะเปิดในสาขาศิลปกรรมหรือสาขาออกแบบอย่างคอมพิวเตอร์กราฟฟิกไปเลย แต่ถ้าใครสนใจจะเรียนจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่อง ยากที่จะตามหา มีเปิดหลักสูตรนี้ทั้งในวิทยาลัยอาชีวะ/เทคนิค และหลักสูตรเตรียมสถาปัตย์ ทั้งในกรุงเทพฯ และหลายๆ จังหวัดจ้า

พี่เกียรติว่าสาขาสถาปัตยกรรมในสายอาชีพนี้ก็น่าสนใจไม่น้อย จบ ปวช. เด็กสถาปัตย์ต้องเขียนแบบเป็น มีทักษะและได้ฝึกฝนจริงๆ ทันทีด้วยนะ น้องๆ ที่สนใจสามารถไปฝึกงานด้านเขียนแบบได้ ได้เห็นมุมมองอาชีพ และได้ทำงานด้านการออกแบบจริงๆ ตอนเรียนก็สามารถรับงานพิเศษด้านเขียนแบบสั่งสมฝีมือได้เรื่อยๆ หรือออกแบบด้านอื่น อย่างวาดภาพประกอบก็ได้นะ ขึ้นอยู่กับฝีมือตัวเราค่ะ และโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรีมีพอสมควร หรือจะต่อ ปวส. และต่อระดับปริญญาตรีสถาบันการอาชีวศึกษาก็ได้ค่ะ เพียงแต่หากใครต้องการเป็นผู้สอบรับใบอนุญาตทางสถาปัตยกรรมสาขาต่างๆ ต้องจบจากสถาบันที่สภาสถาปนิกรับรอง และ มีข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งน้องๆ แต่ละคนต้องศึกษาก่อนเลือกมหาวิทยาลัยเรียนต่อด้วยตนเองเพื่ออนาคตของเราจ้า
|
ยอดถูกใจสูงสุด
โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป
วิทยาลัยเทคนิคดุสิต
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
ลองโทรสอบถ้าดูครับ หรือโทรสอบถามสภาสถาปนิกดูว่ารับรองสถาบันศึกษาไหนบ้าง
http://www.act.or.th/th/contact/
http://eds.trang.psu.ac.th/ptw/news/uploaded_files/news_id_5308_2.pdf