เรียนหมอใน 6 ประเทศดัง ต่างกันยังไงบ้าง

     สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com หนึ่งในสาขาการเรียนยอดฮิตที่ พี่พิซซ่า ได้รับอีเมลคำถามแทบทุกวันเลยคือสาขาแพทยศาสตร์ค่ะ มีน้องๆ สนใจไปเรียนต่อแพทย์ในต่างประเทศเยอะมากจริงๆ ฉะนั้นวันนี้พี่ก็เลยทำสรุปรวมเส้นทางการเรียนหมอของ 6 ประเทศฮิตๆ มาฝากค่ะ


     อธิบายก่อนว่าการเรียนจบหลักสูตรแพทย์กับการได้ทำงานเป็นแพทย์จริงๆ เป็นคนละเรื่องกันนะคะ เรียนจบแล้วไม่ได้หมายความว่าจะทำงานรักษาคนไข้จริงๆ ได้ทันทีค่ะ แต่ละประเทศจะมีการสอบเพื่อรับใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพอีกที อยากทำงานเป็นหมอที่ประเทศไหน ก็ต้องตรวจสอบระเบียบเกี่ยวกับการสอบใบประกอบฯ ของประเทศนั้นก่อนนะคะ

     อย่างถ้าอยากกลับมาเป็นหมอที่เมืองไทย ก็ต้องจบจากสถาบันที่แพทยสภาไทยรับรอง แล้วก็ต้องสอบใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ผ่านทั้ง 3 ขั้นก่อนถึงจะทำงานเป็นหมอจริงๆ ได้ ฉะนั้นประเด็นหลักของบทความนี้คือจะแนะนำเส้นทางถึงการได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เท่านั้นค่ะ


สหรัฐอเมริกา


     การเรียนแพทย์ที่อเมริกาจะเรียนหลังจบปริญญาตรีค่ะ ถ้าใครอยากเรียนแพทย์ที่นี่ต้องท่องไว้ว่า "วางแผนล่วงหน้า 2 ระดับ" เพราะต้องคิดมาก่อนว่าอยากเรียนแพทย์ที่ไหน แล้วค่อยเลือกเรียนปริญญาตรีในสาขาที่ทำให้เราไปสมัครโทแพทย์ต่อได้ค่ะ

     จริงอยู่ว่าโรงเรียนแพทย์ส่วนมากในอเมริกาจะไม่กำหนดว่าต้องจบตรีสาขาอะไร แต่ก็มีบางโรงเรียนค่ะที่ระบุว่าต้องจบสาขาชีววิทยา, เคมี หรือชีวเคมีเท่านั้น บางโรงเรียนอาจกำหนดว่าต้องลงเรียนวิชามนุษยศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, และเลขมาด้วย ฉะนั้นให้ดูข้ามไปก่อนว่าโรงเรียนแพทย์ที่อยากเข้ามีข้อกำหนดอะไรแบบนี้รึเปล่า บางที่บังคับด้วยซ้ำว่าต้องเรียนปี 3-4 ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาเท่านั้น

     หลังจบปริญญาตรีเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องไปสอบข้อสอบที่เรียกว่า MCAT ค่ะ เป็นข้อสอบสำหรับใช้สมัครเข้าเรียนโรงเรียนแพทย์ ถ้าได้รับเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ก็จะใช้เวลาเรียนอีก 4 ปีค่ะ จบแล้วจะได้รับวุฒิ Doctor of Osteopathic Medicine (D.O.) หรือวุฒิ Doctor of Medicine (M.D.) ค่ะ แล้วแต่ว่าโรงเรียนนั้นจะเรียกว่าอะไร


     พอได้วุฒิ D.O หรือ M.D. แล้วถึงจะสอบใบประกอบวิชาชีพได้ แต่ก็ต้องไปเรียนแพทย์เฉพาะทางเพิ่มอีก 3-8 ปีแล้วแต่สาขาค่ะ การเรียนในระดับนี้ก็คือจะได้ลองทำงานในโรงพยาบาลจริงๆ เลยเป็นหลัก แต่ก็ต้องดูระเบียบของแต่ละมลรัฐอีกทีว่ามีข้อกำหนดเพิ่มเติมอะไรบ้างถึงจะทำให้กลายเป็นหมอจริงๆ ประจำมลรัฐนั้นๆ ได้


แคนาดา


     ขยับมาที่ประเทศเพื่อนบ้านของอเมริกากันค่ะ การเรียนแพทย์ในแคนาดาอาจจะเดาทางยากนิดนึงตรงที่มีไม่กี่มหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษาต่างชาติมาเรียนหมอค่ะ แถมต้องเช็กกันปีต่อปีเลยว่ารับหรือไม่ เพราะบางมหาวิทยาลัยเปลี่ยนนโยบายไปมากันเป็นรายปีค่ะ บางปีรับบางปีไม่รับ

     ส่วนเกณฑ์การรับสมัครเข้าเรียนก็แล้วแต่กฎของแต่ละรัฐอีกด้วยค่ะ จริงอยู่ว่าส่วนมากจะแนะนำให้จบปริญญาตรีสายวิทย์มาก่อนแล้วค่อยสมัครเข้าโรงเรียนแพทย์ แต่ก็มีบางแห่งที่อินดี้อยู่เหมือนกัน เช่น โรงเรียนแพทย์หลายแห่งในเขตเวสเทิร์นแคนาดารับนักศึกษาที่จบปริญญาตรีปี 2 แต่โรงเรียนแพทย์หลายแห่งในออนทาริโอรับนักศึกษาที่จบปี 3 ในขณะที่โรงเรียนแพทย์ในมานิโทบารับนักศึกษาที่จบตรีเรียบร้อยแล้วเท่านั้น แถมมีโอกาสเปลี่ยนกฎกันทุกปีเช่นกัน หลายคนเลยเลือกที่จะเรียนตรีสาขาด้านชีววิทยาให้จบไปเลยตั้งแต่ต้นแล้วค่อยมาสมัคร เพื่อความชัวร์สุดๆ

     ส่วนเรื่องข้อสอบเข้าแพทย์ แคนาดารับคะแนนสอบ MCAT เช่นเดียวกับอเมริกาค่ะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะรับเหมือนกันทุกมหาวิทยาลัย 55555 ส่วนมากจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนแบบไบลิงกัว หรือมหาวิทยาลัยที่สอนหลักสูตรแพทย์เป็นภาษาอังกฤษก็จริง แต่มีธีมมหาวิทยาลัยเน้นด้านภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยพวกนี้จะไม่ดูผลสอบ MCAT ค่ะ เพราะการเรียนด้วยหลักสูตรของฝรั่งเศสไม่มีข้อสอบแบบนี้ เลยตัดทิ้งไปด้วยเลย

     ถ้าเข้าโรงเรียนแพทย์ได้แล้วก็จะเรียนต่อไปอีก 3-5 ปีค่ะ ขึ้นกับแต่ละมหาวิทยาลัยและดูว่ามีความรู้อะไรมาก่อนหน้าบ้าง จบแล้วก็จะได้วุฒิ Doctor of Medicine (M.D.) หรือ Doctor of Medicine and Master of Surgery (M.D., C.M.) แล้วแต่มหาวิทยาลัยจะเรียก เสร็จแล้วค่อยไปต่อแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ประจำบ้านอีกที


สหราชอาณาจักร


     ข้ามมาฝั่งยุโรปกันบ้างค่ะ การเรียนแพทย์ของสหราชอาณาจักรจะเริ่มตั้งแต่ ป.ตรีเลย คล้ายๆ ของไทยค่ะ โดยจะเรียนตรีกัน 6 ปี แต่ก่อนจะได้เรียนตรีก็จะลำบากสำหรับนักเรียนไทยนิดๆ ค่ะ นั่นคือวุฒิ ม.6 ของไทยไม่สามารถเข้าตรีที่สหราชอาณาจักรได้ทันที จำเป็นต้องมีคะแนน A-level หรือไม่ก็ต้องเรียนคอร์สปรับพื้นฐานสำหรับเรียนแพทย์โดยเฉพาะก่อน ตรงนี้ต้องดูระเบียบของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกทีด้วยนะคะว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับวุฒิแบบไหนบ้าง มีบางที่ที่ต้องใช้ทั้ง A-level และคอร์สปรับพื้นฐานด้วยค่ะ

     นอกจากนี้ก็ต้องสอบเข้าสำหรับเรียนแพทย์โดยเฉพาะด้วยค่ะ ส่วนมากจะรับผลสอบ UKCAT หรือ BMAT กัน แต่ไม่ได้แปลว่าสอบอันไหนก็ได้นะคะ ต้องเช็กด้วยว่ามหาวิทยาลัยที่เราจะสมัครรับผลสอบไหน เนื่องจากมักรับแค่ผลสอบประเภทเดียว ใช้แทนกันไม่ได้

     หลังจบปริญญาตรี 6 ปีก็จะได้รับวุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (มักย่อเป็น MBBS และ MBChB) ค่ะ ซึ่งก็ยังเป็นหมอจริงๆ ไม่ได้เลยเช่นกัน ต้องไปเรียน Foundation program ต่ออีก 2 ปี หลังจากนั้นค่อยฝึกเฉพาะทางเพิ่มอีก ก็จะกินระยะเวลาแตกต่างกันไปขึ้นกับสาขาที่เลือกค่ะ


ออสเตรเลีย


     ข้ามมาอีกทวีปนึงแต่ยังเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักเช่นกันค่ะ การเรียนแพทย์ในออสเตรเลียก็มีเอกลักษณ์ของตัวเองเช่นกันค่ะ เพราะมีสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโทค่ะ บางมหาวิทยาลัยมีทั้ง 2 ระดับ บางที่เปิดแค่ระดับเดียว ต้องเช็กดีๆ เช่นกันค่ะ

     สำหรับระดับปริญญาตรี ใช้เวลาเรียน 5-6 ปีค่ะ จบแล้วส่วนมากจะได้วุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery แต่การสมัครเข้าเรียนใช่ว่าจบ ม.6 แล้วจะได้เข้าตรีทันทีกันเลยนะคะ เพราะการพิจารณาจะดูรายละเอียดมากกว่าตัววุฒิค่ะ ถ้าจบ ม.6 สายวิทย์ มีวิชาชีวะและเคมีเยอะ เรียนได้เกรด 4 ทุกวิชา แบบนี้ก็มีโอกาสได้เรียนปี 1 ทันที แต่ถ้าจบ ม.6 แบบไม่ค่อยมีวิชาสายวิทย์หรือมีแต่เกรดไม่ดี ก็อาจจะโดนมหาวิทยาลัยแจ้งกลับมาว่าให้ไปเรียนคอร์สเฉพาะทางเพิ่ม หรือให้เรียนอนุปริญญาเพิ่มไปก่อนค่ะ

     นอกจากนี้หลายมหาวิทยาลัยบังคับใช้ผลสอบ ISAT เพิ่มด้วย ข้อสอบ ISAT คือข้อสอบแอดมิชชั่นสำหรับนักเรียนต่างชาติที่อยากมาเรียนในออสเตรเลียค่ะ นอกจากนี้ยังมีข้อสอบ UMAT อีก UMAT คือข้อสอบเฉพาะทางสำหรับใครที่อยากเรียน ป.ตรีแพทย์ในออสเตรเลีย ปกติจะให้เฉพาะนักเรียนในประเทศสอบ แต่ถ้าใครเล็งว่าจะอยู่ต่อยาวๆ ก็สามารถสอบด้วยได้เช่นกัน


     ส่วนการเรียนระดับปริญญาโท จะรับเฉพาะคนที่จบปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วค่ะ (แต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ระบุสาขา) ใช้เวลาเรียน 4 ปี จบแล้วจะได้วุฒิที่แต่ละมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างกันไป แต่ทั้งหมดคือเทียบเท่ากับวุฒิ Doctor of Medicine (MD) แบบของอเมริกาค่ะ

     ส่วนการสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาโทจะต้องมีผลสอบ GAMSAT หรือผลสอบ MCAT ด้วยค่ะ และเช่นเคย เช็กดีๆ ว่ามหาวิทยาลัยที่จะสมัครรับผลสอบตัวไหนด้วยนะคะ

     พอจบไม่ว่าจะหลักสูตร MBBS หรือ MD ก็ต้องไปฝึกงานต่อ 1 ปี ฝึกแพทย์ประจำบ้านอีกหลายปี และฝึกแพทย์เฉพาะทางอีกหลายปีด้วยค่ะ ระหว่างที่ยังฝึกฝนอยู่จะได้ตำแหน่งเป็น Junior Medical Officer ถ้าผ่านการฝึกเฉพาะทางและเก็บประสบการณ์ได้ครบแล้วถึงจะได้เป็น Senior ค่ะ หลายปีเลยแหละกว่าจะได้เป็น


นิวซีแลนด์


     ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียอย่างนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยน้อยมากกกกก ฉะนั้นแต่ละสถาบันจะมีโควตาระบุเลยว่ารับนักศึกษาต่างชาติมาเรียนแพทย์ได้กี่คน ส่วนมากโควตาจะเป็นเลขตัวเดียวแทบทุกปีเลยค่ะ ฉะนั้นการแข่งขันจัดว่าสูงมาก

     เส้นทางการเรียนแพทย์ของที่นี่เริ่มตั้งแต่ปริญญาตรีค่ะ สำหรับนักเรียนไทยถ้าจบวุฒิ ม.6 จำเป็นต้องจบปี 1 เพิ่มด้วยนะคะถึงจะสมัครเรียนปริญญาตรีได้ ถ้าจะเรียนแพทย์ต้องเลือกเรียนปี 1 ในสาขา Health Sciences First Year เท่านั้นค่ะ วิชาปี 1 นี้เป็นวิชาเตรียมตัวสำหรับเรียนแพทย์ ต้องทำคะแนนในปี 1 นี้ให้ดีถึงจะสมัครไปเรียนแพทย์ต่อได้ในปี 2 แล้วก็เรียนแพทย์ต่อรัวๆ ไปถึงปี 6 ค่ะ

     เรียนจบมาจะได้รับวุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (MB ChB) ค่ะ แล้วก็ค่อยไปฝึกต่อเพิ่มเติมในหลักการเดียวกับประเทศอื่นๆ เพื่อให้ทำงานเป็นแพทย์ได้จริงๆ


ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป


     บอกก่อนว่าแค่ส่วนใหญ่แต่ไม่ใช่ทุกประเทศนะคะ ใน EU จะมีข้อตกลงด้านการศึกษาร่วมกันอยู่ค่ะ ซึ่งผลจากข้อตกลงนี้คือทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วยุโรปค่ะ สามารถโอนหน่วยกิตย้ายไปมาได้ แต่สำหรับสาขาแพทยศาสตร์ก็มีความเฉพาะทางอยู่ ทำให้ไม่เหมือนกันเป๊ะซักเท่าไหร่ค่ะ

     สำหรับประเทศในแถบยุโรปตะวันออก อย่างเช็ก ฮังการี โปแลนด์ จะเป็นประเทศที่มีหลักสูตรแพทยศาสตร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษค่ะ สาขานี้ช่วยดึงดูดนักเรียนจากต่างประเทศได้ดีมากๆ เลยแหละ สำหรับระดับปริญญาตรีจะเรียน 6 ปี จบแล้วได้วุฒิ MBBS ค่ะ (บางที่เรียก MD แต่ก็เหมือนกัน) ซึ่งการสมัครเข้าเรียนส่วนมากจะรับวุฒิ ม.6 ของไทยเลย แต่ว่าจะต้องสอบแอดมิชชั่นเข้าไปก่อนนะคะ วิชาที่สอบก็มักเป็นชีววิทยา, เคมี, เลข และภาษาอังกฤษ


     ส่วนใครที่จบตรีมาแล้ว ก็ลงเรียน MD หลักสูตร 4 ปี ต่อได้เลย จบมาจะได้รับวุฒิเดียวกันกับคนจบ 6 ปีค่ะ แต่จำนวนสถาบันที่เปิดสอนระดับนี้มีน้อยกว่าแบบปริญญาตรีอีกนะคะ ต้องตั้งใจหาดีๆ จริงๆ แค่หามหาวิทยาลัยที่เปิดสอนแพทย์แบบใช้ภาษาอังกฤษก็ค่อนข้างหายากแล้วค่ะในแต่ละประเทศ มักมีกันประเทศละไม่ถึง 5 มหาวิทยาลัย

     แต่ถ้าอย่างฟินแลนด์หรือสวีเดน จะมีหลักสูตรแพทย์โครงสร้างของตัวเองค่ะ แถมใช้ภาษาของตัวเองในการเรียนการสอน ฝรั่งเศสก็เช่นกัน หรืออย่างเยอรมนีมีหลักสูตรสากลแต่ก็ใช้ภาษาเยอรมันในการสอน ส่วนอิตาลีเองก็มีหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่ แต่มีน้อยและต้องสอบข้อสอบ IMAT โดยเฉพาะของตัวเองก่อนเข้าเรียนด้วย


    แถมท้าย    


ประเทศอื่นๆ ที่มีหลักสูตร MBBS


     จริงๆ มีอีกหลายประเทศเลยนะคะที่มีหลักสูตรแพทย์แบบ MBBS ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ฟิลิปปินส์ จีน รัสเซีย หรือประเทศในแถบคาริบเบียน แต่ก็ไม่ใช่ทุกที่ที่จะมีมาตรฐานที่ดีค่ะ ตัวหลักสูตรในหน้ากระดาษค่อนข้างจะเหมือนกันกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่หลายมหาวิทยาลัยในประเทศนั้นๆ อาจทำได้ไม่ถึงตามมาตรฐานสากล เรื่องนี้ต้องตรวจสอบให้ดีๆ ก่อนสมัครเรียนนะคะ

     นอกจากนี้บางที่บอกว่าสอนเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ แต่จริงๆ คนสอนอาจพูดภาษาถิ่นผสมกับภาษาอังกฤษไปมา หรือมีบางวิชาที่ไม่ได้สอนด้วยภาษาอังกฤษก็ได้ เน้นอีกรอบว่าให้เช็กดีๆ ก่อนสมัคร โดยลองสอบถามจากผู้ที่เรียนจบสถาบันนั้นๆ มาโดยตรงค่ะ


เกาหลีใต้


     เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศที่พี่ได้รับคำถามมาค่อนข้างเยอะเหมือนกันค่ะ แต่หลักสูตรแพทย์ในเกาหลีสอนเป็นภาษาเกาหลีนะคะ แล้วก็แอดมิชชันเข้าไปตั้งแต่ปริญญาตรีเลย ฉะนั้นภาษาเกาหลีต้องระดับสูงและต้องแข่งขันมากๆ เลยค่ะ การเรียนใช้เวลา 6 ปีเหมือนของไทย



     อีกเรื่องที่ต้องระวังสำหรับการเรียนหมอในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักอยู่แล้ว ก็คือเรื่องโอกาสเข้าเรียนที่ค่อนข้างต่ำค่ะ ยิ่งถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจะยิ่งสนับสนุนคนในประเทศเขาก่อน ฉะนั้นจะมีโควตาให้นักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนต่ำมากๆ เลย ลองเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละที่ให้ดีก่อนเลือกสมัครเรียนนะคะ
พี่พิซซ่า
พี่พิซซ่า - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายเรียนต่อนอก

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Faye 21 ก.พ. 61 14:05 น. 1

ของออสเตรเลียมหาวิทยาลัยที่นี่ส่วนมากInternational studentsจะเป็นสอบISAT ค่ะ แล้วก็ยังมีPQAอีกตัวนึงด้วย ตอนปริญญาตรีถ้าใครคะแนนไม่ถึงหมอ มหาลัยที่นี่มีpathwayค่ะ เรียนประมาณ3-4ปี แล้วสอบGAMSAT ถ้าผ่านก็ได้เข้าไปเรียนหมออีก3ปีหลัง

1
กำลังโหลด
ธนพงษ์ 20 มิ.ย. 62 14:15 น. 13

เห็นเอเจนซี่แนะแนวเรียนหมอจีน รัสเซีย โปแลนด์ แพทย์สภาไทยรับรอง ไม่ต้องใช้ผลสอบภาษาไม่ต้องสอบเข้า ดูแต่เกรด3 up อยากจะรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนว่าเป็นไง ไม่มีข้อมูลจากผู้ที่เคยเรียนเลย หาข้อมูลก็มีน้อยมาก ใครมีข้อมูลหรือเรียนอยู่หรือจบแล้ว ช่วยแบ่งปันข้อมูลหน่อยครับ

0
กำลังโหลด

19 ความคิดเห็น

Faye 21 ก.พ. 61 14:05 น. 1

ของออสเตรเลียมหาวิทยาลัยที่นี่ส่วนมากInternational studentsจะเป็นสอบISAT ค่ะ แล้วก็ยังมีPQAอีกตัวนึงด้วย ตอนปริญญาตรีถ้าใครคะแนนไม่ถึงหมอ มหาลัยที่นี่มีpathwayค่ะ เรียนประมาณ3-4ปี แล้วสอบGAMSAT ถ้าผ่านก็ได้เข้าไปเรียนหมออีก3ปีหลัง

1
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากเว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

กำลังโหลด
แจ๊ส 2 มี.ค. 61 01:36 น. 3

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับกระทู้นี้เพราะหนูตอนนี้เรียนอังกฤษhighschool year9แล้วหนูอยากเป็นหมอค่ะแล้วอยากกลับมาทำงานเป็นหมอที่ไทยด้วยค่ะเพราะคิดถึงและชอบประเทศไทยมากๆค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Smooth As Silk Member 4 เม.ย. 61 10:38 น. 5

บางประเทศ เช่น จีน ฟิลิปปินสื จะไปเรียนหมอ คิดให้ดีๆนะครับว่า ก.พ. รับรองหรือยัง และบางอย่างไทยดีกว่าด้วยซ้ำ

1
กำลังโหลด
ILovePCY Member 2 พ.ค. 61 02:19 น. 6

แล้วถ้าไม่ได้เรียนสายสุขภาพสามารถไปต่อได้มั้ยคะ อย่างเช่นหนูตอนนี้เรียนวิทยาศาสตร์ชีววิทยา หนูจะไปเรียนที่อเมริกานี่สามารถไปได้มั้ย ถ้าได้ต้องเตรียมตัวอะไรนอกเหนือจากที่กระทู้บอกมั้ยคะ?

1
Irene 2 พ.ค. 61 10:45 น. 6-1

ตอนนี้เราก็กำลังวางแผนเรียนต่อแพทย์ที่เมกาค่ะ แต่เราเรียนป ตรี ที่เมกานะคะ ถ้าใครไม่ได้จบbiological science มาก็ต้องไปเรียนPre-med ค่ะ ประมาณ2ปี แล้วแต่คน จากนั้นสอบMCAT ให้ผ่าน ถึงจะเรียนMed 4ปีค่ะ

0
กำลังโหลด
หมิว 2 พ.ค. 61 08:48 น. 7

เราเรียนฟิลิปปินส์ค่ะ แพทยสภารับรอง รุ่นพี่ก็สอบใบประกอบได้ ค่าเทอมแอบแพงไม่รู้เฉพาะมหาลัยเรารึเปล่า แต่ค่าครองชีพพอไหว รายละเอียดในนี้เลยนะคะ

https://m.facebook.com/MEDTHPH/


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
parksheieie Member 13 ธ.ค. 61 01:17 น. 9

แพทย์อเมริกา ปริญญาตรีสามารถเรียนคณะอะไรก็ได้ก่อนเลยใช่ไหมคะ? เช่นนิเทศศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ อะไรแบบนี้

0
กำลังโหลด
รัตนา 28 ธ.ค. 61 09:12 น. 10

เรียนจบแผนกหมอที่อเมริกามีlicenseใบอนุญาติให้เขียนใบสั่งยาได้แต่อยากกลับไปที่เมืองไทยไปเปิดคลีนิกที่เมืองไทยต้องการใบอะไรจากที่เมกาและต้องสอบใบหมอที่เมืองไทยอีกไหมคะต้องสอบอีกกี่ขั้นตอนคะถึงได้ใบอนุญาติให้เปิดคลีนิกที่ไทยได้

1
มาตามนั้น 26 ม.ค. 62 14:04 น. 10-1

จบแพทย์จาก ตปท. ในสถาบันที่แพทย์สภารับรอง ต้องมาสอบรับใบประกอบ (ศรว.) ให้ได้ก่อนถึงจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์ ทำงานเป็นแพทย์ในเมืองไทยได้ครับ แต่ถ้าจบแพทย์ที่เมกาอยู่ ที่นั่นแล้ว ทำไมต้องกลับมาทำงานที่ไทยอีกล่ะครับ ในเมื่ิอมีเครื่องมือและเทคโนโลยี่ใหม่ๆให้ศึกษาก่อนประเทศอื่นอยู่แล้วขณะที่แพทย์ไทยหลายคนอยากไปทำงานใน เมกาแต่ก้อไม่สามมารถไปได้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ธนพงษ์ 20 มิ.ย. 62 14:15 น. 13

เห็นเอเจนซี่แนะแนวเรียนหมอจีน รัสเซีย โปแลนด์ แพทย์สภาไทยรับรอง ไม่ต้องใช้ผลสอบภาษาไม่ต้องสอบเข้า ดูแต่เกรด3 up อยากจะรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนว่าเป็นไง ไม่มีข้อมูลจากผู้ที่เคยเรียนเลย หาข้อมูลก็มีน้อยมาก ใครมีข้อมูลหรือเรียนอยู่หรือจบแล้ว ช่วยแบ่งปันข้อมูลหน่อยครับ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
Tom99wat Member 27 เม.ย. 63 06:40 น. 16

ใช่ครับอยากได้ความเห็นและประสบการณ์ต่างๆของนักศึกษาแพทย์ต่างประเทศที่เคยเรียนหรือจบมาแล้ว มาเล่าหน่อยครับ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด