พอพูดถึงคณะแพทยศาสตร์ น้องๆ หลายคนก็คงจะนึกถึง บรรดาว่าที่คุณหมอ ทั้งหลายที่ทำหน้าที่รักษาคนไข้ในโรงพยาบาล แต่น้องๆ รู้ไหมคะว่าคณะแพทยศาสตร์ ในบางมหาวิทยาลัย ไม่ได้เปิดสอนเพียงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หรือ หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิตเท่านั้น แต่ยังมีเปิดสอนหลักสูตรอื่นๆ อีกด้วย
 

 
     สำหรับคณะแพทยศาสตร์ หลายๆ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรอื่นๆ นอกเหนือจากแพทยศาสตร์บัณฑิต กว่า 5 มหาวิทยาลัย 15 หลักสูตร ดังต่อไปนี้
 
มหาวิทยาลัยพะเยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอนามัยชุมชน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
 
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
 
มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช (วชิรพยาบาล)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชากายภาพบำบัด
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชารังสีเทคนิค
 
มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
หลักสูตรกายอุปกรณศาสตรบัณฑิต
 
     สำหรับบางสาขาวิชา น้องๆ อาจจะคุ้นชื่อเป็นคณะในมหาวิทยาลัยอื่น หรืออาจจะเป็นสาขาวิชานึงของอีกคณะ เช่น กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค อนามัยชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
 
     แต่สาขาวิชาที่น้องๆ ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นสาขาวิชาที่ผลิตแพทย์ นั่นก็คือ “สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” ซึ่งแท้จริงแล้ว เป็นสาขาวิชาที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความรู้ความสามารถด้านการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์นอกโรงพยาบาล มีทักษะในการทำหัตถการทางการแพทย์ การติดต่อประสานงาน และทำงานร่วมกับบุคลากรหน่วยงานอื่นๆ
 
     ส่วนอาชีพที่น้องๆ สามารถทำได้ ได้แก่ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EmergencyMedicalTechnician-Paramedic) ในสถานพยาบาลของรัฐ หรือ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบัน/ สํานัก/ หน่วยงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน อาจารย์ผู้สอนนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน หรือ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยต่างๆ เป็นต้น
 
     อย่างที่บอกไปแล้วค่ะ คณะแพทยศาสตร์ ไม่ได้เปิดการเรียนการสอนเพื่อผลิต “แพทย์” เท่านั้น แต่ยังเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรอื่นๆ อีกด้วย ไหนๆ ใครเป็นรุ่นพี่จากสาขาวิชาเหล่านี้บ้าง มาแชร์ประสบการณ์การเรียนการสอนการทำงานให้น้องๆ กันหน่อยค่า
พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

พาราตัวเล็กๆ 28 ม.ค. 61 22:43 น. 2

#สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ครับ โดยส่วนตัวมองว่าการมี นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาลจะช่วยลดอัตตราการเสียก่อนชีวิตก่อนถึง รพ.ลงได้..สำหรับการเรียนการสอนก็หนักพอตัวอยู่ครับ เพราะจบไปเราต้องเป็นหัวหน้าทีม ทำการประเมินคนไข้ได้ วินิจฉัยโรคที่ไม่ซับซ้อนได้ รักษา แล้วก็ให้ยาบางตัวได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์อำนวยการ เรียกได้ว่าชีวิตของคนไข้นอกโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราก็ว่าได้

2
พาราตัวเล็ๆ 28 ม.ค. 61 23:04 น. 2-1

ขอเพิ่มเติมนะครับ..เราเป็นคนแรกที่ไปเจอคนไข้..ดังนั้นเขาจะมีโอกาสไปพบหมอเฉพาะทางสาขาอื่นๆหรือแม้แต่พบครอบครัวก็ขึ้นอยู่กับเรา..ดั้งนั้นความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆจึงต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนมาอย่างเข้มข้นและหนักหน่วงเพื่อที่จบไปจะได้รักษาคนได้....ใครที่สนใจสามรถสอบถามได้นะครับ

0
กำลังโหลด

2 ความคิดเห็น

สาม 5 ม.ค. 61 15:37 น. 1

ขอเพิ่มเติมนะ


คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


มีหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (พย.บ.) สาขาวิชา พยาบาลศาสตร์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีด้วยนะ

0
กำลังโหลด
พาราตัวเล็กๆ 28 ม.ค. 61 22:43 น. 2

#สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ครับ โดยส่วนตัวมองว่าการมี นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาลจะช่วยลดอัตตราการเสียก่อนชีวิตก่อนถึง รพ.ลงได้..สำหรับการเรียนการสอนก็หนักพอตัวอยู่ครับ เพราะจบไปเราต้องเป็นหัวหน้าทีม ทำการประเมินคนไข้ได้ วินิจฉัยโรคที่ไม่ซับซ้อนได้ รักษา แล้วก็ให้ยาบางตัวได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์อำนวยการ เรียกได้ว่าชีวิตของคนไข้นอกโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราก็ว่าได้

2
พาราตัวเล็ๆ 28 ม.ค. 61 23:04 น. 2-1

ขอเพิ่มเติมนะครับ..เราเป็นคนแรกที่ไปเจอคนไข้..ดังนั้นเขาจะมีโอกาสไปพบหมอเฉพาะทางสาขาอื่นๆหรือแม้แต่พบครอบครัวก็ขึ้นอยู่กับเรา..ดั้งนั้นความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆจึงต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนมาอย่างเข้มข้นและหนักหน่วงเพื่อที่จบไปจะได้รักษาคนได้....ใครที่สนใจสามรถสอบถามได้นะครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด