งานวิจัยปีศาจ The Monster Study ที่ทำลายเด็กสิบกว่าคนไปตลอดชีวิต!

        เทคโนโลยีทางการแพทย์ของเราทุกวันนี้ก้าวหน้าไปมาก ต้องขอบคุณนักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่คิดหาหนทางในการรักษาโรคผ่านการ "วิจัย" ผ่านการคิดวิเคราะห์ สำรวจ ทดลอง คัดกรองข้อมูลจนได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ
        แต่ทุกสายอาชีพย่อมมีด้านมืดของตัวเองค่ะ ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวไกลและไม่ได้มีมาตรฐานอะไรมารองรับ นักวิทยาศาสตร์บางคนอาจไม่รู้ตัวมาก่อนว่างานวิจัยของตัวเองจะกลายเป็นปิศาจร้ายในภายหลัง
        วัฒนธรรมต่างประเทศวันนี้
"พี่น้อง" จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับ The Monster Study หรืองานวิจัยปิศาจ เป็นงานวิจัยที่เจตนาดี แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับผิดคาดไปเยอะ
 

งานวิจัยที่ถูกเก็บเป็นความลับมากว่า 60 ปี

        The Monster Study หรืองานวิจัยปิศาจ เพิ่งมามีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักก็เมื่อปี 2001 หลังจากหนังสือพิมพ์ซาน โฮเซ่ เมอร์คิวรี่ นิวส์ ไปค้นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไอโอว่า สหรัฐอเมริกา แล้วพบว่ามีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ไม่เคยตีพิมพ์สู่สาธารณะมาก่อน เก็บซ่อนไว้ในมุมมืดของหอสมุด
        มันคืองานวิจัยปี 1939 ของแมรี่ ทิวดอร์ นักศึกษาปริญญาโทในขณะนั้น ภายใต้การดูแลของเวนเดล จอห์นสัน นักจิตวิทยาและนักพยาธิวิทยาที่หมกมุ่นกับการหาสาเหตุและวิธีรักษาโรคติดอ่างในเด็กมาเป็นเวลานาน
        ส่วนสาเหตุที่เขาหมกมุ่นก็เพราะเขาเองก็เติบโตมากับภาวะติดอ่างเช่นกันค่ะ เขามักจะพูดตะกุกตะกัก หรือไม่พูดเลย ด้วยสภาพของเขาเองทำให้เขาตัดสินใจมาเรียนที่มหาวิทยาลัยไอโอว่า และตลอดการเป็นนักศึกษา เขากับเพื่อนนักศึกษาที่มีภาวะเดียวกัน ต่างก็ช่วยกันทำการทดลองต่างๆ นานาเพื่อดูว่าวิธีใดทำให้คนเกิดภาวะนี้ และวิธีใดที่จะทำให้คนหายจากภาวะนี้
        แต่มีเรื่องเดียวที่ฝังใจเวนเดล จอห์นสันมาโดยตลอด
        ตอนเด็กๆ เขาเป็นเด็กที่พูดได้ปกติค่ะ จนกระทั่งเขาอายุได้ 5-6 ปี คุณครูบอกกับพ่อแม่ของเขาว่าเขาเริ่มมีอาการติดอ่าง พูดไม่คล่อง พ่อกับแม่ของเขาก็เชื่อเช่นนั้น รวมทั้งตัวเขาเองก็เริ่มคิดว่าตัวเองเป็นแบบนั้นด้วย
        เวนเดล จอห์นสันเชื่อว่า "ภาวะติดอ่างไม่ได้เริ่มที่ปากของเด็ก แต่เริ่มที่หูของพ่อแม่ต่างหาก"
        เขาต้องการหาข้อสรุปว่าภาวะติดอ่างเป็นอาการที่ติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด หรือเป็นอาการที่พัฒนามาจากการเลี้ยงดูแบบผิดๆ ของพ่อแม่นั่นเอง
 

ขั้นตอนการวิจัย

        เวนเดล จอห์นสัน ให้แมรี่ ทิวดอร์ คัดเด็กกำพร้าจากสถานรับเลี้ยงเด็กมาทั้งหมด 22 คน โดย 10 คนในนี้เป็นเด็กที่พี่เลี้ยงบอกว่ามีอาการ "ติดอ่าง" แมรี่จะบอกกับสถานรับเลี้ยงเด็กแค่ว่านี่เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับอาการติดอ่าง แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าเธอจะทำอะไรกับเด็กทั้ง 22 คน
        เด็กที่มีอาการติดอ่างจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ส่วนเด็กที่ไม่มีอาการติดอ่างอีก 12 คนจะอยู่กลุ่ม 2
        หลังจากนี้จึงแบ่งเด็กกลุ่มที่ 1 ออกเป็น 2 กลุ่ม เรียกว่า 1A กับ 1B
        และแบ่งเด็กกลุ่มที่ 2 ออกเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน เรียกว่ากลุ่ม 2A กับ 2B
        เด็กที่มีรหัส A ทั้งกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 จะเข้ารับการบำบัดด้วยคำพูด โดยนักศึกษาที่มารับบทเป็นอาสาสมัคร จะพูดชมเชยเด็กรหัส A ว่าพูดดี พูดเก่ง แม้ว่าเด็กคนนั้นจะพูดติดอ่างก็ตาม
        ตัวอย่างคำพูด เช่น "เธอจะผ่านมันไปได้ และเธอจะพูดได้ดีกว่าที่เธอพูดอยู่ตอนนี้แน่ อย่าไปสนใจว่าใครจะพูดยังไงเกี่ยวกับลักษณะการพูดของเธอ เพราะคนพวกนั้นไม่รู้หรอกว่าที่เธอเป็นอยู่มันแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น"
        ส่วนเด็กที่มีรหัส B ทั้งกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 จะเข้ารับการบำบัดด้วยคำพูดอีกแบบ นั่นคือเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเปิดปากพูด อาสาสมัครจะพยายามพูดตัดกำลังใจ หรือบอกให้หยุดพูดเสีย เช่น "เจ้าหน้าที่ลงความเห็นแล้วว่าเธอมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดจริงๆ เธอมีอาการเริ่มต้นของการติดอ่าง เธอต้องหยุดพูดเดี๋ยวนี้ แล้วทำยังไงก็ได้ให้หยุดพูดติดอ่าง อย่าพูดออกมาจนกว่าจะแน่ใจว่าเธอพูดได้คล่องแล้ว..."
 

ผลลัพธ์อันน่ากลัว

        หลังจากการทดลองทำแบบนี้กับเด็กๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 เดือน แมรี่ ทิวดอร์สรุปว่าเด็กรหัส B ที่ได้รับคำพูดตัดกำลังใจมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะพูดติดอ่างจริงหรือไม่ก็ตาม
        เด็กบางคน พอเจอคำพูดตัดกำลังใจไปเพียงอาทิตย์เดียวก็แสดงออกว่าไม่อยากพูดไปเลย บางคนยังพยายามพูด แต่จะคอยระแวงคำพูดของตัวเอง และมีอาการประหม่าตลอดเวลา
        เมื่อเวลาผ่านไป ผลการเรียนของเด็กกลุ่มนี้ก็เริ่มตกต่ำลง การแสดงออกในห้องเรียนถดถอย เด็กหลายคนไม่อยากพูดในชั้นเรียน และไม่กล้าพูดแม้แต่กับเพื่อนของตัวเอง
        ที่น่าตกใจคือมีเด็กหนึ่งคนที่ตัดสินใจหนีออกจากการทดลองไปด้วย
        แมรี่ ทิวดอร์ตกใจมากที่ผลลัพธ์ออกมารุนแรงขนาดนี้ เธอพยายามทำให้เด็กๆ กลับมาเป็นเหมือนเดิมด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการทดลองใหม่ กระตุ้นให้เด็กๆ ที่ได้รับผลกระทบกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง
        แต่สิ่งที่เธอไม่รู้คือ งานวิจัยของเธอกลายเป็นตะปูตอกตรึงอยู่ในตัวเด็ก และไม่มีทางเอาออกได้อีกตลอดไป
 

เปิดโปงงานวิจัยอันไร้ศีลธรรม

        จริงๆ แล้วในยุคนั้นเรื่องการทดลองหรือการวิจัยที่ทำกับคนหรือสัตว์แบบไร้จริยธรรมนั้นมีเยอะมาก แต่ไม่ได้ป่าวประกาศกันโต้งๆ ว่าฉันทำนะ ก็แอบทำกันลับๆ บ้าง ไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานบ้าง หรือถึงมีคนรู้ มันก็ไม่น่าตกใจเท่าปัจจุบันเท่าไร
        งานวิจัยของเวนเดล จอห์นสัน กับแมรี่ ทิวดอร์ ก็เช่นกัน ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ฮิตเลอร์เองก็ทำการทดลองกับชาวยิว และยังมีข่าวว่าหลายประเทศก็แอบทำการทดลองกับมนุษย์เพื่อประโยชน์ทางการสงคราม
        เวนเดลกับแมรี่กลัวว่าจะถูกโจมตีจึงเก็บเรื่องงานวิจัยนี้ไว้กับตัว ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ออกไป
        แต่แม้ผลลัพธ์จะออกมาน่ากลัว ก็ถือว่าเป็นงานวิจัยที่ให้ข้อมูลที่น่าสนใจต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก และทำให้คนหันมาสนใจเรื่องนี้เพิ่มขึ้น
        และถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นสิบๆ ปี เด็กเหล่านั้นต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แต่ศาลก็ตัดสินให้รัฐไอโอว่าต้องจ่ายเงินชดเชยเด็กๆ เหล่านี้เป็นจำนวน 925,000 ดอลลาร์ หลังจากได้รับผลกระทบจากงานวิจัยอันไร้มนุษยธรรม
        นอกจากนี้ ช่วงบั้นปลายชีวิตของแมรี่ ทิวดอร์ เธอระบุว่าเธอยังรู้สึกแย่กับการกระทำของตัวเอง และโทษเวนเดล จอห์นสันที่ไม่สนใจเธอตอนที่เธอไปขอให้เขาช่วยดึงสภาพจิตใจของเด็กๆ กลับมา
 
        ฟังแล้วรู้สึกอึ้งเหมือนกันใช่มั้ยคะ ตอนประถม พี่น้องมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งที่ไม่ยอมพูดเลยทั้งที่พูดได้เพราะโดนคุณครูตีมาก่อน แต่ปัจจุบันนี้เพื่อนคนนั้นพูดได้เป็นปกติแล้ว จากประสบการณ์ที่เคยเจอมา บวกกับผลการวิจัยนี้ พี่น้องคิดว่าพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็ก บางทีอาจไม่ได้มาจากความผิดปกติภายใน แต่มาจากผลกระทบภายนอกมากกว่า
        แต่ถึงแม้งานวิจัยจะได้ผลลัพธ์ออกมาน่าสนใจ แต่ก็ต้องแลกกับการสูญเสียความสามารถในการพูดของเด็กไปถึง 11 คน เจตนาเหมือนจะดี แต่กลับได้ผลที่ไม่คาดคิด
        ถ้าเป็นน้องๆ จะยอมทำการวิจัยแบบนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่อาจช่วยคนข้างหลังอีกหลายล้านคนหรือเปล่า?

 

มาแชร์ความเห็นในกล่องข้อความข้างล่างนี้กันเลยค่ะ ^^


ขอบคุณข้อมูลจาก
wikipedia.org
nytimes.com
spring.org.uk
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

เคราเมอร์ลิน! Member 12 ส.ค. 59 15:06 น. 5
ที่ประเทศไทยดูจะมีปัญหาคล้ายแบบนี้เล็กน้อยในห้องเรียนนะคะ เพราะเด็กๆในห้องเรียนมักจะไม่กล้าตอบคำถามของคุณครู เพราะกลัวผิด (โดยเฉพาะวิชาเลข) เนื่องจากคงจะเคยโดนมาแล้ว แล้วเด็กพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกคิดมากค่ะ ขี้กังวลกลัวว่าจะโดนนู่นโดนนี่ (จินตนาการดี) เราว่าเราเป็นหนึ่งในกลุ่มนี้นะ เรารู้คำตอบแต่เราไม่แน่ใจ เรากลัวมากเลยว่าตอบไปแล้วเราจะผิด กลัวโดนครูว่าว่าไม่ตั้งใจเรียนไม่ตั้งใจฟัง เราเลยให้เพื่อน(ซึ่เป็นคนไม่คิดอะไรจริงจัง เล่นๆสบาย) ตอบตลอดเลย และไอการว่าหรือเตือนเนี่ย เราว่าสำหรับบางคนมันแทบจะเป็นการทำร้ายจิตใจเลย ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้เจอเรื่องอะไรแบบนี้บ่อย เราว่ามันแย่นะ คนอื่นว่ายังไง
3
editor_nong Member 12 ส.ค. 59 21:00 น. 5-1
เป็นเหมือนกันค่ะ ตอนเรียนสมัยมัธยมจะกลัวครูในห้อง ไม่ค่อยกล้าตอบแม้ว่าเราจะรู้คำตอบ กลัวทั้งครู กลัวทั้งเพื่อนด้วยกันจะมองว่าเราอวดเก่งเหมือนเฮอร์ไมโอนี่ พอมาเรียนมหา'ลัย อาจารย์จะไม่ค่อยพอใจถ้าเรานั่งเงียบๆ โดยเฉพาะอาจารย์ฝรั่ง เยี่ยม
0
กำลังโหลด
meเองไง Member 1 ส.ค. 59 18:43 น. 1

ถ้าเป็นเรานะ เราจะพยายามทำให้เด็กพวกนั้นกลับมาเป็นปกติให้ได้ เราเข้าใจเด็กพวกนั้น ถึงเราจะไม่ได้เป็นเเบบเด็กพวกนั้น เเต่การที่เขาต้องติดอ่างไปทั้งชีวิตเพราะการทดลองเดียว มันเเย่เกินไป ไม่ใช่เเค่ติดอ่างอย่างเดียวเเต่เขาจะขาดความมั่นใจด้วย

0
กำลังโหลด

7 ความคิดเห็น

meเองไง Member 1 ส.ค. 59 18:43 น. 1

ถ้าเป็นเรานะ เราจะพยายามทำให้เด็กพวกนั้นกลับมาเป็นปกติให้ได้ เราเข้าใจเด็กพวกนั้น ถึงเราจะไม่ได้เป็นเเบบเด็กพวกนั้น เเต่การที่เขาต้องติดอ่างไปทั้งชีวิตเพราะการทดลองเดียว มันเเย่เกินไป ไม่ใช่เเค่ติดอ่างอย่างเดียวเเต่เขาจะขาดความมั่นใจด้วย

0
กำลังโหลด
Megan Ignacia Member 1 ส.ค. 59 19:17 น. 2
อันนี้เราเคยอ่านมาแล้ว สะเทือนใจมาก สงสารเด็ก และโกรธนักวิจัยด้วย คือเขาทำลายชีวิตของคนๆหนึ่งไปเลย และสิ่งเหล่านั้นก็จะฝังใจเด็กไปตลอดชีวิต ต่อให้พยายามแก้แค่ไหนก็ชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปไม่ได้หรอก
0
กำลังโหลด
editor_nong Member 3 ส.ค. 59 22:33 น. 3-1
ข้อมูลส่วนที่ว่าเด็กที่ได้รับคำชมเป็นยังไง ไม่มีใครพูดถึงเลยค่ะ อยากทราบเหมือนกัน ถ้าใครเจอช่วยกันแปะ link หน่อยนะคะ เยี่ยมเยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เคราเมอร์ลิน! Member 12 ส.ค. 59 15:06 น. 5
ที่ประเทศไทยดูจะมีปัญหาคล้ายแบบนี้เล็กน้อยในห้องเรียนนะคะ เพราะเด็กๆในห้องเรียนมักจะไม่กล้าตอบคำถามของคุณครู เพราะกลัวผิด (โดยเฉพาะวิชาเลข) เนื่องจากคงจะเคยโดนมาแล้ว แล้วเด็กพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกคิดมากค่ะ ขี้กังวลกลัวว่าจะโดนนู่นโดนนี่ (จินตนาการดี) เราว่าเราเป็นหนึ่งในกลุ่มนี้นะ เรารู้คำตอบแต่เราไม่แน่ใจ เรากลัวมากเลยว่าตอบไปแล้วเราจะผิด กลัวโดนครูว่าว่าไม่ตั้งใจเรียนไม่ตั้งใจฟัง เราเลยให้เพื่อน(ซึ่เป็นคนไม่คิดอะไรจริงจัง เล่นๆสบาย) ตอบตลอดเลย และไอการว่าหรือเตือนเนี่ย เราว่าสำหรับบางคนมันแทบจะเป็นการทำร้ายจิตใจเลย ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้เจอเรื่องอะไรแบบนี้บ่อย เราว่ามันแย่นะ คนอื่นว่ายังไง
3
editor_nong Member 12 ส.ค. 59 21:00 น. 5-1
เป็นเหมือนกันค่ะ ตอนเรียนสมัยมัธยมจะกลัวครูในห้อง ไม่ค่อยกล้าตอบแม้ว่าเราจะรู้คำตอบ กลัวทั้งครู กลัวทั้งเพื่อนด้วยกันจะมองว่าเราอวดเก่งเหมือนเฮอร์ไมโอนี่ พอมาเรียนมหา'ลัย อาจารย์จะไม่ค่อยพอใจถ้าเรานั่งเงียบๆ โดยเฉพาะอาจารย์ฝรั่ง เยี่ยม
0
กำลังโหลด
แว่นศรี มโนเลิศหฤหรรษา Member 28 ส.ค. 59 07:41 น. 6

ก็...นะ ขนาดเราอายุ20แล้วแต่ถ้ามีคนมาพูดให้เสียความมั่นใจเราก็เสียความมั่นใจไปเลยเหมือนกัน

0
กำลังโหลด
ผ่านมา 28 ส.ค. 59 09:30 น. 7
มันเหมือนเรื่อง สองพี่น้อง ที่คนพี่ไปอยู่กับพระราชา คนน้องไปอยู่กับมหาโจร 500 พฤติกรรมมันบอกชัด ว่าเป็นตัวสั่งสอนให้เด็กได้เรียนรู้ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ขนาดลิง ถ้าเลี้ยงมันมาเหมือนลูก มันก็จะเลียนแบบและฉลาดได้พอๆกับมนุษย์
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด