สวัสดีค่ะ ผลคะแนนสอบกลางก็ประกาศกันตู้มต้ามแล้วนะคะ ทั้ง O-NET GAT PAT วิชาเฉพาะแพทย์ เหลือสนามสุดท้ายคือ 9 วิชาสามัญให้ลุ้น พูดถึงคะแนน ตอนนี้บอร์ด TCAS ก็ค่อนข้างครึกครื้น น้องๆ เริ่มคำนวณกันแล้วว่าจะใช้คะแนนที่กอดไว้กับรอบไหนดี


 
          หนึ่งในนั้นเชื่อว่ามี TCAS รอบ 3 ที่น่าจับตามองรวมอยู่ด้วย เพราะว่าใช้คะแนนสอบกลางเป็นหลัก และน้องบางส่วนก็เริ่มกังวลว่า "จะดูยังไงว่ามีเปอร์เซ็นต์ติดเท่าไหร่? วัดดวงรึเปล่า?" พี่เมก้าก็มีวิธีประเมินโอกาสติดแบบง่ายๆ มาฝากกันค่ะ

หลักการที่ 1 : เช็กคะแนนต่ำสุดย้อนหลัง
          น้องๆ อาจจะสงสัยว่าปีนี้เจอ TCAS รุ่นแรกนี่นา? จะมีคะแนนที่ไหนมาให้เทียบ ความจริง TCAS รอบ 3 ก็มาจากรับตรงปกติ หรือรับตรงทั่วประเทศเดิมนี่แหละค่ะ รับตรงเจ้าประจำที่เคยประกาศเกณฑ์คะแนนต่ำสุด เช่น จุฬาฯ มศว มธ. (บางคณะ) มก. (บางคณะ) ยังพอใช้คะแนนเก่าดูได้อยู่ค่ะ แต่!! น้องๆ ต้องเช็กด้วยว่าปีล่าสุดกับปีก่อน "ใช้เกณฑ์เดียวกันรึเปล่า" หลักการนี้จะใช้ได้เฉพาะกรณีที่เกณฑ์คณะไม่เปลี่ยนสัดส่วนคะแนนเท่านั้นค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ        




          หลักการทุกอย่างเหมือนกันไม่เปลี่ยนแปลง น้องๆ สามารถคำนวณคะแนนตัวเอง แล้วนำมาเทียบกับช่วงคะแนนต่ำสุดย้อนหลังเพื่อเช็กได้ว่า "เรามีลุ้นสอบติดคณะที่เล็งไว้รึเปล่า" นอกจากจุฬาฯ ก็ยังมีสถาบันอื่นๆ ที่อาจจะใช้ตัวช่วยเดียวกันนี้ได้ เช่น  

        
  มศว - คะแนนต่ำสุดปี 60 ไม่ได้ประกาศออกมา แต่ยังมี "คะแนนต่ำสุดของรับตรงทั่วไป ปี 59" ที่รุ่นพี่บอกว่าสามารถดูเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ และอย่าลืมว่าตอนระเบียบการออกมา เช็กด้วยนะคะว่า TCAS บางสาขามีปรับเปลี่ยนสัดส่วนคะแนนรึเปล่า
         
มธ. - มี "คะแนนสูงสุด - ต่ำสุด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ปี 60 ที่ใช้คะแนน TU STAR / SMART-I" แต่ว่าค่าน้ำหนักคะแนนของปีนี้กับปีที่แล้วเปลี่ยนไป ถ้าอยากใช้คะแนน 2 ตัวนี้ยื่น ต้องมั่นใจว่าพร้อมเสี่ยงค่ะ คงนำคะแนนปีเก่ามาเทียบเป๊ะๆ ไม่ได้
         
มก. - มี "คะแนนต่ำสุดของรับตรงคณะสัตวแพทยศาสตร์ ปี 59" ที่สามารถดูเพื่อประกอบการตัดสินใจได้เหมือน มศว เพราะยังใช้คะแนนวิชาสามัญเหมือนเดิม

หลักการที่ 2 : เช็กค่าน้ำหนักคะแนน
          ค่าน้ำหนักคะแนนถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในรับตรงหลายที่ เพราะใช้ในการคำนวณคะแนนตามสัดส่วนต่างๆ  เช่น รับตรงบริหารธุรกิจ มธ. กำหนดค่าน้ำหนักคะแนนวิชาสามัญคือ ภาษาไทย 10% สังคม 10% อังกฤษ 40% และคณิต 1 40% ต่อให้ไม่มีคะแนนสูง-ต่ำย้อนหลังให้ดู แต่ถ้าคะแนนวิชาสามัญอังกฤษกับคณิต 1 ของน้องๆ สูงมาก โอกาสติดก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะคณะนำคะแนนส่วนนี้มาใช้เยอะนั่นเองค่ะ ลองเช็กดูว่าสาขาที่เลือกนั้น ค่าน้ำหนักคะแนนเราเป็นแต้มต่อรึเปล่า ถ้าตามนั้นก็เลือกได้อย่างสบายใจในระดับหนึ่งค่ะ 

หลักการที่ 3 : เช็กช่วงคะแนน


 
          ตอนนี้ "ช่วงคะแนน O-NET GAT PAT" คลิก ก็ประกาศออกมาแล้ว น้องๆ คนไหนยังไม่เห็น รีบตามไปดูเลยค่ะ ช่วงคะแนนนี้จะบอกคะแนนเฉลี่ยแต่ละวิชาของ #Dek61 ที่เข้าสอบทั่วประเทศ ลองนำคะแนนตัวเองไปเทียบดูค่ะว่า "เราจัดอยู่ในกลุ่มคนที่คะแนนเป็นต่อรึเปล่า" เช่น สาขาที่เลือกใช้คะแนน GAT เป็นองค์ประกอบหลัก โดยเฉลี่ยคนเข้าสอบส่วนใหญ่ทำคะแนนอยู่ในช่วง 180 - 210 คะแนน แต่น้องได้คะแนน 280+ อยู่ในช่วงคะแนนที่สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของเพื่อนๆ ที่ทำได้ แปลว่าเราอยู่บนยอด ค่อนข้างมีโอกาสติดสูงค่ะ

หลักการที่ 4 : เช็กจำนวนรับ
          ตอนเลือกสาขาน้องๆ ควรประเมินคะแนนตัวเองกับจำนวนที่คณะเปิดรับด้วย เราไม่ได้ลงสนามคนเดียวนะคะ อย่าลืมว่าน้องๆ ไม่รู้คะแนนของเพื่อนๆ เลย ต่อให้แต้มเราแน่แค่ไหน แต่ถ้าสาขานั้นรับน้อยมากจริงๆ สมมมติรับแค่ 5 คน มันดูไม่ค่อยปลอดภัย เลือกสาขาที่รับเยอะและเราก็ถูกใจ "มีโอกาสลุ้นที่นั่ง + สอบติด" มากกว่า ทั้งอุ่นใจและคุ้มค่าที่จะเสี่ยงดีค่ะ

หลักการที่ 5 : เช็กว่าคุณสมบัติเป๊ะ!
          จำไว้ว่า "ถ้าคุณสมบัติตรงตามที่คณะต้องการ ก็เหมือนก้าวขาว่าติดไปข้างหนึ่งแล้ว" เพราะส่วนหนึ่งที่น้องๆ พลาดรับตรง ก็มาจากการที่คุณสมบัติไม่ผ่านนี่แหละค่ะ เช่น แผนการเรียนไม่ตรง เกรดน้อยกว่าที่กำหนด คะแนนรวม-คะแนนรายวิชาไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ฯลฯ TCAS รอบ 3 น้องๆ ยื่นได้ 4 สาขาวิชา อาจดูมีโอกาสติดเยอะนะคะ แต่ลองคิดดูว่า ถ้าเผลอเลือกคณะที่คุณสมบัติไม่ตรงไป ก็เหมือนปล่อยให้ตัวเองเสียโอกาสติดไปฟรีๆ เลยหนึ่งที่ เสียเงินฟรีด้วย

         TCAS รอบ 3 เป็นรอบที่น้องๆ กลัวกันมากเลย โดยเฉพาะกลัวว่าเพื่อนที่เก่งๆ จะมากันซีน แต่ว่าถ้าเรารอบคอบมากพอ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น อย่างมากถ้าหลุดก็ไปลุยรอบแอดมิชชั่นต่อ เพราะหากคณะได้จำนวนที่นั่งไม่ครบ ก็จะเอาไปเพิ่มในรอบนี้นี่แหละค่ะ สู้เค้า!
พี่เมก้า
พี่เมก้า - Columnist นักข่าวสายการศึกษา ที่มีความสุขกับการแต่งฟิค อ่านฟิค เพ้อถึงยัมมี่ฟู้ดไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

3 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
ไม่ประสงค์ออกนาม 10 เม.ย. 61 15:36 น. 2

คะแนน GAT ในเมื่อทุกคณะ/มหาวิทยาลัยทุกที่สอบเหมือนกัน ข้อสอบเดียวกันหมด แค่ค่าคะแนนคิดไม่เหมือนกัน บางกลุ่มคิด 10% บางกลุ่มคิด 15% บ้าง 20 - 25% บ้าง จะทำให้กลุ่มที่คิด 10% ค่าคะแนนจะน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทำไม่ไม่คิดให้เท่ากันทุกกลุ่มคะ (เฉพาะ GAT) นะคะ แต่ PAT เห็นด้วยที่จะคิดค่าน้ำหนักต่างกันไปตามสายหรือคณะที่ต้องการ งงในงง ค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด