ทุกๆ ปลายเทอม มหกรรมพรีเซนต์งานต้องเกิดขึ้น! ซึ่งโปรแกรมที่ใช้กันมานานนมก็คือ Microsoft PowerPoint นั่นเอง หลายคนคิดว่าพาวเวอร์พ้อยที่น่าสนใจ คือ ต้องมีสีสัน อลังการดาวล้านดวง ดังนั้นคอมบ้านใครมีรูปภาพฟรุ้งฟริ้งเยอะที่สุด มีตัวการ์ตูนเยอะที่สุด ก็จะโดนเป็นคลังภาพเอามาใช้ทำพาวเวอร์พ้อยท์

           พี่มิ้นท์จำได้ว่า สมัยเรียนมัธยม จะแข่งสไลด์กันที่ความน่ารัก ยิ่งน่ารักเท่าไหร่ ก็ยิ่งอยากพรีเซนต์ แต่จะบอกให้ว่า สไลด์พรีเซนต์ที่น่ารักของน้องๆ คุณครูอาจจะไม่ปลื้มก็ได้นะ ถ้าคุณครูหลับตอนเรารายงานก็ยิ่งไม่ต้องแปลกใจเลยค่ะ ฉะนั้นลองมาดูกันดีกว่า พาวเวอร์พ้อยท์แบบไหนนะ ที่ถือว่ายังทำได้ไม่ดี รับรองว่าโดนกันไปคนละข้อสองข้อแน่นอน

 

 

 
 
  1. ตัวหนังสือล้นจอแถมไซส์ก็จิ๊ดนึง
            ชักไม่แน่ใจว่า นี่เป็นสไลด์พรีเซนต์งานหรือฉายตำราให้เพื่อนดูกันแน่ หลายคนคงเคยผ่านการเอาข้อมูลในหนังสือหรืออินเทอร์เน็ตทุกตัวอักษรยัดลงไปในสไลด์ ถ้าไม่สงสารเพื่อน ก็จะยัดจนเต็มสไลด์ แต่ถ้าสงสารหน่อยก็เบาๆ ที่ 2 ย่อหน้า แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้สบายตาขึ้นเลยค่ะ

            
เทคนิค : หลักการทำ PowerPoint จริงๆ ต้องใช้ตัวหนังสือให้น้อย แต่ให้เน้นที่การพูดนำเสนอมากกว่าค่ะ โดยให้ใส่เฉพาะหัวข้อหลักและหัวข้อรอง ให้คนฟังพอรู้ว่าพูดเรื่องอะไร และเราค่อยอธิบายแต่ละหัวข้อให้ชัดเจนด้วยตัวเอง จะดูน่าสนใจกว่านะคะ
 

สไลด์ที่มีแต่ตัวหนังสือ ชวนเบื่อ

   2. รูปภาพไม่มี
            บอกไปข้อที่แล้วว่า PowerPoint ที่ดี ตัวหนังสือต้องน้อย แต่ที่ควรเพิ่มเข้ามาคือรูปภาพ Infographic หรือแผนภูมินำเสนอ เช่น กราฟรูปแบบต่างๆ จะน่าสนใจขึ้นเยอะเลย ลองนึกภาพดูว่า ถ้ามีคนนำเสนอเรื่องจำนวนนักเรียนในโรงเรียน แยกหญิงชาย ตั้งแต่ปี 2550 - 2558 คนแรกมาแบบตัวอักษรเน้นๆ 100% กับอีกคน ทำเป็นรูปภาพไอคอน ญ-ช แล้วใส่ตัวเลข แบบไหนจะน่าดูกว่ากัน... คนที่สองแน่นอนใช่มั้ยล่ะ

         
  เทคนิค : เราทำรายงานเรื่องอะไร ลองหาภาพประกอบมาเพิ่มเติมอยู่ในสไลด์ แล้วให้รูปภาพช่วยดำเนินเรื่อง อธิบายเนื้อหาประกอบรูปภาพ คนทั้งห้องต้องตั้งใจฟังแน่ๆ ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงการเปิดตัวไอโฟนของสตีฟ จ๊อบส์ ดูสิคะ นั่นแหละ ตัวอย่างการนำเสนอที่ดีเลย

   3. สีสันกระจาย
           นอกจากตัวหนังสือเล็กกระจิ๋วเดียวแล้ว สไลด์บางคนยังคัลเลอร์ฟูลว้าว หัวข้อสีนึง เนื้อหาบรรทัดละสี กะว่าเล่นบอลลูนสี ชนะแน่นอน อันนี้ก็เป็นข้อห้ามอีกอย่างนึงสำหรับการทำสไลด์พรีเซนต์นะคะ สีสันฉูดฉาดไม่ได้ช่วยให้สไลด์ของเราน่าดูขึ้นเลย ยิ่งเป็นคนจับคู่สีไม่เป็นด้วยแล้ว จะยิ่งดูเละเทะไม่น่ามอง

         
  เทคนิค : ควรใช้สีเพียง 1-3 สีสำหรับตัวอักษร พยายามอย่าใช้เยอะไปมากกว่านี้ คนดูจะงงว่าเราเน้นตรงไหนกันแน่ และพยายามคุมโทนให้ได้ในทุกๆ หน้าค่ะ

   4. เคลื่อนไหวทุกสไลด์
         น้องๆ บางคนใช้เวลาใส่แอนิเมชั่นในสไลด์นานกว่าเลือกเนื้อหาลงสไลด์อีก เชื่อว่ามีสองเหตุผล คือ ใส่ไปเยอะๆ แล้วสนุก และสองคือดูอลังการ ที่เวลากดทีละหน้าแล้วมีการเคลื่อนไหววิบวับๆ ยังไม่พอค่ะ บางคนใส่การเคลื่อนไหวทุกบรรทัดอีกต่างหาก ยาวเลยทีนี้...

        
เทคนิค : ความจริงแล้วการใส่การเคลื่อนไหวก็มีประโยชน์ค่ะ ทำให้มีลูกเล่นไม่น่าเบื่อ แต่ต้องไม่ใส่เยอะจนเกินไป จะกลายเป็นน่ารำคาญค่ะ
 

Image Source : Youtube : Steve Jobs - 2010 iPhone 4 Presentation

Steve Jobs กับสไลด์พรีเซนต์ที่เรียบง่าย แต่เข้าใจชัดเจน

    5. ฟ้อนท์ประหลาด
           ข้อผิดพลาดอย่างนึงที่เห็นได้บ่อยเวลาพรีเซนต์งานหน้าชั้นคือ เปิดสไลด์ขึ้นมาแล้วฟ้อนท์เละ ฟ้อนท์เลื่อน หรือขึ้นเป็นภาษาต่างดาว เป็นเพราะว่าเครื่องที่เราใช้เปิดสไลด์ไม่มีฟ้อนท์แบบเดียวกับที่เราใช้ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่รองรับฟ้อนท์ที่เราใช้นั่นเอง จุดนั้นเราทำอะไรไม่ได้ นอกจากยืนเอ๋อไปสักพัก ผู้ฟังส่วนหนึ่งก็จะเลิกสนใจเราไปเลย

         
เทคนิค : วิธีแก้ปัญหานี้ มี 2 อย่างค่ะ อย่างแรกคือ ใช้ฟ้อนท์ธรรมดาทั่วไปที่มีทุกเครื่อง เช่น Angsana, Cordia เป็นต้น หรือถ้าอยากใช้ฟ้อนท์สวยๆ แปลกๆ ก็ต้องฝังฟ้อนท์ลงในสไลด์ไปเลย เราสามารถฝังฟ้อนท์ได้ด้วยการกดเซฟ "บันทึกเป็น" คลิกตัวเลือกการบันทึก และเลือกกล่องเครื่องหมายฝังแบบอักษรในแฟ้มค่ะ เท่านี้ฟ้อนท์ที่เราใช้ก็นำไปใช้ได้กับทุกเครื่องแล้วค่า
 
             นับวันเราจะยิ่งใกล้ชิดกับโปรแกรม Microsoft PowerPoint และโอกาสที่ต้องใช้ก็บ่อยมากขึ้นด้วย สิ่งที่นำมาฝากวันนี้ก็ให้น้องๆ นำไปปรับใช้นะคะ ใครที่เคยมีความคิดว่าสไลด์ที่น่าสนใจต้องสีสันเยอะ พื้นสวย แอนิเมชั่นฟรุ้งฟริ้ง คงต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่ ให้เน้นที่ความชัดเจน เรียบหรู ดูดี เพราะ PowerPoint เป็นแค่สื่อที่ช่วยให้การนำเสนอของเราไม่น่าเบื่อ ไม่ใช่มาทำให้น่าเบื่อซะเองนะ
   
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

d_wintras Member 15 ก.ค. 58 17:50 น. 4

ถ้าเป็นสไลด์แบบประกอบการนำเสนอ อาจารย์ที่มหาลัยเคยสอนว่า

สไลด์ที่ดีคือสไลด์ที่ไม่ว่าคนประเทศไหนมาเห็น

ก็สามารถจับใจความสำคัญได้ว่าเรากำลังนำเสนอเกี่ยวกับอะไรอยู่

.

1 สไลด์ควรมีไม่เกิน 6 หัวข้อย่อย แล้ว 1 หัวข้อย่อยควรมีไม่เกิน 6 คำ

พยายามใช้กราฟแทนการอธิบายข้อมูลให้มากที่สุด

.

(ข้อเสียคือถ้าเป็นงานที่ห้ามอ่านสคริปต์แล้วเราลืมว่าจะพูดอะไร

มันจะแถยากมากเพราะบนสไลด์ไม่ค่อยมีอะไรใบ้เรา 5555)

.

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เวลาทำสไลด์อะไร ให้นึกถึงคนที่นั่งแถวหลังสุดเป็นหลัก

พยายามทำให้ข้อความเด่นกว่าพื้นหลัง อย่าให้สีข้อความกับสีพื้นหลังกลืนกันมากเกินไป

แล้วก็ฟ้อนต์แต่ละตัวจะมีหน้าที่ของมัน อย่างใครใช้ TH Charmonman ตรงส่วนเนื้อหานี่มันจะเละมากกกก

นั่งหน้าสุดยังอ่านไม่รู้เรื่องเลยมั้ง เพราะมันเป็นฟ้อนต์ที่เอาไว้ใช้กับ "หัวเรื่อง" เป็นหลักมากกว่า

.

จริงๆมีมากกว่านี้นะ แต่จำได้แค่นี้ล่ะ เพิ่งเรียนมาเทอมที่แล้ว ลืมหมด ; w ;

(แต่หลักๆที่เรียนมาก็ตามบทความนี้แหละ  ยิ้ม)

ปล. ฟ้อนต์บางตัวฝังแล้ว แต่พอไปเปิดเครื่องอื่นมันก็ไม่ขึ้นอะ  เอ่อ.. ไม่รู้เป็นอะไร

2
กำลังโหลด
ซีซอร์ เดอะ กรีน [COS] Member 15 ก.ค. 58 20:00 น. 7

เวลามีงานเสนอพาวเวอร์พ้อยต์อะไรเรามักจะทำเองหมดเลย หรือไม่ก็จะเป็นคนสุดท้ายที่รวมงาน เพราะส่วนใหญ่เพื่อนจะทำเหมือนที่พี่มิ้นต์ยกตัวอย่างนั่นแหละค่ะ 5555

+

ปัญหาที่เจอ ส่วนใหญ่ก็ก็อปวาง ก็อปวาง ก็อปวาง :: ไม่จัดหน้า ไม่จัดฟอนต์ เขาเว้นวรรคมาผิดยังไงก็ผิดยังงั้น ย่อหน้าผิดยังไงก็ผิดอย่างนั้น คำผิดพรึ่บ

+

ด้วยความที่เป็นนักเขียนมือสมัครเล่น เลยจะเป็นพวกที่จุกจิกกับคำผิด ย่อหน้า เว้นบรรทัด หรืออะไรพวกนี้มาก จะรู้สึกว่าให้คลาดสายตาไม่ได้เด็ดขาด 5555

+

ส่วนเนื้อหา จะเน้นให้พอดีๆ ไม่ยัดเยียด ไม่ว่างโล่งเกินไป ฟอนต์ใหญ่พอที่จะมองเห็นได้จากที่ไกลๆ อะไรสำคัญก็เน้นให้ชัดหน่อย ฟอนต์ก็ใช้ Codia New เพราะชอบเป็นการส่วนตัว คิดว่ามันไม่ทางการเกินไปแบบ Angsna และไม่ดูอ่านยาก แถมยังมีฟอนต์นี้เป็นพื้นฐานในทุกเครื่อง(รึเปล่า) 

+

พวกลูกเล่น

1. ลูกเล่นพาวเวอร์พอยต์ที่มีอยู่แล้ว :: ส่วนใหญ่คนจะทำมาเป็นเนื้อหากับกรอบ ก็จะดูน่าเบื่อ อะไรที่แบ่งเป็นประเภทได้ ก็แทรก Smart Art เข้าไป มันจะดูชิกๆ กว่าแบ่งเป็น 1. 2. 3. ธรรมดา

+

2. ตกแต่งเอง :: เมื่อก่อนตอนคนยังไม่นิยมทำลูกเล่นเคลื่อนไหวดุ๊กดิ๊ก เราก็ทำตอนนั้น พอคนเริ่มนิยม เราเปลี่ยนมาเป็นใช้ภาพนิ่งเหมือนเดิม ส่วนใหญ่จะใช้ภาพ SD ที่มีสีคล้ายคลึงกับพื้นหลัง จะได้ไม่ดูตัดหรือเด่นจนแปลกเกินไป ส่วน BG ก็แล้วแต่โทน เช่น

+

ทำพอยต์ชีวะ อยากได้แนวการ์ตูน ก็จะมี SD ผู้ชายผู้หญิง สีสันต่างๆ กับ BG ภาพการ์ตูนหรือภาพลงสีแบบการ์ตูนอาร์ตๆ สีโทนเดียวกับ SD (ถ้าแบบการ์ตูนจ๋าเกิน มันก็จะโดดเกินไปอีก 555) ส่วนคำถามของพอยต์ชีวะ เราจะใส่ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพใหญ่ๆ เป็นพื้นหลัง เช่น ถามว่า Reflex คืออะไร แล้วก็ใส่ png เป็นรูปมัลฟอยกำลังหัวเราะชั่วร้าย (จริงๆ ไม่เกี่ยว แค่ติ่งมัลฟอย -3-)

+

หรือทำพอยต์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตก็ดูจริงจังเล็กน้อย ภาพ BG ส่วนใหญ่ก็พวกไร่นา สวน โรงเลี้ยงไก่ บ่อปลา กรอบอักษรก็จะตรงตามโทนสีนั้นๆ เช่น พื้นหลังบ่อปลา กรอบอักษรก็น้ำเงินคราม พื้นหลังเป็นสวนราสเบอร์รี่ กรอบก็สีแดงอ่อนๆ พื้นหลังเป็นทุ่งนา กรอบก็สีเขียว

+

ระวังภาพไฟล์แตกแล้วจะออกมาดูเละ ไม่เป็นระเบียบนะคะ สีของกรอบหัวข้อควรจะน้ำหนักต่างจากสีกรอบเนื้อหาด้วย เช่น หัวข้อใช้น้ำเงินเข้ม เนื้อหาก็น้ำเงินอ่อน หัวข้อใช้แดงกรอบมนแวววาว เนื้อหาก็แดงกรอบเหลี่ยมสีอ่อนๆ

1
กำลังโหลด
แลค ซีอิ้ง 15 ก.ค. 58 17:51 น. 5
แอบบอกเพิ่มค่ะไม่ได้อวดนะคะ ตอนนี้อยู่ป.6ค่ะ แต่ครูให้ทำเพาเวอร์พอยต์บ่อยมากกก บางครั้งหนูเคยโดนครูด่าว่าตาลาย...เอาเป็นว่าปัญหาที่พี่ว่ามาหนูมาครบยกเว้นเรื่องฟ้อนท์ค่ะ ตอนนี้ไปหัดมาแล้วนี่คือพาวเวอร์พอยต์ของหนู่ค่ะ 1พื้นหลังสีอ่อน 2มีจุดเด่นเช่นรูปภาพ 3ตัวหนังสือแค่3-4ประโยคสั้นๆเอาให้ได้ใจความ 4หน้าสุดท้ายกับหน้าแรกค่อยลงตัวดุ้กดิ๊กงุงิๆสัก2-3ตัว 5เน้นประโยคเด็ดด้วยสีสวยๆเท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ! เคยรีบทำแล้วเผลอวางรูปผิดไปวางรูปที่เขียนว่าเกย์อ่านแทนรูปคำว่าขอบคุณค่ะ บทเรียนสุดท้าย อย่าลืมตรวจทาน!!!!(จารย์เงิบครับท่าน)
0
กำลังโหลด

9 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
d_wintras Member 15 ก.ค. 58 17:50 น. 4

ถ้าเป็นสไลด์แบบประกอบการนำเสนอ อาจารย์ที่มหาลัยเคยสอนว่า

สไลด์ที่ดีคือสไลด์ที่ไม่ว่าคนประเทศไหนมาเห็น

ก็สามารถจับใจความสำคัญได้ว่าเรากำลังนำเสนอเกี่ยวกับอะไรอยู่

.

1 สไลด์ควรมีไม่เกิน 6 หัวข้อย่อย แล้ว 1 หัวข้อย่อยควรมีไม่เกิน 6 คำ

พยายามใช้กราฟแทนการอธิบายข้อมูลให้มากที่สุด

.

(ข้อเสียคือถ้าเป็นงานที่ห้ามอ่านสคริปต์แล้วเราลืมว่าจะพูดอะไร

มันจะแถยากมากเพราะบนสไลด์ไม่ค่อยมีอะไรใบ้เรา 5555)

.

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เวลาทำสไลด์อะไร ให้นึกถึงคนที่นั่งแถวหลังสุดเป็นหลัก

พยายามทำให้ข้อความเด่นกว่าพื้นหลัง อย่าให้สีข้อความกับสีพื้นหลังกลืนกันมากเกินไป

แล้วก็ฟ้อนต์แต่ละตัวจะมีหน้าที่ของมัน อย่างใครใช้ TH Charmonman ตรงส่วนเนื้อหานี่มันจะเละมากกกก

นั่งหน้าสุดยังอ่านไม่รู้เรื่องเลยมั้ง เพราะมันเป็นฟ้อนต์ที่เอาไว้ใช้กับ "หัวเรื่อง" เป็นหลักมากกว่า

.

จริงๆมีมากกว่านี้นะ แต่จำได้แค่นี้ล่ะ เพิ่งเรียนมาเทอมที่แล้ว ลืมหมด ; w ;

(แต่หลักๆที่เรียนมาก็ตามบทความนี้แหละ  ยิ้ม)

ปล. ฟ้อนต์บางตัวฝังแล้ว แต่พอไปเปิดเครื่องอื่นมันก็ไม่ขึ้นอะ  เอ่อ.. ไม่รู้เป็นอะไร

2
กำลังโหลด
แลค ซีอิ้ง 15 ก.ค. 58 17:51 น. 5
แอบบอกเพิ่มค่ะไม่ได้อวดนะคะ ตอนนี้อยู่ป.6ค่ะ แต่ครูให้ทำเพาเวอร์พอยต์บ่อยมากกก บางครั้งหนูเคยโดนครูด่าว่าตาลาย...เอาเป็นว่าปัญหาที่พี่ว่ามาหนูมาครบยกเว้นเรื่องฟ้อนท์ค่ะ ตอนนี้ไปหัดมาแล้วนี่คือพาวเวอร์พอยต์ของหนู่ค่ะ 1พื้นหลังสีอ่อน 2มีจุดเด่นเช่นรูปภาพ 3ตัวหนังสือแค่3-4ประโยคสั้นๆเอาให้ได้ใจความ 4หน้าสุดท้ายกับหน้าแรกค่อยลงตัวดุ้กดิ๊กงุงิๆสัก2-3ตัว 5เน้นประโยคเด็ดด้วยสีสวยๆเท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ! เคยรีบทำแล้วเผลอวางรูปผิดไปวางรูปที่เขียนว่าเกย์อ่านแทนรูปคำว่าขอบคุณค่ะ บทเรียนสุดท้าย อย่าลืมตรวจทาน!!!!(จารย์เงิบครับท่าน)
0
กำลังโหลด
pat 15 ก.ค. 58 19:08 น. 6
เคยทำแบบเล่นสีเยอะๆนะ พื้นหลังนี้สีแปร๊ดดมากก แต่ตัวหนังสือต้องดูแล้วอ่านง่าย ถ้าตัวหนังสือแจ๋นน ก็พื้นหลังเบาๆ ไรงี้ อาจารย์บอกว่าเล่นสีก็จริงนะ แต่อ่านง่าย เลยได้เต็มไป
0
กำลังโหลด
ซีซอร์ เดอะ กรีน [COS] Member 15 ก.ค. 58 20:00 น. 7

เวลามีงานเสนอพาวเวอร์พ้อยต์อะไรเรามักจะทำเองหมดเลย หรือไม่ก็จะเป็นคนสุดท้ายที่รวมงาน เพราะส่วนใหญ่เพื่อนจะทำเหมือนที่พี่มิ้นต์ยกตัวอย่างนั่นแหละค่ะ 5555

+

ปัญหาที่เจอ ส่วนใหญ่ก็ก็อปวาง ก็อปวาง ก็อปวาง :: ไม่จัดหน้า ไม่จัดฟอนต์ เขาเว้นวรรคมาผิดยังไงก็ผิดยังงั้น ย่อหน้าผิดยังไงก็ผิดอย่างนั้น คำผิดพรึ่บ

+

ด้วยความที่เป็นนักเขียนมือสมัครเล่น เลยจะเป็นพวกที่จุกจิกกับคำผิด ย่อหน้า เว้นบรรทัด หรืออะไรพวกนี้มาก จะรู้สึกว่าให้คลาดสายตาไม่ได้เด็ดขาด 5555

+

ส่วนเนื้อหา จะเน้นให้พอดีๆ ไม่ยัดเยียด ไม่ว่างโล่งเกินไป ฟอนต์ใหญ่พอที่จะมองเห็นได้จากที่ไกลๆ อะไรสำคัญก็เน้นให้ชัดหน่อย ฟอนต์ก็ใช้ Codia New เพราะชอบเป็นการส่วนตัว คิดว่ามันไม่ทางการเกินไปแบบ Angsna และไม่ดูอ่านยาก แถมยังมีฟอนต์นี้เป็นพื้นฐานในทุกเครื่อง(รึเปล่า) 

+

พวกลูกเล่น

1. ลูกเล่นพาวเวอร์พอยต์ที่มีอยู่แล้ว :: ส่วนใหญ่คนจะทำมาเป็นเนื้อหากับกรอบ ก็จะดูน่าเบื่อ อะไรที่แบ่งเป็นประเภทได้ ก็แทรก Smart Art เข้าไป มันจะดูชิกๆ กว่าแบ่งเป็น 1. 2. 3. ธรรมดา

+

2. ตกแต่งเอง :: เมื่อก่อนตอนคนยังไม่นิยมทำลูกเล่นเคลื่อนไหวดุ๊กดิ๊ก เราก็ทำตอนนั้น พอคนเริ่มนิยม เราเปลี่ยนมาเป็นใช้ภาพนิ่งเหมือนเดิม ส่วนใหญ่จะใช้ภาพ SD ที่มีสีคล้ายคลึงกับพื้นหลัง จะได้ไม่ดูตัดหรือเด่นจนแปลกเกินไป ส่วน BG ก็แล้วแต่โทน เช่น

+

ทำพอยต์ชีวะ อยากได้แนวการ์ตูน ก็จะมี SD ผู้ชายผู้หญิง สีสันต่างๆ กับ BG ภาพการ์ตูนหรือภาพลงสีแบบการ์ตูนอาร์ตๆ สีโทนเดียวกับ SD (ถ้าแบบการ์ตูนจ๋าเกิน มันก็จะโดดเกินไปอีก 555) ส่วนคำถามของพอยต์ชีวะ เราจะใส่ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพใหญ่ๆ เป็นพื้นหลัง เช่น ถามว่า Reflex คืออะไร แล้วก็ใส่ png เป็นรูปมัลฟอยกำลังหัวเราะชั่วร้าย (จริงๆ ไม่เกี่ยว แค่ติ่งมัลฟอย -3-)

+

หรือทำพอยต์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตก็ดูจริงจังเล็กน้อย ภาพ BG ส่วนใหญ่ก็พวกไร่นา สวน โรงเลี้ยงไก่ บ่อปลา กรอบอักษรก็จะตรงตามโทนสีนั้นๆ เช่น พื้นหลังบ่อปลา กรอบอักษรก็น้ำเงินคราม พื้นหลังเป็นสวนราสเบอร์รี่ กรอบก็สีแดงอ่อนๆ พื้นหลังเป็นทุ่งนา กรอบก็สีเขียว

+

ระวังภาพไฟล์แตกแล้วจะออกมาดูเละ ไม่เป็นระเบียบนะคะ สีของกรอบหัวข้อควรจะน้ำหนักต่างจากสีกรอบเนื้อหาด้วย เช่น หัวข้อใช้น้ำเงินเข้ม เนื้อหาก็น้ำเงินอ่อน หัวข้อใช้แดงกรอบมนแวววาว เนื้อหาก็แดงกรอบเหลี่ยมสีอ่อนๆ

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด