"อิทธิ์" เทพตัวจริง! GAT 295 + PAT เยอรมัน 270 กับเทคนิคเตรียมสอบแอดฯ ที่น่าทึ่ง

            สวัสดีค่ะน้อง กลับมาเจอกันในคอลัมน์ Admission Idol สุดยอดบุคคลที่เป็นไอดอลในเรื่องแอดมิชชั่น วันอังคารแบบนี้เรามีนัดกัน วันนี้พี่เมษ์ก็ไม่พลาดพาตัวไอดอลอีกคนมาแนะนำให้รู้จัก พี่อิทธิ์ นายอิทธิ์ ธีรรัฐ ผู้ทำคะแนน 29012.5 คะแนน โดยไม่เคยเรียนพิเศษ

แนะนำตัว
            สวัสดีครับ ผมอิทธิ์ นายอิทธิ์ ธีรรัฐ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบมัธยมจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลครับ (นิสัยใจคอ?) แล้วแต่โอกาสแหละครับ คือเป็นคนจริงจังนะครับ ทำอะไรก็ค่อนข้างจริงจัง เวลาเรียนก็เรียน เวลาเล่นก็เล่นครับ

คะแนนแอดมิชชั่น
  • GAT 295 / 300
  • PAT เยอรมัน 270 / 300

สนามรับตรง?
            ผมสมัครไป 3 ที่ครับ
 1. รัฐศาสตร์ จุฬาฯ - ได้ที่นี่
2. BBA จุฬาฯ - สละสิทธิ์ ไม่ไปสัมภาษณ์
3. BMIR (รัฐศาสตร์ อินเตอร์) ธรรมศาสตร์ - ไม่ได้ไปสอบ
 
ตัวตนในลุค "เด็กกิจกรรม"?
          ผมเป็นเด็กกิจกรรมครับ ทำกิจกรรมมาตั้งแต่ปี 1
- ตอนปี 1 เป็นหัวหน้านิสิตชั้นปีที่ 1 ของสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปี 2 เป็นรองประธานฝ่ายนิสิตสัมพันธ์ (ฝ่ายพิธีการ) ขององค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬา ฯ  (อบจ.)
- ปี 3 เป็นประธานฝ่ายวิชาการขององค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬา ฯ (อบจ.) ครับ
            ตอนนี้ปี 4 ว่างครับ ยุติทุกอย่างเพื่อกลับมาจัดการชีวิตตัวเองและเตรียมตัวเรื่องเรียนต่อ
(จะไปเรียนต่ออะไร) ผมก็เริ่มสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศครับ ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในอเมริกาและอังกฤษ ก็รอการตอบรับครับ แต่เค้าจะตอบรับรึเปล่าเป้นอีกเรื่องนึงนะครับ เราก็เตรียมตัวให้พร้อมที่สุด




เริ่มเตรียมตัวแอดมิชชั่น/ รับตรงเมื่อไหร่?
            ถ้าย้อนกลับไปจริงๆ ต้องย้อนไปตั้งแต่ช่วง ม.4 ครับ เพราะในช่วง มัธยมปลาย เราต้องเลือกแผนการเรียน ผมก็เลือกตั้งแต่ตอนนั้นครับ ซึ่งผมเลือกเข้า ศิลป์-คำนวณ เพราะเป็นสายที่ตอบสนองคณะที่เราอยากจะเข้ามากที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเริ่มจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่ ผมจริงจังตั้งแต่เลือกแผนการเรียนแล้วหละครับ
            (ทำไมไม่เลือกเรียน ศิลป์-ภาษา เผื่อเลือกรึเปล่า?) ไม่หรอกครับ คือ ต้องบอกว่าสายนี้ ตอบโจทย์ ณ ตอนนั้น ภายใต้เงื่อนไขของโรงเรียนเพราะโรงเรียนผมไม่ได้มีภาษาอื่นนอกจากภาษาจีน ซึ่งผมไม่ได้สนใจด้านนั้น ผมก็เลยเลือกศิลป์ - คำนวณ ซึ่งน่าจะตอบโจทย์ที่สุดในตอนนั้นครับเพราะเรียนวิทย์ - คณิต ไม่ใช่แน่ๆ เราไม่ได้ใช้ ส่วน ศิลป์ - ภาษา ก็เป็นอีกสายที่โอเคสำหรับคนที่อยากเรียนด้านนี้เหมือนกันครับ

ม. 4 - ม. 6 ทำอะไรบ้าง?
            พอเข้ามาแล้ว สิ่งแรกที่จำเป็นสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม น่าจะเป็นเรื่องการรู้ตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ หรือรู้เร็วที่สุดว่าเราอยากเรียนอะไร อยากทำอะไร หรืออยากเข้าคณะอะไร ซึ่งสำคัญมาก เพราะยิ่งเรารู้เร็วเท่าไหร่ เรายิ่งมีเวลาเตรียมตัวได้ดี ได้มากขึ้นเท่านั้น อย่างผมทราบค่อนข้างเร็ว รู้ว่าพอเราอยู่ ม.5 - ม.6 ต้องสอบอะไรบ้าง ซึ่งพอเรารู้ว่าเราต้องสอบอะไร มีข้อสอบแบบไหนที่เราต้องเจอ เราก็ลองทำข้อสอบเก่าดู
            (เริ่มทำข้อสอบเมื่อไหร่) ม.5 ครับ เพราะตอนที่ผมสอบเข้า GAT - PATยังสามารถสอบได้ตั้งแต่ ม.5

ทั้งชีวิตไม่เคยพิเศษที่ไหนเลย?
            ไม่เคยเรียนพิเศษเลยครับ ตลอดชีวิตการศึกษา (ห๊า!!!! ทำไม) เป็นเหตุผลจากตัวผมเอง เพราะว่าเวลาดูหนังสือค่อนข้างต้องใช้สมาธิเยอะ จะไม่สามารถอยู่ในที่ที่มีคนเยอะๆ ได้ เลยรู้สึกว่าระหว่างเรียนพิเศษ กับเราตั้งใจเรียนเอง สำหรับตัวเรา การที่เราตั้งใจเรียนเองมันดีกว่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนครับเพราะแต่ละคนคงมีความถนัด ความชอบแตกต่างกันออกไปครับ ขึ้นอยู่กับดีไซน์ของแต่ละคน เพียงแต่สำหรับผม ผมเชื่อว่าการดูหนังสือด้วยตัวเอง หรือทำแลกเชอร์เอง มันตอบโจทย์การดูหนังสือของผมได้ดีที่สุดนะครับ
            นอกจากนี้ผมก็เป็นคนค่อนข้างเชื่อมั่นกับการตั้งใจเรียนในห้องเรียน เพราะว่าตลอดเวลาที่เรียนที่ผ่านมาก็ตั้งใจเรียนในห้องเรียนเป็นหลัก ซึ่งมันก็โอเคครับ
            จริงๆ แล้วผมมองว่ามันเป็นปัญหาของการศึกษาไทยนะครับ พอเรามีตัวเลือกและทางลัดว่า ถ้าเราไม่ตั้งใจเรียนในห้องเรียนเนี่ย เรายังมีทางเลือกอื่นๆ ที่เราจะไปสามารถเรียนได้ มันก็เลยทำให้น้องๆ หลายคนรู้สึกว่า ไม่จำเป็นต้องตั้งใจเรียน เราไปเรียนพิเศษก็ได้ แต่สำหรับผม ผมว่าการเรียนในห้องเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสุดท้ายเวลาเราทำข้อสอบในโรงเรียน คนที่ออกข้อสอบคือคุณครูเราเนี่ยแหละครับ ดังนั้นคนที่จะสามารถสอนเราได้ดีที่สุด ณ ตรงนั้น ก็น่าจะเป็นคุณครูในห้องเรียน และถ้าเราตั้งใจเรียนในห้องเรียน เข้าใจตั้งแต่ในห้องเรียน ไม่ต้องไปเรียนพิเศษ เราสามารถมีเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีกมาก

แผนการอ่านหนังสือด้วยตัวเอง
            สิ่งที่ผมทำคือตั้งใจเรียนในห้องเรียน แล้วก็ทำข้อสอบเก่าเป็นหลัก โดยเริ่มอ่านช่วง ม.5 เทอมปลายครับ ข้อสำคัญคือ เราต้องหาข้อมูลว่าสิ่งที่เราต้อสอบ สิ่งที่เราต้องเจอในอนาคตเนี่ย มันเป็นอะไรบ้าง แล้วก็ดูว่าตรงไหนที่เรายังขาด เราก็ไปเพิ่มเติมในส่วนที่มันขาด ส่วนที่มันดีอยู่แล้วก็ทำมันให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เช่น ข้อสอบ GAT ที่มีทั้งพาร์ทภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผมลองทำแล้ว ครั้งแรกภาษาไทยอาจจะคะแนนไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ส่วนภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี อันนี้เราก็รู้แล้วว่าจุดอ่อนเราคือพาร์ท GAT เชื่อมโยงนะ ก็ไปพยายามทำข้อสอบเก่าให้มากขึ้น ฝึกฝนในจุดอ่อนของเรา ส่วนที่มันดีอยู่แล้ว ก็ทำให้มันดีขึ้นไปอีกครับ

แผนการแอดมิชชั่น
            ตอนแรกตั้งใจเลยครับ ว่าจะสอบตรง แล้วถ้าไม่ติดจะไปต่อในแอดมิชชั่น เพราะเป้าหมายผมค่อนข้างชัดเจน ว่าผมต้องการจะเข้าคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งคณะนี้ ภาควิชานี้ วิธีเข้ามีอยู่ 2 ทาง คือ รับตรงกับแอดมิชชั่น ผมมองทั้ง 2 ทางเลย แล้วก็เตรียมตัวทั้ง 2 อย่าง ซึ่งรับตรงของคณะรัฐศาสตร์ รุ่นผม รับแค่ 10คน ต่อภาควิชาเท่านั้น เราก็คิดว่าโอกาสที่จะพลาดก็สูงนะ เราไม่สามารถมองเฉพาะรับตรงได้ เราก็ต้องเตรียมตัว ว่าถ้ารับตรงไม่ติด จะทำอะไรต่อไป

ทำข้อสอบยังไงให้พลาดน้อยที่สุด
            เทคนิคในการทำข้อสอบนะครับ
            1. ทำข้อสอบเก่าครับ เพื่อจะได้รู้ว่าข้อสอบเป็นลักษณะใด
            2. เตรียมตัวเพื่อทำข้อสอบนั้นๆ เช่น ถ้าเราจะทำข้อสอบภาษาอังกฤษ เราก็ต้องไปเพิ่มความรู้ภาษาอังกฤษ
            3. กลยุทธ์ อันนี้ผมว่าการสอบไม่ใช่แค่เรื่องความรู้อย่างเดียว แต่เป็นเรื่องเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่เข้ามาเสริม ซึ่งถ้าอยากได้ ต้องทำข้อสอบเยอะๆ ซึ่งจะทำให้เรามีไอเดียในการทำข้อสอบนั้น เช่น ข้อสอบ GAT พาร์ทที่เป็นภาษาอังกฤษ รูปแบบค่อนข้างนิ่งมาสักพักแล้ว อย่างตอนผมสอบ ในข้อสอบจะเจอบทสนทนาสั้นๆ ต่อมาจะเจอพาร์ทที่เป็นคำเหมือน คำตรงกันข้าม แล้วก็เจอบทความ Reading ตอนท้าย ,, เราก็จะรู้แล้วว่าข้อสอบจะประกอบด้วยรูปแบบไหนบ้าง เราก็ดูดูหนังสือให้ตรงกับแต่ละส่วน ตรงกับที่ข้อสอบจะออกได้ง่ายขึ้น

บรรยากาศรับตรง
            การรับตรงของมหาวิทยาลัยไม่มีตัวสำรอง สมมติรับ 10 คน มีคนสละสิทธิ์ 5 คน ก็รับแค่ 5 คนครับ ซึ่งอย่างที่บอกว่าไม่มีตัวสำรอง ผมอยากฝากถึงน้องๆ ว่าสำหรับน้องๆ คนไหนที่รู้สึกว่าไม่ได้อยากเข้าคณะนั้นจริงๆ หรือถึงได้ก็สละสิทธิ์ ผมก็ไม่สนับสนุนให้น้องที่มีความคิดอย่างนั้นสมัครสักเท่าไหร่ เพราะรู้สึกว่าถ้าน้องได้ไปแล้ว สุดท้ายน้องรู้แน่ๆ อยู่แล้วว่าไม่เอา ผมว่ามันน่าเสียดายแทนเพื่อนคนอื่นที่เค้าอยากเข้าจริงๆ แล้วเข้าไมได้
            (รุ่นเราสละสิทธิ์บ้างมั้ย) รุ่นผมสละสิทธิ์น้อยครับ  แต่มีบางรุ่น สละสิทธิ์จนเหลือไม่กี่คน ซึ่งมันน่าเสียดายเพราะมันมีคนที่อยากเข้ามาอยู่ตรงนี้เยอะ แต่เค้าเข้ามาไมได้ เพราะไม่มีการเรียกตัวสำรองขึ้นมา
 
ประสบการณ์สัมภาษณ์
            การสัมภาษณ์เป็นกระบวนการที่ทำให้อาจารย์ได้พบปะ ได้รู้จักกับว่าที่นิสิตใหม่ คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามที่เกี่ยวกับภูมิหลังว่า มาจากที่ไหน ทำอะไรมาบ้าง สนใจอะไร ทำไมถึงอยากเข้าคณะนี้ ฯลฯ ไม่ได้เป็นอะไรที่น่ากลัวมาก แต่น้องๆ ที่จะสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ก็จะกังวลว่า จะน่ากลัวมั้ย จะถามในสิ่งที่เราตอบไม่ได้รึเปล่า แต่ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้นครับ อาจารย์ส่วนใหญ่ก็ใจดี เอาตามจริง โอกาสที่จะไม่ผ่านสัมภาษณ์นี่ก็ยากครับ ยกเว้นว่าน้องๆ จไปทำอะไรที่เกินจะอดทน สัมภาษณ์ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล
            (Portfolio จำเป็นมั้ย) เตรียมไปครับ แต่ไม่ได้ใช้ เพราะหมือนการพูดคุย ซักถามมากกว่า  แต่เอาจริงๆ ผมว่า Portfolio เตรียมไปจะดีกว่า นอกจากอุ่นใจแล้ว เวลาถือเข้าไปในห้องสัมภาษณ์แล้วอาจารย์เห็นเนี่ยมันก็เป็นภาพที่ดูดีกว่าการไม่เตรียมอะไรเข้าไปเลย ถึงอาจารย์จะไม่ได้ดูแต่ก็เป็นสิ่งที่แสดงความพร้อมของเรา

เข้ามาได้แล้ว มีซิ่วออกมั้ย?
            ซิ่วออกไปมีบ้างครับแต่ไม่ใช่เพราะเรียนไม่ไหว ส่วนใหญ่จะเพราะสิ่งที่เรียนไม่ใช่สิ่งที่ชอบมากกว่า เพราะถ้าพูดถึงความยาก ทุกคณะยากเหมือนกันหมดครับ ทุกศาสตร์มีความยากของมัน แต่สิ่งที่ทำให้เราผ่านพ้นความยากของมันไปได้คือความชอบมากกว่า เพราะถ้าเราชอบ ต่อให้มันยากแค่ไหนเราก็จะพร้อมที่จะสู้ต่อไปครับ

เจ้าของฉายา "A ช้วนตลอดกาล"
*A ช้วน มาจาก A ชัวร์ + A ล้วน ซึ่งพี่อิทธิ์ได้ฉายานี้เพราะจนถึงตอนนี้ ปี 4 แล้วก็ยัง 4.00 
            ครับ ก็ยัง A ช้วนอยู่ครับ ผมว่ามันมีปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันครับ ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคงเป็นเรื่องโชคชะตาด้วย  ยอมรับเลยว่ามันเกี่ยวข้อง เพราะบางทีดูข้อสอบไป ตรง ถ้าดูข้อสอบไปไม่ตรงก็คงไม่ได้ครับ ปัจจัยหนึ่งที่ให้คือ คงเป็นโชคช่วยด้วย
            แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยแน่ๆ กว่านั้นคือ การเข้าห้องเรียน ผมเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายกับการเข้าห้องเรียนครับ ช่วงมัธยมฯ ผมตั้งใจเข้าห้องเรียน ช่วงมหาวิทยาลัยก็เหมือนกันครับ เรียกว่าแทบไม่เคยขาดเรียน ยกเว้นจำเป็นจริงๆ มีกิจกรรม หรือมีธุระอะไร ก็มีขาดบ้างครับ แต่ก็จะกลับมาตามเลคเชอร์ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็แทบไม่เคยขาดเรียนเลย เพราะสิ่งที่ได้จากห้องเรียนไม่ใช่ความรู้เท่านั้น เพราะไม่งั้นก็ไปอ่านหนังสือเองได้ ในด้านความรู้มันอาจจะใกล้เคียงแต่สิ่งที่ไม่ได้แน่ๆ คือ สิ่งที่เราจะได้คือ เราจะรู้ว่าอาจารย์ให้ความสำคัญกับอะไรในเนื้อหานั้นๆ พอเรารู้ว่าอะไรสำคัญเนี่ย เวลาเราตอบข้อสอบหรือทำงาน เราต้องทำให้อาจารย์เห็นว่าเราเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์เน้นย้ำครับ ก็เป็นเทคนิคหนึ่งในการเรียน

ดราม่าในชีวิตมหาลัย
            มันเป็นเรื่องความเหนื่อยมากกว่าครับ ไม่เชิงดราม่า เป็นภาระงานที่หนักหน่วง คือ เราเหนื่อยสุดช่วงปี 3 ที่ผมรับหน้าที่เป็นประธานฝ่ายวิชาการ ขององค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬา ฯ เพราะเราก็มีภาระ มีงานต้องทำ และมีเรื่องเรียนที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้ตลอดทั้งปีเราต้องบริหารเวลาเพื่อทำงานทั้งเรียนทั้งกิจกรรมไปด้วยกัน ก็ต้องแลกกับเวลาที่จะมีให้กับเพื่อน เวลาที่จะมีให้กับครอบครัว เวลาที่จะนอน ฯลฯ เรียกว่านอนน้อยไปเลยครับ ตี 2 ตี 3 นี่คือปกติ แต่ก็นับเป็นความทรงจำที่ดีในช่วงมหาวิทยาลัยครับ

เรื่องที่ยากสุดสำหรับชีวิตมหาวิทยาลัย
            ผมมองว่าความเป็นอิสระในชีวิตมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่ยากที่สุดครับ เพราะเรามักคิดกันว่า อิสระแล้วก็ดีไม่ใช่เหรอ แต่ผมว่าในช่วงมัธยมฯ เรามีกรอบมีกฎเกณฑ์อะไรเยอะแยะไปหมด แต่พอเราเข้ามหาวิทยาลัย เราสามารถเลือกทำได้ ทั้งเลือกวิชาเรียน เลือกกิจกรรม ทำให้มีเวลาว่างได้มากกว่าเดิมเยอะ เราก็มีอิสรภาพ ความเป็นอิสระ ซึ่งเป็นดาบสองคมนะครับ ถ้าใช้ไปในทางที่ดี มันก็จะดี แต่ถ้าใช้มันไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์กับตัวเองมากนัก มันก็อาจจะไม่ได้ส่งผลดีกับเราในท้ายที่สุด
            สิ่งที่สำคัญคือ ในความอิสระที่มี เราต้องรู้จักควบคุมตัวเอง ต้องมีความรับผิดชอบกับตัวเอง เพราะตอนนี้ไม่มีใครมาคอยบอกว่าเราต้องทำอะไรบ้าง ต้องเข้าเรียนอะไรบ้าง ไม่มีใครมากำหนดอะไรทั้งนั้นแล้ว

ฝากถึงน้องๆ สักหน่อย
            ขอฝากเป็นข้อๆ นะครับ
            1. อยากให้น้องค้นหาตัวเองให้เจอตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าน้องอยากทำอะไรเพราะการมีฝัน มีเป้าหมายสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราเดินไปอย่างมั่นคง ไม่เดินไปแบบงงๆ
            2. หาข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายหรือความฝันของเรา ต้องใช้อะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง 
            3. หลังจากมีฝัน รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้างแล้ว ต้องรู้ว่าเรามีความสามารถอย่างไรบ้าง เพราะความฝันเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ความสามารถของเราก็เป็นอีกเรื่องนึง ซึ่งมันดีมากถ้าความฝันกับความสามารถมันตรงกัน แต่ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกคนใช่มั้ยครับ บางทีความฝันเป็นแบบหนึ่ง ความสามารถเป็นอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นเราก็ต้องคิดแล้วว่า ถ้าความสามารถกับความฝันไม่ตรงกัน เราต้องทำอย่างไร สิ่งที่ทำได้คือ ถ้าเรารู้ว่าเรามีจุดอ่อน มีข้อด้อยอะไรที่จะทำให้เราไปไม่ถึงฝันของเรา เราก็ต้องพยายามพัฒนาจุดนั้น ส่วนที่ดีอยู่แล้วก็ทำให้มันดียิ่งขึ้นอีก ,,, ทั้งสามข้อนี้มันสัมพันธ์กันและสำคัญมากๆครับ
            4. การมีแผนสำรอง ก็สำคัญไม่แพ้กันครับ เพราะถึงเราจะมีความฝันแล้ว รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้ว และรู้ว่าต้องพัฒนาตัวเองอย่างไรแล้ว แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้แน่ๆ เพราะเราจะมั่นใจได้ต่อเมื่อมหาวิทยาลัยตอบรับเราเท่านั้น แต่ตราบใดที่ไม่ถึงจุดนั้น เราก็ไม่สามารถมั่นใจได้ แผนสำรองจึงสำคัญเสมอ สมมติว่าถ้าเราไม่ได้ เราจะทำอะไรต่อ
            สุดท้าย ก็ฝากให้น้องๆ ทำให้เต็มที่ อยากให้ทำเต็มที่กับทุกอย่างไม่เฉพาะการสอบเท่านั้นนะครับ แต่กับทุกๆ อย่างในชีวิต เพราะเมื่อเราทำเต็มที่ไปแล้ว สุดท้ายถ้าเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราได้ก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ อย่างน้อยเราก็ไม่เสียใจว่าอย่างน้อย เพราะเราก็ได้ทำเต็มที่ ดีที่สุดแล้ว


            นี่แหละค่ะ มุมมองของพี่อิทธิ์ เทพตั้งแต่การแอดมิชชั่น ยันตอนเรียนเลย ,, พี่เมษ์ว่าสิ่งที่น้องจะได้แน่ๆ สำหรับวันนี้คือ รู้ว่าต้องทำอะไร เพื่อฝันตัวเองบ้าง แถมพี่อิทธิ์ยังบอกเคล็ดลับเก็บ Aในมหาวิทยาลัยครบถ้วนเลยด้วย เชื่อว่าใครที่ทำตามก็สามารถเก็บ A ตามพี่อิทธิ์ได้ไม่ยากเลยนะคะ แถมน้องๆ น่าจะได้ข้อคิด เทคนิคไปเต็มอิ่มเลยจริงมั้ยล่ะ
            พี่เมษ์ก็หวังว่า Admission Idol สุดยอดบุคคลที่เป็นไอดอลในเรื่องแอดมิชชั่นของเราในสัปดาห์นี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ ฮึดสู้ เติมไฟให้ตัวเองนะคะ ,,, แล้วกลับมาเจอกันได้ใหม่สัปดาห์หน้า มาดูกันสิว่า จะเป็นใคร และเป้นไอดอลแบบไหน ติดตามอ่านกันได้ที่ Dek-D เท่านั้น
 
พี่เมษ์
พี่เมษ์ - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายการศึกษา

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

DriveMeCrazy Member 5 มี.ค. 58 15:24 น. 16

อยากจะพัฒนาแบบนี้ แต่การเรียนในห้องไม่ได้อำนวยให้เท่าไหร่
จะว่าโทษเพื่อนอย่างเดียวก็ไม่ได้นะ เราเองพอนั่งในห้องเรียนแล้วเพื่อนพูดมาก
เราก็ไม่อยากเรียนไปด้วย ทำอย่างไรดี? ไม่ให้รู้สึกว่าท้อ ที่จะพยายามปั้นฝันของตัวเอง
ไม่อยากฝากความฝันของตัวเองไว้กับเพื่อนร่วมห้องที่ดูจะไม่ใส่ใจใครเลย นอกจากตัวเอง
(เพื่อนเรียนพิเศษไง แต่ว่าเรา ไม่ได้เรียน )
พยายามไม่สร้างข้ออ้างใดๆ ขึ้นมาขัดขวางการพัฒนาของตัวเอง
แต่ก็บอกไม่ถูก ... ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี เอ่อ.. 
 

0
กำลังโหลด
เพชร 3 มี.ค. 58 17:51 น. 9
พี่เทพนี่นาา(ตั้งฉายาเอาเอง) เจอในงาน เด็กดีอะไรสักอย่างอ่ะ เพื่อนไปนั่งเม้ามอยกับพี่อีกคน แล้วบอกว่าพี่คนนี้โคตรโหด เทพมาก แกท290+ ยังจำได้อยู่เลยย แต่ไม่คิดว่าจะเทพขนาดนี้นะเนี่ย555 ตัวจริงเท่ด้วยสูงบุคลิกดี ฮุๆๆ-.,-
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ARTSCU 3 มี.ค. 58 14:47 น. 7
ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ไม่ได้เรียนพิเศษ แต่เข้า อักษร จุฬาฯ (รับตรง)ได้ ค่ะ คือสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักตัวเอง ตั้งเป้าหมาย แล้ววางแผน เราก็เป็นคนหนึ่งที่ตั้งเป้าตั้งแต่ ม.4 และพยายามมาตลอด คือปัญหาเด็กไทยคือ หลายคนรู้ว่าเป้าหมายคืออะไรแต่ไม่พยายาม มันก็จบ
0
กำลังโหลด

26 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
อยากเป็นเมียพี่อิทธิ์ 3 มี.ค. 58 10:57 น. 2
หนูขออานิสงส์จากพี่ ส่วนบุญส่วนกุศลจากพี่ได้ป่ะคะ หนูนี่เทอมแรกก็กิน Fish กิน Dog ไป 3-4 ตัวละ #ร้องไห้หนักมาก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
blablabla 3 มี.ค. 58 13:57 น. 6
พี่แกไม่ได้เรียน ศิลป์-เยอรมัน แต่ไมพี่แกถึงเลือกสอบ Patเยอรมันงะ แถมได้คะแนนตั้ง 270 ทั้งๆที่ไม่เรียนพิเศษด้านภาษาเลย
3
กำลังโหลด
ARTSCU 3 มี.ค. 58 14:47 น. 7
ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ไม่ได้เรียนพิเศษ แต่เข้า อักษร จุฬาฯ (รับตรง)ได้ ค่ะ คือสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักตัวเอง ตั้งเป้าหมาย แล้ววางแผน เราก็เป็นคนหนึ่งที่ตั้งเป้าตั้งแต่ ม.4 และพยายามมาตลอด คือปัญหาเด็กไทยคือ หลายคนรู้ว่าเป้าหมายคืออะไรแต่ไม่พยายาม มันก็จบ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เพชร 3 มี.ค. 58 17:51 น. 9
พี่เทพนี่นาา(ตั้งฉายาเอาเอง) เจอในงาน เด็กดีอะไรสักอย่างอ่ะ เพื่อนไปนั่งเม้ามอยกับพี่อีกคน แล้วบอกว่าพี่คนนี้โคตรโหด เทพมาก แกท290+ ยังจำได้อยู่เลยย แต่ไม่คิดว่าจะเทพขนาดนี้นะเนี่ย555 ตัวจริงเท่ด้วยสูงบุคลิกดี ฮุๆๆ-.,-
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
maychanok Member 3 มี.ค. 58 19:25 น. 11

พี่เก่งมาก สุดยอด นับถือพี่มากๆ ไม่เคยอ่านบทความพี่คนไหนแล้วรู้สึกนับถือเท่าพี่มาก่อนเลยจริงๆค่ะ 

0
กำลังโหลด
heueine 3 มี.ค. 58 21:27 น. 12
คือจะบอกว่าอยากเรียนคณะ สาขาภาษาเดียวกับพี่เขาเลยค่ะฮืออออออ ปรากฎว่าคะแนนแพทเยอรมันออกมาละด๋อกด๋อยมากTT
0
กำลังโหลด
Jane Halfblood Member 3 มี.ค. 58 23:26 น. 13

เรียนศิลป์คำนวณเหมือนกันค่ะ ตอนนี้กำลังจะขึ้นม.6 อยากเข้าครุฯจุฬาหรือไม่ก็อักษรฯ(กำลังตัดสินใจ) กังวลเรื่องสอบGATPATอ่ะค่ะ แพทภาษายังไม่รู็จะสอบวิชาอะไรเลย อยากถามพี่นะคะว่าพี่เรียนศิลป์คำนวณแล้วสอบแพทเยอรมันได้ไงคะ คะแนนสูงด้วย พี่ไปเรียนภาษาเยอรมันมาหรือเปล่า รบกวนแนะนำหน่อยค่ะเสียใจ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

ม้าไม้ 4 มี.ค. 58 21:55 น. 14-1
มีแนวโน้มว่าจริงอยู่นะ เรารู้จักพี่เค้าทั้งสองคน แต่ไม่สนิท เมื่อวานก็เพิ่งเห็นพี่เค้าอยู่ด้วยกันสองคน ถ้าจริงนี่ไม่รู้จะอิจฉาใครดี พี่เค้าป๊อปทั้งคู่เลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
DriveMeCrazy Member 5 มี.ค. 58 15:24 น. 16

อยากจะพัฒนาแบบนี้ แต่การเรียนในห้องไม่ได้อำนวยให้เท่าไหร่
จะว่าโทษเพื่อนอย่างเดียวก็ไม่ได้นะ เราเองพอนั่งในห้องเรียนแล้วเพื่อนพูดมาก
เราก็ไม่อยากเรียนไปด้วย ทำอย่างไรดี? ไม่ให้รู้สึกว่าท้อ ที่จะพยายามปั้นฝันของตัวเอง
ไม่อยากฝากความฝันของตัวเองไว้กับเพื่อนร่วมห้องที่ดูจะไม่ใส่ใจใครเลย นอกจากตัวเอง
(เพื่อนเรียนพิเศษไง แต่ว่าเรา ไม่ได้เรียน )
พยายามไม่สร้างข้ออ้างใดๆ ขึ้นมาขัดขวางการพัฒนาของตัวเอง
แต่ก็บอกไม่ถูก ... ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี เอ่อ.. 
 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
Koi 15 มี.ค. 58 19:25 น. 20
ถ้าเก่งจริง ก็ไม่ต้องเป็นเด็กนักเรียนแลกเปลี่ยนที่เยอรมันดิ เรียนด้วยตัวเองดิ จะได้พิสูจน์ว่าเก่งของจริง
1
กำลังโหลด
กำลังโหลด