มธ.เปิดตัว "TU Frontier School" หลักสูตร ป.ตรี ไม่สังกัดคณะ เรียนสิ่งที่ใช่แบบไม่ตีกรอบ

           
           สวัสดีครับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวหลักสูตรใหม่ "Thammasat Frontier School" เป็นหลักสูตรปริญญาตรีแบบใหม่ ที่เปิดโอกาสให้เรียน ป.ตรี แบบไม่สังกัดคณะในภาคเรียนที่ 1-3 เพื่อค้นหาตัวตน ก่อนจะเลือกคณะที่ชอบหลักสูตรที่ใช่ในภาคเรียนที่ 4 โดยจะเปิดรับในปี 2563 เป็นรุ่นแรก ผ่าน TCAS รอบ 3 และ 4 จำนวน 120 ที่นั่ง
 

           โดยล่าสุดประกาศของทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เผยแพร่ออกมาระบุว่า "ทางสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติเห็นชอบที่เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบบไม่สังกัดหลักสูตร (Thammasat Frontier School) โดยเป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาในช่วงแรกแบบไม่มีสังกัดคณะ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนและออกแบบหลักสูตรตามเป้าหมายตัวเอง และค้นหาสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความถนัด โดยไม่ติดกรอบของหลักสูตรใดเป็นการเฉพาะ

สรุปรายละเอียดแบบคร่าวๆ
           
- สมัครได้ทั้ง ม.6 เทียบเท่า และเด็กซิ่ว
           - เปิดรับปีนี้ (63) ปีแรก ผ่านรอบ 3 และ 4 รวม 120 ที่นั่ง
           - ต้องได้เกรดรวม ม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.75 ถึงสมัครได้
           - เมื่อเข้าไปจะได้รหัสนักศึกษาแบบไม่สังกัดคณะคือ "00"
           - เทอม 1-2-3 จะเลือกวิชาเรียนได้อิสระ แบบไม่สังกัดคณะ เพื่อค้นหาตัวตน
           - เทอม 4 เป็นต้นไป จะให้เลือกคณะที่ใช่ที่สุดมีให้เลือก 9 คณะ/หลักสูตร
           - โดยจะมีเกณฑ์รับเข้าหลักสูตรตอนเทอม 4 อีกที เช่น หากจะเข้าหลักสูตรคณะนิติศาสตร์ ต้องผ่านการสอบวิชา LA100 คะแนนไม่ต่ำกว่า 70

 

ภาพด้านบน คือ แผนการศึกษาโครงการ 
Thammasat Frontier School
เทอม 1-3 จะเรียนแบบอิสระไม่สังกัดคณะ เพื่อให้ค้นหาตัวตน
เทอม 4 เป็นต้นไป จะมีให้เลือกคณะที่ใช่ที่สุดมี 9 คณะให้เลือก




ภาพด้านบน คือ เกณฑ์การคัดเลือก โดยรอบ 3 จะกำหนดใช้ 9 วิชาสามัญ
ส่วนรอบ 4 กำหนดใช้ ONET GAT PAT1 และ PAT7

รายละเอียดหลักสูตร และการรับสมัครทั้งหมด คลิกที่นี่
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
ลองคิส 23 ม.ค. 63 04:12 น. 9

มาลองคิดเล่นๆกะนดูมัน work จริงป่าว

ข้อดี

1. ยังไม่รู้จะเรียนไรก็จะได้หาตัวเองในปีนี้

2. สมมติเคยอยากเรียนนิติมากๆ แต่ไปเรียนวิชากฎหมายพฐแล้วไม่ชอบ ก็ยังเบนไปคณะอื่นทัน

3. เด็กซิ่ลคือเหมาะมาก เท่ากะว่าถ้าจะซิ่ลเพราะไม่ชอบคณะ การเรียนแบบนี้ทำให้ยิ่งเลือกคณะได้ง่ายขึ้นหลังจากไปลองเรียนมาหมดแล้ว

ข้อเสีย

1. ไม่มีเพื่อน ไม่มีรุ่น คนอื่นเขาเข้าคณะตั้งแต่ปีแรก รับน้อง รับไรจนเสร็จแล้ว จู่ๆเราก็เพิ่งได้เข้าตอนปีสองเทอมสอง

2. ป้าข้างบ้านถามอะไร ตอบ อ๋อ เรียน ธรรมศาสตร์ค่ะ แล้วคณะไรจ้ะลูก ตอบก็ไม่รู้เหมือนกันคร่า

3. วิชาเลือกทั่วไปทุกคนต้องเรียนทุกคณะอยู่แล้ว แต่-วิชาเลือกพื้นฐานของแต่ละคณะเนี่ยซิ ที่ทำให้ต้องเรียนหนักกว่าคนอื่น สมมติวางแผนจะเรียนวารสาร ต้องเรียนพฐวิชาวารสารซึ่งเปิดตัวแรกตอนปีหนึ่งเทอมหนึ่ง แต่เพิ่งจะมารู้ตัวตอนปีสองว่าอยากเรียนนิติ ซึ่งก็ไม่น่าจะเก็บวิชาพฐกฎหมายทันแล้ว หรือถ้าเก็บทันก็เท่ากะว่าต้องเรียนตั้งสองตัว เมื่อเทียบกะพวกปกติ

4. ใช้เกณฑ์อะไรเข้าภาค 120 คนคงจะไปเข้าภาคเดียวกันไม่ได้ แอดติดแล้วยังต้องมาแข่งกะพวกนี้ต่อไหม สมมติว่าเราเป็นพวกหัวกลางๆ คนเก่งๆเขาก็น่าจะเลือกบัญชี นิติ(คณะที่มีชื่อเสียงของมธ)กันหมด ถ้าเราอยากเรียนบ้างจะพลาดจนได้คณะอื่นไหมเนี่ย

6
คหสต 23 ม.ค. 63 13:01 น. 9-1

ไม่ใช่คนในนั้นนะแต่จากที่ดูจากระบบหลักสูตรแล้วเหมือนจะอุ่นเครื่องทำหลักสูตรใหม่ออกมาครับ ดูๆแล้วคล้ายของ ม. ดังๆในเมกาครับที่แอดติดแล้วลงวิชาตามที่อยากลง เก็บหน่วยกิตให้ครบถ้วนตามหลักสูตรบัณฑิตสาขานั้นๆ....... ข้อดีไม่มีอะไรเถียงนะครับ มันช่วยแบบนั้นจริงๆ ส่วนข้อเสียนี่ขอแย้งในหลายๆข้อ

1. เรื่องไม่มีรุ่น ไม่มีสังคม มันไม่ได้มีสังคมเฉพาะตอนรับน้องครับ มาเจอในห้องเรียนก็ได้ ซึ่งถ้าจะเอาหลักสูตรนี้มาใช้ เมืองนอกเค้าก็อารมณ์นี้ทั้งนั้นเลย อนึ่ง มธ. ไม่ได้มีบังคับทำกิจกรรมเก็บคะแนนครับ แล้วไม่มีรุ่นใน มธ. นี่มันจะหมายถึงไม่มีคอนเนคชั่นจากที่อื่นไม่ได้เลยเหรอครับ?

2.บอกป้าไปว่าเป็นหลักสูตรใหม่ ทำให้เด็กเรียนได้คล่องตัวมากขึ้น สามารถจัดหลักสูตรเรียนเองได้ แล้วปริญญาของคนเรียนก็ไม่fixด้วยว่าจะเป็นหลักสูตรแบบไหน

4.เท่าที่อ่านจากเอกสารมาหลายๆส่วนในนั้นนะครับ เกณฑ์เข้าเรียน ถ้าเข้ามหาลัยมาด้วยระบบแบบนี้ ย่อมต้องแข่งกับเด็กที่แอดมาด้วยระบบอื่นอยู่แล้วเป็นทุนเดิมครับ ส่วน120คนเข้าภาควิชาเดียวนี่เป็นไปไม่ได้แน่นนอน ก็เห็นๆกันอยู่ว่ามีเกณฑ์แบ่งของแต่ละภาควิชาครับ และเกณฑ์แบ่งออกจะสูงมากพอสมควรนะ


ข้อเสียที่ขอไม่เถียง

3.ประเด็นที่ว่าคนเรียนมารู้ตัวอีกทีว่าอยากเรียนอีกสายวิชาแต่เรียนกับวิชาอื่นเรียบร้อยแล้วตรงนี้คือจุดเสียจริงๆครับ แล้วของพวกนี้เทียบโอนกันไม่ได้เลย แล้วไม่รู้นะว่า มธ. เรียนได้นานสุดกี่ปี เอาง่ายๆว่ามีเวลาให้เทอม1-3 และหลักสูตรนี้เหมาจ่ายและเลือกลงเรียนตามใจได้ คนเรียนต้องวางแผนเองมากกว่ามั้งครับว่าจะเอาตัวไหนลงเรียนเทอมไหน เอาง่ายๆว่าไม่เหมาะกับเด็กอายุ17-18ที่ไม่รู้แบบถ่องแท้ว่าการเรียนมหาลัยมันทำงานยังไงครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

24 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ใครไม่มมีแต่โดเรมี 22 ม.ค. 63 21:29 น. 4

เลือกคณะปี4นี้เลือกได้เลยไหมคะ หรือต้องมีการสอบคัดลือกอีก เห็นหลายๆมหาลัย เลือกเอกปีสองปีสามแต่ต้องเอาคะแนนมาวัดว่าจะได้เอกที่เอกได้ไหม

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เข้าใจบางเรื่อง 23 ม.ค. 63 00:21 น. 6

ทำระบบเหมือน ม.ดังในเมกาเหรอครับ? ออกแบบมาเป็นเทอมนี่ค่อนข้างชัดเจนเลย เรียนแบบไม่เลือกสายช่วงปีแรกแล้วค่อยๆมาเลือกสายการเรียนตอนปี 2เทอม2 (ซึ่งก็คือเทอม 4) แต่คืองงนะครับ ทำไมเด็กเรียนหลักสูตรนี้ ถึงห้ามไปเรียนควบกับสถาบันอื่น? ถ้าเค้าอยากเรียนภาคพิเศษจาก ม.ปิดนี่มันผิดเหรอ?

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
ลองคิส 23 ม.ค. 63 04:12 น. 9

มาลองคิดเล่นๆกะนดูมัน work จริงป่าว

ข้อดี

1. ยังไม่รู้จะเรียนไรก็จะได้หาตัวเองในปีนี้

2. สมมติเคยอยากเรียนนิติมากๆ แต่ไปเรียนวิชากฎหมายพฐแล้วไม่ชอบ ก็ยังเบนไปคณะอื่นทัน

3. เด็กซิ่ลคือเหมาะมาก เท่ากะว่าถ้าจะซิ่ลเพราะไม่ชอบคณะ การเรียนแบบนี้ทำให้ยิ่งเลือกคณะได้ง่ายขึ้นหลังจากไปลองเรียนมาหมดแล้ว

ข้อเสีย

1. ไม่มีเพื่อน ไม่มีรุ่น คนอื่นเขาเข้าคณะตั้งแต่ปีแรก รับน้อง รับไรจนเสร็จแล้ว จู่ๆเราก็เพิ่งได้เข้าตอนปีสองเทอมสอง

2. ป้าข้างบ้านถามอะไร ตอบ อ๋อ เรียน ธรรมศาสตร์ค่ะ แล้วคณะไรจ้ะลูก ตอบก็ไม่รู้เหมือนกันคร่า

3. วิชาเลือกทั่วไปทุกคนต้องเรียนทุกคณะอยู่แล้ว แต่-วิชาเลือกพื้นฐานของแต่ละคณะเนี่ยซิ ที่ทำให้ต้องเรียนหนักกว่าคนอื่น สมมติวางแผนจะเรียนวารสาร ต้องเรียนพฐวิชาวารสารซึ่งเปิดตัวแรกตอนปีหนึ่งเทอมหนึ่ง แต่เพิ่งจะมารู้ตัวตอนปีสองว่าอยากเรียนนิติ ซึ่งก็ไม่น่าจะเก็บวิชาพฐกฎหมายทันแล้ว หรือถ้าเก็บทันก็เท่ากะว่าต้องเรียนตั้งสองตัว เมื่อเทียบกะพวกปกติ

4. ใช้เกณฑ์อะไรเข้าภาค 120 คนคงจะไปเข้าภาคเดียวกันไม่ได้ แอดติดแล้วยังต้องมาแข่งกะพวกนี้ต่อไหม สมมติว่าเราเป็นพวกหัวกลางๆ คนเก่งๆเขาก็น่าจะเลือกบัญชี นิติ(คณะที่มีชื่อเสียงของมธ)กันหมด ถ้าเราอยากเรียนบ้างจะพลาดจนได้คณะอื่นไหมเนี่ย

6
คหสต 23 ม.ค. 63 13:01 น. 9-1

ไม่ใช่คนในนั้นนะแต่จากที่ดูจากระบบหลักสูตรแล้วเหมือนจะอุ่นเครื่องทำหลักสูตรใหม่ออกมาครับ ดูๆแล้วคล้ายของ ม. ดังๆในเมกาครับที่แอดติดแล้วลงวิชาตามที่อยากลง เก็บหน่วยกิตให้ครบถ้วนตามหลักสูตรบัณฑิตสาขานั้นๆ....... ข้อดีไม่มีอะไรเถียงนะครับ มันช่วยแบบนั้นจริงๆ ส่วนข้อเสียนี่ขอแย้งในหลายๆข้อ

1. เรื่องไม่มีรุ่น ไม่มีสังคม มันไม่ได้มีสังคมเฉพาะตอนรับน้องครับ มาเจอในห้องเรียนก็ได้ ซึ่งถ้าจะเอาหลักสูตรนี้มาใช้ เมืองนอกเค้าก็อารมณ์นี้ทั้งนั้นเลย อนึ่ง มธ. ไม่ได้มีบังคับทำกิจกรรมเก็บคะแนนครับ แล้วไม่มีรุ่นใน มธ. นี่มันจะหมายถึงไม่มีคอนเนคชั่นจากที่อื่นไม่ได้เลยเหรอครับ?

2.บอกป้าไปว่าเป็นหลักสูตรใหม่ ทำให้เด็กเรียนได้คล่องตัวมากขึ้น สามารถจัดหลักสูตรเรียนเองได้ แล้วปริญญาของคนเรียนก็ไม่fixด้วยว่าจะเป็นหลักสูตรแบบไหน

4.เท่าที่อ่านจากเอกสารมาหลายๆส่วนในนั้นนะครับ เกณฑ์เข้าเรียน ถ้าเข้ามหาลัยมาด้วยระบบแบบนี้ ย่อมต้องแข่งกับเด็กที่แอดมาด้วยระบบอื่นอยู่แล้วเป็นทุนเดิมครับ ส่วน120คนเข้าภาควิชาเดียวนี่เป็นไปไม่ได้แน่นนอน ก็เห็นๆกันอยู่ว่ามีเกณฑ์แบ่งของแต่ละภาควิชาครับ และเกณฑ์แบ่งออกจะสูงมากพอสมควรนะ


ข้อเสียที่ขอไม่เถียง

3.ประเด็นที่ว่าคนเรียนมารู้ตัวอีกทีว่าอยากเรียนอีกสายวิชาแต่เรียนกับวิชาอื่นเรียบร้อยแล้วตรงนี้คือจุดเสียจริงๆครับ แล้วของพวกนี้เทียบโอนกันไม่ได้เลย แล้วไม่รู้นะว่า มธ. เรียนได้นานสุดกี่ปี เอาง่ายๆว่ามีเวลาให้เทอม1-3 และหลักสูตรนี้เหมาจ่ายและเลือกลงเรียนตามใจได้ คนเรียนต้องวางแผนเองมากกว่ามั้งครับว่าจะเอาตัวไหนลงเรียนเทอมไหน เอาง่ายๆว่าไม่เหมาะกับเด็กอายุ17-18ที่ไม่รู้แบบถ่องแท้ว่าการเรียนมหาลัยมันทำงานยังไงครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
chadarat pansawang 24 ม.ค. 63 11:05 น. 12

ตามประกาศ มีสาขาวิชาที่ให้เลือกเรียน สาขาวิชาละ 10 คน เมื่อถึงเวลาเลือกเรียนแล้วเด็กเลือกสาขาวิชานั้นๆ เกิน 10 คน จะทำยังไงคะ หรือถ้าเกิน จะให้เด็กไปเลือกเรียนสาขาวิชาที่ยังไม่ครบ 10 คน ใช่มั้ยคะ แล้วถ้าเด็กไม่อยากเรียนสาขาวิชาที่เหลือล่ะคะจะทำยังไงคะ เพราะเรียนก็เรียนมาแล้ว 3 เทอม จะถอยก็ไม่ได้ จะไปต่อก็ไม่ได้ เพราะไม่ชอบและไม่ถนัด

3
จากที่คิดนะ 24 ม.ค. 63 19:42 น. 12-1

คำตอบของคนที่เรียนไม่ผ่านวิชาสาขานั้นๆแต่ยืนยันอยากเรียน ผมว่ามีทางเดียวคือรีเกรดครับ เขาจะถึงขั้นไม่รับพิจารณาเด็กที่เอาวิชาไม่ผ่านไปรีเกรดใหม่ก็ใจร้ายเกินนะ เอาตรงๆคือ มีเวลาประมาณ1ปีครึ่ง มหาลัยนี้ชิวพอสมควร ให้อิสระเด็กเหมือน ม.ราม เลยด้วยซ้ำ ต้องวางแผนเรียนแต่แรกครับว่าจะลงเรียนยังไงแบบไหน วิชาไหนเกื้อหนุนข้ามสาขา/ควบสาขากันได้ครับ ตามนั้น

0
กำลังโหลด
laviet 24 ม.ค. 63 18:58 น. 13

หลักสูตรเดียวกับป.ตรีต่างประเทศบางที่เลย ซึ่งเราว่าดีนะ เพราะบางทีเข้าคณะมามันไม่ใช่ก็ต้องซิ่งออก เสียเวลาไปอีก 1 ปี แต่ก็เป็นหลักสูตรใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยลองใช้ ไม่แน่ใจจะออกมาเป็นยังไงเหมือนกัน

0
กำลังโหลด
Piranan Member 31 พ.ค. 63 14:39 น. 14-1

ได้ค่ะเเต่ต้องเก่งวิทย์ คณิค4พอสมควรเพราะจะเข้าเอกได้มันต้องได้คะเเนนวิชานั้นตามเกณฑ์ด้วยค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Biisoul 27 มี.ค. 63 02:09 น. 18

ถ้าเกิดว่าคะแนนคณิต1ไม่ถึง30คะแนน แต่อย่างอื่นผ่านเกณฑ์หมดสามารถสมัครได้มั้ยคับ ปล.ตอนสอบทำคณิตได้น้อยมากเลยกลัวคะแนนไม่ถึง แต่วิชาอื่นมั่นใจว่าถึง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด