"เรียนที่ไหน ก็ไม่เหมือนกัน" เล่าให้ฟังตรงๆ ว่าทำไมบางบริษัทไม่รับคนจบราชภัฏ?

     ในช่วงสัปดาห์นี้ หนึ่งในข่าวที่เป็นที่พูดถึงบนโลกออนไลน์คือ ข่าวที่ผู้ชายคนหนึ่งส่งอีเมลไปสมัครงาน และฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทตอบอีเมลกลับมาว่า ไม่มีนโยบายรับบัณฑิตที่จบจากราชภัฏ-ราชมงคล-เอกชน ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหลายประเด็น เช่น ทำไมบริษัทถึงใจแคบ ไม่เปิดโอกาสอย่างทั่วถึง? จนไปถึงประเด็นที่ว่า จริงหรือที่ว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ?

      แน่นอนว่า มีหลายคนในหลายสถานะออกมาแสดงความเห็น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เรียนจบราชภัฏแต่ปัจจุบันทำงานในระดับผู้บริหาร หรือ เด็กมัธยมที่เกิดความลังเลว่า การเรียนราชภัฏจะทำให้มีโอกาสได้งานน้อยกว่าเรียนที่อื่นจริงหรือไม่? เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่คาราคาซังและถูกตั้งคำถามในสังคมไทยมาแล้วอย่างยาวนาน เหมือนเป็นคำถามปลายเปิดที่ทุกคนสามารถแสดงความเห็นได้อย่างกว้างขวางและไม่มีถูกผิด

 
 

ความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยแนวหน้าระดับประเทศ

       เด็กมัธยมปลายจำนวนมากกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแนวหน้าของประเทศไทย เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มหิดล เป็นต้น ซึ่งมีอัตราการแข่งขันที่สูงมาก เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย รวมถึงมั่นใจว่า จะเป็นบันไดพาไปสู่โอกาสในการทำงานที่ดีในอนาคต อาจเพราะเห็นตัวอย่างของบุคคลสำคัญตำแหน่งสูงทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ส่วนมากจบปริญญาตรีจากสถาบันชั้นนำของประเทศไทย
     
       ข้อมูลทางสถิติถือเป็นอีกหลักฐานสำคัญที่หลายคนเชื่อถือ เช่น อันดับมหาวิทยาลัยไทยในอันดับมหาวิทยาลัยโลก จำนวนอาจารย์ที่จบปริญญาเอก จำนวนอาจารย์ที่จบจากสถาบันต่างประเทศ ที่ถือเป็นแหล่งช่วยการันตีคุณภาพอีกทาง ปฏิเสธไม่ได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำมักมีอันดับหรือสัดส่วนเหล่านี้มากกว่าที่อื่น
   
       ยกตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ Times Higher Education World University Rankings  ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกปีล่าสุด โดยใช้เกณฑ์คุณภาพการสอน คุณภาพงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้ในการอ้างอิง ความเป็นนานาชาติ และรายได้ทางอุตสาหกรรม โดย 3 มหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับสูงสุดคือ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งถือว่าไม่พลิกโผมากเนื่องจากทั้ง 3 สถาบันดังกล่าวมีชื่อเสียงมากพอสมควรอยู่แล้ว


เพราะเราเรียกทุกคนมาสัมภาษณ์ไม่ได้
     
       เพื่อให้เห็นภาพชัดที่สุด คำตอบที่น่าจะเหมาะสมควรมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน นั่นคือฝ่ายทรัพยากรฝ่ายบุคคล (Human Resource หรือ HR) และนี่คือความเห็นโดยภาพรวมจาก HR ของ 5 องค์กรขนาดกลางถึงใหญ่

"บางตำแหน่งมีคนส่งเรซูเม่สมัครเข้ามาเป็นร้อย
จะให้นั่งอ่านทุกใบก็คงไม่ไหว
ดังนั้นสิ่งแรกที่ใช้สกรีนได้เบื้องต้นคือสถาบัน"

      โดยบางบริษัทให้ความสำคัญกับสถาบันที่จบมาของบัณฑิตใหม่มากกว่า 50% และบางบริษัทให้ความสำคัญ 100% เลยทีเดียว ซึ่งในกรณีนี้ บนโลกออนไลน์มีคนแสดงความเห็นว่า ทำไมไม่ลองรับมาก่อนแล้วค่อยดูว่าใครทำงานดีกว่า ... "บอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้ จะให้รับมาแล้วค่อยเทียบกันว่าใครทำงานดีกว่ากัน ทำไม่ได้หรอก ทุกอย่างมีต้นทุน เราต้องเลือกคนที่เราพร้อมจะลงทุนกับเขา"
   
       HR บางคนกล่าวเพิ่มเติมว่า "เอาจริงๆ บางทีอ่านแค่เรซูเม่ ก็พอแยกได้แล้วว่าใครน่าจะจบสถาบันไหน เด็กมหาวิทยาลัยชั้นนำจะเขียนเรซูเม่และนำเสนอตัวเองได้ค่อนข้างดี รู้จักวิธีเล่าเรื่อง ใช้ภาษาดี รวมไปถึงเวลาเรียกมาสัมภาษณ์ ยิ่งเห็นความต่างชัดเจน เช่น เอกภาษาอังกฤษเหมือนกัน แต่ต้องยอมรับว่าเด็กสถาบันชั้นนำเก่งกว่าเด็กราชภัฏมาก หรือวิธีการพูดจา วิธีการตอบคำถาม โดยเฉพาะเรื่องภาษา มุมมอง และความรู้รอบตัว เด็กมหาวิทยาลัยชั้นนำจะทำได้ดีกว่าในส่วนนี้ ลองมองไปถึงอาจารย์ที่สอนพวกเค้าก็ได้ มหาวิทยาลัยดังๆ มักดึงดูดอาจารย์เก่งๆ ให้อยากเข้ามาทำงานเป็นเรื่องปกติ"
     
      "อย่าบอกว่าที่ไทยยึดติดค่านิยมสถาบัน ที่ไหนๆ ในโลกก็มีทั้งนั้น นี่คือเรื่องจริง เกาหลีญี่ปุ่นก็มีค่านิยมนี้ หรือบางบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์ ยังดูจากสถาบันเลย"  HR อีกท่านแสดงความเห็นไว้ (ซิลิคอนวัลเลย์คือแหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ตั้งอยู่ที่ทางส่วนใต้ของอ่าวแคลิฟอร์เนียเหนือ)

     
      ในขณะเดียวกัน มี HR อีกท่านจากธุรกิจโรงแรม กล่าวว่า หากเป็นวงการโรงแรม จะให้ความสำคัญเรื่องสถาบันที่จบมาเพียง 30% โดยมากจะดูจากประสบการณ์การฝึกงานมากกว่า หากเคยฝึกงานล่ะก็ จะไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องสถาบันเท่าไรนัก อีกทั้งเป็นงานโรงแรมที่เน้นเรื่อง attitude ภาษา และใจรักงานบริการมากกว่าจะเน้นเรื่องว่าเรียนจบจากไหน เพราะหลักสูตรการโรงแรมของมหาวิทยาลัยในไทยไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากมีใจรักจริงๆ และพร้อมเรียนรู้ ทางโรงแรมก็ยินดีรับ รวมถึงมองว่าการคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยอิงสถาบันเป็นเรื่องไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไรนัก
 

จบราชภัฏ ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสเลย
       
      แล้วมีเหตุผลอะไรบ้างถึงจะรับเด็กราชภัฏเข้าทำงาน? หลายคนอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อบริษัทของคุณตกลงใจแล้วว่า จะเลือกแต่เด็กสถาบันดัง แล้วเด็กราชภัฏจะไม่มีโอกาสเลยเหรอ? แน่นอนว่ามีโอกาส แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ได้แก่

- เกรดเฉลี่ยสูงและมีประสบการณ์ที่น่าสนใจ เช่น มีผลงานประกวด เคยฝึกงานที่เกี่ยวข้อง เพราะหากเกรดเฉลี่ยสูงอย่างเดียวแต่ไม่เคยทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเลย หลายองค์กรจะเลือกรับเด็กสถาบันดังแต่เกรดสองกว่าๆ เข้ามาทำงานมากกว่า
- มีบางอย่างที่โดดเด่นมากและทดสอบได้ เช่น เขียนภาษาคอมพิวเตอร์ได้หลายภาษา สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นได้ระดับสูงสุด
- ตำแหน่งงานทั่วไปที่ไม่ใช่ความสามารถเฉพาะทาง เช่น งานแอดมิน งานธุรการ ที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่ถ้าเป็นความรู้เฉพาะทาง เช่น กฎหมาย วิเคราะห์ธุรกิจ ยังไงก็ขอเลือกรับเด็กสถาบันดัง
- ตำแหน่งงานเปิดใหม่ที่บริษัทไม่เคยทำมาก่อน แล้วต้องไปเสาะหาคนมีฝีมือมาร่วมงาน ถ้าเก่งจริงในแบบเฉพาะทาง จะจบจากไหนถือไม่ใช่เรื่องสำคัญ
- มีประสบการณ์การทำงานมาแล้วหลายปี มีผลงานโดดเด่นชัดเจนในเรซูเม่ จนเชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถทำงานได้ดีจนมองข้ามเรื่องสถาบันไปเลย
     
      อีกความเห็นที่น่าสนใจจาก เจ้าหน้าที่สรรหาบุคลากรในบริษัทจัดหางาน ที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากลูกค้าซึ่งก็คือบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ว่าให้หาคนมาทำงานให้ เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งในบริษัทจัดหางานชั้นนำของประเทศเล่าให้ฟังว่า หากลูกค้า(บริษัทที่มาจ้างให้หาคนให้) ไม่ได้ระบุมาว่า ต้องการเด็กจากสถาบันไหน ก็จะหาโดยภาพรวม เน้นดูที่ความสามารถที่ตรงกับตำแหน่งงานมากกว่า ไม่ได้หาโดยอิงจากสถาบันเป็นหลัก


ความแตกต่างในการทำงานระหว่างเด็กจบสถาบันชั้นนำและสถาบันอื่น

"บริษัทเราเคยรับเด็กราชภัฎนะ แต่ยอมรับว่าฝีมือเค้าสู้เด็กสถาบันชั้นนำไม่ได้
หลังๆ เลยไม่ค่อยรับแล้ว"
   
      HR ทุกคนที่ถูกถามว่า ฝีมือการทำงานระหว่างเด็กสถาบันชั้นนำกับเด็กราชภัฎเหมือนหรือต่างกันไหม? ทุกคนล้วนแต่ตอบเหมือนกันว่า "ต่างกันอย่างชัดเจน" โดยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เด็กที่จบสถาบันชั้นนำ จะมีภาวะการเป็นผู้นำสูง มีแนวคิดที่น่าสนใจ เรียนรู้ไว พัฒนาได้ไกล มีไหวพริบ คิดเป็นระบบ และภาษาอังกฤษค่อนข้างดีถึงดีมาก เพราะเค้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนเก่งเยอะ จึงมีโอกาสซึมซับสิ่งต่างๆ ติดตัวมาด้วย หากนำผลงานมาเทียบกัน เด็กที่จบสถาบันชั้นนำจะทำงานได้ดีกว่าอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้แปลว่า เด็กราชภัฏจะไม่เก่งไปซะทุกคน มีบางคนที่ขยันและพัฒนาตัวเองจนเก่งมากๆ เหมือนกัน
     
      และนั่นไม่ได้แปลว่า เด็กสถาบันดังจะเก่งไปหมดซะทุกคน เพราะบางคนเก่งวิชาการ แต่พูดไม่รู้เรื่อง ทำงานกับคนอื่นยาก สื่อสารหรือเข้าสังคมไม่เป็น สุดท้ายก็ต้องลาออกไปหรือถูกตัดสินให้ไม่ผ่านโปร ดังนั้นควรจะต้องเก่งทั้งวิชาการและการสื่อสารปรับตัว
     
       "ความวินัย ความอดทน และความขยัน เป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับสถาบัน" นี่คือสิ่งที่ HR ทุกคนตอบเหมือนกัน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ ต่อให้จบจากสถาบันระดับโลก ก็คงไปต่อได้ไม่ไกลนัก
     
       นอกจากนี้ HR ที่ให้สัมภาษณ์ มีความเห็นเหมือนกันว่า ไม่ว่าภายในบริษัทจะมีการคัดเลือกคนจากสถาบันหรือไม่ มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผยแก่คนนอก เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์บริษัทดูไม่ดี


แม้เป็นสถาบันรัฐเหมือนกัน ก็ถูกจัดอันดับเหมือนกัน

       นอกจากจะมีการแบ่งมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้ว ตัวมหาวิทยาลัยรัฐเองก็ถูกแบ่งเกรดอีก โดยมากมักขึ้นอยู่กับสาขาหรือแผนกที่จะรับด้วย 
     
       HR ที่เคยมีประสบการณ์จากกลุ่มปิโตรเคมี และอาหารและเครื่องดื่มเปิดเผยว่า "หากเป็นสายวิศวะ TOP3 ที่จะมองหาก่อนคือ จุฬาฯ ลาดกระบัง และพระนครเหนือ หากเป็นสายบริหาร จะเป็นจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ และเอแบค ที่สำคัญคือ เรานับแต่วิทยาเขตหลักที่มีชื่อเสียงที่สุด"
     
       ส่วน HR บริษัทไอทีแห่งหนึ่งให้ข้อมูลว่า "ถ้าให้แบ่งตามระดับ ระดับ 1 คือจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ระดับ 2 คือเกษตรศาสตร์ ลาดกระบัง ระดับ 2.5 คือมหิดล ระดับ 3 คือศิลปากร บางมด มศว ส่วนเอกชนและราชภัฏให้อันดับ 4 เหมือนกันทั้งคู่ยกเว้นเอแบค"
     
       และไม่ใช่แค่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย แต่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศไว้เหมือนกัน พูดกันตามตรงคือ มหาวิทยาลัยในเมืองนอกบางแห่งไม่ได้เข้ายากเย็น มีเงินก็เรียนจบได้ ในหมู่ HR บริษัทจะรู้กันว่ามียูไหนบ้าง


ความในใจจากเด็กเรียนราชภัฏ

       ทำไมถึงเรียนราชภัฎ?  คำถามที่คนส่วนมากอาจไม่ได้สงสัย แต่เด็กเรียนราชภัฏบางคนอยากเล่าให้ฟัง น้องคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดอธิบายว่า "ตอนมัธยม ตนมีผลการเรียนค่อนข้างดี ระดับท็อปของห้อง แต่ไม่สะดวกเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยดังในกรุงเทพ เพราะไม่อยากจากบ้าน พ่อแม่มีอายุมากแล้ว กลัวไม่มีคนดูแล จึงรู้สึกสบายใจกว่าที่จะเรียนใกล้บ้านตัวเองเหมือนเดิม รวมถึงคิดว่า หากราชภัฎไม่ดีจริง คงถูกสั่งปิดไปหมดแล้ว ถ้าหลักสูตรได้รับการรับรอง ยังไงก็น่าจะโอเค และคนรู้จักหลายคนที่จบราชภัฏก็ไม่ได้ตกงานแต่อย่างใด"
     
      อีกหนึ่งความเห็นที่น่าสนใจมากจากรุ่นพี่คนหนึ่งที่เรียนจบจากราชภัฏในกรุงเทพ แต่เคยเป็นถึงหัวหน้าทีมโปรแกรมเมอร์ในบริษัทไอทีชื่อดังแห่งหนึ่ง ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า "การที่บริษัทจะไม่เลือกรับเด็กจบราชภัฎก็เป็นสิ่งเข้าใจได้ เพราะจากประสบการณ์ เคยเห็นเพื่อนบางคนที่จบด้วยเกรด 4.00 แต่ทำอะไรแทบไม่ได้เลย สำหรับตนนั้น ยอมรับว่าเริ่มรับรู้ถึงความลำบากนี้ตั้งแต่ตอนฝึกงาน เพราะบางบริษัทไม่รับเด็กราชภัฎมาฝึกงาน โชคดีที่ระหว่างเรียน ได้มีโอกาสทำจ๊อบพิเศษเยอะมาก จึงเก็บเป็นพอร์ตฟอลิโอ ดังนั้นเวลาไปสมัครงานที่ไหน อย่ายื่นแค่เรซูเม่ ให้ส่งผลงานที่เคยทำไปเยอะๆ จะมีโอกาสมากกว่าแน่นอน และเมื่อเข้ามาทำงาน ต้องเก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อไปสมัครงานที่ต่อๆ ไป ส่วนมากเค้าไม่ค่อยสนแล้วว่าจบจากไหน เค้าจะดูว่าเคยทำอะไรมามากกว่า"


อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง คือหนทางสู่ความสำเร็จ

        สุดท้ายและท้ายสุด ไม่ว่าน้องๆ จะกำลังเรียนอยู่ในสถาบันไหน ในไทยหรือในต่างประเทศ เหล่า HR ฝากข้อคิดดีๆ ไว้ให้แก่น้องๆ ดังนี้

       1. นักธุรกิจระดับโลกบางคนไม่ได้เรียนสูง ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยดัง แต่พวกเขามีความเก่งของตัวเองและมีพรสวรรค์ที่ชัดเจนมาก ดังนั้นหาให้เจอว่าเราชอบหรือเก่งอะไร แล้วต่อยอดให้สุด
       2. ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน ขอให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจให้มากที่สุด และหาโอกาสสะสมประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ช่วงวัยเรียน จะช่วยพัฒนาความสามารถได้ไวมาก
       3. ขยัน อดทน อย่าเกี่ยงงานยาก อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว คือกุญแจหลักสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จ
       4. ภาษาอังกฤษคือใบเบิกทางที่สำคัญมาก พัฒนาซะ


     
      แม้เหล่า HR ทั้งหมดจะเห็นไปทางเดียวกันว่า ชื่อสถาบันมีผลต่อการรับเข้าทำงานแน่นอน แต่สุดท้ายแล้ว คำถามนี้ยังคงเป็นคำถามปลายเปิดที่ไม่มีถูกผิดอยู่ดี สิ่งที่น่าสนใจคือ อาจจะต้องมีการทบทวนหลักสูตรของสถาบันบางแห่งอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า บัณฑิตที่จบไปจะได้รับองค์ความรู้เหมาะแก่การนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และเมื่อถึงวันนั้น ประโยคที่ว่า "เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน" อาจจะเป็นประโยคที่หลายคนยอมรับเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้
สายสืบเด็กดี

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ตามนั้น 27 ม.ค. 61 20:37 น. 3

ก็เป็นเรื่องปกติ

ไม่มีอะไรน่าแปลกใจ

ประเทศไหนเขาก็ดูสถาบันทั้งนั้น

ใครที่เรียนสถาบันที่มีชื่อเสียงน้อย

ก็ต้องพยายามไขว่คว้าหาความรู้ให้มากๆ และสร้างจุดขายของตัวเองให้ได้



0
กำลังโหลด
heine 31 ม.ค. 61 12:28 น. 9

ต้องแยกเรื่องต้นทุนทางสังคม กับคุณภาพการศึกษาออกจากกัน

บางคนก็ใช้คำว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน มาปลอบใจคนที่โอกาสน้อยกว่า


ความเก่งมันก็สะสมกันมาตั้งแต่เด็ก รวยกว่าก็ได้เรียนอะไรเยอะกว่า เข้าถึงความรู้ง่ายกว่า มีเวลามากกว่า

แต่ถึงยังไงก็ต้องยอมรับ ว่าสถานศึกษาแต่ละที่ให้ความรู้ต่างกัน แค่ม.ปลายก็ต่างกันแล้ว ไม่ต้องถึงมหาลัยหรอก


แถมในประเทศที่เจริญแล้ว การแบ่งชนชั้นมหาลัยนี่ปกติมาก ชัดกว่าไทยอีก

อย่างเมกามีแยกเป็น tier1/2/3 ของไทยยังไม่มีเลย

1
กำลังโหลด
ต้นหอมสีขาว Member 27 ม.ค. 61 18:55 น. 2

เราว่าก็เรื่องปกตินะ แบบ ถึงจะพูดกันแบบว่าไม่ว่าคุณจะเรียนที่ไหนก็เหมื่อนกันแหละ ทุกมหาลัยมันก็ดีเหมือนกันแหละ อะไรต่างๆนาๆ แต่สุดท้ายพอถึงเวลานั้นจริงๆแล้วคนที่จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียง ท็อปฮิตก็จะมีโอกาศมากกว่าคนอื่นเค้า

0
กำลังโหลด
DararaSami Member 29 ม.ค. 61 02:11 น. 7

เห็นใจคนที่อยากจะเก่ง อยากจะดี อย่างคนอื่นเขานะ


ทำไมล่ะ? .. เพราะเราก็อยู่ในจุดนั้นไง


เราพยายามอย่างมากที่จะเรียนเรื่องง่ายๆ(ของคนอื่น ) แต่มันช่างยากสำหรับเรา


ปากกัดตีนถีบ หามรุ่งหามค่ำ น้ำตาไหลเป็นเลือด เดินออกถนนแทบวูบลงไปกองกับพื้นให้รถเหยียบทุกวัน


แต่มันก็ทำไม่ได้อย่างเขาทุกที


จะโทษตัวเองที่ไม่พยายามก็คงไม่ได้ จะหาว่าเป็นเวรเป็นกรรมหลายคนคงจะหัวเราะเรา


เพราะเราเกิดมามีต้นทุนไม่เท่าคนอื่น

ถ้าเลือกเกิดได้ เราคงเลือกเป็นอัจฉริยะ ที่เรียนรู้ได้เร็ว ทำได้ คิดเป็น


แต่ก็ต้องจำใจต้องเป็นคนชั้นล่างของสังคม ที่คนข้างบนเลือกจะปฏิเสธเราได้


ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร อยากให้ทุกคนที่มีความมุ่งมั่นและพยายามจำไว้ว่า "เราอยู่กับปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับวันพรุ่งนี้" อย่าทำร้ายตัวเองด้วยความคิดโง่ๆ และ "ทำสิ่งที่เราเป็นอยู่ให้ดีที่สุด" อย่าหยุด อย่ายั้ง ตั้งใจ และอดทน


สักวันต้องมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับเรา



0
กำลังโหลด
jjjjjjj 8 เม.ย. 63 15:26 น. 15

ผิดที่การวางแนวทางแต่แรกนะ ถ้ายังคงความเป้นสถาบันราชภัฏผลิดครูแบบเดิม ก็มีชื่อเสียงเป้นที่ยอมรับ แต่นี่ต่างพากันสถาปนาตัวเองเป็นมหาวิทยาลัย พยายามอุ้มศักดิ์ศรีฐานะของมหาวิทยาลัย ด้วยการเปิดสอนคณะอื่นๆ แล้วก็ได้แต่เด็กที่ไม่เก่งมาเรียน ครูก็สอนแบบจับฉ่ายไปวันๆ ไม่ให้กันตก รึรีไท มันก็เปนวงจรวนมาทำร้ายตัวเองไปเรื่อยๆ มันผิดที่ผู้ใหญ่ เหนแก่ประโยชน์ส่วนตนของพวกพ้อง เอาคำว่า เพื่อโอกาสทางการศึกษามาอ้าง จิงๆแล้วล้วนทำเพราะเงินเพราะตำแหน่งตัวเองเฉยๆเปิดหลักสูตรมั่วๆแล้วหลอกเด็กไปเรียน เด็ก 18 19ปีมันยังไม่รู้ประสีประสาหรอก สิ่งที่ถูกต้องที่สุดคือ ราชภัฏไม่ความเป้นมหาลัย ปล่อยให้การเรียนมหาลัยเป้นการสอบแข่งขันกันเข้าแบบแต่ก่อน ใครสอบไม่ได้ก็ไม่ต้องเรียน คนที่จะเรียนได้คือคนที่มีความรู้ความสามารถจิงๆ คำว่าปริญญาถึงจะศักดิ์สิทธิ์ เหมือน40-50ปีก่อนที่ใครจบปริญญาได้งานดีๆ แต่ด้วยกลยุทธ์ของราาชภัฏ มเอกชน ราาชมงคล ที่เน้นปริมาณเพื่อเงินล่อเลี้ยง มหาลัยตัวเอง ได้ทำการเปิดโรงงานผลิต ใบปริญญา เกรดจีนแดง ออกมาเป้นจำนวนมาก คนเรียนยังเด็กเขาไม่รู้ไม่ผิดหรอก ที่ผิดคือพวกแก่ๆที่เหนแก่ได้ นี่ละ ที่ทำเรื่องพวกนี้ขึ้นมา จนนำมาสู่เรื่องราวทุกวันนี้

0
กำลังโหลด

22 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กิ๊ก 27 ม.ค. 61 16:30 น. 1-1

เหตุผลนี้ไม่ใช่แค่ม.ที่เป็นข่าวนะ ม.อื่นๆก็มีสิทธิโดนแบนเพราะเหตุผลนี้เช่นเดียวกันค่ะ พี่ๆรุ่นก่อนๆที่จบไปแล้วไปทำงาน/ฝึกงานก็ต้องนึกถึงเรื่องนี้ด้วยเวลาทำอะไร ชื่อสถาบันดีๆอาจช่วยให้ผ่านด่านHR แต่ถ้าหัวหน้าสายงานโดยตรงแบนม.นั้นๆแล้ว ลำบากแน่ๆค่ะ

0
กำลังโหลด
ต้นหอมสีขาว Member 27 ม.ค. 61 18:55 น. 2

เราว่าก็เรื่องปกตินะ แบบ ถึงจะพูดกันแบบว่าไม่ว่าคุณจะเรียนที่ไหนก็เหมื่อนกันแหละ ทุกมหาลัยมันก็ดีเหมือนกันแหละ อะไรต่างๆนาๆ แต่สุดท้ายพอถึงเวลานั้นจริงๆแล้วคนที่จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียง ท็อปฮิตก็จะมีโอกาศมากกว่าคนอื่นเค้า

0
กำลังโหลด
ตามนั้น 27 ม.ค. 61 20:37 น. 3

ก็เป็นเรื่องปกติ

ไม่มีอะไรน่าแปลกใจ

ประเทศไหนเขาก็ดูสถาบันทั้งนั้น

ใครที่เรียนสถาบันที่มีชื่อเสียงน้อย

ก็ต้องพยายามไขว่คว้าหาความรู้ให้มากๆ และสร้างจุดขายของตัวเองให้ได้



0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
fieole7739 Member 28 ม.ค. 61 01:45 น. 5

สรุปสั่นๆ ขอแฟ้มประวัติความ

ประพฤ และ การทำงาน กับ

ประวัติในสถาบันการศึกษา

สินะค่ะ ถ้าจะให้ดีสาบานกับ

รูปเหมียนหลวงพ่อเงิน ทำไม

ต้องหลวงพ่อเงิน ลองไปค้นหา

ประวัติของพ่อเงินเอาเองนะคะ

0
กำลังโหลด
Tyro Member 28 ม.ค. 61 20:39 น. 6

จบใหม่ๆ เขาก็ดูที่สถาบันเพราะเขายังไม่เห็นผลงาน แต่ถ้าเวลาผ่านไป เขาจะพิจารณาจากประสบการณ์ของคุณแทบไม่เกี่ยวกับสาบันเลยค่ะ

0
กำลังโหลด
DararaSami Member 29 ม.ค. 61 02:11 น. 7

เห็นใจคนที่อยากจะเก่ง อยากจะดี อย่างคนอื่นเขานะ


ทำไมล่ะ? .. เพราะเราก็อยู่ในจุดนั้นไง


เราพยายามอย่างมากที่จะเรียนเรื่องง่ายๆ(ของคนอื่น ) แต่มันช่างยากสำหรับเรา


ปากกัดตีนถีบ หามรุ่งหามค่ำ น้ำตาไหลเป็นเลือด เดินออกถนนแทบวูบลงไปกองกับพื้นให้รถเหยียบทุกวัน


แต่มันก็ทำไม่ได้อย่างเขาทุกที


จะโทษตัวเองที่ไม่พยายามก็คงไม่ได้ จะหาว่าเป็นเวรเป็นกรรมหลายคนคงจะหัวเราะเรา


เพราะเราเกิดมามีต้นทุนไม่เท่าคนอื่น

ถ้าเลือกเกิดได้ เราคงเลือกเป็นอัจฉริยะ ที่เรียนรู้ได้เร็ว ทำได้ คิดเป็น


แต่ก็ต้องจำใจต้องเป็นคนชั้นล่างของสังคม ที่คนข้างบนเลือกจะปฏิเสธเราได้


ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร อยากให้ทุกคนที่มีความมุ่งมั่นและพยายามจำไว้ว่า "เราอยู่กับปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับวันพรุ่งนี้" อย่าทำร้ายตัวเองด้วยความคิดโง่ๆ และ "ทำสิ่งที่เราเป็นอยู่ให้ดีที่สุด" อย่าหยุด อย่ายั้ง ตั้งใจ และอดทน


สักวันต้องมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับเรา



0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
heine 31 ม.ค. 61 12:28 น. 9

ต้องแยกเรื่องต้นทุนทางสังคม กับคุณภาพการศึกษาออกจากกัน

บางคนก็ใช้คำว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน มาปลอบใจคนที่โอกาสน้อยกว่า


ความเก่งมันก็สะสมกันมาตั้งแต่เด็ก รวยกว่าก็ได้เรียนอะไรเยอะกว่า เข้าถึงความรู้ง่ายกว่า มีเวลามากกว่า

แต่ถึงยังไงก็ต้องยอมรับ ว่าสถานศึกษาแต่ละที่ให้ความรู้ต่างกัน แค่ม.ปลายก็ต่างกันแล้ว ไม่ต้องถึงมหาลัยหรอก


แถมในประเทศที่เจริญแล้ว การแบ่งชนชั้นมหาลัยนี่ปกติมาก ชัดกว่าไทยอีก

อย่างเมกามีแยกเป็น tier1/2/3 ของไทยยังไม่มีเลย

1
กำลังโหลด
คะน้าตัวน้อยตัวนิดน่าดูยูฮูวู้ฮู Member 18 ก.พ. 61 00:29 น. 10

โลกนี้เป็นอย่างนี้แหละ แบ่งหมดทุกอย่าง จะอยู่กับมัน หรือจะหนีจากมัน

0
กำลังโหลด
เด็กลาดกระบัง 29 เม.ย. 61 14:27 น. 11

สมัยเรียนลาดกระบัง อาจารย์ที่สอนก็จบราชภัฏ ก็มาสอนตั้งหลายคน เรายังได้แชมป์โลกหุ่นยนต์ แถมยังเก่งปฏิบัติ

0
กำลังโหลด
ประเสริฐ 12 มิ.ย. 61 07:58 น. 12

ในฐานะที่ผมก็จบจาก ม.เอกชน โนเนมย่านลาดพร้าว แต่จบมาแล้วทุกคนในรุ่นก็ได้งานทำทุกคน ผมคิดว่าอยู่ที่ความสามารถมากกว่าสถาบัน

ในรุ่นหลายคนก็เป็นเจ้าของกิจการกันเกือบทั้งหมด มีเพื่อนหลายต่อหลายคนที่จบ ม.ที่มีชื่อเสียง ทุกวันนี้ยังเป็นลูกจ้างอยู่เลยก็มีมากมาย

ฉะนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราเองมากกว่า

0
กำลังโหลด
kitsadadepardit5 Member 21 ธ.ค. 61 19:28 น. 13

ไม่เสมอไปครับอยู่ที่คนมากกว่า ผมจบราชฎัทจันทรเกษม ไปสมัครงานที่ไหนใครก็รับ ขึ้นกับฝีมือมากกว่าครับ ผมทำงานได้แค่ 8 ปีลาออกๆมาเปิดบริษัทตัวเอง ดีกว่ากันเยอะ

0
กำลังโหลด
หนักใจ 8 ส.ค. 62 20:08 น. 14

ราชภัฏน่าสงสารนะ ได้แต่เด็กธรรมดาเข้าไปเรียนชื่อเสียงก็เลยเป็นอย่างที่เห็น เด็กที่เค้าฉลาดๆก็เลือก ม.ดังๆกันหมด

1
เอส 9 ก.ย. 64 16:49 น. 14-1

หนักรูกีย์ อะไร อย่างน้อย คือประสบการณ์ เเละความเป็นสไตล์ท้องถิน เช่น ภูมิปัญญาทางภาษา กล่าวคือ การใช้ภาษาท้องถิ่นเพื่อเข้าถึงนักศึกษา

0
กำลังโหลด
jjjjjjj 8 เม.ย. 63 15:26 น. 15

ผิดที่การวางแนวทางแต่แรกนะ ถ้ายังคงความเป้นสถาบันราชภัฏผลิดครูแบบเดิม ก็มีชื่อเสียงเป้นที่ยอมรับ แต่นี่ต่างพากันสถาปนาตัวเองเป็นมหาวิทยาลัย พยายามอุ้มศักดิ์ศรีฐานะของมหาวิทยาลัย ด้วยการเปิดสอนคณะอื่นๆ แล้วก็ได้แต่เด็กที่ไม่เก่งมาเรียน ครูก็สอนแบบจับฉ่ายไปวันๆ ไม่ให้กันตก รึรีไท มันก็เปนวงจรวนมาทำร้ายตัวเองไปเรื่อยๆ มันผิดที่ผู้ใหญ่ เหนแก่ประโยชน์ส่วนตนของพวกพ้อง เอาคำว่า เพื่อโอกาสทางการศึกษามาอ้าง จิงๆแล้วล้วนทำเพราะเงินเพราะตำแหน่งตัวเองเฉยๆเปิดหลักสูตรมั่วๆแล้วหลอกเด็กไปเรียน เด็ก 18 19ปีมันยังไม่รู้ประสีประสาหรอก สิ่งที่ถูกต้องที่สุดคือ ราชภัฏไม่ความเป้นมหาลัย ปล่อยให้การเรียนมหาลัยเป้นการสอบแข่งขันกันเข้าแบบแต่ก่อน ใครสอบไม่ได้ก็ไม่ต้องเรียน คนที่จะเรียนได้คือคนที่มีความรู้ความสามารถจิงๆ คำว่าปริญญาถึงจะศักดิ์สิทธิ์ เหมือน40-50ปีก่อนที่ใครจบปริญญาได้งานดีๆ แต่ด้วยกลยุทธ์ของราาชภัฏ มเอกชน ราาชมงคล ที่เน้นปริมาณเพื่อเงินล่อเลี้ยง มหาลัยตัวเอง ได้ทำการเปิดโรงงานผลิต ใบปริญญา เกรดจีนแดง ออกมาเป้นจำนวนมาก คนเรียนยังเด็กเขาไม่รู้ไม่ผิดหรอก ที่ผิดคือพวกแก่ๆที่เหนแก่ได้ นี่ละ ที่ทำเรื่องพวกนี้ขึ้นมา จนนำมาสู่เรื่องราวทุกวันนี้

0
กำลังโหลด
Sad 7 ก.ย. 63 21:21 น. 16-1

เอาตรงๆ นะครับ การเรียนจบได้ยากมันมีที่มาได้หลัก ๆ จากสองสาเหตุ

1. หลักสูตรยาก

2. คนเรียนคุณภาพต่ำ


จากประสบการณ์ของผมทั้งจากสมัยที่เคยเป็น TA ให้อาจารย์ที่ไปรับสอนพิเศษที่ราชภัฏอันดับต้นๆ เเละจากสมัยออกมาทำงานเองเเล้วได้ทำงานกับเด็กราชภัฏ ผมฟันธงได้เลยครับว่าเป็นสาเหตุที่ 2

0
กำลังโหลด
Daw 21 เม.ย. 63 11:11 น. 17

อยากให้มีอาจารย์จาก ม.อื่นๆ เช่น จุฬา มศว มาสอน ใน ม.ราชภัฏ เหมือน ม.ราม ดึง อาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์ มาสอน

1
sad 7 ก.ย. 63 22:49 น. 17-1

จริงๆ มีนะครับ เเต่ไม่ได้ประโยชน์อะไรหรอกครับ

อย่างอาจารย์ผมที่ มธ ตอนที่ไปสอนพิเศษที่ราชภัฏอันดับต้นๆ ในกรุงเทพ - วิชาเดียวกันกับที่สอนที่ มธ เลย (พอดีผมได้ A วิชานี้ ปีต่อมาอ.เลยให้ลองไปเป็น TA ให้ทั้งคลาสที่ มธ เเละที่ราชภัฏ) อาจารย์ก็ต้องปรับลดเนื้อหา/ความเข้มข้นลงมาหลายขั้นเลยครับ


ตอนช่วยอาจารย์ทำ Syllabus - พวกบทความวิชาการ / Journals ที่ให้นศอ่านที่ มธ พอมาที่ราชภัฏ อาจารย์ให้เอาพวกบทความที่อ่านยาก ๆ รวมถึงพวกบทความที่เป็นภาษาอังกฤษออกให้หมด


อาจารย์เล่าว่าตอนมาสอนเเรก ๆ เเกพยายามจะสอนด้วยมาตรฐานเดียวกันกับ มธ เเต่สุดท้ายคือทั้งคลาสไม่มีใครอ่านรู้เรื่อง (เเถมบางคนไม่คิดจะอ่านอีกต่างหาก) สุดท้ายผู้บริหารคณะต้องมาขอให้เเก่ปล่อยๆ เกรดไปให้เด็กผ่านๆ ไป (เเบบเกรดสวยอีกต่างหาก)



0
กำลังโหลด
เจเจ 9 ก.ย. 64 16:46 น. 18

ไม่จำเป็นต้องสมัครที่นั่น เมื่อเขาไม่รับ นศ. ม.ราชภัฏ ซึ่งเป็น มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เกียรติคุณ ศักดิ์เเละศรี ยังมีอยู่ ที่ตัวของเรา เองหาใช่คนที่สมัครบริษัทนั้นจะไปได้ดี เเถมๆ ยังมีหนี้ เเละใช้ชีวิตอย่างประมาทเกินก็เป็นไปได้ เพราะติดความเว่อร์ วัง #ทีมมอ ราชภัฏ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
ยุ้ย 17 พ.ย. 65 22:49 น. 20

เราเป็นคนหนึ่งที่เรียนมหาลัยเอกชน(ม.กรุงเทพ) และก็เคยเรียนราชภัฏสวนสุนันทา เราจะเล่าให้ฟังจากประสบการณ์ตรงเลยแบบไม่ต้องมาโลกสวย ที่บอกว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เราเรียน ม.กรุงเทพ ในคณะบริหาร ซึ่งเรียนวิชาเกี่ยวกับตัวเลขมากมายทั้ง บัญชี การเงิน ภาษี แม็ทช์ แคลคูลัส บอกตรงๆแต่ะตัวโครตยากพอเรียนไปได้1ปี ต้องบอกกับตัวเองเลยว่าไปต่อไม่ไหวแล้ว และสรุปด้วยการโดนรีไทร์ ได้เกรด 1.7 เพื่อนๆเราโดนรีไทร์กันเยอะ ประมาณ20-30% ขนาดตั้งใจและอ่านหนังสือแล้วแต่มันยากเกินกว่าที่เราจะเรียน เลยซิ่วมาที่สวนสุนันฯ ปรากฏว่าเเราเรียนได้เกรด3กว่าๆ คือมันเรียนง่ายจริงๆ เรียนๆเล่นๆ ไม่เครียด มันง่ายจนรู้สึกแปลกๆ ตอนจบออกมาเราได้เกรด3กว่าๆ แต่ก็ไม่ค่อยมีที่ไหนรับทำงาน ชื่อสถาบันมีผลจริงๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด