เรียนจบไป ใครว่าหางานยาก! รวม 10 อาชีพสุดฮิตของคนจบ “นิติศาสตร์”

    มีหลายคนถามกันมากเยอะมากว่าเรียนจบคณะ “นิติศาสตร์” สามารถเป็นอะไรได้บ้าง หลายคนก็บอกว่ากลัวเรียนไปแล้ว จะไม่มีงานทำก็มี พี่เองก็ไปถามรุ่นพี่ที่เรียนจบนิติฯ หลายคนก็บอกว่า ไม่รู้จะบอกยังไงดี เพราะสายงานมันกว้างมากๆ สามารถทำได้หลายอย่าง แล้วแต่ความชอบของเราด้วย วันนี้ พี่วุฒิ เลยรวบรวม 10 อาชีพสุดฮิตของคนจบนิติศาสตร์ มาให้น้องๆ ชาว Dek-D.com ได้ทราบกันครับ


 
Via Pixabay.com
 
1. นิติกร
 
    พอเรียนจบใหม่ๆ บัณฑิตนิติศาสตร์หลายคนก็อาจจะยังไม่มีใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนายความ) อาชีพ “นิติกร” จึงถือเป็นอาชีพสุดฮิตที่เด็กจบใหม่ๆ เลือกที่จะทำ และถือว่าตรงสายวิชาที่เรียนมา และหน้าที่หลักๆ ก็คือ ทำงานทุกด้านที่เกี่ยวกับกฎหมาย แต่จะไม่สามารถไปว่าความเหมือนกับทนายได้ โดยจะดูแลงานเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายองค์กรและระหว่างหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น    

 
2. ทนายความ
 
    พอพูดถึงคณะนิติศาสตร์แล้ว อาชีพแรกเลยที่หลายคนต้องนึกถึงก็คือ “ทนายความ” ซึ่งเหมือนเป็นหน้าตาของคณะเลยก็ว่าได้ เพราะว่าคนจะเป็นทนายความ จะต้องจบคณะนี้เท่านั้น! แต่ไม่ใช่ว่าเรียนจบแล้วจะสามารถเป็นทนายความได้เลย เหล่าบัณฑิตจบใหม่จะต้องผ่านการอบรมจากสภาทนายความก่อน และเมื่อผ่านแล้วก็จะได้ใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนาย) และหน้าที่หลักๆ ของทนายความก็คือ  คอยดำเนินการแทนลูกความในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ว่าความ ดำเนินกระบวนการพิจารณาต่างๆ โดยหัวใจหลักของทนายความก็คือ การผดุงความยุติธรรมนั่นเอง      

 
3. ตำรวจ
 
    นี่ก็เป็นอีกอาชีพสุดฮิตที่คนจบนิติศาสตร์เลือกที่จะทำกัน หลายคนเลือกที่จะไปสอบเป็นตำรวจกัน และนำความรู้จากการจบนิติศาสตร์เข้ามาใช้ด้วย ก็อาจจะทำให้เติบโตรุ่งเรืองในสายงานได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและความตั้งใจและรักในสายงานนี้ด้วยครับ  

 
Via  Pixabay.com
 
4. เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
 
    พอพูดอาชีพ “เจ้าหน้าที่สินเชื่อ” หรือ “เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้” น้องๆ หลายคนอาจจะคิดว่าจบนิติศาสตร์จะสามารถทำงานนี้ได้ด้วยเหรอ  ต้องจบบัญชีหรือเปล่า? ความจริงสามารถทำได้ครับ คนจบนิติศาสตร์หลายคนก็เลือกทำอาชีพนี้ เพราะว่าจะมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการทำงาน หน้าที่หลักๆ ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อคือ ต้องดูแลเรื่องสภาวะของลูกหนี้ จัดเก็บเอกสาร คอยกำกับติดตามเอกสารกับลูกหนี้ให้ครบ เช่น เอกสารจดจำนอง คอยแจกแจงเอกสารทางกฎหมาย เป็นต้น การทำงานในอาชีพนี้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับการเงินได้อย่างดีครับ  

 
5. ครู / อาจารย์ / นักวิชาการด้านกฎหมาย
 
    หลายคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายมากๆ นอกจากทำงานในอาชีพต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บางคนก็เลือกเป็น “ครู อาจารย์” ได้อีกด้วย หลายคนเลือกที่จะสอนพิเศษให้กับรุ่นน้อง บางคนก็เรียนต่อเพิ่มเติมในระดับที่สูงขึ้น แล้วก็มาสอนประจำอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ได้อีกครับ นอกจากเป็นครู อาจารย์ คนที่เชี่ยวชาญมากๆ ก็ผันตัวเป็นนักวิชาการด้านกฎหมาย คอยออกมาวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย อย่างที่เราเห็นตามสื่อสังคมต่างๆ บางคนก็รับจ้างเขียนบทความลงในคอลัมน์หนังสือพิมพ์ก็มีครับ

 
6. ที่ปรึกษากฎหมายภาษีอากร (Tax Consultant)
 
    ถ้าพูดถึงอาชีพนี้ในเด็กที่จบบัญชี คงต้องร้องอ๋อ! กันแน่นอน เพราะว่าการทำงานของอาชีพนี้ จะพบได้ในบริษัทที่ทำบัญชี Big4 (บริษัทรายใหญ่ด้านบัญชี 4 แห่งของโลก) แต่ในสายนิติศาสตร์ของเราไปเกี่ยวอะไรกับเขาได้ล่ะ ว่ากันตามจริงแล้ว เรื่องของภาษีกับคนไทย เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ และหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ใครๆ ก็ต้องเสียภาษี ดังนั้น เรื่องของกฎหมายก็ต้องมีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะว่าจะมีกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นเสมอ เช่น เสียภาษีหรือเปล่า? เสียภาษีถูกมั้ย?  ไม่ว่าจะเป็นทั้งบุคคลหรือบริษัทต่างๆ ก็ตาม อาชีพ “ที่ปรึกษากฎหมายภาษีอากร (Tax Consultant)” ก็จะต้องเข้ามามีบทบาท และต้องทำงานร่วมกับนักบัญชี และทีมนักลงทุนต่างๆ เป็นต้น แต่ถ้าทำงานได้บริษัท Big4 สิ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือ ภาษาอังกฤษ ใครที่เก่งภาษาด้วยก็จะได้เปรียบมากๆ เลยครับ    

 
 
Pixabay.com

 
7. ที่ปรึกษากฎหมาย (Law Firm)
 
       ถ้าพูดถึงอาชีพในฝันของคนจบนิติศาสตร์ หลายคนคงบอกว่าอาชีพ “Law Firm หรือ ที่ปรึกษากฎหมาย” เป็นอาชีพที่อยากทำกันแน่นอน เพราะว่าอาชีพนี้มีผลตอบแทนที่สูง โดยเฉพาะคนที่มีประสบการณ์การทำงานมากๆ ก็จะมีภาษีดี ถึงแม้ผลตอบแทนจะสูง แต่การทำงานก็หนักหน่วงมากเหมือนกัน ที่ปรึกษากฎหมายจะสามารถให้คำปรึกษากฎหมายได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน หรือหน่วยงานต่างๆ ได้ โดยหน้าที่หลักๆ ก็คือ การให้คำปรึกษา คำแนะนำกับลูกค้า คำแนะนำต่างๆ เช่น กฎเกณฑ์อะไรบ้างที่เกี้ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ จะต้องมีกฎหมายอะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดย Law Firm จะต้องร่างสัญญาและให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายกับลูกค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรณีขอลูกค้าแต่ละคนด้วย     

 
8. นักกฎหมายประจำบริษัท (In House Lawyer)
 
    อาชีพนี้จะคล้ายๆ กับ Law Firm เลยครับ แต่จะแตกต่างที่ว่า Law Firm จะเป็นสำนักงานกฎหมายที่เป็นที่ปรึกษาของบริษัท ซึ่งจะไม่ใช่พนักงานของบริษัทนั้นๆ แต่อาชีพ “In House Lawyer” จะเป็นนักกฎหมายประจำของบริษัทนั้นๆ เลย  

 


 
9. พนักงานอัยการ
 
    เป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน และเลือกที่จะทำกัน สำหรับ “พนักงานอัยการ” และหลายๆ คนก็เข้าใจว่าคือ “ทนายที่รับราชการ” ซึ่งหน้าที่ของพนักงานอัยการจะมีหน้าที่ต่างจากทนายทั่วไป คือต้องว่าความให้แก่รัฐหรือเอกชนตามที่กดหมายให้อำนาจไว้ ซึ่งหน้าที่จะแตกต่างไปเมื่ออยู่ในบริบทคดีต่างๆ อาจจะนิยามได้ว่า พนักงานอัยการคือ อาชีพที่คอยอำนวยความยุติธรรมให้สังคม และรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนนั่นเองครับ     

 
10. ผู้พิพากษา
 
    มาถึงอาชีพ “ผู้พิพากษา” อาชีพที่ผู้ที่เรียนนิติศาสตร์หลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็นมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ด้วยความที่เป็นอาชีพที่มีเกียรติมากๆ อีกทั้งค่าตอบแทนจากการทำงานก็สูง หลายคนจึงอยากจะเป็นผู้พิพากษา ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิจารณาคดีทั้งปวงในราชอาณาจักรไทย ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในศาลยุติธรรม เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ซึ่งต้องรอให้อายุครบ 25 ปีก่อน  แต่ก็ต้องพร้อมไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ ตามที่คณะตุลาการกำหนดไว้ด้วย โดยคนที่จะเป็นผู้พิพากษาจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิตก่อนด้วย

 



 
    เห็นมั้ยครับน้องๆ ว่าจบ ‘นิติศาสตร์’ มีอาชีพให้เลือกทำเยอะแยะมากมายเลย ไม่ต้องกังวลไปหรอกครับว่าถ้าเรียนจบไปแล้วจะมีงานทำหรือเปล่า ถ้าน้องๆ มีความตั้งใจจริง ไม่ว่าจะอยากเป็นอาชีพอะไร ก็สามารถเป็นได้ครับ แต่ก่อนอื่นต้องมาเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเข้าคณะนิติศาสตร์ก่อน ซึ่งมีแนวทางอย่างไรบ้างนั้น ข้อมูลทั้งหมดได้รวบรวมไว้ในงานนี้แล้วครับกับ ทอล์คโชว์แนะแนวการศึกษา เจาะลึกเอนทรานซ์ 4.0 แบ่งเป็น 3 ตอน ใครอยากเรียนนิติศาสตร์ต้องไปดูตอน “ครบสูตร 5 คณะ ชวนสร้างธุรกิจและสังคม” น้องๆ จะได้รู้ลึก รู้จริง ในเรื่องของแนวทางของการสอบคณะนี้ให้ติด! พบกันเสาร์ที่ 6 พ.ค. ที่ไบเทค บางนา บัตรก็ราคาไม่แพงเลย เริ่มต้นที่ 250 บาทเท่านั้น หาซื้อได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือใครสะดวกซื้อออนไลน์ ก็ คลิกที่นี่ ได้เลยครับ
 
พี่วุฒิ
พี่วุฒิ - Columnist มนุษย์ 4 มิติผู้หลงใหลในเพลงเกาหลี ชาเนสที และหมูกระทะ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

สสสสส 8 มี.ค. 60 13:24 น. 1

งานหน่ะเยอะ เเค่คู่เเข่งก็มหาศาลเเบบรับ1คนสมัครพันกว่างี้คนจบเยอะมาก มากจนคนจบเนติยังต้องมาเเย่งงานเด็กจบใหม่ มองโลกตามความเป็นจริงครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มัณทนา Member 8 มี.ค. 60 18:56 น. 4-1

รัฐศาสตร์ เรียนจบมาทำงานได้หลายอย่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

แต่ถ้าอยากทำงานไม่ตรงสาขาที่จบมาก็ไปเป็นล่าม ทำงานบริษัท นักแปล ขายของ

0
กำลังโหลด
babypen Member 10 มี.ค. 60 00:36 น. 5

ขอบคุณมากค่ะ

PS. คือว่าตรงหัวข้อที่ 7 Law firm มีพิมพ์หล่นอยู่นะคะ (ที่ปรึกษากฎหมาย - ที่ปรึกษากฎหาย)

1
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ออออ 12 ธ.ค. 61 14:18 น. 10

แล้วถ้าเรียนภาคพิเศษเสา อาทิต จบภายใน4ปีมั้นค่ะ แล้วถ้าจบมาสามารถทำงานเกี่ยวกับ10ตัวอย่างงานด้านบนได้หรือป่าว มีข้อบังคับมั้ยว่าต้องเรียน4ปีภาคปกติเท่านั้น


1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด