เหมือนหรือต่าง? 5 ข้อเปรียบเทียบระหว่างการทำงานใน "บริษัทญี่ปุ่น" vs. "บริษัทอเมริกา"

     เดี๋ยวนี้บริษัทต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาที่ไทยเยอะมาก โดยเฉพาะ ‘บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นและบริษัทสัญชาติอเมริกัน’ ซึ่งหลายๆ ที่ก็ต้องการคนไทยเข้าไปร่วมงานด้วยเป็นจำนวนมาก พอเห็นแบบนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีสำหรับเรา แต่ก่อนที่จะทำงานในบริษัทนั้นๆ เราเองก็ควรจะรู้ถึงมารยาท กฎระเบียบต่างๆ และรวมไปถึงสภาพสังคมในแต่ละที่เอาไว้บ้าง เพราะบางทีต่อให้งานเราจะดีแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าเราไม่สามารถเข้ากับสังคมในที่ทำงานได้ บางทีก็อาจจะทำให้การทำงานของเรานั้นลำบาก วันนี้ พี่วุฒิ ได้รวบรวมข้อแตกต่างของสังคมในที่ทำงานของ บริษัทญี่ปุ่น และ บริษัทอเมริกัน มาเปรียบเทียบให้น้องๆ ชาว Dek-D ได้เห็นกันชัดๆ มีอะไรที่ควรรู้บ้าง เลื่อนหน้าจอมาอ่านกันเลยครับ


 

1. บริษัทญี่ปุ่นมีความเป็นทางการมากกว่าอเมริกา 
 


Cr. Eith Tsuji/Getty Images
 
     หลายๆ คนน่าจะพอรู้กันมาบ้างว่า คนญี่ปุ่นนั้นเจ้าระเบียบมาก อะไรๆ ก็ดูเป็นแบบแผนและเป๊ะเวอร์ๆ ไปซะทุกเรื่อง อย่างเช่นการแต่งกายในที่ทำงานที่ค่อนข้างจะแต่งแบบเป็นทางการมาก ผู้ชายมักจะใส่สูทสุภาพสีดำ สีกรม สีเทา ผูกไทแต่งเต็มยศอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนก็ยังคงใส่สูทอยู่ดี (บางบริษัทในไทยก็เหมือนกัน) และถ้าเป็นผู้หญิงก็จะแต่งกายให้เรียบร้อยดูดีไม่แพ้กัน ตั้งแต่หัวจรดเท้าก็จะค่อนข้างเนี๊ยบ ซึ่งสไตล์การแต่งกายนี้จะแตกต่างอย่างชัดเจนกับหลายๆ บริษัทสัญชาติอเมริกันที่จะค่อนข้างปล่อยฟรีสไตล์มากกว่า บริษัทอเมริกันส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเน้นลุค Business casual มากนัก และยิ่งยุคหลังๆ คนรุ่นใหม่หลายคนก็มักแต่งตัวแนว Athleisure หรือสไตล์สปอร์ตมาทำงานมากขึ้น หลายๆ บริษัทจะค่อนข้างให้อิสระในการแต่งกาย แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการทำงานก็จะต้องออกมามีคุณภาพ และจะต้องไม่ใช่เล่นๆ เหมือนกับยูนิฟอร์มที่ใส่  
 
      และอีกเรื่องที่ควรรู้ก็คือ ทั้งคนญี่ปุ่นและคนอเมริกันจะไม่ค่อยเรียกชื่อจริงกับคนที่ไม่สนิทมากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนญี่ปุ่น ที่บอกไปว่าที่นี่ค่อนข้างเจ้าระเบียบและเคารพเรื่องระบบอาวุโสมากๆ ดังนั้น เวลาจะเรียกใครสักคนในที่ทำงาน ก็ควรเรียกนามสกุลของเค้าและตามด้วยคำว่า ‘ซัง’   

 

2. ญี่ปุ่นจะให้คนที่อาวุโสกว่าเป็นคนตัดสินใจในทุกๆ เรื่อง
 


Cr. Toru Hanai/Reuters 
 
     เพิ่งบอกไปในข้อที่แล้วว่าญี่ปุ่นนั้นจะเน้น ‘ระบบโอวุโส’ ในทุกๆ เรื่อง ซึ่งในส่วนของการทำงานก็เช่นกัน หลายบริษัทญี่ปุ่นจะใช้ระบบ Ho-Ren-So (ほうれんそう) ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการทำงานที่จะพาทีมไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งคนญี่ปุ่นจะให้คนที่อาวุโสกว่ามีส่วนในการตัดสินใจในทุกๆ เรื่อง แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องผ่านการตัดสินใจของพนักงานที่อาวุโสกว่าอยู่เสมอ 
 
      คำว่า Ho (ほう) มาจากคำว่า Hokoku หมายถึง การรายงาน โดยพนักงานที่เด็กกว่าจะต้องคอยรายงานผลงานและความคืบหน้าของงานต่างๆ ให้กับเจ้านายที่อาวุโสกว่าได้รับรู้อยู่เสมอ ส่วนคำว่า Ren (れん) มาจากคำว่า Renraku หมายถึง การติดต่อสื่อสารและประสานงาน และคำสุดท้าย So (そう) มาจากคำว่า Sodan หมายถึง การขอคำปรึกษาจากเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานเมื่อเราพบเจอปัญหา โดยคนที่อาวุโสกว่าจะีส่วนช่วยในการตัดสินใจมากกว่า 
 
     พอตัดภาพมาที่บริษัทอเมริกัน ก็อาจจะค่อนข้างแตกต่างกันอยู่พอสมควร เพราะด้วยความสไตล์อเมริกันที่ปลูกฝังความคิดให้สามารถทำหรือตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง แต่ถึงจะให้อิสระในการตัดสินใจมากแค่ไหนก็ตามแต่ ในการทำงานก็จำเป็นที่จะต้องมีการปรึกษาพูดคุยและขอความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงานอยู่เหมือนกัน เพราะบางทีปัญหาก็ไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวคนเดียวเสมอไป 

 

3. อเมริกันจะชอบทำงานแบบอิสระ แต่ญี่ปุ่นจะโฟกัสการทำงานเป็นกลุ่ม
 


 
     ข้อนี้อาจจะต่อยอดมาจากข้อที่แล้ว เพราะอย่างที่บอกไปว่าสไตล์การทำงานของญี่ปุ่นนั้นจะต้องการขั้นตอนของการตัดสินใจของคนที่อาวุโสกว่า จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการติดต่อสื่อสารพูดคุยกันในทีมอยู่เสมอ ดังนั้นที่ญี่ปุ่นจะซีเรียสมากๆ ในเรื่องของการทำงานเป็นทีม เพราะพวกเค้าเชื่อว่า การที่จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันและเข้าขากันได้ดี บางทีความสำเร็จอาจไม่ได้อยู่ผลงานที่ออกมา แต่เป็นระหว่างการทำงานมากกว่าว่าเราและคนอื่นๆ ในทีมมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันมากแค่ไหน 
 
      และก็เช่นเดียวกันกับอเมริกาที่บอกไว้ในข้อที่แล้วว่า สไตล์การทำงานที่ค่อนข้างจะให้อิสระมากกว่า และมักตัดสินใจด้วยตัวเอง จึงทำให้การทำงานแบบนี้เป็นการปลูกฝังให้ตัวเรามีความเป็นผู้นำมากกว่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้เรามีความรับผิดชอบกับผลที่ตามมาและกล้าตัดสินใจกับสิ่งที่จะเกิดมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการทำงานเป็นทีมก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน แต่อาจไม่ได้เคร่งครัดเท่ากับญี่ปุ่น

 

4. ปาร์ตี้หลังทำงานนั้นสำคัญสำหรับการทำงานในบริษัทญี่ปุ่น  
 


Cr.Stringer/Reuters
 
      ถ้าเป็นการทำงานในบริษัทอเมริกา พอเลิกงานแล้วต่างคนก็ต่างแยกย้ายกลับบ้านตัวเอง พองานของวันนี้จบ ทุกอย่างก็คือจบ แต่แนวคิดแบบนี้อาจจะดูไม่เข้าท่าสำหรับคนญี่ปุ่น เพราะสังคมในการทำงานของญี่ปุ่นนั้นมีความคิดที่ว่า หลังเลิกงานควรจะต้องมีการปาร์ตี้ร่วมดื่มสังสรรค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทีม  แนวคิดดูเหมือนจะเป็นการสืบทอดกันมาช้านาน “ถ้าคุณอยากจะเติบโตในหน้าที่การงาน คุณจะต้องไปดื่มสังสรรค์หลังเลิกงานกับคนในบริษัท”  
 
    จริงๆ แล้วในบางบริษัทก็อาจจะไม่ได้เคร่งขนาดนั้นว่าจะต้องไปดื่มทุกวันหลังเลิกงานนะครับ (ก็แหม่ ใครมันจะไปมีเงินดื่มได้ทุกวันละเนอะ 555) แต่ถ้าเทียบกับหลายๆ ที่ ก็ถือว่าสังสรรค์บ่อยอยู่ดี ซึ่งวิธีก็เป็นทริคของชาวญี่ปุ่นแหละครับ เพราะว่านอกจากการดื่มแล้ว มันก็เป็นการได้พูดคุยกับคนในทีมมากขึ้น ได้พูดเปิดใจและเข้าใจกัน บางทีอาจจะเปลี่ยนจากแค่เพื่อนร่วมงานมาเพื่อนในชีวิตจริงได้เหมือนกัน 

 

5. ‘ทำงานหลายชั่วโมงและมีเวลาพักน้อย’ เหมือนกัน
 


Cr. Spencer Platt/Getty Images
 
       ถึงแม้ว่าในข้อที่กล่าวมาข้างต้น บริษัททั้ง 2 ชาติอาจจะมีความต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการทำงานหนัก ทั้งบริษัทญี่ปุ่นและอเมริกาก็มีความเหมือนกัน เพราะทำงานกันแบบเอาเป็นเอาตายมาก ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของการทำงานหนักของญี่ปุ่นมาตลอด และในทุกๆ ปีมักจะมีข่าวเรื่อง ‘คนญี่ปุ่นทำงานหนักจนตาย’ ออกมาอยู่เสมอ แต่ในช่วงหลังๆ ประเทศที่มาแรงไม่แพ้กันก็คงจะเป็นอเมริกานี่แหละที่ดูเหมือนแรงแซงทางโค้งญี่ปุ่นไปแล้ว อย่างในปี 2016 ก็มีการสำรวจออกมาว่า คนอเมริกามีชั่วโมงในการทำงานมากกว่าคนญี่ปุ่น และยิ่งไปกว่านั้นคือ ในปี 2017 ที่ผ่านมา เหล่ามนุษย์เงินเดือนอเมริกันต้องทำงานในวันหยุดมากถึง 60%  
 
      และเมื่อปีที่แล้วเอง ประเทศญี่ปุ่นก็เพิ่งประกาศกฎใหม่เกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน ลดเหลือให้ทำงานแค่เพียง 4 วันต่อสัปดาห์ และเพิ่มวันหยุดเป็น 3 วัน ซึ่งหลังจากเปลี่ยนกฎใหม่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาสุขภาพและการตายของคนทำงานที่เคยมีมาตลอดก็ค่อยๆ ลดลงและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น    


 
      ความจริงแล้วที่กล่าวมาทั้งหมดก็ไม่ได้หมายถึงว่าบริษัทของแต่ละสัญชาติจะมีความเหมือนกันไปทั้งหมดนะครับ ที่พี่นำมาเล่าให้น้องๆ ได้อ่านกันวันนี้ ก็เป็นแค่ภาพรวมส่วนใหญ่ที่มักจะเป็นแบบนี้ บางที่ก็อาจจะมีระบบและสังคมในที่ทำงานแตกต่างกันไป เพราะแค่บริษัทต่าง สังคมก็ต่างกันแล้ว และหลังจากได้อ่านขเอเปรียบเทียบของบริษัทญี่ปุ่นและอเมริกา น้องๆ ชอบแบบไหนมากกว่ากันครับ?

 
Source:
พี่วุฒิ
พี่วุฒิ - Columnist มนุษย์ 4 มิติผู้หลงใหลในเพลงเกาหลี ชาเนสที และหมูกระทะ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

8 ความคิดเห็น

Felinonajang Member 26 ส.ค. 61 02:09 น. 1

จริงการทำงานสไตล์อเมริกาก็เน้นการทำงานเป็นทีมเหมือนกันนะคะ แต่แค่จะให้อิสระมากกว่าแบบญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่ตัวบุคคลอะคะ หัวหน้าบางคนก็รับฟังทุกความเห็นจากน้องๆในทีมเพื่อตัดสินใจ บางคนก็ไม่รับฟัง บางคนก็ทำเหมือนรับฟังแต่จริงๆก็ไม่ได้สนใจความเห็นน้องๆเท่าไร ถ้าเจอทีมดีก็โชคดีกันไป

0
กำลังโหลด
ก็​งพก​สววว 23 พ.ย. 62 09:21 น. 2

ในบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดี เก่ง และได้มาตรฐาน ซึ่งหลายคนไม่รู้หรืเข้าใจผิดมานานจากประสบการณ์ส่วนตัว ญี่ปุ่นไม่ได้มาเป็นเบอร์ต้นๆนะครับ ถ้าจะเรียงลำดับความรู้ ความสามารถแล้ว เป็นดังนี้

1. ไทย scg ptt

2. ฝรั่ง

3. ญี่ปุ่น

4. จีน

คุณคงไม่เชื่อ แต่จริงๆแล้ว ถ้าวัดความรู้ความสามารถกันตัวต่อตัว ญี่ปุ่นสู้ไทยไม่ได้ครับ หรือแม้แต่วัดที่มาตรฐานองค์กร ไทยก็มาเป็นอันดับ1 ที่ดูว่าเขาดีเขาเก่งเพราะเขามาลงทุนมาเป็นเจ้านายเพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจผิดโปรดคิดใหม่

3
กำลังโหลด
ช​ได​เสยา่ 25 พ.ย. 62 06:59 น. 3

ใช่ครับ นายญี่ปุ่นมีความไม่รู้สูงมาก ถามมาก ถามบ่อย เข้าใจอะไรยาก ถามเสร็จนึกว่าจะเข้าใจกลับไม่เข้าใจซะงั้น วนเวียนกับคำถามเดิม ที่คนเขาเข้าใจหรือจบไปแล้ว งงได้ตลอดเวลา พูดง่ายๆคือ มีความโง่แอบแฝงอยู่ไม่น้อย

0
กำลังโหลด
111​111​ 25 พ.ย. 62 08:43 น. 4

ฝรั่งจะไม่อิงกฎเกณฑ์ แหกด่านได้เสมอ ญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ไทยก็ไม่ช่าเก่งที่สุด สรุปได้ว่างงๆ มึนๆ ไม่มีใคร 100% อยู่ที่ว่าใครจะใกล้100 มากที่สุด ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ ความดี ของคนที่เป็นผู้นำ หรือผู้บริหารสูงสุดมากกว่า เอาเข้าจริงๆส่วนใหญ่ก็ไม่ถึง... กันทั้งนั้น แค่ทำได้เท่าที่เห็น

0
กำลังโหลด
คนไทย 20 มิ.ย. 63 07:43 น. 5

เห็นด้วยเลย ญี่ปุ่นไม่ค่อยรู้เรื่อง ขาดความรู้ งงได้ตลอดเวลา ประชุมถี่ เพราะความไม่รู้เรื่อง ถ้าคนที่รู้แล้วสรุปแล้วว่าทำอย่างนี้ เขาจะประชุมไปทำไมกับเรื่องเดิมๆให้เสียเวลา คำตอบเดิมๆ แม้จะถามกลับว่าคุณถามทำไมซ้ำๆ ก็จำไม่ได้ว่าเคยถามมาแล้ว เพิ่งถามมาเมื่อประเดี๋ยวก็จำไม่ได้แล้ว ถามกลับว่าต้องการอะไร ก็ตอบไม่ได้ ถามอะไรกันนักหนา ตอบไปก็เอาไปแปลความเป็นอย่างอื่นอีก โง่งงได้ตลอดเวลา -ที่คิดว่าเข้าใจไปแล้ว พรุ่งนี้มามันกลับมาถามอีก อธิบายใหม่อีกรอบ จะไม่รู้ได้ทุกเรื่องเลยเหรอ หนักๆเข้าอาจไม่รู้ก็ได้ว่าเรียกประชุมเรื่องอะไร นี่คือความเป็นจริงของคนญี่ปุ่น ใครไม่เคยเจอคงไม่รู้ แต่คนที่รู้เรื่องก็มีนะ ส่วนคนที่ไม่รู้เรื่องก็มีไม่น้อย หรือนี่เป็นลักษณะเฉพาะของคนญี่ปุ่น มักจะพายเรือวนอยู่ในอ่าง

0
กำลังโหลด
ยยย 28 ก.ย. 63 06:34 น. 6

เคยถามล่ามแปลภาษาญี่ปุ่น-ไทย ว่า คนไทยกับคนญี่ปุ่นใครพูดจาไม่รู้เรื่องมากกว่ากัน ล่ามตอบ ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเป็นคน โง่ๆงงๆ แต่เพราะเป็นเจ้านาย เป็นประเทศพัฒนาแล้ว จึงเชื่อว่าเขาเก่งฉลาด

0
กำลังโหลด
สว​ 15 เม.ย. 64 06:36 น. 7

เห็นด้วยค่ะ คนญี่ปุ่นไม่่ใช่คนฉลาด อาจมีความพยายาม แต่ยืนยันว่าไม่ใช่คนเก่่งหรือฉลาด มาตรฐานโรงงานก็ตาม คห2 เลยค่ะ ยังสงสัยว่าทำไมคนให้เครดิตบริษัทญี่ปุ่นกันจัง รวมๆแล้วสู้ของไทยไม่ได้ค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด