ตามติด 1 วันชีวิตการทำงาน ‘ครีเอทีฟออกแบบงานพิพิธภัณฑ์’ ใช้ความคิดสร้างสรรค์กับโปรเจกต์ระดับประเทศ

สวัสดีจ้า ชาว Dek-D.com กลับมาพบกับ A day in life สกู๊ปพิเศษที่จะพาทุกคนไปตามติดชีวิต 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน และวันนี้พี่ส้มก็มาพร้อมกับภารกิจเกาะติดอาชีพ “ครีเอทีฟ” ที่เรียกได้ว่าเกิดขึ้นมาเพื่อท้าทายคนรุ่นใหม่ให้ระเบิดไอเดียสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างน่าจดจำ จนติดชาร์ตอาชีพมาแรงของตลาดแรงงานไทยในอนาคตไปแล้วล่ะค่า!!!

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

เชื่อว่าหลายคนคงพอรู้จักครีเอทีฟว่าเป็นนักคิดแห่งวงการสื่อ ผู้ที่กำหนดแนวทางแปลกใหม่ไม่เหมือนใครให้กับคอนเทนต์ต่างๆ และสร้างความประทับใจให้ผู้ชมได้อยู่เสมอใช่มั้ยคะ? แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชีพของคนเจ้าไอเดียแบบนี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เบื้องหลังรายการโทรทัศน์ วิทยุ โฆษณา หรือค่ายเพลงเพียง เพราะไม่ว่างานไหนๆ ที่ต้องใช้เทคนิคการนำเสนอ ต่างก็มีครีเอทีฟเป็นผู้ผลักดันทั้งนั้นค่ะ

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

อย่างที่บอกไปว่าอาชีพนี้มีขอบเขตการทำงานอันกว้างใหญ่ พี่ส้มจึงถือโอกาสจัดให้สกู๊ปนี้ได้ตามติดชีวิตการทำงานในสเกลที่ใหญ่ตามไปด้วย ขอบอกเลยว่าพิเศษไม่เหมือนใคร เพราะเราจะตามไปดูกันว่าการเป็น "ครีเอทีฟพิพิธภัณฑ์" ที่คอยวางแผนและจัดการงานนำเสนอข้อมูลในพิพิธภัณฑ์นั้นต้องทำอะไรบ้าง ว่าแล้วก็อย่ารอช้า เหยียบคันเร่งชิดขวาตามมาจอดที่ บริษัท ไรท์แมน จำกัด กันด่วนๆเลยค่ะ!

  • ประภาพรรณ นาคทอง (พี่เหมียว)
  • ปริญญาตรี : สาขาวิชาประวัติศาสตร์
    (พิพิธภัณฑ์) คณะมนุษยศาสตร์และ
    สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาโท : สาขาวิชาการจัดการ
    ทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปัจจุบัน : Senior Creative & Copywriter
    บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด

พี่เหมียวเล่าว่าสมัยที่ยังเป็นนิสิตอยู่ สาขาวิชาประวัติศาสตร์มีหลักสูตรที่แยกย่อยให้เลือกได้แก่ ประวัติศาสตร์เพื่องานวิจัย ประวัติศาสตร์เพื่องานด้านพิพิธภัณฑ์ และประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเธอได้เลือกอย่างสุดท้าย 

        
 และดูเหมือนว่าการตัดสินใจของพี่เหมียวจะมาถูกทาง เพราะเมื่อเธอเลือกที่จะเข้ากรุงมาฝึกงานที่เมืองโบราณ ก็มีโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานเขียน Copywriter หรือข้อความที่ให้ความรู้ในพิพิธภัณฑ์ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาการจัดการวัฒนธรรม ก่อนจะออกไปเป็นนักวิชาการศึกษาในพิพิธภัณฑ์อีก 6 เดือน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการหอบหิ้วเอาสกิลเต็มแม็กซ์มาสมัครงานเป็นครีเอทีฟ

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

  

สำหรับบริษัทที่ทำงานปัจจุบันนั้น เป็นบริษัทที่ให้บริการครอบคลุมทั้งการก่อสร้าง บริหาร และผลิตสื่อในธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้า นิทรรศการ อีเวนต์ และพิพิธภัณฑ์ ที่เธอมีความเข้าใจเป็นอย่างดี พี่เหมียวก็ได้เริ่มงานที่ต้องรับโจทย์งานจากลูกค้ามาวางแผนนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่บูธแสดงสินค้า สื่อกลางแจ้ง สื่อโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานเอกชนที่พบเห็นได้ตามบิลบอร์ด ไปจนถึงงานหลักคือการสร้างพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการระดับบิ๊กที่ต้องทำงานร่วมกับภาครัฐ ที่เจ้าตัวบอกเลยว่าตอนแรกคิดว่าจะไม่ผ่านช่วงทดลองงานซะแล้ว เพราะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง ทีมงานเขาใช้แต่ศัพท์เทคนิคกัน แต่สุดท้ายเธอก็เปลี่ยนความกดดันมาเป็นแรงผลักดันในการเรียนรู้ด้วยตัวเองแบบเริ่มจาก 0 และในที่สุด พี่เหมียวก็ผ่านมันมาได้พร้อมความแข็งแกร่งมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัวค่ะ!

1 วันของอาชีพ 'ครีเอทีฟ'

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

9.00 – 10.30 น.

ถ้าไม่มีคิวต้องออกไปตรวจงานที่ไซต์ ทุก 9 โมงเช้าในออฟฟิศแห่งนี้ จะพบพี่เหมียวนั่งประจำโต๊ะทำงาน แล้วจดจ้องอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ กองเอกสาร และสมุดจดบันทึก เพื่อเช็กโปรเจกต์ต่างๆ ว่าอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายไหนบ้าง เช่น โปรเจกต์พิพิธภัณฑ์เหรียญ ที่มอบหมายเรื่องก่อสร้างทีมวิศวกรดูแล ส่วนหน้าที่จัดแสดงสื่อภายในก็ยกให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายอินทีเรียดีไซเนอร์และโปรดักชัน ฯลฯ จากนั้นเรียกทุกคนเข้าห้องประชุมไประดมสมองวางแผนรันงานต่อ พร้อมแจกแจงหน้าที่รับอรุณกันเลย

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

10.30 – 12.00 น.

เป็นเวลาติดต่อกับลูกค้า เพื่อรับโจทย์งานต่างๆ ว่าลูกค้าต้องการให้พิพิธภัณฑ์นี้บอกเล่าเรื่องอะไร มีสิ่งใดมาให้เราจัดแสดงด้วยรึเปล่า จะได้นำมาหาข้อมูลเชิงลึกเพื่อดึงเอาแก่นสาระออกมาครีเอตวิธีการนำเสนอให้โดดเด่นโดนใจ แล้วกลับไปขายงานกับลูกค้าอีกที ซึ่งงานนี้เธอบอกเลยว่าแค่เสิร์ชหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตยังไม่พอ เพราะการทำงานของครีเอทีฟนั้นต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือค่ะ

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

มาเกาะถึงขอบโต๊ะทำงานของครีเอทีฟคนเก่งทั้งที พี่เหมียวก็ยินดีให้เราเห็นตัวอย่างการทำงานในโปรเจกต์พิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา ที่กำลังจะสร้างขึ้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเธอบอกเลยว่าแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรือหลวงลำนี้ในไทยมีน้อยจึงต้องติดต่อไปถึงกองทัพเรือของสหรัฐเพื่อขอทราบถึงประวัติและที่มาโดยละเอียด แต่ยังไม่พอแค่นั้น เพราะงานใหญ่ระดับพิพิธภัณฑ์คือการทุ่มหาค้นคว้ากันสุดตัว ในขั้นที่ว่าถ้าเป็นวัตถุโบราณก็ต้องตามไปให้เจอถึงหลักฐานชั้นต้น หรือถ้าเป็นเรื่องเฉพาะทางก็สอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญที่มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้มากว่าสิบปี เพื่อให้ได้ความรู้และข้อเท็จจริงมาบอกเล่าไปสู่ผู้ชมนั่นเอง

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

13.00 – 15.00 น.

หลังจากหมดพลังสมองไปครึ่งวันก็ทานข้าวเที่ยงชาร์ตพลังสักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาลุยงานกันต่อในรูปแบบที่ทรหดกว่าเดิม เพราะพี่เหมียวต้องเดินทั่วบริษัทเพื่อเข้าไปตรวจงานจากฝ่ายโปรดักชัน หรือฝ่ายผลิตที่เป็นทีมดำเนินการสานต่อไอเดียของครีเอทีฟให้เป็นชิ้นงานออกมา ทั้งในรูปแบบงานจำลองให้ลูกค้าดูเป็นตัวอย่าง และชิ้นงานจริงๆ ที่จะนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ โดยงานนี้คนที่ไม่ได้เรียนจบมาโดยตรงในด้านการผลิตสื่อหรือศิลปกรรมอย่างพี่เหมียว จะต้องทำหน้าที่ตรวจชิ้นงานทุกชิ้นอย่างละเอียดยิบค่ะ

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'
ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ' ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

พอได้เดินตามพี่เหมียวตรวจงานไปเรื่อยๆ ทีมงานต่างก็รู้สึกเหมือนกันเลยว่าเธอคือผู้หญิงแกร่งและเก่งสุดๆ ไปเลย เพราะแม้แต่ชิ้นงานดินเหนียวรูปหัวแหวนที่ปั้นขึ้นตามแบบจากรูปภาพในกระดาษที่ใครๆ ก็อาจมองว่าฝ่ายศิลปกรรมทำออกมาเหมือนสุดๆ แล้ว พี่เหมียวยังพบข้อแตกต่างเรื่องความนูน การเซาะร่อง ที่ต้องขอให้แก้ไขให้เหมือนแบบเป๊ะๆ กันตรงนั้น หรือแม้กระทั่งการลบหนวดของรูปปั้นให้ไม่ดูแก่เกินไป เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์ค่ะ ด้วยความสงสัยพี่ส้มก็อดถามไม่ได้ว่าพี่เหมียวไปเอาความรู้พวกนี้มาจากไหน ก็ได้คำตอบว่ามาจากการจดจำและถามจากผู้รู้ที่มีโอกาสได้พบเจอในเวลาที่ทำงาน ตลอดจนเรียนรู้จากทีมงานด้วยกันเองนี่แหละจ้า

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

15.00 – 17.00 น.

พี่เหมียวใช้เวลาอีก 2 ชั่วโมงเพื่อรีเช็กงานที่มีการปรับแก้ไขอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกต้องตามแบบหรือแผนที่วางไว้ และมีความสมบูรณ์มากที่สุดค่ะ ซึ่งจ็อบนี้ก็ละเอียดยิบไม่แพ้กับขั้นตอนการหาข้อมูลเลย เพราะเธอจะไม่ปล่อยผ่านทุกข้อบกพร่องใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ข้อความที่นำเสนอผ่านสื่อทุกประเภทจะต้องใช้คำที่สะกดและเรียงประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ โดยมีมาตรฐานว่าต้องตรวจสอบกับสำนักราชบัณฑิตยสถานเท่านั้น

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

17.00 – 18.00 น.

ก่อนจะเก็บของกลับบ้าน พี่เหมียวจัดการสรุปความคืบหน้าถึงงานที่กำลังรับผิดชอบอยู่ว่าอยู่ในขั้นไหน แล้วนำโจทย์ใหม่ที่ได้จากลูกค้าในวันนี้มาพูดคุยวางแผนกันในทีมครีเอทีฟ ว่าสามารถแบ่งข้อมูลที่ค้นคว้ามาแบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ยังไง แล้ววิเคราะห์ควรใช้เทคนิคนำเสนอแบบไหน ต้องการสื่อรูปแบบใด และควรแบ่งให้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เพื่อวนลูปกลับไปเป็นหัวข้อบรีฟงานในยามเช้าของวันรุ่งขึ้น

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

จากที่ได้เห็นกันไปแล้วว่า เวลาทำงานทั้งวันของครีเอทีฟนั้นหมดไปกับการคิด ทั้งการคิดวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล และคิดแบบสร้างสรรค์ ก็ถึงเวลาที่เราจะมาล้วงลึกถึงเคล็ดลับในการปลุกปั้นงานออกมาน่าประทับใจทั้งลูกค้าและผู้ชมกันแล้วล่ะค่ะ โดยพี่เหมียวก็ได้ให้คำตอบได้อย่างน่าสนใจว่า การนำข้อมูลเชิงลึกมานำเสนอในแบบที่คนเข้าใจง่าย สามารถดึงดูดให้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ได้

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทำป้าย ก็ต้องเห็นภาพ ข้อความ หรือมีเสียงบรรยายประกอบที่ชัดเจน ทำคลิปวิดีโอก็ต้องโชว์ให้เห็นแก่นเรื่อง หรือจะปั้นโมเดลสักชิ้นก็ต้องเป็นสิ่งของที่หาชมได้ยาก ซึ่งจุดนี้นี่แหละคือความท้าทายขั้นสุดของครีเอทีฟ เพราะเรื่องราวบนโลกนี้มีอยู่มากมาย ทุกเรื่องรอบตัวเรามีโอกาสจะถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอได้ทั้งหมด ดังนั้นคนที่จะคิดงานได้ตอบโจทย์ความต้องการของคนอื่นได้ จึงต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่มีเข้ามาตลอด และเป็นทำความเข้าใจมุมมองที่หลากหลายของผู้คนอยู่เสมอค่ะ

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

ความคุ้นชินที่เห็นครีเอทีฟจำนวนมากทำงานอยู่ในวงการสื่อสารมวลชน จนทำให้หลายคนเข้าใจไปว่านี่คืออาชีพของคนที่เรียนจบสายนิเทศศาสตร์มา แต่พี่ส้มเชื่อว่าตอนนี้ทุกคน คงมองออกแล้วใช่มั้ยคะว่าอาชีพนี้ไม่ได้ถูกจำกัดไว้สำหรับคนที่เรียนสาขาไหนโดยเฉพาะหากแต่เป็นใครก็ได้ที่มีทักษะเบื้องต้นที่สะท้อนออกมาจากจิตวิญญาณของคนเจ้าไอเดีย 4 ข้อนี้ต่างหากล่ะ

  • ช่างสังเกต : จับจุดความน่าสนใจ จากสิ่งที่ใครๆ ก็มองว่าธรรมดาออกมาให้ได้

  • ชอบตั้งคำถาม : ทุกความสงสัย เป็นโอกาสที่ทำให้เราออกไปพบสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับงานเสมอ

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'
  • สนใจสิ่งที่รอบตัวอยู่ตลอดเวลา : ไม่มองข้ามเรื่องเล็กน้อยที่อยู่รอบตัว เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนมีเหตุผลและความหมาย ที่สามารถนำไปขยายเป็นเรื่องน่ารู้ได้อีกร้อยแปด

  • ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดี : ต้องประสานงานรอบด้าน ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทยจึงต้องคล่องแคล่ว ยิ่งถ้าได้ภาษาอังกฤษและภาษาที่สามแล้ว ก็ยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าของผลงานไปด้วย

ตามติด 1 วันทำงานของอาชีพในฝัน 'ครีเอทีฟ'

พี่ส้ม
พี่ส้ม - Columnist คนทำคอนเทนต์ออนไลน์ ที่เชื่อว่าใครก็เป็นเด็กดีได้ในสไตล์ของตัวเอง

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น