4 เทคนิคเขียนเรียงความสมัครเรียนต่อนอก ให้ชนะใจกรรมการ!

        สวัสดีค่ะน้องๆชาว Dek-D.com มีน้องๆหลายๆคนถามกันเข้ามาอยู่ตลอด ถึงวิธีการเขียน Statement of Purpose (SOP) ดังนั้น พี่สตางค์ ก็เลยได้โอกาสทำการรวบรวม 4 สุดยอดเทคนิคการเขียน SOP มาฝากกันในวันนี้ค่ะ!!

                                
        สำหรับใครที่ยังไม่ทราบ Statement of Purpose หรือ SOP ก็คือ เรียงความหรือบทความที่ทำให้มหาวิทยาลัยได้รู้จักเรามากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในการพิจารณารับเข้าเรียนของสถาบันต่างๆ  99% ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักกำหนดให้ผู้สมัครเขียน SOP ด้วย คำถามก็คือว่า แล้วเราจะเขียนอย่างไร ให้ถูกใจกรรมการผู้พิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียนให้มากที่สุด? คำตอบนั้นอยู่ที่นี่แล้วค่ะ! เรามาดูเทคนิคการเขียน SOP ให้ออกมาโดนใจ "คณะกรรมการ" กันเลยดีกว่า!
                                               
                                    

                             
I. ตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในการเขียนให้ชัดเจน
                                         
      โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายในการเขียน SOP ก็คือเพื่อที่จะจูงใจคณะกรรมการ, เจ้าหน้าที่, หรือผู้คัดเลือกนักศึกษาที่ได้อ่านว่า เรานี่แหละ! ที่คุณควรเลือกรับเข้าเรียน โดยเราอาจจะแสดงให้เขาเห็นว่าเรามีคุณสมบัติ มีความสามารถ มีแรงจูงใจที่ดี ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ ซึ่งเป้าหมายในการเขียนของเรานี้ เราจะต้องยึดมั่นไว้ และพยายามแสดงเป้าหมายนี้ให้ครอบคลุมเรียงความของเราทั้งหมด เนื้อหาอะไรที่ผิดเป้าหมาย หรือผิดประเด็นที่เราต้องการจะนำเสนอก็ควรตัดทิ้ง
                                              
                                           
II. มุ่งเขียนเพื่อตอบโจทย์ในสิ่งที่คณะกรรมการต้องการจะทราบ
                             
      การเขียนก็คือการสื่อสารให้ผู้อ่านได้ทราบสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ดังนั้นเราจึงควรระลึกอยู่เสมอว่า ผู้อ่านขอเราก็คือคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่จากคณะนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีความรู้ทางด้านสาขาวิชานั้นๆที่เราต้องการจะสมัครอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่อยากรู้ว่าเรามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากน้อยเท่าไหร่ (ก็เราจะสมัครไป "เรียน" นี่เนอะ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีความรู้มากเข้าไปก่อน แต่เข้าไปเพื่อหาความรู้กลับออกมาต่างหาก) แต่สิ่งที่คณะกรรมการมองหาจาก SOP ของเรา คือสิ่งต่อไปนี้ : 
1) จุดมุ่งหมายในการเรียนต่อ : ซึ่งแสดงให้เห็นเป้าหมายของเรา และทำให้คณะกรรมการทราบว่า เราได้คิดใคร่ครวญอย่างดีแล้วว่าเราต้องการจะศึกษาต่อไปเพื่ออะไร
2) ขอบเขตในการศึกษา : แสดงให้เห็นว่า เรารู้แน่นอน (เข้าใจถูกแล้ว) ว่าสาขาวิชานี้สอนอะไร เราถึงได้ตัดสินใจมาสมัคร และเราต้องการที่จะมีความเชี่ยวชาญในด้านใดเป็นพิเศษ (เช่น จะเลือกเอกอะไร) 
3) เราจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรในอนาคต : จุดนี้ควรพูดถึงเป้าหมายของเราในอาชีพการงาน รวมไปถึงเป้าหมายในชีวิตของเราในอนาคตด้วย ซึ่งข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เพราะมหาวิทยาลัยย่อมจะต้องการนักเรียน ที่จบไปแล้วจะเป็นศิษย์เก่าที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับมหาลัยได้ เช่น ได้งานที่ดี สร้างประโยชน์ให้สังคม หรือจะสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยได้ในอนาคตนั่นเองค่ะ

4) การเตรียมความพร้อมของเราในการเข้าศึกษา : นี่เป็นโอกาสให้เราได้แสดงให้คณะกรรมการเห็นคุณสมบัติของเรา ทั้งผลการเรียนที่ผ่านมา รวมไปถึงประสบการณ์ต่างๆนานาที่เราได้สั่งสมมา ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเป็นผู้สมัครที่พร้อมสุดๆ ที่จะเข้าศึกษาคณะนี้! 
5) อธิบายปัญหา หรือจุดด้อยของเราให้กระจ่าง : หากว่าเรามีข้อบกพร่อง เช่น มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่สูงนัก หรือมีคะแนนภาษาที่ไม่ค่อยดี ตรงนี้เป็นจุดที่เราจะได้แก้ต่างให้กับตนเองค่ะ เช่น ที่เรามีเกรดเฉลี่ยไม่ดี อาจจะเพราะว่า เราเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์และถนัดทางด้านศิลปะ แต่มีวิชาบังคับเป็นวิชาคำนวนที่เราไม่ถนัดมาดึงเกรด หรือในส่วนคะแนนภาษา อาจจะบอกไปว่า ถึงแม้เราจะมีคะแนนที่ไม่สูงนัก แต่ตอนนี้เราก็ได้ฝึกภาษาเพิ่มเติม หรือลงคอร์สเรียนเสริมทางภาษาแล้วหลังจากที่ได้ผลคะแนนนั้นมา เป็นต้น
6) ให้คำตอบว่า "ทำไมเราต้องมาศึกษาที่สถาบันนี้" : แม้ว่าคณะที่เราต้องการเรียนจะมีเปิดสอนทั่วไปในหลากหลายสถาบัน แต่เราต้องตอบเขาให้ได้ว่า "ทำไมต้องสถาบันของเขาเท่านั้น" ที่เราต้องการจะเรียน เช่น คณะนี้ของที่นี่มีเนื้อหาวิชาที่ตรงกับที่เราต้องการ เป็นสถาบันที่มีความโดดเด่นในเรื่องมาตรฐานการเรียนการสอน หรือสถาบันนี้มีชื่อเสียงในสาขาวิชานี้มาก เช่นนี้เป็นต้น ซึ่งจุดนี้จะเรียกคะแนนจากคณะกรรมการได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ 
7) แสดงความเป็นตัวเราให้คณะกรรมการได้เห็น : โดยสรุปแล้ว สิ่งที่คณะกรรมการต้องการจะทราบ ก็คือเรื่องของตัวเรานั่นเอง เพราะคณะกรรมการก็คือคนแปลกหน้าที่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเราเลย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องแสดงให้พวกเขาเห็นว่า "นี่แหละ คือเรา" 
                                        
                                            
III. วางโครงสร้าง SoP ให้ดี

        จากสิ่งที่คณะกรรมการต้องการทั้งหมด วางแผนการตอบคำถามนั้นให้ออกมาเป็นในรูปของเรียงความให้ดี โดยเราอาจจะวางเป็นโครงสร้างดังต่อไปนี้
ย่อหน้าที่ 1 – อธิบายสาเหตุหรือแรงจูงในที่ทำให้เราเลือกเรียนสาขาวิชานี้ อาจจะอธิบายว่าคณะนี้เกี่ยวข้องความสนใจของเรา หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างไร
ย่อหน้าที่ 2 – อธิบายว่าหลักสูตรที่เราต้องการจะสมัครเรียนนี้ มีความสำคัญต่อเราอย่างไร พยายามแสดงให้เห็นว่าเรามีความเข้าใจในขอบเขต เนื้อหาวิชา (แสดงให้เห็นว่าเราได้ไปทำการค้นคว้า/อ่านรายละเอียดของคอร์สนี้ มาอย่างถี่ถ้วนแล้ว) และเรามีความสนใจหลักสูตรนี้จริงๆ 
ย่อหน้าที่ 3 – บอกเล่าเกี่ยวกับประวัติของเรา ทั้งเรื่องการศึกษา การทำงาน หรือประสบการณ์ที่เรามีที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้สมัครที่มีความพร้อม และเหมาะสมที่จะเข้าเรียนในสาขาวิชานั้นๆมากที่สุด
ย่อหน้าที่ 4 – แสดงเป้าหมายของเราว่า หลังจากที่เรียนจบแล้ว เราจะนำความรู้ที่ได้มานั้นไปทำอะไร เช่น อธิบายว่าการเรียนคอร์สนี้จะช่วยส่งเสริมเราในอาชีพที่ใฝ่ฝัน และจะสร้างประโยชน์ให้กับตัวเอง สังคม ประเทศชาติของเรา (อย่างไรก็ว่าไป) บอกแผนการในอนาคตของเราให้ชัดเจน
        นี่เป็นเพียงตัวอย่างแนวทางโครงสร้างเท่านั้นนะคะ น้องๆไม่จำเป็นที่จะต้องยึดตามนี้เป๊ะๆ เช่นเราอาจจะมีเรื่องประสบการณ์ที่อยากพูดถึงเยอะ ก็มีส่วนที่อธิบายคุณสมบัติของเราหลายย่อหน้าก็ได้ หรืออยากจะเอาประวัติของเราขึ้นก่อนในย่อหน้าแรกก็ไม่ผิด เพียงแต่อย่าลืมวางแผนว่าเราจะเขียนเรื่องอะไรบ้าง เรียงลำดับ 1,2,3,4 ให้ดีๆ
                                                
                                       
IV. เขียนให้ตรงประเด็น ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อหรือซับซ้อน
                                                                    
        จุดนี้เป็นจุดที่หลายๆคนพลาดกันมาก เพราะพยายามที่จะใช้ภาษายากๆ หรือแต่งประโยคที่มีความซับซ้อนเกินไป (แล้วก็พลาดใช้อย่างผิดๆ เช่น ผิดแกรมม่า ใช้คำศัพท์สูงๆที่ไม่เข้ากับประโยคที่เขียน) ทำให้อ่านแล้วสะดุดและดูหลอกๆ ดังนั้นจึงควรใช้คำที่เรามีความคุ้นเคย แม้จะไม่ได้ใช้คำศัพท์หรูๆ แต่ก็สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นนี้จะดูดีกว่าเยอะเลยค่ะ
        นอกจากนี้ หลายๆคนยังเข้าใจผิด คิดว่าเขียนเรียงความยิ่งยาวยิ่งดี ขอบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดสุดๆเลยค่ะ! ลองนึกภาพคณะกรรมการที่อ่าน SOP ดูสิคะ ว่าปีๆ หนึ่งพวกเขาจะต้องอ่าน SOP จากผู้สมัครตั้งเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่พวกเขามองหา จึงไม่ใช่เรียงความยาวๆที่มีเนื้อหาเยิ่นเย้อ แต่พวกเขาต้องการเรียงความที่มีความชัดเจน สื่อสารได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าค่ะ! 
                                                                                             


 
                   
V. อ่านทวน ตรวจทาน
                                                          
        ขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้งานเขียนของเราออกมาดีที่สุดก็คือการตรวจทานค่ะ ยิ่งตรวจทานหลายๆรอบยิ่งดี และยิ่งมีคนอื่นๆช่วยอ่านให้เราด้วยยิ่งดีที่สุด เพราะบางครั้งเราเขียนเองอาจจะไม่พบข้อบกพร่องในบางจุด ดังนั้นการให้คนอื่นช่วยอ่านจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยได้ค่ะ 
        นอกจากนี้ สำหรับใครที่ไม่เก่งภาษาหรือไม่แน่นแกรมม่า อยากแนะนำให้หาผู้ช่วยตรวจเรื่องภาษาของเราด้วย อาจจะเป็นคุณครู ญาติผู้ใหญ่ หรือรุ่นพี่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษามากกว่าเรา หรือหากใครไม่มีคนช่วยจริงๆ ลองเอางานเขียนของเราไปเช็คตามเว็บไซต์ที่ตรวจแกรมม่าดูก็ได้ค่ะ เช่น www.Grammarly.com
                                         

                                                        (www.grammarly.com)

                                                                       
        หวังว่าน้องๆคงจะพอได้แนวทางในการเขียน SOP กันแล้วนะคะ ยังไงพี่สตางค์ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกเขียนเขียน SOP ออกมาให้ได้ดีๆ และถูกใจกรรมการกันทุกคนเลยนะคะ ^^  อ้อ! แล้วอย่าแอบไปลอก SOP ของคนอื่นมาจากในเน็ตกันนะคะ! ขอบอกว่าการทำเช่นนี้ นอกจากคณะกรรมการจะไม่ให้เราผ่านแล้ว เรายังจะมีความผิดฐาน Plagiarism อีกด้วย! (ใครไม่รู้จัก Plagiarism คลิก!) เพราะฉะนั้น เขียนเองสไตล์เราดีที่สุดเนอะ ^^ 
ทุกเรื่องเกี่ยวกับการเรียนต่อนอกอยู่ที่นี่แล้ว คลิกเลย! www.dek-d.com/studyabroad/






TWITTER@STANGDEKD


ภาพประกอบ : aucegypt.edu, blog.sfgate.com

พี่สตางค์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด

26 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
forever-love..zz Member 5 ก.ค. 55 04:37 น. 9
ขอบคุณค่ะ
มาอ่านไว้เป็นความรู้ ตอนนี้อยู่ปีสี่แล้ว
บางทีก็คิดอยากจะหาทุนไปเรียนต่อ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
[B]iTter_Swe[E]t Member 11 ก.ค. 55 23:10 น. 12
ขอบคุณมากค่าา เพิ่งเขียนสมัครแลกเปลี่ยนของโรงเรียนไป รู้สึกตอนนั้นนี่ ติ้อมาก ๕๕๕
แล้วใบนั้นก็มีความสำคัญมากกกกๆๆๆจริงๆ เราเขียนไปอนาถมาก อ.บอกว่า อันเนี้ย เป็นหน้าเป็นตาของเราก่อนกรรมการจะรู้จักเรานะ เขียนมาดีดี ๕๕
ขอบคุณมากๆจริงๆค่ะ :)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปิ่นโต๊โต Member 25 พ.ย. 55 10:17 น. 15
ขอบคุณค่ะได้แนวทางดีๆเยอะเลย กำลังจะขอทุนไปอังกฤษถ้าได้ไปก็ต้องขอบคุณพี่เลยล่ะค่ะ("ถ้าได้"นะคะ555)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
clear 27 พ.ค. 56 13:41 น. 19
ตอนนี้ีมีทุนเต็ม ค่าเรียนป.โทฟรีที่อังกฤษนะ เพื่อนๆคนไหนสนใจเข้าไปดูรายละเอียดตามลิงค์ได้เลย เอา IELTS 6.0 และต้องเขียน SOP เพื่อเป็น Brand Ambassador ด้วย http://www.istudyuk.co.th/scholarships/york-st-john-brand-ambassador-2013/
0
กำลังโหลด
pantor-portuk Member 6 ก.ค. 56 18:35 น. 20
กำลังจะสอบไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนคะ...แต่ต้องเขียนเรียงความอังกฤษว่าทำไมถึงเลือกไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเขียนเป็นไทยเสร็จแล้วงานเข้าคะเพราะเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด