วัสดีค่า^^ ผ่านด่านแรกกันมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับแอดมิชชั่น54 พี่มิ้นท์ก็ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่สมหวังทุกคนด้วยนะคะ แต่สำหรับน้องที่พลาดไปก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีทางเลือกที่สร้างอนาคตดีๆ ให้กับน้องๆ อีกเพียบ!! พี่มิ้นท์ว่าเรียนที่ไหนก็เก่งได้ทั้งนั้น ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งนั้นค่ะท้อได้แต่ห้ามถอยนะคะ และที่สำคัญพี่ๆ ทีมงาน Dek-D.com ทุกคนก็ยังอยู่เคียงข้างคอยเป็นกำลังใจให้เสมอเลยนะ

         สำหรับน้องๆ ที่มีรายชื่อสอบสัมภาษณ์ ตอนนี้ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน ไม่รู้ว่าน้องๆ เตรียมตัวกันถึงไหนแล้ว แต่วันนี้พี่มิ้นท์รวบรวมคำถามที่มักจะถูกถามในรอบสัมภาษณ์พร้อมทั้งเคล็ดลับการตอบคำถาม(ให้ดูดีโดนใจกรรมการ) มาฝากค่ะ

 

 

         1.แนะนำตัวเองหน่อยซิ อันนี้ไม่เชิงคำถาม แต่จะเป็นด่านแรกที่กรรมการเปิดบทสนทนากับเรา หน้าที่ของน้องๆ ตอนนี้ก็คือการพรีเซ้นหรือแนะนำตัวเองให้กรรมการตรงหน้ารู้จัก จริงๆ แล้วการสัมภาษณ์ในรอบแอดมิชชั่นนี้อาจจะไม่ต้องจัดเต็มมากก็ได้ค่ะ เพราะวัตถุประสงค์จริงๆ ก็คือแค่ต้องการรู้จักเราเท่านั้น ซึ่งจะต่างจากการรับตรงหรือการสมัครประเภทอื่นๆ ดังนั้น รายละเอียดที่อยู่ในการแนะนำตัวก็จะเป็นข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อเล่น, จบจากโรงเรียนอะไร, แผนการเรียน, ครอบครัว, งานอดิเรก ซึ่งน้องๆ อาจจะโยงไปถึงความสามารถพิเศษและกิจกรรมที่เคยทำมาด้วยก็ได้ แต่เทคนิคของการแนะนำตัวเอง ก็คือ น้องๆ ต้องพูดให้เป็นธรรมชาติให้เหมือนพูดคุยกัน ดีกว่าที่จะมาบอกเป็นหัวข้อๆ เพราะมันจะน่าเบื่อ(มาก) ตัวอย่างการแนะนำตัวเอง เช่น

 

          สวัสดีอาจารย์ทั้งสองท่านค่ะ ดิฉันชื่อนางสาวมดแดง ตัวโต ชื่อเล่นชื่อมดค่ะ ตอนนี้อายุ 18 ปี จบการศึกษามาจากโรงเรียน กขค. สายศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น เป็นคนชอบเกี่ยวกับเรื่องภาษาก็เลยสนใจภาษามาตั้งแต่มัธยมปลาย โดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่นค่ะ ตอนนี้พักอาศัยอยู่กับครอบครัว ก็มีพ่อ แม่ พี่ชาย 2 คน ส่วนบ้านอยู่แถวบางนาค่ะ สำหรับความสามารถพิเศษก็อาจจะไม่ได้แตกต่างจากคนอื่นมาก ก็คงเป็นเรื่องของกีฬา ก็คือว่ายน้ำ เคยได้เหรียญทองด้วยค่ะ สมัยเรียนเป็นคนชอบทำกิจกรรม เคยเป็น..........

         

         เห็นรึเปล่าว่าการแนะนำตัวเองแบบนี้ดูเป็นธรรมชาติ ไหลลื่น(ยกเว้นว่าจะพูดกระตุกเสียเอง) ซึ่งถ้าเราแนะนำตัวเองได้น่าสนใจ ก็จะสร้างความประทับใจให้กับกรรมการได้อีกด้วย แต่ลองคิดอีกมุมสิ ถ้าแนะนำตัวเองแบบเบสิคว่า หนูชื่อ....ค่ะ ชื่อเล่น...ค่ะ งานอดิเรก....ค่ะ มีพี่น้อง......คน คนโตชื่อ.... คนเล็กชื่อ.....ค่ะ ถ้าน้องๆ เป็นกรรมการจะเบื่อมั้ย??

 

         2.ทำไมถึงเลือกคณะนี้ โดยทั่วไปแล้ว น้องๆ หลายคนอาจจะบอกว่า “ชอบ” “อยากเรียน” “ใฝ่ฝันมาตั้งแต่อนุบาล!!” คำตอบเหล่านี้ถือว่าเป็นคำถามมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่เลือกตอบกัน ซึ่งก็เป็นคำตอบที่ใช้ได้ในระดับหนึ่ง เพราะได้แสดงความรู้สึกของตัวเองลงไปว่า เราชอบ เราอยากเรียนนะ เพียงแต่อาจจะยังไม่ชัดเจน ซึ่งพี่มิ้นท์แนะนำนิดนึงค่ะว่า เราสามารถให้เหตุผลโดยโยงไปถึงอาชีพที่เราอยากทำในอนาคต หรือแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเรียน ในด้านนี้ โดยยกเอาประสบการณ์มาก็ได้ เช่น

        “ที่บ้านเคยเลี้ยงแมวค่ะ มีวันนึงมันป่วย แต่วันนั้นดันเป็นวันหยุดเลยไม่มีคลินิกไหนเปิดรักษา สุดท้ายแมวตัวนั้นก็ต้องตายไป ก็เลยเป็นแรงบันดาลใจว่าจะต้องเป็นสัตวแพทย์ให้ได้ เพราะอย่างน้อยเราก็ยังช่วยให้มันมีชีวิตรอด ถึงแม้ว่ามันเป็นแค่สัตว์แต่มันก็มีชีวิตเหมือนกัน” ดีกว่าบอกแค่ว่า “หนูรักสัตว์” ค่ะ นอกจากนี้ อาจจะบอกว่าได้ศึกษาหลักสูตรมาก่อนหน้านี้ เห็นว่าสาขานี้มีรายวิชาที่น่าเรียนและเหมาะกับจริต เอ้ย! เหมาะกับตัวเอง การตอบในลักษณะนี้จะเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตัวเองว่าเรามีการวางแผนหรือเตรียมความพร้อมในชีวิตไว้เป็นอย่างดี และยังทำให้กรรมการเห็นด้วยว่าเรารู้จักตัวตนของเราแล้วว่าเราเหมาะกับอะไร อีกอย่างเค้าจะได้เห็นถึงความตั้งใจที่แน่วแน่ของเรา เห็นมั้ยล่ะ เริ่ดๆ เชียว

         เทคนิคเล็กๆ ของการตอบคำถามข้อนี้พี่มิ้นท์ยังสนับสนุนในเรื่องของการตอบให้เป็นธรรมชาติเหมือนเดิม คือ ตอบให้ดูออกมาจากใจ ไม่ใช่ว่านั่งท่องสคริปท์ที่พ่อแม่เขียนมาให้ เพราะในวัยแบบน้องๆ ก็จะมีความคิดหรือวุฒิภาวะในระดับนึง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องสร้างลุคของเราให้ดูโตเกินวัยหรือดราม่าเกินเหตุ(แต่ก็ไม่ใช่ว่ามาแบบอ่อนเปลี้ยนะ) ดังนั้นเวลาตอบก็ให้ตอบด้วยความจริงใจ เพราะเวทีนี้เราสัมภาษณ์เพื่อมาเรียน ดังนั้นไม่ต้องตอบเสมือนประกวดนางงามอยู่ ทำทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติจะน่ารักกว่าค่ะ

 

          3.เวลาว่างทำอะไร/งานอดิเรกของคุณคืออะไร น้องๆ อาจสงสัยว่าคำถามนี้มันจี๊ดตรงไหน?? ก็แค่ตอบไปว่าเราทำอะไรแค่นั้นไม่ใช่หรอ แต่สำหรับบางที่มันไม่ใช่แค่นั้นหรอกค่ะ อันนี้พี่มิ้นท์เจอมากับตัว เพราะการถามเรื่องงานอดิเรกสามารถวัดทัศนคติรวมทั้งไลฟ์สไตล์ของน้องได้เป็นอย่างดี ฟังแบบนี้แล้วก็ไม่ใช่ว่าน้องๆ จะต้องหางานอดิเรกที่เลิศหรูหรอกนะ ตอบให้เป็นปกตินั่นแหละ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นเน็ต ฯลฯ เพียงแต่ว่าควรเตรียมคำตอบเพิ่มได้เลย เพราะคำถามนี้จะเป็นคำถามที่เปิดกว้าง น้องๆ จะพรุนด้วยคำถามที่ถูกยิงเข้ามา เช่น ถ้าน้องบอกว่าชอบอ่านหนังสือ ก็ต้องเตรียมคำตอบละว่าชอบอ่านเรื่องอะไร ของใคร (พี่มิ้นท์เคยตกม้าตายมาแล้วค่ะ มีหนังสือในดวงใจแต่จำชื่อคนเขียนไม่ได้ อายมาก) คำถามหลังจากนี้ก็อาจจะมีเช่น เพราะอะไรถึงชอบ มีดียังไง เล่าเรื่องย่อได้มั้ย?? แต่จริงๆ แล้วพี่มิ้นท์ว่าไม่ต้องรอเค้าถามต่อหรอก อยากเล่าอะไรก็เล่าไปเลยค่ะ^^ ส่วนงานอดิเรกอื่นๆ ก็อาจจะมีชุดคำถามคล้ายๆ กัน แล้วที่สำคัญถ้าโยงเข้ากับคณะที่ตัวเองเรียนได้ก็จะดีมากค่ะ 

          ดังนั้นวิธีจัดการกับคำถามแนวนี้ก็คือ ควรตอบสิ่งที่ตัวเองทำเป็นงานอดิเรกจริงๆ แล้วเราก็ต้องใส่ใจกับรายละเอียดของมันด้วย น้องๆ จะได้ตอบอย่างมั่นใจว่านี่แหละไลฟ์สไตล์ของฉัน!! การตอบได้ทุกคำถามจะทำให้น้องๆ เป็นที่ประทับใจของกรรมการด้วยนะ เพราะเพื่อนพี่มิ้นท์บางคนอาจารย์จำชื่อได้ตั้งแต่วันสัมภาษณ์เพราะคำถามเรื่องงานอดิเรกนี่ล่ะ

 

 

          4.จะทำอะไรเพื่อที่นี่บ้าง เจอคำถามนี้เข้าไปบางคนถึงกับหดหู่ทีเดียวว่าคนอย่างเรามันจะไปทำอะไรได้ คำถามประเภทนี้ก็เป็นคำถามเชิงวัดใจเหมือนกันค่ะ จริงๆ แล้วการทำอะไรเพื่อที่นี่เราไม่จำเป็นต้องตอบว่าจะสร้างชื่อเสียงให้กับคณะก็ได้ เพราะบางทีเรายังไม่รู้เลยว่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยมีวิธีไหนที่สร้างชื่อเสียงได้บ้าง แต่ถ้าอยากตอบให้อยู่ในขอบเขตประมาณนี้จริงๆ พี่มิ้นท์แนะนำว่าให้ตอบเชิงว่าจะเป็นนักศึกษา/ตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง เพราะการอยู่ในสังคมเราต้องใส่เครื่องแบบ นั่นเท่ากับว่าเราต้องรักษาชื่อเสียงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการทำตัวให้อยู่ในระเบียบก็จะรักษาชื่อเสียงของคณะ/มหาวิทยาลัยได้ แต่เมื่อพูดไปแล้วก็อยากให้น้องๆ ปฏิบัติตามได้จริงๆ ด้วยนะคะ

          นอกจากนี้ “การทำอะไรเพื่อที่นี่” อาจมองไปในมุมของการทำเพื่อส่วนรวมก็ได้ เช่น ถ้ามีงานของคณะ/สาขา ก็จะเข้าร่วม ช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ ฯลฯ หรือบอกไปว่ามีความสนใจอยากเป็นคณะกรรมการสโมสรฯ เพราะอยากเป็นตัวแทนทำงานเพื่อคณะก็ได้ค่ะ (ในกรณีหลังสามารถพูดได้ถ้าเราสนใจทำจริงๆ เพราะถ้าพูดแล้วไม่ทำระวังอาจารย์จำหน้าได้นะ อิอิ) สิ่งสำคัญที่สุดน้องๆ ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ครับ/ค่ะ หรือยังไม่ได้คิด เพราะจะทำให้คุณค่าของน้องๆ หมดลงทันที

 

          5.ถ้าตกสัมภาษณ์จะทำยังไง บางที่เค้าว่ากันว่าสัมภาษณ์โหด ดังนั้นอาจจะมีคำถามประเภทนี้หลุดมา ซึ่งมันจะจี๊ดมาก แต่น้องๆ ไม่ต้องกังวลหรือตกใจไปค่ะ เพราะเป็นการวัดEQ เกี่ยวกับการจัดการกับอารมณ์ที่อยู่ในภาวะกดดัน ขอแค่อย่าร้องไห้หรือชี้หน้าด่ากรรมการก็พอ ซึ่งถ้าน้องเจอคำถามนี้ขึ้นมา แนวการตอบที่น้องๆ ควรจะตอบไป เช่น ถ้าตกสัมภาษณ์ที่นี่จริงๆ ก็จะปรึกษาพ่อแม่แล้วหาที่เรียนที่อื่นค่ะ หรือบอกว่าก็คงไปสมัครรอบพิเศษของ.... เป็นแผนสำรองค่ะ เป็นต้น ตัวเลือกในการตอบอาจจะมีไม่เยอะ แต่จุดสำคัญของคำถามนี้คือให้น้องๆ ควบคุมอารมณ์ ก็คือ ให้ยิ้มไว้แล้วตอบด้วยความมั่นใจแค่นั้นเองค่ะ อย่างน้อยก็ทำให้กรรมการเห็นว่าเราสามารถควบคุมสติได้ และไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ (แม้ว่าน้ำตาจะหลั่งไปท่วมปอดแล้ว)

 

          ทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างคำถามที่เชื่อว่าน้องๆ ต้องได้เจอแน่ๆ แต่ละคนอาจจะมีเทคนิคที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าใครยังสับสนไม่รู้ถ้าเจอคำถามแบบนี้จะตอบยังไง ก็ลองเอาแนวการตอบคำถามของพี่มิ้นท์ไปประยุกต์ใช้ดูนะคะเพราะจะช่วยสร้างเสน่ห์และความประทับใจให้กับกรรมการได้มากทีเดียว นอกจากแนวการตอบคำถามแล้วพี่มิ้นท์ยังมีข้อเสนอแนะแวะมาบอกน้องๆ เพิ่มเติมอีกหน่อยแล้วกัน จะได้เตรียมตัวและเตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

 

 

          -ยิ้ม ยิ้มเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุด ควรยิ้มตั้งแต่เข้าห้องและตลอดระยะเวลาที่สัมภาษณ์เพราะจะทำให้น้องมีเสน่ห์มากๆ เลยล่ะ อีกทั้งยังทำให้กรรมการเห็นด้วยว่าเรามีความมั่นใจ

          -ทักทายกรรมการทั้งตอนเข้าและออก ด้วยการไหว้และพูดสวัสดีครับ/ค่ะ (พื้นฐานมารยาทไทยนั่นเอง) ถ้าหากสัมภาษณ์ห้องละคนและปิดประตูอยู่ ก็ควรเคาะประตูด้วยนะคะ เพื่อแสดงถึงมารยาทที่ดี

          -อย่าถามคำตอบคำ แม้จะตื่นเต้นแค่ไหน ก็ควรตอบให้เป็นธรรมชาติ ทำตัวเองให้ร่าเริงเข้าไว้ หนึ่งคำถามเราสามารถตอบในเชิงพูดคุยได้ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้กรรมการประทับใจเราค่ะ

          -ถ้ากรรมการไม่เรียกดูพอร์ท แต่เราอยากนำเสนอจริงๆ ก็สามารถยื่นให้กรรมการดูได้ โดยอาจให้ดูในช่วงที่เรากำลังและแนะนำตัวหรือพูดถึงกิจกรรมที่เราเคยทำ (หลายๆ ที่กรรมการจะไม่เรียกดูพอร์ท)

          -ติดตามข่าวสารบ้านเมือง น้องๆ ควรมีความรู้ในเรื่องของเหตุการณ์บ้านเมืองติดตัวบ้าง โดยเฉพาะในบางคณะที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคมโดยตรงยิ่งควรอ่านข่าวไว้เยอะๆ เพราะน่าจะโดนถามแน่นอนค่ะ


           เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้องๆ กับแนวการตอบคำถามสัมภาษณ์รวมทั้งข้อเสนอแนะเล็กๆ น้อยๆ ที่พี่มิ้นท์ได้สังเกตและเอาประสบการณ์จริงตัวเองมาบอกเล่า หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ แต่ก็อย่ามัวพะวงแต่เรื่องคำถามล่ะ เพราะถึงห้องสอบสัมภาษณ์จริง น้องๆ ต้องพกความมั่นใจเข้าไปด้วย ที่สำคัญการตอบของเราต้องมีน้ำเสียงที่ชัดเจน ตอบเสียงดังฟังชัด บุคลิกต้องดี เจอคำถามป่วนๆ ก็ต้องยิ้มสู้ แค่นี้กรรมการก็ประทับใจเราแน่นอน

             สุดท้ายพี่มิ้นท์ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนผ่านช่วงสอบสัมภาษณ์ไปได้ด้วยดี ทนอีกนิดนะคะ ฝันจะเป็นจริงแล้ว สู้ๆ ค่ะ

 

ภาพประกอบ www.dusit.ac.th

www.tpa.or.th/gallery 

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด

101 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
efd 7 พ.ค. 54 11:25 น. 7
แล้วก็ตอนสัมภาษณ์ต้องมองตากรรมการทุกท่านด้วยนะค่ะ (ในกรณีที่มีกรรมการหลายคน)
เคยอ่านเจอมาจากในหนังสือเล่มนึง ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Pochniya 7 พ.ค. 54 12:58 น. 9
__/\__

ขอบคุณมากครับ สู้ ตาย เย้ เฮๆ ฮิป ปี้
สอบสัมภาษณ์ แค่นี้ คนตั่งหลาย หมิ่นเรายังชนะมารอบนี้ได้แล้วแค่สัมภาษณ์เจอ1ต่อ1ทำไมเราจะทำไม่ได้
(ให้กำลังใจตัวเอง)*-*
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Tomoyo Daidouji Member 7 พ.ค. 54 14:19 น. 12
สมมติว่า เรามีพอร์ทน้อย
กรรมการจะรับเรารึป่าวค่ะ
แล้วถ้าร่วมทำกิจกรรมน้อยนิด  กรรมการจะรับเรารึป่าว
0
กำลังโหลด
เออออ 7 พ.ค. 54 16:46 น. 13
สายตา อย่ามองหาจิ้งจกบนเพดาน หรือก้มหาเศษฝุ่นบนพื้นนะคะ ^^
สบตาปิ๊งๆไปเลย อย่าให้เค้ารู้ว่าเราตื่นเต้น 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด