น้องๆ ชาว Dek-D.com ได้ติดตามข่าวเพื่อนๆ เด็กไทยที่เป็นตัวแทนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการต่างๆ บ้างไหมคะ หลายคนอาจจะทราบว่า เด็กไทยเราไปแข่งทีไร ก็คว้ารางวัลกลับมาตลอด ทำให้พี่แนนคิดว่า ที่จริงแล้ว แม้เราจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่ก็สามารถสู้กับระดับนานาชาติได้อย่างไม่อายใครเลยทีเดียว
อย่างวันนี้ พี่แนนได้มีโอกาสจับตัวประกัน เอ้ย จับเข่าคุยกับ น้องพลาย ภูรินท์ ศิริพานทอง หนึ่งในตัวแทนเยาวชนไทยที่ได้ไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งทีมผู้แทนไทยได้คว้ารางวัล 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน สร้างความภูมิใจให้กับชาวไทยอย่างมาก โดยน้องพลายก็เป็นผู้ที่คว้าเหรียญทองกลับมาฝากด้วย!! ไปฟังกันดีกว่าค่ะว่า กว่าจะได้เหรียญทองมา มันโหดขนาดไหน ต้องฝึกอะไรยังไงบ้าง แล้วเรามีโอกาสจะได้แข่งกับเค้าบ้างไหม ไปฟังกันเลย!!
พี่แนน - แนะนำตัวให้ชาว Dek-D.com รู้จักกันหน่อยจ้า
น้องพลาย - สวัสดีครับ ผมภูรินท์ ศิริพานทอง ชื่อเล่น พลาย อายุ 18 ปี เรียนแผนวิทย์-คณิต เกรดเฉลี่ย 4.00 (โอ้ววว เก่งมาก : พี่แนน) อยู่ชั้น ม.6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 132 แก้วกัลยา ครับ
น้องพลาย - สวัสดีครับ ผมภูรินท์ ศิริพานทอง ชื่อเล่น พลาย อายุ 18 ปี เรียนแผนวิทย์-คณิต เกรดเฉลี่ย 4.00 (โอ้ววว เก่งมาก : พี่แนน) อยู่ชั้น ม.6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 132 แก้วกัลยา ครับ
พี่แนน - ก่อนไปสอบฟิสิกส์โอลิมปิก น้องพลายเคยลงแข่งขันอะไรมาบ้าง ?
น้องพลาย - ก่อนไปสอบฟิสิกส์โอลิมปิกเคยไปแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระดับ ม.ต้น (IJSO) สมัยอยู่ ม.3 ตอนนั้นจัดเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรียครับ
พี่แนน - เอ...ต้องทำยังไงถึงได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกคะ?
น้องพลาย - ต้องเริ่มตั้งแต่การเข้าค่าย สอวน.ฟิสิกส์ มี 2 ระดับครับ คือ ไม่เกิน ม.4 และ ไม่เกิน ม.5 (ศูนย์กรุงเทพมหานคร) ค่าย สอวน. แบ่งเป็น 2 ค่ายคือ ค่าย 1 (ประมาณเดือนตุลา) และค่าย 2 (ประมาณเดือนมีนา) ผู้ที่สอบผ่านข้อสอบคัดเลือกจะได้สิทธิ์ไปเรียนในค่าย 1 และผู้ที่ผ่านการสอบปลายค่าย 1 จะได้เข้าค่าย 2 ต่อ ผู้ที่ผ่านข้อสอบปลายค่าย 2 จะได้เป็นผู้แทนศูนย์กรุงเทพมหานครไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ
ในแต่ละค่ายก็แบ่งเนื้อหาเป็นภาคทฤษฎี ครอบคลุม กลศาสตร์ ไฟฟ้า อุณหพลศาสตร์ ฟิสิกส์ยุคใหม่ และ คลื่นทั้งหลาย ส่วนภาคปฏิบัติก็จะเป็นการฝึกทำแล็บ ที่ศูนย์ กทม.จะจัดให้ทำเป็นกลุ่มทำให้มีโอกาสพบเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียน
ในแต่ละค่ายก็แบ่งเนื้อหาเป็นภาคทฤษฎี ครอบคลุม กลศาสตร์ ไฟฟ้า อุณหพลศาสตร์ ฟิสิกส์ยุคใหม่ และ คลื่นทั้งหลาย ส่วนภาคปฏิบัติก็จะเป็นการฝึกทำแล็บ ที่ศูนย์ กทม.จะจัดให้ทำเป็นกลุ่มทำให้มีโอกาสพบเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียน
วันสุดท้ายของการติวฟิสิกส์โอลิมปิก ที่ สสวท.
ต่อไปคือการแข่งขันระดับชาติก็จะจำลองการแข่งฟิสิกส์โอลิมปิกของจริง คือ สอบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ คัดนักเรียนที่เข้าแข่งจากทั่วประเทศไว้ประมาณ 25 คน นักเรียนเหล่านี้จะได้ไปเข้าค่ายฟิสิกส์ระดับ สสวท. ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 ค่ายเช่นกัน ผู้ที่ผ่านการสอบปลายค่ายทั้ง 2 ครั้งจำนวน 8 คน จะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย (APhO) และ 5 คนแรกที่อันดับดีที่สุดของทีมไทยจะได้เป็นผู้แทนไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IPhO) ระยะเวลาก่อนเป็นผู้แทนต้องใช้อย่างน้อย 2 ปี ดังนั้นต้องรักฟิสิกส์จริงๆ จึงจะทนรับชะตากรรมต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอด 2 ปี(อย่างต่ำ) ส่วนของผมใช้เวลา 3 ปีจึงได้เป็นผู้แทนฟิสิกส์โอลิมปิก
พี่แนน - เตรียมตัวก่อนไปแข่งยังไงบ้างคะ?
พี่แนน - เตรียมตัวก่อนไปแข่งยังไงบ้างคะ?
น้องพลาย - ก่อนไปสอบก็คงจะต้องเน้นที่การฝึกทำข้อสอบเก่า อาจจะจับเวลาทำให้เหมือนของจริง ในค่ายเตรียมความพร้อมก่อนไปแข่งครับ ก็จะมีอาจารย์มาติวให้แบบสัปดาห์ละ 6 วัน แบ่งเป็นทฤษฎี 4 วัน และ ปฏิบัติ 2 วัน ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะได้ความรู้เยอะมาก ต้องหมั่นทบทวนบ่อยๆ ที่สำคัญมากคือภาคปฏิบัติเพราะอาจารย์มีข้อสอบจริงๆให้ลองทำ ต้องเข้าเรียนทุกครั้งห้ามขาด
พี่แนน - โหดมากกก อย่างนี้มีเหนื่อย มีท้อ งอแงไม่อยากทำบ้างไหมคะ?
พี่แนน - โหดมากกก อย่างนี้มีเหนื่อย มีท้อ งอแงไม่อยากทำบ้างไหมคะ?
น้องพลาย - มันเป็นของธรรมดาครับ ผมว่าทุกคนที่เป็นผู้แทนก็อาจจะเคยผ่านมาแล้วทั้งนั้น ของผมที่หนักที่สุดก็เป็นตอน สสวท.ค่าย 2 ก่อนคัดไปแข่งระดับทวีปเอเชีย ออกจากห้องสอบแล้วพบว่าทำแล็บพลาด ผลการทดลองไม่ตรงกับใครเลย ตอนนั้นผิดหวังมากและในหัวก็จะมีแต่เรื่องนี้วนเวียนตลอดเวลา สุดท้ายก็เลยได้บอกคุณพ่อ คุณแม่ และก็ได้กำลังใจที่ดีมาก โดยคุณพ่อบอกว่า "คุณค่าของเราไม่ได้ขึ้นกับผลการสอบแต่เป็นความพยายามที่ได้ใส่ลงไป แค่ได้ลองใช้ความพยายามก็ถือว่าได้ทำสำเร็จแล้วสำหรับพ่อผม" เพื่อนๆ ที่รู้เรื่องนี้ก็จะให้กำลังใจ และสุดท้ายก็รอดมาได้จริงๆครับ
พี่แนน - แล้วบรรยากาศตอนแข่งเป็นยังไงบ้างคะ เล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันหน่อย (อยากรู้ว่าไปอยู่กันยังไง สอบกันยังไง)
น้องพลาย - การแข่งขันใช้เวลาทั้งหมด 7 วัน วันแรกๆ จะเป็นการปรับตัว มีพิธีเปิด การสอบภาคทฤษฎี การสอบภาคปฏิบัติ วันพักผ่อน วันรู้ผล มอบเหรียญและพิธิปิด และการสอบภาคทฤษฎีวันที่ 5 และ สอบภาคปฏิบัติวันที่ 7
ไปถึงโคเปนเฮเกนวันแรก
และที่พิเศษมากๆ น้องพลายได้ส่งบันทึกการไปสอบแข่งขันฯ ประมาณว่าไดอารี่ให้พี่แนนด้วย พี่แนนขอนำบรรยากาศบางส่วนมาให้น้องๆ Dek-D.com ได้อ่านกันค่ะ
วันสอบภาคทฤษฎี
"...มาบริเวณสถานที่สอบ เราสอบตามระเบียงอาคารเรียน เรียงเป็นวงรอบลูกตุ้มยักษ์ ข้อสอบมี 3 ข้อ แบ่งเป็นเรื่อง อุกกาบาต Maribo (ข้อนี้ต้องยกให้อาจารย์สุจินต์เพราะติวเรื่องอุกกาบาตพอดี), ฟิสิกส์ของ Plasmon (ข้อนี้ต้องยกให้อาจารย์สิรพัฒน์เพราะเคยออกข้อสอบคล้ายๆข้อนี้) และข้อสุดท้าย ภูเขาน้ำแข็งเกาะกรีนแลนด์ (ข้อนี้ต้องจินตนาการเองล้วนๆ)
ระหว่างที่ทำผมรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจเพราะต้องเดาวิธีการทำให้เหมือนเฉลย บางข้อก็คิดไม่ออกต้องนั่งพิจารณาอยู่นานจึงจะเข้าใจโจทย์และได้แนวคิด แต่สุดท้ายก็กดเครื่องคิดเลขไม่ทันในข้อที่สองเพราะเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ไม่ค่อยคุ้นมือเท่าที่ควร (ยี่ห้อ Hewlett-Packard ซึ่งปุ่ม DEL กับ AC สลับกับของ CASIO ทำให้กดพลาดบ่อยๆ) พอสอบเสร็จก็ออกมาปรับทุกข์กับเพื่อนร่วมทีม จากนั้นเดินทางไปชมสถาบันนีลส์ โบห์ร..."
สอบภาคปฏิบัติ
"...ข้อสอบถูกแจกไว้แล้วโดยเครื่องมือทั้งหมดถูกบรรจุในกล่องพลาสติกใบไม่ใหญ่ (ต่างจากที่อินโดนีเซียที่เป็นลังกระดาษขนาดพอจะใส่เครื่องดูดฝุ่นได้) หลังสัญญาณเริ่มสอบผมก็เริ่มทำข้อสอบข้อแรกชื่อ Speed of Light แล็บนี้มีอุปกรณ์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ ยี่ห้อ Bosch ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน เขาบอกว่าวัดระยะทางได้แม่นถึง 25 เมตร แล็บนี้บอกขั้นตอนมาอย่างละเอียดและทฤษฎีพื้นฐานไม่ยากจึงทำได้อย่างไม่มีปัญหานัก แล็บข้อที่สองคือแล็บ Solar cells (อันนี้ต้องยกให้น้องลูกหวายเพราะน้องบอกผมว่าน่าจะออกเรื่องนี้)
เพื่อนชาวรัสเซียขณะทำข้อสอบแล็บข้อที่ 2
ตอนแรกๆ ผมนึกว่าเป็นข้อสอบฟิสิกส์เอเชียครั้งที่ 2 ที่ไต้หวันเพราะคล้ายกันมาก แต่มีเพิ่มเติมเรื่องผลกระทบต่อกระแสวงจรเปิดเมื่อส่งแสงผ่านชั้นของน้ำที่มีระดับความสูงต่างๆ ข้อนี้ผมคิดข้อย่อยสุดท้ายยังไม่เสร็จก็หมดเวลาซะแล้ว แต่ก็ไม่คิดมากนักเพราะข้อย่อยนี้ คะแนนส่วนที่ทำไม่ทันไม่มากเท่าไร พอออกมาก็ปรับทุกข์กับเพื่อนร่วมทีมเช่นเคยพบว่าส่วนใหญ่ทำได้กันหมด มีผมกับพี่นนท์เท่านั้นมีปัญหาข้อสุดท้าย.."
พี่แนน - วินาทีที่ทำเสร็จ คิดว่าเราทำได้เยอะไหม (คิดว่าจะได้เหรียญทองไหม)
น้องพลาย - สอบทฤษฎีรู้สึกว่าทำได้แต่ไม่สมบูรณ์ ปีนี้ถ้าเทียบกับหลายปีก่อนๆ จะพบว่าข้อสอบง่ายกว่า แต่การจะได้เหรียญนั้นจะยากกว่าเพราะทุกคนล้วนพอทำได้ ใครพลาดน้อยกว่าจะได้เปรียบ ของผมมีที่รู้สึกว่าทำพลาดอยู่ ส่วนเหรียญทองตอนนั้นก็ไม่ได้หวังเพราะคนอื่นๆก็ทำกันได้ทั้งนั้นต้องดูรายละเอียดจริงๆ ส่วนแล็บผมมักจะมีปัญหากับมันบ่อยๆ แต่ครั้งนี้ทำทันก็ดีใจแล้ว (ที่ผ่านมาทุกครั้งไม่เคยทำทันเลย)
พี่แนน - ตอนที่รู้ว่าเราคือผู้ได้เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก วินาทีนั้น เป็นยังไงบ้าง?
น้องพลาย - เกณฑ์คะแนนของการแข่งขัน สำหรับเหรียญทอง คือ 38.6 เหรียญเงิน 29.5 และเหรียญทองแดง 21.5 เกียรติคุณฯ 16.7 คะแนน ผมได้ 41.0 จึงนับว่าลุ้นมากๆ ซึ่งผู้แทนที่ได้ไปแข่ง ก็คว้ารางวัลกันมา ดังนี้
น้องพลายขณะรับเหรียญรางวัล
ผู้แทนที่ไปแข่งขัน คว้ารางวัลกันมา ดังนี้
1.ภูรินท์ ศิริพานทอง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เหรียญทอง
2.พีรศักดิ์ แซ่อึ๋ง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เหรียญทอง
3.กิตติภัทร ภู่พงศ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญทอง
4.สรวิชญ์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เหรียญเงิน
5.กัญจน์ รวยแท้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญเงิน
2.พีรศักดิ์ แซ่อึ๋ง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เหรียญทอง
3.กิตติภัทร ภู่พงศ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญทอง
4.สรวิชญ์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เหรียญเงิน
5.กัญจน์ รวยแท้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เหรียญเงิน
คณะตัวแทนกลับมาพร้อมรางวัล
พี่แนน - การไปสอบฟิสิกส์โอลิมปิกมาให้อะไรกับน้องบ้างคะ?
น้องพลาย - ให้ 1. ความรู้ (อันนี้ต้องได้อยู่แล้ว) 2. ความรัก คือ ได้ความรักในวิชาฟิสิกส์แบบถาวร เพราะความเอาใจใส่ ความพยายามที่ได้ให้กับวิชานี้มากเกินแค่คำว่า 'ชอบ' ครับ และ 3. ประสบการณ์ คือ ได้เพื่อน ทั้งเพื่อนในค่ายที่ร่วมทุกข์ ร่วมสุข เพื่อนต่างชาติที่ไปแข่งขัน บางคนเจอหน้ากันมาหลายปี ตั้งแต่ ม.ต้น ยัน ม.ปลาย ไปสนามไหนก็หน้าเดิมๆ ได้สัมผัสโลกภายนอก เจออะไรแปลกๆ และน่าตื่นเต้นมาก ได้่ข้อคิดและแบบอย่างดีๆ จากอาจารย์ที่สอนเรา รวมแล้วก็เยอะครับ
บูม!!!
พี่แนน - แล้วนอกจากด้านวิชาการแล้ว มีกิจกรรมอื่นๆ อะไรอีกบ้าง
น้องพลาย - กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการติวรุ่นน้องครับ ทั้งในโรงเรียน เช่น ติวสอบ IJSO ติวสอบ สอวน. ติวสอบ สสวท ฟิสิกส์ ที่ห้องกุหลาบเพชร นอกโรงเรียนก็เคยเป็นวิทยากรไปติว O-NET น้อง ม.3 ที่จังหวัดสุรินทร์ ส่วนที่ไม่ใช่การติวก็จะเป็นทำค่ายให้น้อง เช่น ค่ายแลน้องจากผองพี่ ฯลฯ
เป็นวิทยากร
ยิ่งเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์ 555
พี่แนน - มีทั้งเรียน ทั้งสอบ ทั้งกิจกรรมแบบนี้ น้องพลายมีเทคนิคแบ่งเวลายังไงคะเนี่ย (ไม่งั้นเครียดแย่)
น้องพลาย - ผมจะอ่านหนังสือทุกครั้งที่อยากอ่าน ถ้าเบื่อเมื่อไรก็ทำโจทย์แทน และ เบื่อทำโจทย์ก็จะฝึกทำแล็บ ถ้ายังเหลือเวลาตอนก่อนนอนบ้างผมก็ชอบอ่านนิยาย หรือ ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ครับ สำหรับผมเป็นการพักผ่อนที่ได้ผลมาก เวลาว่างส่วนใหญ่ผมชอบไปตีแบดมินตันครับ
พี่แนน - ตอนนี้ตั้งเป้าแอดมิชชั่นไว้หรือยังคะ ว่าอยากเข้าที่ไหน
น้องพลาย - ตอนนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะเรียนแพทย์ครับ และได้สมัครโควต้าวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
พี่แนน - ฝากอะไรถึงเพื่อนๆ น้องๆ ชาว Dek-D.com ที่อยากเก่งเหมือนน้องพลายสักนิดค่ะ
น้องพลาย - ผมอยากฝากว่าการเรียนเหมือนการขุดอุโมงค์หมื่นลี้ ระหว่างทางอาจจะยากลำบาก เพราะเส้นทางมันยาวไกล ขุดยังไงก็ไม่พบแสวสว่างซักที บางครั้งอาจท้อแท้ก็เป็นธรรมดา แต่ถ้าเชื่อมั่นในความขยันและความพยายามของตนเอง ที่ว่ามืดและไกลอาจจะอยู่ห่างจากปลายอุโมงค์แค่ไม่กี่เมตรก็ได้ ฉะนั้นอย่าหยุดที่จะพยายาม
ฟังที่น้องพลายเล่าให้ฟังแล้ว พี่แนนเชื่อว่า น้องๆ ชาว Dek-D.com สามารถเป็นเหมือนน้องพลายได้ค่ะ หากจริงจังและรักฟิสิกส์จริงๆ แต่ก็ไม่ต้องถึงขนาดไปแข่งแล้วได้รางวัลอะไรกลับมาก็ได้ค่ะ แค่น้องๆ ใส่ความพยายาม และตั้งใจจริง ผลจะเป็นยังไง ก็คุ้มค่าแล้วค่ะ ใครอ่านแล้ว อยากจะมุ่งมั่นทำให้ได้แบบน้องพลาย ลองไปแข่งแบบโกอินเตอร์กันดูสักตั้ง เมนท์บอกได้เลยค่ะ พี่แนนเอาใจช่วย !!
28 ความคิดเห็น
พี่กินอะไรเป็นอาหารครับ???? TT^TT #อยากเก่งมั่ง #แต่ขี้เกียจ #กรรม 55555
เธอๆ ว่างมั๊ย มาติวให้เราบ้างสิ TT___________________TT
พอเรามาอ่านเนี้ย รู้สึกตัวเองอภิมหาความปึกเลยอะ
เก่งที่สุด
เก่งจังคะ
ดีใจด้วยจริงๆ
เก่งมากกกกกกกก สุดยอดเลย
ฮะ อะไรนะมอปลาย4.00 พี่ทำได้ไงO[]Oแม่เจ้า
สุดยอดเลยพี่
ขอยกพี่เป็นไอดอลเลย
ชมพู-ฟ้า!!!
อยากเก่งแบบพี่แสดงว่าต้องแก้ที่ความขี้เกียจสินะคะ #ปัญหานี้แก้ยากจริงๆ
สุดยอดดดดมากเลย !!! เราขอเป็นกำลังใจให้พี่สู้ต่อไปนะคะ