สวัสดีค่ะน้องๆ  หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่น้องๆ ชั้นมัธยมศึกษา โดยเฉพาะ ม.6 สอบถามกันเข้ามา ก็คือ "มหาวิทยาลัยนี้ มีคณะนี้ไหม" ซึ่งก็เข้าใจไ่ด้ว่า ในแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลายคณะ รวมๆ กันก็หลายร้อยหลักสูตร วันนี้พี่แนนนี่ก็เลยรวบรวม 20 คณะ 2 วิทยาลัย ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาฝากน้องๆ ไปดูกันว่า จะมีแต่ละคณะ แต่ละวิทยาลัย เปิดสอนกี่สาขาวิชา กี่หลักสูตรกันบ้าง
 

 
1. คณะมนุษยศาสตร์
1.1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มีหลักสูตรไทย  12 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
- สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์
- สาขาวิชาบ้านและชุมชน
- สาขาวิชาการท่องเที่ยว
- สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
- สาขาวิชาภาษาจีน
- สาขาวิชาปรัชญา
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมพม่า
- สาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (นานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักเขียน, นักแปล, ฝ่ายพิสูจน์อักษร, นักประชาสัมพันธ์, มัคคุเทศก์, พนักงานต้อนรับ, แอร์โฮสเตส, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป, บรรณารักษ์, นักสารสนเทศ, ครู-อาจารย์ หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาต่างๆ
1.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาจิตวิทยา
แนวทางการประกอบอาชีพ : เป็นนักจิตวิทยา ตามสาขาที่เรียนมา เช่น จิตวิทยาคลินิก, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ หรือทำงานเกี่ยวกับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
 
2. คณะศึกษาศาสตร์ (ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)) มี 13 สาขาวิชา คิือ
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาประถมศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย-การศึกษาพิเศษ
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
แนวทางการประกอบอาชีพ : คุณครูตามสาขาวิชาที่เรียน เช่น คุณครูคณิตศาสตร์, คุณครูศิลปะ, คุณครูพลศึกษา คุณครูภาษาอังกฤษ, นักวิชาการศึกษาด้านต่างๆ หรืออาจจะเป็นครูสอนพิเศษ เปิดสถาบันกวดวิชา
 
3. คณะวิจิตรศิลป์ (ศิลปบัณฑิต (ศล.บ)) มี 9 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาศิลปะไทย
- สาขาวิชาการออกแบบ
- สาขาวิชาศิลปะการแสดง
- สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์
- สาขาวิชาจิตรกรรม
- สาขาวิชาประติมากรรม
- สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์
 - สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์
- สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
แนวทางการประกอบอาชีพ : ศิลปิน, นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามสาขาที่เรียนมา หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับกัารใช้ความรู้ด้านศิลปะ เช่น นักบริหารจัดการด้านศิลปวัฒนธรรม ครู-อาจารย์ นักวิจัย-นักวิชาการ นักแสดง ช่างภาพ ภัณฑารักษ์ เป็นต้น
 
4. คณะสังคมศาสตร์
4.1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มีหลักสูตรไทย 2 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (นานาชาติ)
- สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักเขียน, นักข่าว, บรรณาธิการ, ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์, ฝ่ายวิจัยและประเมินโครงการ หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ  เช่น กรมพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
4.2 หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิจัย, นักวิชาการ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ การวางแผนพัฒนา ปรับปรุงเมืองและชนบท
 
5. คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มีหลักสูตรไทย 14 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาสถิติ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
- สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาสัตววิทยา
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
- สาขาวิชาธรณีวิทยา
- สาขาวิชาอัญมณีวิทยา
- สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (นานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักวิทยาศาสตร์,นักวิชาการ, นักวิจัย, ครู-อาจารย์ หรือ อาชีพตามสาขาวิชาที่เรียนมา เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย,  โปรแกรมเมอร์, นักสถิติ, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักออกแบบเว็บ, วิศวกรระบบ, นักธรณีวิทยา, นักธุรกิจ เป็นต้น
 
6. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)) มีหลักสูตรไทย 7 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย (นานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ : วิศวกรในหน่วยงานต่างๆ ตามสาขาที่เรียนมา เช่น วิศวกรโยธา, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรควบคุมการก่อสร้าง, วิศวกรฝ่ายผลิต, วิศวกรเหมืองแร่, วิศวกรคอมพิวเตอร์, นักพัฒนาโปรแกรมฯ เป็นต้น รวมไปถึงครู-อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
7. คณะแพทยศาสตร์ (แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาแพทยศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : แพทย์ ทั้งในโรงพยาบาล, คลินิกส่วนตัว หรือตามหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ รวมไปถึงนักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
 
8. คณะเกษตรศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี  2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : เจ้าหน้าที่ธนาคาร, เกษตรกร ทำไร่-ทำสวน- ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์,  ครู-อาจารย์, นักวิจัย, นักวิชาการ, หนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวกับการเกษตร  และสิ่งแวดล้อม หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
 
9.  คณะทันตแพทยศาสตร์ (ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.)) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : ทันตแพทย์ ตามโรงพยาบาล, ตลินิกเอกชน, คลินิกส่วนตัว หรือตามหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ รวมไปถึงนักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
 
10. คณะเภสัชศาสตร์ (เภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.)) มี 1 สาขาวิชา 2 แผนการศึกษา คือ
- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แผนเภสัชกรรมอุตสาหการ
- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แผนบริบาลทางเภสัชกรรม
แนวทางการประกอบอาชีพ : เภสัชกรตามสาขาที่เรียนมา  เช่น เภสัชกรฝ่ายผลิต, เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ, เภสัชกรโรงพยาบาล, เภสัชกรร้านยา  เป็นต้น  รวมไปถึงยังสามารถเป็น นักวิจัย, นักวิชาการ, อาจารย์ ได้อีกด้วย
 
11. คณะเทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 4 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
- สาขาวิชากายภาพบำบัด
- สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
- สาขาวิชารังสีเทคนิค
แนวทางการประกอบอาชีพ : วิชาชีพตามสายที่เรียนมา เช่น นักกิจกรรมบำบัด, นักกายภาพบำบัด, นักเทคนิคการแพทย์, นักรังสีการแพทย์, งานที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ, งานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์, นักวิจัย, อาจารย์
 
12. คณะพยาบาลศาสตร์ (พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)) มีหลักสูตรไทย 1  สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
- สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (นานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ : พยาบาล  ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล , คลินิก  หรือเป็นพยาบาลพิเศษ  ดูแลผู้ป่วยส่วนตัว, งานที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ, นักวิชาการ, นักวิจัย, อาจารย์
 
13. คณะอุตสาหกรรมเกษตร (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 6 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
- สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ทางทะเล
- สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, นักวิจัย ในอุตสาหกรรมที่เรียนจบมา เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร, อุตสาหกรรมด้านอาหาร, อุตสาหกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ หรือเจ้าหน้าที่ในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น เจ้าหน้าที่การผลิต, ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ, นักออกแบบ, นักธุรกิจด้านอาหาร เป็นต้น
 
14. คณะสัตวแพทยศาสตร์ (สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)) มี  1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : สัตวแพทย์, นักวิชาการ, นักวิจัยที่วิเคราะห์เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ หรืออาชีพอิสระที่เกี่ยวกับสัตว์
 
15.  คณะเศรษฐศาสตร์ (เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)) มีหลักสูตรไทย 1 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์, ที่ปรึกษาด้านการเงิน, ที่ปรึกษาทางธุรกิจ, นักวิเคระห์นโยบาย,  นักวิเคราะห์งบประมาณ หรือนักวิชาการ-นักวิจัย
 
16. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
16.1 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (5 ปี)
16.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (4 ปี)
16.3 หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ภ.สถ.บ.) มี 1  สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม (5 ปี)
แนวทางการประกอบอาชีพ : สถาปนิกตามสาขาที่เรียนมา นักออกแบบ ภูมิสถาปนิก สถาปนิกที่ปรึกษาด้านอาคาร หรืออาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อนสร้าง  นักวิจัย อาจารย์ เป็นต้น
 
17. คณะบริหารธุรกิจ
17.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
17.2 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาการบัญชี
แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักบริหาร, นักการตลาด, นักวางแผนทางการเงิน, เจ้าหน้าที่ธนาคาร, นักวางแผนการผลิต, นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ที่ปรึกษาด้านภาษี   หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว
 
18.  คณะการสื่อสารมวลขน (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)) มี 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
- สาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัล
แนวทางการประกอบอาชีพ : พิธีกร, นักจัดรายการ, นักประชาสัมพันธ์, นักโฆษณา, นักแสดง, ผู้กำกับ, นักเขียนบท, ผู้ควบคุมการผลิต หรืออาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมบันเทิง
 
19. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
19.1 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) มี 2 สาขาวิชา คือ
 - สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง
- สาขาวิชาการระหว่างประเทศ
19.2 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รศ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักการเมือง, นักการทูต, เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์. เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ, ข้าราชการ, นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรืองานบริหารจัดการในหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กระทรวง เป็นต้น
 
20. คณะนิติศาสตร์ (นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชานิติศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ :  ทนายความ, พนักงานอัยการ, ผู้พิพากษา, เจ้าพนักงานบังคับคดี, นิติกร หรือที่ปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ
 
21. วิทยาลัยศิลปะ  สื่อ และเทคโนโลยี (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มีหลักสูตรภาษาไทย 2 สาขาวิชา  และหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (นานาชาติ)
- สาขาวิชาแอนนิเมชันและเกม
- สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางการประกอบอาชีพ : โปรแกรมเมอร์. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ, วิศวกรซอฟต์แวร์, ดิจิทัล อาร์ตติส, นักพัฒนาเกม, นักออกแบบเกม, นักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
 
22. วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 1 สาขาวิชา คือ
 - สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล (นานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ : เจ้าของธุรกิจส่วนตัว, นวัตกร, นักวิชาการ, นักบริหาร
 
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www1.reg.cmu.ac.th/ugradapply/?page=introfac
              เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับคณะและสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่พี่แนนนี่รวบรวมไว้เป็นข้อมูลของปีการศึกษา 2563 และถ้าน้องๆ คนไหนที่สนใจยื่นสมัครใน TCAS 64 แนะนำให้ตรวจสอบการเปิดรับสมัครฃองมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง  และอย่าลืมติดตามข่าวสารการรับสมัครอย่างใกล้ชิดด้วย
พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น