คอมเฟิร์ม!! รับตรงปี 58 ยังมี แต่ปรับรูปแบบ และช่วงเวลาใหม่

           สวัสดีครับ ถามกันมาเยอะมากๆ ว่า "ปี 58 ยังมีรับตรงอยู่ไหม ?" วันนี้เพื่อให้เคลียร์ที่สุด พี่ลาเต้ ได้ติดต่อสอบถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง ท่านจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่ริเริ่มแนวคิดเรื่องยกเลิกรับตรง ท่านจะว่าอย่างไร ไปอ่านบทสัมภาษณ์กันเลยครับ
 

           นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยกับทีมข่าวการศึกษา เว็บไซต์เด็กดีดอทคอมว่า "ในกรณีรับตรงปีการศึกษา 2558 ยังคงมีอยู่ แต่อาจจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ได้ประสานงานให้ สกอ. ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ หากมหาวิทยาลัยไหนยังไม่ได้ดำเนินการรับตรงนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2558 ให้ไปจัดสอบหลังจากที่นักเรียนได้เรียนจบการศึกษาแล้ว นั้นคือประมาณ ก.พ.58 เป็นต้นไป แต่หากมหาวิทยาลัยไหนดำเนินการรับนักศึกษาไปแล้ว ก็ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น กลับมาว่ามีเหตุใดที่เลือกที่จะรับตรงโดยการจัดสอบเอง"

           ทางรัฐมนตรีศึกษาธิการ ได้เปิดเผยต่อว่า.. ในส่วนของมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ได้ดำเนินการรับตรงปี 2558 ก็ขอความร่วมมือให้ใช้ระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาผ่าน Clearing House มากขึ้น และให้มีการจัดสอบหลังจากเด็กเรียนจบการศึกษาแล้ว เพื่อเด็กจะได้ไม่ทิ้งห้องเรียน ส่วนในอนาคตได้มอบหมายให้ทาง สทศ. , สกอ. และ สพฐ. ร่วมพิจารณาระบบการจัดสอบต่างๆ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบคัดเลือกที่เหมาะสม จากนั้นจะรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งออกแบบกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น และเป็นข้อสรุปร่วมกันต่อไป ซึ่งหากจะประกาศใช้เต็มระบบ จะต้องประกาศใช้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อไม่ให้กระทบกับนักเรียนที่เตรียมตัวไว้ก่อนแล้ว"

            เอาล่ะสรุปง่ายๆ คือปี 2558 รับตรง/สอบตรง/โควตา ยังมีตามปกตินะครับ บางสถาบันอาจจะจัดสอบเองเหมือนเดิม และบางสถาบันอาจจะใช้ข้อสอบส่วนกลางตามที่ รมต.กระทรวงศึกษาได้ขอความร่วมมือ เอาเป็นว่าเด็กแอดมิชชั่น 58 เตรียมตัวติดตามข่าวให้พร้อม ที่แน่ๆ รับตรงมหาวิทยาลัยต่างๆ อาจจะมาช้ากว่าปีก่อนๆ เพราะตอนนี้หลายมหาวิทยาลัยปรับปฏิทินการเปิดภาคเรียนใหม่ตามอาเซียน ส่งผลให้ปฏิทินการรับสมัครต้องเลื่อนตามไปด้วย อาทิ มศว ที่จากปีก่อนเริ่มสอบคัดเลือกประมาณ ก.ย.แต่ในปีการศึกษา 58 จะขยับไปในเดือน ม.ค.แทน

 
ชวนน้องๆ ชาว Dek-D มาร่วมลงความเห็น

"พัฒนาการศึกษาไทย สิ่งไหนที่ควรยกเลิก ?"



ใครที่เล่นทวิตเตอร์ มา Follow ตามข่าวแอดมิชชั่นกับพี่ได้ทาง @lataedekd
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Kenkwanchai Member 1 เม.ย. 57 18:30 น. 8

ผมขอเสนอท่านรัฐมนตรีบ้างครับ

ผมขอให้ยุบ สทศ.ทิ้งเถอะครับ

ข้อสอบออกไม่ตรงบ้างละ พิมพ์ข้อสอบสลับกันจนต้องแจกคะแนนฟรีบ้างละ ยุบเถอะครับ เพื่อความก้าวหน้าของเด็กไทย เยี่ยม

5
กำลังโหลด
กฤตลักษณ์ วัฒนไชยกาญจน์ Member 1 เม.ย. 57 18:37 น. 7-1
เห็นด้วยครับ เพราะยังไง เกรดหรือคะแนนก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์แต่ละคนอยู่ดี
0
กำลังโหลด
Thanasitt Dejtaradon Member 1 เม.ย. 57 15:49 น. 3

ผมขอเสนอวิธีการแก้ปัญหาการคัดเลือกนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยครับ
หลายๆปัญหาที่ผมประสบเห็น ผมคิดว่า ณ ปัจจุบันเกิดจาก สทศ.ไม่สามารถทดสอบนักเรียนให้ตรงตามจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัยได้ พูดง่ายๆคือหลายๆมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยกับระบบ Admission ของสทศ.ซักเท่าไหร่ จึ่งมีการ เปิดรับตรงด้วยตัวเองเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาตามจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ  

คราวนี้.. ทางกระทรวศึกษาธิการเห็นว่าการเปิดรับตรงของมหาวิทยาลัยทำให้นักเรียนต้องไปวิ่งสอบ ซึ่งความจริงแล้วเขาก็ไม่ได้บังคับให้นักเรียนสอบทุกที่ แต่นักเรียนก็อยากจะสอบติดใช่ไหมละครับ มีเปิดที่ไหนก็ต้องลองสอบ! และทำให้ต้องเรียนพิเศษเยอะขึ้นๆ และสนใจในห้องเรียนน้อยลง บวกกับนักเรียนหลายๆคนไม่เชื่อมั่นระบบ Admission ด้วย ก็เลยเกิดปัญหาในมุมมองของเขา (มุมมองของกระทรวงฯ) เลยต้องการ จัดให้มีแค่ Admission เท่านั้น และก็ใส่เกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในห้องเรียน เช่น O-NET, GPAX เป็นต้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อยู่ดี 

ทั้งสองฝ่ายก็ต้องการให้มีการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยตรงตามจุดประสงค์ ผมคิดว่าเราก็ควรนำข้อดีของแต่ละฝ่ายมารวมกันนะครับ ในความคิดของผมเราต้องมีหลักในการวัดการสอบเข้าใหม่ คือ

1. ทดสอบด้วยข้อสอบวัดความรู้ (ทฤษฎีหรือปฎิบัตินั้นขึ้นอยู่กับคณะสาขาวิชา) 50-70% และทดสอบด้วยการสัมภาษณ์ 30-50% 
2. นำผลการทดสอบระดับชาติและผลการเรียนในโรงเรียน เช่น O-NET, GPAX มาเป็นคะแนนเกณฑ์มาตรฐานในการมีสิทธิ์สอบเข้า หรือจะเป็นเกณฑ์การตัดสินในการสอบเข้าด้วยก็ได้
3. เมื่อมี 2 ข้อด้านบนแล้วให้ยกเลิก GAT-PAT และ 7 วิชาสามัญออก!! 

ยกตัวอย่าง 
การสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย A 

เกณฑ์มีสิทธิ์สอบเข้า 
- GPAX ต้องไม่น้อยกว่า 2.50 
- ผลการเรียนวิชาสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆต้องไม่น้อยกว่า 2.5 ตลอด 6 ภาคเรียน 
- O-NET คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมต้องมากกว่า 50 คะแนน

การทดสอบการสอบเข้า
- ข้อสอบทดสอบความรู้ด้านรัฐศาสตร์และข้อสอบทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศได้ (เลือกภาษาสอบได้) 60 % 
- การสอบสัมภาษณ์ 30 %
- คะแนน O-NET 3 วิชา(ไทย อังกฤษ สังคม) 10% 

ประมาณนี้ครับ เอาเข้าจริงสามารถปรับเปลี่ยนตามที่เหมาะสมได้ ผมเพียงกำหนดมาให้เป็นแนวคิดเฉยๆครับ  แบบนี้ก็จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการสอบตรง (ถึงจะลดไม่มากแต่ผมเชื่อว่าลดลงกว่าทุกวันนี้แน่ๆครับ) และคราวนี้ก็จะดึง O-NET ที่เป็นการทดสอบระดับชาติที่นักเรียนไม่เสียค่าใช้จ่ายมาเป็นประโยชน์แน่นอน และผมเชื่อว่าจะทำให้คนสนใจเรียนในห้องเรียนมากขึ้นครับเพราะเป็นการดึงให้คนเข้ามาเรียนในห้องมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับทางกระทรวงศึกษาธิการก็จะ win win ทั้งคู่ครับ

ปัญหาที่ใช้วิธีนี้ก็ยังคงมีอยู่ครับ เช่น วันเวลาที่สอบ ความวุ่นวาย ฯลฯ  ซึ่งตรงนี้ก็ต้องอาศัยการบริหารจัดการครับ น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง

ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดของ #dek58 คนหนึ่งครับ 5555  ผมก็อยากสอบตรงติดมากกว่าไป Admission ครับ 

พึ่งนึกออกครับ ขอเพิ่มเติมว่าวิธีนี้จะต้องทำควบคู่ไปกับ "การปฎิรูปและปรับปรุงระบบการศึกษา" ใหม่ของประเทศเราด้วยครับ 

11
ฟหกด 1 เม.ย. 57 18:15 น. 3-1
การสัมภาษณ์ที่มีคะแนน เป็นช่องโหว่ให้มีการทุจริตครับ ตัวชี้วัดเกิดจากความรู้สึกของผู้ให้สัมภาษณ์
0
กำลังโหลด
ยกเลิกgpax 1 เม.ย. 57 19:56 น. 15
เสนอว่ายกเลิก GPAX!!!! เพราะบางโรงเรียนปล่อยเกรดง่ายยากไม่เหมือนกัน มีการเสียเปรียบได้เปรียบ เอามันออกไปเถอะ บางคนเรียนเก่ง รร ทำเกรดยาก ไม่ถึง3 อดสอบสัตวฯ เพียงแค่gpax ก็ตัดโอกาสเด็กบางคนแล้วคะ
2
Thanasitt Dejtaradon Member 1 เม.ย. 57 21:22 น. 15-1
เห็นด้วยครับ ความจริงแล้วมาตรฐานของผู้เรียนวัดได้เลยที่ O-NET ครับ (ถ้าทำ O-NET ดีๆนะ) น่าจะใช้แค่ O-NET วัดไปเลย
0
กำลังโหลด
Anglelazy 1 เม.ย. 57 15:20 น. 2
โอ้ยย คือคิดได้ไงว่าเด็กทิ้งห้องเรียน? คือถ้าเด็กสอบติดแล้วทิ้งห้องเรียนไม่มาเรียนยังไงอาจารย์ก็ไม่ให้จบป่ะ เพราะเวลาเรียนไม่พอ
2
MochiHana Member 1 เม.ย. 57 18:43 น. 2-1
คิดว่าใช่น่ะค่ะ คือ พี่ๆบางคน พอสอบติดมหาลัยนั่นมหาลัยนี่แล้ว ก็จะไม่ไปโรงเรียนอีกเลย กว่าจะไปอีกที อย่างช้าก็สอบปลายภาคแหละค่ะ - - แต่ใช่ว่า การสอบตรงช่วงเทอม 1 หรือเทอม 2 ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะทิ้งห้องเรียนไปซะทุกคน
0
กำลังโหลด

69 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Anglelazy 1 เม.ย. 57 15:20 น. 2
โอ้ยย คือคิดได้ไงว่าเด็กทิ้งห้องเรียน? คือถ้าเด็กสอบติดแล้วทิ้งห้องเรียนไม่มาเรียนยังไงอาจารย์ก็ไม่ให้จบป่ะ เพราะเวลาเรียนไม่พอ
2
MochiHana Member 1 เม.ย. 57 18:43 น. 2-1
คิดว่าใช่น่ะค่ะ คือ พี่ๆบางคน พอสอบติดมหาลัยนั่นมหาลัยนี่แล้ว ก็จะไม่ไปโรงเรียนอีกเลย กว่าจะไปอีกที อย่างช้าก็สอบปลายภาคแหละค่ะ - - แต่ใช่ว่า การสอบตรงช่วงเทอม 1 หรือเทอม 2 ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะทิ้งห้องเรียนไปซะทุกคน
0
กำลังโหลด
Thanasitt Dejtaradon Member 1 เม.ย. 57 15:49 น. 3

ผมขอเสนอวิธีการแก้ปัญหาการคัดเลือกนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยครับ
หลายๆปัญหาที่ผมประสบเห็น ผมคิดว่า ณ ปัจจุบันเกิดจาก สทศ.ไม่สามารถทดสอบนักเรียนให้ตรงตามจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัยได้ พูดง่ายๆคือหลายๆมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยกับระบบ Admission ของสทศ.ซักเท่าไหร่ จึ่งมีการ เปิดรับตรงด้วยตัวเองเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาตามจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ  

คราวนี้.. ทางกระทรวศึกษาธิการเห็นว่าการเปิดรับตรงของมหาวิทยาลัยทำให้นักเรียนต้องไปวิ่งสอบ ซึ่งความจริงแล้วเขาก็ไม่ได้บังคับให้นักเรียนสอบทุกที่ แต่นักเรียนก็อยากจะสอบติดใช่ไหมละครับ มีเปิดที่ไหนก็ต้องลองสอบ! และทำให้ต้องเรียนพิเศษเยอะขึ้นๆ และสนใจในห้องเรียนน้อยลง บวกกับนักเรียนหลายๆคนไม่เชื่อมั่นระบบ Admission ด้วย ก็เลยเกิดปัญหาในมุมมองของเขา (มุมมองของกระทรวงฯ) เลยต้องการ จัดให้มีแค่ Admission เท่านั้น และก็ใส่เกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในห้องเรียน เช่น O-NET, GPAX เป็นต้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อยู่ดี 

ทั้งสองฝ่ายก็ต้องการให้มีการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยตรงตามจุดประสงค์ ผมคิดว่าเราก็ควรนำข้อดีของแต่ละฝ่ายมารวมกันนะครับ ในความคิดของผมเราต้องมีหลักในการวัดการสอบเข้าใหม่ คือ

1. ทดสอบด้วยข้อสอบวัดความรู้ (ทฤษฎีหรือปฎิบัตินั้นขึ้นอยู่กับคณะสาขาวิชา) 50-70% และทดสอบด้วยการสัมภาษณ์ 30-50% 
2. นำผลการทดสอบระดับชาติและผลการเรียนในโรงเรียน เช่น O-NET, GPAX มาเป็นคะแนนเกณฑ์มาตรฐานในการมีสิทธิ์สอบเข้า หรือจะเป็นเกณฑ์การตัดสินในการสอบเข้าด้วยก็ได้
3. เมื่อมี 2 ข้อด้านบนแล้วให้ยกเลิก GAT-PAT และ 7 วิชาสามัญออก!! 

ยกตัวอย่าง 
การสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย A 

เกณฑ์มีสิทธิ์สอบเข้า 
- GPAX ต้องไม่น้อยกว่า 2.50 
- ผลการเรียนวิชาสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆต้องไม่น้อยกว่า 2.5 ตลอด 6 ภาคเรียน 
- O-NET คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมต้องมากกว่า 50 คะแนน

การทดสอบการสอบเข้า
- ข้อสอบทดสอบความรู้ด้านรัฐศาสตร์และข้อสอบทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศได้ (เลือกภาษาสอบได้) 60 % 
- การสอบสัมภาษณ์ 30 %
- คะแนน O-NET 3 วิชา(ไทย อังกฤษ สังคม) 10% 

ประมาณนี้ครับ เอาเข้าจริงสามารถปรับเปลี่ยนตามที่เหมาะสมได้ ผมเพียงกำหนดมาให้เป็นแนวคิดเฉยๆครับ  แบบนี้ก็จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการสอบตรง (ถึงจะลดไม่มากแต่ผมเชื่อว่าลดลงกว่าทุกวันนี้แน่ๆครับ) และคราวนี้ก็จะดึง O-NET ที่เป็นการทดสอบระดับชาติที่นักเรียนไม่เสียค่าใช้จ่ายมาเป็นประโยชน์แน่นอน และผมเชื่อว่าจะทำให้คนสนใจเรียนในห้องเรียนมากขึ้นครับเพราะเป็นการดึงให้คนเข้ามาเรียนในห้องมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับทางกระทรวงศึกษาธิการก็จะ win win ทั้งคู่ครับ

ปัญหาที่ใช้วิธีนี้ก็ยังคงมีอยู่ครับ เช่น วันเวลาที่สอบ ความวุ่นวาย ฯลฯ  ซึ่งตรงนี้ก็ต้องอาศัยการบริหารจัดการครับ น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง

ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดของ #dek58 คนหนึ่งครับ 5555  ผมก็อยากสอบตรงติดมากกว่าไป Admission ครับ 

พึ่งนึกออกครับ ขอเพิ่มเติมว่าวิธีนี้จะต้องทำควบคู่ไปกับ "การปฎิรูปและปรับปรุงระบบการศึกษา" ใหม่ของประเทศเราด้วยครับ 

11
ฟหกด 1 เม.ย. 57 18:15 น. 3-1
การสัมภาษณ์ที่มีคะแนน เป็นช่องโหว่ให้มีการทุจริตครับ ตัวชี้วัดเกิดจากความรู้สึกของผู้ให้สัมภาษณ์
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กฤตลักษณ์ วัฒนไชยกาญจน์ Member 1 เม.ย. 57 18:37 น. 7-1
เห็นด้วยครับ เพราะยังไง เกรดหรือคะแนนก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์แต่ละคนอยู่ดี
0
กำลังโหลด
Kenkwanchai Member 1 เม.ย. 57 18:30 น. 8

ผมขอเสนอท่านรัฐมนตรีบ้างครับ

ผมขอให้ยุบ สทศ.ทิ้งเถอะครับ

ข้อสอบออกไม่ตรงบ้างละ พิมพ์ข้อสอบสลับกันจนต้องแจกคะแนนฟรีบ้างละ ยุบเถอะครับ เพื่อความก้าวหน้าของเด็กไทย เยี่ยม

5
กำลังโหลด
นอยยยย 1 เม.ย. 57 18:36 น. 9
ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ผมมองว่ามันไม่ใช่อ่าครับ ส่วนตัวผมเรียนอยู่คณะแพทย์แห่งหนึ่งครับ ซึ่งตอน ม.6 หลังติดแพทย์ ผมก็ไม่ได้ทิ้งการเรียนการสอบต่างๆ ผมก็ตั้งใจสอบแกทแพทกับโอเน็ตไว้ เผื่อว่าเกิดอะไรขึ้นมา... จะได้พอมีทางไปต่อ ซึ่งคะแนนที่ได้ก็โอเคเลยนะ แอดเข้าที่ไหนคณะไหนก็ได้ ผมลองคิดเล่นๆดู ถ้าผมแอดไปเข้าคณะอักษรจุฬา ถามว่าผมแอดติดมั้ย คะแนนผมก็ถึงนะครับ บวกด้วยซ้ำ แต่ถามว่าผมจะเรียนได้มั้ย ตอบเลยอย่างมั่นใจว่าไม่ได้ เพราะผมไม่ชอบการอ่านนิยายไรงี้ แล้วถ้าผมไปแอดรัฐศาสตร์งี้ ผมจะติดมั้ย ก็ติดครับ ด้วยเหตุผลเดียวกันคือคะแนนมันถึง แต่ถามว่าเรียนได้มั้ย ก็ตอบเลยว่าไม่ได้ เพราะผมเกลียดวิชาสังคมการเมือง ลองหาเหตุผลดูสิครับ ว่าทำไมผมถึงติด คำตอบคือคะแนนถึงไง แล้วปัญหาก็คือ ไอคะแนนที่บอกว่าถึงๆหนะ มันวัดอะไรในตัวเด็ก? เอาคะแนนแกทมาวัดก็โอเค แต่ละคณะที่เรียนก็ใช้กันหมดภาษาอังกฤษงี้ อันนี้รับได้ แต่เอาคะแนนเลขมายื่นเข้าอักษรงี้ เข้านิติงี้ ผมมองว่ามันไม่ใช่อะครับ เพราะงี้ไง ถึงเกิดปัญหาเด็กซิ่วเยอะๆ เพราะคนประเภทไม่รู้ว่าอยากเข้าอะไร แต่คะแนนโหดๆมันมี ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่มหาวิทยาลัยแต่ละที่เปิดรับตรงกันเอง เพราะเขาจะได้จัดสอบเอง และจะได้เด็กที่ถนัดในทางนั้นจริงๆ ไม่ใช่ได้เด็กซึ่งคะแนนถึง แถมยังได้ค่าสมัครสอบอีก มหาลัยเขามีแต่ได้กับได้ครับ ใครจะไม่ชอบ รวมถึงตัวข้อสอบเอง ที่ไม่ได้มาตรฐาน เอาอะไรมาออก ออกแต่ละทีความยากง่ายไม่เท่ากัน เป็นเรื่องสำคัญครับ ที่ทำให้ระบบการจัดสอบส่วนกลางไม่ได้รับการยอมรับ ถ้าอยากให้รับร่วมกันหมด สงสัยต้องมี PAT รัฐศาสตร์ PAT นิติศาสตร์ PAT อักษรศาสตร์ อะไรแบบนี้หละมั้งครับ คหสต. นะครับ
0
กำลังโหลด
Plunatic Member 1 เม.ย. 57 18:39 น. 10

ดีฮะ
เปลี่ยนนู้นเปลี่ยนนี่จนเขางอกละ
7วิชาสามัญนี่อยากให้ เลิก
ค่าสอบทุกๆอย่างนี่อยากให้ ลด
บ้างนะ...

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
~LightOnTheFloor~ Member 1 เม.ย. 57 19:21 น. 13

การที่ ศธ จะเอาเรื่องเวลาในห้องเรียนมาอ้างในกรณีนี้ มันก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ในเมื่อ สทศ เองก็ไม่สามารถให้เหตุผลได้ว่า ทำไมนักเรียนถึงต้องเข้าห้องเรียน?? ในเมื่อมันไม่จำเป็นสำหรับพวกเขาอีกแล้ว "สำหรับเกรด แค่พอผ่าน" การยกเลิกรับตรงเพื่อให้นักเรียนทุ่มเทเวลาในชั้นเรียนมากขึ้น? เพื่ออะไร?ในเมื่อคนเรียนสายสามัญทุกคนก็เรียนไปเื่อหวังเข้ามหาลัย ศธ เองต้องตอบเรื่องนี้ได้เสียก่อนครับ จะให้นักเรียนเข้าใจระบบอย่างเดียวไม่ได้ ระบบก็ต้องเข้าใจนักเรียนด้วย

จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้มันเหมือนแต่ละองค์กรทำงานไปคนละทิศทางครับ การที่มหาลัยไม่ใช้ข้อสอบกลางของ สทศ ก็เป็นไปได้ในทางพฤตินัยว่า ข้อสอบนั้นไม่มีมาตรฐาน(ที่เพียงพอ) หรือแม้แต่กระทั่งไม่เห็นด้วยกับระบบแอดมิชชั่นของ ศธ เอง

จะให้มหาลัยเลิกรับตรงไปเลย ก็ไม่ได้ ได้แต่ขอความร่วมมือ นั่นคือ ศธ ไม่มีอำนาจ และ ทปอ ก็ออกมาบอกแล้วว่า มันเป็นดุลยพินิจของมหาลัย ทาง ศธ ไม่มีอำนาจในส่วนนี้ ในเมื่อมหาลัยต่างๆ ต่างก็ออกจากระบบของรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

ในจุดนี้สิ่งที่ทำได้คือ 

๑. ศธ อย่าสร้างปัญหาครับ เพราะสิ่งที่เป็นอยู่และเหตุผลที่ ศธ เอามาอ้าง มันไม่มีน้ำหนักเพียงพอ 

๒.ระบบที่เป็นอยู่ดีอยู่แล้วครับ ถ้าจะแก้ก็ไปแก้ที่ "มาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพของนักเรียน" ยกตัวอย่าง ข้อสอบ O-NET รร แต่ละแห่งมีการจัดการเรียนการสอนต่างกัน แม้ใช้หลักสูตรเดียวกัน ดังนั้น O-NET จึงไม่ได้พิสูจน์เลยว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถจริง หรือ นักเรียนแค่ตอบถูก เท่านั้นเอง!!

๓.สิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ ตอนนี้คือ นโยบายที่ปฏิบัติไม่ได้ มันดูดี แต่มันไม่เป็นจริง ไม่เหมาะสม ไม่สามารถเอามาใช้ได้ เพราะแต่ละองค์กรต่างยึดว่า ฉันต้องการแบบนี้นะ มันต้องเป็นแบบนี้นะ สทศ ก็ว่าไปทาง ศธ ก็ว่าไปทาง ทางมหาลัยเอง ก็ว่าไปทาง ในทางเศรษฐศาสตร์เขาเรียกว่า ความสิ้นเปลืองเนื่องจากขนาด  มันมีองค์กรแบบนี้มากไปนั่นเอง

๔. ถ้าต้องการพัฒนาคนจริงๆ ลดจำนวนการรีไทร์ การวิ่งรอกสอบ เปลี่ยนระบบแอดกลางที่เลือกคณะได้ เป็นระบบกลางที่มีข้อสอบเดียวที่ชี้วัดความสามารถของนักเรียนว่า บุคคลนี้มีความถนัดเช่นนี้ แล้วเลือกคณะและมหาลัยให้นักเรียนเองเถอะครับ โดยเกณฑ์การเลือกนั้น อาศัยคะแนนสอบว่า คุณมีความสามารถด้านไหนมาที่สุด ภูมิลำเนาคุณอยู่ที่ไหน และสภาพสังคมตอนนี้ต้องการแรงงานด้านนี้มากแค่ไหน ให้ระบบกลางเป็นแบบนี้ดีกว่า แล้วปล่อยให้รับตรงทำงานของมันต่อไปครับ

0
กำลังโหลด
krabongtan 1 เม.ย. 57 19:37 น. 14
ก็ไม่ได้อะไรมากหรอกครับ แค่ถ้ามัวแต่เอาในห้องเรียนกันอย่างเดียวนะ คุณภาพการศึกษามันอยู่ที่ไหนครับ กระทรวงวันๆนั่งทำอะไรอยู่ ถ้ามัวบอกว่าเด็กไม่อยู่ในห้องเรียน เอาเวลามานั่งพูดว่ายกเลิกรับตรง ไปยุบสทศ.ทิ้งเถอะครับ เปลืองงบประมาณแผ่นดิน ในห้องเรียนเน้นท่องจำ ข้อสอบสทศ.เน้นวิเคราะห์ ออกข้อสอบแบบนี้เพื่อ?
0
กำลังโหลด
ยกเลิกgpax 1 เม.ย. 57 19:56 น. 15
เสนอว่ายกเลิก GPAX!!!! เพราะบางโรงเรียนปล่อยเกรดง่ายยากไม่เหมือนกัน มีการเสียเปรียบได้เปรียบ เอามันออกไปเถอะ บางคนเรียนเก่ง รร ทำเกรดยาก ไม่ถึง3 อดสอบสัตวฯ เพียงแค่gpax ก็ตัดโอกาสเด็กบางคนแล้วคะ
2
Thanasitt Dejtaradon Member 1 เม.ย. 57 21:22 น. 15-1
เห็นด้วยครับ ความจริงแล้วมาตรฐานของผู้เรียนวัดได้เลยที่ O-NET ครับ (ถ้าทำ O-NET ดีๆนะ) น่าจะใช้แค่ O-NET วัดไปเลย
0
กำลังโหลด
เจ้าเปียโน Member 1 เม.ย. 57 19:57 น. 16

การสอบ บางครั้งก็ออกเกินหลักสูตรไป ซึ่งอาจจะไม่มีในบทเรียน อยากถามว่า ใช้มาตรฐานใดในการออกข้อสอบ??? ยกเลิกการสอบเถอะ GAT PAT อะ 

0
กำลังโหลด
ยกเลิกรับตรง 1 เม.ย. 57 20:02 น. 17
ก่อนอื่นเรามามองในอนาคตอันใกล้กันก่อนดีกว่า ปฏิรูปใครๆก็พูดได้แต่กว่าจะทำได้ก็ไม่รู้เมื่อไร ส่วนตัวผมคิดว่าสิ่งที่ควรยกเลิกคือ7วิชาสามัญแล้วมาปรับปรุงข้อสอบGAT PAT ให้ได้มาตรฐาน ให้สามารถคัดเด็กได้ตามสาขาอาชีพและตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ เกรดใช้เป็นเกณฑ์ในการสมัครก็เพียงพอแล้วไม่ควรนำมาคิดเป็นคะแนนด้วย การคิดคะแนนก็ใช้onetและgat pat ซึ่งGAT PATจะยังสอบได้หลายรอบเหมือนเดิม แล้วมาadmissionทีเดียวเลยจะแฟร์กับทุกคนมากกว่า ทุกๆคนก็มีโอกาสสอบหลายรอบเพื่อแก้ตัว ปล.ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานที่ข้อสอบGAT PAT และONETมีมาตรฐาน
0
กำลังโหลด
แพรวา 1 เม.ย. 57 20:20 น. 18
ยกเลิก แกทเชื่อมโยงค่ะ ถ้าจะออก ควรออกแบบอ่านจับใจความนะคะ แพทครู ไม่ควรออกเหมือนแกทค่ะ ควรกลับไปออกแบบเดิม ให้สถานการณ์มา ละสมมติเราเป็นครูเราจะทำอย่างไร วัดความเป็นครูจริงๆค่ะ ออกแบบแกทไม่เก่งไทยเป็นครูไม่ได้เหรอคะ แกทอังกฤษยากเกินไปค่ะ เกินไปจริงๆ ออกเอเร่อ ทำไมเยอะคะ ควรเน้นพอให้รูเรื่องพื้นฐานป่ะคะ จะออกยากเพื่ออะไร รีดดิ้ง ศัพท์ ยากจริงไค่ะ จะออกทำไมยาวๆยากๆ คือโอเคกับระบบแอกมิชชั่นนะคะ แต่ปรับข้อสอบเถอะค่ะ ดูค่าเฉลี่ยหน่อยค่ะ เด็กทำไม่ได้จริงๆ แพทคณิต นี่สุดๆละค่ะ เห็นใจหนูบ้าง ข้อสอบยากขึ้นทุกปีๆๆๆ เพื่ออะไรคะ ขอให้ฝันหนูเป็นจริงด้วยเทอญ สาธุ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
tapnrae Member 1 เม.ย. 57 21:29 น. 20

เอาจริงๆ นะ รับตรงมันไม่ได้แพงขนาดนั้น ถ้าไม่อยากเสียเงินเยอะก็ตั้งใจสอบที่สองที่ แล้วให้ติดไปเลยสิ เราเป็นคนนึงที่อยากสอบรับตรงเยอะๆ เพราะสนามแรกๆ อาจจะไปลองข้อสอบ ถามว่าตั้งใจมั้ย? ต้องตั้งใจอยู่แล้ว ใครๆ ก็อยากมีที่เรียนทั้งนั้นล่ะ.

ปล. ปีหน้าเรา ม.6 ค่ะ โปรดเห็นใจกันด้วยนะ.

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด