อ่านก่อน! 20 เรื่องจริงของสาขา “วิทยาการคอมพิวเตอร์” จบไปทำอะไรได้บ้าง


         สวัสดีค่ะ อีกหนึ่งสาขาที่น้องๆ สนใจมากๆ เลยก็คือ "วิทยาการคอมพิวเตอร์" หรือ Computer Science ในสัปดาห์ที่แล้วได้รู้กันไปแล้วว่าสาขานี้เรียนอะไรบ้าง วันนี้เราไปเก็บรายละเอียดด้านอื่นๆ ของการเรียนสาขานี้กันไปดูกันค่ะ

        
1. สำหรับหลักสูตรในประเทศไทย "วิทยาการคอมพิวเตอร์" เป็นสาขาที่ไม่มีคณะเป็นของตัวเอง จะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ หรือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตค่ะ

       
  2. วิทยาการคอมพิวเตอร์  มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Computer Science หรือ CS เวลาเรียกชื่อย่อก็จะเรียนว่า CS ไม่ก็ วิทย์คอม ค่ะ

        
3. วิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นะคะ คือมีเรียนในรายวิชาที่ทับซ้อนกัน แต่ วิศวะคอมฯ จะลงไปทางฮาร์ดแวร์มากกว่า เช่น ออกแบบ CPU หรือ การหาอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความแรงของการส่งสัญญาณ Wifi ส่วน วิทย์คอมฯ เน้นไปที่ซอฟต์แวร์ค่ะ

        
4. ส่วน IT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) กับ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็ไม่เหมือนกัน มีเรียนบางวิชาที่ทับซ้อนกัน แต่ก็มีความต่างคือ IT จะเรียนไปทางด้านการสื่อสาร เพื่อเข้าใจระบบสารสนเทศ ใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนวิทย์คอมฯ จะเน้นไปที่เขียนโปรแกรมค่ะ ซึ่งวิชาพื้นฐานที่เรียนก็จะคล้ายๆ กัน

       
  5. วุฒิการศึกษาก็ต่างกันนะคะ อย่าง วิทยาการคอมพิวเตอร์จะได้เป็น วิทยาศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะได้เป็น วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีทั้งแบบวิทยาศาสตรบัณฑิตและเทคโนโลยีบัณฑิต ค่ะ
 

         6. การเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็จะมีแขนงหรือวิชาเอกแยกย่อยลงไปอีก (แล้วแต่มหาวิทยาลัย) เช่น AI, Robot, Network แนะนำว่าลองโทรไปสอบถามทางหลักสูตรของสถาบันนั้นก่อนตัดสินใจสอบเข้าจะดีกว่าค่ะ

       
  7. การเรียนจะมีเรียนวิชาพื้นฐานตอนปี 1 เช่น คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ อัลกอลิทึม ภาษาอังกฤษ พอเรียนปีสูงขึ้นก็จะลงลึกในระบบแต่ละระบบมากขึ้น มีการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ในหลายๆ ภาษา รวมทั้งเรื่องการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การประมวลผล ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ อีกด้วย

        
8. นอกจากจะเรียนทับซ้อนกับสาขาอื่นที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีแล้ว ในการทำงานก็สามารถทำงานได้ในตำแหน่งที่คล้ายๆ กันด้วยค่ะ เช่น โปรแกรมเมอร์ ก็จบได้ทั้ง CS และวิศวะคอมฯ เป็นต้น

        
9. วิทยาการคอมพิวเตอร์ มีเปิดทั้งหลักสูตรปกติ(ภาษาไทย) และหลักสูตรนานาชาติ/ภาษาอังกฤษ บางสถาบันก็มีทั้ง อย่างที่ มจธ.(บางมด) ก็มีทั้งวิทยาการคอมพิวเตอร์(ภาคภาษาอังกฤษ) อยู่ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์(ภาคภาษาไทย) อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ ค่ะ

        
10. ส่วนใหญ่สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะเปิดรับเฉพาะสายวิทย์เท่านั้น เพราะมีเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเรียนสายศิลป์คำนวณต้องลองเช็กกับสถาบันให้ดี หรือไม่ก็เรียนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบางเอกที่รับเด็กศิลป์คำนวณค่ะ

        
11. จะสอบเข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะใช้คะแนน GAT PAT 1 PAT 2 (แล้วแต่สถาบัน) ส่วนวิชาสามัญใช้ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เป็นวิชาหลัก แต่ถ้าอยากครอบคลุมหมดก็เก็บ เคมี กับชีววิทยา มาด้วยค่ะ อันนี้ปลอดภัยชัวร์   

        
12. จริงๆ งานในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นได้แค่โปรแกรมเมอร์นะคะ ยังสามารถเป็น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักออกแบบฐานข้อมูล อาจารย์ นักวิจัย ผู้ดูแลระบบ Network Engineer ฯลฯ เดี๋ยวนี้ตำแหน่งมีเยอะมากจริงๆ

        
13. เพราะการเรียนในสายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเป็นทางฝั่งทฤษฎี แต่ว่าแต่ละสาขาจะเน้นต่างกัน ถ้าใครมีการขวนขวาย หาความรู้ใหม่ๆ พัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ก็สามารถทำงานที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนจบได้ อย่างเช่นจบ CS แต่เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ ก็ได้ค่ะ

        
14. มีอย่างหนึ่งที่ไม่ได้อยากให้เข้าใจผิดกันก็คือ เด็ก CS ไม่ได้ซ่อมคอมเป็นนะจ๊ะ คือเราเรียนเขียนโปรแกรม เขียนการทำงานของระบบนั้นๆ ถ้า CPU พัง เปิดจอคอมไม่ได้ wifi ไม่เข้า ต้องทำอย่างไร แก้ที่ไหน อันนี้เราไม่รู้จ้าาาาา
 

         15. เอาจริงๆ การเรียน CS ไม่ใช่แค่ว่าเขียนโปรแกรมได้แล้วจบนะคะ ต้องสามารถสื่อสารได้ วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจตรรกะของงานชิ้นนั้นด้วย ถ้าไม่เข้าใจก็เขียนโปรแกรมออกมาไม่ได้

        
16. เชื่อมั้ยว่า ถ้าเรียน CS แล้วเก่งทางด้านการใช้ Photoshop ด้วย หรือการตัดต่อคลิปด้วย ก็พัฒนาไปได้อีกงานเลยนะคะ แบบนี้เป็นที่ต้องการเยอะมาก สามารถทำงานได้หลายงายในคนคนเดียว

        
17. เป็นสาขาที่เน้นทำ ไม่เน้นอ่านเท่าคณะอื่นๆ (แต่ก็เรียนทฤษฎีปกตินะจ๊ะ) คือจะจบได้ต้องเขียนให้เป็น รันโปรแกรมออกมาให้ได้ กว่าจะผ่านมาแต่ละวิชาก็ยากเย็นไม่แพ้คณะอื่นๆ เหมือนกัน อย่ามองว่าเรียน CS แล้วสบายเลยค่ะ ไม่สบายนะบอกจริง

        
18. ไม่ใช่ว่าใครจะเรียนก็ได้ CS เป็นสาขาที่คนที่มาเรียนส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานที่ชอบด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอยู่แล้ว ถ้าไม่ชอบด้านนี้เยนไปเหมือนตกนรกเลยค่ะ อะไรก็ไม่รู้ ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะใช้ภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นภาษาอังกฤษที่เป็นคำเฉพาะด้านนี้ ถ้าไม่มีใจไม่ต้องมา

        
19. เด็ก CS ไม่ได้หยิ่งเน้ออออออ เราก็คือเด็กปกติทั่วไปนั่นแหละ แต่การเรียนของเรามันเป็นด้านคอมฯ บางทีก็คุยกับเด็กภาคอื่นไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่คุยได้นะ ทักมาเหอะ ฮ่าๆ

        
20. เรียน CS จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็เรียนได้ค่ะ ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร และก็ไม่ได้มีค่านิยมอะไรด้วยว่าต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ใครเก่งกว่า มีความสามารถมากกว่า เหมาะกับงานนั้นๆ มากกว่า ก็ได้งานไปครองเลยจ้า หรือจะเป็นฟรีแลนซ์ก็ได้ อิสระมากๆ

         เรื่องของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไม่ได้จบแค่ที่การเรียน แต่ต้องพัฒนาและต่อยอด รวมทั้งหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอถึงจะสามารถเก่งขึ้นได้ เพราะว่าโลกของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว ในสัปดาห์หน้าพี่แป้งมีประสบการณ์รุ่นพี่ที่ได้ทำงานที่ Google มาฝากกัน รอติดตามนะคะ

 
พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

เด็กคอมคนหนึ่ง 10 มี.ค. 61 15:57 น. 2

คนชอบเข้าใจว่าเด็กคอมต้องทำทุกอย่างเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ เราเคยเจอให้ไปซ่อมโทรศัพท์ให้ บางทีก็ให้ซ่อมเครื่องปริ๊น พอบอกว่าทำไม่ได้ก็บอกว่า "เรียนคอมมาไม่ใช่หรอ" คือเรียนเขียนโปรแกรมโว้ยยยย ไม่ได้เรียนซ่อมของ T^T

1
mamacomma 13 มี.ค. 61 15:21 น. 2-1

ืทุกวันนี้ก็เรียนคอม เราจะบอกไปว่า "เราเรียนเพื่อสร้าง ไม่ได้เรียนเพื่อใช้โปรแกรม"

ดังนั้นอะไรพัง โปรแกรมตัวไหนใช้ไม่เป็น ไม่ต้องมาถามเราเนอะ ตอบไม่ได้จ้า

ปล แต่มันก็จะมีบางคนนะ เก่งครบวงจรเลย 55555 แต่โดยพื้นฐานแล้วไม่ได้เรียนวิธีซ่อมค่ะ

0
กำลังโหลด
ไพฑูรย์ 22 มี.ค. 61 03:12 น. 7

เขียนบทความเหมือนไม่รู้จริงอะมั่วสุดๆ เอานะจะบอกให้


สิ่งที่เหมือนกันระหว่างวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์คือมีพื้นฐานวิชาชีพคล้ายกันตรงเขียนโปรแกรม วิเคราะห์ระบบ อัลกอริทึม โครงสร้างข้อมูล คณิตศาสตร์การแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ระบบเน็ตเวิร์ค


สิ่งที่แตกต่างกันคือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะมีศาสตร์ด้านการออกแบบวงจรดิจิตอล และการเขียนโปรแกรมอินเตอร์เฟซควบคุมระบบฮาร์ดแวร์ที่พวกวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นคนออกแบบคำนวนไว้ ส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นไปทางทฤษฎีและการพิสูจน์กฎทางคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหาจะลงลึกในด้านทฤษฎีอัลกอริทึมของซอฟแวร์

1
NameB Member 31 ก.ค. 62 22:13 น. 7-1

ว้าว ขอบคุณมากเลยค่ะ(จากใจจริงนะคะไม่ได้ประชด) ขอบคุณจริงที่ชี้ถึงข้อแตกต่างอย่างละเอียดของวิทย์คอมกับวิศวะคอม คือเราหาข้อมูลด้านนี้อยู่ แต่บางคนก็บอกละเอียด บางคนบอกแค่ผิวเผิน ทำให้งงไปหมด ขอบคุณจริงๆค่ะที่ชี้ทางสว่าง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
DarkForest13 Member 16 มี.ค. 61 00:34 น. 5

วิทย์คอม = software / วิศวคอม = hardware <<<<เป็นความคิดที่ไม่ค่อยจะถูกนะคับ วิทย์คอมเนี่ยจะเน้นไปทางการคิดทฤษฎี แนวคิด กระบวนการอะไรใหม่ๆขึ้นมาทั้งhardwareและsoftware แบบ การทำงานแบบนี้เร็วกว่าอีกแบบ ทำแบบนี้ประหยัดกว่าแบบนี้ ส่วนวิศวคอมเนี่ยคือการนำความรู้จากcom-sciไปใช้-สร้าง ทำให้ไอที่ว่ามาข้างต้นนั้นเป็นจริง IT จะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ อาจจะผิดบ้าง แต่มันก็น่าจะประมาณนี้และคับ ใครจะเข้ามาเรียนก็สู้ๆเด้อ เป็นกำลังใจให้คับ https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-01.png

0
กำลังโหลด
ACOM 8 ม.ค. 63 21:21 น. 13

ถ้าจะบอกว่าเด็ก CS ไม่ได้ซ่อมคอมได้อันนี้ ใช่ ครับ แต่....อย่าลืมว่า คุณเรียนการวิเคราะห์...สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญกว่าทุกสิ่งอื่นใดคือการทำงานตามลำดับขั้นตอน ถึงแม้ว่าCS จะไม่สามารถเข้าซ่อมแซมได้ถึงขั้นลึกซึ้งแต่หาก อุกปรณ์เสียมีปัญหาหรือทำงานผิดปกติ สิ่งแรกที่ทุกแขนงวิชาที่เกี่ยวกับคอม ควรจะรู้และวิเคราะห์ได้ คือ ลำดับขั้นตอนการทำงาน และคิดได้คร่าวๆว่า เพราะเหตุใด อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นถึงไม่สามารถเป็นปกติ และ ลำดับขั้นตอนใดในระบบที่มีการทำงานผิดปกติ ที่จะส่งผลให้เกิดอาการเสียนี้ได้บ้าง มันเป็นสิ่งแรกๆ ของทุกแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ ที่ควรจะรับรู้และ พิจารณาได้ ครับ

0
กำลังโหลด

16 ความคิดเห็น

มัณทนา Member 10 มี.ค. 61 14:48 น. 1

เจอกระทู้ที่ชอบถามแนวๆนี้ว่า ICT กับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แตกต่างกันยังไงประจำค่ะ

1
lagman2600th Member 12 มี.ค. 61 19:33 น. 1-1

ผมว่ามันขึ้นอยุ่กับมหาลัยครับ ผมเรียน ICT inter อยู่ที่มหิดล ICT คือเรียนทุกอย่างครับ network , com sci , software engineer , health , E-business , multimedia ประมาณนี้ครับ


ICT อารมณ์ประมาณว่ารวมทุกอย่างของ technology ครับ

0
กำลังโหลด
เด็กคอมคนหนึ่ง 10 มี.ค. 61 15:57 น. 2

คนชอบเข้าใจว่าเด็กคอมต้องทำทุกอย่างเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ เราเคยเจอให้ไปซ่อมโทรศัพท์ให้ บางทีก็ให้ซ่อมเครื่องปริ๊น พอบอกว่าทำไม่ได้ก็บอกว่า "เรียนคอมมาไม่ใช่หรอ" คือเรียนเขียนโปรแกรมโว้ยยยย ไม่ได้เรียนซ่อมของ T^T

1
mamacomma 13 มี.ค. 61 15:21 น. 2-1

ืทุกวันนี้ก็เรียนคอม เราจะบอกไปว่า "เราเรียนเพื่อสร้าง ไม่ได้เรียนเพื่อใช้โปรแกรม"

ดังนั้นอะไรพัง โปรแกรมตัวไหนใช้ไม่เป็น ไม่ต้องมาถามเราเนอะ ตอบไม่ได้จ้า

ปล แต่มันก็จะมีบางคนนะ เก่งครบวงจรเลย 55555 แต่โดยพื้นฐานแล้วไม่ได้เรียนวิธีซ่อมค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
jamestomy Member 12 มี.ค. 61 23:20 น. 4

คณะนี้ ถ้าผมตาบอดสีไม่ได้ขั้นร้ายแรงนะครับ อ่านแผ่นที่เขาให้บอกเลขอันนั้นอะครับแยกไม่ได้ แต่ว่าแยกสีกันได้นะครับ ว่าอะไรเป็นสีอะไร จะสามารถเรียนได้ไหมครับ

1
กำลังโหลด
DarkForest13 Member 16 มี.ค. 61 00:34 น. 5

วิทย์คอม = software / วิศวคอม = hardware <<<<เป็นความคิดที่ไม่ค่อยจะถูกนะคับ วิทย์คอมเนี่ยจะเน้นไปทางการคิดทฤษฎี แนวคิด กระบวนการอะไรใหม่ๆขึ้นมาทั้งhardwareและsoftware แบบ การทำงานแบบนี้เร็วกว่าอีกแบบ ทำแบบนี้ประหยัดกว่าแบบนี้ ส่วนวิศวคอมเนี่ยคือการนำความรู้จากcom-sciไปใช้-สร้าง ทำให้ไอที่ว่ามาข้างต้นนั้นเป็นจริง IT จะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ อาจจะผิดบ้าง แต่มันก็น่าจะประมาณนี้และคับ ใครจะเข้ามาเรียนก็สู้ๆเด้อ เป็นกำลังใจให้คับ https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-01.png

0
กำลังโหลด
lunla123 Member 17 มี.ค. 61 00:34 น. 6

อยากจะบอกว่า ใครที่จะมาเรียนสาขานี้ มีความชอบทางคอมอย่างเดียวตายนะครับ หยังเขียดเลย สิ่งที่จำเป็นหลักๆเลยของสาขานี้คือ กระบวนการคิดหรือโลจิก ที่เจอแน่ๆเลยคือ ตรรกศาสตร์ จริงเท็จ เท็จจริง ต้องแม่นพอสมควร ที่เหลือก็เป็นกระบวนการคิดของเราแล้วว่าจะรังสรรค์โค้ดให้ได้ตามโจทย์ยังไง

0
กำลังโหลด
ไพฑูรย์ 22 มี.ค. 61 03:12 น. 7

เขียนบทความเหมือนไม่รู้จริงอะมั่วสุดๆ เอานะจะบอกให้


สิ่งที่เหมือนกันระหว่างวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์คือมีพื้นฐานวิชาชีพคล้ายกันตรงเขียนโปรแกรม วิเคราะห์ระบบ อัลกอริทึม โครงสร้างข้อมูล คณิตศาสตร์การแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ระบบเน็ตเวิร์ค


สิ่งที่แตกต่างกันคือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะมีศาสตร์ด้านการออกแบบวงจรดิจิตอล และการเขียนโปรแกรมอินเตอร์เฟซควบคุมระบบฮาร์ดแวร์ที่พวกวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นคนออกแบบคำนวนไว้ ส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นไปทางทฤษฎีและการพิสูจน์กฎทางคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหาจะลงลึกในด้านทฤษฎีอัลกอริทึมของซอฟแวร์

1
NameB Member 31 ก.ค. 62 22:13 น. 7-1

ว้าว ขอบคุณมากเลยค่ะ(จากใจจริงนะคะไม่ได้ประชด) ขอบคุณจริงที่ชี้ถึงข้อแตกต่างอย่างละเอียดของวิทย์คอมกับวิศวะคอม คือเราหาข้อมูลด้านนี้อยู่ แต่บางคนก็บอกละเอียด บางคนบอกแค่ผิวเผิน ทำให้งงไปหมด ขอบคุณจริงๆค่ะที่ชี้ทางสว่าง

0
กำลังโหลด
Iด็กช่าJ Member 23 มี.ค. 61 20:07 น. 8

555+ ถั่วต้ม CS มักคุยก่ะชาวบ้านไม่ค่อยรู่เรื่อง อันนี้เรื่องจริง ทุกวันนี้ผมก้อยังคุยก่ะชาวบ้านไม่ค่อยรู้เรื่อง คุยเรื่องหนึ่ง แม่งได้อีกเรื่องหนึ่งซะงั้น ปล.แล้วเมิงจะถามตรูเพื่อ 555+

0
กำลังโหลด
sonepimmy Member 16 มี.ค. 62 23:30 น. 9

CS มีนานาชาติไหมคะ ต่างชาติจะเข้าไปเรียนได้ไหม พอดีเพื่อนต่างชาติเข้าจะมาเรียนสาขานี้ในไทย ต้องทำยังไงบ้างคะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
ACOM 8 ม.ค. 63 21:21 น. 13

ถ้าจะบอกว่าเด็ก CS ไม่ได้ซ่อมคอมได้อันนี้ ใช่ ครับ แต่....อย่าลืมว่า คุณเรียนการวิเคราะห์...สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญกว่าทุกสิ่งอื่นใดคือการทำงานตามลำดับขั้นตอน ถึงแม้ว่าCS จะไม่สามารถเข้าซ่อมแซมได้ถึงขั้นลึกซึ้งแต่หาก อุกปรณ์เสียมีปัญหาหรือทำงานผิดปกติ สิ่งแรกที่ทุกแขนงวิชาที่เกี่ยวกับคอม ควรจะรู้และวิเคราะห์ได้ คือ ลำดับขั้นตอนการทำงาน และคิดได้คร่าวๆว่า เพราะเหตุใด อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นถึงไม่สามารถเป็นปกติ และ ลำดับขั้นตอนใดในระบบที่มีการทำงานผิดปกติ ที่จะส่งผลให้เกิดอาการเสียนี้ได้บ้าง มันเป็นสิ่งแรกๆ ของทุกแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ ที่ควรจะรับรู้และ พิจารณาได้ ครับ

0
กำลังโหลด
อารี 28 พ.ค. 63 08:11 น. 14

พี่ๆคนไหนเคยเรียน สาขา เทคโนโลยีมีเดียชีวะการแพทย์บ้างคะ อยากรู้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรคะจบแล้วมีงานทำมั๊ยคะ

0
กำลังโหลด
kwan 7 พ.ย. 65 14:39 น. 15-1

มันน่าจะขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมากกว่าค่ะ ถ้าฝึกเยอะอาจจะเป็นได้แค่ถ้าฝึกน้อยอาจจะยากหน่อย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด