นายภูรินทร์ อัครกุลธร หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ กองพัฒนาอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า หลังจากที่ มทร.ธัญบุรี ได้จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์บัว” ในปี พ.ศ.2543 เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้ จะดำเนินการสำรวจ เก็บรวบรวมพันธุ์บัว ปลูกรักษา ศึกษาการใช้ประโยชน์ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์บัว โดยใช้พื้นที่ 18 ไร่ ภายใน มทร.ธัญบุรี เป็นที่ตั้งดำเนินการ เริ่มแรกมีพันธุ์บัวเพียง 40 สายพันธุ์ แต่ปัจจุบันมีมากถึง 150 สายพันธุ์ และล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ตนและทีมงานก็ได้รับข่าวดีเมื่อพบว่าภายในคูคลองของพิพิธภัณฑ์บัว ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์บัวต่างๆ ได้มีบัวผสมข้ามสายพันธุ์เป็นสายพันธุ์บัวชนิดใหม่ 2 สายพันธุ์ ซึ่งจากการตรวจสอบคุณลักษณะต่างๆ เปรียบเทียบกับสายพันธุ์บัวทั่วโลกยังไม่พบว่ามีทั้ง 2 สายพันธุ์ดังกล่าว จึงถือเป็นการค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกขึ้นที่พิพิธภัณฑ์บัวแห่งนี้

 
 

หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ กองพัฒนาอาคารสถานที่ มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการตรวจสอบคุณลักษณะของบัวทั้งสองสายพันธุ์ดังกล่าว และได้มีการตั้งชื่อบัวทั้งสองสายพันธุ์แล้ว สายพันธุ์แรกที่พบได้ตั้งชื่อว่า “ธัญกาฬ” เป็นบัวกลุ่มสายเขตร้อน จะบานในเวลากลางคืน ลักษณะเด่นของใบจะเป็นรูปไข่สีน้ำตาลแดงเข้ม หลังใบมีสีน้ำตาลแดง ก้านใบก้านดอกสีน้ำตาลแดงไม่มีขน ดอกตูมทรงดอกค่อนข้างเรียวยาว สีแดงเหลือบเขียวที่โคนดอก เวลาดอกบานสีของกลีบจะออกสีแดงเหลือบม่วงบริเวณขอบกลีบทั้งสองข้าง ขณะที่กลีบเลี้ยงด้านในจะมีสีแดงชมภู ด้านนอกมีสีน้ำตาลมีขีดเส้น 5 เส้น ทรงดอกบานจะแผ่ครึ่งวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 12-15 ซม. การให้ดอกจะทยอยออกดอกตามกัน จะบานอยู่ 3 วัน

 

ส่วนสายพันธุ์ที่สองที่พบตั้งชื่อว่า “รินลอุบล” เป็นบัวลูกผสมเปิดที่เกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์บัว ลักษณะใบอ่อนเป็นรูปไข่ หน้าใบสีเขียว มีแถบสีน้ำตาล หลังใบสีเขียว มีกระสีน้ำตาลแดงเข้มทั่วไป ใบแก่มีสีเช่นเดียวกับใบอ่อน ดอกตูมโคนดอกโคนกว้างปลายเรียวมีจุดกระปลายเข็มสีน้ำตาล ดอกบานสีกลีบดอกปลายกลีบมีสีชมพู โคนกลีบสีชมพูอมเหลือง ทรงกลีบดอกแบนเรียวยาวปลายแหลม ทรงดอกบานแผ่ครึ่งวงกลม กลีบดอกซ้อน เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 12-18 ซม. กลิ่นหอมเล็กน้อย การให้ดอกทยอยออกตามกัน ดอกดก บาน 3 วัน

 

          “การพบบัวพันธุ์ใหม่ของโลกในครั้งนี้ถือเป็นการผสมพันธุ์บัวแบบธรรมชาติภายในพิพิธภัณฑ์บัว ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผมและคณะทำงานอย่างมาก โดยจะนำสายพันธุ์บัวทั้งสองชนิดนี้ไปยื่นขอจดลิขสิทธิ์ที่กรมวิชาการเกษตร เพื่อบรรจุเป็นพืชพันธุ์ใหม่ในเร็วๆ นี้” นายภูรินทร์กล่าวและว่า นอกจากนี้จะส่งบัวทั้ง 2 สายพันธุ์เข้าร่วมประกวดที่สมาคมบัวโลก (International Water Lily and Water Garden Society) หรือ IWGS ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายในปีนี้ด้วย...
 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

6 ความคิดเห็น

ThE_KeY Member 17 เม.ย. 51 17:15 น. 1

โอ้ ว้าวๆๆ สวยจังเลยค่ะ

ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถผสมสายพันธุ์ได้เอง

หรือว่าแอบเอาไปผสมหว่า 55555

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เปียโนเจียระไน Member 9 เม.ย. 52 10:28 น. 8

ใครมีความรู้เรื่องดอกบัวกรุณาช่วยไปตอบที่กระทู้ของเปียโนด่วนนนนนนนนนน!ค่ะ พลีสๆๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด