นอกจากแอดมิชชั่นที่ปรับเปลี่ยนในปี 53 แล้ว...หลักสูตรมัธยมก็จะปรับเปลี่ยนไปด้วย...ซึ่งหน้าตาการปรับเปลี่ยนนั้นจะเป็นไงบ้างนั้น ไปตามอ่านกันเลย...

 

ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะนำร่องใช้ในโรงเรียน 155 แห่งในปีการศึกษา 2552 และจะใช้เต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2553 โดยสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยน อาทิ

 

1. การจัดเวลาเรียน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมดังนี้ ระดับประถม (ป.1-6) ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง และไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี ม.ต้น (ม.1-3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละ 5-6 ชั่วโมงและไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต

 
 

ระดับ ม.ปลาย (ม. 4-6) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 ปี เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง คิดน้ำหนักรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ซึ่งจะน้อยกว่าการเรียนในปัจจุบันที่เด็กเรียนหนัก

 

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ได้กำหนดเกณฑ์การจบในแต่ละระดับ ดังนี้ ประถมศึกษาผู้เรียนต้องเรียนครบสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด และผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

 

ระดับ ม.ต้น เรียนรายวิชาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยทุกวิชาในหลักสูตรแกนกลางต้องมีผลการเรียนผ่าน ระดับม.ปลาย รายวิชาสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนดรวมแล้วไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนได้

 

          ได้เห็นรูปแบบใหม่ของหลักสูตรกันแล้ว...ถูกใจ หรือไม่อย่างไร ก็มาแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ...
 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

51 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
:+:llก้วกัaยา:+: Member 30 พ.ค. 51 17:55 น. 3
เรพ2 แปดคาบคาบละสี่สิบนาที 8x40=320นาทีต่อวัน ไม่เยอะหรอกนะหนู ;) ป้าม.6แล้วยังเรียนเท่าหนูเลย แต่ของป้าเรียนคาบละ 50 นาที
0
กำลังโหลด
คนคลั่งic21 Member 30 พ.ค. 51 18:07 น. 4
ทำไม ม.ปลายเหมือนมันเวลา้เรียนเท่าเดิมเลยละ

ไม่เห็นต่างกันตรงไหน ถึงต่างก็แค่ติดนึง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
คิตตี้จัง 30 พ.ค. 51 19:06 น. 7
เราว่า เวลาเรียนเยอะๆก็ดีอ่ะ จะได้เข้าใจ แต่ถ้าเจอวิชาที่ไม่ชอบเนี่ย จะรู้สึกว่า นานมากๆ เราก็8 คาบเหมือนกัน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
อัศวินสืดำ Member 30 พ.ค. 51 20:24 น. 12
เลิกเร็วๆก็ดีอะดิ -.,- แต่ถึงเลิกก่อนเด็กก็จะรีบไปเรียนพิเศษอยู่ดี เชื่อปะ
เราม.3 8 คาบ3วัน 7คาบ 2 วัน
0
กำลังโหลด
ปีศาจคอม Member 30 พ.ค. 51 20:30 น. 13
เรียนพวกวิชาหลัก เคมี ชีวะ ฟิสิก คณิต มันต้องอย่างน้อยติดต่อกัน2ชั่วโมงอ่ะ ถึงจะรู้เรื่อง เพราะเรียนชั่วโมงเดียวมันไม่พอ
0
กำลังโหลด
ดกดดก 30 พ.ค. 51 22:23 น. 14
เรา เรียน วันละ 10 - 11 คาบ แต่ว่าวันจันไม่ต้องไปเรียนเพาะผุ้ชายไป รด. เรียนคาบ ละ 50 เหอะๆๆๆ เลิกเกือบๆๆ 5.30ถึง6.00 เกือบทุกวัน เอิ๊กๆๆชินแระ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
*~นิ้วยาว~* Member 31 พ.ค. 51 00:06 น. 17
เรามีเรียนคาบ 9 สองวันต่อสัปดาห์ แต่ดีตรงที่คาบ 9 โรงเรียนเราเลิกเร็วกว่าโรงเรียนอื่นชั่วโมงนึง ฮ่าๆๆ วันที่มี 9 คาบโรงเรียนจะเลิกประมาณ 4 โมง เพราะอยู่หญิงล้วนมันไม่มี ร.ด. เลยไม่เสียเวลาครึ่งวันตรงนั้นไป
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด