พี่เกียรติได้ไปงานเปิดตัว "Excellent Model School หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษาต้นแบบเพื่อความเป็นเลิศ" มาค่ะ เป็นงานเสวนาของคณะทำงานสานพลังประชารัฐ เพื่อการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนสายอาชีพมากขึ้น ก็แลเหมือนจะเป็นนโยบายสนับสนุนให้เยาวชนมาเรียนอาชีวะมากขึ้นตามปกติ แต่พอพี่เกียรติได้ลองฟังแล้ว ครั้งนี้พี่ว่าแตกต่างจากนโยบายแต่ก่อน มีขั้นมีตอนที่ยิ่งชี้ให้เห็นว่า ถ้าเราเลือกเรียนสายอาชีพ/อาชีวศึกษาแล้ว ตัวเราจะมีอนาคตที่ดีได้อย่างไร!

งานเสวนาเปิดด้วยคลิปแอนิเมชันตัวนี้ค่ะ

ดูคลิปเต็มได้ที่ "การ์ตูนเจ๋งๆ ล้างภาพแรงๆ ของอาชีวะ"



ภาพร้ายๆ ของอาชีวะจะหายไป! 
 

          ทางคณะทำงานสานพลังประชารัฐฯ มีฝ่าย "Re-branding" ทำงานโดยตรงเพื่อปรับภาพลักษณ์ และทัศนคติของการเรียนสายอาชีพ เริ่มกันตั้งแต่ผู้ปกครอง ครู (โดยเฉพาะครู ม.ต้น) ผู้เรียน และสังคม ให้รับรู้ว่าการเรียนสายอาชีพนั้นมีดีมีอนาคต และไม่ได้เป็นทางเลือกของคนไม่มีทางเรียนหนังสือได้ หรืออนาคตของพวกเกเรียนไล่ตีกันแต่อย่างใดค่ะ หน่วยรีแบรนด์นี้ไม่ได้มาเล่นๆ แต่มาพร้อมทั้งขี้นตอนแนวทางการปฏิบัติ จนถึงตราสัญลักษณ์ โดยทั้งทางภาครัฐและบริษัทที่เกี่ยวข้องจะใช้โลโก้นี้เพื่อแสดงพลังว่า ชาวอาชีวะ "ทำอะไรก็ถูก ทำอะไรก็ดี"


โลโก้เป็นพื้นขาว มือสีน้ำเงิน แดง ตามสีธงชาติไทยนะคะ ถ่ายมาจากในงานเลยได้โทนตามแสงห้อง
 



           ผู้ปกครองจะเข้าใจรูปแบบการเรียนสายอาชีพ การพัฒนาสามารถในการประกอบอาชีพของลูกหลานในอนาคตได้ ทำให้กล้าปล่อยให้มาเรียนสายอาชีพมากขึ้น คุณครูในโรงเรียนก็กล้าแนะนำให้ลูกศิษย์มาเรียนสายอาชีพ เพราะไม่ต้องห่วงว่าลูกศิษย์จะไปตีกับใครหรือไร้อนาคตค่ะ 


ภาพ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

 
     
        จากนี้ไปน้องๆ จะได้รู้ว่า "สายอาชีพ" ว่ามีอะไรให้เรียนมากขึ้น ช่าง เชฟ นักประดิษฐ์ ไกด์ นัดวาดภาพ นักประชาสัมพันธ์ นักออกแบบ เจ้าของร้านกาแฟสวยๆ ต่อยอดไปถึงหัวหน้างาน เจ้าของกิจการ ฯลฯ เหล่านี้ มาเรียนและฝึกปรือในทางสายอาชีพได้เลย หลังจบ ม.3 



วลีฮิต "ขาดแคลนผู้เรียนสายอาชีพ" จริงๆ หรือไม่


           ทำไมตลาดแรงงานบอกตลอดว่า "ต้องการผู้เรียนสายอาชีพ" มาตลอดหลายปีมานี้ แม้ว่าตอนนี้น้องๆ ที่จบม.ต้น ส่วนใหญ่จะยังสนใจเรียนสายสามัญมากกว่าจริงๆ แต่ด้านอาชีวะก็ไม่ได้ผลิตผู้จบสายอาชีพได้น้อยเกินไป และยังมีแนวโน้มผู้เรียนสูงขึ้นบ้างในสองสามปีที่ผ่านมานี้ แต่ที่บอกว่ายังขาดแคลนนั้น คือ 
 

              1. ผู้ที่เรียนจบ แต่ไม่เข้าไปสู่ตลาดแรงงานสายที่จบมา อาจไปทำธุรกิจส่วนตัวอื่นๆ ไม่ได้ทำงานตรงกับสายที่เรียนมา หรือบ้างก็ไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยแบบเต็มเวลา ย้ายสายกันไป
             2. มีคนจบมาก แต่ไม่ตรงสายงานที่ตลาดแรงงานต้องการจริงๆ โดยเฉพาะกลุ่มช่างอุตสาหกรรม ทำให้พอรับผู้จบสายช่างเข้าไป เพราะต้องไปฝึกหัดใหม่ในงานด้านที่บริษัทต้องการเช่นกัน  ก็ไม่ต่างกับรับปริญญาตรี แม้ว่าโดยรวมจะมีทักษะงานปฏิบัติที่ดีกว่าเป็นพื้นฐาน แต่ก็ยังถือว่าบริษัทต้องเสียเวลา และงบในการฝึกเพิ่มเติม แทนที่จะเข้าไปทำงานได้เลย อย่างปัจจุบันสาขาที่ต้องการมากๆ เช่น ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนยานยนต์ แมคคาทรอนิกส์ ระบบรางฯ แต่ทางอาชีวะเองก็ยังเปิดสอนสาขาช่างอุตสาหกรรมสาขาเหล่านี้ได้ไม่พอเพียงต่อความต้องการ
             




             สืบเนื่องจากข้อข้างต้น ทำให้ทาง "คณะสานพลังประชารัฐ เพื่อการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ" ได้วางแผนการปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนสายอาชีพให้เข้มข้น มีการศึกษาหาข้อมูลสถิติใหม่จริงๆ ว่าขาดแคลนอะไร/สาขาไหน เพื่อไม่ให้เปล่าเปลืองบบประมาณรัฐสนับสนุน และตอบรับกับตลาดแรงงานมากขึ้น โดยการดึงสถานประกอบการต่างๆ เข้าสู่การจัดการศึกษา ปรับหลักสูตรให้เป็นเลิศโดยใช้การจัดการศึกษาทวิภาคีเป็นฐาน 
           ซึ่งในส่วนของสถานประกอบหรือบริษัทเหล่านี้จะมาเป็นูสนับสนุนเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้ผู้เรียนอาชีวะได้ฝึกประสบการณ์จริงๆ จากเทคโนโลยีชั้นดีจากบริษัทเหล่านั้น ส่วนโรงเรียนอาชีวะที่ไม่มีอุปกรณ์การเรียนเพียงพอ ก็ไม่ต้องกังวลเพราะว่าต้องเอางบไปจัดซื้ออุปกรณ์ จนบำรุงกิจกรรมอื่นไม่พอ เพราะเด็กไปฝึกในบริษัทจริงได้ โรงเรียนก็นำงบส่วนนั้นไปพัฒนากิจกรรมอื่นๆ ในโรงเรียน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้เรียนสายอาชีพยิ่งขึ้น
         ทางบริษัทเองก็ได้ฝึก(ว่าที่)พนักงานตัวจริงของตัวเอง หรืออย่างน้อยก็ได้ผลผลิตจากการเรียนที่มีนักศึกษามาเรียนและฝึกฝนในบริษัทตนเอง เรียนว่า WIN WIN WIN กันทุกฝ่าย แล้วถ้าผู้เรียนวิน มีความสุข มีการพัฒนาที่ดีทั้งการเรียนการใช้ชีวิต (มีรายได้พิเศษด้วย) ผู้ปกครองพ่อแม่ก็ภูมิใจ WIN ยิ่งขึ้น




           ยังไม่จบเท่านั้น! บริษัทเติบโต เพราะมีพนักงานที่ดี ก็พัฒนางานอุตสาหกรรมและบริการของสังคมไทย เศรษฐกิจพัฒนาประเทศก็ WIN อีกด้วย นี่แหละที่เรียกว่า  Excellent Model School วิทยาลัยอาชีวศึกษาต้นแบบเพื่อความเป็นเลิศ อาชีวะ 4.0 ไปอีก!! 

          ตอนนี้มี 16 บริษัทชั้นนำทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการอยู่ในโมเดลนี้แล้ว และคาดว่าปีหน้า (ปี 60) จะมีการเปิดตัวสถานศึกษานำร่อง 1 สาขาอาชีวะก่อนค่ะ ซึงไม่ได้มีแผนแค่หลักสูตรการเรียนการสอน ยังรวมถึงการวัดประเมินผลที่มีมาตรฐานและสามารถออกประกาศนียบัตรรับรองคุณวุฒิและความสามารถได้ด้วย โดยเป็นมาตรฐานเดียวทั้งประเทศ โดยใช้มาตรฐานระดับสากล ASEAN เป็นแกนกลางค่ะ และเจ้าประกาศฯ ที่ว่านี้ คาดว่าไม่ต้องสอบพร่ำเพรื่อ สอบในสาขาที่เรียนครั้งเดียว รับรองมาตรฐานได้เลยทั้งประเทศและสากลค่ะ ว้าวเลยค่ะ
 
                 จากนี้ไปการเรียนสายอาชีพจะไม่ใช่แค่ทางเลือกของน้องๆ ม.ต้น แต่ต้องเป็นทางหลักให้เลือกเรียน เพราะว่าหลักสูตรตอบโจทย์ความสนใจน้องๆ ยิ่งขึ้นค่ะ
          
           ย้อนกลับไปที่ 2 - 3 ย่อหน้าข้างต้น เราจะเห็นว่า WIN เยอะแยะมาก แล้วเราจะไม่มองการเรียนต่อในสายอาชีพ/อาชีวะสักหน่อยหรือค่ะ คุณพ่อคุณแม่คะ น้องม.3 ก็ได้ น้องม.6 ก็ได้ คนโตๆ แล้วที่ต้องการเพิ่มทักษะอาชีพก็มีหลักสูตรรองรับอีก อนาคตอาชีพของเราก็ WIN แน่นอน! 



แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ: 
    - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)บทความสายอาชีพ
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

natsuno Member 21 พ.ย. 59 18:45 น. 1-1
ทักมาถามกันได้น้า ถ้าสนใจ เพราะพี่ก็เรียนอาชีวะ สายช่างอยู่ อันไหนตอบได้จ้ะช่วยตอบให้เยี่ยม แอดไลน์มาคุยกันได้เลย ID : m141142
0
กำลังโหลด

2 ความคิดเห็น

natsuno Member 21 พ.ย. 59 18:45 น. 1-1
ทักมาถามกันได้น้า ถ้าสนใจ เพราะพี่ก็เรียนอาชีวะ สายช่างอยู่ อันไหนตอบได้จ้ะช่วยตอบให้เยี่ยม แอดไลน์มาคุยกันได้เลย ID : m141142
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด