ใกล้การสอบแอดมิชชั่นเข้ามาเต็มที่แล้ว พี่ลาเต้ ก็มีบทความที่น่าสนใจมาฝากครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหายนะของวงการวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลายคนบอกว่าเป็นเพราะแอดมิชชั่น ลองไปอ่านดูครับ...

           "ระบบแอดมิชชั่นส์กำลังพ่นพิษสร้างความหายนะต่อวงการศึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของไทยด้วยการจัดการศึกษาในสาระการเรียนรู้สำหรับช่วงชั้นที่ 4 (-.6)นั้นพบว่าการเรียนการสอน ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ของการประเมินผลเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาผ่านระบบแอดมิชชั่นส์"

         นี่คือมุมมองของ "รศ.เย็นใจ สมวิเชียร" กรรมการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ผู้รู้ลึกรู้จริง ในวงการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นแนวหน้าของเมืองไทย และเธอคือผู้อยู่เบื้องหลังการปั้นเด็กหัวกะทิให้สามารถพิชิตรางวัลโอลิมปิกวิชาการมาครอง

         รศ.เย็นใจ ชี้ว่า เมื่อเด็กชั้นม.4-.6 สามารถเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ จึงมีเด็ก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นสายวิทยาศาสตร์ และกลุ่มที่เน้นสานศิลปศาสตร์ เด็กทั้ง 2 กลุ่มจะต้องเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 4 รายวิชา 6 หน่วยกิต แยกเป็นรายวิชาดังนี้ 1.แรงและการเคลื่อนที่(ฟิสิกส์),2.โลกดาราศาสตร์และอวกาศ(ดาราศาสตร์), 3.สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต(ชีววิทยา)และ 4.สารและสมบัติของสาร(เคมี)

         ส่วนเด็กสายวิทย์จะต้องเรียนเพิ่มอีก26-30 หน่วยกิต เพื่อให้มีพื้นฐานเพียงพอ ที่จะไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อีก 17 รายวิชาได้แก่ เคมี 5 รายวิชา, ชีววิทยา 5 รายวิชา, ฟิสิกส์ 6 รายวิชา และดาราศาสตร์ 1 รายวิชา

         การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต)นักเรียนม.6ทุกคน จะสอบเฉพาะสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์เพียง 4 รายวิชา เมื่อทุกคนต้องสอบเหมือนกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ 1.ข้อสอบออกยากไม่ได้เพราะเด็กสายศิลป์จะทำไม่ได้ ส่วนเด็กสายวิทย์ จะง่ายมากๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่ามีคนได้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เต็ม คะแนน และมีคนได้ 0 คะแนน 2.ไม่สามารถแยกแยะนักเรียนสายวิทย์ได้ว่ามีความรู้พื้นฐานแค่ไหนเพราะข้อสอบออกระดับม.3

           "ข้อสอบโอเน็ต จึงประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กสายวิทย์ไม่ได้ เพราะไม่ได้ประเมิน ความรู้ที่เรียนมาอีก17 รายวิชาที่เรียนมาตลอดเวลา 3 ปี(.4-.6)" รศ.เย็นใจ ระบุ

         สำหรับข้อสอบเอเน็ตหรือการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง ปกติต้องสอบความรู้ทุกรายวิชา เพื่อทราบว่านักเรียนจะเรียนต่อในระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้หรือไม่ แต่สอบเอเน็ตใช้เวลา 1 ชั่วโมง เพื่อสอบ 3-4 วิชาคือ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ซึ่งรวม ดาราศาสตร์ด้วย เมื่อเด็กต้องสอบเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันมา จึงทำให้เด็กสับสน ผลคือเด็กทำไม่ได้ หรือ ทำไม่ทัน หรือไม่ทำ

         อีกทั้ง เวลาสอบไม่สัมพันธ์กับการเรียน เพราะเรียนตลอด 3 ปี (-6) เคมี 60 ชั่วโมง ชีววิทยา 60 ชั่วโมง ฟิสิกส์ 80 ชั่วโมง และดาราศาสตร์ 40 ชั่วโมง ทำให้ข้อสอบไม่ครอบคลุมเนื้อหาที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อในระดับสูงได้ ไม่สามารถแยกเด็กได้ว่ามีความรู้มากพอที่จะเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อหรือไม่

         การให้น้ำหนัก100 คะแนนในกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์และ ดาราศาสตร์ เท่ากันจึงไม่เป็นธรรมกับเด็กสายวิทย์ เพราะถ้านักเรียนสอบได้คะแนนสูงในวิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษก็เข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ฯลฯ ได้

         ผลเสียที่เกิดขึ้นเด็กกวดวิชาเพิ่ม เด็กที่เรียนเก่งด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ไม่สนใจพัฒนาตนเองด้านวิทยาศาสตร์ แต่มุ่งไปกวดวิชาด้านภาษาไทยและสังคมศึกษาแทน ทำให้ผู้ปกครองต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และทำให้การเรียนการสอนในโรงเรียนไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ

           "ก่อให้เกิดความเสียหายต่อวงการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้เกิดขึ้นแล้ว ในคณะวิทยาศาสตร์และคณะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่ใช้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น วิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ ดูจากเกรดเฉลี่ยของนิสิตชั้นปีที่วิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 -2550 จาก 1.94, ลดลงเป็น 1.93, 1.29, จนเหลือ 1.2 ทั้งๆที่ข้อสอบง่าย และสองปีหลังมีนิสิตขอถอนประมาณครึ่งหนึ่ง ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ทำให้สูญเสียทั้งงบประมาณและเสียเวลาในการพัฒนาบุคลากร" รศ.เย็นใจ ระบุ

         จะเห็นได้ว่า"แอดมิชชั่นส์" ทำให้เกิดความหายนะ ต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในระยะยาว ทำให้ประเทศไทยล้าหลังนานาชาติ ทั้งๆ ที่บุคลากรมีคุณภาพ แต่ระบบการสอบและระบบการศึกษาทำลายบุคคลเหล่านี้

           ได้อ่านกันแล้ว น้องๆชาวเด็กดีดอทคอมคิดเห็นกันอย่างไร มาแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ..แต่ส่วนตัว พี่ลาเต้ แล้ว..เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทความนี้ครับ..

 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

60 ความคิดเห็น

เทียนนกแก้ว Member 11 ส.ค. 51 12:05 น. 1
ตั้งแต่มีแอดมิชชั่น รู้สึกว่าเด็กที่เข้ามาจะได้เกรดต่ำมากๆๆๆ ไม่เฉพาะสายวิทย์นะ สายศิลป์ด้วย แต่สายวิทย์ดูจะมีปัญหากว่าเพราะคนน้อยกว่าสายศิลป์ด้วยอ่ะ โดนรีไทน์เป็นว่าเล่นเลย ยังสงสัยอยู่ว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีสาเหตุสืบเนื่องมาจากแดอมิชชั่นด้วยก็คงต้องรีบแก้ไขแล้วล่ะ ไม่งั้นเด็กจะเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้เลย หรือไม่ก็เรียนได้ไม่นาน เชื่อเหอะ
0
กำลังโหลด
:+:โฮลี่แซกโกรฟ:+: Member 11 ส.ค. 51 12:19 น. 2
บรรยายมาซะขนาดนี่ ทำไมไม่ให้ท่านแนะนำวิธีแก้ไขด้วยละครับ ให้พวกเขาไปคิดกันเอง อาจจะเป็นการอิสระ แต่สุดท้ายถ้าไม่ได้ถูกใจท่านและนักเรียนอีกจะทำยังไงละครับ แก้ไหมอีกเหรอครับ แก้เข้าไปสิครับ แบบรัฐธรรมนูญน่ะครับ จากที่ผมฟังๆมันแปลว่า เราน่าจะจัดข้อสอบ แบบสายใครสายมันใช่ไหมครับ ใช่เกณฑ์ในการตัดสินต่างกัน เช่น ตัดข้อสอบ A net ทิ้ง แล้ว ทำให้ O net ของเด็กสายวิทย์มันยากมากขึ้นและมีเนื้อหาเพิ่มเติม และคณิตศาสตร์ แล้วให้มีส่วนในการคิดคะแนน ไปในวิชาทางวิทยาศาสตร์มากกว่าใช่รึป่าวครับ แล้วลดทางภาคภาษาไทยให้น้อยลง แล้วปรับระบบการรับคะแนนของเด็กนักเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ ใช่รึปล่าวครับ จะได้วันมาตรฐานของเด็กวิทย์ได้ ส่วนของสายศิลป์ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงข้อสอบO net ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ปรับส่วนของคะแนนในวิชาทั้งหมดที่สอบน่ะเหรอครับ แต่เอาเถอะครับ ยังไงเดี๋ยวก็เปลี่ยนเป็น GAT กับ PATแล้ว ผมว่า อ่านแล้วน่าจะตรงใจท่านมากขึ้น เพราะว่าแต่ละคณะ มีการปรับส่วนให้ไม่เท่ากัน เช่นคณะนี่ เน้นคะแนนของวิชานี่ และแต่ละคณะจะเน้น GATกับ PAT ไม่เท่ากัน สำหรับตัวผมเอง ถ้าเราลองศึกษา GAT กับ PAT ให้รู้โดยเที่ยงแท้ ผมว่ามันจะดีกว่า การใช้ คะแนน O net A net ในการแอดมิชชั่นแล้วใช้ส่วนในการใช้คะแนนเหมือนกันทุกๆสาย เพราะผมว่า GATกับPATจะคัดประสิทธิภาพของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อมหาลัยมากขึ้นนะครับ และไม่มีการให้นักเรียนโดดไปแย่งคณะของอีกสายมากขึ้น
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ertyer 11 ส.ค. 51 16:47 น. 5
สรุปว่าชั่วโมงเรียนไม่พอเรอะ ห๊าา แล้วจะยัดเยียดไม ทีเราไม่เห็นจะอยากเรียนเลย
อยากเป็นหมอดันเจือกต้องเรียนดาราศาสตร์ อื่นๆอีกเยอะแยะ จิปาถะ
เอางี้ดีกว่าว่ะ
ม.4 แบ่งออกเป็นสายชีวะ สายเคมี สายฟิสิกส์ไปเลยดีป้ะละ
งั่ง
0
กำลังโหลด
RI-J_YOH Member 11 ส.ค. 51 17:56 น. 6
สอบเหมือนเดิมนั่นแหละ มันยเคยเป็นมายังไงก็สอบอย่างนั้น เปลี่ยนบ่อยๆแบบนี้สงสารคนสอบรึเปล่า



สอบปีนี้ค่ะ
0
กำลังโหลด
นิรนาม 11 ส.ค. 51 18:11 น. 7
น่าจะลองให้เด็กเลือกเรียนตามที่อยากเป็น แล้วปูพื้นฐานเฉพาะทางตั้งแต่ ม.ปลายเลย

เข้ามหาลัยก็ไม่มีปัญหา เด่นไปเลยในด้านที่สนใจ ไม่มาปวดหัวซ้ำซ้อน

เสียเวลาจัดหาวิชา หน่วยกิตเพิ่ม เด็กจะตายเพราะเรียนก่อนพัฒนาประเทศอีกน้า

อเมริกาไม่เห็นเรียนหนักเท่าไทยเลย แต่ประเทศเค้าเจริญได้ อืมๆๆ น่าจะไปลองคิดดู

(ความคิดเห็นส่วนบุคคลนะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
VioletBoy Member 11 ส.ค. 51 20:21 น. 9
อย่าให้พูด เราก็เป็นคนนึงที่ติดคณะ ทางสายสุขภาพ 6500+ ด้วยคะแนนที่ไม่ได้มาจากวิทย์มากมายนัก ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วพอเข้ามาน่ะหรอ เป็นงัยก็เลือดตากระเด็นอาดิ ถึงพื้นฐานวิทย์ไม่แน่น ก็ต้องอัพตัวเองกันหน่อยแหละ จริงมะ
0
กำลังโหลด
*/* 11 ส.ค. 51 20:29 น. 10
เห็นด้วย ปรับเปลี่ยนนั้นเหละดีแล้ว วิทยาศาสตร์จะได้ก้าวหน้ากะเค้าซักที วิทยาศาสตร์ของไทยจงเจริญ สู้ๆๆๆๆๆ เย้ๆๆๆๆๆ ฮิ้ว...*-*
0
กำลังโหลด
chavas Member 11 ส.ค. 51 20:35 น. 11

ช่ายๆ น่าจะแยก

สมมติว่าคนอยากเข้า วิท เคมี ก็ให้ใช้แต่เคมี
อยากให้ วิท  ฟิสิก ก็ใช่แต่คะแนน ฟิสิก
อยากเข้า วิท ชีวภาพ ก็ เอา % ชีว เยอะหน่อย

แล้วอยากเข้าพวก วิท คริต สถิติ ก็เอาเลข เยอะหน่อย 

อะไรอย่างนี้

0
กำลังโหลด
44444 11 ส.ค. 51 20:36 น. 12
ภาษาที่สองก็เหมือนกัน พวกฝรั่งเศส เยอรมัน พวกนี้
เหมือนเรียนไปไม่มีความหมาย บางมหาลัย คณะมนุษย์ไม่เอา PAT ทั้งๆที่บ่งบอกว่าเป็นมนุษย์ฝรั่งเศส
นี่เหรอระบบการศึกษาไทย ให้สอบวิชาอื่น เพื่อไปเรียนฝรั่งเศส อะไรของมันวะ เอาสมองส่วนไหนคิดเหรอ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
อ่านะ 11 ส.ค. 51 22:45 น. 15
ทำไมไม่แบ่งไปเลยละคะว่าไคจะเรียนอะไรตอนมหาลัย

แยกไปเลยตั้งแต่ม.4

ถ้าเด็กคนไหนเรียนไม่ไหวจะได้ย้ายทัน

ง่ายกว่าไหมคะ
0
กำลังโหลด
pang 11 ส.ค. 51 23:03 น. 16
เห็นด้วยน้า

ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กไทย

ถึงนิยมไปเรียนเมืองนอก

เพราะขนาดประเทศไทยเองยังมั่ว
0
กำลังโหลด
ici 12 ส.ค. 51 00:58 น. 17
"" ได้วิดวะ ที่ xxxx แถวๆสยาม ""

โอเนต
ไท 88.25
สังคม 71.75
เลข 59.00
อังกิด 72.00
วิทย์ 84.25

เอเนต
วิทย์2 """39""
เลข2 """26"""
อังกิด 64
พฐวิดวะ """39""

GPAX 3.92

สุดยอดไปเลย การคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัย
ไม่ต้องแปลกใจหรอกครับ - -*
0
กำลังโหลด
TP110 12 ส.ค. 51 04:35 น. 18
คห.17 ได้เลขกะวิทแค่นี้ถ้าเข้าวิดวะจุฬาได้(แล้วมาตรฐานยังเหมือนเดิม)

แล้วไม่อัพตัวเองละก็ ตายแหงแซะ
0
กำลังโหลด
TP110 12 ส.ค. 51 04:36 น. 19
ช่ายเลยเวลาที่เรียนไม่สอดคล้องกับเวลาที่สอบ

สงสัยพวก ทปอ คงจะเป็นเด็กสายศิลป์ เลยไม่รู้เรื่องวิทยาศาสตร์
0
กำลังโหลด
กาน 12 ส.ค. 51 09:48 น. 20
เราค่อนข้างดีใจ ที่จะได้ไม่ต้องใช้ระบบเดิมอีกนั่นก็คือ แอดมิชชั่นแล้ว

เพราะเห็นผลและปัญหามันมากเหลือเกิน

ปีเราจะได้สอบ แบบ GAT PAT ซึ่งเราว่าก็ดีกว่าระบบเดิม

แต่เรารู้สึกว่าPAT ที่ให้สอบมันดูไม่ตรงตามที่เราจะเรียนยังไงก็ไม่รู้

คือเราจะเข้าจิตวิทยา แต่ให้เราสอบPAT คณิตศาสตร์ อย่างงงเลย

เพราะจิตวิทยาเขาใช้ชีวะกันเยอะ แทนที่จะให้ไปสอบ PAT วิทย์ แต่ดันให้ไปสอบคณิต

เหใอนคณะมนุษย์ก็ต้องสอบแพทนี้เหมือนกัน นิติอย่างงี้

เป็นบ้ารึเปล่า นี่สมมติถ้าอยากเรียนนิติได้ต้องเก่งเลขใช่ไหม เอาไว้ท่องมาตรารึไง

ใครมันเป็นคนจัด ประสาท(ตอนนั้นละก็บอกว่าประชุมกันหลายฝ่าย เราว่าคนที่เขารู้จริงน่าจะคิดได้มากกว่านี้ ว่าคณะไหน ควรจะใช้แพทไหน)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด