สวัสดีค่ะ ถ้าพูดถึงอุปสรรคชิ้นใหญ่ในการเรียน น้องๆ มักจะนึกถึงอะไร "เรียนยาก เนื้อหาเยอะ หัวช้า ความจำไม่ดี?" พี่เมก้าก็เคยผ่านช่วงเวลาเหล่านี้มาก่อน ไม่เคยเรียนอะไรแล้วเข้าใจในครั้งเดียวเหมือนเพื่อนๆ เลยค่ะ ฮึกๆ อย่างต่ำต้องกลับไปอ่านทวน 2-3 ครั้ง
เพราะว่าพี่เมก้าผ่านความยากลำบากแบบนั้นมาแล้ว วันนี้ก็เลยขอมาแบ่งปันเทคนิคให้น้องที่มีอาการคล้ายๆ กันได้ลองนำไปใช้ เผื่อว่าจะช่วยให้เรียนอะไรได้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
หัวช้าเกิดจากอะไร?
การที่ร่างกายฟ้องออกมาว่าหัวไม่แล่น คิดอะไรไม่ออกนั้น ไม่ได้มาจากการที่สมองน้องๆ เติบโตช้ากว่าเพื่อนแน่นอน มันมาจากการที่เราใช้สมองหนัก และเคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป สมองเป็นจุดรวมเส้นประสาทของร่างกาย ถ้าเราบริหารสมองอย่างสม่ำเสมอจะทำให้กลุ่มเส้นประสาททำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วเราเคยออกกำลังกายให้สมองรึเปล่า?
เวลาเรียนล้าๆ ลองนวดปุ่มขมับดูค่ะ ใช้นิ้วทั้งสองข้างค่อยๆ นวดวนเป็นวงกลม ระหว่างนวดก็เหล่ตามองซ้าย-ขวา พร้อมกรอกตามองบนไปด้วย ทำเซ็ตละ 30 วินาที การนวดขมับจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดส่วนที่ส่งไปเลี้ยงสมองให้เราได้ การทำงานของสมองจะใช้งานได้ดีขึ้น แล้วถ้าหัวตื้อระหว่างวันล่ะ?
มนุษย์แรมต่ำมักจะมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ใช้เวลาว่างช่วงรอเปลี่ยนคาบเรียน หรือหลังจากพักรับประทานอาหารกลางวัน งีบหลับไปเลย! การงีบระยะสั้น 3-5 นาที ช่วยให้สมองเฟรชขึ้น แต่ถ้าได้งีบระยะยาวหน่อยสัก 10-15 นาที ตื่นมาสมองจะมีพลังโลดแล่นพร้อมเรียนมาก ยิ่งดื่มน้ำเติมความสดชื่นไปอีกสักอึกใหญ่ๆ รับรองเรียนอะไรก็เข้าใจ
หัวช้าเกิดจากอะไร?
การที่ร่างกายฟ้องออกมาว่าหัวไม่แล่น คิดอะไรไม่ออกนั้น ไม่ได้มาจากการที่สมองน้องๆ เติบโตช้ากว่าเพื่อนแน่นอน มันมาจากการที่เราใช้สมองหนัก และเคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป สมองเป็นจุดรวมเส้นประสาทของร่างกาย ถ้าเราบริหารสมองอย่างสม่ำเสมอจะทำให้กลุ่มเส้นประสาททำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วเราเคยออกกำลังกายให้สมองรึเปล่า?
เวลาเรียนล้าๆ ลองนวดปุ่มขมับดูค่ะ ใช้นิ้วทั้งสองข้างค่อยๆ นวดวนเป็นวงกลม ระหว่างนวดก็เหล่ตามองซ้าย-ขวา พร้อมกรอกตามองบนไปด้วย ทำเซ็ตละ 30 วินาที การนวดขมับจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดส่วนที่ส่งไปเลี้ยงสมองให้เราได้ การทำงานของสมองจะใช้งานได้ดีขึ้น แล้วถ้าหัวตื้อระหว่างวันล่ะ?
มนุษย์แรมต่ำมักจะมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ใช้เวลาว่างช่วงรอเปลี่ยนคาบเรียน หรือหลังจากพักรับประทานอาหารกลางวัน งีบหลับไปเลย! การงีบระยะสั้น 3-5 นาที ช่วยให้สมองเฟรชขึ้น แต่ถ้าได้งีบระยะยาวหน่อยสัก 10-15 นาที ตื่นมาสมองจะมีพลังโลดแล่นพร้อมเรียนมาก ยิ่งดื่มน้ำเติมความสดชื่นไปอีกสักอึกใหญ่ๆ รับรองเรียนอะไรก็เข้าใจ
How To : บอกลาอาการหัวช้า
เรียนหนัก เรียนยาก ทำให้เครียดจนหัวช้า งั้นเลิกเรียนไปเลยดีมั้ย? ช้าก่อน! การที่เราต้องใช้สมองเค้นเพราะคิดไม่ทันเวลาเจอการเรียนยากๆ มันมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ทั้งหมดนั้นเราสามารถควบคุมได้ด้วย 1 สมองและสองมือค่ะ พร้อมจะเปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายรึยัง?
1. อ่านก่อนเรียน
ต้องยอมรับความหัวช้าของตัวเองก่อนค่ะ ถ้ารู้แล้วว่าทุกครั้งที่ครูเริ่มเรื่องใหม่ เรามักจะฟังไม่รู้เรื่อง สิ่งที่ควรทำคือเซฟตัวเองไว้ก่อนเลย หยิบเนื้อหาครั้งที่แล้วมาทบทวน ตามด้วยการอ่านสิ่งที่ครูจะสอนในครั้งหน้า อ่านให้พอเข้าใจเนื้อหาโดยรวมว่าหลักๆ พูดถึงอะไร มีใจความสำคัญอะไรบ้าง มีเรื่องที่เราสงสัยตรงไหนก็ใส่ดาวไว้ พอเข้าไปฟังครูสอนในห้องจะได้ตามเนื้อหาทัน เจอสิ่งที่สงสัยเพราะคิดล่วงหน้าไว้แล้วก็จะทำให้เราหัวไว เข้าใจเร็วขึ้น ไม่ใช่นั่งอ้าปากค้าง หัวตื้อเหมือนเดิม
2. เล็งจุดโฟกัส
ความจริงเรื่องที่เรียนไม่ได้ยากอย่างที่คิดหรอกค่ะ ที่น้องเรียนไม่รู้เรื่องอาจเป็นเพราะเสียจุดโฟกัส ตอนเรียนควรเรียกสมาธิให้จดจ่อระหว่าง "คุณครู หนังสือ กระดานดำ" เวลาครูเขียนเนื้อหาสำคัญขึ้นกระดาน หรือบอกเรื่องเน้นๆ ในหนังสือ น้องต้องตั้งใจฟัง ทำความเข้าใจตาม แล้วจดสรุปเก็บไว้ในสมุดเพื่อนำมาทบทวนทีหลัง ถ้าไม่ทำแบบนี้ ตาเราจะวอกแวกไปมองอย่างอื่น ปากคอยขยับเม้าท์กับเพื่อน หัวก็จะคิดแต่เรื่องฟุ้งซ่าน เรียนอะไรก็ยากน่ะสิ ต้องเปลี่ยนตัวเองใหม่นะคะ
3. ฝึกคิดตาม
เรียนหนัก เรียนยาก ทำให้เครียดจนหัวช้า งั้นเลิกเรียนไปเลยดีมั้ย? ช้าก่อน! การที่เราต้องใช้สมองเค้นเพราะคิดไม่ทันเวลาเจอการเรียนยากๆ มันมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ทั้งหมดนั้นเราสามารถควบคุมได้ด้วย 1 สมองและสองมือค่ะ พร้อมจะเปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายรึยัง?
1. อ่านก่อนเรียน
ต้องยอมรับความหัวช้าของตัวเองก่อนค่ะ ถ้ารู้แล้วว่าทุกครั้งที่ครูเริ่มเรื่องใหม่ เรามักจะฟังไม่รู้เรื่อง สิ่งที่ควรทำคือเซฟตัวเองไว้ก่อนเลย หยิบเนื้อหาครั้งที่แล้วมาทบทวน ตามด้วยการอ่านสิ่งที่ครูจะสอนในครั้งหน้า อ่านให้พอเข้าใจเนื้อหาโดยรวมว่าหลักๆ พูดถึงอะไร มีใจความสำคัญอะไรบ้าง มีเรื่องที่เราสงสัยตรงไหนก็ใส่ดาวไว้ พอเข้าไปฟังครูสอนในห้องจะได้ตามเนื้อหาทัน เจอสิ่งที่สงสัยเพราะคิดล่วงหน้าไว้แล้วก็จะทำให้เราหัวไว เข้าใจเร็วขึ้น ไม่ใช่นั่งอ้าปากค้าง หัวตื้อเหมือนเดิม
2. เล็งจุดโฟกัส
ความจริงเรื่องที่เรียนไม่ได้ยากอย่างที่คิดหรอกค่ะ ที่น้องเรียนไม่รู้เรื่องอาจเป็นเพราะเสียจุดโฟกัส ตอนเรียนควรเรียกสมาธิให้จดจ่อระหว่าง "คุณครู หนังสือ กระดานดำ" เวลาครูเขียนเนื้อหาสำคัญขึ้นกระดาน หรือบอกเรื่องเน้นๆ ในหนังสือ น้องต้องตั้งใจฟัง ทำความเข้าใจตาม แล้วจดสรุปเก็บไว้ในสมุดเพื่อนำมาทบทวนทีหลัง ถ้าไม่ทำแบบนี้ ตาเราจะวอกแวกไปมองอย่างอื่น ปากคอยขยับเม้าท์กับเพื่อน หัวก็จะคิดแต่เรื่องฟุ้งซ่าน เรียนอะไรก็ยากน่ะสิ ต้องเปลี่ยนตัวเองใหม่นะคะ
3. ฝึกคิดตาม
อาการหัวช้าจากการที่ไม่เคยรับรู้ข้อมูลนั้น สามารถแก้ได้จากการอ่านหนังสือล่วงหน้า แต่พอมีความรู้แล้ว น้องๆ ต้องลองคิดตามเวลาครูสอนด้วย จะได้เป็นการเซฟตัวเองขั้นแรกว่าเราจะไม่ปล่อยให้สมองคิดเรื่องไร้สาระ ทั้งยังเป็นการเช็กตัวเองอีกรอบหนึ่งว่าเข้าใจสิ่งที่เรียนรึเปล่า หากข้อมูลส่วนไหนรับมาแล้วยังประมวลผลไม่ทันจะได้กาดาวไว้ตัวโตๆ รอถามคุณครูท้ายคาบ ถ้าอยากนำความรู้มาใช้ได้นาน ต้องฝึกคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นบ่อยๆ จะได้ไปตกผลึกในสมองค่ะ แต่ถ้าคิดตามเองคนเดียวแล้วไม่รอด แนะนำให้ลอง Brainstorming กับเพื่อนๆ ดู การระดมสมองแบบนี้ไม่ต้องเหนื่อยคิดเองคนเดียว แถมยังสนุกอีกด้วย
4. ถามบ่อยๆ
สงสัยแล้วไม่ถามมันก็จะยังไงๆ อยู่ ถ้าเรียนเรื่องไหนแล้วมันยากมาก อ่านเองยังไงก็ไม่เข้าใจ ขอแนะนำให้รีบเคลียร์ ถ้ากลัวถูกครูประจำวิชาดุว่าไม่ใส่ใจ ก็ถามเพื่อน ถามรุ่นพี่ ถามครูฝึกสอนก็ยังได้ หรือถ้ากลัวถามในห้องแล้วอายเพื่อน ออกมาพบครูนอกรอบเลยก็ได้ค่ะ ได้ฟังคำอธิบายเรื่องยากชัดๆ แบบตัวต่อตัวอาจจะเข้าใจง่ายขึ้น ฝากไว้ว่าไม่เฉพาะเรื่องยากๆ นะคะ ต่อให้เป็นเรื่องง่ายก็สามารถถามเพื่อรีเช็กความรู้เราได้
5. ฝากไว้ในมือตัวเอง
ลองนึกถึงวิชาที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับเรานะคะ หนังสือไม่อยากอ่าน การบ้านไม่อยากมอง เรื่องลอกคืองานประจำ โอ้โห! อยากจะวิ่งหนีไปไกลๆ แต่! ยิ่งหนียิ่งพังค่ะ ทางที่ดีน้องๆ ควรพุ่งเข้าใส่ ยากนักใช่มั้ย? อ่านทวนไปหลายๆ รอบ ปกติเคยแต่ให้เพื่อนติว ลองสรุปเนื้อหาแล้วติวให้เพื่อนบ้าง เราจะได้ใช้เวลากับการทำความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น การบ้านก็อย่าเอาแต่ลอกค่ะ บางทีครูให้โจทย์เลขมาแก้ น้องอาจจะไปเจอโจทย์ข้อนี้ในข้อสอบก็ได้ ลองหาวิธีคิดด้วยตัวเอง เดี๋ยวก็ชำนาญ!
6. ขอเก็บเสียงครู
4. ถามบ่อยๆ
สงสัยแล้วไม่ถามมันก็จะยังไงๆ อยู่ ถ้าเรียนเรื่องไหนแล้วมันยากมาก อ่านเองยังไงก็ไม่เข้าใจ ขอแนะนำให้รีบเคลียร์ ถ้ากลัวถูกครูประจำวิชาดุว่าไม่ใส่ใจ ก็ถามเพื่อน ถามรุ่นพี่ ถามครูฝึกสอนก็ยังได้ หรือถ้ากลัวถามในห้องแล้วอายเพื่อน ออกมาพบครูนอกรอบเลยก็ได้ค่ะ ได้ฟังคำอธิบายเรื่องยากชัดๆ แบบตัวต่อตัวอาจจะเข้าใจง่ายขึ้น ฝากไว้ว่าไม่เฉพาะเรื่องยากๆ นะคะ ต่อให้เป็นเรื่องง่ายก็สามารถถามเพื่อรีเช็กความรู้เราได้
5. ฝากไว้ในมือตัวเอง
ลองนึกถึงวิชาที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับเรานะคะ หนังสือไม่อยากอ่าน การบ้านไม่อยากมอง เรื่องลอกคืองานประจำ โอ้โห! อยากจะวิ่งหนีไปไกลๆ แต่! ยิ่งหนียิ่งพังค่ะ ทางที่ดีน้องๆ ควรพุ่งเข้าใส่ ยากนักใช่มั้ย? อ่านทวนไปหลายๆ รอบ ปกติเคยแต่ให้เพื่อนติว ลองสรุปเนื้อหาแล้วติวให้เพื่อนบ้าง เราจะได้ใช้เวลากับการทำความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น การบ้านก็อย่าเอาแต่ลอกค่ะ บางทีครูให้โจทย์เลขมาแก้ น้องอาจจะไปเจอโจทย์ข้อนี้ในข้อสอบก็ได้ ลองหาวิธีคิดด้วยตัวเอง เดี๋ยวก็ชำนาญ!
6. ขอเก็บเสียงครู
"อัดสิ่งที่ครูพูดเก็บไว้ฟัง" ข้อดีของวิธีนี้คือเรื่องไหนเราฟังไม่ถนัด ตามไม่ทัน เรียนแล้วงงๆ สามารถย้อนกลับมาทบทวน และจดประเด็นสำคัญเก็บไว้ได้ จะฟังเพิ่มกี่รอบก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมขออนุญาต ถามความสมัครใจของครูก่อน ไม่ใช่ว่าครูจะหวงความรู้หรืออะไรนะคะ คิดว่าท่านอาจจะกังวลว่า ถ้าอนุญาตให้เก็บเสียง เด็กๆ จะไม่ตั้งใจเรียนในห้อง แอบเล่น แอบคุยกันมากกว่า ดังนั้น อัดเสียงแล้วก็ต้องมีสมาธิ ฟังครูเต็มที่เหมือนเดิมด้วย
7. ทวนทีละเรื่อง
สังเกตว่าหลายๆ วิชาบทเรียนชอบต่อเนื่องกัน ถ้าน้องไม่เข้าใจบทนี้ บทหน้าพีคขึ้น ก็จะยิ่งเข้าใจยากกว่าเดิม กลายเป็นว่าเรียนอะไรก็ยาก ยากไปหมด! ดังนั้น ต้องทวนเรื่องเก่าให้แม่นก่อนค่ะ พอบทก่อนหน้าเป๊ะแล้ว บทใหม่มาถึงก็จะง่ายขึ้น เอาทีละเรื่องจะได้รอด
8. เรียนด้วยทักษะอื่นๆ
เวลาเรียนอะไรยากๆ อย่าเพิ่งคิดว่าหัวไม่ดี บางทีน้องอาจจะไม่เหมาะกับการเรียนแบบนั่งฟังครูสอนเฉยๆ ก็ได้ เราอาจจะต้องการความตื่นเต้น สัมผัสการเรียนที่ต่างไปจากเดิม เช่น เรียนภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ ฝึกเป็นไกด์นำเที่ยว แสดงละครเวที หรือเรียนวิทยาศาสตร์แบบลงมือทดลองด้วยตัวเอง ไปสังเกตธรรมชาติ เดินชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ฯลฯ สังเกตว่าเมื่อไหร่ที่สนุก เราจะลงไปจอยกับมันสุดชีวิต จนซึมซับความรู้นั้นไปเองโดยไม่ต้องพยายาม และมองข้ามความยากไปเลย ดังนั้น นอกจากเรียนในห้องเรียนแล้ว ลองหาวิธีเรียนอย่างผ่อนคลายในแบบของตัวเองเวลาอยู่นอกห้องเรียนดู แล้วน้องจะรู้ว่าหัวไปไว ลื่นปรื๊ดๆ มาก
9. เปิดใจยอมรับ
7. ทวนทีละเรื่อง
สังเกตว่าหลายๆ วิชาบทเรียนชอบต่อเนื่องกัน ถ้าน้องไม่เข้าใจบทนี้ บทหน้าพีคขึ้น ก็จะยิ่งเข้าใจยากกว่าเดิม กลายเป็นว่าเรียนอะไรก็ยาก ยากไปหมด! ดังนั้น ต้องทวนเรื่องเก่าให้แม่นก่อนค่ะ พอบทก่อนหน้าเป๊ะแล้ว บทใหม่มาถึงก็จะง่ายขึ้น เอาทีละเรื่องจะได้รอด
8. เรียนด้วยทักษะอื่นๆ
เวลาเรียนอะไรยากๆ อย่าเพิ่งคิดว่าหัวไม่ดี บางทีน้องอาจจะไม่เหมาะกับการเรียนแบบนั่งฟังครูสอนเฉยๆ ก็ได้ เราอาจจะต้องการความตื่นเต้น สัมผัสการเรียนที่ต่างไปจากเดิม เช่น เรียนภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ ฝึกเป็นไกด์นำเที่ยว แสดงละครเวที หรือเรียนวิทยาศาสตร์แบบลงมือทดลองด้วยตัวเอง ไปสังเกตธรรมชาติ เดินชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ฯลฯ สังเกตว่าเมื่อไหร่ที่สนุก เราจะลงไปจอยกับมันสุดชีวิต จนซึมซับความรู้นั้นไปเองโดยไม่ต้องพยายาม และมองข้ามความยากไปเลย ดังนั้น นอกจากเรียนในห้องเรียนแล้ว ลองหาวิธีเรียนอย่างผ่อนคลายในแบบของตัวเองเวลาอยู่นอกห้องเรียนดู แล้วน้องจะรู้ว่าหัวไปไว ลื่นปรื๊ดๆ มาก
9. เปิดใจยอมรับ
อย่าเพิ่งปิดกั้นตัวเองว่าเหม็นวิชาเลข ยากไป ตั้งใจแค่ไหนก็เรียนไม่ได้ เพราะความคิดแบบนี้จะทำให้ในหัวยิ่ง Blank Space ซะเปล่าๆ ลองคิดใหม่ว่าไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ เรียนชิลล์ๆ ค่อยๆ อ่านสะสมทุกวัน ทำตาม How To ที่บอกตั้งแต่ข้อ 1-8 น้องจะได้ไม่ต้องเคี่ยวเข็ญตัวเองให้เครียดกับการเรียนจนใช้สมองหนักเกินไปค่ะ
พี่เมก้าก็บอกทั้งวิธีทำสมองให้ปลอดโปร่งพร้อมเรียน และแชร์เทคนิคเปลี่ยนการเรียนยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายไปแล้วนะคะ ลองทำดูแล้วมากระซิบบอกพี่ด้วยว่าได้ผลรึเปล่า?
พี่เมก้าก็บอกทั้งวิธีทำสมองให้ปลอดโปร่งพร้อมเรียน และแชร์เทคนิคเปลี่ยนการเรียนยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายไปแล้วนะคะ ลองทำดูแล้วมากระซิบบอกพี่ด้วยว่าได้ผลรึเปล่า?
2 ความคิดเห็น
ที่พี่แนะนำมาสามารถช่วยได้จริงๆเลยค่ะ รู้สึกว่าไม่อึนเหมือนเมื่อก่อนแล้วค่ะ
ข้อ 6 นี่ต้องเปิดฟังตอนเข้านอนด้วยนะคะ รับรองหลับไม่ตื่น