เรียนเก่งแน่แค่ทำตามนี้ ตอน 2 : 5 หลักจำแม่น จำนาน จำไม่ลืม!!

        ผ่านไป 1 อาทิตย์ชาว Dek-D ได้ลองไปสำรวจตัวเองหรือยังว่า ตัวเองมีจุดแย่ตรงไหนที่จะเป็นสาเหตุทำให้การเรียนเราแย่บ้าง พี่มิ้นท์ได้กลับไปอ่านทุกคอมเม้นท์แล้วค่ะ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นเด็กที่เก่งสักวันให้ได้^^ และวันนี้เราก็มาต่อตอนที่ 2 กันเลยดีกว่า

       พูดถึงการเรียน นอกจากเรื่องความเข้าใจที่ต้องมาเป็นที่หนึ่งแล้ว บางช่วงเวลาก็ต้องอาศัย "ความจำ" เข้ามาเกี่ยวข้อง และความจำที่ดีก็ทำให้เรามีภาษีดีกว่าคนอื่นด้วยนะคะ พูดง่ายๆ คือ ถ้าเราจำได้เยอะก็ทำได้มากกว่า หรือบางทีสอนไปสอนมาอาจารย์อาจขุดเอาความรู้เมื่อเทอมที่แล้วมาพูด ใครจำได้ก็ต่อยอดได้เร็ว คนที่ลืมไปแล้วก็ได้แต่พูดว่า 'อะไรว้า' (ตามเพื่อนไม่ทัน) ใครมีอาการแบบนี้รับรองว่ายิ่งเรียนยิ่งเหนื่อยค่ะ ดังนั้นจะเรียนเก่งได้ ก็ต้องรู้เคล็ดลับหลักการจำกันหน่อย ลองอ่านและนำไปใช้กันดูนะ

 

   1. เป็นนักประติดประต่อ
          : **ใช้สำหรับการจำเนื้อเรื่อง เหตุการณ์ หรือเนื้อหายาวๆ**
       หลายวิชา พอเรียนสูงขึ้นไปก็จะมีเนื้อหาที่ต่อยอดหรือแทรกเข้ามาเรื่อยๆ หลักการจำแรก พี่มิ้นท์จึงขอให้น้องๆ หัดเป็นนักประติดประต่อ เราจะจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นถ้ารู้จักเอาไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราเคยรู้อยู่แล้ว เพราะถ้าเราเชื่อมโยงเป็น ความรู้ของเราจะเป็นก้อนใหญ่ๆ ที่สามารถแยกชิ้นส่วนออกมาใช้ได้ง่าย ตรงกันข้าม ถ้าจำแบบแยกชิ้นส่วน เราจะกลายเป็นคนที่ไม่รู้ภาพรวมเลย
       ยกตัวอย่างแบบง่ายๆ ให้เข้าใจกันมากขึ้น เวลาน้องๆ นึกถึงตอนไปเที่ยววันสงกรานต์ปีที่แล้ว มั่นใจว่าน้องๆ จะนึกได้เป็นฉากๆ เลย ตั้งแต่การเตรียมตัวตั้งแต่อยู่บ้าน การเดินทาง ตอนเล่นสงกรานต์ ตอนกลับบ้าน เห็นไหมว่าพอเราเชื่อมโยงเหตุการณ์เอาไว้ทำให้เราเห็นภาพต่อเนื่อง ไม่สะดุดเลย  

 
   2. สร้างระบบความจำขึ้นมาเอง
          : **ใช้สำหรับจำสิ่งของ หรือ ข้อมูลที่เรียงเป็นข้อๆ**
         เหนื่อยมั้ย? เวลาต้องท่องจำเนื้อหายี่สิบ สามสิบข้อ หรือกฎมากมายมหาศาลล้านแปดอย่าง ถ้าเราไม่มีเทคนิคอะไรเลย รับรองว่าจำได้แค่ 4-5 ข้อเท่านั้นแหละ ซึ่งการสร้างระบบความจำขึ้นมาใหม่มีหลายแบบให้เลือกใช้ตามความพอใจ แต่ไม่ว่าจะวิธีไหนถ้านำมาใช้และตั้งใจที่จะเรียนรู้มันจริงๆ มีประโยชน์เกินคาดทั้งนั้น ยกตัวอย่างการสร้างระบบความจำขึ้นมาใหม่ เช่น
            - การจำเป็นทำนอง คือการเอาเนื้อหามาท่องเป็นทำนองเพลงที่เราชอบ น่าจะเห็นได้บ่อยจากโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ที่เอาคำศัพท์หรือข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นเพลง แล้วก็ฝึกร้อง ข้อมูลจะละเอียดแค่ไหน ทำนองเพลงช่วยเราได้ค่า
           - สร้างประโยคใหม่ วิธีนี้คือการเอาพยัญชนะหรือคำแรกของแต่ละส่วน มาเรียบเรียงเป็นประโยคใหม่ เอาง่ายๆ เลยนะ สมมติเราต้องท่องว่า 1 สัปดาห์มีวันอะไรบ้าง แต่จำไม่ได้สักที ก็ให้เอาเฉพาะตัวหน้าของแต่ละวันออกมาจะได้  "จ อ พ พฤ ศ ส อา พอ" จากนั้นก็มาสร้างประโยคใหม่ พี่มิ้นท์ลองสร้างประโยคจำว่า "จู่ๆ อั๊วพาพฤศมาสอนอาจารย์" เสร็จแล้วก็ท่องประโยคนี้ไปตลอดชีวิต จะไม่มีทางลืมแน่นอน

 

    
   3. ปากกาสีช่วยจำได้นะ
          : **สำหรับจำเนื้อหาเยอะๆ**
         แม้ว่าช่วงหลังๆ จะมีผลวิจัยออกมาแย้งกันว่าใช้ปากกาสีหรือปากกาไฮไลท์อาจไม่ช่วยอะไร แต่ในความรู้สึกจากที่เคยใช้มาจริงๆ พี่มิ้นท์ว่า การเรียนด้วยสีสันช่วยจำได้จริงนะ แต่ต้องมีหลักการอยู่บ้าง และอย่าใช้เยอะจนแสบตา เทคนิคการจำจากไฮไลท์ จะขอแยกเป็น 2 ส่วนนะคะ  
         อย่างแรกคือ การใช้ไฮไลท์เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่จะต้องจำ คือ การไฮไลท์คีย์เวิร์ดสำคัญๆ ของเนื้อหาหน้านั้นๆ ซึ่งส่วนที่ไฮไลท์ต้องสำคัญจริงๆ และไม่ไฮไลท์จนรกหน้ากระดาษ ไม่เช่นนั้นเราจะไม่รู้เลยว่าอะไรสำคัญ
         อย่างที่สองคือ การใช้สีแทนส่วนที่จะจำ เช่น  ส่วนที่หนึ่งก็ใช้สีนึง ส่วนที่สองก็ใช้อีกสีนึง ส่วนที่สามก็อีกสีนึง เป็นต้น
การใช้ต่างสีในแต่ละส่วน ทำให้เราจับกลุ่มข้อมูลได้ดีขึ้นค่ะ และจะมีประโยชน์เวลาดึงข้อมูลในหัวออกมาใช้ เพราะถ้าเราจดทุกตัวอักษรด้วยปากกาสีเดียวกันหมด เวลาดึงข้อมูลจะงงๆ นึกไม่ออกว่าจดอยู่ส่วนไหนของหนังสือ พอมีเรื่องสีเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะค่อยๆ นึกออก เช่น หัวเรื่องนี้เราเคยเขียนช็อตโน้ตไว้นี่ ประโยคนี้ทำสีฟ้าไง ประโยคนี้ทำสีชมพูไง แล้วทุกๆ อย่างจะค่อยๆ ระลึกออกมาเองค่ะ
 
    4. ใช้สัมผัสเข้าช่วย
         : **ใช้สำหรับจำเนื้อหาเยอะๆ**
        สัมผัสในที่นี้ ไม่ใช่แค่การจับแตะเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเคลื่อนไหวแบบต่างๆ ด้วย การใช้ร่างกายไปพร้อมกับความจำจะกระตุ้นให้จำได้ดีขึ้น เช่น
            - เวลาพูดก็ใช้ขยับมือไปด้วย
            - อ่านหนังสือก็วาดภาพประกอบคร่าวๆ หรือขีดเส้นใต้
            - เวลาท่องจำหน้าห้องสอบก็ให้เดินไปรอบๆ ช่วยให้สมองทำงานทั้งซีกซ้ายและขวา
        ที่เห็นตัวอย่างได้ชัดๆ ก็เช่น การทำกับข้าว อ่านแต่สูตรอย่างเดียวทำไม่อร่อยหรอกค่ะ เราต้องลงมือทำจริงๆ มันจะเพิ่มประสบการณ์ให้เราเอง และยิ่งเราทำบ่อยๆ ก็จำได้จนไม่ต้องดูเลยว่าปรุงอะไรเท่าไหร่ อาศัยความคุ้นเคย^^

   
5. ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ
          : **สำหรับจำก่อนสอบ**
        ช่วงวิกฤตที่สุดคือ ช่วงก่อนสอบ แต่ดันเป็นช่วงที่เรารู้สึกอยากจำมากที่สุด วิธีสุดท้ายที่จะแนะนำคือ การทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ทั้งการอ่าน การเขียน น้องๆ คงเคยได้ยินว่าทำข้อสอบเก่าบ่อยๆ ก็จะชินกับรูปแบบข้อสอบและคุ้นกับข้อสอบ การอ่านหนังสือก็เหมือนกัน อ่านช้อตโน้ตบ่อยๆ มันจะค่อยๆ ซึมเข้าหัวเอง
        อีกตัวอย่างนึงที่ช่วยได้เยอะคือ การจำคำศัพท์ โดยการแปะคำศัพท์ที่ต้องการไว้รอบบ้าน เมื่อเราเห็นทุกวันๆ คำศัพท์จะซึมเข้าสมองอัตโนมัติ (แต่เวลาเจอต้องมองด้วยนะ ถ้าเดินผ่านก็ไม่มีประโยชน์นะจ๊ะ) และเพื่อให้เกิดผลดีขึ้นกว่าเดิม ควรเขียนคำศัพท์คำนั้น มาเปลี่ยนทุกๆ วันจนกว่าจำได้เพื่อทดสอบความจำไปในตัว

   
           ใครที่เคยน้อยเนื้อต่ำใจว่าตัวเองเรียนไม่เก่งเพราะไม่เคยจำสิ่งที่เรียนได้เลย รวมถึงคนที่ท่องๆๆ แบบไม่มีหลักการ ก็เอาสิ่งที่แนะนำเหล่านี้ไปใช้ได้เลยนะคะ ฝึกสักพักจะชินและทำไปโดยอัตโนมัติ แล้วมาพิสูจน์กันว่าเทอมต่อๆ ไป วิธีจำแบบนี้จะช่วยให้ผลการเรียนเราดีขึ้นรึเปล่า... และสัปดาห์หน้าอย่าลืมมาดูตอนที่ 3 กันนะคะ รับรองว่าเด็ดเหมือนเดิมค่า
 

ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
http://blog.thewhitecrane.com/le-pen-perfection/
 
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Best 11 มี.ค. 57 18:19 น. 4
สำหรับผมเวลาจำจะจำเป็นเนื้อเรื่องผ่านคำถามครับ แบบถ้า ต้องจำแบบ1 2 3 ก็จะตั้งคำถามขึ้นมาว่า 1 ถ้าเป็นแบบนี้ จะต้องทำไง พอ 2 ก็หาความเชื่อมโยงให้เป็นเนื้อเรื่องว่า เพราะ1 มันเป็นงี้ 2 ก็เลยสัมพันธ์แบบนี้ แล้วพอเป็นอย่างนี้ ต้องทำไงต่อไป ลองนำไปปรับใช้ดูครับ วิธีนี้เหมาะสำหรับสิ่งทีต้องจำแบบเป็นขั้นตอน
0
กำลังโหลด
123789654 12 มี.ค. 57 17:38 น. 14
สำหรับเรา เวลาจำก็จะจำจากตำแหน่งของหน้ากระดาษ ว่าหัวข้อนี้อยู่ตรงไหนของหน้ากระดาษ หรือไม่ก็มองผ่านๆบ่อยๆ พอเวลาจะใช้ก็จะเห็นเป็นภาพออกมาว่ามีข้อความอะไรบ้าง ถ้าอ่านหลายเรื่องก็พยายามหาจุดเชื่อมโยง บางทีก็ชอบพูดคุย ตอบโต้กับตัวเอง(บ้า) พอสอบก็จะจำได้ว่าเรื่องนี้เราเคยพูดกับตัวเองยังไง เนื้อหายังไง ต่างคนต่างวิธี เทคนิคไม่เหมือนกัน ลองจำเป็นเรื่องราวก็ได้นะ อย่างเพื่อนเราเอาเนื้อหาวิชาเคมีมาเล่าเป็นละครน้ำเน่า แย่งคนนู้นคนนี้ แล้วจำได้เฉยเลย 555+
0
กำลังโหลด
+Pamela CHoChina+ Member 11 มี.ค. 57 19:20 น. 9

ของหนู เด็ดๆ คือวิชาชีวะ ค่าาา จำเยอะมากกกกกก 555555 >< มีครั้งนึงเรียนเกี่ยวกับกระดูก ซึ่งต้องจำชื่อกระดูกกับข้อต่อเยอะมากกกกก แล้วก็เคยเขียนชื่อส่วนประกอบกระดูกแต่ชิ้นติดในห้องน้ำ เดี๋ยวนี้จำติดหัวเล้ย 5555555555 = 3= ตลกดี ตอนนี้ก็นั่งคิดอยู่ว่าทำไปได้ไง

เอ่อ.. เขิลจุง เย้ 

0
กำลังโหลด
Camp Comartz Member 11 มี.ค. 57 17:57 น. 2

ขอบคุณมากนะครับ

ส่วนใหญ่ ผมจะจำแต่เรื่องที่อยากจำ พอเรื่องที่ไม่ชอบกลับจำไม่ได้เลย

0
กำลังโหลด

32 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Camp Comartz Member 11 มี.ค. 57 17:57 น. 2

ขอบคุณมากนะครับ

ส่วนใหญ่ ผมจะจำแต่เรื่องที่อยากจำ พอเรื่องที่ไม่ชอบกลับจำไม่ได้เลย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Best 11 มี.ค. 57 18:19 น. 4
สำหรับผมเวลาจำจะจำเป็นเนื้อเรื่องผ่านคำถามครับ แบบถ้า ต้องจำแบบ1 2 3 ก็จะตั้งคำถามขึ้นมาว่า 1 ถ้าเป็นแบบนี้ จะต้องทำไง พอ 2 ก็หาความเชื่อมโยงให้เป็นเนื้อเรื่องว่า เพราะ1 มันเป็นงี้ 2 ก็เลยสัมพันธ์แบบนี้ แล้วพอเป็นอย่างนี้ ต้องทำไงต่อไป ลองนำไปปรับใช้ดูครับ วิธีนี้เหมาะสำหรับสิ่งทีต้องจำแบบเป็นขั้นตอน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ตัวงง 11 มี.ค. 57 18:48 น. 7
เรื่องไร้สาระเรื่องนอกโรงเรียน ที่เป้นเนื้อหายาวๆจำได้หมด แต่เรื่องในการเรียนแค่นิดหน่อย ผ่านไปวันเดียวก็ลืม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
+Pamela CHoChina+ Member 11 มี.ค. 57 19:20 น. 9

ของหนู เด็ดๆ คือวิชาชีวะ ค่าาา จำเยอะมากกกกกก 555555 >< มีครั้งนึงเรียนเกี่ยวกับกระดูก ซึ่งต้องจำชื่อกระดูกกับข้อต่อเยอะมากกกกก แล้วก็เคยเขียนชื่อส่วนประกอบกระดูกแต่ชิ้นติดในห้องน้ำ เดี๋ยวนี้จำติดหัวเล้ย 5555555555 = 3= ตลกดี ตอนนี้ก็นั่งคิดอยู่ว่าทำไปได้ไง

เอ่อ.. เขิลจุง เย้ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
น้องกิี๊ฟ Member 12 มี.ค. 57 04:24 น. 13

วิธีจำคำศัพท์ใช้วิธีเดียวกันเลย จนป่านนี้แปะรอบบ้านแล้วคะ ยังจำไม่ได้เลย 555555555555555555555555555555555555 ขอบคุณมากนะคะ หนูจะเอาไปปรับใช้ดู เพราะหนูเป็นคนที่โคตรตะระขี้ลืม เอ๊ะ ว่าแต่นี้เราพิมอะไรไป -_________- แน่นอน

0
กำลังโหลด
123789654 12 มี.ค. 57 17:38 น. 14
สำหรับเรา เวลาจำก็จะจำจากตำแหน่งของหน้ากระดาษ ว่าหัวข้อนี้อยู่ตรงไหนของหน้ากระดาษ หรือไม่ก็มองผ่านๆบ่อยๆ พอเวลาจะใช้ก็จะเห็นเป็นภาพออกมาว่ามีข้อความอะไรบ้าง ถ้าอ่านหลายเรื่องก็พยายามหาจุดเชื่อมโยง บางทีก็ชอบพูดคุย ตอบโต้กับตัวเอง(บ้า) พอสอบก็จะจำได้ว่าเรื่องนี้เราเคยพูดกับตัวเองยังไง เนื้อหายังไง ต่างคนต่างวิธี เทคนิคไม่เหมือนกัน ลองจำเป็นเรื่องราวก็ได้นะ อย่างเพื่อนเราเอาเนื้อหาวิชาเคมีมาเล่าเป็นละครน้ำเน่า แย่งคนนู้นคนนี้ แล้วจำได้เฉยเลย 555+
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
TripleST Member 17 มี.ค. 57 14:59 น. 16

สร้างภาพ/สร้างจุดเด่นของสิ่งที่อยากจำ ช่วยได้มากจริงๆค่ะ  เช่น ท่อลำเลียงอาหารของพืช คือโฟเอม จำเป็น โฟ=ฟู้ด อะไรทำนองนี้ ที่สำคัญจำแล้วต้องเข้าใจด้วยนะคะ แค่นี้ก็จำได้ถาวรแล้วจ้าเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กำลังโหลด
กอล์ฟ 20 มี.ค. 57 14:27 น. 17
ขอบคุณมากนะครับ อย่างนี้ผมจะต้องนำไปลองใช้ซะเเล้วครับ ยิ่งขี้ลืมอยู่ด้วย แถมเรียนไม่ค่อยเก่งด้วยน่ะครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Easy\'Easy Parn Member 31 มี.ค. 57 20:03 น. 19

สำหรับเราจะจำเป็นหัวข้อแล้วค่อยๆขยายความ ลำดับความคิด

ตามความเข้าใจของเรา

และก็ขอบคุณมากๆค่ะ จะลองนำไปใช้ดูค่ะ

ตั้งใจ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด