ทำไมเราถึงเรียน "ภาษาอังกฤษ" แบบเดียวกับที่เราเรียน "ภาษาไทย" ไม่ได้

        พี่น้องเชื่อว่าชาวเด็กดีทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ย่อมมีเป้าหมายเดียวกันคืออยากเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ พูดภาษาอังกฤษให้เก่ง ฟังภาษาอังกฤษให้ออก แบบเดียวกับที่เราใช้ภาษาไทยได้อย่างเป็นธรรมชาติ
        เคยคิดกันมั้ยคะว่า ถ้าที่เราพูดภาษาแม่ได้ดีทุกวันนี้เป็นเพราะกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ทำไมเราถึงไม่เอากระบวนการเหล่านั้นมาใช้กับการเรียนรู้ภาษาอื่นๆ ในตอนโตล่ะ?
        ทำไมเราถึงเรียนภาษาอังกฤษ แบบเดียวกับที่เราเรียนภาษาไทยไม่ได้?
        เอ๊ะ? หรือทำได้นะ?
        เรื่องนี้
"พี่น้อง" จะอธิบายให้ฟังค่ะ
 

1. สมองของเด็กนั้นสดใหม่กว่าสมองของผู้ใหญ่

        ในฐานะผู้ใหญ่ เรายอมรับกันว่าการเรียนภาษาให้พูดคล่อง ใช้ได้จริงนั้น ยากมาก ไม่ต้องพูดถึงการเรียนเพื่อเอาไปสอบเลย
        แต่เราไม่แปลกใจเหรอคะ ทั้งๆ ที่เราคิดวิเคราะห์ได้ดีกว่าเด็ก ออกเสียงได้ดีกว่าเด็ก เขียนตัวหนังสือได้ดีกว่าเด็ก แต่กลับเรียนภาษาได้ไม่เต็มที่เหมือนเด็ก
        (เอ๊ะ นี่เราโตมาทำไม?)
        อย่างแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือ แม้เราจะมีทักษะด้านต่างๆ ที่พัฒนากว่าเด็กน้อยหัดพูด แต่สมองของเรากลับอัดแน่นไปด้วยภาษาแม่ที่เราเรียนรู้เป็นภาษาแรก
        ตรงข้ามกับเด็กที่สมองยังว่างเปล่า เป็นผ้าขาวที่รอให้มีคนมาระบายสี
        เมื่อสมองของผู้ใหญ่ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาประจำตัวเจอกับภาษาใหม่ มันจะทำตัวเหมือนเป็นแฟนเก่าขี้อิจฉาที่คอยเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับแฟนใหม่ตลอด
        ทำไมภาษานั้นไม่วางกริยาต่อจากประธานนะ?
        ทำไมภาษานั้นออกเสียงไม่เหมือนภาษาเราเลยนะ?
        เมื่อสมองเปรียบเทียบมากๆ เข้า มันก็มาขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เราเรียนรู้ได้ช้าลง และต้องพยายามทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มากขึ้น
        พูดง่ายๆ เหมือนเราใช้ชีวิตมาตลอด 10 ปีโดยเชื่อว่าโลกกลม แล้วอยู่ดีๆ ก็มีคนมาบอกว่าจริงๆ แล้วโลกแบน สมองของเราจะเริ่มต่อต้านข้อมูลใหม่ที่ผิดไปจากข้อมูลเดิมของเรา และต้องใช้เวลาในการปรับตัว หรือ "ทำใจ" กับข้อมูลใหม่นี้
        แน่นอนว่าเด็กไม่มีปัญหาแบบพวกเราหรอกค่ะ เด็กๆ ไม่เคยเรียนภาษามาก่อน พอรับเข้าไปก็ไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบ สมองรับได้เต็มที่ ไม่ต้องมีระยะเวลาเตรียมตัวหรือทำใจใดๆ
 

2. ฉลาดไปใช่ว่าจะดี

        เมื่อเราโตขึ้น เราคิดอะไรแบบเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เวลาเราเรียนภาษา เราก็เรียนอย่างเป็นเหตุเป็นผล
        เพราะประธานเป็นเอกพจน์ กริยาก็เลยเป็นเอกพจน์
        เพราะข้างหน้าเป็นรูปอดีต ข้างหลังก็เลยเป็นรูปอดีต
        เพราะขยายคำนาม เลยต้องใช้คำคุณศัพท์
        ทุกอย่างล้วนเป็นกฎเกณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ค่ะ เราเรียนไวยากรณ์ เราเรียนหลักการ เราเหมือนคอมพิวเตอร์ที่ถูกป้อนคำสั่งมาว่าถ้าเจออันนี้ ต้องใช้อันนั้น เราหาเหตุผลให้กับทุกๆ องค์ประกอบของประโยค
        การจำหลักการเหล่านี้ ทำให้เวลาเราใช้ภาษา กระบวนการคิดของเราจะเริ่มจาก ประโยคภาษาไทย >>> ใส่คำศัพท์และไวยากรณ์ให้ถูกต้องตามหลักการ >>> ประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่ผิดธรรมชาติ
        เพราะเวลาเราพูดภาษาไทย เราไม่ได้คิดอะไรแบบนี้เลย แต่เราพูดออกมาโดยอัตโนมัติ
        พอเราคิดเป็นขั้นตอน เป็นหลักการ ทำให้เราสื่อสารได้ช้ากว่าเดิม และใช้ภาษาอย่างไม่เป็นธรรมชาติ
        ทีนี้มองย้อนกลับไปยังเด็กๆ ที่เพิ่งเรียนภาษาแรก พวกเขาเรียนรู้จากการฟังสิ่งที่พ่อแม่ หรือคนรอบข้างพูด อาศัยจำเป็นคำ เป็นประโยค จำว่าถ้าจะพูด "ฉันขอโทษ" ก็ต้องเรียงคำว่า ฉัน - ขอ - โทษ ต่อกันจึงจะได้ความหมายที่ต้องการ
        เด็กไม่รู้หรอกค่ะว่าอะไรคือประธาน อะไรคือกริยา
        เห็นความแตกต่างหรือยังคะ ว่าทำไมเราถึงพูดภาษาแม่ได้เป็นธรรมชาติมากกว่าภาษาที่เรามาเรียนอีกทีตอนโต
        การเรียนรู้จากการฟังบ่อยๆ และจำรูปแบบการวางคำศัพท์ของเด็ก ทำให้เด็กใช้เวลาเรียนรู้ภาษานานเป็นปีๆ กว่าจะพูดได้คล่องแคล่ว แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปค่ะ
        งั้นเราทำอย่างเด็กบ้างได้มั้ยล่ะ? เรียนภาษาด้วยใจอันบริสุทธิ์ ไม่มีหลักการ ไม่มีไวยากรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
        คำตอบคือ "ไม่ทันแล้วค่ะ" เพราะสมองของเราเรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผลไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราเรียนภาษาด้วยดวงตาอันบริสุทธิ์ไม่ได้อีกต่อไป เมื่อเราเจอประโยคที่ไม่คุ้นเคย สมองของเราก็จะคิดหาความเชื่อมโยงของแต่ละคำโดยอัตโนมัติ นั่นคือเราตัดไวยากรณ์ออกจากหัวเราไม่ได้เลย
 

3. เป้าหมายมีไว้พุ่งชน แต่จริงๆ แล้วไม่มีจะดีกว่า

        เราทุกคนเรียนภาษากันไปเพื่ออะไรคะ?
        บางคนก็ตอบว่าเรียนไปสอบ บางคนก็เรียนด้วยใจรัก อยากอ่านการ์ตูนใหม่จากญี่ปุ่นเร็วๆ บางคนก็อยากได้ภาษาเพื่อเอาไปใช้ทำงานเงินเดือนสูงๆ
        เราทุกคนล้วนมีเป้าหมายค่ะ
        แต่เด็กตัวเล็กๆ ที่เพิ่งเกิดคิดไม่ได้ขนาดนั้น พวกเขาไม่มีเป้าหมาย พวกเขาเรียนรู้ภาษาเพราะมันอยู่รอบตัวพวกเขานั่นแหละ พวกเขาไม่คาดหวังว่าปีหน้าต้องพูดได้ อีกสองปีไปสอบ Onet แล้วเข้ามหา'ลัยเลยนะ พวกเขาเรียนไปเรื่อยๆ จนพูดได้ในที่สุด
        แล้วมีเป้าหมายไม่ดียังไง? มันน่าจะทำให้เราเรียนภาษาได้ดีขึ้นไม่ใช่เหรอ?
        ใช่ค่ะ มีเป้าหมายนั้นดี เป็นแรงกระตุ้นให้เราตั้งใจเรียนมากๆ แต่บางครั้งเป้าหมายก็ทำให้เรารู้สึกว่าเวลาเรามีจำกัด เราต้องทำให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ และการคาดหวังผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ทำให้เราผิดหวังและหมดกำลังใจ เมื่อพบว่าเราทำได้ไม่ดีอย่างที่คิด
        ความผิดหวังทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง ดังนั้น ทางที่ดีตั้งเป้าหมายไว้ แต่อย่ากำหนดจุดสิ้นสุดของมันค่ะ บอกตัวเองว่าต้องพูดอังกฤษให้ได้ แต่ไม่ต้องบอกว่าภายในกี่เดือนกี่ปี บอกตัวเองว่าต้องจำศัพท์ให้ได้ห้าพันคำ แต่ไม่ได้ต้องบอกว่าภายในเมื่อไร
        เมื่อไม่มีขอบเขต เราก็ไม่จำเป็นต้องรีบ และค่อยๆ เรียนรู้ภาษาอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้

 

เราย้อนกลับไปเป็นเด็กไม่ได้ แต่เราเลียนแบบเด็กได้

        อ่านมาถึงตรงนี้เราๆ ทั้งหลายอาจถอนใจ ชาตินี้คงไม่มีวันพูดภาษาอังกฤษได้ราวกับโตมาในลอนดอน แต่ถึงแม้เราจะย้อนเวลากลับไปเป็นเด็กอีกครั้งไม่ได้ แต่เราเอาเคล็ดลับการเรียนภาษาของเด็กน้อยทั้งหลายมาเป็นต้นแบบได้ค่ะ
        โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีแต่ภาษานั้นๆ ให้ตัวเอง เช่น ฟังข่าวภาษาอังกฤษแทนข่าวไทย อ่านนิยายต้นฉบับแทนนิยายแปล พูดคุยกับคนรอบข้างเป็นภาษาอังกฤษแทน หรือแม้แต่บินไปอยู่ที่ต่างประเทศเสียเลย สะกดจิตตัวเองว่าฉันเกิดและเติบโตบนถนนอ็อกซ์ฟอร์ดนี่แหละ
        นี่เป็นการจำลองสถานการณ์ว่าเราคือเด็กคนหนึ่งที่ลืมตาดูโลกมาแล้วก็ไม่รู้อะไรเลย แต่เราจะเรียนรู้จากการซึมซับสิ่งรอบตัว
        แน่นอนว่าวิธีนี้อาจจะเห็นผลช้ากว่าวิธีอื่นๆ เพราะขนาดเด็กเองยังทำกันเป็นปีๆ กว่าจะพูดรู้เรื่อง แถมคนโตแล้วอย่างเรายังมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานของสมองอย่างที่บอกไป แต่มันคือวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาอย่างเป็นธรรมชาติจริงๆ ค่ะ
 

เอาล่ะ น้องๆ ชาวเด็กดี
พร้อมจะกลับไปเป็นเด็กทารกกันอีกครั้งหรือยังคะ?


ขอบคุณข้อมูลจาก
Sarah Collins - Omniglot
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Bafara Member 31 ก.ค. 59 21:25 น. 1

ลำดับขั้นในการเรียนก็สำคัญครับ

ตอนเราเรียนภาษาไทยเราเรียนแบบ

ออกเสียงจนพูดได้ > จดจำ > เขียน > อ่าน

แต่กับภาษาอังกฤษ เราเรียนแบบ

จดจำ > อ่าน > เขียน > ออกเสียงจนพูด

ได้เพราะเราเรียนต่างกับภาษาแม่เกินไปนี่แหละครับ เราเลยรู้สึกไม่ค่อยคุ้นชินเหมือนภาษาแม่ หรือที่บทความเรียก การเรียนแบบ "หุ่นยน" นั้นล่ะครับ

ถ้าเปลี่ยนวิธีเรียนล่ะก็ได้ผลแน่ครับ!

0
กำลังโหลด
เหมี๊ยว 31 ก.ค. 59 21:51 น. 2
เอาง่ายๆลองสอนภาษาอังกฤษเหมือนภาษาไทยดิ รับลองเกิน50%มันต้องพูดได้แหละ อย่าเริ่มที่แกรมม่าบอกเลย เริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่างออกเสียง ไรเงี้ย #ฝรั่งอ่ะเค้าไม่ค่อยสนแกรมม่านะถ้าพูดกับเพื่อนหรือคนทั่วไป แต่คนไทยปลูกฝังมาให้เรียนแกรมม่า แกรมม่าต้องได้ต้องเก่งต้องเป๊ะ #ผิดถนัดเลยเพราะภาษาเน้นที่การออกเสียง ออกเสียงผิดความหมายเปลี่ยน แต่แกรมม่าผิดความหมายมันไม่เปลี่ยนไปเท่าไหร่ #มันก็เหมือนไทยเนี่ยแหละพูดคำผิดความหมายก็เปลี่ยนถ้าคำว่าช้างเราออกเสียงเป็นช้องความหมายก็เปลี่ยน ข้างต้นอ่ะมันก็แค่ข้ออ้างสำหรับคนที่เข้าข้างการศึกษามากกว่า ไม่ได้โทษการศึกษาไม่ดีนะ #แต่ระบบการสอนมันผิดแค่นั้นเอง โดยส่วนตัวก็ไม่มองว่าตัวเองเก่งหรืออะไรนะ #แต่คลุกคลีกับชาวต่างชาติมาพอสมควร
0
กำลังโหลด
❥ตะนาว ●_● Member 31 ก.ค. 59 22:23 น. 3

ตอนเด็กๆ เคยพูดภาษาจีนคล่องปรื๋อเลยค่ะ เพราะเกิดและโตที่นู่น แต่ฟังไทยออกบ้างนะคะเห็นแม่บอก เพราะแม่จะคุยกับเราเป็นภาษาไทย แต่เราก็ตอบเป็นภาษาจีนนี่แหละ 55555 แต่พออายุได้6-7ขวบ แม่ก็พากลับไทย มีแต่คนบอกว่าตอนเด็กๆ ถามไรก็ตอบเป็นจีนหมด จนเริ่มเรียนภาษาไทย ทั้งเรียนพิเศษที่โรงเรียน ทั้งมีตาคอยสอน ละตาแบบดุมากกกก ตอนนั้นก็เลยแบบ อะไรๆ ก็ภาษาไทย ก.ไก่ ข.ไข่ จนโตมาก็พูดแต่ภาษาไทยและลืมภาษาจีนไปโดยปริยาย แต่พอเริ่มเรียนใหม่มันก็รื้อฟื้นได้บ้าง แต่ก็ไม่เหมือนตอนเด็กละค่ะที่จะพูดได้คล่องปรื๋อ ก็ต้องค่อยๆ ฝึกกันไป เรายังเสียดายและโทษแม่ว่าไม่ยอมสอนภาษาจีนควบคู่ด้วย โดนแม่ตอกกลับว่าลืมเองทำไมล่ะ เงิบจ้า 55555

1
กำลังโหลด
SAYHEYH Member 2 ส.ค. 59 15:03 น. 4

เราขอแย้งนะว่าเราไม่สามารถเรียนแบบเด็กน้อยตาใสตาดำได้อีกแล้ว ไม่สามารถเรียนรู้แบบนั้นได้อีกเลย เราว่าคำพูดนี้มันฟังดูเกินจริงเกินไปที่จะเอามาพูดในเรื่องเี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ภาษาคือการปรับตัวและปรับเปลี่ยนทัศนคติในการใช้ภาษาในมุมมองใหม่ๆ นั้นเท่ากับการมันคือการทำให้เราเปิดรับตัวเลือกใหม่ๆในการเรียนรู้ภาษาได้มากขึ้น อย่างบางคนที่ไปเรียนต่างประเทศตอนประมาณม.ปลาย ม.ต้นดูสิคะ บางคนแทบไม่สามารถพูดได้อ่านเขียนได้ด้วยซ้ำ แต่อาศัยการปรับตัวเข้ากับสถานการ์ณแต่ก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ไวเกือบเทียบเท่าเด็กตอนหัวว่าง เพราะมันคือการปรับตัวไปตามกระแสค่ะ แม้เราจะมีภาษาแม่เป็นแก่นในการเรียนรู้การสื่อสาร แต่หากเราไม่ได้ใช่ภาษาแม่เลยหรือว่าใช่เพียงน้อยนั้นทำให้ภาษาที่สองเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ของเราได้มากกว่า ดั่งนั้นจะพูดว่าเราไม่สามารถเรียนรู้เหมือนเด็กได้เลยนั้นมันเกินจริงเกินไปค่ะ เราไปเรียนต่างประเทศโดยที่เราไม่รู้ภาษาเลยนั้นไม่เหมือนกับการพัฒนาเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่เหรอคะ การเรียนรู้ของเด็กนั้นผ่านหลายสิ่งหลายอย่างหลายกระบวนการทั้งด้านประสบการ์ณ>>สิ่งแวดล้อม>>ตัวเด็กเอง>>ความเคยชิน หากเราไม่มีสิ่งเหล่านี้หรือมีเพียงน้อยในการเดินทางเข้าสู้สิ่งใหม่ๆเพื่อเรียนรู้ เช่นการไปเรียนต่างประเทศโดยไม่รู้ภาษา เราจะปรับตัวหาสิ่งนั้นๆโดยการเข้าหามันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะบางคนที่มาเรียนต่างระเทศก็ใช่หลักการท่องจำเอาจากปาก ทำนองว่าพูดได้ สนทนาได้ แต่เวลาสอบหรือเขียนกลับทำไม่ค่อยได้ มันก็ไม่ต่างกับตอนเด็กที่เราพูดได้แต่เขียนไม่ได้หรอกค่ะ(ยกตัวอย่างง่ายๆก็ผู้หญิงที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติ ส่วนมากจะใช้หลักการนี้จำเอาแต่เขียนไม่ค่อยได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะมันเป็นการท่องจำเอา) สรุป เราเชื่อว่าเรายังสามารถเรียนรู้แบบเด็กได้อยู่ค่ะ แล้วการที่สมองของเราเริ่มคิดเป็นระบบแล้วไม่สามารถเชื่อมโยงกับการเรียนรู้แบบเด็กใสตาดำได้อีกนี่มันวัดกันยังไงเหรอคะ วัดกันจากการที่เด็กน้อยนั้นเข้าเรียนแล้วหรืออายุเท่าไหร่เหรอคะ

1
กำลังโหลด
ArpatAnthakan Member 21 พ.ย. 59 00:29 น. 5

ยากกว่าจริงๆ ค่ะ ดูอย่างครอบครัวดาราหลายๆ คนๆ พ่อพูดอังกฤษ แม่พูดไทย เด็กสามารถพูดได้ทั้งสองภาษาโดยใช้ถูกต้องด้วยอ่ะ หรือเด็กบางคนที่บ้านไม่มีใครพูดอังกฤษได้เลย แต่ตัวเองสามารถพูดได้เพราะได้ดูการ์ตูนบ่อยๆ เด็กเหมือนผ้าขาวจริงๆ เพื่อนเราไม่เก่งอังกฤษ แต่ที่บ้านมีเงิน เขาขอพ่อแม่ไปอยู่ต่างประเทศครึ่งปี ตอนสอบเข้ามหาลัยภาคอินเตอร์ได้ ตอนนี้ก็พูดอังกฤษคล่อง แต่เราดิเด็กๆ พูดอังกฤษได้ แต่พอเริ่มโตเริ่มเกเร ตอนนี้พูดไม่ได้เลย พยายามจะเริ่มใหม่แต่ยากมากๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้นะคะ เราเชื่อว่าทำได้แค่ต้องทุ่มเทกว่านี้ เราต้องทำได้ ขนาดฝรั่งหลายๆ คนยังพูดอ่านเขียนภาษาไทยได้คล่องเลย ทุกคนก็บอกว่ากว่าจะคล่องต้องใช้เวลาหลายปี และต้องขยัน 

0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

Bafara Member 31 ก.ค. 59 21:25 น. 1

ลำดับขั้นในการเรียนก็สำคัญครับ

ตอนเราเรียนภาษาไทยเราเรียนแบบ

ออกเสียงจนพูดได้ > จดจำ > เขียน > อ่าน

แต่กับภาษาอังกฤษ เราเรียนแบบ

จดจำ > อ่าน > เขียน > ออกเสียงจนพูด

ได้เพราะเราเรียนต่างกับภาษาแม่เกินไปนี่แหละครับ เราเลยรู้สึกไม่ค่อยคุ้นชินเหมือนภาษาแม่ หรือที่บทความเรียก การเรียนแบบ "หุ่นยน" นั้นล่ะครับ

ถ้าเปลี่ยนวิธีเรียนล่ะก็ได้ผลแน่ครับ!

0
กำลังโหลด
เหมี๊ยว 31 ก.ค. 59 21:51 น. 2
เอาง่ายๆลองสอนภาษาอังกฤษเหมือนภาษาไทยดิ รับลองเกิน50%มันต้องพูดได้แหละ อย่าเริ่มที่แกรมม่าบอกเลย เริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่างออกเสียง ไรเงี้ย #ฝรั่งอ่ะเค้าไม่ค่อยสนแกรมม่านะถ้าพูดกับเพื่อนหรือคนทั่วไป แต่คนไทยปลูกฝังมาให้เรียนแกรมม่า แกรมม่าต้องได้ต้องเก่งต้องเป๊ะ #ผิดถนัดเลยเพราะภาษาเน้นที่การออกเสียง ออกเสียงผิดความหมายเปลี่ยน แต่แกรมม่าผิดความหมายมันไม่เปลี่ยนไปเท่าไหร่ #มันก็เหมือนไทยเนี่ยแหละพูดคำผิดความหมายก็เปลี่ยนถ้าคำว่าช้างเราออกเสียงเป็นช้องความหมายก็เปลี่ยน ข้างต้นอ่ะมันก็แค่ข้ออ้างสำหรับคนที่เข้าข้างการศึกษามากกว่า ไม่ได้โทษการศึกษาไม่ดีนะ #แต่ระบบการสอนมันผิดแค่นั้นเอง โดยส่วนตัวก็ไม่มองว่าตัวเองเก่งหรืออะไรนะ #แต่คลุกคลีกับชาวต่างชาติมาพอสมควร
0
กำลังโหลด
❥ตะนาว ●_● Member 31 ก.ค. 59 22:23 น. 3

ตอนเด็กๆ เคยพูดภาษาจีนคล่องปรื๋อเลยค่ะ เพราะเกิดและโตที่นู่น แต่ฟังไทยออกบ้างนะคะเห็นแม่บอก เพราะแม่จะคุยกับเราเป็นภาษาไทย แต่เราก็ตอบเป็นภาษาจีนนี่แหละ 55555 แต่พออายุได้6-7ขวบ แม่ก็พากลับไทย มีแต่คนบอกว่าตอนเด็กๆ ถามไรก็ตอบเป็นจีนหมด จนเริ่มเรียนภาษาไทย ทั้งเรียนพิเศษที่โรงเรียน ทั้งมีตาคอยสอน ละตาแบบดุมากกกก ตอนนั้นก็เลยแบบ อะไรๆ ก็ภาษาไทย ก.ไก่ ข.ไข่ จนโตมาก็พูดแต่ภาษาไทยและลืมภาษาจีนไปโดยปริยาย แต่พอเริ่มเรียนใหม่มันก็รื้อฟื้นได้บ้าง แต่ก็ไม่เหมือนตอนเด็กละค่ะที่จะพูดได้คล่องปรื๋อ ก็ต้องค่อยๆ ฝึกกันไป เรายังเสียดายและโทษแม่ว่าไม่ยอมสอนภาษาจีนควบคู่ด้วย โดนแม่ตอกกลับว่าลืมเองทำไมล่ะ เงิบจ้า 55555

1
กำลังโหลด
SAYHEYH Member 2 ส.ค. 59 15:03 น. 4

เราขอแย้งนะว่าเราไม่สามารถเรียนแบบเด็กน้อยตาใสตาดำได้อีกแล้ว ไม่สามารถเรียนรู้แบบนั้นได้อีกเลย เราว่าคำพูดนี้มันฟังดูเกินจริงเกินไปที่จะเอามาพูดในเรื่องเี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ภาษาคือการปรับตัวและปรับเปลี่ยนทัศนคติในการใช้ภาษาในมุมมองใหม่ๆ นั้นเท่ากับการมันคือการทำให้เราเปิดรับตัวเลือกใหม่ๆในการเรียนรู้ภาษาได้มากขึ้น อย่างบางคนที่ไปเรียนต่างประเทศตอนประมาณม.ปลาย ม.ต้นดูสิคะ บางคนแทบไม่สามารถพูดได้อ่านเขียนได้ด้วยซ้ำ แต่อาศัยการปรับตัวเข้ากับสถานการ์ณแต่ก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ไวเกือบเทียบเท่าเด็กตอนหัวว่าง เพราะมันคือการปรับตัวไปตามกระแสค่ะ แม้เราจะมีภาษาแม่เป็นแก่นในการเรียนรู้การสื่อสาร แต่หากเราไม่ได้ใช่ภาษาแม่เลยหรือว่าใช่เพียงน้อยนั้นทำให้ภาษาที่สองเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ของเราได้มากกว่า ดั่งนั้นจะพูดว่าเราไม่สามารถเรียนรู้เหมือนเด็กได้เลยนั้นมันเกินจริงเกินไปค่ะ เราไปเรียนต่างประเทศโดยที่เราไม่รู้ภาษาเลยนั้นไม่เหมือนกับการพัฒนาเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่เหรอคะ การเรียนรู้ของเด็กนั้นผ่านหลายสิ่งหลายอย่างหลายกระบวนการทั้งด้านประสบการ์ณ>>สิ่งแวดล้อม>>ตัวเด็กเอง>>ความเคยชิน หากเราไม่มีสิ่งเหล่านี้หรือมีเพียงน้อยในการเดินทางเข้าสู้สิ่งใหม่ๆเพื่อเรียนรู้ เช่นการไปเรียนต่างประเทศโดยไม่รู้ภาษา เราจะปรับตัวหาสิ่งนั้นๆโดยการเข้าหามันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะบางคนที่มาเรียนต่างระเทศก็ใช่หลักการท่องจำเอาจากปาก ทำนองว่าพูดได้ สนทนาได้ แต่เวลาสอบหรือเขียนกลับทำไม่ค่อยได้ มันก็ไม่ต่างกับตอนเด็กที่เราพูดได้แต่เขียนไม่ได้หรอกค่ะ(ยกตัวอย่างง่ายๆก็ผู้หญิงที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติ ส่วนมากจะใช้หลักการนี้จำเอาแต่เขียนไม่ค่อยได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะมันเป็นการท่องจำเอา) สรุป เราเชื่อว่าเรายังสามารถเรียนรู้แบบเด็กได้อยู่ค่ะ แล้วการที่สมองของเราเริ่มคิดเป็นระบบแล้วไม่สามารถเชื่อมโยงกับการเรียนรู้แบบเด็กใสตาดำได้อีกนี่มันวัดกันยังไงเหรอคะ วัดกันจากการที่เด็กน้อยนั้นเข้าเรียนแล้วหรืออายุเท่าไหร่เหรอคะ

1
กำลังโหลด
ArpatAnthakan Member 21 พ.ย. 59 00:29 น. 5

ยากกว่าจริงๆ ค่ะ ดูอย่างครอบครัวดาราหลายๆ คนๆ พ่อพูดอังกฤษ แม่พูดไทย เด็กสามารถพูดได้ทั้งสองภาษาโดยใช้ถูกต้องด้วยอ่ะ หรือเด็กบางคนที่บ้านไม่มีใครพูดอังกฤษได้เลย แต่ตัวเองสามารถพูดได้เพราะได้ดูการ์ตูนบ่อยๆ เด็กเหมือนผ้าขาวจริงๆ เพื่อนเราไม่เก่งอังกฤษ แต่ที่บ้านมีเงิน เขาขอพ่อแม่ไปอยู่ต่างประเทศครึ่งปี ตอนสอบเข้ามหาลัยภาคอินเตอร์ได้ ตอนนี้ก็พูดอังกฤษคล่อง แต่เราดิเด็กๆ พูดอังกฤษได้ แต่พอเริ่มโตเริ่มเกเร ตอนนี้พูดไม่ได้เลย พยายามจะเริ่มใหม่แต่ยากมากๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้นะคะ เราเชื่อว่าทำได้แค่ต้องทุ่มเทกว่านี้ เราต้องทำได้ ขนาดฝรั่งหลายๆ คนยังพูดอ่านเขียนภาษาไทยได้คล่องเลย ทุกคนก็บอกว่ากว่าจะคล่องต้องใช้เวลาหลายปี และต้องขยัน 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด