สวัสดีค่ะ ถ้าให้พูดถึงวิชาที่เด็กๆ โอดครวญว่าจำใจต้องเรียนสุดๆ "IS Independent Study หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ" ต้องติด 1 ในนั้นแน่ หลายคนให้คำนิยามว่าเป็น 1 ในตัวการที่ทำให้โลกร้อน! จิตตก! ร่างป่วย! ที่สุดในสามโลก แต่จะน่ากลัวขนาดนั้นจริงๆ เหรอ?


 
          วันนี้พี่เมก้าขอพาน้องๆ ไปสืบเสาะ "สิ่งที่จะได้เจอในวิชา IS พร้อมวิธีเอาตัวรอด" ค่ะ เผื่อเปิดเทอมมาพบกับความสะพรึงจะได้รับมือถูก แต่อย่าพูดไป วิชานี้มีแฟนคลับอยู่จำนวนไม่น้อยเลยนะคะ น่าจะสนุกพอตัวอยู่ ถ้าไม่เชื่อ ตามไปพิสูจน์พร้อมกันเลย

วิชา IS เรียนอะไรนะ?
           IS ที่ทุกคนสงสัยว่า "เรียนไปทำเพื่อ?" ย่อมาจาก Independent Study หรือ วิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระค่ะ กระทรวงศึกษาธิการต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงออกแบบหลักสูตรเพื่อยกระดับโรงเรียนชั้นนำให้เป็นโรงเรียนที่ดีมีมาตรฐานเทียบเคียงสากล (World - class standard school) IS นี่ก็ถือเป็นหนึ่งในวิชาที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนของน้องๆ ได้ ดูจากชื่อวิชาเลยค่ะ เปิดกว้างให้ค้นคว้าความรู้ที่สนใจได้อย่างอิสระ โดยแบ่งออกเป็น 3 สาระ

           IS 1 - การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) ฝึกให้กำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้า คิดสร้างองค์ความรู้
           IS 2 - การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) นำความรู้มาถ่ายทอดแนวคิด ผ่านวิธีการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ
           IS 3 - การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) ประยุกต์องค์ความรู้สู่การปฎิบัติ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ


ผู้โชคดีที่ได้เรียน IS


 
           ตามหลักสูตร IS จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมที่ได้เรียนกันตั้งแต่ชั้นประถมปลาย (ป.4 - 6) มัธยมต้น (ม.1 - 3) และมัธยมปลาย (ม.4 - 6) เลยนะคะ โดยเลเวลความยาก-ง่ายในการบูรณาการวิชาต่างๆ เพื่อเทรนความรู้ให้น้องๆ ก็จะแตกต่างกันไปตามระดับชั้นของผู้เรียน และการจัดการหลักสูตรของโรงเรียนนั้นๆ (การให้หน่วยกิตก็เช่นกันค่ะ) แต่ไม่ต้องกลัวว่าน้องๆ จะเจอ IS ทุกปี เพราะแต่ละช่วงชั้นประถม ม.ต้น ม.ปลาย โรงเรียนเลือกจัดสอนได้เพียงชั้นปีใดปีหนึ่งเท่านั้น เช่น
 
           นาย Dek-D ตอนอยู่ ม.ต้น เรียน IS 1 ตอน ม.1 เทอม 1 IS 2 + IS 3 ตอน ม.1 เทอม 2
           นาย Dek-D ตอนอยู่ ม.ปลาย เรียน IS 1 ตอน ม.5 เทอม 1 IS 2 + IS 3 ตอน ม.5 เทอม 2  

           IS 3 ส่วนใหญ่จะไปอยู่เทอม 2 ในคาบกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เพื่อให้นำความรู้ตอนเรียน IS 1 และ 2 มาประยุกต์ใช้จริงได้ค่ะ ส่วนเรื่องวิชาที่นำมาบูรณาการกับ IS ขอบอกว่าแล้วแต่ดวงของน้องๆ เลย บาง รร. เป็น IS อังกฤษ ต้องเขียนรายงานเป็นอังกฤษล้วนนะคะ บาง รร. เป็น IS วิทย์ ลุ้นกับผลการทดลองไปอีก ที่พีคคือ IS ภาษาอาเซียนค่ะ ปรับตัวเข้ากับ AEC สุดๆ เทพไปไหน!


หน่วยกิตเท่า "มดงาน" สกิลงานเท่า "พญามดยักษ์"
           เสียงจากน้องๆ ที่เคยสู้รบกับ IS มาแล้ว บอกว่านี่คืองานวิจัยขนาดย่อมที่โหดมากกก! หน่วยกิตระบุไว้ว่าเก็บ 1 - 1.5 หน่วยกิต (บาง รร. ก็ไม่คิดเกรด มีแค่ผ่านกับไม่ผ่าน) แต่สเกลงานระดับบิ๊กบอส! แถมยังมีครูมาคุม เอ้ย! เฝ้าระวังอีกต่างหาก ทั้งที่ชื่อบอกว่าค้นคว้าอิสระ ว่าแต่ทำไมถึงดูอันตรายขนาดนั้น พี่เมก้าก็ไปซาวน์เสียงมาให้น้องๆ แล้วค่ะ

ยากตั้งแต่เสนอหัวข้อ
           จุดเริ่มต้นของ IS คือการตั้งประเด็นที่น้องๆ อยากศึกษาจากความรู้ล้านแปด เน้นว่าต้องมีประโยชน์ แล้วก็เหมือนโชคชะตากลั่นแกล้ง เพราะเสนอไปครูไม่ไฟเขียวสักทีค่ะ เสนอไปเป็น 10 ไม่ผ่าน (กุมขมับ) ยิ่งครูต้องการหัวข้อที่ลึก บางคนถึงกับโอดครวญเลยนะ "คณิตที่ว่ายากยังต้องชิดซ้ายให้ความโหด" แถมครูบาง รร. ยังน่ารักส่งความกล้าท้าตายด้วยการให้เด็กๆ เขียนรายงานส่งภายใน 2 วันด้วย O_O!

เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว
           ได้หัวข้อมาแล้วก็ต้องมาออกแบบเครื่องมือ วางแผน และจัดเก็บข้อมูลต่อ ซึ่งแต่ละขั้นตอนน้องๆ บาง รร. บอกว่าต้องมีเขียนรายงานความคืบหน้าส่งครูอยู่เรื่อยๆ ถ้าไม่เวิร์กก็โดนสั่งแก้ค่ะ แก้กันจนหน้าแห้ง โดนวิจารณ์ตรงไปทีถึงกับกระอัก แต่ทั้งนี้ก็เพื่อเซฟตัวเองนะคะ เพราะถ้าเกิดข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งผิดพลาดไป ตอนวิเคราะห์คงท้อแท้ไปอีก


 
           มาดูขั้นตอนเขียนรายงานการศึกษาบ้าง บาง รร. ไม่มีความต่างจากตอนทำโครงงานวิจัยเลยค่ะ ต้องมีบทคัดย่อ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ปฏิทินและวิธีดำเนินงาน สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล อ้างอิง ทั้งหมดนี้กำหนดความยาวของเนื้อหาด้วยนะคะ ม.ต้น 2,500 คำไทย ม.ปลาย 4,000 คำไทย 2,500 คำอังกฤษ น้องบางคนบอกว่าครูตรวจเล่มละเอียดจนถึงบรรณานุกรมเลย

แตกคอกับมายเฟรนด์
           วิชานี้ไม่ปล่อยให้เราเคว้งค่ะ บ้างก็ให้ทำรายงานเป็นกลุ่ม บ้างก็ทำยกห้อง กอดคอกับเพื่อนๆ เสี่ยงตายไปด้วยกัน แต่! ระหว่างทางก็มีดราม่าเรียกน้ำตาไปเยอะ ไม่ว่าจะความคิดไม่ตรงกัน สนใจกันคนละหัวข้อ เกี่ยงงานกัน ทุ่มเทไม่เท่ากัน ใช้เวลาเยียวยากันไป

ตัวการทำให้โลกร้อน
           ว่ากันว่า IS ทำให้เปลืองกระดาษมาก โดยเฉพาะขั้นตอนของการแก้งาน น้องๆ บอกว่าครูขีดฆ่าด้วยปากกาซะแดงเถือก แก้ 1 รอบ ก็ต้องกลับไปปริ้นท์มาส่งใหม่ แก้เป็น 10 รอบก็ต้องเสียกระดาษมากเท่านั้น ยังไม่รวมเอกสารที่ใช้อ้างอิงและใบงานอีกกองพะเนิน  

           แต่ร่ายความร้ายมาซะขนาดนี้ ข้อดีของ IS ก็มีอยู่เยอะมากเหมือนกันนะคะ โดยเฉพาะธรรมชาติของรายวิชานี้ ที่ค่อยๆ สอนให้น้องๆ เป็นนักวิจัยตั้งแต่ตัวยังน้อยๆ เข้ามหา'ลัยไปจะได้มีทักษะทางวิชาการติดตัว อีกอย่าง IS ถ้าได้ศึกษาค้นคว้าสิ่งที่ตัวเองชอบจริงๆ แล้วนำไปต่อยอดทำประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวมได้ นั่นถือว่าประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงเลยละค่ะ แล้วจะทำยังไงให้เอาตัวรอดในวิชา IS ได้?


วิธีเรียน IS ให้เวิร์คสุดๆ

พิถีพิถันตั้งแต่เลือกประเด็น
           ประเด็นปัญหาก็เหมือนเราเลือกวัตถุดิบอะค่ะน้องๆ ส่วนใหญ่ที่หัวข้อไม่ผ่านกัน น่าจะเริ่มมาตั้งแต่แรกคือยังไม่เข้าใจจุดประสงค์ของรายวิชา ฟังครูสอนไม่เข้าใจ เก็บรายละเอียดได้ไม่ชัดเจน ฯลฯ แต่ข้อควรระวังเวลากำหนดประเด็น ก็มีหลักการเดียวกันคือ "ประเด็นปัญหาต้องไม่กำกวมหรือกว้างจนเกินไป ต้องหาข้อยุติ และนำข้อมูลมาตรวจสอบวัดผลได้" รวมๆ ก็ควรเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ไม่ลึกเกินระยะเวลา และความสามารถที่มีอยู่ค่ะ

           ตัวอย่างหัวข้อที่บกพร่อง เช่น "สำรวจการเข้าแถวของนักเรียน ม.5" ครูต้องถามแน่ๆ ว่า "สำรวจไปทำไม ด้วยวิธีใด ได้ประโยชน์อะไร ทำไมต้องเลือก ม.5 เป็นกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตอยู่ตรงไหน" ยาวไปจ้า แต่ถ้าระบุให้แคบกว่านี้ เช่น "ศึกษาวินัยการเข้าแถวทำกิจกรรมหน้าเสาธงของนักเรียน ม.5" ครูก็จะมองเห็นแล้วว่า เรากำลังสนใจพฤติกรรมของเด็ก ม.5 เรื่องวินัยการเข้าแถว อาจเพราะเล็งเห็นปัญหาอะไรก็ว่ากันไป

           ส่วนใหญ่ IS ที่น้องๆ เรียน คุณครูอาจจะไม่ได้เน้นประเด็นปัญหาที่เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น น่าจะเป็นการนำหัวข้อที่มีคนทำไว้มาต่อยอดมากกว่า ถ้าค้นคว้าหรือมองปัญหาจากสังคมรอบตัวแล้วยังไม่พบสิ่งที่สนใจ ก็ลองเสิร์ชข้อมูลตามแหล่งรวบรวมงานวิจัย แล้วศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ค่ะ เช่น
Thailis Thaidissertations E-Thesis ม.มหิดล E-Thesis ม.เชียงใหม่ หรือถ้าได้รับโจทย์เป็นหัวข้อทางวิทย์ ก็ลองหาไอเดียจากเว็บที่ชอบรวม Science Topics for Research ได้

คิดให้เยอะไว้ก่อน
           กอดคอกับเพื่อนแล้วสุมหัวร่วมด้วยช่วยกันคิดเลยค่ะน้องๆ เราคิดอยู่คนเดียวได้ประเด็นหลัก 1 อย่าง เพื่อนมาช่วยกันตบประเด็นอาจจะได้มาหลายสิบหัวข้อก็ได้ เราคิดกว้างๆ ออกนอกกรอบให้เยอะไว้ก่อน อะไรมากไปยังพอลดได้ ดีกว่าขาด เชื่อสิว่าได้ประเด็นมาก็เพราะช่วยกันถกเถียงนี่แหละ

วางแผนสำรอง


 
           นอกจากคิดให้เยอะแล้ว อยากให้น้องๆ ช่วยกันมองปัญหาเผื่อไว้ด้วย ว่าถ้าทำเรื่องนี้ เราจะเจออุปสรรคอะไรบ้าง (อุปสรรคใหญ่ก็คุณครูนี่แหละค่ะ ช่วยกันคิดไว้ว่า ถ้าทำเรื่องนี้ ครูถามมาแบบนี้ เราจะเลี้ยวไปทางไหน) ช่วยกันวางแผนและเตรียมวิธีรับมือไว้ มันเป็นวิธีป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดอย่างง่ายที่สุดเลยนะคะ   

ใส่ใจรายละเอียด
           อีกสิ่งสำคัญของการทำ IS คือรูปแบบในการเขียนงานค่ะ แต่ละโรงเรียนอาจจะมีฟอร์มไม่เหมือนกัน สิ่งที่อยากให้น้องๆ ระวังเป็นอันดับแรกคือ "หัวข้อใหญ่ในรายงานการศึกษาต้องครบ จัดเรียงมาให้เรียบร้อย" บางคนโดนหักคะแนน เพราะหัวข้อหายไปนะ ต่อมาคือ "การจัดเรียงเนื้อหาต้องเป็นระเบียบ" ระเบียบตั้งแต่อธิบายส่วนของวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ต้องอ่านกระชับได้ใจความ เว้นวรรคดี สะกดคำถูกต้อง ตัวอักษรได้มาตรฐาน แม้กระทั่งเขียนบรรณานุกรมก็ต้องถูกตามหลักวิชาการ ใช้หลักการเดียวกับการจัดพิมพ์วิทยาพนธ์ได้ค่ะ คลิก

ทำตาม Step แบบชิลล์ๆ
           IS จะสนุกก็ต่อเมื่อน้องๆ เข้าไปปรึกษากับครูเยอะๆ ค่ะ ทุกครั้งที่เราโดนแก้ แม้จะในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ครูจะให้คำแนะนำกลับมา ซึ่งคำแนะนำนั้นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของเรามาก! ถ้าน้องๆ หนีหน้าไปลุยงานอย่างเดียว แต่ไม่ติดตามงาน ไม่ส่งรายงานความคืบหน้า พังแน่ๆ ให้คิดซะว่าความเครียด ความระทึก และสารพัดคำตำหนิมาเป็นระลอกดีกว่ามาตู้มเดียว! ช็อกตายแน่ๆ

           จากที่ว่ามาทั้งหมด IS ดูเป็นวิชาที่สอนให้น้องๆ มีความคิด มีทักษะในการทำงาน และรับมือกับปัญหาอย่างเป็นระบบมาก แม้จะทำให้เด็กๆ หลายคนแทบกระอักเลือดไปบ้าง แต่ประโยชน์ของวิชานี้ก็มีดีไม่แพ้วิชาอื่นเลยน้า สู้ต่อไปนะคะ   
พี่เมก้า
พี่เมก้า - Columnist นักข่าวสายการศึกษา ที่มีความสุขกับการแต่งฟิค อ่านฟิค เพ้อถึงยัมมี่ฟู้ดไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ABC 12 เม.ย. 61 00:24 น. 2

IS คือ กลุ่มก่อการร้ายชื่อกระฉ่อนโลก จึงไม่แปลกที่จะทำให้เด็กนักเรียน พูดถึงวิชาที่เด็กๆ โอดครวญว่าจำใจต้องเรียนสุดๆ "IS Independent Study หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ" โลกร้อน! จิตตก! ร่างป่วย! ที่สุดในสามโลก

0
กำลังโหลด
มายิ้มกันเถอะ Member 21 เม.ย. 61 09:40 น. 5

ไม่มีปัญหากับ IS หรอก แต่มีปัญหากับครูนี่แหละ...


เปลี่ยนหัวข้องานหลายครั้งเพราะครูนี่แหละ


เพิ่งมาปรับตัวได้ทีหลังว่าจะทำงานอะไรกับครูคนนี้ต้องปรับเปลี่ยนตรรกะยกแผงเพื่อเอาใจ+ทำให้ถูกจริตครูเลย เหอะ ๆ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-09.png

0
กำลังโหลด

14 ความคิดเห็น

มาม่า4.00 6 เม.ย. 61 14:22 น. 1

ถึงยากผมชอบวิชานี้ครับทำให้ผม ได้ มีองค์ความรู้จริงๆ เพราะ ยังไงก็ได้ใช้ตลอด บรูณาการได้ด้วย /

1
กำลังโหลด
ABC 12 เม.ย. 61 00:24 น. 2

IS คือ กลุ่มก่อการร้ายชื่อกระฉ่อนโลก จึงไม่แปลกที่จะทำให้เด็กนักเรียน พูดถึงวิชาที่เด็กๆ โอดครวญว่าจำใจต้องเรียนสุดๆ "IS Independent Study หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ" โลกร้อน! จิตตก! ร่างป่วย! ที่สุดในสามโลก

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
뽀로로 18 เม.ย. 61 02:24 น. 4

ISเป็นวิชาที่ผ่านยากมากกกกกยิ่งครูที่โรงเรียนเรื่องเยอะแล้วยิ่งยากเสนอกี่โครงการตอบคำถามกี่คำถามก็ไม่ผ่านแทบตายคาโครงการㅠㅠ

0
กำลังโหลด
มายิ้มกันเถอะ Member 21 เม.ย. 61 09:40 น. 5

ไม่มีปัญหากับ IS หรอก แต่มีปัญหากับครูนี่แหละ...


เปลี่ยนหัวข้องานหลายครั้งเพราะครูนี่แหละ


เพิ่งมาปรับตัวได้ทีหลังว่าจะทำงานอะไรกับครูคนนี้ต้องปรับเปลี่ยนตรรกะยกแผงเพื่อเอาใจ+ทำให้ถูกจริตครูเลย เหอะ ๆ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-09.png

0
กำลังโหลด
หงเปี้ยน Member 23 เม.ย. 61 16:25 น. 6

เป็นวิชาที่ไม่ได้ยากนะ แต่เหตุเพราะคนสอน เรื่องมากชิหายยยย อยู่แค่ม.1 เองงง อย่าทำร้ายกันสิ ให้ค้นคว้าแบบ สารในนี้มีอะไรบ้าง คุณสมบัติ ปฎิกิริยากับร่างกาย คือมันเจาะลึกเกินนนนน

0
กำลังโหลด
noterpool Member 26 เม.ย. 61 20:49 น. 7

สมัยเรียน โรงเรียนผมไม่มีครับ (ผมเป็น #dek61)

// มาโดนจริงจังก็ตอน ม.6 เทอม 2 โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชาหนึ่งในหมวดวิทย์

แต่ก็อย่างที่บอกในกระทู้ล่ะครับ ถ้ามีความละเอียด รอบคอบ รัดกุม ก็ผ่านไปได้ด้วยดี แบบค่อนข้างสบายแหละครับ ^^

0
กำลังโหลด
EEE 27 พ.ค. 61 23:32 น. 8

ISนี่ยังโอเค โรงเรียนเรานี่มีISอย่างเดียวไม่พอ มีILด้วยจ้า แล้วคือโหดกว่าIS ครูที่สอนเป็นดร.มีความเรื่องมากขั้นสุด

ป.ล.เป็นเด็ก61 ตอนนี้เรียนจบแล้วแอบมาบ่นเฉยๆ555555

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
SEAN:) Member 6 ส.ค. 64 15:32 น. 11

จริงๆ IS เป็นวิชาที่น่าเรียนมากๆ เลยนะคะ เหมือนญี่ปุ่นที่ให้ทำวิจัยอิสระตอนปิดเทอมตั้งแต่ตอนประถม อิสระก็คืออิสระจริงๆ แต่ความป่วยของ IS นี้คือการไม่ได้ตระหนักให้ความสำคัญกับตัววิชาจริงๆ เช่น ครู ผอ. หรือคนเบื้องบนที่สั่งงานลงๆ มา ไม่ได้ให้ความสำคัญ ให้ความรู้ แนวทางแก่ผู้เรียนว่าควรจะค้นคว้าหาข้อมูลแบบไหน เอาแต่สั่งให้ไปทำๆๆๆๆ มา ทำมาแล้วตรวจงานเด็กหรือไม่ก็ไม่รู้ เด็กคนไหนบังเอิญทำงานมาดีก็หยิบงานเด็กเป็นผลงานเด่น เอาหน้าเอาตากันไป เข้าใจว่าหน้าที่ครูมีหลายอย่างมากกกกกกกกกกกกกกกกกก ถ้าจะแก้ปัญหาจริงๆก็ต้องแก้ไปยันโครงสร้างเลย เฮ้อออออออออออ อาจจะนอกเรื่องไปหน่อยแต่พูดแล้วหดหู่ใจค่ะ

0
กำลังโหลด
a0803935013 Member 26 พ.ค. 66 11:17 น. 12

จริงๆครับหลายครั้งละเปลี่ยนไม่รู้กี่หัว ยิ่งIS 3 ยิ่งยาก-จะอะไรหนักหนาบ่มเยอะ เเละผมโคตรโมโหเลย


0
กำลังโหลด
จรัล Member 26 พ.ค. 66 11:35 น. 13

เป็นอะไรที่น่ารำคาญมากครับทั้งวิชาทั้งคนทุกอย่างหมดความอดทนกับวิชานี้ แก้กี่สิบรอบก็ไม่ผ่านสักที ไม่เข้าใจว่ามีทำไมเอาเวลาไปเรียนวิชาอื่นยังดีกว่าครับผมว่า

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด