รู้จักระบบ ‘โฮมสคูล’ เรียนที่บ้าน ให้อิสระเด็กในการเรียนรู้!

    เชื่อว่าน้องๆ ชาว Dek-D   หลายคน น่าจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการเรียนหนังสือที่บ้านหรือโฮมสคูล (Home School) กันมาบ้างแล้ว และ พี่วุฒิ ก็เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงรายละเอียดของการเรียนของโฮมสคูลว่าเรียนยังไง? จะดีหรือเปล่า? และเรียนแบบนี้จะได้วุฒิการศึกษาหรือไม่? เรามาคลายความสงสัยกันเลยครับ




 
มารู้จัก Home School กันเถอะ 
 
    Home School หรือในชื่อภาษาไทย “บ้านเรียน” เป็นระบบการศึกษาอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ปกครอง หรือกลุ่มครอบครัวที่ต้องการจัดการรูปแบบการเรียนให้กับลูกด้วยตัวเอง เพื่อตอบโจทย์ถึงความต้องการของเด็ก โดยไม่พึ่งพาระบบการเรียนการสอนกระแสหลัก เช่น โรงเรียน หรือระบบการศึกษาของรัฐบาล ระบบนี้ได้มีการรับรองให้เปิดสอนในไทยได้อย่างถูกกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และในปัจจุบันโฮมสคูลก็ได้รับการแพร่หลายเป็นอย่างมากในประเทศไทย
 
    การศึกษาในระบบโฮมสคูลนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเด็กด้วยว่า ‘เขาต้องการอะไร และมันเหมาะสมกับความคิดของเด็กหรือเปล่า’ การเรียนโฮมสคูลนั้น ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนของเด็กเป็นอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่า เด็กที่เรียนโฮมสคูล ผู้ปกครองจะต้องมีเวลามากพอที่จะอยู่ร่วมกับเด็กนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวไปในตัวอีกด้วย
 
จุดเด่นของ ‘โฮมสคูล’ ที่หาไม่ได้ในโรงเรียน
 
    - เมื่อผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของลูก ก็จะช่วยทำให้รู้ว่าเด็กชอบอะไร มีความสุขกับสิ่งใด ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน พร้อมจัดการว่าอะไรเหมาะสมกับลูก แน่นอนว่าเมื่อผู้ปกครองเข้าใจในตัวเด็กแล้ว ก็จะเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีในชีวิตของเด็กอีกด้วย 
 
    - มีคนกล่าวไว้ว่า “วัยเด็ก คือ วัยที่เรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุก” แน่นอนว่าเด็กๆ หลายคนชอบที่จะเล่นไปด้วย พร้อมเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนในห้องเรียนตลอดวัน บางทีอาจจะไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความอยากเรียนรู้เลยก็ได้ บางวิชาที่จัดมาอาจไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กที่อยากจะรู้ ซึ่งบางครั้งก็เหมือนเป็นการบังคับเพื่อให้เรียนและสอบผ่านๆ ไปเท่านั้น ความต่อต้านก็จะมีมากขึ้น ดังนั้นการเรียนโฮมสคูลก็เหมือนเป็นการช่วยหลีกปัญหาการใช้เวลาในโรงเรียนที่มากเกินไป และได้เรียนรู้ในเรื่องที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน 
    - การเรียนโฮมสคูลช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนตามระบบ 
 
    - ได้เรียนรู้ในหลักสูตรที่เหมาะสม มีความทันสมัยและเข้ากับตัวเด็ก ผลการวิจัยบอกว่า เด็กที่เรียนโฮมสคูลจะเป็นเด็กที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร กล้าที่จะคิดและตัดสินใจมากกว่าเด็กที่เรียนในโรงเรียน


 
เด็กเรียนโฮมสคูล จะขาดทักษะการเข้าสังคมหรือเปล่า?
 
    เวลาจะเลือกตัดสินใจเรียนโฮมสคูล หลายคนคงกังวลว่าเด็กๆ จะขาดทักษะการเข้าสังคมหรือไม่ จะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้หรือเปล่า ภาพในหัวหลายคนคงคิดว่า การเรียนโฮมสคูลจะต้องอยู่แค่ในบ้าน ไม่เจอผู้คนนอกจากพ่อแม่ของตัวเอง บางทีมันก็ไม่ใช่แบบนั้น เด็กก็คือคนๆ นึง ที่สามารถออกจากบ้านไปเจอผู้คน มีเพื่อนวัยเดียวกันเหมือนเด็กทั่วไป หรือบางทีก็มีเวลาได้พบผู้คนหลากหลายวัย พบสังคมที่กว้างกว่าเด็กที่เรียนในโรงเรียนที่วันๆ เจอแต่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน
 
    อาจกล่าวได้ว่า ปัญหาการเข้าสังคม อาจไม่ใช่ปัญหาที่เด็กโฮมสคูลจะต้องเจอ เพราะว่าเด็กที่ขาดการเข้าสังคม ไม่ชอบยุ่งกับผู้อื่น ก็สามารถที่จะพบได้ทุกที่ ซึ่งรวมไปถึงโรงเรียนปกติเช่นกัน
 
เรียน Home School จะได้รับวุฒิการศึกษาหรือไม่?
 
    หลายคนอาจจะกังวลว่าเรียนไปแล้ว จะได้รับวุฒิการศึกษาเหมือนนักเรียนในโรงเรียนหรือเปล่า? ขอบอกเลยครับว่ามันก็มีหลายวิธีที่จะทำให้เด็กโฮมสคูลได้รับวุฒิการศึกษา ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
 
1. จดทะเบียนการศึกษาโดยครอบครัวกับเขตพื้นที่การศึกษาที่เราอาศัยอยู่
 
    ผู้ที่ต้องการจดทะเบียนกับเขตการศึกษาจะสามารถจดได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับ ม.ปลาย แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่าเราจะจดหรือไม่จดทะเบียนระดับอนุบาลก็ได้ เพราะว่าไม่ใช่การศึกษาขั้นบังคับ แต่ถ้าจะจดตามการศึกษาภาคบังคับก็สามารถจดได้ตั้งแต่อายุครบ 7 ปี หรือระดับ ป.1 ได้เลยครับ

    และเมื่อเราไปจดทะเบียน ทางเขตการศึกษาก็จะให้ผู้ปกครองเขียนหลักสูตรที่จะสอนลูกว่าสอนอย่างไรบ้าง มีการให้คะแนนอย่างไร ประเมินลูกอย่างไร ทางเขตเองก็จะมีการแนะนำสำหรับการจัดการเรียนการสอนของผู้ปกครองให้อย่างเหมาะสมด้วย

    และเมื่อเด็กๆ เรียนผ่านทุกปีพร้อมกับเขตการศึกษาได้รับรายงานผลการเรียนจากพ่อแม่ ทางเขตฯก็จะออกใบประกาศให้ ซึ่งสามารถเอาไปสอบที่ไหนก็ได้เหมือนกับนักเรียนในระบบทุกอย่าง และผู้ปกครองก็จะได้รับเงินอุดหนุนการศึกษาจากภาครัฐอีกด้วย ผู้ปกครองจะสอนเอง หรือนำเงินนั้นไปจ้างครูมาสอนก็ได้ แล้วแต่การจัดการของผู้ปกครองครับ

    นอกจากเงินสนับสนุนแล้ว เขตการศึกษาก็จะเข้ามาช่วยดูแลในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสื่อการเรียนการสอน, กิจกรรมในสังกัดเขตฯ, ข้อมูลการสอบแข่งขัน, หรือรวมไปถึงการเรียน รด. ทางเขตฯ ก็จะจัดการให้ครับ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับบางเขตการศึกษาด้วย เพราะบางที่ก็อาจจะสนับสนุนโฮมสคูล และในบางที่ก็ยังไม่ให้การสนับสนุนครับ


 
2. การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)
 
    อีกทางเลือกหนึ่งของการเรียนโฮมสคูลก็คือ กศน. ที่หลายคนรู้จัก ที่นี่ก็มีการสอบเทียบเพื่อรับวุฒิการศึกษาเช่นกันครับ ส่วนรายละเอียดหลักสูตรเป็นอย่างไร น้องๆ ก็สามารถค้นหาข้อมูลหรือไปสอบถามได้ทาง กศน. ได้เลยครับ 
 
3. ฝากชื่อหรือจดทะเบียนกับโรงเรียนที่รองรับเด็กโฮมสคูล
 
    ปัจจุบันในหลายๆ โรงเรียนก็มีการเปิดรับนักเรียนโฮมสคูลเข้ามาจดชื่อกับทางโรงเรียนเพื่อเทียบประเมินการเลื่อนชั้น น้องๆ และผู้ปกครองก็สามารถไปติดต่อกับโรงเรียนใกล้บ้านก็ได้ เพื่อตกลงกับโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินเลื่อนชั้น การตกลงคุยกันที่จะทำกิจกรรมบางอย่างหรือเข้าเรียนบางวิชากับทางโรงเรียนควบคู่ไปด้วยก็ได้
 
4. หลักสูตรต่างประเทศ
 
    นอกจากการสอบเพื่อเทียบวุฒิการศึกษาในไทยได้แล้ว นักเรียนโฮมสคูลก็สามารถที่จะเรียนและสอบเทียบหลักสูตรต่างประเทศได้ด้วย เช่น Distance Learning ที่เราสามารถติดต่อซื้อหลักสูตรต่างประเทศ และจะส่งหนังสือเรียนและข้อสอบมาให้ถึงบ้าน แล้วก็ค่อยมายื่นเทียบกับวุฒิการศึกษาไทยได้
    และสำหรับนักเรียนโฮมสคูลที่อยากสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายด้วยหลักสูตรต่างประเทศ ก็สามารถทำได้ครับ โดยหลักสูตรที่เห็นกันบ่อยในไทย ได้แก่
 
    - GED (General Educational Development) เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนของอเมริกา ผู้สอบจะต้องมีอายุ 17 ปีขึ้นไป และวิชาที่ต้องสอบให้ผ่านมี 5 วิชา ได้แก่ การเขียน, การอ่าน, สังคมศึกษา, วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเมื่อสอบผ่านก็จะได้รับใบแจ้งผลการเรียนและประกาศนียบัตรจากGED ครับ

    - IGCSE (Intranational General Certificate of Secondary Education) จะเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแบบอังกฤษ มีความคล้ายกับ GED แต่จะไม่จำกัดอายุของผู้สอบ โดยเราต้องสอบให้ผ่านครบ 5 วิชา ซึ่งเลือกสอบวิชาอะไรก็ได้จาก 50 วิชาของหลักสูตร เมื่อสอบผ่านก็จะได้รับใบรับรองผลจากมหาวิทยาลัย Cambridge และนำไปยื่นเทียบเท่ากับวุฒิ ม.ปลาย ได้ครับ 

 
“รับรองได้เลยว่า เด็กที่เรียนโฮมสคูลก็มีคุณภาพ
และได้รับการยอมรับเหมือนกับเด็กที่เรียนหลักสูตรในระบบเช่นกัน”



 
    การจะเรียนโฮมสคูลนั้นถึงจะสามารถทำได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะง่ายกับทุกคน เพราะการเรียนโฮมสคูลนั้น ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของผู้ปกครองและเด็ก, วิถีชีวิตของแต่ละคน, แนวคิดและอาจรวมไปถึงสถานภาพของครอบครัวด้วย

    เพราะอย่างที่บอกไปว่าหลักสูตรนี้ ผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างมาก เพราะถ้าจะให้เด็กจัดการแค่ฝ่ายเดียว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจจะไม่ออกมาอย่างที่หวังก็ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเรียนก็ควรปรึกษาหารือกันให้ดี พร้อมศึกษาหาข้อมูล หรือปรึกษาผู้มีประสบการณ์ก็จะเป็นประโยชน์มากๆ ครับ ส่วนใครอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์ของ "เครือข่ายเรียนบ้าน" ได้ครับ 

    และถ้าได้เรียนโฮมสคูลแล้ว ผู้ปกครองก็อย่าลืมนะครับว่า การที่เราจัดวิชาให้ลูกเรียนนั้นตรงกับความต้องการของลูกหรือเปล่า ถ้าจัดตามความพอใจของตัวเอง ก็อาจจะไม่ได้ต่างไปจากการเรียนในโรงเรียน แต่แค่เปลี่ยนสถานที่จากโรงเรียนมาเป็นที่บ้านแทน    

 
พี่วุฒิ
พี่วุฒิ - Columnist มนุษย์ 4 มิติผู้หลงใหลในเพลงเกาหลี ชาเนสที และหมูกระทะ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Phoenix Khaojao Member 2 ก.ย. 60 20:15 น. 6

การจัดการเรียนแบบบ้านเรียน หรือ Home School เป็นการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ผู้ปกครองเขียนแผนฯการเรียนรู้และยื่นขออนุญาตกับสำนักงานเขตพื่้นที่การศึกษาของเขตนั้นๆ ตามทะเบียนบ้านหรือการดำเนินชีวิตของผู้เรียนหรือครอบครัว และการเรียนแบบนี้ บ้านเปรียบเสมือนโรงเรียนแห่งหนึ่ง พ่อแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวคือครูของเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้ผ่านสิ่งที่ตนเองถนัดหรือชื่นชอบ และสามารถเลือกแนวทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวิถีกำรดำเนินชีวิตของตนเองได้ เช่น บ้านขายก๋วยเตี๋ยว สามารถใช้การทำและขายก๋วยเตี๋ยวเป็นแนวทางการเรียนรู้และต่อยอดต่อไปได้ หรือบ้านที่มีอาชีพขับแท็กซี่ หากเด็กสนใจก็สามารถที่จะสอนถึงกระบวนการทั้งหลายให้เด็กได้เรียนรู้ไปด้วยกันกับผู้ปกครองได้อีกด้วย

ปัจจุบันนี้ มีครอบครัวจดทะเบียนบ้านเรียนแล้วกว่า 2,000 ราย และทุกพื้นที่ ทุกครอบครัว มีการนัดรวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านความรู้ต่างๆ ให้กันและกันอย่างสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมและโอกาสอันสมควร เช่น ครอบครัวที่มีความรู้ด้านการละคร จัดสอนละครให้กับเด็กบ้านเรียนที่สนใจ ครอบครัวที่มีความรู้ด้านศิลปะ การวาดภาพระบายสี สามารถจัดสอนทักษะด้านศิลปะให้กับเด็กกลุ่มที่ชื่นชอบการวาดภาพระบายสี หรือแม้กระทั่ง บ้านที่มีความสามารถด้านการทำอาหารก็รวมตัวและแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ให้กับเด็กบ้านเรียน ครอบครัวโฮมสคูลกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น นอกจากเรื่องความรู้ ประสบการณ์จริงแล้ว กลุ่มเด็กเหล่านี้ยังมีสังคมในแบบฉบับที่สามารถเลือกเองได้อีกด้วย

การติดต่อสอบถามข้อมูล สามารถทำได้จากกลุ่มบ้านเรียนที่รู้จัก หรือจากสื่อโซเชียลที่เปิดกว้างมากขึ้น

เช่น ในFacebook จะมีกลุ่ม HomeSchool Network ,เครือข่ายบ้านเรียนกลุ่ม ILS (Innovative Learning Space) ในชื่อเพจ Homeschool by ILS และอื่นๆ อีกมากมาย 

หากสนใจหาข้อมูลลองเข้าไปติดตามและสอบถามได้จ้า

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มะงุมมะงาหรา 7 เม.ย. 60 09:32 น. 2

พ่อแม่ต้องมีเวลา และปกติลูกควรต้องมีโอกาสพบปะสังคมวัยเดียวกันผ่านทางใดทางหนึ่งเสมอ โดยปกติสำหรับโฮมสกูลเมืองไทย ก็ผ่านกิจกรรมของโรงเรียนที่จดทะเบียนคู่ หรือเด็กได้เจอเพื่อนเวลาไปโบสถ์หรือวัดทุกวันอาทิตย์ (เด็กคริสเตียน หรือเรียนพุทธศาสน์วันอาทิตย์)



0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
มะงุมมะงาหรา 7 เม.ย. 60 09:32 น. 2

พ่อแม่ต้องมีเวลา และปกติลูกควรต้องมีโอกาสพบปะสังคมวัยเดียวกันผ่านทางใดทางหนึ่งเสมอ โดยปกติสำหรับโฮมสกูลเมืองไทย ก็ผ่านกิจกรรมของโรงเรียนที่จดทะเบียนคู่ หรือเด็กได้เจอเพื่อนเวลาไปโบสถ์หรือวัดทุกวันอาทิตย์ (เด็กคริสเตียน หรือเรียนพุทธศาสน์วันอาทิตย์)



0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Phoenix Khaojao Member 2 ก.ย. 60 20:15 น. 6

การจัดการเรียนแบบบ้านเรียน หรือ Home School เป็นการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ผู้ปกครองเขียนแผนฯการเรียนรู้และยื่นขออนุญาตกับสำนักงานเขตพื่้นที่การศึกษาของเขตนั้นๆ ตามทะเบียนบ้านหรือการดำเนินชีวิตของผู้เรียนหรือครอบครัว และการเรียนแบบนี้ บ้านเปรียบเสมือนโรงเรียนแห่งหนึ่ง พ่อแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวคือครูของเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้ผ่านสิ่งที่ตนเองถนัดหรือชื่นชอบ และสามารถเลือกแนวทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวิถีกำรดำเนินชีวิตของตนเองได้ เช่น บ้านขายก๋วยเตี๋ยว สามารถใช้การทำและขายก๋วยเตี๋ยวเป็นแนวทางการเรียนรู้และต่อยอดต่อไปได้ หรือบ้านที่มีอาชีพขับแท็กซี่ หากเด็กสนใจก็สามารถที่จะสอนถึงกระบวนการทั้งหลายให้เด็กได้เรียนรู้ไปด้วยกันกับผู้ปกครองได้อีกด้วย

ปัจจุบันนี้ มีครอบครัวจดทะเบียนบ้านเรียนแล้วกว่า 2,000 ราย และทุกพื้นที่ ทุกครอบครัว มีการนัดรวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านความรู้ต่างๆ ให้กันและกันอย่างสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมและโอกาสอันสมควร เช่น ครอบครัวที่มีความรู้ด้านการละคร จัดสอนละครให้กับเด็กบ้านเรียนที่สนใจ ครอบครัวที่มีความรู้ด้านศิลปะ การวาดภาพระบายสี สามารถจัดสอนทักษะด้านศิลปะให้กับเด็กกลุ่มที่ชื่นชอบการวาดภาพระบายสี หรือแม้กระทั่ง บ้านที่มีความสามารถด้านการทำอาหารก็รวมตัวและแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ให้กับเด็กบ้านเรียน ครอบครัวโฮมสคูลกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น นอกจากเรื่องความรู้ ประสบการณ์จริงแล้ว กลุ่มเด็กเหล่านี้ยังมีสังคมในแบบฉบับที่สามารถเลือกเองได้อีกด้วย

การติดต่อสอบถามข้อมูล สามารถทำได้จากกลุ่มบ้านเรียนที่รู้จัก หรือจากสื่อโซเชียลที่เปิดกว้างมากขึ้น

เช่น ในFacebook จะมีกลุ่ม HomeSchool Network ,เครือข่ายบ้านเรียนกลุ่ม ILS (Innovative Learning Space) ในชื่อเพจ Homeschool by ILS และอื่นๆ อีกมากมาย 

หากสนใจหาข้อมูลลองเข้าไปติดตามและสอบถามได้จ้า

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กนกพร 11 ก.พ. 61 08:54 น. 8

ขอบคุณมากนะคะ พี่วุฒิเขียนได้ดีครับ เด็กๆ ที่สนใจโฮมสคูลควรสำรวจเป้าหมาย/ทิศทางการเรียนรู้ของตนเอง และคุยกับคุณพ่อคุณแม่ให้เป็นทิศทางเดียวกันก่อนนะคะ เพราะครอบครัวคือแรงสนับสนุนการเรียนรู้ที่สำคัญ ผู้สนใจ ศึกษาข้อมูลได้ที่เพจ @ศูนย์การเรียน เครือข่ายการศึกษาทางเลือก ค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด