รวมภาพที่ใส่ hasgtag #ข่มขืนต้องประหาร จากทวิตเตอร์
จากกระแส #ข่มขืนต้องประหาร จากข่าวสะเทือนใจ ทำให้พี่เกียรตินึกถึงประเด็นเมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่มีกลุ่มนักกิจกรรมจาก 13 เมืองทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ประท้วงต่อต้านกฎหมายชะรีอะฮ์ของบรูไนที่ถูกโจมตีว่ามีบทลงโทษที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
การรณรงค์ประท้วงเรื่องที่ว่านี้มาจากการที่สุลต่าน ฮัสซานัน โบลเกียแห่งบรูไนทรงประกาศใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีพื้นฐานมาจากหลักวิถีศาสนาอิสลามสำหรับมุสลิมซึ่งมีข้อลงโทษที่ชัดเจนและเข้มงวด เช่น การเฆี่ยนในคดีดื่มสุรา การถูกปาก้อนหินจนเสียชีวิตในคดีผิดประเวณี ความผิดมีชู้ มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การลงโทษด้วยการถูกตัดอวัยวะในคดีขโมยทรัพย์สิน เป็นต้น
สุลต่านบรูไนทรงประกาศกำหนดบังคับใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556
Image: BT, bt.com.bn
แต่ก็ด้วยกฎหมายนี้ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิมทุกด้าน อาทิ ข้อบังคับการเรียน กำหนดโทษปรับหรือจำคุกในความผิดตั้งแต่การประพฤติตัวไม่เหมาะสม ข้อกำหนดการไปละหมาดที่มัสยิด การตั้งครรภ์นอกสมรส การผิดบาปมีรักกับคนเพศเดียวกัน และอีกหลายประการ ทำให้นานาประเทศ กลุ่มสตรีแนวหน้า กลุ่มคนข้ามเพศ (LGBT) รวมถึงสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้บรูไนชะลอการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่าบทลงโทษยังขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ และยังมีการลงโทษด้วยความโหดร้ายและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ และหลายฝ่ายวิจารณ์เลยว่าการบังคับใช้กฎหมายแบบนี้มันจะทำให้บรูไนกลับสู่ยุคหิน
Image: EPA, Available from: aljazeera.com
การถือป้ายชุมนุม ชวนเชิญบอยคอตโรงแรมของสุลต่านบรูไนทั้งในอังกฤษ เจนีวา โรม และลอสแองเจลิส
Image: David McNew, Getty Images
สุลต่านบรูไนทรงประกาศกำหนดการใช้กฎหมายนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว (2556) ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายนี้ในวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา แต่ก็ได้มีการเลื่อนการบังคับใช้มาจนกระทั่งเริ่มใช้กฎหมายชะรีอะฮ์นี้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้แล้วค่ะ โดยระยะแรกจะเริ่มจากกฎขัอกำหนดพื้นฐานในชีวิตทั่วไปก่อน อย่างกำหนดการไปมัสยิด การกำหนดวิชาศาสนาเป็นวิชาบังคับ แล้วค่อยเริ่มกฎหมายระยะที่ 2 ที่เพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นภายในปีนี้ ซึ่งกฎหมายนี้จะบังคับใช้เฉพาะกับชาวมุสลิมบรูไนเท่านั้น ไม่นับรวมไปถึงชนกลุ่มน้อย และนักท่องเที่ยว จึงไม่น่าผลต่อการท่องเที่ยวค่ะ
สุลต่านบรูไนทรงประกาศใช้กฎหมายชะรีอะฮ์อย่างเป็นทาการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557
และเมื่อปีที่แล้วก็มีการสำรวจความคิดเห็นของชาวมุสลิม 39 ประเทศรวมทั้งไทย (5 จังหวัดภาคใต้) ต่อการบังคับใช้กฎหมายโดยอิงหลักศาสนาอิสลาม ของสถาบันวิจัย Pew Research Center พบว่าชาวมุสลิมในแต่ละประเทศมีความคิดเห็นต่อกฎหมายชะรีอะฮ์นี้แตกต่างกันมาก อย่างชาวมุสลิมในอัฟกานิสถานร้อยละ 99 สนับสนุนกฎหมายชะรีอะฮ์ ชาวมุสลิมในอินโดนีเซียสนับสนุนกฎหมายชะรีอะฮ์ร้อยละ 72 ขณะที่ชาวอาเซอร์ไบจานเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่สนับสนุน อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในโลกเห็นว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ ควรนำมาใช้กับชาวมุสลิมเท่านั้น มีเพียงอียิปต์ คีร์กีซสถาน อัฟกานิสถาน จอร์แดน และอินโดนีเซีย เท่านั้น ที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่คิดว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ควรใช้กับผู้นับถือศาสนาอื่นด้วย แต่ที่น่าสนใจคือ ชาวมุสลิมในหลายประเทศส่วนใหญ่มองว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ ไม่ได้ขัดกับเสรีภาพในการนับถือศาสนา อย่างชาวไทยมุสลิมเองที่สำรวจ จำนวนร้อยละ 77 สนับสนุนให้ใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ แต่ร้อยละ 79 ก็สนับสนุนเสรีภาพในการนับถือศาสนาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ใครจะวิจารณ์ว่าชะรีอะฮ์นี้จะนำพาบรูไนกลับสู่ยุคหิน แต่อย่าลืมว่าบรูไนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่รัฐบาลให้การดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนดีที่สุดในเอเชีย พลเมืองทุกคนจะได้รับสิทธิรักษาทางการแพทย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และภาครัฐจะออกค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาให้ประชาชนทุกคนจนจบปริญญาตรี ไม่ว่ากฎหมายจะเป็นอย่างไรแต่ทุกคนมีความสุขโดยพื้นฐานจากสวัสดิการของรัฐอยู่แล้วค่ะ
ศาสนจารย์ระดับสูงของบรูไนท่านหนึ่งกล่าวว่า "อย่ามองที่บทลงโทษ เช่น ตัดมือ ปาหิน หรือเฆี่ยน แต่ควรให้ความสนใจในระบบการตัดสินโดยรวม ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าจะยุติธรรมกับทุกคน และกฎหมายข้อบังคับใหม่จะเป็นเครื่องยืนยันให้ประชาชนชาวบรูไนมีคุณภาพชีวิตที่ดี" ประเด็นนี้ก็น่าคิดเหมือนกันเนอะ และเมื่อดูจากการสำรวจข้างต้นก็พบว่าชาวมุสลิมหลายๆ ประเทศเองก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปกับกฎหมายชะรีอะฮ์นี้เช่นกัน
รวมภาพที่ใส่ hasgtag #ข่มขืนต้องประหาร จากทวิตเตอร์
ก็ถือว่าพี่เกียรตินำข่าวเพื่อนบ้านอาเซียนมาเล่าสู่กันฟังจ้า เพราะอย่างไรข้อกำหนดตามหลักชะรีอะฮ์นี้ ก็ไม่อาจนำมาลงโทษผู้ผิดได้ตามหลักกฎหมายไทย และจะว่าไปกฎหมายทุกอย่างมีบทลงโทษเพื่อใช้ป้องกันหรือยับยั้งคนจะกระทำผิดมากกว่า แต่แท้จริงกว่านั้นแล้วก็คือ ไม่ว่ากฎหมายจะมีบทลงโทษเบาหรือหนักแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าทุกคนไม่ยึดถือกฎหมาย เอาแต่พยายามหาข่องโหว่และหลบเลี่ยงกันในทุกๆ เรื่องกันจนเคยตัว ถึงจะมีกฎหมายเข้มงวดบทลงโทษหนักแค่ไหน ผลมันก็เละเทะไม่ต่างกัน...จริงไหมคะ หรือน้องๆ ชาว Dek - D คิดเห็นอย่างไรคะ คุยกันได้นะคะ
แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ:
- manager.co.th/around/viewnews.aspx?NewsID=9560000132749
- bt.com.bn/news-national/2013/10/22/brunei-enforce-syariah-law (The Brunei Times)
-aljazeera.com/indepth/opinion/2014/05/brunei-sharia-law-at-what-cost-2014528134130788926.html
- frontpagemag.com/2014/dgreenfield/the-brunei-moment/
- twitter.com/search?q=%23ข่มขืนต้องประหาร&src=hash&mode=photos
- pewforum.org/2013/04/30/the-worlds-muslims-religion-politics-society-exec/
- voanews.com/content/global-muslim-survey-finds-support-for-sharia-but-also-for-religious-pluralism/1652158.html
26 ความคิดเห็น
กฎหมาย ไม่ใช่ หลักธรรมทางศาสนา
ชารีอะห์ไม่ใช่แค่กฎหมาย แต่รวมทั้งคำสั่งในแง่กฎหมาย และระบอบ การดำเนินชีวิต นั่นก็คือคำสอน ครับ ตามความคิดเห็นที่ 1 ก็อาจจะใช่ในศาสนาอื่นนะครับ แต่ในศาสนาอิสลามจะไม่แบ่งแยกศาสนาออกจากชีวิตประจำวัน การปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งบทบาทและหน้าที่ครับ
ผิดประเวณีคือยินยอมทั้ง2ฝ่าย บทลงโทษจึงจะถูกใช้กับกรณีนี้ ส่วนข่มขืนบทลงโทษจะถูกใช้กับคนผิด ค่าาาาา
ปาหินจนตาย นึกถึงเพลง Judas ของ LADY GAGA เลย
มันต้องค่อยทรมาน!!
มันตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันคนไม่ให้ทำผิด เด็ดขาดไม่เหมือนกฏหมายบ้านเรา มีอารยะธรรมแต่คนเลวๆบ้านเรานี่มีัมากกว่าประเทศที่พวกคุณบอกว่าไร้อารยะธรรมอีก
ปล.กฏหมายโหดขนาดนั้นใครจะกล้าทำ ถ้าทำก็แสดงว่าเตรียมใจที่จะรับโทษอ่ะนะ
ปล2 กฏหมายบ้านเราแมร่งให้โอกาสโจรว่ะ ลดโทษแมร่งทุกปี แบบนี้หมาที่ไหนจะกลัวกฏหมายครับ บอกหน่อย