ตามติด 1 วันชีวิตการทำงาน 'จิตแพทย์' ผู้รักษาอาการทางจิตเวช เปลี่ยนโลกมืดให้สว่าง

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... กลับมาเจอกับ พี่เป้ และ A day in life (นานๆ มาที) ที่จะพาน้องๆ ไปตามติดชีวิต 1 วันของอาชีพในฝัน สำหรับอาชีพที่จะพาน้องๆ ไปทำความรู้จักในวันนี้ บอกเลยว่าหาอ่านยากมากกกกก

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ประเด็นของ "โรคซึมเศร้า" รวมไปถึงอาการอื่นๆ ทางจิตเวช เป็นที่ถูกพูดถึงในสังคมบ้านเรามากขึ้น มีบุคคลมีชื่อเสียงหลายคนที่กล้าเผยตัวว่าตัวเองกำลังมีอาการป่วยทางจิตใจและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้ผู้คนได้รับทราบ รวมไปถึงมีละครหรือซีรีส์หลายเรื่องที่หยิบเรื่องราวของผู้ป่วยโรคนี้มาสอดแทรกในละคร แต่หากมองในอีกมุม อาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทกับอาการป่วยทางจิตเวชโดยตรง จะเป็นอาชีพไหนไม่ได้เลย นอกจาก "จิตแพทย์" นั่นเองค่ะ แน่นอนว่าวันนี้จะพาน้องๆ ไปทำความรู้จักอาชีพนี้ให้มากขึ้น ผ่านชีวิตการทำงานของคุณหมอท่านหนึ่งค่ะ^^

  • นายแพทย์อโณทัย สุ่นสวัสดิ์
  • ปริญญาตรี : แพทยศาสตรบัณฑิต
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วุฒิบัตร จิตเวชศาสตร์ : Harvard South Shore สหรัฐอเมริกา
  • จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ : David Geffen School of Medicine, UCLA สหรัฐอเมริกา
  • ปัจจุบัน : จิตแพทย์ ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ

คุณหมออโณทัยเริ่มเล่าว่า ตั้งแต่ตอนเด็กๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนความสามารถและความชอบส่วนตัวนั่นคือ "การพูด" คุณหมอชอบโต้วาที ชอบจัดรายการวิทยุโรงเรียน จนเริ่มรู้สึกว่า หากเรานำความสามารถนี้ไปใช้ทำงานหรือช่วยเหลือคน น่าจะดีเหมือนกัน ... นี่คือจุดเริ่มต้นสู่การเป็นจิตแพทย์ค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

คุณหมออโณทัยเรียนจบแพทยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากเรียนจบได้ไปทำงานใช้ทุนที่โรงพยาบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช โดยปกติต้องใช้ทุน 3 ปีอย่างที่รู้กัน

     เมื่อใช้ทุนผ่านไปปีแรก วันหนึ่งในขณะที่คุณหมอกำลังนั่งคุยกับเพื่อนๆ ที่เป็นหมอด้วยกันตามปกติ อยู่ดีๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า "ไปเรียนหมอที่อเมริกากันมั้ย?" แค่ประโยคนั้นประโยคเดียว คุณหมอบอกว่า เหมือนถูกจุดประกายเลยว่า อยากไปลองหาประสบการณ์ในต่างประเทศดูบ้าง!

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

หลังจากใช้ทุนปีแรกจบไป คุณหมอตัดสินใจลาออกและใช้เงินทุนคืนแก่กระทรวง สาธารณสุข จากนั้นลงมือหาข้อมูลเตรียมตัวไปเรียนต่อเฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ที่อเมริกา แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ เพราะต้องสอบนั่นสอบนี่เยอะมากและยากมาก หลักๆ ที่ต้องสอบแน่นอนคือ United States Medical Licensing Examination (USMLE) เหมือนเป็นใบประกอบโรคศิลป์ที่คนที่เรียนจบหมอในอเมริกาต้องสอบก่อนจะเริ่มทำงานเป็นหมอจริงๆ ดังนั้น หากชาวต่างชาติอย่างเราจะไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางที่อเมริกา ก็ต้องสอบด้วยเหมือนกัน

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

เมื่อได้คะแนนออกมาแล้ว คุณหมอนำคะแนนนี้ไปยื่นสมัครเข้าเรียน สุดท้ายได้ไปสอบสัมภาษณ์และตกลงเข้าเรียนที่ Harvard South Shore ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชศาสตร์โดยตรง ใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปี

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

หลังจากเรียนเฉพาะทางจบ คุณหมอ ตัดสินใจเรียนเฉพาะทางต่อยอด หรือที่เรียกกันว่า Fellow ในด้านจิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โดยย้ายมาเรียนที่ David Geffen School of Medicine, UCLA และเมื่อเรียนจบ ก็บินกลับมาทำงานที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพนั่นเองค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

7 AM

เริ่มต้นในตอนเช้าของวัน คุณหมอจะมาถึงที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพในเวลาก่อน 8 โมงเช้า เพื่อเตรียมตัวราวนด์คนไข้ในหอผู้ป่วยค่ะ ใช่แล้วค่ะ! ที่ศูนย์จิตรักษ์นั้น มีการรักษาแบบครบวงจรมากๆ รวมถึงมีหอผู้ป่วยสำหรับแอดมิทคนไข้จิตเวชทั้งหมด 7 เตียง ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชในระดับรุนแรง หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง หากพักอยู่โรงพยาบาลเลย อาจจะสะดวกกว่าการไปๆ กลับๆ 

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์


การจะเข้าไปในหอผู้ป่วยจิตเวชนั้น บอกเลยว่ามีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมาก มีโค้ดในการเข้าเยี่ยมที่จะมีแต่คนไข้เท่านั้นที่รู้ โค้ดนี้ ดังนั้นใครจะเดินดุ่มๆ เข้าไปเยี่ยมไม่ได้เด็ดขาดค่ะ รวมไปถึงผู้เยี่ยมห้ามหิ้วของเยี่ยมเข้ามาเอง เพื่อป้องกันสิ่งของที่ไม่ปลอดภัยที่คนไข้อาจจะนำไปทำร้ายตัวเองได้

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

8 AM

เมื่อถึงเวลา คุณหมอจะเข้าไปตรวจคนไข้ ซักถามอาการทั่วไป เมื่อคืนนอนหลับมั้ย? ตอนนี้รู้สึกยังไงบ้าง? และหากสังเกตดีๆ จะพบว่า ห้องคนไข้แผนกจิตเวชจะต่างจากแผนกอื่นมากๆ เลยค่ะ โดยเฉพาะการตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้นั้น ต้องใส่ใจรายละเอียดมากๆ เช่น ตู้เก็บของ จะไม่ใช้แบบที่มีหัวจับและดึงออกมา เพราะหากเป็นผู้ป่วยรายที่มีแนวโน้มจะคิดสั้นทำร้ายตัวเอง เขาอาจจะไปหาอะไรมาผูกตรงหัวจับและคิดสั้นได้ หรือแม้แต่ฝักบัวในห้องน้ำก็เช่นกัน ฝักบัวจะไม่มีหัวฝักบัวยื่นออกมา เพราะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยใช้ทำร้ายตัวเองนั่นเอง รวมถึงกระจกก็เป็นกระจกนิรภัย ชกต่อยยังไงก็ไม่แตก 100%

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์ 1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์
1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

9 AM

จะมี 1 วันในทุกๆ สัปดาห์ที่หลังจากราวนด์คนไข้เสร็จแล้ว คุณหมอแผนกจิตเวชทุกท่านรวม 7 ท่าน จะต้องมาประชุมร่วมกันพร้อมกับผู้อำนวยการ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเคสที่กำลังรักษาอยู่มาเล่าสู่กันฟัง ช่วยกันคิดวางแผนการรักษา เพราะหลายๆ เคสนั้น เราอาจต้องการความเห็นหรือมุมมองจากคนอื่นๆ ด้วยค่ะ และที่สำคัญ ใครที่สงสัยว่าการเป็นจิตแพทย์ที่ต้องรับฟังเรื่องของคนอื่นเยอะๆ นั้น จะมีเก็บมาคิดมาเครียดหรือเปล่า? คุณหมอบอกว่า นี่แหละค่ะ คือช่วงเวลาแห่งการได้เล่าสิ่งที่ตนเองเจอให้เพื่อนร่วมงานได้ฟัง ถือเป็นการได้บำบัดจิตใจของตนเองไปด้วยในตัว

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

10 AM

หลังจากราวนด์เช้าและประชุมเสร็จแล้ว ถึงเวลาลง OPD หรือตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งมีทั้งนัดล่วงหน้าและวอล์คอินเข้ามา ในวันหนึ่งๆ คุณหมอจะรับคนไข้ประมาณ 10 กว่าราย อาการหลักๆ ที่พบคือ โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ และอาการติดสารเสพติดหรือแอลกอฮอลล์ค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

โดยการพูดคุยกับคนไข้แต่ละราย คุณหมอบอกว่าใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะกับคนไข้ที่มาพบหมอครั้งแรก มักคุยกันเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว เพราะปกติของคนเราอาจจะยังประหม่า ไม่รู้จะเริ่มเล่าอะไรออกมา ต้องค่อยๆ พูดเรื่อยๆ จนคนไข้รู้สึกวางใจและยอมพูดออกมา หรือบางรายที่อาการดูรุนแรง คุณหมอจะแนะนำให้แอดมิทนอนที่โรงพยาบาลค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

หลายคนน่าจะสงสัยว่า เอ๊ะ อะไรคือตัวชี้วัดว่าคนๆ นี้ป่วยจริงๆ หรือไม่ได้ป่วย แต่เครียดเฉยๆ? คุณหมอบอกว่า จิตแพทย์ทั่วโลกจะใช้ระบบ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder (DSM-5) คือ ระบบการจัดหมวดหมู่และวินิจฉัยโรคทางจิตเวชศาสตร์ เปรียบเสมือนตำราทางจิตเวชศาสตร์เลยก็ว่าได้ จะมีข้อกำหนดระบุเลยว่า ป่วยโรคนี้ต้องมีอาการแบบนี้ ควรรักษายังไงถึงจะเหมาะสม

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

อย่างตัวคุณหมออโณทัยนั้นเชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ในแต่ละวันจะมีผู้สูงอายุหลายท่านมาพบคุณหมอ ซึ่งอาการป่วยทางใจของผู้สูงอายุส่วนมากมักเริ่มมาจากอาการป่วยทางกาย เช่น ปวดศีรษะไม่หาย นอนไม่หลับ หาหมอกี่ที่ก็ไม่หาย ลูกไม่สนใจ เลยเริ่มน้อยใจลูก สุดท้ายต้องมาพบจิตแพทย์ คุณหมอเล่าเพิ่มว่า ผู้สูงอายุในบ้านเรากับที่อเมริกาค่อนข้างมีความแตกต่างกันมากตรงที่ ถ้าเป็นที่ไทย ลูกหลานมักเป็นคนพาผู้ใหญ่ในบ้านมาหาหมอ แต่ที่อเมริกาซึ่งเป็นสังคมที่เมื่อลูกโตไปมักแยกย้ายออกไปเลย พ่อแม่ต้องดูแลตัวเองยามแก่เฒ่าและต้องมาพบแพทย์ด้วยตนเองด้วยค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

หลังจากคุยกับคนไข้จนวินิจฉัยได้แล้วว่า คนไข้ป่วยเป็นอะไร คุณหมอจะวางแผนการรักษาให้ ซึ่งที่นี่มีการบำบัดหลายวิธีมากค่ะ เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด การพูดคุย จิตบำบัด การบำบัดด้วยการทำอาหาร โยคะ นั่งสมาธิ การดูภาพยนตร์ โดยคุณหมออธิบายว่า กิจกรรมบำบัดต่างๆ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้คนไข้ฝึกทำจนเก่ง แต่กิจกรรมพวกนี้เป็นสื่อกลางที่ทำให้คนไข้ได้เข้าใจสภาวะจิตใจของตัวเองมากขึ้น ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยตรง เช่น นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักศิลปะบำบัด คอยเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์ 1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์
1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

11 AM

คุณหมอแวะไปดูการบำบัดจิตด้วยการทำอาหาร วันนี้เป็นการทำซูชิค่ะ ผู้สอนคือเจ้าหน้าที่ศูนย์ที่มีความชำนาญเรื่องการทำอาหารค่ะ^^

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

1 PM

ในช่วงบ่ายของวันนี้ คุณหมอยังตรวจ OPD (ผู้ป่วยนอก) ต่อเรื่อยๆ จนถึงตอนเย็น ซึ่งเมื่อคนไข้หมดแล้ว ก็ใช่ว่าจะกลับบ้านได้ทันทีนะคะ ยังต้องนั่งทำงานเรื่อยๆ หาข้อมูล วิเคราะห์ วางแผนการรักษา อย่างที่เรารู้กันดีว่า การรักษาจิตใจนั้นเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมากๆ เพราะอาการส่วนมากไม่ได้ชัดเจนเหมือนอาการป่วยทางกาย อาการบางอาการไม่สามารถหาคำตอบได้ทันทีว่าเป็นอะไร จึงต้องค่อยๆ ใช้เวลาไปเรื่อยๆ ค่ะ

นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีคนไข้ที่เป็นชาวต่างชาติเยอะมากๆ แทบจะครึ่งต่อครึ่งเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจำเป็นจะต้องติดต่อกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ด้วย เช่น สถานทูต โรงเรียนนานาชาติ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

คุณหมอเล่าเสริมว่า ในบางครั้ง ห้องฉุกเฉินอาจเรียกตัวคุณหมอให้ลงไปดูคนไข้ที่ห้องฉุกเฉิน เพราะคนไข้บางรายที่มาโรงพยาบาลนั้นอาจมีอาการที่เกี่ยวข้องกับจิตเวช ได้แก่ คนไข้ที่ทำร้ายตัวเอง คนไข้ที่ทำร้ายผู้อื่น และคนไข้ที่ไม่ดูแลใส่ใจตัวเอง (เช่น พูดคนเดียว ไม่กินข้าวกินน้ำ)

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์


      จากนั้นคุณหมอจะทำงานเรื่อยๆ จนเย็น ส่วนมากจะเลิกงานและกลับบ้านหลัง 6 โมงเย็นค่ะ

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์
  • อึดและอดทน อย่าลืมว่าก่อนจะมาเป็นจิตแพทย์ จะต้องเรียนหมอ 6 ปีก่อน ซึ่งค่อนข้างหนักมาก

  • ใจเย็น การรักษาโรคทางใจนั้นต้องใช้เวลา ถ้าใครใจร้อน อาจจะทำงานนี้ ค่อนข้างลำบาก

  • พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ หลายคนมักได้ยินคนพูดว่า เป็นหมอน่ะเงินเดือนดี ซึ่งก็ถือว่าไม่ใช่คำพูดที่ผิด แต่งานจิตแพทย์นั้นโดยรวมอาจได้รายรับน้อยกว่าแพทย์สาขาอื่น ดังนั้นหากใครจะมาเป็นจิตแพทย์เพราะหวังรวยนั้น คงไม่เหมาะสักเท่าไร

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

สุดท้ายนี้คุณหมอฝากถึงน้องๆ ที่สนใจงานจิตเวชศาสตร์ว่า งานสายนี้ต้องการคนที่มี Passion สูงมาก ต้องพร้อมที่จะให้และมีความสุขได้กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ถ้าคิดว่าอยากเรียนจริงๆ อยากให้ตั้งใจอ่านหนังสือสอบเข้าหมอให้ติดก่อน และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์จริงๆ (โดยมากเรียนตอนชั้นปีที่ 5) ให้ทบทวนตัวเองอีกครั้งว่ายังชอบจริงๆ มั้ย? ถ้าชอบแล้วก็ให้ลุยและเลือกเรียนเฉพาะทางด้านนี้โดยตรง อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดจิต เช่น จิตวิทยา กิจกรรมบำบัด ไม่ได้มีแต่หมอให้เลือกเรียนเท่านั้น

1 วัน กับชีวิตการทำงานของจิตแพทย์

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Yoru Ao Member 14 ก.ย. 60 22:45 น. 1

อยากทราบของนักจิตวิทยาคลีนิกครับผม...พอดีเรียนทางสายนี้แล้วยังไม่ทราบว่าจะทำงานแบบใดได้บ้างแบบเป็นรูปธรรมชัดเจนน่ะครับ รบกวนด้วยครับผม

0
กำลังโหลด
ลาเต้_ลาเวนเดอร์ Member 16 ต.ค. 60 01:50 น. 3

ทำมาหลายๆ อาชีพเลยจะดีมากๆ นะคะพี่เป้ เพราะคนที่กำลังสับสนว่าตัวเองอยากเป็นอะไรกันแน่ โตไปจะได้รู้ว่า การทำอาชีพนี้ ใน 1 วันจะต้องทำอะไรบ้าง ช่วยในการตัดสินใจในการเรียนต่อด้วยค่ะ ขอบคุณที่มีบทความดีๆ มาให้อ่านค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

4 ความคิดเห็น

Yoru Ao Member 14 ก.ย. 60 22:45 น. 1

อยากทราบของนักจิตวิทยาคลีนิกครับผม...พอดีเรียนทางสายนี้แล้วยังไม่ทราบว่าจะทำงานแบบใดได้บ้างแบบเป็นรูปธรรมชัดเจนน่ะครับ รบกวนด้วยครับผม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ลาเต้_ลาเวนเดอร์ Member 16 ต.ค. 60 01:50 น. 3

ทำมาหลายๆ อาชีพเลยจะดีมากๆ นะคะพี่เป้ เพราะคนที่กำลังสับสนว่าตัวเองอยากเป็นอะไรกันแน่ โตไปจะได้รู้ว่า การทำอาชีพนี้ ใน 1 วันจะต้องทำอะไรบ้าง ช่วยในการตัดสินใจในการเรียนต่อด้วยค่ะ ขอบคุณที่มีบทความดีๆ มาให้อ่านค่ะ

0
กำลังโหลด
กรกต 14 มี.ค. 61 18:43 น. 4

จิตแพทย์ ที่โรงพยาบาลรัฐบาล เช่น โรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลในกรมสุขภาพจิต จะมีบริบทปริมาณคนไข้ที่มากกว่าในบทความมากๆนะครับ เช่นตรวจคนไข้โอพีดี วันละประมาณ 40-100 คน การทำงานเป็นทีมกับวิชาชีพอื่นๆเช่น นักจิตวิทยา พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำบัด สำคัญมากครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด