สวัสดีค่ะน้องๆ  หลายคนคงได้สำรวจรายชื่อคณะ รายชื่อสาขาวิชา ที่เปิดสอนในบางมหาวิทยาลัยกันบ้างแล้ว วันนี้ Dream Campus พาน้องๆ สำรวจคณะ และสาขาวิชาเพิ่มอีก 1 มหาวิทยาลัย นั่นก็คือ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ซึ่งเปิดสอนทั้งหมด 20 คณะ 88 สาขาวิชา ดังนี้
 

ม.มหาสารคาม เปิดสอนคณะ - สาขาวิชาอะไรบ้าง
ม.มหาสารคาม เปิดสอนคณะ - สาขาวิชาอะไรบ้าง

หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1. คณะแพทยศาสตร์  มี 3 หลักสูตร คือ

1.1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) มี  1 สาขาวิชา  คือ

  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : แพทย์ ทั้งในโรงพยาบาล, คลินิกส่วนตัว หรือตามหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ รวมไปถึงนักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว

1.2 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

แนวทางการประกอบอาชีพ : แพทย์แผนไทยประยุกต์  ตามโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือศูนย์สุขภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น คลินิกส่วนตัว ร้านนวด ร้านสปา เป็นต้น

1.3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic), ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (EDM), นักวิจัย-อาจารย์

2. คณะเภสัชศาสตร์ (เภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.))  มี 1 หลักสูตร คือ

  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : เภสัชกรประจำโรงพยาบาล, เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง, เภสัชกรประจำร้านขายยา, อาจารย์, นักวิจัย

3. คณะพยาบาลศาสตร์ (พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.))  มี 1 หลักสูตร คือ

  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : พยาบาลวิชาชีพ ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน รวมถึงในสถานประกอบการสุขภาพอื่นๆ

4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มี 2 หลักสูตร คือ

4.1 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) มี 1 สาขาวิชา  คือ

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิชาการสาธารณสุข, นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, นักวิชาการสุขาภิบาล, นักวิจัย

4.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 3 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักโภชนาการอาหาร, ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ, ผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ, นักวิชาการสิ่งแวดล้อม,  เจ้าหน้าที่/ผู้ตรวจความปลอดภัย, นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม, นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 7 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา

แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการ, นักวิจัย, ครู-อาจารย์ หรือ อาชีพตามสาขาวิชาที่เรียนมา เช่น นักคณิตศาสตร์, นักจุลชีววิทยา, นักชีววิทยา, นักฟิสิกส์ประยุกต์ เป็นต้น

6. คณะเทคโนโลยี (วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)) มี 6 สาขาวิชา  คือ

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาประมง

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักโภชนาการ, นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

7. คณะสัตวแพทยศาสตร์ (สัตวศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)) มี 1 สาขาวิชาคือ

  • สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : สัตวแพทย์, นักวิชาการ, นักวิจัย, อาจารย์ หรืออาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับสัตว์

8. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 3 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักสิ่งแวดล้อม, ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม, นักวิจัยสิ่งแวดล้อม, นักวิเคราะห์นโยบาย, นักสื่อสารมวลชน, ครู-อาจารย์

9. คณะวิทยาการสารสนเทศ

9.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 4 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาสื่อนฤมิต
  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ

9.2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, ผู้ดูแลระบบเครือข่าย, นักภูมิสารสนเทศ, นักพัฒนาเว็บไซต์, นักสารสนเทศ, บรรณารักษ์, ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ

9.3 หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักประชาสัมพันธ์, นักโฆษณา, ผู้สื่อข่าว, ผู้เขียนบท, นักวางแผนสื่อโฆษณา, นักแสดง, ผู้กำกับ, ช่างภาพ หรืองานในอุตสาหกรรรม

10. คณะวิิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)) มี 7 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

แนวทางการประกอบอาชีพ : วิศวกรในหน่วยงานต่างๆ ตามสาขาที่เรียนมา เช่น วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรโยธา, วิศวกรการผลิต, วิศวกรไฟฟ้า เป็นต้น รวมไปถึงครู-อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์

11.1 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) มี 3 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

11.2 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชานฤมิตศิลป์

11.3 หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สภ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม

11.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง

แนวทางการประกอบอาชีพ : สถาปนิกตามสาขาที่เรียนมา เช่น นักออกแบบ, ภูมิสถาปนิก, สถาปนิกที่ปรึกษาด้านอาคาร หรืออาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อนสร้าง,  นักวิจัย, อาจารย์ เป็นต้น

12. คณะการบัญชีและการจัดการ

12.1 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) มี  1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาบัญชี

12.2 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) มี 7  สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการบริหารการเงิน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (นานาชาติ)

12.3 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ที่ปรึกษาด้านภาษี, นักบริหาร, นักการตลาด, นักวางแผนทางการเงิน, เจ้าหน้าที่ธนาคาร,  นักวิเคราะห์สินเชื่อและการลงทุน, นักโฆษณา , นักเศรษฐศาสตร์, หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว

13. คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)) มี 3 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ียว (ภาษาอังกฤษ)

แนวทางการประกอบอาชีพ : ทำงานในตำแหน่งต่างๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร เป็นต้น หรืองานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานที่ใช้ภาษา อาจารย์ เป็นต้น

14. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

14.1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มี 10 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาญี่ปุ่น)
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาเกาหลี)
  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (เขมร ลาว เวียดนาม)
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (นานาชาติ)

14.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร

แนวทางการประกอบอาชีพ : นักเขียน, คอลัมนิสต์, นักแปล, ล่าม, นักประชาสัมพันธ์,  นักข่าว,  มัคคุเทศก์, แอร์โฮสเตส, นักพัฒนาสังคม,  ครู-อาจารย์, นักวิชาการ หรืออาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ทักษะทางภาษา

15. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง (รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)) มี 3 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ : ข้าราชการ, ครู-อาจารย์, นักวิจัย, นักวิชาการ, นักการทูต, เจ้าพนักงานปกครอง, นักวิเคราะห์นโยบาย หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานการปกครองต่างๆ เช่น การปกครองส่วนท้องถิ่น

16. คณะศึกษาศาสตร์

16.1 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) มี 7 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา

แนวทางการประกอบอาชีพ :  คุณครู-อาจารย์ ตามสาขาวิชาที่เรียน เช่น คุณครูคณิตศาสตร์, คุณครูวิทยาศาสตร์, คุณครูคณิตศาสตร์ หรือนักวิชาการศึกษาด้านต่างๆ

16.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 2 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาจิตวิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักจิตวิทยา, นักให้คำปรึกษา, นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, ผู้ฝึกสอนกีฬา
 

17. คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)) มี 3 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • สาขาวิชาศิลปะการแสดง
  • สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

แนวทางการประกอบอาชีพ : ศิลปิน, นักดนตรี, นักแสดง, นักออกแบบสร้างสรรค์, พิธีกร, นักสื่อสารมวลชน, ครู-อาจารย์

18. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักดนตรี, ผู้กำกับดนตรีและการแสดง, โปรดิวเซอร์, ครูสอนดนตรี

19. คณะวัฒนธรรมศาสตร์ (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)) 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรม

แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักวิชาการ, เจ้าหน้าที่, พนักงานทั่วไป, นักบริหาร, นักธุรกิจ ในงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม

20. คณะนิติศาสตร์ (นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ : ผู้พิพากษา, อัยการ, ที่ปรึกษาทางกฎหมาย, ทนายความ, นิติกร, ปลัดอำเภอ, ฝ่ายกฎหมายประจำบริษัท
 

อ้างอิงข้อมูลจาก https://admission.msu.ac.th/?page=6

 

              สำหรับคณะและสาขาวิชาข้างต้น เป็นข้อมูลคณะของปีการศึกษา 2563 ถ้าน้องๆ คนไหนสนใจจะเข้ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม รอติดตามรายละเอียดสาขาวิชาต่างๆ และข้อมูลการรับสมัครของปีนี้ เร็วๆ นี้นะคะ

พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น