รอบรั้วเหลืองแดง ธรรมศาสตร์และการเมือง - รอบรั้วเหลืองแดง ธรรมศาสตร์และการเมือง นิยาย รอบรั้วเหลืองแดง ธรรมศาสตร์และการเมือง : Dek-D.com - Writer

    รอบรั้วเหลืองแดง ธรรมศาสตร์และการเมือง

    ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่ประวัติยาวนาน ลองมาดูสิว่า ธรรมศาสตร์มีอะไรน่าสนใจ เรื่องราวจะสนุกแค่ไหน ถ้าได้เป็น ลูกแม่โดม แห่ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

    ผู้เข้าชมรวม

    32,847

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    32.84K

    ความคิดเห็น


    203

    คนติดตาม


    14
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ส.ค. 50 / 02:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

       

      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของประเทศ

       

      ชื่อเดิมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) (Thammasat University)  คือ

      มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ม.ธ.ก.) (University of Moral and Political Sciences) ที่ ต้องตัดคำว่า การเมือง ออกนั้น เพราะว่า เพื่อไม่ให้น.ศ.ฝักใฝ่การเมืองมากไป รวมระยะเวลาที่ใช้ชื่อนี้ 18 ปี แต่ก็ไม่เป็นผลเนื่องจากการเมืองอยู่ในจิตวิญญาณไม่ใช่ชื่อ

       

      สถาปนาโดยท่านผู้ประศาสน์การ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) รัฐบุรุษอาวุโส

      อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 

      หัวหน้าขบวนการเสรีไทย

      อดีตนายกรัฐมนตรี

      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

      กระทรวงการต่างประเทศและ กระทรวงมหาดไทย

      และปัจจุบันองค์การยูเนสโกได้ประกาศว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกอีกด้วย เป็นสมบัติของชาติเลยทีเดียว

       

      เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ใช้ตำแหน่งผู้ประศาสน์การ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอธิการบดี)

       

      ตำแหน่งผู้ประศาสน์การมีเพียงท่านเดียว คือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อยกย่องท่านในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย

       

      อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

       

      จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้สร้าง หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ ที่ ท่าพระจันทร์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ท่านอยากทำเพื่อธรรมศาสตร์

       

      จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ด้วย

       

      ธรรมศาสตร์ มีอธิการบดี ที่เป็นนายกรัฐมนตรีเยอะมาก ก็ ธรรมศาสตร์และการเมืองนี่นา

       

      วันสถาปนามหาวิทยาลัย คือ 27 มิถุนายน 2477  (ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว)

       

      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เพราะขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

       

      ที่ตั้งเดิมของมหาวิทยาลัยก่อนจะย้ายไปที่ท่าพระจันทร์คือ ตึกร.ร.กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม เชิงสะพานผ่านภพลีลา ปัจจุบันเป็นที่ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล เคยถูกนักศึกษาเผา ตอนเหตุการณ์ 14 ตุลา

       

      นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ สถาปนิกผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบ ตึกโดม

       

      ความหมายของตึกโดม คือ ตัวโดมที่เป็นรูป 6 เหลี่ยมเพราะ จะได้สะท้อนถึงหลักที่ 6 ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ จะต้องให้การศึกษาเต็มที่แก่ราษฎร และ ที่ยอดตัวโดมแหลมขึ้นฟ้านั่นก็เพราะ เปรียบโดมเสมือนดินสอ ที่จดบันทึกวิชาความรู้และเรื่องราวต่างๆที่ไม่รู้จักจบสิ้นเอาไว้บนผืนฟ้าอันกว้างใหญ่

       

      ที่เรียกโดม ว่าแม่โดม ไม่ใช่เพราะ โดมเป็นหญิงน่ะครับ แต่เพราะ เรียกแม่นั้น ดูยิ่งใหญ่ เช่นเดียว กับที่เรา เรียก แม่น้ำไง และ นักศึกษา คือ ลูกแม่โดม

       

      จุดประสงค์ในการก่อตั้ง คือ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวิทยาการสมัยใหม่แก่ประชาชนทุกชนชั้น โดยเก็บค่าเล่าเรียนให้น้อยที่สุด และปัจจุบัน ก็ยังถือว่าถูก (มั้ง)

       

      ตราประจำมหาวิทยาลัย คือ พระธรรมจักร เกิดขึ้นในปี 2479 มีความหมายว่าสถาบันแห่งนี้ยึดถือคติธรรมของพระพุทธศาสนา ในการกล่อมเกลาบัณฑิต สิ่งที่อยู่กลางธรรมจักรคือพานรัฐธรรมนูญ หมายถึงการยึดมั่นเชิดชูรัฐธรรมนูญ

       

      สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง-แดง

      "เหลืองของเรา คือ ธรรมประจำจิต แดงของเรา คือ โลหิตอุทิศให้"

      แต่มีคนเคยพูดติดตลกว่า ที่เป็นเหลืองแดง เพราะ ตั้งอยู่ ระหว่าง ท่าพระอาทิตย์ กับ ท่าพระจันทร์ไง

       

      ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นยูงทอง มีอยู่ 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเพาะชำเอง และเสด็จฯมาทรงปลูกด้วยพระองค์เอง ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวธรรมศาสตร์จวบจนทุกวันนี้

       

      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยมีร.ร.เตรียม เรียกว่า ชั้นเตรียมปริญญา ชื่อ ร.ร.เตรียม ม.ธ.ก.(ต.ม.ธ.ก) เพื่อผลิตนักเรียนเข้าเรียนต่อใน ม.ธ.ก. มีแค่ 8 รุ่นเท่านั้น แล้วก็ยุบไป ถ้ายังอยู่นะ เตรียมอุดมก็เถอะ เตรียมธรรมศาสตร์ ก็สู้ได้

       

      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยเป็นเจ้าของธนาคารเอเชียด้วย (เพราะตอนแรกไม่ได้ขึ้นตรงต่อรัฐบาล จึงไม่ได้รับงบฯ) เป็นธนาคารที่ดีที่สุดในยุคนั้นแต่ต่อมาถูกใช้อำนาจสกปรกขู่เข็ญให้มอบหุ้นทั้งหมด ให้นายทหารผู้หนึ่ง (น่าเสียดายมากๆ)

       

      ธรรมศาสตร์เริ่มต้นการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าที่ไหน ก็สู้การศึกษาด้านสังคมศาสตร์ของธรรมศาสตร์ ไม่ได้

       

      คณะเริ่มแรกตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย มี 4 คณะ คือ นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ แตกมากจาก หลักสูตร ธรรมศาสตร์บัณฑิต (ธ.บ.) เพราะ ........

       

      ที่ธรรมศาสตร์ เราจะมีพ่อชื่อปรีดี แม่ชื่อแม่โดม อาจารย์ชื่ออาจารย์ป๋วย บุพการีทั้งสาม

       

      เมื่อก่อนรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไม่มีสิทธิที่จะเข้าทำงานก่อนเหมือนรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หรือถ้าได้งานก็จะได้ระดับที่ต่ำกว่า ถือว่าเป็นการเลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาค จึงได้เกิดการประท้วงที่ ก.พ. เพื่อให้เปลี่ยนกฎระเบียบที่ เอาเปรียบธรรมศาสตร์ ในครั้งนั้น รัฐศาสตร์ จุฬาฯก็ไปร่วมประท้วงอีกแรง จนทำให้ ก.พ. ต้องออกมายอมแก้กฎระเบียบ เป็นเพื่อนรัฐศาสตร์ ที่รักความเป็นธรรม ยกย่องจริงๆ

       

      เพลงประจำมหาวิทยาลัยมี 2 เพลง เพลงแรกที่ใช้ คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำนองมอญดูดาว แต่งโดยขุนวิจิตรมาตรา และเพลงที่2 คือเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเพลงประจำมหาลัยมากที่สุดในประเทศ

       

      ธรรมศาสตร์ รุ่นแรกๆจะได้ ปริญญาหลักสูตร ธรรมศาสตร์บัณฑิต (ธ.บ.) เป็นที่เดียวในประเทศที่มีปริญญาเป็นชื่อ มหาวิทยาลัย

       

      ธรรมศาสตร์เคยจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วย เพื่อจะได้ดูเป็นกลาง แต่ไม่สำเร็จ

      ถ้าสำเร็จ สงสัย ม.กรุงเทพ ในปัจจุบันจะชื่อว่าอะไร ^_^

       

      งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯครั้งแรก มีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2477 ณ ทุ่งพระสุเมรุ สนามหลวง ผลคือเสมอกัน1-1 โดยครั้งนั้นยังไม่มี ขบวนพาเหรดแปรอักษร หรือเชียร์ อย่างในปัจจุบัน แต่คนทั้งเมืองตื่นเต้นมาก

       

      เคยสงสัยไหมว่างานฟุตบอลประเพณีบางปีทำไมเรียก ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ บางปีเรียก จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เพราะว่า ปีใดที่ไหนเป็นเจ้าภาพ ก็จะเอาชื่อของที่นั่นขึ้นก่อน ซึ่งการเป็นเจ้าภาพธรรมศาสตร์ จะเป็นครั้งที่เป็นเลขคี่ เพราะเริ่มครั้งแรกที่ธรรมศาสตร์ ส่วนจุฬาฯ จะเป็นครั้งที่เป็นเลขคู่ เช่น ปีหน้าครั้งที่ 64 จุฬาฯเป็นเจ้าภาพ แต่ที่โลโก้เสื้อเชียร์จะไม่มีการเปลี่ยน ไม่ว่าใครจะเป็นเจ้าภาพ เสื้อก็ขึ้นต้นด้วยชื่อมหาวิทยาลัยของตนเอง

       

      ไม่มีแบ่งรุ่นพี่-รุ่นน้อง แต่จะเรียกเป็นเพื่อนที่มาก่อนกับเพื่อนที่มาที่หลัง ส่วนเรื่องความเคารพระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่ก็ไม่เคยจางหาย ทุกครั้งที่เจอรุ่นพี่ รุ่นน้องจะไหว้เอง เป็นการให้เกียรติ และรู้กาลเทศะของชาวธรรมศาสตร์ ที่ไม่ต้องให้ใครมาบังคับ

       

      ไม่มีการซ้อมเชียร์หลังเลิกเรียน เพลงของชาวธรรมศาสตร์ทุกเพลง ชาวธรรมศาสตร์ร้องได้ด้วยการซึมซับ แต่ก็มีบางคณะบังคับร้องเป็นวรรคเป็นเวร แต่บางคณะจะเน้นสอนให้ร้องมากกว่า ไม่บังคับ เพราะ เด็กธรรมศาสตร์ รักเกียรติภูมิของเขาอยู่แล้ว

       

      ธรรมศาสตร์มีงิ้วล้อการเมืองที่มีชื่อเสียงมาก คือ งิ้วธรรมศาสตร์ หรือ งิ้วการเมือง โดยมีต้นกำเนิดจาก คณะนิติศาสตร์  แต่ปัจจุบันเป็นของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า "งิ้วสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ." ซึ่งรับประกันความดุเด็ดเผ็ดมันว่ายังเหมือนเดิมและสนุกอีกด้วย เป็นการเมืองที่ไม่น่าเบื่อเลยทีเดียว

       

      สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์   ด้วย

       

      ปีการศึกษา 2540 พระองค์ภาฯ ทรงเข้าไปนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ยังความภาคภูมิใจมาสู่ชาวธรรมศาสตร์เป็นล้นพ้น โดยทรงจบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 2 อีกด้วย

       

      หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นหอประชุมที่นักศึกษา มธ.

      ในอดีตภาคภูมิใจว่า เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุด ในเอเชียอาคเนย์

       

      คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้แยกตัวออกไปเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

       

      คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนและคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา แยกมาจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และนับอายุคณะตั้งแต่เป็น วิชาเอกของคณะสังคมสงเคราะห์

       

      คณะที่ท่าพระจันทร์มี 8 คณะ คือ นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ ศิลปศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ตามลำดับการเกิดของคณะ

       

      ยานพาหนะของนักศึกษาธรรมศาสตร์ รังสิตจะเป็น จักรยาน ซึ่งจะเรียกย่อๆว่า จั๊ก และบางทีทำให้รู้สึกว่า เรากำลังอยู่เมืองจีนหรือป่าว ^_^

       

      ธรรมศาสตร์ รังสิตมียามเยอะมากกกก และแต่ละคนดุหยั่งกะแมว

       

      ที่ซ้อมลีด ของเกือบทุกๆคณะจะอยู่ที่ ตึก วจ. ที่ย่อมาจาก วิจัย (จะย่อทำไม)และใกล้เคียง สามารถไปดูคนน่าตาดีๆได้ที่นี้

       

      มหาวิทยาลัยถูกปิดความเป็นตลาดวิชาลงเมื่อ พ.ศ.2503 เป็นระบบสอบเข้าแทน ทำให้ในปีนั้น มีเด็กจบ มศ.5 ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยเยอะมาก เพราะ ยังไม่มีตลาดวิชามารองรับเหมือน รามคำแหง ในปัจจุบัน

       

      ธรรมศาสตร์ ไม่มีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่จะเรียกว่าเพื่อนใหม่   เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

      แต่ก็มีบางคณะที่ใช้ระบบ SOTUS แต่ไม่ค่อยใช้ได้กับเด็กธรรมศาสตร์ เพราะ เป็น SOTUS ความเข้มข้นต่ำ

       

      ธรรมศาสตร์จะเรียนแบบตลาดวิชา เลือกเรียนได้อย่างเสรี เรียนเอกคณะตัวเอง แต่สามารถไปเรียนโทคณะอื่นได้ จะจัดตารางสอนแบบไหนไม่มีใครว่า ขอให้เก็บครบหน่วยกิตก็พอหรือพอปีหนึ่งเข้ามาไม่ชอบคณะที่ตัวเองอยู่ ก็สามารถทำเรื่องขอเปลี่ยนคณะได้ (แต่คะแนนต้องเกินคนสุดท้ายของคณะนั้นนะคร้าบบ)

       

      จากการจัดอันดับคณะที่มีงานทำมากที่สุด 3 อันดับแรกของธรรมศาสตร์ ไม่รวม (แพทย์ และทันตแพทย์) ปรากฏว่า อันดับหนึ่ง ได้แก่ อันดับหนึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ รองลงมาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อันดับสาม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ส่วน 3 ลำดับสุดท้ายไม่ขอกล่าวถึงนะครับ เดี๋ยวเขาจะโกธรเอา...

       

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จมาทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์กับนักศึกษา มธ.ด้วย โดยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแซกโซโฟนร่วมกับทียูแบนด์  และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเปียโน

       

      ในปี 2507 มีมติจากสภาการศึกษาแห่งชาติให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น มหาวิทยาลัยภูมิพล โดยให้โอนม.ธรรมศาสตร์ไปรวมกับ ม.แพทยศาสตร์(ม.มหิดลปัจจุบัน) และม.ศิลปากร แต่สมาคมธรรมศาสตร์มีมติคัดค้าน จึงไม่มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด

       

      ถ้าคอนเสิร์ตทุกครั้งที่เป็นเอกลักษณ์ ก็คงจะเป็นเด็กถาปัด ที่เอะอะ อะไรก็ ถอดเสื้อ ขี่คอ ขึ้นบนเวทีแบบไม่ได้รับเชิญ Self สะไม่มี (ของเขาแรงจริงๆ)

       

      อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ควบกับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ แต่ตามระเบียบ ก.พ. นั้น ข้าราชการจะทำงานพร้อมกันทีเดียว 2 แห่งได้ แต่จะได้รับเงินเดือนอีกแห่งเพียงครึ่งเดียว โดย อ.ป๋วยเลือกรับเงินเดือนคณบดีเต็มอัตรา 8,000 บาท และรับเงินเดือนผู้ว่าแบงก์ชาติครึ่งอัตราคือ 25,000 บาทแทน นับเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ในการตัดสินใจของท่านเพื่อชาวธรรมศาสตร์

       

      ธรรมศาสตร์ไม่มีผู้อัญเชิญธรรมจักร เพราะถือว่า ธรรมจักรอยู่ในหัวใจของนักศึกษาทุกคน แต่ในปัจจุบันมีแล้ว แต่ธรรมจักร ก็คงอยู่ในหัวใจเสมอ ฑูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เป็นคนเชิญ

       

      จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้ก่อตั้ง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เพราะ เป็นคณะที่มีมากในมหาวิทยาลัยของประเทศที่พัฒนาแล้ว

       

      วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นวันธรรมศาสตร์อีกด้วย

       

      โขนธรรมศาสตร์ เคยใช้เป็นการแสดงในการสมโภชการสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

       

      ลิฟท์แดง อยู่ที่คณะศิลปศาสตร์ (เรื่องนี้มีตำนาน เพราะใช้ขนศพของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เมื่อ เหตุการณ์ 6 ตุลา แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นลิฟต์ตัวใหม่แล้ว)

       

      ลานโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของ ธรรมศาสตร์และสังคมไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย

       

      ผู้มีพระคุณในเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่ชาวธรรมศาสตร์จะลืมไม่ได้ก็คือ แม่ค้าย่านท่าพระจันทร์และปากคลองตลาด ที่จัดทำเสบียงส่งให้ตลอด (อร่อยและอิ่ม จะได้มีแรงไปเดินขบวน)

       

      สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เช่าที่ดินของธรรมศาสตร์ (ที่รังสิต) เนื้อที่ 1,110 ไร่ เป็นเวลา 30 ปี รวมค่าเช่า 3,000 บาท แต่ตอนนี้แพงแล้ว เท่าไหร่ ไม่ทราบ แต่ราคาแพงมากๆ

       

      รถโดยสารใน มธ.รังสิต คือ รถราง เมื่อก่อนคนขับดุเหมือนแมว แถมคันไหนที่ผู้หญิงขับ นศ. ผู้หญิงจะเรียกว่า รถรางนางมาร แต่ปัจจุบัน ใจดีแล้ว

       

      อาหารที่ศูนย์รังสิต แพงกว่ามหาวิทยาลัยอื่นมากๆ แต่ก็อร่อยมากๆ เหมือนกัน  (ดูได้จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ได้เข้าเรียนที่นี่) บางโรงสองกับ 18 บางโรงก็ 20 แต่ที่ โรงอาหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์อร่อยมาก

       

      โรงอาหารในธรรมศาสตร์มี 9 ที่ ได้แก่ โรงอาหารกลาง โรงอาหารอินเตอร์โซน โรงอาหารสโมสรธรรมศาสตร์(เพิ่งสร้างล่าสุด) โรงอาหาร SC โรงอาหารวิดวะ โรงอาหารวิดยา โรงอาหารแพทย์ ครัว SIIT สวนอาหารโต้รุ่ง(ที่เปิดถึงเที่ยงคืน) และยังมีซุ้มขายอาหารมากมายก่ายกอง โดยเฉพาะทางเดินไปเรียนที่ ตึก บ.ร. ต่างๆ

       

      เรียนที่ธรรมศาสตร์จะต่างกับเรียนมหา'ลัยอื่นตรงที่ เจอคนหน้าคุ้นๆที่เคยรู้จักเคยเจอสมัยเรียนในทีวีแยะมาก จากที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยประชาชนกลายเป็นมหาวิทยาลัยดารา และนโยบายหลายๆอย่างของธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน น่าเปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ที่เลื่องลือในอดีตเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการค้า

       

      ห้องเรียนที่ธรรมศาสตร์ติดแอร์หมดทุกห้อง (ทำให้หลับสบาย)

       

      คณะที่เป็นขวัญใจของสาวๆ คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หรือ SIIT แบบว่ารูปหล่อ บ้านรวย เรียนเก่ง(คือถ้าขึ้นปี 2 ได้ ถือว่านายแน่มาก) เข้าง่าย ออกง่าย(โดนรีไทร์ หรือ Dismiss หรือซิ่ว) แต่จบยาก และงานวิจัยสามารถสู้กับ วิศวะ มหาวิทยาลัยดังๆได้แล้ว  เก่ง หล่อ พ่อรวยหรือแม่รวยก็ได้

       

      หอสมุดป๋วย คนจะเยอะมากตอนช่วงสอบ เนื่องจากเด็กจะไปออกันอ่านหนังสือ จนห้องสมุดต้อง เปิดเสียงเตือนประจำ ว่า ถ้าส่งเสียงดังจะเชิญออก แต่เสียงก็ยังคงดังเช่นเดิม

       

      ก่อนถึงเวลาปิด ครึ่งชั่วโมงหอป๋วยจะเปิดเพลงไล่นักศึกษาเป็นเพลงทันสมัยอีกด้วย แต่บางคนก็อยู่ต่อ บางคนก็เล่นเน็ตต่อ (WIFI) จนครบเวลา

       

      ช่วงสอบหอสมุดป๋วยจะเปิดถึง ห้าทุ่ม และมีเด็กอ่านหนังสือเยอะมาก บางคนไปหลับ

       

      หอสมุดธรรมศาสตร์มี  11  ที่ ได้แก่ สำนักหอสมุด ปรีดี พนมยงค์ อยู่ใต้ดิน, หอสมุดคณะนิติศาสตร์, หอสมุดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, หอสมุด ดิเรก ชัยนาม(รัฐศาสตร์), หอสมุดคณะเศรษฐศาสตร์, หอสมุดคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา(ชื่อยาวมาก), หอสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, หอสมุดรังสิต, หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์, หอสมุดกลุ่มแพทย์ศาสตร์และสายสุขศาสตร์

       

      อาคารเรียนที่ธรรมศาสตร์ จะอากาศร้อนจัดหรือหนาวสุดๆ แต่แอร์ก็เปิดแรงเช่นเดิม หน้าร้อนต้องเอาเสื้อกันหนาวไปใส่ แล้วหน้าหนาวล่ะจะเป็นไง

       

      ที่นี่ลากแตะไปเรียนได้.......ใส่ไปรเวทเรียนได้........ความรู้ไม่ได้อยู่ที่การแต่งตัว จิตสำนึกไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอก แต่ถ้าตรงจุดไหน อาคารไหน ช่วงเวลาไหน มหาวิทยาลัยให้แต่งนักศึกษาเข้าไปก็ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง(เพราะฉะนั้น ต้องดูอาจารย์ก่อนนะ เพราะอาจารย์บางคนเนี้ยบมาก โดยเฉพาะอาจารย์ที่จบจุฬาฯ)

       

      หอสมุดรังสิต จะเป็นหอสมุดแอร์เย็นมากกกกกกกกกก เพราะคนน้อย นอกจากนั้นยังมีสวนตรงกลางห้องสมุด ร่มรื่นจริงๆ อ่านหนังสือรู้เรื่อง กว่าหอสมุดป๋วยอีกด้วย และ wireless แรง ไม่ค่อยมีคนเล่น

       

      เศรษฐศาสตร์ เป็นคณะหนุ่มหล่อของธรรมศาสตร์ แต่วิดวะ กับ SIIT ก็ ไม่แพ้กัน

      แต่ผู้ชายที่สวยที่สุด ก็ สังคมสงเคราะห์ ไง แต่หนุ่มหล่อคณะนี้ก็เยอะนะ ศิลปกรรมฯก็มีหนุ่มสวยไม่แพ้สังคมสงเคราะห์เลยนะ

       

      พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เป็นคณะรวมสาวสวยของธรรมศาสตร์

       

      คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สนิทกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาก เพราะจะต้องไปเล่นงิ้วการเมือง ให้เกือบทุกงานของรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

       

      ลานอินเตอร์โซนเป็นลานที่มีกิจกรรมบ่อยๆ โดยเฉพาะวันที่มีตลาดนัด เด็กจะซื้อของไปนั่งกินและดูกิจกรรมไปด้วย

       

      ก่อนสี่ทุ่ม จะมีการส่งสัญญาณด้วยการดับไฟที่ตลาดนัด เพื่อให้รู้ว่าเก็บของกลับได้แล้ว

       

      หอเอเชี่ยนเกมส์ เป็นหอมหาวิทยาลัยรัฐฯที่หรูที่สุด มีแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ยูบีซี ลิฟท์ แล้วก็เบอร์โทรศัพท์ 02-... ส่วนตัวทุกห้อง (ต่อเนตได้สบายๆ แต่เสียค่าเนตแพง และไม่มีโปรโมชั่น) ค่าไฟก็แพงหูฉี่เลย (เปิดแอร์อย่างเดียวตกช.ม.ละ 6 บาท แอร์โบราณรุ่น เอเชี่ยนเกมส์)

       

      หอเอเชี่ยนเกมส์จะมีโซน A-E

      แต่หอน.ศ.จะอยู่ที่โซน B C E

      โซนB เป็นโซนห้องละ 4 คน มี 8 หลังๆละ 8 ชั้น

      โซน C เป็นโซนห้องละ 2 คน มี 11 หลังๆละ 8 ชั้น เช่นกัน

      ส่วนโซนE มี 2 หลังๆละ 4 ชั้น ไม่มีลิฟท์

       

      จะเป็นที่รู้ๆกัน ว่า หอ C9 C10 C11 จะเป็นหอที่ ค่าไฟแพงมากกกก เพราะ มีแต่เด็ก SIIT อยู่กัน เกือบ 80% โดยเฉพาะ C10

       

      หอในเป็นหอพัดลม อาบน้ำรวม จะมีอะไรที่เหมือนๆกับหอในของมหาวิทยาลัยอื่นทั่วๆไป ค่าไฟไม่แพง อยู่มาไม่เคยจ่ายเกิน 50 บาท  ค่าน้ำไม่ต้องจ่าย แถมมี wireless พร้อมแม่บ้านทำความสะอาดห้องน้ำ วันละ 2 ครั้ง และ ในปัจจุบัน หอ 2 และ 4 ของหอชาย และ หอ 6 หอหญิง มีแอร์ ที่ประหยัดกว่าหอเอเชี่ยนเกมส์ (มั้ง) หอนี้ไม่มีลิฟท์ เพราะมี 4 ชั้นเองคร้าบ

       

      เด็ก self จัดต้องนี่เลย สถาปัตย์ฯ กับ ศิลปกรรมฯ (ของเค้าแรงจริงๆ โดยเฉพาะหนุ่มถาปัด นอกจากจะหน้าตาดีแล้วยังบ้าดีเดือดได้ใจ ว่ากันว่า เด็กถาปัดจะน่าตาดี แค่ปีหนึ่ง หลังจากที่เรียนๆไป ก็จะแปลงร่างสะงั้น ส่วนสินกำเนี่ย  ก็เน้นแต่งตัวบ้าบอๆ โดยเฉพาะ น้องปีหนึ่งเทอมแรก ไปไหนมาไหนรู้กัน และมีผู้ชายสวยเยอะมาก)

       

      ถ้าใครเล่นmsn หรือเกมส์ ในห้องคอม หอสมุดป๋วยจะโดนขึ้นประจานให้ทุกเครื่องทราบว่าคุณกำลังทำผิดกฎห้องสมุด แล้วทุกคนก็จะหันมาทางคุณกันหมด (เป็นเรื่องที่น่าอับอายมากๆ) แถมด้วยการถูกเชิญออก นอกจากนั้น ยังโดนตัดสิทธิ์ไม่ให้เล่นเน็ตที่หอสมุดป๋วย หนึ่งเดือน เป็นไงล่ะ 555+

       

      Noc ที่มีลักษณะคล้ายบ้านหนึ่งชั้นที่ตั้งอยู่ข้างล่าง หอเอเชี่ยนเกมส์ จะเป็นที่ตั้งของ ชมรมต่างๆ

       

      โรงอาหาร SC ปัจจุบันกลายเป็น โรงอาหารวิศวะ 2 ไปซะแล้ว เพราะ 50% ที่กินข้าวที่นี่ล้วนแต่ใส่ช็อปทั้งนั้น เพราะ โรงอาหาร วิดวะ ติดกับ SIIT ส่วนโรงอาหาร SC (สังคมศาสตร์) ติดกับวิดวะ ส่วนเด็กสายสังคมศาสตร์ ไปกินที่โรงอาหารกลางกันครับ เพราะราคาไม่แพง

       

      สะพานที่คู่รักมักจะไปนั่งจู๋จี๋ให้อาหารปลากัน คือ สะพานแห้ว หรือ สะพานปลา ที่หน้าตึกคณะวิศวะ

       

      ยุงธรรมศาสตร์ เป็น ยุงที่ IQ สูงมาก เพราะเป็นยุงที่ขึ้นลิฟท์ได้ อยู่ชั้น 14 ยังโดนยุงกัด อย่างนี้น่าจะมีโล่ประกาศเกียรติคุณ ยุงความสามารถดีเด่น ยังกัดผ่านกางเกงยีนส์ได้อีก สุดยอด

       

      ยาทากันยุง ยอดฮิต ของเด็กธรรมศาสตร์ รังสิต คือ  ซอฟเฟล

       

      งานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 63 ธรรมศาสตร์แปลอักษรได้สวยกว่าจุฬาฯ ไม่เชื่อไปดูรูปได้เลย แต่ที่ได้เหมือนกันคือความสนุก และเป็นเพื่อนพ้องพี่น้องกัน

       

      งานฟุตบอลประเพณี ทำให้ ธรรมศาสตร์ จุฬาฯได้รับฉายานามว่า Cambridge – Oxford แห่งเมืองไทย

       

      เมื่อก่อนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีอีกชื่อว่า โรงพยาบาลซาร่า เพราะถึงแม้ว่าจะเจ็บปางตาย ถ้าไปขอยาจากที่นี่ก็จะได้แต่ ซาร่า แต่ในปัจจุบัน เปลี่ยนแล้วเรียบร้อย บริการก็ดีขึ้นด้วย และได้ยาชนิดอื่นแทนซาร่า เพราะไม่แจกซ่าราแล้ว

       

      ตลาดนัดที่นี่มีฉายาว่า ตลาดนัดดูตัว เพราะจะมีคนหน้าตาดีมาเดินเยอะมาก จะมีทุกวันจันทร์ กับ พฤหัสบดี ของกินอร่อยๆ ก็เยอะ(มากๆ) ของใช้ก็เยอะ   เด็กม.อื่นไม่ว่าจะ ม.กรุงเทพ ม.รังสิต ราชภัฏวไลยลงกรณ์ เกษตรฯ มศว.  ก็มาเดินตลาดนัดที่นี่กันเยอะเช่นกัน แม้แต่จุฬาก็ยังมีเลย (มาไกลนะครับ)

       

      บ.ร. คือ อาคารบรรยายรวม มีทั้งหมด 5 หลัง ตึก บ.ร. มีฉายาว่า บรรทมรวม เพราะวิชาที่น่านอนหลับจะเรียนที่ตึก บ.ร.เป็นส่วนใหญ่ แต่ที่เห็นได้เรียนๆ กัน ก็ บ.ร. 4 ห้อง 203 เป็นตึกและห้องที่มีเด็กต่างคณะเรียนมากที่สุด

       

      ธรรมศาสตร์ เป็นต้นแบบกระโปรงดำ ที่นักศึกษาหลายๆมหาลัยใส่กันในปัจจุบัน เพราะจุฬาฯเป็นต้นแบบประโปรงกรมท่าบานๆ

       

      ที่นี้จะดูเด็กปีหนึ่งไม่ออกกัน เพราะ เด็กปีหนึ่งชอบแต่งตัวแก่กว่ารุ่นพี่ เนื่องจากไม่มีข้อบังคับเรื่อง การแต่งตัวว่าปีหนึ่งต้องแต่งยังไง ปีสูงแต่งยังไง นี่คือ!!! เสรีภาพที่แต่จริง

       

      แฟชั่น ตุ้งติ้ง ที่ นศ.ผู้หญิงห้อยกันที่ปกเสื้อ มีจุดเริ่มต้นจากนักศึกษาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

       

      ร้านชัยพฤกษ์ เป็นร้านที่ขายตุ้งติงของธรรมศาสตร์เกือบทุกคณะ และ ขาย Necktie แบบเข็มอีกด้วย

      Necktie แบบเข็มจะดูหรูกว่า Necktie แบบสกรีน ตั้งอยู่ตรงข้ามธรรมศาสตร์ ฝั่งประตูท่าพระจันทร์

       

      สมัยก่อนมีการแข่งขันแข่งเรือยาว ระหว่าง ธรรมศาสตร์ กับ ศิริราช เป็นงาน การแข่งขันเรือยาวประเพณี ธรรมศาสตร์ ศิริราช และทำให้หนุ่มรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์พบรักสาวพยาบาลศิริราช กิ๊กกิ้วววว

       

      ในตอนนี้ที่ท่าพระจันทร์ไม่ค่อยมีขนม หรือ อาหารขายแล้ว ส่วนใหญ่จะขายจตุคามกันเยอะมากกกกกกก ต่อไปคงได้กินจตุคาม แทนขนม

       

      มีการแข่งขันรักบี้ประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ซึ่งปีที่แล้ว (2549) ซึ่งได้งัดแงะกีฬาฯโบราณชนิดนี้ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ เป็นการแข่งขันรักบี้ประเพณีธรรมศาสตร์ จุฬาฯ ครั้งที่ 23 ผลคือธรรมศาสตร์ชนะจุฬาฯ

       

      คณะศิลปศาสตร์ หรือคณะปรีชาศิลปศาสตร์ ชื่อนี้เป็นต้นแบบเริ่มแรกที่ ธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆก็ใช้ตามๆกัน

       

      ขนมบราวนี่ เป็นขนมที่อร่อยขึ้นชื่อของที่รังสิต เวลาไปเรียน TU110 , TU120 ,TU130 คนมักจะต่อแถวกันยาวเหยียดเพื่อซื้อขึ้นไปกิน ทั้งๆที่หน้าห้องเขียนว่า ห้ามนำอาหารและน้ำเข้ามาในห้องบรรยายก็ตาม บางครั้งเอาเข้าไปกิน แล้วถูกอาจารย์ด่าและบอกว่า ให้กินตอนพักเบรก เอ๊ะ ! ยังงัย

       

      สังเกตได้ว่าผู้ชายที่ท่าพระจันทร์หน้าตาเหียกๆแฟนจะสวยมาก เพราะที่นี่ผู้ชายคือ rare item (คณะที่ผู้ชายแยะๆจะอยู่รังสิต) ส่วนผู้ชายท่าพระจันทร์ส่วนใหญ่จะหน้าตาเห่ยๆ แต่ที่มีหล่อๆ ก็จะหล่อมาก ครึ่งหนึ่งของผู้ชายเหล่านั้นมักจะเป็นเกย์  ด้วยเหตุเช่นนี้ผู้หญิงท่าพระจันทร์เลยต้องไปหาแฟนเอาดาบหน้าหรือไม่ก็จำต้องลดมาตรฐานตัวเองลง อิอิ (ข้อมูลจากรุ่นเก๋า)

       

      คณะศิลปกรรมฯ มีตึกเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น ตึกยิม 2 ตึกคณะศิลปกรรมฯและวารสารศาสตร์ฯ และที่ล่าสุด อาคารปฏิบัติการทางศิลปกรรมศาสตร์ ติดกับปั้มน้ำมัน PTT ธรรมศาสตร์ รังสิต  

       

      ค่าไฟเฉพาะห้องบรรยาย 1,000 คน ที่ บ.ร.4 อย่างเดียว ตกเดือนละ 400,000 บาท และไม่ได้มีห้องเดียว

       

      สะพานดาวอยู่หน้ามหาวิทยาลัย ที่ศูนย์รังสิต เอาไว้พาแฟนไปชมดาวกันตอนกลางคืน ทางที่ดีควรไปรถป๊อป เพราะปั่นจักรยานไปขาลากแน่นอนเพราะไกลมากๆ  (แต่อย่าลืมเอาซอฟเฟล ไปด้วย)

       

      ฝั่งโน้น ในความหมายของเด็กธรรมศาสตร์ คือ ร้านเหล้าทั้งหลายแหล่ ที่อยู่ฝั่งประตูเชียงราก ที่ดังๆก็จะมี กระฉ่อน 89, Sweet Duck เป็นต้น (แต่ตอนนี้ย้ายแล้วนะจ๊ะ กระฉ่อน 89 ออกไปไกลหน่อย ต้องนั่งรถไป ใหญ่ไฮโซหรูหรากว่าเดิม Sweet Duck อยู่ใกล้ที่เดิม แต่ต้องเดินเข้าไปลึกอีกหน่อย...แอบไปเซอร์เวย์มาแล้ว)

       

      ลักษณะของโดมแต่ละที่


            "โดมไม้เมืองพี่ ท่าพระจันทร์
           
      โดมเปลือยขวัญ รังสิตทรงศรี
           
      โดมแก้ว ลำปางธานี
            โดมน้องพี่ เชิดชูธรรม นำผองชน"

       

      คลื่นPCT จะมีที่หอเอเชี่ยนเกมส์โซนซี อินเตอร์โซน แล้วก็บ.ร.1-บ.ร.4

       

      ที่ศูนย์รังสิตมีโชว์รูมรถยุโรปด้วย ไม่ว่าจะเป็น S-class, BMWseries5, A-Class, Mini Ferrari ฯลฯ จะสามารถหาดูได้ที่ SIIT แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่นจะเป็นของอาจารย์ หรือไม่มีเวลาก็ ไปหาดูได้ในเวลากลางคืน ตรงบริเวณ หอโซน D เพราะรถส่วนมากจอดอยู่แถวนั้น ดูแต่ตามืออย่าต้อง เพราะถ้าสัญญานดังตัวใครตัวมันนะครับ

       

      SIIT กับ วิศวะ ภาคอินเตอร์ คือคนละอย่างกัน เพราะ SIIT เป็นอีกสถาบันแต่สังกัดม.ธรรมศาสตร์

       

      หลักสูตร วิดวะ อินเตอร์ จะเหมือนกับ วิดวะ SIIT นะ (งงไหม)

       

      คณะที่ธรรมศาสตร์ชอบมีคำว่า และ เช่น

      คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

      คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

      คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

       

      ธรรมศาสตร์ มี 4 ศูนย์ คือท่าพระจันทร์ รังสิต พัทยา และลำปาง แต่เมื่อก่อนมี 5 ศูนย์ มีศูนย์นราธิวาส ด้วย แต่ทำการปิดศูนย์ไปแล้ว เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในปัจจุบัน

       

      ในสมัยที่คุณหญิงนงเยาว์ เป็นอธิการบดี เคยมีการปิดโรงอาหารกลางตอนกลางคืน เพื่อเป็นเธค ให้ความผ่อนคลายแก่ น.ศ.ด้วย (อยากให้มีอีกจัง)

       

      หอสมุดที่หรูและอยู่ใต้ดินและติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อว่า หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ที่ท่าพระจันทร์

       

      มีการขุดพบปืนใหญ่หลายกระบอกเมื่อครั้งก่อสร้างประตูใหม่ ที่ต่อจากกำแพงโบราณ ด้าน ถ.พระจันทร์

       

      ที่ท่าพระจันทร์มีปืนใหญ่โบราณหลายกระบอก หันหน้าทางสนามหลวง ไม่รู้จะยิงใคร อิอิ

       

      มีการขุดพบแนวกำแพงเมืองเก่า ในขณะสร้างอาคาร 60 ปี และลานจอดรถใต้ดิน หน้าคณะรัฐศาสตร์

       

      ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีกำแพงเป็นกำแพงเก่าพระราชวัง อยู่ด้านหลังคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ใครปีนขึ้นไป ไม่รับประกันความปลอดภัย เพราะ สูงมาก)

       

      สมัยก่อนองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) มีชื่อว่า สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

       

      ชื่อโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

       

      ในสมัยก่อนนั้น รัฐบาลพยายามครอบงำธรรมศาสตร์ โดยส่งจอมพลถนอม กิติขจร มาเป็น อธิการบดี มธ. และส่งพลเอกประภาส จารุเสถียรไปเป็นอธิการที่ จุฬาฯ จนมีการแต่งเพลงเสียดสีกันในงานฟุตบอลประเพณี ว่า ลามะลิลา ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา ถนอมอยู่ธรรมศาสตร์ ถนอมอยู่ธรรมศาสตร์ ส่วนประภาสนั้นอยู่ จุฬาฯ... เอ้อ

       

      ในปี 2550 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน โดยใช้ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน  ที่จะลืมไม่ได้เลย ในปี 2541 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ก็ใช้ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็น สถานที่จัดการแข่งขันด้วย และกีฬามหาวิทยาลัยโลก ธรรมศาสตร์ ก็เป็นเจ้าภาพด้วย

       

      สำนักทะเบียนและประมวลผลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสำนักทะเบียนที่ทำงานช้าที่สุดของประเทศไทยเลยก็ว่าได้  และเกรดบางตัวก็ออกช้ามาก จนทำให้พี่บางคนที่ควรจะรับปริญญาในปีที่จบ กลายเป็นต้องเลื่อนไปรับอีกปี เพราะ เกรดเจ้ากรรม ออกช้า ทำเรื่องจบไม่ได้

       

      อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ฉายาคนของแผ่นดิน ผู้เป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตอย่างสมถะ และสันโดษ ก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี และเป็นผู้ช่วยให้ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อยู่รอดและปลอดภัย จนถึงปัจจุบัน

       

      สามอนุสาวรีย์คนดีศรีธรรมศาสตร์และประเทศไทย อยู่ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต ได้แก่

      อาจารย์ปรีดี ท่ายืน อยู่ที่หน้าตึกยิม 2

      อาจารย์ป๋วยหน้าตึกเรียนรวม(SC)

      และอาจารย์สัญญาอยู่หน้าตึกคณะนิติศาสตร์-คณะรัฐศาสตร์-คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

      แต่ที่ ท่าพระจันทร์ ก็มี อนุสาวรีย์อาจารย์ปรีดี ท่านั่ง

       

      ธรรมศาสตร์เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว

       

      ตราโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ไม่มีพานรัฐธรรมนูญ แต่มี เครื่อง cross แทน ( + ) (เอาออกทำไม)

       

      คำขวัญอมตะของธรรมศาสตร์ คือ "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน"

       

      นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้ แต่อาจจะยกเว้นบางวิชา ตอนนี้ได้มีการรณรงค์ให้แต่งชุดนักศึกษากันให้มากขึ้น

       

      ชุดสุภาพที่ได้รับอนุโลมและสามารถเข้าสอบได้ คือ เสื้อนักศึกษา กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ คล้ายรามฯ เพราะเคยเป็นตลาดวิชาเหมือนกัน

       

      มีผู้เคยกล่าวไว้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ (ไม่ชื่อไปเปิดประวัติศาสตร์การเมืองตั้งแต่ 2475 ธรรมศาสตร์ มีความเกี่ยวข้อง และเป็นผู้นำในด้ารกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ)

       

      ธรรมศาสตร์ เป็นที่เรียนที่มีตั้งแต่ แรกปฐมวัย-อนุบาล-ประถมศึกษา-มัธยมศึกษา-ปริญญาตรี-ปริญญาโท และปริญญาเอก ครอบคลุมจริงๆ

       

      ธรรมศาสตร์ไม่เรียกผู้ที่ศึกษาที่นี่ว่า นิสิต เพราะถือว่า การเป็นนิสิตเป็นการถูกกำหนดขอบเขต

       

      ธรรมศาสตร์ ยังไม่มีคณะเภสัชศาสตร์ และคาดว่าอีกนาน

       

      ค่าไฟแต่ละเดือนของธรรมศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท จึงต้องมีโครงการธรรมศาสตร์หาร 2

       

      ธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่นักการเมืองอยากลดบทบาททางการเมืองมากที่สุด เพราะ กลัวธรรมศาสตร์ลุกขึ้นสู้

       

      หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ อยู่ตรงข้ามหอสมุดปรีดี ที่ท่าพระจันทร์  ถ้าต้องการศึกษาประวัติมหาวิทยาลัยตั้งแต่ ปี2477 ก็สามารถดูได้จากที่นี่

       

      ศาลเจ้าแม่สิงโต ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของ นศ. คณะรัฐศาสตร์ และคณะอื่นๆอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอาคาร 60 ปี ว่ากันว่าถ้าอธิษฐานเรื่องความรักจะสมหวัง (จริงหรือป่าวลองไปขอดู)

       

      เด็กบัญชีมักจะเข้าใจผิดว่า โรงอาหารคณะสังคมสงเคราะห์ คือโรงอาหารคณะบัญชี 555+

       

      เด็กท่าพระจันทร์จะข้ามถนนแบบทาง One-way เก่งมาก เพราะฝึกหัดเสี่ยงชีวิตกันทุกวันที่หน้ามหา'ลัยฝั่งสนามหลวง และจะวิ่งเร็วและมีประสาทสัมผัสดีในการหลบหลีกดีเยี่ยมเพราะต้องคอยหลบน้ำจากสลิงรดน้ำขนาดยักษ์หลายอันที่รดบนสนามหลวง

       

      ตึกศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีหุ่น จิ๊งหน่อง และพอมองจากฟ้าจะเห็นตึกเป็นรูป TU

       

      ช่วงก่อนงานฟุตบอลประเพณี จะเห็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณีวิ่งหน้าตามอมแมม หลายๆรอบที่สนามฟุตบอลที่ท่าพระจันทร์ ถ้าใครไปวิ่งที่สนามฟุตบอลในช่วงนี้จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณีได้ง่ายๆ แต่จะมีประโยคตามท้ายลอยมาให้ได้ยินว่า "ทำไมลีดปีนี้หน้าตาไม่ดีเลยว่ะ" 555+

       

      รู้หรือไม่ว่า ธรรมศาสตร์ เป็นแม่แบบเจ้าของ Step Basic ฮิต 123 123 12 12 1 และจุฬาฯ เป็นแม่แบบเจ้าของ Step Basic  12 123 12 12 121 ที่ใช้กันมาทุกๆวันนี้

       

      ถ้าป่วยไปโรงพยาบาล ไม่สบาย เป็นไข้ แนะนำให้ไปหลัง 4 โมงเย็น เข้าทางแผนกฉุกเฉินจะได้ตรวจเร็ว เสร็จเร็ว รับยาเร็ว ไปต้องคอยเป็นชั่วโมงๆเหมือนช่วงกลางวัน และสำหรับเด็กธรรมศาสตร์ ก็ฟรีด้วย(ถ้าไม่มียานอกบัญชีนะครับ)

       

      หลังจากปีหนึ่งเราจะเห็น เด็ก SIIT น้อยลง เพราะ พวกเขาต้องไปเรียนไกลถึง บางกะดี และจะมีเสียงพร่ำบ่นว่า อาหารไม่พอ และไม่มีอะไรศิวิไลซ์เลย (ไปเรียนนะครับ ไม่ได้ไปเที่ยว อิอิ)

       

      น.ศ.ที่อยู่หอพักที่ศูนย์รังสิต จะต้องทำการย้ายทะเบียนบ้านเข้าหอ เพื่อที่ธรรมศาสตร์จะได้ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนคลองหลวงบ้าง

       

      ถึงธรรมศาสตร์ รังสิตจะอยู่นอกเมืองไปนิดส์ แต่การเดินทางสะดวก ไม่ว่าจะเป็น

      รถเมล์ 29 ปอ. 29 หัวลำโพง - มธ.รังสิต เป็นรถเมลล์ที่ผ่าน จุฬาฯ- เกษตรศาสตร์- ธรรมศาสตร์

      สาย 39 มธ. รังสิต - สนามหลวง

      และ ยูโร 39 510 ตลาดไท - มธ. รังสิต สนามหลวง

      และยังมี รถตู้ มธ.รังสิต อนุสาวรีย์ 30 บาท ใช้เวลา 45 – 50 นาที

      หรือไม่ก็ รถตู้ NGV มธ.รังสิต จตุจักร 30 นาที 30 บาท

      นอกจากนั้น ยังมีรถไป มธ.ท่าพระจันทร์ มธ.รังสิต อย่าคิดว่าฟรีครับ เพราะต้องจ่าย 40 บาท

       

      สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ มีอีกชื่อหนึ่งคือ สำนักงานดูดทรัพย์สิน

      ยิ่งตอนบิลค่าไฟมานี่ยิ่งดูดหนัก แต่เด็กหอในจะรอดจากการถูกดูดอย่างรุนแรง

       

      อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของธรรมศาสตร์ รังสิต แต่ไม่ได้มีส่วนสำคัญอะไรต่อธรรมศาสตร์ มาอยู่บ้านเขาแล้วยังไม่ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่นอีก

       

      แฟนพันธุ์แท้โขนไทย อยู่คณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ

       

      ตึกเรียนที่หรูที่สุดในศูนย์รังสิต คือ ตึกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือ ตึก SMEs ซึ่งใหญ่มาก และถ้าเปิดไฟในตอนกลางคืนจะสวยมาก

       

      ธรรมศาสตร์มีอุโมงค์ลอดรถสั้นๆระหว่าง โรงพยาบาลธรรมฯ กับ ตึก SMEs ด้วย

       

      ป้ายธรรมศาสตร์ ด้านหน้ามหาลัย ฝั่งพหลโยธิน ใหญ่มาก อาจจะเป็นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ว่าได้

      วงเวียนใน มธ.รังสิตมีทั้งหมด มี 6 วงเวียน โซนบี อินเตอร์โซน แพทย์ โซนดี ศูนย์ญี่ปุ่น วงเวียนหลัง main stadium

       

      ถั่วที่ตึกสินสาด มีชื่อเสียงมาก เพราะขายมาหลายสิบปีแล้ว และปัจจุบันก็ยังขายอยู่

       

      คณะเศรษฐศาสตร์ ชอบแย่งโรงอาหารกลางที่อาคาร 60 ปี กับคณะรัฐศาสตร์ โดยคิดว่า โรงอาหารเป็นของตนเอง

       

      ตึกโดมกับสนามฟุตบอล เคยโดนระเบิดตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย สนามฟุตบอลเป็นรูใหญ่มาก

       

      สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ถือว่ามีความขลังมาก เพราะ เป็นที่คนตายเป็นร้อยๆ ศพ ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา

       

      ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติยาวนานและมีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย และต่อสู้เพื่อประชาชนไทย

       

      ธรรมศาสตร์มีงาน Book festivals ด้วย จัดบริเวณ ตึก SMEs ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

       

      รถที่บริการในธรรมศาสตร์ นอกจากรถรางแล้ว ยังมีรถสองแถว ค่าบริการ 4 บาท ไม่ฟรีเหมือนรถรางนะครับ

       

      นิติศาสตร์ มีกองสันนิติฯที่มันส์ไม่แพ้กองสันทนาการ มธ.เลยทีเดียว

       

      ตึกสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ที่สร้างเสร็จเป็นตึกที่เว่อร์มากๆ เพราะ สร้างใหญ่เกินจำนวนของนักศึกษา นอกจากนั้นยังมีอะไรพิเศษๆอีกมากมาย เนื่องจากคณะนี้รวย ค่าเทอมแพงสุดแล้วในบรรดาคณะภาคภาษาไทย

       

      หอเอเชี่ยนเกมส์โซนมักจะมีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติมาโดยตลอด

       

      คณะน้องใหม่ล่าสุด แยกตัวจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่วิวัฒนาการจาก ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

       

      คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ไม่ใช่คณะที่มีคะแนน Entrance หรือ Admission อันดับหนึ่งของประเทศ แต่คุณภาพของการศึกษาเป็นสายการบัญชีและบริหารเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

       

      นาฬิกาลูกตุ้มบนตึกโดม มีชื่อว่า นาฬิกาปารีส ได้รับบริจาคจาก ห้างเอส.เอ.บี

       

      ตึกพาณิชยศาสตร์และการบัญชีที่ท่าพระจันทร์ มีอีกชื่อว่า ตึกตู้ปลา

       

      เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิตมากมาย และนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่า 14 ตุลาคม 2516 มาก เนื่องมาจากท่านอธิการบดีในขณะนั้น คือ อาจารย์ป๋วย ถูกกล่าวโจมตี ว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ จนตัวท่านต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ

       

      โป๊ะพรานนก ตรงฝั่งศิริราช เมื่อหลายสิบปีก่อนเกิดโป๊ะล่มคนเสียชีวิตหลายสิบ ปัจจุบันหลังคาโป๊ะจึงได้ถูกถอดออกเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ว่ากันว่า สาเหตุหนึ่งที่โป๊ะล่มเพราะวิญญาณของคน 14 ตุลาคมที่หาคนไปอยู่แทน เพราะเมื่อก่อนตรงจุดนั้นเป็นจุดรักษาพยาบาลคนเจ็บในช่วง 14 ตุลาของศิริราช

       

      ชีวิตที่ท่าพระจันทร์ นอกจากธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์มีความขลังของสถานที่แล้ว ของกินอร่อยไม่ว่าจะร้านคุณเอก ร้านมะตะบะท่าพระอาทิตย์ ร้านคุณหลุยส์ ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวฟรี ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ส้มตำกองขยะ ส้มตำ-ข้าวโพดทอดร้านกิ้ว บราวนี่-มะขามคุณแอ๊ว  แล้วไปไหนมาไหนสะดวก นั่งกินหนม ดูหนุ่มๆเตะบอลที่ร้านสมบัติ ช่วงบ่ายหลังเรียนเสร็จแล้วก็แว้บไปซื้อเสื้อนักศึกษาราคาประหยัดที่บางลำพู ช็อปปิ้งตลาดมือสองที่ศิริราช ช้อปที่ท่าพระจันทร์ เดินเล่นสยาม นั่งกินข้าวส่องหนุ่มสาวจุฬาที่สามย่าน  อ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติ ทำรายงานที่หอสมุดปรีดี ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ เล่นว่าวที่สานามหลวง (ฮื่อๆๆ อยากกลับท่าพระจันทร์) (ข้อมูลจากรุ่นพี่)

       

      สังเกตได้ว่า เด็กที่มาเรียนธรรมศาสตร์ รังสิตจะตัวดำขึ้น เพราะแดดรังสิต ร้อนมาก

       

      ส่วนเด็กสังคมสงเคราะห์ (ท่าพระจันทร์) มักจะชอบแอบไปเข้าห้องน้ำที่ตึกบัญชีเพราะห้องน้ำสะอาด ไฮโซ มีทิชชูพร้อม

       

      ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในบางครั้งก็จะมีคนจรจัด เร่ร่อนมาพักอาศัยในมหาวิทยาลัย ทำให้เป็นมหาวิทยาลัยของประชาชนจริงๆ

       

      อาคารเรียน SC มีห้องคอมฯ ชั้นสองที่เน็ตเร็วมากๆ และคนชอบไปเล่นกันตอนพักเที่ยง และตอนก่อนเรียน สามารถทำอะไรก็ ไม่ว่า จะแชท เล่นเน็ต สืบข้อมูล เปิดเว็ปX (ถ้าไม่เกรงใจคนข้างๆ) เพราะที่นี้ไม่มีข้อห้ามเหมือน หอสมุดป๋วย แต่ปิดเร็วมาก 4 โมงเย็น

       

      ที่ตึกวิดวะ ใต้ตึกจะมีที่ให้อาหารปลา ซึ่งคู่รักจะไปให้อาหารปลากัน สังเกตดีๆ ปลาที่นี่ตัวใหญ่มากๆ เพราะเลี้ยงอย่างเดียว และอาหารปลาก็ห่อล่ะห้าบาท หย่อนตังค์ลงกระปุกแล้วเอาไปได้เลย

       

      กองสันทนาการ มธ. เป็น  RCA แห่งธรรมศาสตร์ ไม่มีเด็กธรรมศาสตร์คนไหนไม่รู้จัก เพราะพวกเขาจะมากับเสียงหัวเราะและความสนุก

       

      มธ.รังสิต มีตัวเงินตัวทองเยอะมาก และบางตัวเดินผ่านหน้าคนอย่างหน้าตาเฉย แต่ที่น่ารังเกียจที่สุดคือ ตัวเงินตัวทองในคราบของมนุษย์ อึ๋ยยย

       

      มธ.รังสิต มี เซเว่น 5 ที่ ได้แก่ Zone B, Zone C, หลังโรงกลาง, ปั้มน้ำมันตรงข้างตึกวิดวะ, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ แต่เซเว่นที่ เปิด 24 ชั่วโมง มีที่เดียวหลังโรงกลาง

       

      สวนเทียม เป็นที่เข้าใจว่าเป็นสวนที่ทำขึ้นมาเทียม แต่จริงๆแล้ว เป็นสวนที่ ดร.เทียม สร้างให้

       

      หากใครสามารถขับรถจักรยานพาแฟนขึ้นสะพานหน้าตึกวิดวะได้ จะทำให้รักกันนานๆ หรือไม่ก็จะได้เป็นแฟนกัน แต่ไม่ค่อยมีคนทำได้ เพราะมันสูงมากๆๆ  Slope อย่างชัน

       

      วัน Back to School ของคณะวารสารฯ จะเห็นเด็กปีหนึ่งแต่งตัวชุดนักเรียนโรงเรียนเก่าไปเรียนหนังสือ จนบางทีแต่งตัวแบ๊วเกินขอบเขตของหน้าตา อิอิ

       

      น้ำหนักของสาวๆ มธ. เพิ่มขึ้นเยอะ เนื่องจาก มีตลาดนัดที่ ไม่สามารถห้ามใจกับอาหารการกินที่มีให้เลือกมากมายและอร่อย

       

      เสื้อที่แจกในวันรับเพื่อนจะ หดตัวเร็วมาก จาก SIZE L จะเหลือ SIZE S (โอ้วววว จอร์จ มันเป็นไปได้หรือนี่)

       

      ลงทะเบียนเรียนทางเทเลแบงก์ 1551 เป็นอะไรที่ต้องใช้ความอดทนสูง ในการกดโทรศัพท์ และอย่าคิดว่าจะใช้อินเตอร์เน็ต เพราะ เน็ตล่มบ่อยมาก ทางที่ดีขอโควตาไว้ จะได้ตื่นสายๆมาลงทะเบียนได้

       

      การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนอินโดจีน จากฝรั่งเศสคืน เป็นการเดินขบวนครั้งแรกของ นศ.ธรรมศาสตร์

       

      เสื้อ Shop ของวิดวะ จะมีชื่อว่า “Shop สองบรรทัด ส่วน SIIT จะมีชื่อว่า “Shop สามบรรทัด ลองไปสังเกตดู

       

      คณะสังคมสงเคราะห์ มีเสื้อ Shop ด้วย สีเลือดหมู คล้ายๆกับ วิดวะ ม.กรุงเทพฯ และ สาธารณสุข มหิดล

       

      หอในจะเป็นหอที่น้ำไม่ไหลบ่อยมาก บางคนกำลังสระผม อาบน้ำ หรือแม้แต่ อุจจาระ อยู่ดีน้ำไม่ไหล จึงไม่แปลกที่จะได้ยินคำสบถออกมาจากห้องน้ำไม่ขาดสาย

       

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะที่มีนักศึกษามากที่สุด และซิ่วออกพอประมาณ

       

      คณะSIIT เข้ามา 700 คน ปี 2 จะเหลือไม่ถึง 400 คน

       

      ที่ ธรรมศาสตร์ ใครที่ Drop วิชา หรือ เรียน Summer สามารถมีสิทธิ์ได้เกียรตินิยมตามหลักเกณฑ์เดิม

       

      เมื่อไหร่ที่ ไฟดับ ธรรมศาสตร์ รังสิต จะกลายเป็น สวนสัตว์ รังสิต ทันที จะได้เสียงประหลาดจากหอต่างๆ โดยเฉพาะหอชาย นอกจากนั้นได้ยินสียง ผัวๆๆๆๆ จากหอชายอีกด้วย

       

      ยามที่ธรรมศาสตร์ ไม่ถือเรื่อง หมวกกันน็อค เพราะฉะนั้น ถ้าใครใส่หมวกกันน็อค จะกันแดดมากกว่า กันยาม และไม่มีหมวกกันน็อคเพราะขับรถป๊อบกัน

       

      อาจารย์ป๋วย เป็นศิษย์เก่าม.ธรรมศาสตร์คนแรก ที่ได้เป็นอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์

       

      8 ธ.ค. 2484 ธรรมศาสตร์แพ้ฟุตบอลประเพณีกับจุฬาฯ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2477 ทำให้อาจารย์ผู้คุมทีมถึงกับหัวใจวายถึงแก่กรรม

       

      ปลายเดือน ก.ย. 2545 เกิดฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง ทำให้ต้นโพธิ์ธรรมศาสตร์ ฉีกกลางลำต้น

       

      ธรรมศาสตร์ในยุคนี้มีคนให้ฉายาว่า ยุคสายลมแสงแดด เพราะธรรมศาสตร์ไม่ค่อยมีบทบาททางการเมือง แต่มันก็ร้อนจริงๆนะ มธ.รังสิต มีแต่สายลมและแสงแดด ขอร่มไม้หน่อยเถอะ

       

      หลังจากประกาศคะแนนเสร็จมีหลายคนจะไปแก้บนที่ อนุสาวรีย์อาจารย์ป๋วย ส่วนใหญ่จะเน้นวิ่ง แต่ก็ถือเป็นการออกกำลังกาย

       

      หลังจากพักเที่ยง จะมีนักศึกษาจำนวนหนึ่ง(มากอยู่) เดินกันไปกินอาหารที่ โรงอาหารกลาง และต้องผ่านหอสมุดป๋วย ซึ่งจะมาพร้อมเสียงที่ดังกระหึ่ม จนประตูทางเข้าต้องเขียนว่า ห้ามส่งเสียงดังขณะผ่านห้องสมุด ที่ต้องเดินผ่านตรงนั้น เพราะมีแอร์เย็นช่ำ

       

      ฟิตเนสในธรรมศาสตร์ มี สองที่ คือ ใต้ Aquatic ไปก่อน 6 โมงเย็นเข้าฟรี หลัง 6 โมงเย็น 20 บาท (แต่ไป 5.59 ตลอด) และ ตึกทันตแพทย์เป็นของคณะพยาบาลศาสตร์ ค่าบริการ 20 บาท

       

      ช่วงสอบ แบรนด์ ที่เซเว่นทุกสาขาใน มธ.รังสิต มักจะขายดีเป็นพิเศษและหมดอย่างรวดเร็ว

       

      ถ้ามีการฉลองงานวันเกิดจะยินเสียงเพลงแฮปปี้เบิร์ดเดย์ก่อนเวลาจริงคือ  00.00 น. แต่เนื่องจากเป็นเวลาหอปิด ต้องรีบเป่าเค้กอวยพรก่อนถึงเวลาเข้าหอ

        

      ตึกโดมบริหารที่รังสิตเป็นกระดูกโดมท่าพระจันทร์ ที่สร้างเป็นกระดูกโดมเนื่องจาก อ.ป๋วย ต้องการให้ทุกคนรู้ว่า โดมท่าพระจันทร์ ไม่มีอาวุธสงครามหรืออะไรใดๆทั้งสิ้น

       

      ตอนนี้ ธรรมศาสตร์ 73 ปีแล้ว แต่ถ้านับจริงๆ ก็ เกิน100 ได้ล่ะ

       

      ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัย 5 แผ่นดินเช่นเดียวกับจุฬาฯ ถ้านับอายุอย่างนี้ต้องถือว่า ธรรมศาสตร์ เก่าแก่ว่าจุฬาฯ เพราะธรรมศาสตร์วิวัฒนาการจาก โรงเรียนกฎหมาย ซึ่งก่อตั้งในปี 2440 แต่จุฬาฯที่วิวัฒนาการจากโรงเรียนมหาดเล็ก ฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน ก่อตั้งในปี 2442 เพราะฉะนั้น ธรรมศาสตร์เกิดก่อนจุฬาฯ แต่เป็นมหาวิทยาลัยช้ากว่าจุฬาฯ

       

      ถึงแม้ว่านักศึกษาจะไม่ได้ศึกษาที่ท่าพระจันทร์ แต่ความเป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ก็ได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมให้กับนักศึกษาทุกคนเสมอมา แต่การเรียนที่ท่าพระจันทร์จะทำให้เราสามารถซึมซับความเป็นธรรมศาสตร์มากกว่า จริงหรือป่าว!!!!

      Creat By 490551xxx
      (ข้อมูลทั้งหมดบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฎบนหน้าประวัติศาสตร์และการดำรงอยู่จริง และมีบางส่วนเป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียน โปรดวิจารณญานในการอ่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัย ณ ที่นี้ และขอขอบคุน ข้อมูลเก่าบางส่วนที่ได้จากหนังสือ รับเพื่อนใหม่ 2549 แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครับ)

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×