เจาะระบบเรียนแบบ Track ของเด็ก ม.ปลาย “กรุงเทพคริสเตียน" ที่เลิกจำกัดเด็กแค่วิทย์-ศิลป์

        สวัสดีค่ะชาว Dek-D สิ่งที่เราเห็นกันจนชินตาและมักตกเป็นประเด็นการศึกษาที่ถกเถียงกันมานาน คือการแบ่งเด็กมัธยมปลายเป็น "สายวิทย์" และ "สายศิลป์" บางคนมองว่าเป็นทางเลือกที่แคบและไม่ช่วยให้เด็กค้นพบเป้าหมายของตัวเอง  ช่วงหลังจึงเริ่มมีโรงเรียนบางแห่งลุกมาเปลี่ยนแปลง  แบ่งแผนการเรียนให้หลากหลายขึ้นตามความสนใจของเด็ก และล้อไปในทางเดียวกันสาขาในระดับมหาวิทยาลัย
 

 
        หนึ่งในโรงเรียนที่เริ่มปรับเปลี่ยนแล้วคือ “โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย” หรือ ก.ท ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนชื่อดัง  เราเลยขอเข้าไปเจาะลึกระบบใหม่  โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้วางหลักสูตรมาให้เกียรติมาพูดคุยกับเราด้วยค่ะ นอกจากนี้เรายังได้ฟังรีวิวจาก “นักเรียนรุ่นแรก” เกือบครบทุกแทรคว่าเรียนอะไรบ้าง? เข้มข้นแค่ไหน? แล้วคิดเห็นยังไงกับระบบนี้?




ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ 
ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย


 

จากปัญหาใหญ่ของเด็กไทย

ทำให้เกิดระบบใหม่ชื่อ “BCC Next”
 

        เมื่อก่อนกรุงเทพคริสเตียนยังคงแบ่งเด็ก ม.ปลาย เป็นสายวิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ และศิลป์-ภาษา และศิลป์ทั่วไป แต่ก็มองเห็นปัญหาใหญ่ของเด็กไทยบางกลุ่มที่มีปัญหาตอนเลือกสายขึ้นมหา'ลัย เช่น จบ ม.ปลายแล้วยังไม่รู้ว่าชอบหรือถนัดอะไร หรือบางคนก็เข้าใจผิดเกี่ยวกับคณะ ทำให้เมื่อเข้าไปเรียนจริงๆ ก็ไม่มีความสุข บางคนเรียนแค่ให้จบๆ บางคนก็ต้องย้ายคณะกลางคัน
 
        ดังนั้นจึงเกิดระบบ “BCC Next” ที่นำวิทย์-ศิลป์มาแตกแขนงเป็น 15 แผนการเรียน (Tracks) โดยหลักสูตรจะยังคงมีวิชาพื้นฐานให้เรียนครบหน่วยกิตตามที่กระทรวงกำหนด แต่ใส่วิชาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแทรคนั้น และลดทอนวิชาที่ไม่จำเป็นลง เช่น ลดสัดส่วนวิชาชีวะในแทรควิศวะ หรือลดทอนวิชาเคมีในแทรคสถาปัตย์
 
        รายชื่อ Track ทั้งหมด (ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ส.ค.2562)
 
  1. แพทยศาสตร์ และกลุ่มสาขาสาธารณสุขศาสตร์
  2. วิศวกรรมศาสตร์ชีวภาพ
  3. วิศวกรรมศาสตร์
  4. วิศวกรรมหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์
  5. วิศวกรรมการบินและอวกาศ
  6. สถาปัตยกรรมศาสตร์
  7. บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี
  8. สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
  9. อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์
  10. ศิลปกรรมศาสตร์ จิตรกรรม ประติมากรรม
  11. นิเทศศาสตร์ ภาพยนตร์ และสื่อดิจิทัล
  12. ศิลปะการอาหาร
  13. วิทยาศาสตร์การกีฬา
  14. ดนตรี - นิเทศศิลป์ SCA
  15. ดุริยางคศิลป์ (เปิดปีหน้าแน่นอน)
     
        ใน 15 แทรคดังกล่าว ลำดับที่ 1-6 เป็นแนวสายวิทย์ ส่วน 7-15 เป็นแนวสายศิลป์ ซึ่งจะมีผลเฉพาะวิชาพื้นฐานเท่านั้น และต้องบอกว่า 15 แทรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ เพราะโรงเรียนเก็บข้อมูลมาหนักมาก ทั้งไปสำรวจเด็ก ม.ต้น ของโรงเรียนว่ามีแนวโน้มอยากเรียน/ทำงานสายไหนบ้าง และเข้าไปพูดคุยกับอาจารย์แต่ละภาควิชาในมหา'ลัยหลายแห่งเพื่อมาวางแผนรายวิชา  ดังนั้นในทุกแทรคจะมีการปูพื้นวิชาทฤษฎีที่เด็กจะหนีไม่พ้นแน่ๆ ถ้าเลือกเรียนต่อสาขานั้น  อย่างแทรคศิลปะการประกอบอาหารจะเจอเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร (Food Hygiene) ส่วนแทรควิทย์กีฬาจะเจอวิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)

 

เงื่อนไขการเข้าแต่ละแทรค
(เร็วไปมั้ยที่ต้องเลือกตั้งแต่จบ ม.ต้น?)

 

        ถ้าในรุ่นปัจจุบัน เขาจะมีแบบฟอร์มมาให้เด็กเลือกตามความถนัดและความสนใจได้เลย ยกเว้นแทรคแนวสายวิทย์ ต้องมีเกรดเฉลี่ยวิชาวิทย์กับคณิตช่วง ม.ต้น 6 เทอม ต้องได้ 3.00 ขึ้นไป ทั้งนี้ ถ้าเด็กอยากย้ายแทรค สามารถทำเรื่องเปลี่ยนได้ภายใน 2 เทอมแรก ซึ่งก็คือก่อนขึ้น ม.5 นั่นเองค่ะ
 
        บางคนสงสัยว่า มันเร็วไปมั้ยถ้าเด็ก ม.ต้นต้องมาตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้? จริงๆ ทางโรงเรียนได้อธิบายให้เด็กรู้จัก 15 วิชาชีพ 15 แทรคนี้ตั้งแต่ ม.1-3 และกำชับว่าก่อน ม.4 พวกเขาจะต้องตัดสินใจ โดยเขาจะมีตัวช่วยคือ Report Analyse หรือรายงานวิเคราะห์ผลการเรียนว่าเด็กเหมาะกับเรียนสายไหนบ้าง และการประเมินทางวิชาชีพจากทางแนะแนว ซึ่งจะช่วยให้เด็กตัดสินใจได้อย่างเป็นระบบ



 

โครงสร้างการเรียนที่ลงตัว
เจาะลึกเฉพาะทางแต่ไม่ทิ้งวิชาพื้นฐาน

 

        สิ่งที่เด็กจะได้เรียน = วิชาพื้นฐาน (41 หน่วยกิต) + วิชาเพิ่มเติม (ตามบริบทของโรงเรียน)

        1. วิชาพื้นฐาน (41 หน่วยกิต) - เรียนแยกตามห้องที่เป็นแนววิทย์กับศิลป์ อิงรายวิชาและจำนวนหน่วยกิตตามที่กระทรวงศึกษาฯ กำหนด
        2. วิชาเพิ่มเติม เรียนแยกตามแทรคที่ลงไว้ โดยเขาจะนำคาบที่เหลือจากวิชาพื้นฐาน มาจัดแบ่งเป็น time slots ; 1 time slot = 2 คาบที่อยู่ติดกัน เช่น วันจันทร์คาบ 2-3, วันจันทร์คาบ 7-8  ซึ่งเขาจะมีจัดวางเป็นกรุ๊ปแล้วว่าเด็กแต่ละแทรคจะต้องไปเรียนวิชาไหนบ้าง ในทุกแทรคจะมีวิชาประจำแทรค 3 วิชา/ภาคเรียน
 
        ยกตัวอย่าง นาย A (แทรคอักษรศาสตร์) กับนาย B (แทรคศิลปกรรมศาสตร์) ทั้งคู่อยู่ห้องศิลป์ห้องเดียวกัน คาบแรกเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยกัน แต่พอคาบ 2-3 ที่เป็นวิชาแทรค นาย A แยกไปเรียนสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ ส่วนนาย B แยกไปเรียนวาดเส้น
 
        ส่วนความเข้มข้นของเนื้อหา ก็จะปูพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมในคณะที่นักเรียนประสงค์จะเข้าต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นผู้สอนก็จะมีทั้งครูในโรงเรียน อาจารย์พิเศษ และวิทยากรเฉพาะด้าน เท่ากับว่าได้สัมผัสการฝึกจากมืออาชีพโดยตรง!

        หมายเหตุ* ใน 7 time slots จะมีช่องว่างให้เด็กยืดหยุ่นไปเรียนเสริมสิ่งที่ตนสนใจด้วยนะคะ  แต่จะมีคาบอิสระให้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแทรค  เพราะอย่างแผนวิทย์อาจจะโดนฟิสิกส์เคมีชีวะล็อกไว้ซะเยอะ



 

ส่องบรรยากาศห้องเรียน 3 แทรค

นิเทศฯ / คหกรรม / วิศวกรรมการบินฯ
 

1. แทรคนิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล
 
        ต้องบอกเลยว่าแทรคนี้คือแทรคยอดฮิตที่เด็กเลือกเรียนเยอะมาก! “ครูน้ำ” ครูประจำแทรคเล่าว่าเด็กจะได้เรียน Production Media สอนใช้แพลตฟอร์มการทำวิดีโอสำหรับสื่อ TV และภาพยนตร์ โดยจะเริ่มเรียนรู้องค์รวมทั้งหมด ตั้งแต่เขียนบท การเตรียมงาน การจัดทำตารางถ่ายงาน แคสติ้ง กระบวนการตัดต่อ ฯลฯ พอเรียนเสร็จก็ให้เด็กแบ่งกลุ่มลงมือทำโปรเจกต์แบบจริงจังทุกขั้น โดยที่โรงเรียนจะซัพพอร์ตเรื่องอุปกรณ์ 
        
        “เด็กแต่ละคนจะรับไม่เท่ากัน วิธีการสอนของผมคือการสร้างแพสชันให้เด็ก เน้นให้เขาเข้าใจองค์รวมก่อน แล้วค่อยไปต่อยอดด้านที่ตัวเองสนใจ อย่างบางคนอาจเก่งอุปกรณ์ บางคนเก่งเขียนบท เวลาทำงานกลุ่มเขาก็จะแบ่งหน้าที่กัน”







 
2. แทรควิศวกรรมการบินและอวกาศ
 
        มาถึงแทรคที่ขึ้นชื่อว่าเนื้อหาเรียนเข้มข้นมากกกก แถมนักเรียนแต่ละรุ่นก็มีภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จด้วย “ครูอดิเรก” ครูประจำแทรควิศวะการบินฯ เล่าว่า “เริ่มแรกเลยเราจะให้เด็กตกลงกันก่อนเลยว่ารุ่นนี้จะทำมิชชันอะไร เช่น เด็กรุ่นแรกคือสร้างดาวเทียมขนาด 1 ยูนิตโดยเด็กมัธยม + ส่งไปอวกาศ + ทำงานได้จริง ส่วนเด็กรุ่นที่ 2 สร้างดาวเทียมที่ไม่ถึงกับต้องไปโคจรในอวกาศ แต่ทำงานเฉพาะอย่างได้"
 
        “ม.4 เราจะปูพื้นฐานโครงสร้างการออกแบบ พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์/ไฟฟ้า/การเขียนแบบคอมพ์/เขียนแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะในวงจรดาวเทียมจริงๆ ไม่มีแผนสำเร็จรูปมาให้นะ เราต้องดีไซน์วงจรและวางอุปกรณ์ชิ้นส่วนเอาเอง พอ ม.5 เราจะเริ่มให้เด็กสร้างและตรวจสอบให้ใช้งานได้จริง ดูว่าจะทำตามมิชชันได้มั้ย แล้ว ม.6 คือการใช้งานและสั่งการดาวเทียมที่ส่งออกไป แปลว่าเขาต้องเรียนเขียนโค้ด และทำภารกิจบางอย่างที่เป็นโปรเจกต์"







 
3. แทรคศิลปะการประกอบอาหาร
 
        นี่คือแทรคที่เราได้ไปทัวร์ตอนเขาทำชูครีมกันอยู่ แล้วก่อนกลับครูกับน้องๆ ก็ใส่กล่องให้ทีมงานเป็นที่ระลึกด้วยค่ะ ขอบอกว่าฝีมือมือน้องๆ เยี่ยมมาก  ซึ่งผู้สอนในคาบนั้นก็คือ “อ.ฝ้าย” อาจารย์พิเศษประจำแทรคนั่นเองค่ะ  อาจารย์เล่าว่า "ตอน ม.4 จะปูพื้นฐานเรื่องวัตถุดิบ การเตรียมพร้อมเข้าครัว การทำอาหารเบื้องต้นทั้งคาว-หวาน แบ่งออกเป็นอาหารไทย ยุโรป จีน วิธีอ่านสูตรเบื้องต้น วิธีชั่ง-ตวง-วัด และ Food Safety/Food Hygiene บางคนอาจเบื่อทฤษฎี แต่นั่นคือสิ่งที่เด็กต้องรู้ก่อนลงมือปฏิบัติจริง เพราะเราต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ทาน ยิ่งทุกวันนี้ก็มีคนแพ้อาหารมากขึ้นด้วย"
 
        "แล้วพอ ม.5-6 จะลงลึกไปอีก เพราะโรงเรียนจะมีหลักสูตรที่เป็นอุตสาหกรรมอาหารให้น้องๆ ครีเอตร้านอาหาร 1 ร้าน คำนวณวัตถุดิบ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์ Final ที่ขายได้จริง"




 


 

เก็บตกรีวิวสั้นๆ
จากเด็กเกือบทุกแทรค

 


 
        แพทย์ศาสตร์ และกลุ่มสาขาสาธารณสุขศาสตร์ : แพทย์ในที่นี้เขาจะไม่ได้สอนลงลึกแขนงใดแขนงหนึ่งนะครับ แต่จะสอนพื้นฐานที่ต้องใช้ เช่น วิชาระเบียบวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการสังเกต การตั้งคำถาม การตั้งสมมติฐาน ฯลฯ มันดีตรงได้เจอเพื่อนทรงเดียวกันนี่แหละ แต่ถ้าถามว่ายากมั้ย ถ้าไม่ค่อยมาเรียนก็ตามไม่ทันครับ ค่อนข้างไปเร็วนิดนึง 555 
 
        วิศวกรรมศาสตร์ชีวภาพ : เนื้อหาที่เรียนจะคล้ายๆ แพทย์ (แต่แพทย์จะลงลึกทางชีวะมากกว่า) แทรคนี้จะเรียนการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ผลิตแล้วทำอะไรได้บ้าง ใช้จริงได้มั้ย จริงๆ เนื้อหาก็ทั่วไปแต่มีเรื่องการออกแบบเพิ่มเข้ามา ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย
 
        วิศวกรรมหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์ : เขาจะเน้นฟิสิกส์ > เคมี > ชีวะ (น้อยที่สุด) เจอเรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พวกต่อไฟฟ้ากับเครื่องกล ส่วนตัวผมคิดว่าวิชาที่น่าสนใจสุดคือ “โปรแกรมภาษา C” นะ (ยากมั้ย?) ไม่ยากขนาดนั้น ยังไงปี 1 ก็ได้เรียน เหมือนเขาเอาพื้นฐานปี 1 มาให้เด็ก ม.5 รู้ก่อนครับ

        วิศวกรรมการบินและอวกาศ : เนื้อหาที่เรียนถือว่าหนักนะ เขาจะบรีฟเนื้อหาทั้งหมดให้จบภายใน ม.4 เทอม 1 ซึ่งส่วนมากจะเคยเรียนมาแล้วตอน ม.ต้น จากนั้นก็เริ่มทำโปรเจกต์ ครูให้คำปรึกษาตลอด และมีเพื่อนๆ 20 กว่าคนในห้องช่วยเหลือกัน


 
        วิทยาศาสตร์ทั่วไป : แทรคนี้เหมาะกับที่ยังไม่มั่นใจว่าจะไปทางไหนดีครับ เราจะได้เรียนทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ อย่างละ 2 หน่วยกิต + เรียนการทำวิจัย คล้ายๆ หลักสูตรระบบเก่าเลย แต่เนื้อหาจะเพิ่มเรื่องระเบียบวิธีการวิจัยเข้ามา สอนการทำวิจัยทีละขั้นตอน ผมว่ามันช่วยปูพื้นฐานให้เราเรียนทันตอนขึ้นมหา’ลัย และเผลอๆ อาจนำคนอื่นไปก่อนด้วย
 
        สถาปัตยกรรมศาสตร์ : ผมเลือกแทรคนี้เพราะชอบศิลปะ และอยากทำงานศิลปะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ Logic ครับ วิชาที่เรียนเช่น โครงสร้างสถาปัตย์ การวาดเส้น การจัดวาง space ส่วนตัวก็ต้องหาเวลาเรียนวาดรูปเพิ่มครับ
 
        อักษรศาสตร์ : สิ่งที่เรียนก็จะเป็นด้านภาษา เช่น สัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทยเพื่อสื่อมวลชน ภาษาไทยเพื่อการนำเสนอ ฯลฯ ทำให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้อง แล้วจะมีวิชาเลือกคือจีนกับญี่ปุ่น ถ้าอย่างผมเองลงจีน เขาจะมีวิชาจีนพื้นฐาน จีนเพื่อการสื่อสาร จีนด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งมันตอบโจทย์มากสำหรับผมที่อยากเรียนเอกจีนตอนขึ้นมหา’ลัยอยู่แล้ว


        นิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล : ผมสนใจงาน Production มาตั้งแต่ประถม พอได้มาเรียนก็ถือว่าตอบโจทย์เลยครับ  เพื่อนๆ ก็จะรับหน้าที่ที่ถนัดตอนทำงานกลุ่ม เช่น ใครชอบดีไซน์ ก็รับหน้าที่ดีไซน์ฉากและคอสตูม แล้วยังมีฝ่ายอื่นๆ เช่น ผู้กำกับ นักแสดง ช่างภาพ ฯลฯ
 
        ศิลปะการทำอาหาร : ผมเลือกแทรคนี้เพราะอยากเป็นเชฟตั้งแต่เด็กแล้วครับ ตอนเรียนเขาจะปูเบสิกก่อน ถึงไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ ผู้สอนจะมีครูจากภายนอกหรือวิทยากรที่ไปเรียนมาจากเมืองนอกแล้วกลับมาบรรยายให้ฟัง (สิ้นปีมีโปรเจกต์ให้นักเรียนออกแบบอาหารและขายในโรงเรียนด้วย)


 
        พอทัวร์ห้องเรียนและสัมภาษณ์น้องๆ ที่เริ่มใช้ระบบนี้เป็นรุ่นแรก ใจก็อยากเข้าไปเป็นหนึ่งในนักเรียนของระบบใหม่นี้เลยค่ะ สุดยอดดด! สุดท้ายแล้วเป้าหมายของระบบนี้ ก็คือการให้เด็กสนุกกับการเรียน สามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจจริงๆ และมีภูมิคุ้มกันตอนขึ้นมหา'ลัย สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือในอนาคตจะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในชีวิตการทำงานได้ จริงๆ ปัจจุบันนี้ก็มีโรงเรียนมัธยมปลายบางแห่งเริ่มนำร่องแล้ว หากได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม คาดว่าต้องมีข่าวดีกับน้องๆ วัยเรียนรุ่นหลังแน่นอนค่ะ :)

* Special Thanks! *

        ทีมงานต้องขอขอบคุณท่าน ผอ.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์, อ.สุดฤทัย, อ.วิชัย, อ.วศวิศว์, อ.อดิเรก, อ.กฤติเดช, อ.ณัฎฐ์ธญา, อ.ปอละเตียง อ.น้องๆ นักเรียน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน สำหรับข้อมูลในบทความนี้นะคะ
 
สายสืบเด็กดี

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
varunyanee Member 17 ส.ค. 62 20:34 น. 4

ตาลุกเลย เด็กม.ปลายควรเตรียมตัวแบบนี้แหละ จะได้ไม่บ้าเรียนทั้งหมด แล้ว...ไม่ได้เอาไปใช้

0
กำลังโหลด

12 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
มัณทนา[ชิปกับเดลขายของในคลอง] Member 17 ส.ค. 62 15:35 น. 3

สุดยอดมากค่ะ สมกับเป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของประเทศไทย

น่าชื่นชมตั้งแต่ให้นักเรียนใส่ชุดไปรเวทมาเรียนทุกวันอังคาร

0
กำลังโหลด
varunyanee Member 17 ส.ค. 62 20:34 น. 4

ตาลุกเลย เด็กม.ปลายควรเตรียมตัวแบบนี้แหละ จะได้ไม่บ้าเรียนทั้งหมด แล้ว...ไม่ได้เอาไปใช้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
immi 17 ส.ค. 64 19:47 น. 9

น่าสนใจมากค่ะ ถือเป็นการนำร่องการปฏิรูปการศึกษาไทยที่น่าสนใจทีเดียว แต่เท่าที่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบมีความรู้สึกว่าเหมือนเป็น mini college เลย ถึงจะบอกว่าเนื้อหาไม่เข้มข้นเท่ามหาลัยก็เถอะ แต่คงมีความซ้ำซ้อนกันพอสมควร คิดว่าควรปูพื้นฐานสิ่งที่ไม่ได้เรียนในมหาลัยให้แน่นก่อนน่าจะดีกว่า เช่น แทรคสถาปัตย์ เนื้อหาทางโครงสร้างสถาปัตย์ยังไงในมหาลัยก็มีสอนค่ะ ที่ควรปูพื้นและสอนในทำได้ดี(ประหนึ่งติวกันไปเลย) คือการวาดเส้น การวาดperspective ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการนำไปสอบเข้ามหาลัย เด็กแทรคนี้ไม่ควรจะต้องออกไปหาเรียนวาดรูปเพิ่มเติมนอก รร.แล้ว พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตย์และเนื้อหาอื่นๆ ควรมีก็จริงแต่ไม่ต้องมากเท่ากับมหาลัยเพราะอย่างที่บอกมันจะซ้ำซ้อนมากค่ะ เรียนม.ปลาย3 เรียนมหาลัยอีก 5 ปี (แค่คิดก็...) เทียบกับเด็กแทรคอักษรที่เริ่มเรียนภาษาที่3 ก็เริ่มตั้งแต่ท่องอักษรเหมือนกัน ไม่เห็นต้องออกไปหาเรียนข้างนอกเลย

เราว่ารายละเอียดของหลักสูตรตัวเต็มคงจะดีมากๆ แต่เราก็รู้เท่าที่อ่านจากบทความแหละน้า...

0
กำลังโหลด
แสนเศร้า 17 ส.ค. 64 22:44 น. 10

ดีจังเลย ทำไมไม่มาให้เร็วกว่านี้ ไม่อย่างนั้นคงรู้ตัวเองว่าเหมาะกับคณะไหน แล้วคงจะมีความสุขมากกว่านี้แน่ๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด