ทำไม ‘ภาษาที่เราพูด’ ถึงได้กำหนด ‘ระบบความคิด’ ของเรา?

     น้องๆ ชาว Dek-D เคยได้ยินประโยคนี้มั้ยครับ “ถ้าอยากเปิดโลกกว้าง ให้เรียนภาษาเพิ่ม” เพราะการเรียนภาษานอกจากจะทำให้เราสามารถสื่อสารได้แล้ว ยังทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมและแนวความคิดของชาตินั้นๆ ด้วย วันก่อน พี่วุฒิ มีโอกาสได้ดูคลิป Ted Talk อันนึง ซึ่งคนแชร์กันเยอะมากกกก หัวข้อที่เค้าพูดก็คือ “How Language Shapes The Way We Think? (ภาษากำหนดความคิดของเราได้อย่างไร?)” ซึ่งบรรยายโดยคุณ Lera Boroditsky นักวิชาการด้านภาษาจาก Stanford University ในการบรรยายครั้งนี้เค้าพูดอะไรบ้าง แล้วภาษามันกำหนดความคิดของเราได้จริงหรือ? เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลยครับ 


 

Clip



 

"To have another language is to possess a second soul." 

- Charlemagne - 
 

     น้องๆ รู้มั้ยครับว่าบนโลกของเรานั้นมีภาษาที่คนใช้กันมากกว่า 7,000 กว่าภาษา และแน่นอนว่าแต่ละภาษาก็จะต้องมีความแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคำศัพท์ เสียง โครงสร้างหรือไวยากรณ์ และสิ่งที่สอดแทรกมาในแต่ละภาษาซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ตัวก็คือ การกำหนดกรอบความคิดของคนที่ใช้ภาษานั้นๆ พูดง่ายๆ คือ จากการวิจัยของคุณ Lera ที่นำมาพูดในงาน Ted Talk สรุปง่ายๆ ก็คือ “ภาษาที่เราใช้อยู่ หล่อหลอมความคิดของเรา และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราในหลายรูปแบบ” เธอเองได้ลองทำการศึกษามาหลายรูปแบบ และสิ่งเธอได้สรุปเป็นประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ 

 


 
     อย่างที่บอกไปว่าภาษาบนโลกของเรานั้นมีมากมาย และล้วนเต็มไปด้วยความแตกต่าง และโดยเฉพาะกับภาษาของชนเผ่าที่หลายคนมองข้าม น้องๆ เคยสงสัยมั้ยครับว่าเค้าใช้ภาษาแบบไหน แล้วมีวิธีการสื่อสารอย่างไร ยกตัวอย่างชนเผ่า Kuuk Thaayore  ของประเทศออสเตรเลีย ที่คุณ Lera ได้มีโอกาสเข้าไปทำความคลุกคลีเพื่อทำการศึกษาวิจัย เธอพบว่าชาวเผ่านี้ ไม่มีการใช้คำศัพท์เพื่อบ่งบอกทิศทาง เช่น ‘ซ้าย ขวา หน้า หลัง’ แบบนี้คือไม่มีเลย แต่พวกเค้าจะใช้คำสื่อสารพวก ‘เหนือ ใต้ ออก ตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้’ เป็นต้น

     ยกตัวอย่างประโยคเช่น “ช่วยขยับขวดน้ำหลบไปทางตะวันออกเฉียงใต้หน่อย” หรือ “เดี๋ยวเจอกันทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตึก” เป็นต้น และไม่ใช่แค่การบอกทิศทางเพียงเท่านั้น การบอกเวลาหรือวัน พวกเค้าก็ใช้คำพวกทิศเหล่านี้เช่นเดียวกัน ซึ่งภาษาเหล่านี้ที่พวกเค้าใช้ ก็สามารถบ่งบอกถึงลักษณะความคิดที่ถูกปลูกฝัง แน่นอนว่าไม่มีใครผิดหรือใครถูก ตราบใดที่พวกเค้าเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร 

 


 
     นอกจากนี้แล้ว ภาษาก็ยังมีอิทธิพลต่อระบบความคิดในเรื่องการของการรับรู้ได้รวดเร็ว และความละเอียดอ่อนทางความคิด ยกตัวอย่างในเรื่องของ “สี” อย่างเช่น “สีฟ้า” ไม่ว่าจะเป็นโทนสีเฉดอ่อนหรือเฉดเข้ม ในภาษาอังกฤษจะมีแค่คำเดียวคือคำว่า “Blue” แต่ถ้าเป็นภาษารัสเซียจะมีการเรียกชื่อเฉพาะของสีฟ้าอย่างหลากหลาย และพอมองย้อนกลับมาที่ภาษาไทย เราเองก็มีการแยกสีฟ้าหลายแบบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นสีฟ้าคราม สีฟ้าน้ำทะเล สีฟ้าอ่อน สีฟ้าพาสเทล เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันบางภาษาแทบไม่มีแม้แต่ชื่อสี แต่มีแค่เพียง “สีสว่าง” กับ “สีมืด” 
 
     พออธิบายแบบนี้น้องๆ พอจะ get ในสิ่งที่พี่ตั้งใจจะสื่อมั้ยครับ พูดง่ายๆ คือ ภาษาที่เราใช้ก็บ่งบอกถึงลักษณะความคิด และอาจรวมไปถึงเป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของคนที่ใช้ภาษานั้นๆ ด้วย ก็เหมือนกับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารส่วนใหญ่ มักคิดอย่างไรก็พูดออกมา เหมือนกับสีฟ้าที่ใช้แค่คำว่า Blue ก็พอแล้ว แต่ในขณะที่บางประเทศมีการนิยามหลากหลายสี ซึ่งอาจจะเป็นการบ่งบอกถึงว่าคนที่ใช้ภาษานั้นๆ อาจมีความคิดละเอียดอ่อน และอาจจะมีความคิดที่ลุ่มลึกมากกว่านั่นเอง  

 


 
     เรื่องของภาษานั้นยังมีอะไรที่สนใจมากกว่านั้นครับ น้องๆ บางคนอาจจะพอทราบมาบ้างแล้วว่า บางภาษามีการแบ่งเพศ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งคำศัพท์แต่ละคำก็จะมีเพศของมันเอง สมมติคำว่า “กุญแจ” ในภาษาเยอรมันจะเป็นเพศชาย พอเอาคำนี้ไปใส่ในประโยคใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นประธาน กริยา หรือคำคุณศัพท์ในประโยคก็จะมีการผันเพศไปตามคำว่ากุญแจ (ยอมรับว่าตอนเรียนก็มึนตึ้บไปหลายวันเลยครับ 5555) 
 
     ความจริงแล้วการแบ่งเพศของภาษาแต่ละภาษามันก็เหมือนซ่อนนัยสำคัญไว้อยู่มากกว่านั้นครับ พี่จะเปรียบเทียบให้น้องดู ยกตัวอย่างคำเดิม กุญแจ ในภาษาเยอรมันจะเป็นเพศชาย แต่ในขณะเดียวกัน กุญแจ ในภาษาสเปนนั้นเป็นเพศหญิง ซึ่งพอไปถามคนที่พูดภาษาเยอรมัน เค้าจะตีความคำว่ากุญแจ ในความหมาย “หนัก, ยาก, โลหะ, ขรุขระ” เป็นต้น แต่คนที่ใช้ภาษาสเปนจะตีความคำว่ากุญแจ ในความหมาย “‘งดงาม, สลับซับซ้อน, เล็ก, น่ารัก, สว่างไสว” เป็นต้น จะเห็นได้ว่าที่การตีความของคนที่พูดต่างภาษาแตกต่างกัน ทั้งหมดทั้งมวลมันก็ขึ้นอยู่กับ “ภาษาที่เราใช้” นั่นเอง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า "ภาษานั้นเป็นตัวกำหนดทิศทางความคิดของเราจริงๆ"

 


 
     พอลองมองย้อนกลับมาที่ภาษาไทยของเรา ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งเพศทางภาษาเหมือนกับพวกภาษาเยอรมันหรือสเปน แต่ในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำที่แฝงไปด้วย “ความเคารพแบบยำเกรง” ในแทบทุกๆ ประโยค ที่เห็นชัดๆ ก็คือ การใช้ “ครับ/ค่ะ” หรืออาจจะเป็นการใช้คำที่บ่งบอกถึงความเคารพ เช่น “พี่,น้อง” เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยของเราใช้กันมาช้านาน เป็นภาษาที่แอบแฝงความอ่อนน้อม และทุกคนก็ยอมรับว่า นี่คือ “วัฒนธรรม” ของเรา

      แต่พอมองไปที่ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะไม่มีคำพวกนี้เหมือนของไทย ไม่มีครับลงท้ายหางเสียง หรือแม้แต่คำว่า “sister, brother” ก็ไม่เคยบ่งบอกว่าใครอาวุโสกว่า ถึงแม้ว่าหลายคนอาจจะใช้พวกคำว่า older หรือ younger มาใช้เพื่ออธิบายว่าใครอาวุโสกว่า ซึ่งโดยธรรมชาติของภาษาอังกฤษแล้วส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้กัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละเป็นการบ่งบอกถึงความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าใดก็ตาม แต่สิ่งที่ทุกคนล้วนมี ถึงจะไม่ได้แอบแฝงผ่านภาษา นั่นก็คือ “ความเคารพ” ซึ่งจะต่างจากของไทยที่เหมือนว่าจะต้องมีคำที่แสดงความเคารพแทบทุกประโยค 
 
      เราจะเห็นตัวอย่างชัดๆ ได้เลยว่า ชาวต่างชาติจะกล้าพูดในสิ่งที่คิดมากกว่าคนไทย พูดตรง พูดไม่อ้อมค้อม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความเคารพอยู่ แต่ในขณะที่โซนเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดว่า เราจะมีวัฒนธรรมความเกรงใจ ไม่กล้าพูดในสิ่งที่คิดออกไปตรงๆ ซึ่งอาจะเป็นเพราะว่าภาษาที่เราใช้พูดนั้นหล่อหลอมให้เราคิดแบบนี้ และก่อให้เกิด “วัฒนธรรมร่วม” แบบนี้ 

 



 
     พี่เองก็เป็นอีกคนที่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสและภาษาเกาหลี พอได้ลองเรียนแต่ละภาษาก็จะเห็นความแตกต่างในหลายๆ เรื่อง ทั้งแนวความคิดของคนชาตินั้น วัฒนธรรมของประเทศนั้น บางเรื่องเราเองก็ไม่เคยคิดแบบนี้ พอมาเรียนต่างภาษา ก็เหมือนเป็นการเปิดโลกใบใหม่กันเลยทีเดียว 
 
     จริงๆ แล้วแต่ละภาษามีเรื่องให้น่าค้นหาอีกเยอะมากๆ และจากที่คุณ Lera Boroditsky ได้ตั้งคำถามไว้ว่าภาษาคือตัวกำหนดความคิดของเราหรือเปล่า? แล้วถ้าเราอยากคิดต่างจากที่เป็นอยู่ เราควรทำอย่างไร? แล้วความคิดแบบไหนที่เราอยากให้ตัวเองมี? ส่วนตัวพี่ตอนนี้ได้คำตอบแล้วครับ แล้วน้องๆ ชาว Dek-D ล่ะครับ มีคำตอบของตัวเองหรือยัง?


 
Source:
https://www.ted.com/talks/lera_boroditsky_how_language_shapes_the_way_we_think#t-171745
https://www.edge.org/conversation/lera_boroditsky-how-does-our-language-shape-the-way-we-think
พี่วุฒิ
พี่วุฒิ - Columnist มนุษย์ 4 มิติผู้หลงใหลในเพลงเกาหลี ชาเนสที และหมูกระทะ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

[ PaY ~ เป้ ] Member 7 มิ.ย. 61 00:24 น. 2

คนไทยน่าจะเป็นคนโลเล ตัดสินใจไม่ขาด

เลยมีคำว่า เกรงใจ

รวมถึงคำอื่นๆ เช่น กิ๊ก ไรงี้ด้วยมั้ง

1
isamare 11 มิ.ย. 61 17:43 น. 2-1

เกรงใจไม่ได้แปลว่าตัดสินใจไม่ขาดหนิคะ

สมมติมีคนให้ของเรา แต่เราไม่เอา แล้วเราบอกว่า ไม่เป็นไรค่ะเกรงใจ ก็ตัดสินใจได้หนิคะว่า เราไม่เอา ลองคิดดูใหม่อีกทีค่ะ หรือที่คุณพิมไว้คุณเข้าใจว่ายังไง ลองอธิบายเพิ่มทีค่ะ

0
กำลังโหลด
ลูกกะตาน้อย Member 6 มิ.ย. 61 23:14 น. 1

เรามักจะยกตัวอย่างนี้เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมในภาษาระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเสมอ


คือคำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2

ของไทยมีเยอะมากกกกกกก

กุ ฉัน ข้า เค้า เรา ผม ดิฉัน กระผม กระหม่อม ข้าพเจ้า ท่าน เธอ มุง เขา เอ็ง ฯลฯ


เพราะเราจริงจังมาก ว่าใครแก่กว่า ใครฐานะสูงกว่า ใครสนิท ใครหยอกได้ ใครต้องสุภาพ


แต่ภาษาอังกฤษมีแค่ I และ You

ความเสมอภาคมันชัดขึ้นมาเลย

1
ภาษามันเปลี่ยนแปลงไป 7 มิ.ย. 61 02:13 น. 1-1

ภาษาอังกฤษจริงๆ มีสรรพนามตามความอาวุโสนะ ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด แต่เลิกใช้ไปสมัยศตวรรษที่ 14 หรือ 17 ไม่แน่ใจ


พวก You Ye Thou โดยจะแบ่งไปว่าอันไหนเป็นพหุพจน์ อันไหนเป็นเอกพจน์ แล้วอย่าง thou เองก็ผันไปตามการกด้วย (เค้าเรียกการกรึเปล่า) เช่นว่าถ้าเป็น Thou จะใช้เป็นประธาน แต่ถ้าผันเป็น thee คือใช้เป็นกรรม


ประเด็นก็คือสมัยนั้นถ้าเป็นคนสนิทหรืออีกฝ่ายเป็นผู้น้อยจะนิยมใช้ Thou แต่ถ้าแบบสุภาพกลางๆ ก็จะใช้ You

0
กำลังโหลด
........ 7 มิ.ย. 61 19:45 น. 3

มันก็กำหนดจริงๆครับ เรื่องสีนี่ชัดเจนมาเวลาต้องมาพูดถึงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เคยคุยกับคนเขมร พอเค้าเรียกให้เอาของสีเขียวตรงนั้นมาเค้าชี้ไปทางของที่เป็นสีน้ำเงินแทน จนต้องมาคุยกันใหม่ว่าสีน้ำเงินในความหมายของเค้าคือสีอะไรกันแน่

0
กำลังโหลด
ma-ruek-kee Member 7 มิ.ย. 61 22:50 น. 4

ภาษาส่งผลต่อความคิด วัฒนธรรม และประเพณีของสังคมนั้นๆ ขณะเดียวกันความคิด วัฒนธรรม และประเพณีในสังคมก็ส่งผลต่อภาษาเช่นกัน เป็นเหมือนวงล้อที่ส่งผลต่อกันและกันให้สังคมดำเนินไปเรื่อยๆ ว่าแล้วก็คิดถึงหนังเรื่อง Arrival เป็นหนังที่แฝงเรื่องราวของภาษาไว้ดีมากๆเรื่องนึงเลย

0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

ลูกกะตาน้อย Member 6 มิ.ย. 61 23:14 น. 1

เรามักจะยกตัวอย่างนี้เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมในภาษาระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเสมอ


คือคำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2

ของไทยมีเยอะมากกกกกกก

กุ ฉัน ข้า เค้า เรา ผม ดิฉัน กระผม กระหม่อม ข้าพเจ้า ท่าน เธอ มุง เขา เอ็ง ฯลฯ


เพราะเราจริงจังมาก ว่าใครแก่กว่า ใครฐานะสูงกว่า ใครสนิท ใครหยอกได้ ใครต้องสุภาพ


แต่ภาษาอังกฤษมีแค่ I และ You

ความเสมอภาคมันชัดขึ้นมาเลย

1
ภาษามันเปลี่ยนแปลงไป 7 มิ.ย. 61 02:13 น. 1-1

ภาษาอังกฤษจริงๆ มีสรรพนามตามความอาวุโสนะ ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด แต่เลิกใช้ไปสมัยศตวรรษที่ 14 หรือ 17 ไม่แน่ใจ


พวก You Ye Thou โดยจะแบ่งไปว่าอันไหนเป็นพหุพจน์ อันไหนเป็นเอกพจน์ แล้วอย่าง thou เองก็ผันไปตามการกด้วย (เค้าเรียกการกรึเปล่า) เช่นว่าถ้าเป็น Thou จะใช้เป็นประธาน แต่ถ้าผันเป็น thee คือใช้เป็นกรรม


ประเด็นก็คือสมัยนั้นถ้าเป็นคนสนิทหรืออีกฝ่ายเป็นผู้น้อยจะนิยมใช้ Thou แต่ถ้าแบบสุภาพกลางๆ ก็จะใช้ You

0
กำลังโหลด
[ PaY ~ เป้ ] Member 7 มิ.ย. 61 00:24 น. 2

คนไทยน่าจะเป็นคนโลเล ตัดสินใจไม่ขาด

เลยมีคำว่า เกรงใจ

รวมถึงคำอื่นๆ เช่น กิ๊ก ไรงี้ด้วยมั้ง

1
isamare 11 มิ.ย. 61 17:43 น. 2-1

เกรงใจไม่ได้แปลว่าตัดสินใจไม่ขาดหนิคะ

สมมติมีคนให้ของเรา แต่เราไม่เอา แล้วเราบอกว่า ไม่เป็นไรค่ะเกรงใจ ก็ตัดสินใจได้หนิคะว่า เราไม่เอา ลองคิดดูใหม่อีกทีค่ะ หรือที่คุณพิมไว้คุณเข้าใจว่ายังไง ลองอธิบายเพิ่มทีค่ะ

0
กำลังโหลด
........ 7 มิ.ย. 61 19:45 น. 3

มันก็กำหนดจริงๆครับ เรื่องสีนี่ชัดเจนมาเวลาต้องมาพูดถึงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เคยคุยกับคนเขมร พอเค้าเรียกให้เอาของสีเขียวตรงนั้นมาเค้าชี้ไปทางของที่เป็นสีน้ำเงินแทน จนต้องมาคุยกันใหม่ว่าสีน้ำเงินในความหมายของเค้าคือสีอะไรกันแน่

0
กำลังโหลด
ma-ruek-kee Member 7 มิ.ย. 61 22:50 น. 4

ภาษาส่งผลต่อความคิด วัฒนธรรม และประเพณีของสังคมนั้นๆ ขณะเดียวกันความคิด วัฒนธรรม และประเพณีในสังคมก็ส่งผลต่อภาษาเช่นกัน เป็นเหมือนวงล้อที่ส่งผลต่อกันและกันให้สังคมดำเนินไปเรื่อยๆ ว่าแล้วก็คิดถึงหนังเรื่อง Arrival เป็นหนังที่แฝงเรื่องราวของภาษาไว้ดีมากๆเรื่องนึงเลย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด