ตีแผ่ชีวิตเด็ก ม.ปลาย หนังคนละม้วนกับ ม.ต้น ขนาดไหน ท้าให้มาดู!

         สวัสดีค่ะ ว่ากันว่าชีวิต ม.ปลาย ต่างจาก ม.ต้น มากถึงมากที่สุด บางคนบอกว่า ม.ต้น ชิลล์ๆ เรียนบ้าง เล่นบ้าง พอขึ้น ม.ปลาย เท่านั้นแหละ ความขยัน x10 โดดครั้งหนึ่งยังไม่กล้า งีบหลับในห้องเรียนยังรู้สึกผิด กลัวเรียนไม่ทันเพื่อน T T มันเปลี่ยนไปขนาดนั้นจริงๆ เหรอ? วันนี้เจาะลึก รร. มัธยมฯ เลยขอตีแผ่ชีวิตเด็ก ม.ปลาย ให้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าแอดวานซ์กว่า ม.ต้น แค่ไหน    
 

 
ปรับตัวสุดชีวิต!
         บางคนอาจจะรู้สึกว่า ม.ต้น ปรับตัวยากกว่าอีก จากประถมฯ มามัธยมฯ โรงเรียนใหม่ เจอเพื่อนใหม่ ไม่รู้จักใครสักคน แต่ช้าก่อน! ชีวิต ม.ปลาย ของแต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ บางคนก็ย้ายไปเรียน ม.4 ที่โรงเรียนอื่น ที่พีคกว่าคือเรากลายไปเป็นเด็กใหม่ของห้องนั้น เพื่อนเก่าๆ รู้จักกันหมด แล้วเราล่ะ? ก็ต้องไปตีซี้กับเพื่อนใหม่อีก หรือบางคนเรียนคนละสายกับเพื่อน ต้องแยกย้ายไปเจอเพื่อนใหม่ ก็ต้องปรับตัวสุดชีวิต ยิ่งเรียนวันแรกนี่วุ่นวายมาก ต้องรับมือกับตารางเรียนแน่นๆ ที่โหดกว่าเดิมด้วย

หัวหมุนกับวิชาบังคับ
         วิชาบังคับ ม.ปลาย จะต่างไปจาก ม.ต้น โดยสิ้นเชิง บางคนบอกว่าเหมือนจับกระเป๋านักเรียนโล่งๆ มายัดหนังสือจนปริแตก (อะไรจะขนาดนั้น) คือ ม.ปลาย วิชาหลักจะเป็นไปตามแผนการเรียนของน้องๆ แล้วค่ะ สมมติว่ามาทางสายวิทย์ - คณิต จากคณิตตัวเดียวก็แยกร่างเป็นคณิตหลัก คณิตเสริม วิทย์ก็แยกร่างเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ยังไม่นับตัวที่เป็นฟิสิกส์เพิ่ม เคมีเพิ่ม ชีวะฯ เพิ่ม ลง LAB ฯลฯ ถ้าเป็นวิทย์ คณิต ภาษาต่างประเทศ ก็มีภาษาให้เลือกอีกมากมาย เช่น จีน เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ

         ก็ไม่รู้ว่าครูสอนเร็ว เรียนยากขึ้น หรือครูอัดเนื้อหาล้นมากจนตามไม่ทันนะคะ แต่ที่แน่ๆ หลายคนโอดครวญว่าเรียนไม่รู้เรื่องเลย T T พี่เมก้าเคยรวบรวมข้อมูลไว้ว่าแต่ละ
แผนการเรียนต้องเจอวิชาอะไรบ้าง ชวนน้องๆ ม.ต้น ตามไปท้าพิสูจน์ความเนื้อหาแน่นได้ค่ะ

เกลียดเข้ากระดูกดำ ก็ต้องหยิบมาอ่าน


 
         ม.ต้น วิชาไหนที่ทนไม่ไหวจริงๆ รู้ๆ กันอยู่ว่าเราจำเป็นต้องเทไปบ้าง เพื่อจะได้ไม่พังยกแผง แต่! ม.ปลาย ต่อให้เกลียดแค่ไหน ก็ต้องหยิบมาเจอหน้ากันบ่อยๆ ค่ะ บางวิชาหน่วยกิตเยอะมากกก ยากมากกก เป็นวิชาที่ขึ้นชื่อว่าครูกดเกรดสุดๆ ยิ่งมาเจอกับเนื้อหาเยอะๆ โอ้โห! บางคนถึงขั้นอ่านตุนไว้ตั้งแต่ ม.4 ช่วงสอบเข้ามหา’ลัยจะได้ไม่หนักเกินไป ยิ่งตอนใกล้ๆ สอบ อ่านอย่างเดียวไม่พอ ข้อสอบเก่าก็ขนมาทำกันมากมายนะคะ พวกชีทสรุปจากรุ่นพี่ นี่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ทุ่มไม่อั้นเพื่อ “เกรด”
         แต่ก่อนไม่แคร์หรอกว่าเทอมนี้จะได้เกรดเท่าไหร่ แต่พอขึ้น ม.ปลาย แล้วเห็นเกรดลดฮวบไปต่อหน้าต่อตา มันสะเทือนใจมากมาย จนหลายคนเริ่มเห็นความสำคัญของหน่วยกิต นั่งนับเลยว่าเทอมนี้ตั้งเป้าว่าแต่ละวิชาต้องทำเกรดให้ได้เท่าไหร่ มีวิชาที่สามารถใช้เป็นตัวดึงเกรดให้เราได้ไหม ก็หันมาตั้งใจเรียนกันเต็มที่! บางคนวางแผนล่าเกรดสูงๆ ตั้งแต่ ม.4 (ทั้งตั้งใจทำคะแนนเก็บ คะแนนสอบใหญ่ สอบย่อย) เพราะรู้ว่าต้องใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกเข้ามหา’ลัย ณ จุดนี้บอกเลยว่าเหนื่อยมาก!

รวมพลคนวิ่งหาที่ติว
         ม.ต้น เวลาบอกเพื่อนว่าไปติว เพื่อนมักจะมองบนใส่แล้วพร้อมใจกันพูดว่า “หูย! จริงจังเวอร์” แต่ถ้าสถานการณ์พลิกเป็น ม.ปลาย นะคะ ทุกคนจะพร้อมใจกันถามว่า “เรียนพิเศษที่ไหนดี นัดติวกันเถอะๆ” ถ้าเป็นสายอ่านเอง ประหยัดงบ ก็ตั้งตารอเวลาที่โรงเรียนเชิญวิทยากรมาติวสอบกลาง เช่น GAT PAT O-NET ฯลฯ หรือไม่ก็จับกลุ่มติวกันเองกับเพื่อนเลยค่ะ ใครไปเจอหนังสือดีๆ ข้อสอบเด็ดๆ รีบสุมหัวกันปุ๊บปั๊บ ถ้าเป็นช่วงสอบให้สังเกตเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านจริงจัง 

รับมือกับงานช้างทั้งนั้น


 
         แน่นอนว่าโตขึ้น คุณครูย่อมรู้ว่าเรามีประสบการณ์มากขึ้น ศักยภาพและความสามารถก็มากขึ้นตามไปด้วย เวลาสั่งงานเลยกะเอาเต็มที่ค่ะ วิชาล่ะ 10 - 10 - 10 กันไปเลย! ส่วนใหญ่เน้นๆ โครงงานกลุ่มระดับบิ๊ก! รายงานวิชาการ จัดบอร์ดโรงเรียน ฯลฯ เรียกได้ว่าไม่มีเวลาให้ซีรีส์ของโอปป้าอีกต่อไป นี่ยังไม่รวมงานใหญ่อย่างมหกรรมกีฬาสี ที่พิธีเปิดจริงจังยิ่งกว่าโอลิมปิก และส่วนใหญ่พี่โตสุดอย่าง ม.5 - ม.6 ที่เป็นแม่งาน ก็วุ่นวายไปสิ! จบกีฬาสีเหมือนขาดใจพูดเลย! เพราะมีสอบจ่อคิวรออยู่ 

ขยันสร้างผลงาน
         นอกจากจะเรียนหนักแล้ว คนที่ไม่เคยเป็นเด็กกิจกรรม ยังต้องหันมาใส่ใจการล่า “เกียรติบัตร + รางวัล” เลยนะคะ อย่างที่รู้กันว่า TCAS รอบที่ 1 เน้นเด็กมีผลงาน บางคณะ - มหาวิทยาลัย กำหนดไว้เลยว่า “ผลงานที่ใส่ในแฟ้มสะสมผลงาน ไม่ควรเกิน 3 ปีย้อนหลัง นับจากวันที่…” เข้าทางเลย! เริ่มสร้างทักษะและความสามารถตั้งแต่ ม.4 พอถึง ม.6 ก็ทันใช้งานพอดี อีกอย่างการออกไปแข่งขันบ่อยๆ ทำให้เราไม่ตื่นสนามด้วยค่ะ เวลาสอบนี่มีสมาธิสุดๆ

ตามข่าวสอบหนักมาก
         เรื่องสอบก็สำคัญมากเช่นกัน สอบที่ว่าคือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยค่ะ อย่าหาว่าพี่เมก้าโม้เลย แต่บางคนเตรียมหาข้อมูลการสอบตั้งแต่ขึ้น ม.4 - ม.5 วางแผนเสร็จสรรพว่าคณะเป้าหมายรับสมัครรอบไหนบ้าง ต้องใช้คะแนนสอบกี่ตัว วิชาอะไร สมัครยังไง ฯลฯ พอขึ้น ม.6 ก็รีบกดติดตามเพจที่เกี่ยวกับการสอบต่างๆ ทั้ง Dek-D ทปอ. เพจมหาวิทยาลัย ฯลฯ จะได้รู้ว่าตอนนี้ข่าวสอบเขาไปไกลถึงไหนแล้ว มีเกณฑ์การรับยังไงบ้าง ยิ่งถ้าในห้องมีกรุ๊ปไลน์นะคะ แจ้งเตือนกันทั้งวันบอกเลย! 

ฟุ้งซ่าน! จะต่อมหา’ลัยที่ไหนดี?


 
         ความจริงแล้วที่กดดันยิ่งกว่าการเรียนการสอบหนักๆ ก็คือเรื่องเข้ามหาวิทยาลัยนี่แหละค่ะ ทำเด็ก ม.ปลาย เสียน้ำตากันมาเยอะ สับสนจนอยากจะร้องเพลง “ขาดเธอก็เหงา ขาดเขาก็คงเสียใจ” (เพลงเก่าเกิ๊น) แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ บางคนตกลงกับตัวเองมาตั้งแต่ ม.4 จนถึง ม.6 ก็ยังหาตัวเองไม่เจอ ถึงขั้นที่ว่า TCAS มี 5 รอบ กว่าจะเจอคณะที่ใช่ ก็ปาไปรอบที่ 5 เลยนะคะ! เป็นช่วงที่ต้องตัดสินใจเลือกทางเดินให้กับชีวิตแบบจริงจัง เพราะเราอาจต้องคลุกคลีกับสิ่งนั้นไปตลอด 4 - 6 ปี นั่นเอง

         ไม่รู้ว่าชีวิต ม.ปลาย ของน้องๆ พลิกผันจาก ม.ต้น แบบนี้ไหม หรือ ม.ต้น มีความพีคกว่า แต่ที่แน่ๆ ม.ปลาย ก็เหมือนช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยรุ่นปลายๆ สู่การเป็นผู้ใหญ่ในวัยเรียนแบบเต็มตัวค่ะ ถ้าเรารับผิดชอบชีวิตตัวเองได้ ผ่านความยากลำบากใน ม.ปลาย มาได้ รับรองว่าความหนักตอนเรียนมหา’ลัยนั้น น้องผ่านมันไปได้แบบสบายๆ แน่นอน!            
       
พี่เมก้า
พี่เมก้า - Columnist นักข่าวสายการศึกษา ที่มีความสุขกับการแต่งฟิค อ่านฟิค เพ้อถึงยัมมี่ฟู้ดไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

dek62 7 ส.ค. 61 21:02 น. 3

ความจริงม.ปลายก้อไม่ได้ยากขนาดนั้นนนนนน ออกชิวกว่าม.ต้นอีก คือ เหมือนจะหนัก แต่ความจริงถ้าเลือกสายถูกเราจะสนุกกับมันมากๆ สู้ๆนะเด็กๆ

0
กำลังโหลด
The Origin and evolution Member 2 ก.ย. 61 19:35 น. 4

ด้วยความที่รู้ตัวเองดีว่าไม่ไหววิทคณิตแน่ๆ เลยลงศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ปรากฎว่ามาถูกทางทำให้ชีวิตม.ปลายสบายไปเลย ข้อเสียอย่างเดียวคือ แบกหนังสือและชีทเยอะมาก สู้ๆครับสำหรับม.ต้นจะขึ้นม.ปลาย

0
กำลังโหลด
จี้ นมสด' Member 25 ก.ย. 61 21:13 น. 5

ขึ้นมหาลัยก็คนละม้วนเช่นกันเด้อ ถ้าน้องเรียนสายที่ชอบยังไงทุกอย่างมันก็โอ เพราะเราชอบ

0
กำลังโหลด

7 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
dek62 7 ส.ค. 61 21:02 น. 3

ความจริงม.ปลายก้อไม่ได้ยากขนาดนั้นนนนนน ออกชิวกว่าม.ต้นอีก คือ เหมือนจะหนัก แต่ความจริงถ้าเลือกสายถูกเราจะสนุกกับมันมากๆ สู้ๆนะเด็กๆ

0
กำลังโหลด
The Origin and evolution Member 2 ก.ย. 61 19:35 น. 4

ด้วยความที่รู้ตัวเองดีว่าไม่ไหววิทคณิตแน่ๆ เลยลงศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ปรากฎว่ามาถูกทางทำให้ชีวิตม.ปลายสบายไปเลย ข้อเสียอย่างเดียวคือ แบกหนังสือและชีทเยอะมาก สู้ๆครับสำหรับม.ต้นจะขึ้นม.ปลาย

0
กำลังโหลด
จี้ นมสด' Member 25 ก.ย. 61 21:13 น. 5

ขึ้นมหาลัยก็คนละม้วนเช่นกันเด้อ ถ้าน้องเรียนสายที่ชอบยังไงทุกอย่างมันก็โอ เพราะเราชอบ

0
กำลังโหลด
errorist△ Member 27 ก.ย. 61 09:37 น. 6

ถ้าเรียนสายที่ถูกใจก็ไม่มีอะไรยากเลย เราจะสนุกไปกับมันอ่ะ นี่มีความสุขกว่า ม.ต้น อีก ทั้งสังคม ทั้งบรรยากาศห้องเรียน แค่ต้องปรับตัวหน่อยแค่นั้นเอง สู้จ้า

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด