น้องๆ หลายคนคงมีคำถามเรื่อง Portfolio เยอะแยะมากมาย บางคนไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี บางคนไม่แน่ใจว่าต้องใส่อะไรบ้าง ส่วนบางคนก็สงสัยว่าทำแบบไหนถึงจะเข้าตากรรมการ แน่นอนค่ะว่า การพิจารณา Portfolio ของแต่ละคณะ แต่ละสาขาวิชา แต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะแตกต่างกันออกไป บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้กำหนดรูปแบบตายตัว น้องๆ เลยยิ่งกังวลกันไปใหญ่
 

 
     แต่สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ออกกำหนดการรับสมัครสอบรอบ Portfolio พร้อมกำหนดวิธีการทำ Portfolio อย่างละเอียด มาให้น้องๆ ได้เตรียมตัวกันเลยค่ะ
 
     ในรอบ Portfolio นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. เปิดรับสมัครทั้งหมด 11 สาขาวิชา ได้แก่
  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก (65 คน)
  • หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (20 คน)
  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (40 คน)
  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม (50 คน)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ (35 คน)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์ (30 คน)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย (45 คน)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการถ่ายภาพ (35 คน)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรมและมีเดียอาตส์/ สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม/ สาขาวิชาภาพพิมพ์และอิลลัสเตชั่น (70 คน)
     
     รายละเอียดการเตรียม Portfolio คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ละสาขาวิชาจะแตกต่างกัน ดังนี้

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก/หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
 
     ให้น้องๆ จัดทำผลงานตามที่โจทย์กำหนด ลงในกระดาษ A4 ประกอบด้วย ความเรียง (1 แผ่น) ผลงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ (4 แผ่น) จากนั้นรวบรวมผลงานทั้งหมด จัดเรียงตามลำดับใส่แฟ้มโชว์เอกสารขนาด A4 (แฟ้มชนิดที่ภายในมีซองใสสำหรับใส่เอกสาร) โดยใส่ 1 แผ่น ต่อ 1 ซองใส และห้ามใส่เอกสารอื่นๆ นอกเหนือจากที่กำหนดด้วยนะ ซึ่งแต่ละแผ่นมีรายละเอียดดังนี้
 
แผ่นที่ 1 “เป้าประสงค์การสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร สถ.บ. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก/หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต"
     น้องๆ ต้องพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารแนบท้าย 1 ที่แนบมา (หน้า9,16 คลิก) ลงในกระดาษขนาด A4 แล้วเขียนความเรียงเป็นภาษาไทยด้วยลายมือบรรจง ในหัวข้อ “เป้าประสงค์การสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร สถ.บ. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก/หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต” ความยาวครึ่งหน้ากระดาษ (ห้ามเกินพื้นที่ที่กำหนด)
 

 
แผ่นที่ 2 “ที่แห่งนี้ฉันประทับใจ”
     น้องๆ ต้องถ่ายรูปในหัวข้อ “ที่แห่งนี้ฉันประทับใจ” ที่มีองค์ประกอบหลักในรูปถ่ายอย่างน้อย 3 อย่าง คือ ตัวผู้สมัคร สถาปัตยกรรมที่ประทับใจ (ในชุมชนที่อาศัย หรือไปสถานที่ท่องเที่ยวต่างจังหวัด/ต่างประเทศ) และต้นไม้/ภูมิทัศน์ แล้วพิมพ์รูปถ่ายลงใน A4 เพื่อเป็นต้นแบบในการนำมาสร้างผลงาน
     จากนั้นพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารแนบท้าย 2 (หน้า10,17 คลิก) ลงในกระดาษขนาด A4 ชนิดใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมกับเทคนิคการนำเสนอของตน และวาดรูปด้วยเทคนิคการเขียนลายเส้นดินสอ หรือปากกาหมึกลงในพื้นที่ที่กำหนด ให้ออกมาเหมือนกับมุมมองจากรูปถ่ายต้นแบบ พร้อมทั้งเขียนอธิบายเหตุผลที่ทำให้ประทับใจในสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ในรูป และติดกาวรูปถ่ายต้นแบบไว้ด้านหลังผลงาน
 
 
แผนที่ 3 “ทำไมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต้องเลือกคุณเข้าศึกษา”
     น้องๆ ต้องพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารแนบท้าย 3 (หน้า12,18  คลิก) ลงในกระดาษขนาด A4 ชนิดใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมกับเทคนิคการนำเสนอของตน แล้วทำงาน Sketch Design ในหัวข้อ “ทำไมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต้องเลือกคุณเข้าศึกษา” โดยไม่จำกัดเทคนิคการนำเสนอ
 
แผนที่ 4 “โปสเตอร์โปรโมทเพลง”
     น้องๆ ต้องออกแบบ “โปสเตอร์โปรโมทเพลง” ลงในกระดาษขนาด A4 ไม่จำกัดชนิดของกระดาษและเทคนิคการนำเสนอ (ใช้คอมพิวเตอร์ได้) โดยเพลงที่เลือกมาโปรโมทต้องมีอยู่จริง และสามารถเปิดฟังได้จาก Youtube  โดยหลังกระดาษให้เขียนชื่อ-สกุล ของน้องๆ และชื่อเพลง-ศิลปินให้ชัดเจน พร้อมอธิบายแนวคิดของผลงาน
 
แผ่นที่ 5 “ผลงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ที่ดีที่สุดของฉัน”
     น้องๆ เลือกผลงานที่ทำด้วยเทคนิคการวาดลายเส้น หรือลงสีชนิดใดก็ได้ ที่ทำไว้แล้วหรือจัดทำขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะก็ได้ ที่แสดงให้เห็นศักยภาพในเชิง “ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์” เป็นผลงานที่ผู้สมัครภูมิใจนำเสนอ ลงในกระดาษขนาด A4 ชนิดใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมกับเทคนิคการนำเสนอของตน และเขียนชื่อ-สกุลของน้องๆ  พร้อมตั้งชื่อผลงานและอธิบายแนวความคิดในการเลือกงานชิ้นนี้ไว้ด้านหลังกระดาษ
 
     ซึ่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) นี้ จะถูกนำมาพิจารณาเพื่อให้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และสอบสัมภาษณ์ โดยจะแบ่งสัดส่วนเป็น GPAX (3.00-4.00) 20% Portfolio 70% และความสามารถพิเศษอื่นๆ 10% รวม 100 % จากนั้นจะประกาศผลผู้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ และสอบสัมภาษณ์ ซึ่งมีการเก็บคะแนนเพื่อพิจารณาในการรับเข้าศึกษา โดยมีสัดส่วนเป็น Portfolio 25% ผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรม 50% การสัมภาษณ์ 20% และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5% รวม 100%
 
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
 
     แฟ้มสะสมผลงาน จัดทำด้วยตัวน้องๆ เองในช่วงม.ปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะและสื่อสร้างสรรค์ ในรูปเล่มขนาด A4 ไม่เกิน 20 หน้า (รวมปก) ใส่ผลงานที่แสดงทักษะที่สัมพันธ์กับหลักสูตร ประกอบด้วยชิ้นงานดังนี้
  1. ภาพวาดลายเส้นด้วยดินสอ หรือปากกาที่มีคุณภาพดี ซึ่งเป็นภาพผลงานจริง อย่างน้อย 1 รูป
  2. ภาพวาดดินสอแสดงทัศนียภาพ “ภูมิทัศน์” ที่ประทับใจ 1 ภาพ พร้อมบรรยายแนวคิดหรือความรู้สึกกับภาพไม่เกิน 100 คำ
  3. ภาพเขียน “ทัศนียภาพของงานสถาปัตยกรรมภายใน” ด้วยเทคนิคการเขียนด้วยลายเส้น หรือการลงสีอย่างน้อย 5 ภาพ โดย 1 ภาพต้องเป็นงานสถาปัตยกรรมภายในที่แสดงออกถึงความเป็นไทย
  4. ผลงาน “การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน” (Sketch Design) อย่างน้อย 5 ชิ้น
  5. เขียนคำบรรยายว่า เหตุใดถึงเลือกเรียนในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.  ไม่เกิน 1 หน้า A4
  6. จำนวนหน้าที่เหลือ รวบรวมผลงานอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
     

cr: http://www.arch.kmitl.ac.th/new/th/curriculum.4/overview 
 
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ
 
     แฟ้มสะสมผลงาน จัดทำด้วยตัวน้องๆ เองในช่วงม.ปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะและสื่อสร้างสรรค์ ในรูปเล่มขนาด A4 ไม่เกิน 20 หน้า (รวมปก) ใส่ผลงานที่แสดงทักษะพื้นฐานทางศิลปะและการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในหลักสูตรการออกแบบสนเทศสามมิติ และทักษะการคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงานทางศิลปะและการออกแบบ การเล่าเรื่อง รวมถึงการนำเสนองาน ประกอบด้วยชิ้นงานดังนี้
  1. เขียนแนะนำตัวผู้สมัคร ความยาว 1 หน้ากระดาษ ในประเด็น ความมุ่งหมายของผู้สมัครในการศึกษาในหลักสูตรการออกแบบสนเทศสามมิติ ประสบการณ์ของผู้สมัครในการพัฒนาทักษะทางศิลปะและการออกแบบ และความคาดหวังที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรการออกแบบสนเทศสามมิติ
  2. ผลงานที่แสดงทักษะที่สัมพันธ์กับหลักสูตรการออกแบบสนเทศสามมิติ ครบทั้ง 6 ประเภท ประเภทละ 3 ชิ้นงาน ดังนี้
  • ภาพเหมือนหุ่นนิ่ง (Still Life) แสดงให้เห็นถึงขนาดสัดส่วนที่ถูกต้อง
  • ผลงานการลงสีอย่างสร้างสรรค์
  • ภาพถ่ายสร้างสรรค์
  • ประติมากรรมสร้างสรรค์
  • ภาพประกอบที่ผลิตด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • การตกแต่ง หรือการตัดต่อภาพสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  1. ลักษณะการนำเสนอผลงาน (1 ผลงาน ต่อ 1 หน้ากระดาษ ซึ่งประกอบด้วย รูปของผลงาน บรรยายแนวความคิดในการผลิตงาน บรรยายกระบวนการออกแบบ และบรรยายกระบวนการผลิตผลงาน)
     
 
cr: http://www.arch.kmitl.ac.th/new/th/curriculum.4/overview 
 
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์
 
     แฟ้มสะสมผลงาน จัดทำด้วยตัวน้องๆ เองในช่วงม.ปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะและสื่อสร้างสรรค์ ในรูปเล่มขนาด A4 ไม่เกิน 20 หน้า (รวมปก) ใส่ผลงานที่แสดงทักษะที่สัมพันธ์กับหลักสูตร ประกอบด้วยชิ้นงานดังนี้
  1. ภาพวาดลายเส้นด้วยดินสอ หรือปากกาที่มีคุณภาพดี ซึ่งเป็นภาพผลงานจริง อย่างน้อย 1 รูป
  2. ผลงานทางด้านศิลปะ อย่างน้อย 10 ชิ้น
  3. ผลงานด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ อย่างน้อย 15 ชิ้น
  4. เขียนแนะนำตัวผู้สมัคร พร้อมวัตถุประสงค์ความมุ่งหมายในการเลือกเรียนสาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
     

cr: http://www.arch.kmitl.ac.th/new/th/curriculum.4/overview 
 
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย
 
      แฟ้มสะสมผลงาน จัดทำด้วยตัวน้องๆ เองในช่วงม.ปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะและสื่อสร้างสรรค์ ในรูปเล่มขนาด A4 ไม่เกิน 20 หน้า (รวมปก) ใส่ผลงานที่แสดงทักษะที่สัมพันธ์กับหลักสูตร ประกอบด้วยชิ้นงานดังนี้
  1. ภาพวาดลายเส้นด้วยดินสอ หรือปากกาที่มีคุณภาพดี ซึ่งเป็นภาพผลงานจริง อย่างน้อย 1 รูป
  2. ผลงานด้านศิลปะหรือสื่อสร้างสรรค์
  3. ผลงานด้านภาพยนตร์/วิดีโอคลิป/Music Video/Animation/Motion Graphic ที่เป็นงานโปรดักชั่น ภาพเคลื่อนไหว บรรจุในแผ่น CD/DVD/Flash Drive ไฟล์นามสกุล .mp4/.mov/file วิดีโอมาตรฐานอื่นๆ
  4. เขียนแนะนำตัว พร้อมวัตถุประสงค์ และความมุ่งหมายในการเลือกเรียนสาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัล มีเดีย คณะสถาปัตยกรรม สจล. ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
     
 
cr: http://www.arch.kmitl.ac.th/new/th/curriculum.4/overview 
 
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการถ่ายภาพ
 
      แฟ้มสะสมผลงาน จัดทำด้วยตัวน้องๆ เองในช่วงม.ปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะและสื่อสร้างสรรค์ ใส่ผลงานที่แสดงทักษะที่สัมพันธ์กับหลักสูตร ประกอบด้วยชิ้นงานดังนี้
  1. ภาพผลงานทางศิลปะที่เป็นต้นฉบับจริง อาจเป็นการวาด การระบายสี การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อสองมิติประเภทอื่นๆ 5 ภาพ ขนาดไม่เกิน A4
  2. ภาพถ่าย จำนวน 2 ชุด (รวม 16 ภาพ) ที่ถูกอัดขยายด้วยเครื่องพิมพ์ ระบบการพิมพ์ และกระดาษที่ได้มาตรฐาน (Photo Quality) ขนาดกว้าง 8 นิ้ว สูง 10 นิ้ว ภาพสิ/ขาวดำก็ได้ ไม่จำกัดแนวความคิดและเทคนิค เพื่อแสดงความสามารถ ศักยภาพ ความโดดเด่น ในการถ่ายภาพ โดยเลือกมาอย่างน้อย 1 ประเภท
  • ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ (Landscape Photography)
  • ภาพถ่ายบุคคล (Portrait Photography)
  • ภาพถ่ายเชิงศิลปะ (Fine Art Photography)
  • ภาพถ่ายสารคดี (Documentary Photography)
  • ภาพถ่ายหุ่นนิ่ง (Still Life Photography)
  • ภาพถ่ายแฟชั่น (Fashion Photography)
น้องๆ ต้องถ่ายภาพ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 8 ภาพ (รวม 16 ภาพ) พร้อมตั้งชื่อผลงานแต่ละชุด ส่งพร้อมการแนบคำอธิบายงาน แนวความคิด เทคนิค ในกระดาษ A4 ใน 1 ชุด ใช้คำไม่น้อยกว่า 200 คำต่อหนึ่งชุด
  1. เขียนแนะนำตัว พร้อมวัตถุประสงค์ และความมุ่งหมายในการเลือกเรียนสาขาวิชาการถ่ายภาพ คณะสถาปัตยกรรม สจล. ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
    ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน ดังนี้ เนื้อหา เรื่องราวและแนวความคิด 25% การสร้างสรรค์ทางศิลปะและภาพลักษณ์ 25% วิธีการทางการถ่ายภาพ 25% และการนำเสนอ 25%
     
 
cr: http://www.arch.kmitl.ac.th/new/th/curriculum.4/overview 
 
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรมและมีเดียอาตส์/ สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม/ สาขาวิชาภาพพิมพ์และอิลลัสเตชั่น
 
     แฟ้มสะสมผลงาน จัดทำด้วยตัวน้องๆ เองในช่วงม.ปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะและสื่อสร้างสรรค์ ในรูปเล่มขนาด A4 ไม่เกิน 20 หน้า (รวมปก) ใส่ผลงานที่แสดงทักษะที่สัมพันธ์กับหลักสูตร ประกอบด้วยชิ้นงานดังนี้
  1. ภาพวาดลายเส้น หุ่นนิ่ง/คนเหมือน/คนยืนเต็มตัว/ภาพทิวทัศน์ ด้วยดินสอ/ปากกา รวมอย่างน้อย 5 ภาพ
  2. ภาพผลงานสร้างสรรค์ด้านองค์ประกอบศิลป์ เช่นการจัดภาพด้วยรูปทรงต่างๆ หรือภาพผลงานที่มีแนวความคิดส่วนตัวอย่างอิสระ ด้วยดินสอ/ปากกา/สีโปสเตอร์/สีอะคริลิค/การปะติดด้วยสื่ออิสระ รวมอย่างน้อย 5 ภาพ
  3. เขียนแนะนำตัว พร้อมวัตถุประสงค์ และความมุ่งหมายในการเลือกเรียนสาขาวิชาจิตรกรรมและมีเดียอาตส์/ สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม/ สาขาวิชาภาพพิมพ์และอิลลัสเตชั่น คณะสถาปัตยกรรม สจล. ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
    4. จำนวนหน้าที่เหลือ รวบรวมผลงานอื่นๆ ที่โดดเด่น ได้ตามที่สมควร

     
 
cr: http://www.arch.kmitl.ac.th/new/th/curriculum.4/overview
    
     โอ้โห...โจทย์แต่ละสาขาวิชาละเอียดแน่นขนาดนี้ น้องๆ ก็ไม่ต้องกังวลแล้วนะคะ จัดทำผลงานให้เต็มที่กันไปเลยค่ะ ส่วน
รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่นี่ (คลิก) และรายละเอียดการสมัครสอบรอบ Portfolio ทั้งหมดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ติดตามได้ที่นี่ (คลิก)
พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

mamasan 27 ก.ย. 60 17:41 น. 1
คือว่าแล้วอย่างออกแบบนิเทศศิลป์นี่นอกจากใส่ผลงานตามที่เขากำหนดมาให้แล้วเราสามารถใส่อย่างอื่นเข้าไปอีกได้ไหมคะ อย่างเช่นพวก คำนำ,สารบัญ,ประวัตส่วนตัว,ตารางการเข้าร่วมกิจกรรม อะไรพวกนี้น่ะค่ะ
0
กำลังโหลด

3 ความคิดเห็น

mamasan 27 ก.ย. 60 17:41 น. 1
คือว่าแล้วอย่างออกแบบนิเทศศิลป์นี่นอกจากใส่ผลงานตามที่เขากำหนดมาให้แล้วเราสามารถใส่อย่างอื่นเข้าไปอีกได้ไหมคะ อย่างเช่นพวก คำนำ,สารบัญ,ประวัตส่วนตัว,ตารางการเข้าร่วมกิจกรรม อะไรพวกนี้น่ะค่ะ
0
กำลังโหลด
Beamthanitta Member 28 ก.ย. 60 21:22 น. 2

สถป หลัก นี้ จำเป็น ต้องมีความสามารถพิเศษมั้ยคะ? เขากำหนดมั้ยว่าแบบต้องใส่ หรือใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ ตั้ง10% คนไม่มีแอบคิดหนักนิดๆ

0
กำลังโหลด
asda 30 ก.ย. 60 12:23 น. 3

หนูมีข้อสงสัยว่า

1.แล้วportfolioเล่มนี้ต้องรวมกับ พอร์ตที่เป็นประวัตส่วนตัวตัว การศึกษามั้ยคะ  

2หรือว่าแยก คนละเล่ม

3.หรือว่าใช้แค่นี้พอ ไม่ต้องใีพอร์ตประวัติส่วนตัวการศึกษาคะ

รบกวนช่วยตอบหนูหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด