ตามติด 1 วันชีวิตการทำงาน "เอกอัครราชทูต" กับเส้นทางสู่ตำแหน่งสูงทางการทูตที่หลายคนใฝ่ฝัน

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เจอกับ พี่เป้ และสกู๊ปพิเศษ A day in life ที่จะพาน้องๆ ไปตามติดชีวิตการทำงาน 1 วันเต็มๆ ของอาชีพในฝัน^^ สำหรับอาชีพที่นำมาฝากวันนี้ เชื่อว่าหลายคนต้องร้อง โอ้โห ไม่ก็ หูววววว แบบลากยาวมากๆ ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็ต้องบอกว่าเป็นอาชีพที่ดูมีเกียรติและมีภาพลักษณ์ที่สูงส่งมากๆ เลยค่ะ

หากใครจำกันได้ A day in life ตอนแรก เราพาน้องๆ ไปสัมผัสอาชีพ "นักการทูต" ซึ่งอาชีพนี้คือจุดเริ่มต้นสู่การเป็น "เอกอัครราชทูต" ... ใช่แล้วค่ะ วันนี้จะขอพาน้องๆ ไปตามติดชีวิตการทำงานของอาชีพหรือตำแหน่ง "เอกอัครราชทูต" ความฝันสูงสุดของเด็กไทยหลายๆ คน แต่บอกก่อนนะคะว่า อาชีพนี้คือต้องออกไปประจำที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ และเราไม่สามารถบินตามไปถ่ายได้จริง จึงเน้นเป็นการสัมภาษณ์ในมุมต่างๆ ที่น่าสนใจ รับรองว่าได้ความรู้และสนุกแน่นอน โดยบุคคลที่ให้เกียรติมาให้สัมภาษณ์กับทางเด็กดีดอทคอมวันนี้ เป็นอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำโปรตุเกสที่เพิ่งเกษียณและเดินทางกลับไทย ซึ่งจากนี้จะขออนุญาตเรียกว่า "ท่านทูต" ค่ะ

ชาคร  สุชีวะ

อดีต : เอกอัครราชทูตไทยประจำ
กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
ปริญญาตรี :คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาโท : University of Miami
สาขากฎหมายระหว่างประเทศ

ท่านทูตเริ่มเล่าว่า ในวัยเด็กนั้นเติบโตมาในครอบครัวสายกฎหมาย คือมีคุณพ่อเป็นผู้พิพากษา ตอนเด็กๆ เลยคิดว่า พอโตขึ้นก็คงทำงานแบบเดียวกับคุณพ่อ จึงตัดสินใจเรียนที่คณะนิติศาสตร์ แต่เมื่อได้เข้ามาทำความรู้จักงานสายกฎหมายมากขึ้น ก็รู้สึกว่าไม่น่าเหมาะกับตัวเอง เลยลองค้นคว้าหาข้อมูลงานด้านสายนักการทูต สุดท้ายก็สอบเข้ามาทำงานที่กระทรวงต่างประเทศ ในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ (เลขานุการตรี) หากเทียบกับระบบ C ในอดีตคือ C4

ในกระทรวงต่างประเทศนั้นมีหลายกรมหลายกอง เช่น กรมยุโรป กรมพิธีการทูต กรมอาเซียน กรมองค์การระหว่างประเทศ ใครจะได้อยู่กรมไหนกองไหน ก็จะพิจารณาจากความเหมาะสมและมีการเวียนกันไปเพื่อให้ได้ลองทำงานหลายๆ ด้าน เนื่องจากท่านทูตเรียนจบด้านกฎหมาย จึงได้มาอยู่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย พอทำงานได้สักพัก ก็ขอลาไปเรียนปริญญาโทต่อที่สหรัฐอเมริกา จากนั้นก็กลับมาทำงานที่กระทรวงต่างประเทศตามเดิม

และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักการทูตว่า เมื่อทำงานในไทยครบ 4 ปี จะต้องมีการออกไปประจำในต่างประเทศหรือที่เรียกว่า ออกโพสท์ โดยประเทศแรกที่ท่านทูตได้ไปคือ ประเทศญี่ปุ่น ในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ(เลขานุการโท) รือ C5 ซึ่งระหว่างนั้นก็ได้ทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้เรียนภาษาญี่ปุ่นควบคู่ไปด้วย ทำให้ท่านทูตสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว ส่วนหน้าที่ในสถานทูตไทยประจำญี่ปุ่นนั้น ได้ทำหน้าที่เป็น "เลขาทูต" คอยตามเอกอัครราชทูตไทยในญี่ปุ่นออกไปปฏิบัติงานตามที่ต่างๆ ตรวจแฟ้มเอกสาร แปลเอกสาร ตอบจดหมาย หรือช่วยเป็นล่ามให้

เมื่ออยู่ญี่ปุ่นครบ 4 ปี ก็กลับมาปฏิบัติงานที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศเช่นเดิม และก็เช่นเคยค่ะ กลับมาทำงานที่ไทยได้อีก 4 ปี ก็ได้ออกไปประจำที่ ประเทศตุรกี อ้อ ต้องบอกน้องๆ ว่าสำหรับประเทศที่จะได้ไปนั้น ปกติจะมีลิสท์มาว่ามีประเทศไหนบ้าง ในบางครั้งเราอาจจะเลือกได้(แต่จะได้หรือไม่ได้ ต้องลุ้นอีกที) หรือทางผู้ใหญ่ก็อาจจะพิจารณาจากความเหมาะสมให้ค่ะ

โดยก่อนเดินทางไปตุรกีนั้น จะมีการสอบเพื่อเลื่อนขั้นจากตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ(เลขานุการโท) ไปยัง นักการทูตชำนาญการ(เลขานุการเอก) หรือ C6 การสอบก็จะมีข้อสอบมาให้ทำ ทั้งเรื่องกฎหมาย การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ เพื่อวัดความรู้ในการเลื่อนขั้น และแน่นอนค่ะว่าไม่ใช่ทุกคนที่สอบผ่าน หลายคนสอบแล้วสอบอีกแต่ยังไม่ผ่านก็มี จึงหมายความว่า ไม่ใช่นักการทูตทุกคนที่จะได้เลื่อนตำแหน่งจนไปถึงเอกอัครราชทูตเสมอไป บางคนสอบไม่ผ่าน หรือบางคนลาออกกลางคันไปทำงานอื่นก็มีค่ะ

เมื่อสอบผ่าน ก็ได้เลื่อนเป็นนักการทูตชำนาญการ(เลขานุการเอก)อยู่ที่สถานทูตไทย ประจำตุรกี ในสมัยนั้นมีจำนวนคนไทยในตุรกีไม่มาก เนื้อหางานส่วนใหญ่จึงไม่ใช่งานดูแลคนไทย แต่เป็นงานด้านนโยบาย เน้นเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยและตุรกี ท่านทูตเล่าว่า ตอนแรกๆ ที่ไปอยู่ที่ตุรกีนั้นต้องปรับตัวเป็นการใหญ่ เพราะเป็นประเทศที่มีวิถีความเป็นอยู่ที่ต่างจากบ้านเรามาก เช่น อาหารที่ไม่คุ้นเคย(ไม่มีเนื้อหมู) การแต่งกายที่จะใส่กางเกงขาสั้นไม่ได้ จึงต้องใช้เวลาปรับตัวพอสมควรจนคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของที่นั่น

จากนั้นก็กลับมาไทยเช่นเดิมค่ะ ท่านทูตบอกว่า นี่แหละค่ะคือเสน่ห์ของงานด้านการทูต เหมาะกับคนที่ไม่ชอบความจำเจ ชอบเปิดหูเปิดตา เพราะได้เดินทางหรือเปลี่ยนที่ทำงานอยู่บ่อยๆ คราวนี้เมื่อกลับมาไทย ท่านทูตได้เลื่อนขั้นเป็น ที่ปรึกษา (Counsellor) หรือ C7 ทำงานอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศอีกพักใหญ่ ก็ออกไปประจำการต่างประเทศอีกเช่นเคย

โดยครั้งต่อมา ได้ไปประจำที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในตำแหน่ง อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister-Counsellor) หรือ C8 ซึ่งตำแหน่งนี้บอกเลยว่า หากเป็นสถานทูตเล็กอย่างที่เนเธอร์แลนด์ ตำแหน่งนี้เป็นเหมือนมือขวาหรือเบอร์สองรองจากเอกอัครราชทูตเลยค่ะ (แต่หากเป็นสถานทูตใหญ่ เบอร์สองจะเป็นตำแหน่งอัครราชทูต หรือ Minister) หน้าที่คือคอยดูแลงานทั้งหมดก่อนถึงมือเอกอัครราชทูต หากเอกอัครราชทูตไม่อยู่ ก็จะมีอำนาจสั่งการแทน โดยทำงานอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ 4 ปี ก็กลับไทยมาดำรงตำแหน่งเป็น รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ดูแลงานต่างๆ ก่อนถืงมือท่านอธิบดี ออกไปประชุมในสภา ชี้แจงเรื่องต่างๆ แก่รัฐมนตรี เรียกว่าเป็นตำแหน่งที่สูงมากทีเดียวค่ะ

จากนั้นได้บินไปทำงานเป็น อัครราชทูต (Minister) หรือ C9 ที่สถานทูตไทยประจำ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และสุดท้ายได้เป็น เอกอัครราชทูต (Ambassador) หรือ C10 ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกสค่ะ

ที่สถานทูตไทยประจำเมืองลิสบอน โปรตุเกส มีเจ้าหน้าที่คนไทย 4 ท่าน นอกนั้นจะเป็น Local Staff หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เป็นคนโปรตุเกส สำหรับหน้าที่ 1 วันของการเป็นเอกอัครราชทูต จะแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือ

งานกงสุล ดูแลความเรียบร้อยของคนไทยในโปรตุเกสซึ่งมีประมาณ 700 คน เช่น ทำหนังสือเดินทาง มีคนไทยมาร้องเรียนว่าถูกนายจ้างโปรตุเกสโกง ก็ต้องคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือ

งานนโยบาย คือการนำนโยบายที่รัฐบาลไทยกำหนดมาปฏิบัติในต่างประเทศ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เช่น หากมีปัญหาการเมืองที่ไทย ก็ต้องเข้าไปชี้แจงกับทางรัฐบาลโปรตุเกสว่าเกิดอะไรขึ้น(เพื่อให้เขารักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา)

นอกจากนี้ก็มีงานด้านพิธีการทูต เช่น การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เลี้ยงรองรับแขก ระดับต่างๆ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและสร้างมิตรภาพนั่นเอง สำหรับงานใหญ่ที่เคยรับผิดชอบ ท่านทูตขอยกให้งานฉลองความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส 500 ปี หากจำกันได้ โปรตุเกสคือยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นงานนี้จึงจัดอย่างยิ่งใหญ่มาก รัฐบาลไทยได้มาสร้างศาลาไทยให้รัฐบาลโปรตุเกส สมเด็จพระเทพฯ ก็ได้ เสด็จมาด้วย ท่านทูตได้จัดการถวายการต้อนรับและคุมกิจกรรมต่างๆ ทุกอย่าง จึงเป็นงานที่ภูมิใจมากและมีความสุขทุกครั้งที่ได้นึกถึงเลยค่ะ

คำถามหนึ่งที่ได้ถามท่านทูตไปและได้คำตอบที่่น่าสนใจกลับมาคือ "เวลาคนอื่นรู้ว่า เป็นถึงเอกอัครราชทูต คนส่วนมากเกรงขามหรือไม่?" ท่านทูตเล่าว่า หากเป็นที่ไทยนั้น คนส่วนมากจะเกรงขามมากและปฏิบัติต่อเราแบบยกย่องมากทีเดียว แต่ที่ต่างประเทศนั้น ไม่เหมือนที่ไทย เพราะธรรมเนียมปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่ด้านการทูตที่ไทยปฏิบัติและที่ต่างประเทศปฏิบัตินั้นค่อนข้างแตกต่างกันมากค่ะ ที่ไทยให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่การทูต ของต่างประเทศที่เดินทางมายังเมืองไทยมากๆ ดูแลอย่างดี มีรถรับส่ง มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอารักขา หรือหากเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ ที่จะขอลาตำแหน่งกลับประเทศ ก็สามารถขอเข้าเฝ้าเพื่อลาตำแหน่งกับพระบรมวงศานุวงษ์ได้

แต่ที่เมืองนอกไม่ได้เป็นแบบนี้ เพราะในหลายๆ ประเทศนั้น มองว่าเจ้าหน้าที่ด้านการทูตก็เป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไป ไม่ได้สูงส่งกว่าตำแหน่งราชการอื่นๆ การที่ท่านทูตจะขอเข้าพบกับบุคคลระดับสูงของประเทศนั้นๆ เป็นเรื่องไม่ง่าย ต้องติดต่อ รอคิวตามลำดับ เวลาเกิดปัญหาอะไร ก็ต้องดูแลจัดการเอง ไม่สามารถโทรสั่งให้ใครมาทำแทนได้ พูดง่ายๆ คือบางประเทศไม่ได้แคร์ว่าเราเป็นเจ้าหน้าที่การทูตระดับสูง ก็มองว่าเราเป็นคนทั่วไป

ท่านทูตกล่าวว่า เด็กๆ จำนวนไม่น้อยที่เห็นภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางด้านการทูตผ่านสื่อต่างๆ แล้วรู้สึกประทับใจ อยากจะก้าวมาถึงตรงนี้ เพราะอาชีพนี้เหมือนเป็นตัวแทนของประเทศเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระดับนานาชาติ ยิ่งตำแหน่งเอกอัครราชทูตนั้นเปรียบเสมือนตัวแทนของรัฐบาลและเป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ดังนั้นหากเด็กๆ คนไหนสนใจมางานสายนี้ แนะนำว่าให้หัดอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเพื่อฝึกภาษา ฟังข่าวภาษา อังกฤษบ่อยๆ เพราะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับงานนักการทูต ยิ่งใครได้ภาษาที่ 3 ด้วยแล้วยิ่งดีใหญ่ (สำหรับปัจจุบันแนะนำเป็นภาษาจีนและอาหรับ)

มีความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในระดับดี เข้าใจรากเหง้าและวัฒนธรรมของตนเอง หากเราไม่เข้าใจความเป็นมาของเรา ก็คงเป็นการยากที่จะไปเผยแพร่ให้ชาติอื่นเข้าใจได้

ติดตามข่าวสารระดับนานาชาติสม่ำเสมอ ไม่รู้ไม่ได้ (ท่านทูตเล่าว่า ตื่นเช้ามา ต้องเปิด CNN และ BBC ก่อนเสมอ)

สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ เพราะต้องออกไปประจำประเทศที่เราไม่คุ้นเคย

มีความอดทน โดยเฉพาะกับคนหลากหลายประเภท เพราะหากยิ่งทำงานไปถึงระดับสูง ยิ่งต้องดูแลควบคุมคนในบังคับให้ทำงานออกมาได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

มีไหวพริบ แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที เช่น หากรถขบวนท่านทูตประเทศนี้พังกลางทาง จะทำยังไงดี

มี Service Mind และใจรักการบริการ เช่น มีบุคคลสำคัญจากไทยเดินทางมาเยือนยังประเทศที่ประจำอยู่ ก็ต้องเข้ามาดูแลให้ความช่วยเหลือ แม้แต่ช่วยยกกระเป๋าก็เป็นงานที่ต้องยินดีที่จะทำ

เลขานุการตรี หรือ C4
(สอบผ่านเข้ามาทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ)

เลขานุการโท หรือ C5 (ญี่ปุ่น)

เลขานุการเอก หรือ C6 (ตุรกี)

ที่ปรึกษา หรือ C7
(กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย)

อัครราชทูตที่ปรึกษา หรือ C8 (เนเธอร์แลนด์)

อัครราชทูต หรือ C9 (ฟิลิปปินส์)

เอกอัครราชทูต หรือ C10 (โปรตุเกส)

อ่านบทความนี้จบ น้องๆ คงพอมองเห็นภาพแล้วว่า การจะก้าวไปถึงตำแหน่ง “เอกอัครราชทูต” ต้องใช้ทั้งความสามารถและเวลา (ไม่ใช่เรียนจบแล้วเป็นได้เลย) หากใครสนใจงานสายนี้จริงๆ ก็อย่าลืมทำตามคำแนะนำที่ท่านทูตชาครได้บอกไว้นะคะ สุดท้ายนี้ เว็บไซต์เด็กดีดอทคอมต้องขอขอบพระคุณท่านทูตชาคร สุชีวะ ที่ให้โอกาส และสละเวลาให้ทางทีมงานได้เข้าพบพูดคุยและสัมภาษณ์ด้วยค่ะ ส่วน A Day in Life ตอนต่อไปจะพาไปตามติดอาชีพอะไร รอติดตามได้เลยค่ะ^^

ของรางวัล : หนังสือ English ONET เสร็จเราแน่! โดยสำนักพิมพ์พราว
อย่าลืมใส่อีเมลเพื่อรอการติดต่อกลับด้วยนะคะ

ขอขอบคุณภาพประกอบส่วนหนึ่งจาก
https://www.facebook.com/rte.lisbon/
http://www.thaiembassy.org/lisbon/th/home

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ThanatchTK Member 27 พ.ย. 58 17:16 น. 1

รู้สึกว่ากว่าจะได้เป็นเอกอัครราชทูตนี่เป็นอะไรที่คงยากลำบากจริงๆ "ต้องอดทน โดยเฉพาะกับคนหลากหลายประเภท" ประโยคนี้เด็ด!

โกรธ

0
กำลังโหลด
Jijie_6237 Member 27 พ.ย. 58 19:47 น. 4

รู้สึกว่า อัครราชทูต ต้องทำงานที่เข้ากบคนที่หลากหลายและจำเป็นต้องใช้ภาษาที่มากมายและไม่มีเวลาที่จะใช้ชีวิตกับครอบครัว อาชีพนี้ เปรียบเสมือนอาชีพที่ต้องดูเเลคนในประเทศของเราที่ไปทำงาน หรือ เรียนและอื่นๆ ที่ประเทศอื่นๆ อาชีพนี้ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่ท้าทายและ ลุยๆ  แต่อาชีพนี้ก็มีเสน่ห์มากค่ะ

ji-ji29@hotmail.com หรือ
kiki.19TT@gmail.com ค่ะ

0
กำลังโหลด
หูยาว Member 27 พ.ย. 58 19:31 น. 3

​รู้สึกมีมีแรงผลักดันที่จะเดินตามความฝันของตัวเอง ได้รู้มุมมองใหม่ๆของอาชีพนักการทูต ที่เป็นเสมือนแรงกระตุ้นให้เราสู้ต่อไป เพราะอาชีพนี้ไม่เพียงแค่เลี้ยงชีพได้เท่านั้น แต่หน้าที่อันยิ่งใหญ่และมีเกียรติคือ การทำเพื่อประเทศชาติ รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน นับว่าเป็นอาชีพที่สำคัญกับบ้านเมืองเป็นอย่างมาก อีกทั้งการที่เราได้รู้ว่ากว่าที่ท่านจะมาเป็นเอกอัครราชทูตได้จนถึงทุกวันนี้ ท่านต้องเรียนรู้ ปรับตัว และฝ่าฝันอุปสรรคมากมาย ทำให้เรามองปัญหาที่เจอทุกวันนี้เป็นเรื่องเล็กๆ เตรียมพร้อมกับสิ่งที่จะต้องเจอในอนาคต และสู้ต่อไปเพื่ออนาคตและความฝันของตัวเอง

สู้สู้

Email: Bookadisorn@gmail.com

0
กำลังโหลด
ployofficially Member 27 พ.ย. 58 23:56 น. 5

เห็นได้ชัดว่ากว่าจะได้มาเป็นเอกอัครราชทูตจะต้องผ่านการแข่งขันที่มากมายและต้องมีความอดทนและมีใจรักจริงๆถึงจะทำได้มากขนาดนี้ และอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เป็นเกียรติแก่ประเทศเพราะเราจะต้องคอยดูแลคนไทยในแดนต่างๆ แล้วยังต้องคอยกระชับความสัมพันธ์กับประเทศนั้นๆเสมอ ถือว่าเป็นอาชีพที่เป็นความฝันของใครหลายๆคนรวมถึงตัวของเราอีกด้วย เพราะเป็นอาชีพที่ต้องเดินทางได้พบเจอคนใหม่ๆ ได้ปรับตัว ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศซึ่งเป็นอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวเยี่ยม

0
กำลังโหลด
วารีรัตน์ 28 พ.ย. 58 04:42 น. 6
ที่เนเธอร์แลนด์ ท่านทูตน่าจะไปประจำการที่กรุงเฮก ไม่ใช่อัมสเตอร์ดัมนะคะ เราไม่มีสถานทูตที่อัมสเตอร์ดัมค่ะ
1
กำลังโหลด

25 ความคิดเห็น

ThanatchTK Member 27 พ.ย. 58 17:16 น. 1

รู้สึกว่ากว่าจะได้เป็นเอกอัครราชทูตนี่เป็นอะไรที่คงยากลำบากจริงๆ "ต้องอดทน โดยเฉพาะกับคนหลากหลายประเภท" ประโยคนี้เด็ด!

โกรธ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
หูยาว Member 27 พ.ย. 58 19:31 น. 3

​รู้สึกมีมีแรงผลักดันที่จะเดินตามความฝันของตัวเอง ได้รู้มุมมองใหม่ๆของอาชีพนักการทูต ที่เป็นเสมือนแรงกระตุ้นให้เราสู้ต่อไป เพราะอาชีพนี้ไม่เพียงแค่เลี้ยงชีพได้เท่านั้น แต่หน้าที่อันยิ่งใหญ่และมีเกียรติคือ การทำเพื่อประเทศชาติ รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน นับว่าเป็นอาชีพที่สำคัญกับบ้านเมืองเป็นอย่างมาก อีกทั้งการที่เราได้รู้ว่ากว่าที่ท่านจะมาเป็นเอกอัครราชทูตได้จนถึงทุกวันนี้ ท่านต้องเรียนรู้ ปรับตัว และฝ่าฝันอุปสรรคมากมาย ทำให้เรามองปัญหาที่เจอทุกวันนี้เป็นเรื่องเล็กๆ เตรียมพร้อมกับสิ่งที่จะต้องเจอในอนาคต และสู้ต่อไปเพื่ออนาคตและความฝันของตัวเอง

สู้สู้

Email: Bookadisorn@gmail.com

0
กำลังโหลด
Jijie_6237 Member 27 พ.ย. 58 19:47 น. 4

รู้สึกว่า อัครราชทูต ต้องทำงานที่เข้ากบคนที่หลากหลายและจำเป็นต้องใช้ภาษาที่มากมายและไม่มีเวลาที่จะใช้ชีวิตกับครอบครัว อาชีพนี้ เปรียบเสมือนอาชีพที่ต้องดูเเลคนในประเทศของเราที่ไปทำงาน หรือ เรียนและอื่นๆ ที่ประเทศอื่นๆ อาชีพนี้ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่ท้าทายและ ลุยๆ  แต่อาชีพนี้ก็มีเสน่ห์มากค่ะ

ji-ji29@hotmail.com หรือ
kiki.19TT@gmail.com ค่ะ

0
กำลังโหลด
ployofficially Member 27 พ.ย. 58 23:56 น. 5

เห็นได้ชัดว่ากว่าจะได้มาเป็นเอกอัครราชทูตจะต้องผ่านการแข่งขันที่มากมายและต้องมีความอดทนและมีใจรักจริงๆถึงจะทำได้มากขนาดนี้ และอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เป็นเกียรติแก่ประเทศเพราะเราจะต้องคอยดูแลคนไทยในแดนต่างๆ แล้วยังต้องคอยกระชับความสัมพันธ์กับประเทศนั้นๆเสมอ ถือว่าเป็นอาชีพที่เป็นความฝันของใครหลายๆคนรวมถึงตัวของเราอีกด้วย เพราะเป็นอาชีพที่ต้องเดินทางได้พบเจอคนใหม่ๆ ได้ปรับตัว ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศซึ่งเป็นอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวเยี่ยม

0
กำลังโหลด
วารีรัตน์ 28 พ.ย. 58 04:42 น. 6
ที่เนเธอร์แลนด์ ท่านทูตน่าจะไปประจำการที่กรุงเฮก ไม่ใช่อัมสเตอร์ดัมนะคะ เราไม่มีสถานทูตที่อัมสเตอร์ดัมค่ะ
1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
fern_fern Member 28 พ.ย. 58 21:17 น. 8

เอกอัคราชทูต เป็นอาชีพที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันค่ะ แต่จะได้มานั้นไม่เหมือนกับการที่เราปลอกกล้วยเข้าปากเลย ต้องมีความขยันมุมานะ และรักในการบริการ ก่อนที่จะได้รับอาชีพที่เป็นหน้าตาของประเทศต้องผ่านการทำงานมามากมาย การศึกษา อายุงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน จึงไม่แปลกใจเลยที่อาชีพนี้มีหลายคนที่ถอดใจมานับไม่ถ้วน แต่ไม่ใช่สำหรับเราแน่นอนค่ะเราเชื่อว่ากระทู้นี้จะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับตัวเราเองและคนอื่นๆ ที่ใฝ่ฝันอยากจะทำงานเกี่ยวกับระหว่างประเทศ กระทู้นี้ทำให้เรารู้สึกว่า 'เราต้องสู้กับความขี้เกียจในตัวเองได้เเล้วนะ ปลุกความขยันที่กำลังหลับไหลอยู่ได้แล้ว คนอื่นๆ กำลังเดินหน้าแต่เรายังย่ำอยู่กับที่อยู่แล้วเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร'สู้สู้
E-mail : mynamechanidapa@gmail.com

0
กำลังโหลด
Mamiar Member 29 พ.ย. 58 09:19 น. 9

โห เส้นทางกว่าที่จะได้เป็นเอกอัครราชทูตนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายอะ ต้องผ่านด่านทดสอบตั้งหลายด่านแหน่ะ กว่าจะได้เป็นเห็นแล้วเหนื่อยแทน แต่ถ้าเรามีความฝันที่อยากจะเป็นจริงๆ แล้ว ขอแค่มีความตั้งใจ + ขยันซะอย่างยังไงซักวันหนึ่งก็ต้องเดินทางไปถึงความฝันของเราได้แน่นอนคะ เราทุกคนต่างก็มีสองมือ สองเท้าและหนึ่งมันสมองเหมือนกัน ขนาดท่านทูตยังทำได้แล้วทำไมเราจะทำไม่ได้หล่ะ?!   //ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่มีความฝันนะเพราะเราก็มีเหมือนกันแล้วก็ต้องทำให้ได้ด้วย ซักวันมันจะต้องเป็นจริง!!! 555  สู้สู้

Whitekoala@hotmail.co.th

0
กำลังโหลด
popkyunprachdo Member 29 พ.ย. 58 10:17 น. 10

รู้สึกว่า เอกอัครราชทูต กว่าจะได้เป็นมันต้องพยายามมากก  แต่ไม่เกินความสามารถหรอกเนอะ และรู้สึกว่าใครหลายๆคนก็ฝันแบบนี้เหมือนกัน  ยิ่งอ่านแล้วชอบที่สุดก็ตรง คุณสมบัติของคนที่ะเข้ามาทำงานในสายการทูต  มันเหมือนกระตุ้นให้เราเตรียมตัวดี   สู้ๆนะ  เอกอัครราชทูต เราเราอยู่ 5555 อิอิ  

0
กำลังโหลด
titant Member 29 พ.ย. 58 11:38 น. 11

การเป็นเอกอัครราชทูตนั้นไม่ได้ง่ายเลย เพราะต้องอดทน พัฒนาตนเอง ตามสถานการณ์ปัจจุบัน มีไหวพริบและต้องสอบเลื่อนขั้นกว่าจะมาถึงจุดๆนี้ได้ นับว่าใช้เวลานานมากทีเดียวกว่าจะประสบความสำเร็จในขั้นนี้ สำหรับความรู้สึกของหนูที่อยากทำงานด้านการทูตก็มีความชื่นชมในความสามารถของท่านทูตชาครมากค่ะ ทำให้เรารู้ว่าเราต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ และไม่ย่อท้อที่จะตามความฝัน ถึงแม้ว่าเราจะผิดพลาดไปบ้างแต่เราต้องไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เจอ และต้องขอบคุณเว็บไซต์เด็กดีมากค่ะที่นำเสมอข้อมูลของสายอาชีพนี้ ทำให้หนูมีกำลังใจ และพยายามเพื่อพิชิตฝันของตนเองมากยิ่งขึ้น ขอบคุณค่ะ :)

E-mail: mohibird.elf@gmail.com

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
Selenophile 28 ก.พ. 59 12:57 น. 15
อาชีพที่ดีง่ายๆบนโลกนี้ไม่มีหรอกค่ะ แต่ก็รู้สึกว่าอาชีพนักการฑูตเป็นอาชีพที่ต่าตื่นเต้น ท้าทายและเปิดโลกกว้างมาก สักวันจะเป็นหนึ่งในนั้น:) mermaids.nxx@gmail.com
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
poo.ch 22 พ.ค. 59 16:17 น. 18
อยากให้ช่วยทำเกี่ยวกับนักบินให้หน่อยค่ะ เป็นผู้หญิงเป็นนักบินได้มั้ยค่ะ ต้องทำอะไรบ้าง เรียนสายไหน ที่จ่ายค่าเรียนอย่างต่ำ2ล้านจริงมั้ย สอบเข้ายังไง เรียนคณะไหน สายการบินไหนรับนักบินหญิงบ้าง เเล้วก็อาชีพสจ๊วตกับเเอร์โอสเตสด้วยได้มั้ยค่ะ หนูอยากรู้จริงๆ ขอรบกวนด้วยนะกดLIKE
0
กำลังโหลด
Ray_11 Member 21 ก.ย. 59 23:16 น. 19

ดีมากๆ เลยครับที่ติดตามบุคคลจากแต่ละอาชีพและนำความเป็นมาเป็นไปของแต่ละอาชีพนั้นๆ มารีวิวกันแบบเข้าใจง่ายแบบนี้ ช่วยเป็นทางเลือกให้แก่วัยที่กำลังเลือกเส้นทางเดินชีวิตดีมากเลยครับ ^^ 

ขอบคุณมากนะครับ ผมเอง เรียนจบแล้วก็ยังคงตามหาเส้นทางที่จะไปต่ออยู่ อย่างการเป็น "ท่านทูต" นี่ก็เป็นความฝันหนึ่งเลยครับ

0
กำลังโหลด
i'm shortcake Member 27 ต.ค. 59 20:49 น. 20

ดีมากๆเลยค่ะอ่านแล้วจะได้เตรียมตัวว่าจะต้องทำไงบ้าง

แต่ก็มีหมดหยังอ่ะเราโง่อังกฤษแต่มันเป็นอาชีพที่เราใฝ่ฝันอยากเป็นมากสุด สู้สู้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด