จดไว้ได้ใช้ชัวร์! 10 Phrasal Verbs with ‘OUT’ รวมกริยาวลีที่พบบ่อยในบทสนทนา

สวัสดีค่ะชาว Dek-D ทุกคน ไหนมีใครรู้จักหรือเคยใช้ไวยากรณ์เรื่อง ‘Phrasal Verbs’ กันบ้างไหมคะ? ‘Phrasal Verbs’ หรือ ‘Two word verb’ คือกริยาวลี ซึ่งเป็นคำที่เกิดจากการนำกริยามารวมกับ adverb หรือ preposition หรือทั้งสองคำ แล้วทำให้ความหมายของกริยาเปลี่ยนไปจากเดิม และวันนี้ พี่ปุณ ก็มีตัวอย่าง 10 Phrasal Verbs ที่มีคำว่า ‘OUT ’ มาฝาก ใครอยากเรียนรู้ จดจำ และนำไปใช้ก็ตามไปดูกันได้เลย!

Photo credit: Giphy.com
Photo credit: Giphy.com

1. Back out of

เริ่มกันที่ ‘Back out of’ กริยาวลีที่มีความหมายว่า “ไม่รักษาสัญญา / ไม่ทำตามที่ตกลงกันไว้” ใช้ในกรณีที่เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อตกลง

ตัวอย่างประโยค

  • We were forced to back out of a contract due to the earthquake.
    เราถูกบังคับให้ยกเลิกสัญญาเพราะเหตุแผ่นดินไหว
  • I heard you backed out of running the after-school volunteer program! 
    ฉันได้ยินว่าคุณไม่ได้ทำตามข้อตกลงที่จะทำโครงการอาสาสมัครหลังจากเรียนจบ!

2. Figure out

ต่อกันที่ ‘Figure out’ กริยาวลีที่มีความหมายคล้ายกับ ‘solve’ และ ‘understand’ ซึ่งแปลว่า “แก้ปัญหาได้, หาคำตอบได้, เข้าใจ” กริยาวลีนี้ถูกจัดอยู่ในประเภท seperable verbs ซึ่งก็คือกริยาวลีที่สามารถแยก verb และ preposition ออกจากกันและมักจะต้องมีกรรมมารองรับ อย่างเช่น figure the answer out ที่แปลว่า หาคำตอบ นั่นเอง

ตัวอย่างประโยค

  • Even the repairman couldn’t figure out what had gone wrong with the television.
    แม้แต่ช่างซ่อมบำรุงยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับโทรทัศน์เครื่องนี้
Photo credit: Giphy.com
Photo credit: Giphy.com

3. Look out 

‘Look out’ มีความหมายว่า “ระมัดระวัง” มักใช้เรียกหรือเตือนเมื่อเห็นว่ามีคนกำลังตกอยู่ในอันตราย ซึ่งกริยาวลีนี้ก็มี synonym ที่ใช้แทนกันได้ก็คือ ‘mind out & watch out’ นั่นเอง

ตัวอย่างประโยค

  • Look out! There is a car coming’ he shouted to the boy who was about to cross the road.
    ระวัง! รถกำลังตรงมาทางนี้” เขาตะโกนเรียกเด็กผู้ชายที่กำลังจะข้ามถนน

4. Pass out 

‘Pass out’ เป็นอีกหนึ่งกริยาวลีที่พบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่เวลาจะใช้ก็ต้องคอยดูบริบทให้ดี เพราะมีหลายคนสับสนระหว่าง ‘pass out’ ที่แปลว่า “เป็นลม / หมดสติ” ซึ่งก็คืออาการไม่รู้สึกตัวไปชั่วขณะกับ ‘pass away’ ที่มีความหมายว่า “ตาย” หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มีนี่เอง

ตัวอย่างประโยค

  • It was so hot and stuffy in the room that I thought I was going to pass out.
    ในห้องนี้มันช่างร้อนและอบอ้าวจนฉันรู้สึกว่าฉันจะเป็นลม
  • She was hit on the head and passed out.
    เธอโดนตีเข้าที่ศีรษะและหมดสติไป
Photo credit: Giphy.com
Photo credit: Giphy.com

5. Put out

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้เห็นกริยาวลีนี้จากข่าวหรือบทความต่างๆ ‘Put out’ มีความหมายเหมือนกับคำว่า ‘extinguish (v.)’ ที่แปลว่า “ดับไฟ” แต่ในอีกบริบท วลีนี้ก็สามารถแปลว่า ‘switch off a light’ หรือ “ปิดไฟ” ได้เช่นกันค่ะ

ตัวอย่างประโยค

  • Don't forget to put out the light before you go to bed.
    อย่าลืมปิดไฟก่อนที่คุณจะเข้านอน
  • Firefighters battled through the night to put out the blaze at Notre Dame cathedral.
    นักดับเพลิงดิ้นรนต่อสู้ตลอดทั้งคืนเพื่อดับไฟที่ไหม้ ณ มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

6. Run out of

เห็นกริยาวลี ‘Run out of’ แล้วก็อย่าเพิ่งคิดจะวิ่งหนีไปไหน เพราะอันที่จริงวลีนี้มีความหมายว่า “ขาดแคลน หรือ หมด” หมดแบบไม่มีอะไรเหลือ! ใช้ได้กับทั้งสิ่งของ run out something, เวลา run out of time, หรือจะเป็นเรี่ยวแรง run out of energy ก็ได้ทั้งหมดนี้เลย

ตัวอย่างประโยค

  • Tomorrow we must go to the supermarket as we have run out of sugar.
    พรุ่งนี้เราต้องไปซูเปอร์มาร์เก็ตเพราะน้ำตาลที่มีอยู่หมดแล้ว
Photo credit: Giphy.com
Photo credit: Giphy.com

7. Stand out

‘Stand out’ เป็นกริยาวลีที่มีความหมายว่า “โดดเด่นสะดุดตา” สามารถทำเป็น adjective ได้โดยสลับตำแหน่งคำ นำมาเขียนติดกัน และเติม suffix -ing ให้กลายเป็น ‘outstanding’ แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้เพราะ noticeable, notable, remarkble, และ prominent ก็เป็นคำคุณศัพท์ที่มีความหมายคล้ายกันว่า “โดดเด่น หรือ เป็นที่สังเกตเห็น” ได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างประโยค

  • She’s recently dyed her hair blue and now really stands out in a crowd.
    เมื่อไม่นานมานี้เธอได้ทำผมสีฟ้า ตอนนี้เธอจึงดูโดดเด่นท่ามกลางฝูงชนเป็นอย่างมาก

8. Try out

เมื่อพูดถึง ‘try (v.)’ หลายคนคงนึกถึงการแปลความหมายตามโครงสร้าง อย่างในประโยคที่มี try + to คำนี้มักจะหมายความว่า “พยายาม” แต่ถ้าเป็น try + Ving คำกริยาเดียวกันนี้จะมีความหมายว่า “ลอง” อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกริยาวลี ‘try out’ จะแปลว่า “ทดสอบ” เพื่อหาคำตอบว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งใช้ประโยชน์ได้จริงหรือเป็นไปตามที่เราคิดไว้ไหม

ตัวอย่างประโยค

  • Nowadays software comes in so many forms, you need to try it out before you buy it.
    ปัจจุบันนี้ซอฟท์แวร์มีมากหมายหลายรูปแบบ ก่อนจะซื้อคุณจึงจำเป็นต้องทดสอบก่อนว่ามันใช้งานได้ตรงตามที่คุณต้องการไหม
  • We know a specialist who would like to try out this theory.
    เรารู้จักผู้เชี่ยวชาญที่อยากจะทดสอบว่าทฤษฎีนี้เป็นจริงหรือไม่
Photo credit: Giphy.com
Photo credit: Giphy.com

9. Turn out

‘Turn out’ มีความหมายว่า “ปรากฏว่า / กลายเป็นว่า” โดยกริยาวลีนี้มักจะตามด้วยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ นอกจากนี้เมื่อเราสลับตำแหน่งของคำ นำ out มาไว้ในพยางค์แรกและเขียนติดกัน ‘Outturn’ จะกลายเป็นคำนามที่แปลว่า “ผลลัพธ์” ได้ในทันที

ตัวอย่างประโยค

  • The news report about the explosion turned out to be false.
    ปรากฏว่ารายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุระเบิดนั้นเป็นข่าวเท็จ
  • It turns out that I don’t actually need to take physics until next semester.
    กลายเป็นว่าฉันไม่จำเป็นต้องลงเรียนวิชาฟิสิกส์ไปจนถึงภาคเรียนหน้า

10. Work out

ถ้าใครเป็นสายออกกำลังคงจะคุ้นหูคุ้นตากับคำว่า ‘workout (n.)’ ที่แปลว่า “การออกกำลังกาย หรือ การฝึกฝนร่างกาย” เป็นอย่างดี แต่เมื่อคำนามสองพยางค์นี้ถูกแยกออกจากกัน ‘Work out’ จะกลายเป็นกริยาวลีที่แปลได้สองความหมาย คือ “ออกกำลังกาย” และ “จบด้วยดี / เสร็จสิ้นโดยราบรื่น” 

ตัวอย่างประโยค

  • Make sure you drink plenty of water if you are working out.
    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลังออกกำลังกาย คุณดื่มน้ำมากพอ
  • When you said everything would work out I thought you could tell the future.
    เมื่อคุณบอกว่าทุกอย่างจะจบลงด้วยดี ฉันก็คิดว่าคุณน่าจะทำนายอนาคตได้
Photo credit: Giphy.com
Photo credit: Giphy.com

เป็นยังไงกันบ้างคะ? 10 Phrasal Verbs ที่มีคำว่า ‘OUT’ ที่พี่นำมาฝากกันในวันนี้ ใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับวลีไหน ก็ลองศึกษาบริบทและวิธีใช้จากตัวอย่างประโยคกันดู เพราะเมื่อเราเริ่มรู้และเข้าใจความหมายของกริยาวลีเหล่านี้แล้ว เราก็จะสามารถนำไปใช้แทนคำกริยาทั่วไป ถือเป็นการอัปเกรดประโยคธรรมดาให้ดูน่าสนใจขึ้นไปอีกขั้นนั่นเองค่ะ ^^ 

Sources:https://dictionary.cambridge.org  https://www.merriam-webster.com https://www.espressoenglish.net/10-phrasal-verbs-with-out-in-conversation/ https://www.englishlessonviaskype.com/16-phrasal-verbs-with-out/
พี่ปุณ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น