เป็นแบบนี้นี่เอง! เหตุผลที่ "กระดาษหนังสือพิมพ์" เช็ดกระจกได้ใสวิ๊งยิ่งกว่าผ้า

ตอนเด็กๆ ที่ต้องแบ่งเวรทำความสะอาดห้องเรียน หรือช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำความสะอาดบ้าน ก็จะได้รับบรีฟมาตลอดว่า เช็ดกระจกต้องใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ ทั้งๆ ที่ในวิธีใช้ของน้ำยาเช็ดกระจกก็ไม่ได้มีบอกว่าต้องใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วทำไมถึงนิยมใช้มากกว่าผ้าขี้ริ้วล่ะ?

สารภาพเลยว่าเคยคิดว่าที่ผู้ใหญ่ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ดกระจก เพราะอยากลดขยะเหมือนที่นำไปพับเป็นถุงกล้วยแขก แต่จริงๆ แล้วกระดาษหนังสือพิมพ์มีคุณสมบัติหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเช็ดกระจก และใช่ค่ะ นี่เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ ^_^

 

ถ้าพลิกดูรายละเอียดสัดส่วนสารสำคัญของผลิตภัณฑ์น้ำยาเช็ดกระจกจะพบว่ามีสารหนึ่งชื่อว่า Sodium Lauryl Ether Sulfate หรือบางเจ้าใช้ว่า Sodium Salt สารตัวนี้แหละที่มีองค์ประกอบหนึ่งในนั้นเป็น แอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเป็นสารประกอบตัวเดียวกับ แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ที่พบได้ในหมึกพิมพ์อุตสาหกรรมที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์นั่นเองค่ะ

แอมโมเนีย (Ammonia) ประกอบด้วยด้วยธาตุไนโตรเจนและไฮโดรเจน เป็นสารไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน มีความเป็นด่าง มีคุณสมบัติในการกัดกร่อน ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษต่อร่างกาย เชื่อว่าเด็กสายวิทย์จะต้องรู้จักเป็นอย่างดี (พื้นฐานของวิชาเคมี ม.4 เลยค่ะ) โดยแอมโมเนียเป็นองค์ประกอบตั้งต้นในหลายๆ อย่าง รวมทั้งน้ำยาเช็ดกระจกด้วย

 

ตามวิธีการใช้งานของผลิตภัณฑ์น้ำยาเช็ดจะระบุว่าให้ฉีดน้ำยาเช็ดกระจกที่กระจก และใช้ผ้าสะอาด แต่จริงๆ แล้วถ้าผ้าที่ใช้เป็นขนก็จะทำให้ขนผ้าติดที่กระจกไปด้วย จึงนิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เนื่องจากว่ามีสารแอมโมเนียช่วยส่งเสริมกัน และใช้เสร็จก็สามารถทิ้งได้เลย

แต่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ทุกสำนัก หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกอย่างจะใช้หมึกพิมพ์ที่มีแอมโมเนียเป็นองค์ประกอบนะคะ แต่ละสื่อสิ่งพิมพ์ก็จะใช้ต่างกัน และที่สำคัญถ้าสัมผัสแอมโมเนียมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย เพราะฉะนั้นใช้อย่างระมัดระวัง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากทำความสะอาดกระจกนะคะ :)

 
พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

4 ความคิดเห็น

CiNdErElLa&Me Member 2 เม.ย. 62 12:28 น. 1

สมัยเรียนมัธยมเป็นเวรทีไรก็จะฉีกนสพ.ออกมาเช็ดทุกทีเลยค่ะ

เวิร์คจริงๆ เพิ่งรู้นะเนี่ย https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-06.png



ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด